วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)
--------------------------
[๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ ณ ที่
นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นไฉน

๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนา
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล


..................................................................................................

อธิบาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล

ชัดไหมครับ

ตน = ธรรม

อนัตตา แปลว่า ไม่ใชตัวตน ไม่ใช่ตน อัตตา แปลว่า ตัวตน หรือ ตน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า:

ตสฺมา ตีหานนฺท อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา
แปลว่า
ด้วยเหตุนี้แหละอานนท์ เธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

เมื่อ ตน = ธรรม แล้วธรรมที่พระพุทธองค์บรรยายข้างต้นก็คือ มหาสติปัฏฐาน 4 ซึ่งชี้ชัดว่ามี มนุษย์ที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ท้ายที่สุดจะพบ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ที่เป็นแก่นของเขา แก่นเขาเขาที่เป็นตน(อัตตา)นั้นเป็นอมตะ จะเข้าถึงได้ต่อเมื่อได้อรหันต์

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ"

สรุป

แก่นของมนุษย์และสรรพสัตว์ ที่มีธรรมชาติหรือธรรม ที่เป็น กาย เวทนา จิต และธรรม ที่เป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน)นั้น ที่แท้แล้วแก่นแท้ของเขาก็มีข้างในสุดที่เป็นตัวตน(อัตตา) เราจะเข้าถึงแก่นแท้ของเราได้ก็ต่อเมื่อเราละราคะ โทสะ โมหะหมดจากใจได้หมดแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ชัดเจนว่า ตนก้ตน ธรรมก็ธรรม คนละนัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนดีที่โลกลืม เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)
--------------------------
[๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ ณ ที่
นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นไฉน

๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนา
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล


..................................................................................................

อธิบาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล

ชัดไหมครับ

ตน = ธรรม

อนัตตา แปลว่า ไม่ใชตัวตน ไม่ใช่ตน อัตตา แปลว่า ตัวตน หรือ ตน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า:

ตสฺมา ตีหานนฺท อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา
แปลว่า
ด้วยเหตุนี้แหละอานนท์ เธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

เมื่อ ตน = ธรรม แล้วธรรมที่พระพุทธองค์บรรยายข้างต้นก็คือ มหาสติปัฏฐาน 4 ซึ่งชี้ชัดว่ามี มนุษย์ที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ท้ายที่สุดจะพบ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ที่เป็นแก่นของเขา แก่นเขาเขาที่เป็นตน(อัตตา)นั้นเป็นอมตะ จะเข้าถึงได้ต่อเมื่อได้อรหันต์

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ"

สรุป

แก่นของมนุษย์และสรรพสัตว์ ที่มีธรรมชาติหรือธรรม ที่เป็น กาย เวทนา จิต และธรรม ที่เป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน)นั้น ที่แท้แล้วแก่นแท้ของเขาก็มีข้างในสุดที่เป็นตัวตน(อัตตา) เราจะเข้าถึงแก่นแท้ของเราได้ก็ต่อเมื่อเราละราคะ โทสะ โมหะหมดจากใจได้หมดแล้ว


อิอิ

มีอัตตาเป็นเกาะ มีอัตตาเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมะเป็นที่พึ่ง

ก็ต้องออกแรงมากๆๆหน่อย
พายเกาะ เข้าหาฝั่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวตนก็ตัวตนสิ
ไม่ใช่ตัวตนก็ไม่ใช่ตัวตน
ธาตุก็ธาตุ
ธรรมก็ธรรม

ไม่มี = (เท่ากับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สัพเพ ธัมมา อะนัตตา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบคุณ"หลับอยุ่"

ตัวตนก็ตัวตนสิ....ก็ใช่น่ะสิครับ เขาเรียกว่า "อัตตา"
ไม่ใช่ตัวตนก็ไม่ใช่ตัวตน....ก็ใช่น่ะสิครับ เขาเรียกว่า "อนัตตา"
ธาตุก็ธาตุ....ไม่ใช่ บางครั้งเรียกว่า "ธรรม"
ธรรมก็ธรรม....ธรรมก็คือธาตุ มี 2 อย่าง 1.อสังขตธรรมหรืออสังขตธาตุ 2.สังขตธรรมหรือสังขตธาตุ = สรรพสิ่งที่อยู่ใน 3 ภพ

สัพเพ ธรรมา อนัตตา หมายถึง สรรพสิ่งและสรรพสัตว์ที่อยู่ใน 3 ภพ เพราะมันไม่เที่ยง และยังเป็นทุกข์อยู่ แต่นิพพานนั้นเที่ยงและไม่มีทุกข์ จึงพ้นจากกฎแห่งไตรลักษณ์


แก้ไขล่าสุดโดย คนดีที่โลกลืม เมื่อ 09 พ.ค. 2010, 23:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนดีที่โลกลืม เขียน:
หมายถึง สรรพสิ่งและสรรพสัตว์ที่อยู่ใน 3 ภพ เพราะมันไม่เที่ยง และยังเป็นทุกข์อยู่ แต่นิพพานนั้นเที่ยงและไม่มีทุกข์ จึงพ้นจากกฎแห่งไตรลักษณ์


อิอิ ก็นิพพานBeforeของคุณคนดีฯ มันไม่เที่ยงและยังเป็นทุกข์อยู่ ละจ้าๆ

สรรพสิ่งและสรรพสัตว์จึงต้องมาวนเวียนอยู่ในภพต่างๆๆๆๆๆๆ ละจ้าๆ



อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านคนดีฯ ไม่สรุปตอนท้ายไม่ได้หรือครับ :b10: :b10:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
ท่านคนดีฯ ไม่สรุปตอนท้ายไม่ได้หรือครับ :b10: :b10:


ก็เพราะผู้รู้ธรรม ไม่กล้าชนกับมารยังไง ไม่กล้าเปิดเผยความจริงทางศาสนา พุทธศาสนาจึงกลายมาเป็นสัทธรรมปฏิรูปแบบในปัจจุบัน ตกเป็นเบี้ยล่างมารวันยังค่ำ

ผมไม่มีนโยบายเจรจากับมาร ผมชนมารเลย มารไม่พอใจ ก็สิงใจทีมงานเว็บใส่ร้ายป้ายสี สาบแช่ง ฯลฯ รวมทั้งไล่ผมออก ผมก็มาใหม่ และชนมารต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติครับ ท่าน คนดีที่โลกลืม

จากความว่า
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ตนอันนี้ ย่อมหมายเพียงแต่ กาย ใจ อันนี้
หลักธรรมไม่ได้อยู่ภายนอก กายนี้ ใจนี้ เสียเลย
หลักธรรมย่อมมีอยู่ แสดงอยู่ ปรากฏอยู่ภายใน กายนี้ ใจนี้
อาศัย กายนี้ ใจนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่รู้ เพื่อแจ้งในความจริงอันสูงสุด อันนั้น

จึงกล่าวนัย มหาสติปัฏฐาน 4 ย่อมพิจารณาจาก กาย ใจ ของตน อันนี้เท่านี้
พิจารณาเห็นกายในกาย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
พิจารณาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

ดังนี้ ตน อันนี้ย่อมมิได้กล่าวถึง แก่นแท้ อันนั้น เสียแต่อย่างใดเลย

ความอันนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ"

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้ เป็นการดับเชื้อ เป็นการดับรอบ จึงพ้นจากวัฏฏะ
ดังนี้ อมตภาพ เป็นชื่อเรียก ของ ความพ้นแล้วซึ่งความเกิด
จึงปราศจากความมีตัวตน จึงปราศจากทุกข์ และจึงปราศจากอาการมาอาการไป

ดังนี้แล้ว ย่อมไม่อาจกล่าวได้ว่า มีตัวตนใน อมตภาพ นี้ หรือ
อมตภาพนี้ เป็นความมีตัวตนขึ้นมา หรือ อมตภาพ นี้ มีการกำเนิดเกิดขึ้น แต่อย่างใดเลย
ไม่อาจกล่าวได้ว่า อมตภาพ นี้ เป็น อัตตา ได้เลย

แก่นแท้ อันนั้นย่อมไม่อาจเรียกได้ว่า อัตตา จะเป็นตัวเป็นตน ก้อหาไม่แต่อย่าใด

เพิ่มเติมนิดครับ
อัตตา เป็น ธรรม แต่ย่อมจะกล่าวได้เพียงว่า อัตตา เป็นเพียงธรรมอันหนึ่ง ของธรรมทั้งปวง
อัตตา เป็นธรรมคู่ ของ อนัตตา ย่อมไม่อาจเปรียบได้เลยกับแก่นแท้ ด้วยความว่า
จิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง
ธาตุหนึ่ง ธรรมหนึ่ง

ขอแสดงความคิดเห็น ครับ พี่ คนดีที่โลกลืม

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


แก้ไขล่าสุดโดย ผงธุลีดิน เมื่อ 11 พ.ค. 2010, 13:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"ผงธุลีดิน"ครับ

1. คุณเข้าใจผิดแล้วครับ ที่ว่า:
มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ตนอันนี้ ย่อมหมายเพียงแต่ กาย ใจ อันนี้
หลักธรรมไม่ได้อยู่ภายนอก กายนี้ ใจนี้ เสียเลย
หลักธรรมย่อมมีอยู่ แสดงอยู่ ปรากฏอยู่ภายใน กายนี้ ใจนี้
อาศัย กายนี้ ใจนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่รู้ เพื่อแจ้งในความจริงอันสูงสุด อันนั้น


ศาสนาพุทธไม่เคยบอกว่า กายกับใจ(จิตสังขาร)เป็นที่พึ่งนะครับ กายกับใจ เป็นรูปกับนาม พึ่งไม่ได้ครับ สิ่งที่เป็นที่พึ่งคือพระรัตนตรัย = ธรรมธาตุ หรืออสังขตธาตุ ที่พ้นจากรูปนามครับ ธรรมธาตุ หรืออสังขตธาตุ ก็คือ ตน(อัตตา) ส่วนกายกับใจ(จิตสังขาร)มันพึ่งไม่ได้ เพราะมันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนนั่นเอง

2. มหาสติปัฏฐาน 4 ย่อมพิจารณาจาก กาย ใจ ของตน อันนี้เท่านี้ ก็ใช่3น่ะสิครับ

พิจารณาเห็นกายในกาย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
พิจารณาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ก็คือ พิจารณาให้เห็นว่า กายนอกซึ่งไม่เที่ยง/ทุกข์ เป็นอนัตตา และมีกายในที่เที่ยง/ไม่ทุกข์ เป็นอัตตา ต้องแยกให้ออกครับ จึงจะบรรลุธรรม

3. ดังนี้ ตน อันนี้ย่อมมิได้กล่าวถึง แก่นแท้ อันนั้น เสียแต่อย่างใดเลย แล้วคุณปฏิบัติถึงระดับไหนล่ะครับ จึงบอกว่า ตน(อัตตา) ไม่ได้เป็นแก่นแท้

4. ความอันนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ"

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้ เป็นการดับเชื้อ เป็นการดับรอบ จึงพ้นจากวัฏฏะ
ดังนี้ อมตภาพ เป็นชื่อเรียก ของ ความพ้นแล้วซึ่งความเกิด
จึงปราศจากความมีตัวตน จึงปราศจากทุกข์ และจึงปราศจากอาการมาอาการไป


....ไม่ใช่แล้วครับ ปราศจากอัตตาอุปทาน หรืออัตตานุทิฏฐิ จึงปราศจากทุกข์ ปราศจากทุกข์ และจึงปราศจากอาการมาอาการไป นั่นพระพุทธเจ้าตรัสในอนัตตลักขณะสูตรว่า เรียกว่า "อัตตา" ครับ

ประเด็นอื่นยังไม่ขอตอบ เพราะพื้นฐานของคุณยังไม่แน่น คุณไม่รู้คำนิยามว่า อะไรคือ อนัตตา อัตตา อัตตานุทิฏฐิ


แก้ไขล่าสุดโดย คนดีที่โลกลืม เมื่อ 11 พ.ค. 2010, 15:27, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...หากข้าพเจ้าจักอธิบายความหมายของพุทธพจน์ตามความคิดเห็น...
...ที่ว่าก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง...
...มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นไฉน...
อ้างคำพูด:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นไฉน
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล

:b1:
...ข้าพเจ้าแปลความดังนี้ว่า...ภิกษุที่พึ่งตนเองคือผู้ไม่อาลัยในกาย เวทนา จิต ธรรมคือ...
...1.ภิกษุที่มีสติคือกำหนดรู้ในกายตนว่ามีแต่ของไม่สะอาดจนเกิดปัญญา...
...2.ภิกษุที่มีสติคือกำหนดรู้ในเวทนาจนรับรู้สุข-ทุกข์-เฉยๆจนเกิดปัญญา...
...3.ภิกษุที่มีสติคือกำหนดรู้ในจิตคือความรู้สึกนึกคิดของตนเองจนเกิดปัญญา...
...4.ภิกษุที่มีสติคือกำหนดรู้ในธรรมทั้งหลายคือธรรมชาติของการเกิด-ดับจนเกิดปัญญา...
...การพิจารณาเห็นอยู่เนืองอย่างนี้(ทำให้เกิดปัญญาฆ่ากิเลส)...ภิกษุที่พิจารณาอย่างนี้จึงชื่อว่าพึ่งตนเองได้...
:b27:
...ข้าพเจ้าเข้าใจตามนี้อ่ะคะ...ท่านทั้งหลายเข้าใจอย่างไรเจ้าคะ...
:b12:
:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 11 พ.ค. 2010, 15:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครับ พี่คนดีที่โลกลืม
ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว เป็นอย่างที่พี่กล่าวไว้อย่างนั้นแล้ว
กระผมก้อคงไม่มีอะไรที่ต้องกล่าว อีกต่อไปแล้ว

ขอบคุณครับ :b8:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


แก้ไขล่าสุดโดย ผงธุลีดิน เมื่อ 11 พ.ค. 2010, 20:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตา แปลว่า ไม่มีตัวตน หรือ :b10: :b32:
แปลกันผิดแล้วมั้ง :b10:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 11 พ.ค. 2010, 22:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


คนดีที่โลกลืม เขียน:



สัพเพ ธรรมา อนัตตา หมายถึง สรรพสิ่งและสรรพสัตว์ที่อยู่ใน 3 ภพ เพราะมันไม่เที่ยง และยังเป็นทุกข์อยู่ แต่นิพพานนั้นเที่ยงและไม่มีทุกข์ จึงพ้นจากกฎแห่งไตรลักษณ์


น่าสนๆ :b1: แต่ธรรมทั้งหลายก็ไม่ใช่ตัวนะคุณพลศักดิ์ :b1:

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑



ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๔๗๙ - ๕๗๕. หน้าที่ ๒๐ - ๒๔.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 11 พ.ค. 2010, 22:23, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร