วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมวินัยที่ควรรู้

รูปภาพ

ในอดีตสมัย ณ สาลวันอันเป็นที่แวะพักแห่งพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพาน ระหว่างไม้

สาละคู่ หมดโอกาสที่สัตวโลกจะได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระโอษฐ์อีก

ต่อไป

พระผู้มีพระภาคประทานพระธรรมวินัยที่ทรงแสดงแล้ว ไว้เป็นศาสดา

แทนพระองค์เมื่อทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว [๑] พุทธบริษัทย่อมถวาย

ความนอบน้อมสักการะพระธรรมอันประเสริฐสุดของพระผู้มีพระภาค ตาม

ความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัย

แม้ผู้ใดเห็นพระวรกายของพระองค์ ได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระ

โอษฐ์ หรือแม้ได้จับชายสังฆาฏิติดตามพระองค์ไป แต่ไม่รู้ธรรม ไม่เป็นธรรม

ผู้นั้นก็หาได้เห็นพระองค์ไม่ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นได้ชื่อว่าย่อมเห็นตถาคต [๒]

พระพุทธศาสนา คือ พระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

มี ๓ ขั้น

๑. ขั้นปริยัติ ศึกษาพระธรรมวินัย

๒. ขั้นปฏิบัติ เจริญธรรมเพื่อบรรลุธรรมที่ดับกิเลสดับทุกข์

๓. ขั้นปฏิเวธ รู้แจ้งธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์



พระพุทธดำรัสที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นตถาคต

หมายถึง การเห็นธรรมรู้แจ้งธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ คือ

โลกุตตรธรรม ๙ ขั้นปฏิเวธ เป็นผลของการเจริญธรรมขั้นปฏิบัติ

การเจริญธรรมขั้นปฏิบัติต้องอาศัยปริยัติ ด้วยเหตุนี้ปริยัติ คือ การ

ศึกษาพระธรรมวินัยจึงเป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง เป็นทางนำไปสู่พระ

พุทธศาสนาขั้นปฏิบัติและขั้นปฏิเวธ เป็นลำดับไป พระธรรมคำสอน

ของพระผู้มีพระภาค ได้จดจำสืบต่อกันมาโดยมุขปาฐะ คือ การ

ท่องจำจากพระอรหันตสาวกผู้กระทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็น ๓

ปิฏก เรียกว่า พระไตรปิฏก การท่องจำได้กระทำสืบต่อกันมา

ตราบจนกระทั่งได้จารึกเป็นตัวอักษร

พระธรรมวินัยซึ่งพระอรหันตสาวกได้สังคายนาเป็น ๓ ปิฏกนั้น คือ

๑. พระวินัยปิฏก

๒. พระสุตตันตปิฏก

๓. พระอภิธรรมปิฏก

พระวินัยปิฏก

เกี่ยวกับระเบียบข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อพรหมจรรย์ขั้นสูงยิ่งขึ้นเป็นส่วน ใหญ่

พระสุตตันปิฏก

เกี่ยวกับหลักธรรมที่ทรงเทศนาแก่บุคคลต่างๆ ณ สถานที่ต่างๆ เป็นส่วนใหญ่

พระอภิธรรมปิฏก

เกี่ยวกับสภาพธรรมพร้อมทั้งเหตุและผลของธรรมทั้งปวง

พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้สภาพธรรม พร้อมทั้งเหตุและผลของธรรม

ทั้งปวง พระองค์ทรงแสดงธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้เพื่ออนุเคราะห์

สัตว์โลกตั้งแต่สมัยตรัสรู้ ตราบจนถึงสมัยปรินิพพานด้วยพระปัญญา

คุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ อันไม่มีผู้ใดเปรียบปาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อบรรลุธรรมเป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยสัมปทา [๑] คือ

เหตุสัมปทา ผลสัมทา สัตตูปการสัมปทา

เหตุสัมปทา การถึงพร้อมด้วยเหตุ คือ การทรงบำเพ็ญพระบารมีจนถึงพร้อม

เพื่อตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผลสัมปทา การถึงพร้อมด้วยผล มี ๔ อย่าง คือ

๑. ญาณสัมปทา ได้แก่ มัคคญาณ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งพระสัพพัญญุตญาณ และ

พระทศพลญาณ เป็นต้น ซึ่งมีมัคคญาณนั้นเป็นมูล

๒. ปหานสัมปทา ได้แก่ ละกิเลสทั้งสิ้นพร้อมทั้งวาสนา

วาสนา คือ กิริยาอาการทางกายวาจาที่ไม่งาม ที่ประพฤติจนเคยชิน ซึ่งถ้าไม่

ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ละไม่ได้

๓. อานุภาวสัมปทา ได้แก่ ความเป็นใหญ่ในการทำให้สำเร็จได้ตามที่ปรารถนา

๔. รูปกายสัมปทา ได้แก่ พระรูปสมบัติอันประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ

และอนุพยัญชนะ อันเป็นที่เจริญตา เจริญใจของชาวโลกทั้งมวล


เมื่อเหตุ คือ บารมีถึงพร้อมแล้ว ก็ทำให้ถึงพร้อมด้วยผลสัมปทา คือ การตรัสรู้

เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลกับปัญญาต่างอาศัยกัน



สมัยนั้น พระพุทะเจ้าประทับอยู่ ณ สระโบกขรณี คัคคราแขวงเมืองจัมปา ในโอกาสที่เสด็จจาริก พร้อมด้วย ภิกษุหมู่ใหญ่ราว ๕๐๐ รูป ครั้งนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะ ผู้ครองนครจัมปาได้เข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงถึงค่าของคนว่า มิได้อยู่ที่ชาติกำเนิดหรือตระกูล หากแต่อยู่ที่การกระทำความดี ทำประโยชน์ทั้งส่วนตนและผู้อื่นเป็นสำคัญ ในตอนท้ายของพระสูตรนี้ ทรงอธิบายเรื่องศีลกับปัญญา ว่าต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน การปฏิบัติธรรมจึงจะบรรลุเป้าหมาย ท่านโสณทัณฑะพราหมณ์ได้มีความเห็นสอดคล้องด้วย

พระพุทธองค์จึงตรัสสรุปในตอนท้ายพระสูตรว่า

“ปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ ศีลอันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ? ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใด ? ศีลก็มีในบุคคลนั้น
ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของบุคคลผู้มีปัญญา และนักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญา ว่าเป็นยอดในโลก เหมือนบุคคลล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้าฉะนั้น”

โสณทัณฑสูตร ๙/๑๔๘

ส่วนเสริม

ในพระสูตรนี้ มีสาระที่ประทับใจผู้เขียนมาก ก็ตรงที่ทรงกล่าวถึงศีลกับปัญญาว่า เป็นเสมือนคน “ล้างมือด้วยมือ” หรือ “ล้างเท้าด้วยเท้า” พออ่านปุ๊บ ก็มองเห็นภาพพจน์ปั๊บในทันที นับว่าชัดเจนมาก ไม่ต้องอธิบาย เพราะผู้เขียนเคยเป็นลูกชาวนา ต้องย่ำอยู่กับดินโคลนมาตลอด โดยเฉพาะหน้าฝน จะต้องย่ำอยู่กับเลนทั้งวัน รองเท้าไม่มีใส่ เวลาจะขึ้นบ้านก็จะต้องล้างเท้าก่อน การล้างเท้าที่ง่ายและสะดวก มันก็จะต้องเอาเท้าด้วยกันถูจึงจะสะดวก และเมื่อล้างมือก็จะต้องเอามือต่อมือถูกัน ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ศีลกับปัญญาจะมีความสำคัญเท่ากัน มิฉะนั้นก็คงจะรักษาศีลให้มากไว้ในสมัยก่อนบวชแล้ว เพิ่งจะมาค้นพบในพระไตรปิฎกเมื่อบวชแล้วนี่เอง

ยิ่งมาบวชแล้ว ก็ยิ่งจะเห็นด้วยอย่างเรื่องศีลนี้ได้ชัดเจนมาก พระที่รู้จักคุ้นเคยกันหลายรูป ต้องปาราชิกไปบ้างต้องมีเรื่องมัวหมองบ้าง มีปัญหาต่างๆ บ้าง ปฎิบัติธรรมไม่ก้าวหน้าบ้าง.....ล้วนแต่ท่านไม่ให้หรือไม่เห็นความสำคัญของ ศีล แต่ไปเห็นว่าสมาธิ สติ หรือปัญญาตัวเดียวเท่านั้นสำคัญ เลยไม่สนใจศีล ถึงบางแห่งกินข้าวไม่ต้องประเคนก็มี

ขออภัยผู้เขียนไม่อยากใช้คำว่า “ฉัน” เพราะการกินโดยไม่ประเคน มันก็เหมือนกับชาวบ้าน แล้วจะเรียกว่า “ฉัน” ได้อย่างไร ?

ยังมีความเข้าใจผิด สำหรับผู้ที่อ่อนสุตะอยู่ว่า เมื่อเราเจริญสมาธิ สติ หรือวิปัสสนาอยู่ก็ตาม ขณะนั้นเราก็มีศีลครบถ้วนแล้ว นับว่าเป็นความเห็น ก็ยังคลาดเคลื่อนอยู่มาก เพราะการปฏิบัติธรรม (สมาธิ สติ ปัญญา) ต่างๆ นั้นเป็นเรื่องของจิต ส่วนศีลนั้นเรารู้กันอยู่แล้วว่า ควบคุมกายกับวาจา ไม่เกี่ยวกับจิต ยกตัวอย่าง ถ้าเราคิดจะฆ่าสัตว์ตอนนั้นศีลของเราก็ยังไม่ขาด เพราะเรายังไม่ได้ลงมือฆ่า หรือยังไม่ได้ใช้ใครเขาฆ่า

จริงอยู่ ในขณะที่เรากำลังเจริญภาวนาอยู่นั้น เราย่อมจะล่วงละเมิดศีลไม่ได้เลย ไม่ว่าทางกายหรือวาจา ในตอนนั้นแม้ว่าเราจะยังไม่ตั้งใจรักษาศีล มันก็เหมือนรักษาอยู่แล้วแต่ใครเล่าจะเจริญธรรมอยู่ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ? มัน ก็จะต้องประกอบการงานอื่นๆ บ้าง ในช่วงที่เราประกอบกิจทางกายและวาจาอยู่นั้นแหล่ะถ้าไม่มีศีลมัน ก็ย่อมจะเกิดโทษขึ้นได้ ศีลจึงต้องมีอยู่เป็นพื้นฐานหรือมีอยู่ตลอดเวลา ส่วนธรรม (ทางจิต) นั้นจะมีบ้างไม่มีบ้าง ก็ยังไม่ก่อเวรภัยอะไรนักหนามิใช่หรือ ? เพราะมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนกว่าศีล

ฉะนั้น ท่านที่เคยเห็นศีลว่าเป็นของต่ำ ก็โปรดเปลี่ยนทิฐิเสียใหม่เถิด แม้ว่าศีลจะดับทุกข์ทางใจไม่ได้แต่ก็ป้องกันภัยและเวรได้ และจะช่วยเสริมให้ปัญญาคมกล้าเพื่อดับทุกข์ทางใจได้อย่างเด็ดขาดด้วย ถ้าท่านไม่มีศีลเสียแล้ว ท่านจะใช้อะไรเป็นพื้นฐานต่อยอดสมาธิและปัญญากันเล่า ?…..


อานิสงส์ (ผล) แห่งการรักษาศีล ๕

- เป็นผู้มีอายุยืนนาน
- เป็นผู้มีโภคทรัพย์มาก
- เป็นผู้มีปัญญาคมกล้า

เบญจสีลสมาทานิยเถรปทาน ๓๒/๙๒

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การรักษาศีล

รูปภาพ

ศีล คือพื้นฐาน


“ภิกษุทั้งหลาย ! การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่งอันบุคคลทำอยู่ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดินดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ การงานที่พึงทำด้วยกำลังเหล่านี้อันบุคคลย่อมทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด

ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฐิอัน น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน….. ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล ฯ”

พลกรณียสูตร ๑๙/๗๖

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตนิ่งไม่ได้ จิตเป็นสภาพรู้
--------------------------------------------------------------------------------


จิตนิ่งไม่ได้ จิตเป็นสภาพรู้ เกิดขึ้นครั้งใดต้องรู้อารมณ์ อารมณ์ในที่นี้

หมายถึงสิ่งที่จิตรู้ เมื่อจิตรู้อารมณ์จะเกิดโลภะความพอใจหรือโมหะ คือ

ความหลง ความไม่รู้ตามความเป็นจริง หรือจะเป็นกุศลในทาน คือการ

คิดให้ ในศีลคือความไม่เบียดเบียน เป็นต้น การที่เข้าใจว่าจิตนิ่ง เป็น

ความไม่เข้าใจในสภาวะลักษณะของสภาพธรรมะที่กำลังปรากฏว่า ขณะ

นั้นเป็นโลภะหรือโมหะ หรือเ ป็นจิตที่ปราศจากโลภะ โทสะ หรือ โมหะ

เพราะเป็นกุศลจิต ถ้าเป็นปัญญา คือ ความรู้ ความเข้าใจ ไม่ใช่แสงสว่าง

แต่อุปมาให้เห็นลักษณะของปัญญาว่า เปรียบเหมือนแสงสว่างเพราะทำ

ความมืด คือ โมหะให้หายไป เมื่อความรู้เกิดขึ้น ความไม่รู้ย่อมหมดไป

ถ้าใช่คำว่า "จิตนิ่ง" ก็ไม่ใช่ปัญญา

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมกับการเจริญสติ
--------------------------------------------------------------------------------
พระธรรม

ที่พระผู้มีพระภาค ได้ทรงแสดงไว้

จะมีประโยชน์ เกื้อกูล อย่างไรบ้าง

ต่อ การเจริญสติปัฏฐาน............?

เพราะว่า เรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน

เป็นการระลึกรู้ ลักษณะ ของสภาพธรรม

ตามความเป็นจริงของชีวิต

ในแต่ละภพ......ในแต่ละชาติ.

ก่อนที่ท่านผู้ฟัง จะบรรลุธรรม ถึงความเป็นพระอรหันต์

เช่น พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก.

ท่านย่อมไม่ทราบเลย ว่า

ชีวิตของท่าน จะวนเวียนไปอย่างไร ลักษณะใด.

แล้วมี "สภาวะ"

ที่จะเป็นอุบาสกบ้าง อุบาสิกาบ้าง ภิกษุบ้าง ภิกษุณีบ้าง

ฯลฯ

ในชาติหนึ่ง ชาติใด....."ลักษณะ"อย่างใด.!

เพราะฉะนั้น

ชีวิตต่าง ๆ ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ทั้งหมด

ก็แสดงให้เห็นถึง........"สภาพธรรม"

ตามความเป็นจริง ของแต่ละบุคคล.

ซึ่ง บางท่าน................ก็ได้อบรมเจริญปัญญา

มาจนกระทั่งสามารถที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉท

ถึงความเป็นพระอรหันต์....เมื่อได้ฟังพระธรรม

แต่..........บางท่าน ก็ยังไม่สามรถที่จะบรรลุได้.

ท่านอาจจะเป็น ผู้ที่มีความเห็นผิด

ในครั้งที่ได้พบกับพระผู้มีพระภาค

ดังที่มีปรากฏอยู่ ในพระไตรปิฏก.

หรือ สำหรับผู้ที่ได้พบกับพระผู้มีพระภาค

แล้วมีความเห็นถูก

แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะบรรลุคุณธรรม

ถึงความเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้นได้

ท่าน ก็จะมีภพชาติ.....ที่ต่าง ๆ กันไป

ตามเหตุ ตามปัจจัย.

หรือ ท่าน อาจจะไม่มีปรากฏอยู่ ในพระไตรปิฎก

เหมือนชีวิตของบุคคลซึ่งได้พบกับพระผู้มีพระภาค

ซึ่งมีปรากฏอยู่ ในพระไตรปิฎก.

เพราะฉะนั้น

ในขณะนี้..........ในปัจจุบันนี้

ท่านก็ยังคงอยู่ในสังสารวัฏฏ์

ซึ่งเป็นอีกภพหนึ่ง ชาติหนึ่ง

แล้วแต่เหตุปัจจัย ว่า

ท่านจะเป็นบุคคลใด.

เรื่องของชีวิตต่างๆ

ที่ท่านได้รับฟัง จากพระไตรปิฎก

ท่านจะเห็นได้ว่า.........................

แม้ในขณะที่ท่านกำลังรับฟังอยู่นี้

พระผู้มีพระภาค ก็ทรง "เน้น"

เรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน

ไม่ใช่ เรื่องสมาธิ.!

เพราะว่า...ถ้าเป็น เรื่องสมาธิ.!

ก็จะไม่มีการศึกษา

ในเรื่องของ "สภาพธรรม" ต่างๆ ที่ "ปรากฏ"

เช่น เรื่องของการสังคายนา

และ เรื่องการนอบน้อมต่อสงฆ์ เป็นต้น.

แต่ ผู้ที่เข้าใจแล้ว...ให้ทราบได้เลย ว่า

ไม่ว่าจะเป็นข้อความตอนใด ทั้งหมด

ในพระไตรปิฎก.

หรือแม้แต่ ขณะที่กำลังฟัง คือ....ขณะนี้

ก็สามารถที่จะระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรม

ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ.

มีการรู้เรื่อง....................................

มีความรู้สึก เป็นทุกข์ เป็นสุข ต่าง ๆ

หรือ มีความรู้สึก อทุกขมสุข

คือ ไม่ทุกข์ ไม่สุขฯลฯและทั้งหมด ก็เป็น "สภาพธรรม"ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง.

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การอบรมเจริญกุศล
--------------------------------------------------------------------------------


การอบรมเจริญกุศลทุกประการของเพศคฤหัสถ์ต่างจากเพศบรรพชิต คือ คฤหัสถ์มีหน้า

ที่การงานที่ต้องกระทำมากมาย แต่สามารถอบรมเจริญปัญญาเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจ-

ธรรม ขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจ เริ่มตั้งแต่การฟังพระธรรมเพื่อความเข้าที่ถูกต้อง ทุกวันนี้

อยู่ที่ไหนก็ฟังได้ เมื่อเข้าใจถูกต้อง การเจริญสมถภาวนาและการเจริญวิปัสสนาในชีวิต

ประจำวันของเพศคฤหัสถ์ก็เจริญได้ เช่น การระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระ

สังฆคุณ ระลึกถึงจาคะ ศีล ความตาย เมตตา เป็นต้น เหล่านี้ เป็นการเจริญความสงบ

ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องหลีกหนีหน้าที่การงานและสังคม ส่วนการเจริญสติปัฏฐาน

คือ การที่สติระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อยู่ที่ไหนอารมณ์ใดก็ระลึกรู้ได้ ถ้าเข้าใจ

ธรรมะ เพราะธรรมะ มีอยู่ทุกขณะ ทุกอย่างเป็นเพียงธรรมะอย่างหนึ่งเท่านั้น

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหากิริยาจิต
--------------------------------------------------------------------------------


มหากิริยาจิต

มหา ( ใหญ่ , มาก ) + กิริยา ( สักว่ากระทำ ) + จิตฺต ( จิต )

กิริยาจิตที่เป็นไปในอาการมาก หมายถึง สเหตุกกิริยาจิตของพระอรหันต์ที่เป็น

กามาวจรภูมิ ที่เรียกว่า มหากิริยา เพราะเป็นจิตที่เป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ รู้

อารมณ์ได้ทั้ง ๖ มีอธิบดี ๔ และเป็นไปในทวารทั้ง ๓ มหากิริยาจิตนี้มีสภาพ

คล้ายกับมหากุศลจิต เพราะเป็นไปในอาการต่างๆ เหมือนกัน เพียงแต่เกิดกับผู้ที่ไม่

ใช่พระอรหันต์ก็เป็นมหากุศลจิต แต่ถ้าเกิดกับพระอรหันต์ก็เป็นมหากิริยาจิต มี ๘

ดวง คือ

๑. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .

มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ( แช่มชื่น ) ประกอบด้วยปัญญา

เป็นจิตที่มีกำลัง ( ไม่มีการชักชวน )

๒. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .

มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ( แช่มชื่น ) ประกอบด้วยปัญญา

เป็นจิตที่มีกำลัง (มีการชักชวน )

๓. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .

มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ( แช่มชื่น ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา

เป็นจิตที่มีกำลัง ( ไม่มีการชักชวน )

๔. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .

มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ( แช่มชื่น ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา

เป็นจิตที่มีกำลัง (มีการชักชวน )

๕. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .

มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ประกอบด้วย

ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน )

๖. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .

มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ประกอบด้วย

ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง ( มีการชักชวน )

๗. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .

มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ไม่ประกอบด้วย

ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน )

๘. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .

มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ประกอบด้วย

ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง ( มีการชักชวน )



มหากิริยาจิต มีอีกชื่อหนึ่งว่า กามโสภณกิริยาจิต หรือกามาวจรสเหตุ-

กกิริยาจิต ป็นทวิเหตุกะ ๔ ดวง มีเหตุ ๒ ( อโลภเหตุและอโทสเหตุ )

เป็นติเหตุกะ ๔ ดวง มีเหตุ ๓ ( อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ )

--------------------ธรรมะไทย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขันติญาณวิปัสสนา
--------------------------------------------------------------------------------


อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ

ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ ว่ารูปไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่า

เวทนาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เทียงดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง

ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 651

คำว่า ขนฺตึ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ ปัญญา ทั้งนั้น. จริงอยู่

ปัญญา นั้น ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมอนุโลม (คือ คล้อยตาม)

ซึ่งเหตุอันเป็นการกระทำ ๕ อย่าง มีบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้น

ญาณใด ย่อมอดทน ย่อมสามารถ ย่อมอาจเพื่อเห็นซึ่งเหตุเป็นที่

กระทำ (การณะ) แม้ทั้งหมดเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า

ขันติ. คำว่า ปสฺสติ ได้แก่ ทิฏฐิญาณ. คำว่า โรเจติ ได้แก่ รุจิญาณ.

คำว่า มุจติ ได้แก่ มุติญาณ. พระบาลีว่า มุทตีติ มุทีติ ชื่อว่า มุติญาณ ดังนี้

ก็มี. คำว่า เปกฺขติ ชื่อว่า เปกขญาณ.

ธรรมทั้งหลายมีบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นแม้ทั้งหมดเหล่านั้น

ย่อมเข้าไปประจักษ์แจ้ง แก่ญาณนั้น จึงชื่อว่าธัมมนิชฌานขันติญาณ.

อนึ่ง เมื่อว่าโดยพิเศษ ธรรมทั้งหลายกล่าวคือ ขันธ์ ๕ เมื่อเข้าไปเพ่งพิจารณา

ย่อมให้ประจักษ์แจ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นสิ่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

อนัตตาบ่อย ๆ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่าธัมมนิชฌานขันติญาณ.

ฯลฯ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาคือความเข้าใจ

พระผู้มีพระภาค ก็ยังทรงเห็น เป็นต้นไม้ ฯ

แต่ว่า "จิตของพระองค์" เป็น "กิริยาจิต"

ส่วนจิตของเรา

เป็น "กุศลจิต" หรือ "อกุศลจิต"

เพราะฉะนั้น

ต้องรู้ "ลักษณะของจิต"...ว่าเป็น กุศล หรือ อกุศล

หลังจาก...วิบากจิต ดับไป.

"วิบากจิต" ได้แก่

การเห็นสีต่างๆ ทางตา....การได้ยินเสียงต่างๆ ทางหู

การได้กลิ่นต่างๆ ทางจมูก

การรู้รสต่างๆ เช่น เปรี้ยว หวาน ฯลฯ ทางลิ้น

และ การกระทบสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ทางกาย.

วิบาก ที่เกิดขึ้น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย เหล่านี้....ต้องไม่ใช่ "รูป"

เพราะว่า "รูป" ไม่ใช่สภาพรู้.

เช่น ขณะที่หกล้ม

ความเจ็บปวดที่ปรากฏ เป็นวิบาก

เพราะเกี่ยวเนื่องกับ"รูปทางกาย"

ซึ่งมีการกระทบ แล้วก็เกิด "ความรู้สึกเจ็บปวด"

ซึ่งเป็น "ทุกขกายวิญญาณจิต"

และเป็น "วิบากอเหตุกจิต" นั่นเอง.

ส่วน "รูป" เช่น "ลักษณะของความหวาน" นั้น

ความหวาน...ไม่รู้อะไรเลย.!

แต่ "ลักษณะของสภาพธรรมที่รู้ว่าหวาน"

ที่กำลังปรากฏ ทางลิ้น

ลักษณะของสภาพรู้หวาน ขณะนั้น เป็นวิบากทางลิ้น

(เป็นต้น)

เพราะเหตุว่า

ขณะที่เราเจริญกุศล เช่น การฟัง "เรื่องของธรรมะ"

แล้วเกิด "ความเข้าใจ" ในสิ่งที่ได้ฟัง

ก็ไม่เหมือนกับตอนที่เรา

"เพลิดเพลินไปกับโลภะ...ความติดข้อง" อย่างเต็มที่ หลังจากได้รับ "กุศลวิบาก"

หมายความว่า

ยังมีช่วงเวลา...ที่เป็นกุศล เกิดสลับกับอกุศลได้

ในขณะที่.....ฟังพระธรรม แล้วเกิดความเข้าใจ.

อย่าพอใจเพียง "กุศลวิบาก" เท่านั้น

แต่ควรที่จะมี "กุศลจิต" เกิดขึ้นด้วย

เพื่อการที่ กุศลธรรม จะเจริญยิ่งขึ้นๆ

อันนี้...สำคัญมาก!

เพราะว่า "ปัญญา" ก็คือ "ความเข้าใจ"

เราใช้คำว่า

"วิชชา" "ญาณ" "ปัญญา" ฯลฯ

แต่ทั้งหมด ริ่มมาจาก "ความเข้าใจ"

และควรจะเป็น "ความเข้าใจ"ที่ลึกซึ้งขึ้น ละเอียดขึ้น.

เหมือนอย่างเช่น "ผลไม้"

เมื่อเริ่มออกดอก ก็เป็น "ดอกไม้เล็กๆ"

แล้วดอกไม้เล็กๆนั้น ก็ค่อยๆ โตขึ้นๆ

จนกระทั่ง กลายเป็น "ผลไม้เล็กๆ"

ที่ค่อยๆ โตขึ้นๆ

และกลายเป็น "ผลไม้ที่โตเต็มที่" ฉันใด

"ปัญญา" คือ "ความเข้าใจ"

ก็จะต้อง "เริ่มเกิดขึ้น" ก่อน

และต้องค่อยๆ โตขึ้นๆ ฉันนั้น

----------------------ธรรมะไทย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนรู้พระพุทธศาสนา

พุทธศาสนา หมายถึง คำสอนของผู้รู้ หรือ คำสอนของผู้ตรัสรู้ พระพุทธศาสนา

มีนิกายใหญ่ ๆ 2 นิกาย คือ
1.นิกายเถรวาท ( หินยาน ) เป็นนิกายที่ถือวินัย ( ศีล ) แบบดั้งเดิมเคร่งครัด ปัจจุบันแพร่หลายอยู่ในประเทศศรีลังกา พม่า ลาว ไทย เป็นต้น
2.นิกายอาจริยวาท ( มหายาน ) เป็นนิกายที่แก้ไขวินัยข้อเล็กน้อยบางข้อ ให้เข้ากับท้องถิ่น ปัจจุบันแพร่หลายอยู่ในประเทศจีน มองโกเลีย ธิเบต ญี่ปุ่น เป็นต้น

สิ่งที่ชาวพุทธเคารพนับถือ คือ พระรัตนตรัย ( แก้ว 3 ประการ ) ได้แก่
1.พระพุทธเจ้า คือ ผู้ตรัสรู้และทรงสั่งสอน
2.พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและพระสาวก คือ อริยสัจ 4 ประการ
3.พระสงฆ์ คือ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และช่วยสอนผู้อื่นให้รู้ตาม

พระพุทธเจ้า อดีต คือ เจ้าชายสิทธัตถะแห่งเมืองศากยะ ได้ทรงยอมตัดใจจากความสุขทางโลก มุ่งค้นคว้า ปฏิบัติจนตรัสรู้ แล้วทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นได้รู้ตาม เป็นเวลาอยู่ 45 ปี จึงปรินิพพาน

พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และคำสั่งสอนของพระสาวก มีทั้งพระธรรมระดับพื้นฐาน และ ระดับสูง เช่น อริยสัจ ( ความเป็นจริงที่ดีเยี่ยม สอนเรื่องควาามทุกข์ สาเหตุของความทุกข์ เป้าหมายของการดับความทุกข์ วิธีการดับความทุกข์ ) อิทธิบาท ( ทางสู่ความสำเร็จ = เต็มใจ ตั้งใจ ใส่ใจ เข้าใจ ) เป็นต้น

พระสงฆ์ คือ พระสาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และช่วยสอนให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย มีทั้งอริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์บันแพร่หลาย อยู่ในประเทศ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติ เจริญภาวนา

อานิสงส์ของทาน ทำให้ฐานะดี ไม่ลำบาก
อานิสงส์ของศีล ทำให้รูปงาม ร่างกายสมประกอบ ผิวพรรณดี
อานิสงส์ของภาวนา ทำให้สติปัญญาดี การทำทาน รักษาศีล
และเจริญภาวนาจะเป็นอริยะทรัพย์ อันเป็นที่พึ่ง ที่อาศัยให้แก่เรา
ได้แม้จะตายจากภพนี้ไปแล้ว

ให้เรามีสติ ปรับปรุงลมหายใจยาว ๆ
หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆให้เกิดความรู้สึกตัว
รักษาใจเป็นกลาง
ทำใจให้สงบ และทำใจปล่อยวางว่า
" แล้วสิ่งนั้นจะผ่านพ้นไป "
เมื่อมีทุกข์ ทุกข์นั้นไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน
ไม่มีประโยชน์อะไร
ที่เราจะนำความทุกข์มาเป็นกังวล
เมื่อมีสุข สุขนั้นก็ไม่จีรังยั่งยืนเช่นกัน
เราไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น
ทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล คือ ชีวิต...ชีวิต คือ ศีล

คนที่บอกว่าเขารักชีวิต แต่เขาไม่รักษาศีล
จะเชื่อถือได้อย่างไรว่าเขารักชีวิตจริง

ศีล คือ ชีวิต...ชีวิต คือ ศีล

คนไม่มีศีล เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไม่มีราก
เมื่อถูกลมพัดก็ย่อมล้ม

คนไม่มีศีล เหมือนการสร้างบ้าน
สร้างตึกที่ไม่มีรากฐานไม่มีเสาเข็ม
ย่อมล้มเป็นธรรมดา

คนไม่มีศีล เหมือนคนไม่มีเท้าย่อมเดินไม่ได้
เหมือนรถไม่มีล้อแล่น วิ่งไม่ได้

คนไม่มีศีล เหมือนคนเป็นใหญ่เป็นโต แต่ไม่มีความรู้
ย่อมปกครองทรัพย์ ปกครองลูกน้องไม่ได้ดี

คนไม่มีศีล จะเจริญสมาธิและกระทำให้เกิดปัญญา
และวิมุตติไม่ได้ และสำเร็จมรรคผลนิพพานไม่ได้

คนมีศีล ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้
(ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่คนพาลหรือคนดี ย่อมรักษาตัวรอดได้)

คนมีศีล จะนั่งนอน หลับตื่น ก็เป็นสุขอยู่ในกาลทุกเมื่อ
ไม่มีวิปฏิสาร (คือความเดือดร้อนใจ)

คนมีศีล มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวย่อมประเสริฐกว่า
ผู้ไม่มีศีลซึ่งมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี

คนมีศีล ย่อมไม่ทำบาปแม้ในที่ลับ
เพราะมีความตรงและจริงใจต่อตนเอง

คนมีศีล ย่อมไปสู่ทุคติจตุรบาย

ศีล คือ เครื่องรางที่ป้องกันอบายภูมิได้อย่างศักดิ์สิทธิ์

คนมีศีล ย่อมมีสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า

คนมีศีล จะค้าขายก็จะมีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว

คนมีศีล เข้าสมาธิก็ง่าย ไม่สะดุ้งตกใจง่าย

คนมีศีล ย่อมไม่ฝันลามก ย่อมไม่ฝันร้าย

คนมีศีล บรรลุธรรมก็ง่าย

คนมีศีล ย่อมไม่ก่อกรรมทำบาป

คนมีศีล คือ ผู้ที่มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
(คือเชื่อในพระรัตนตรัยจริงๆ)

คนมีศีล ย่อมเห็นโทษของบาปแม้เพียงเล็กน้อย

เพราะผิดศีลข้อ ๑ จึงมีกรรม อายุสั้น มีโรคภัยไข้เจ็บมาก

เพราะผิดศีลข้อ ๒ จึงมีกรรม ทรัพย์สมบัติต้องวิบัติ
ด้วยแรงกรรมต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ

เพราะผิดศีลข้อ ๓ จึงมีกรรม ภริยา-สามี นอกจิต นอกใจ
บุตร-ธิดาไม่อยู่ในโอวาทคบชู้สู่ชาย

เพราะผิดศีลข้อ ๔ จึงมีกรรม พูดจาไม่มีคนเชื่อถ้อยฟังคำ
ตาบอด หู หนวก เป็นอัมพาต

เพราะผิดศีลข้อ ๕ จึงมีกรรม โง่เง่า หลงทำกาลกิริยา เป็นบ้า เป็นใบ้

รักษาศีลให้ได้ มีสุคติเป็นที่ไปแน่นอน

รักษาศีลให้ได้ มีโภคทรัพย์แน่นอน

รักษาศีลให้ได้ มีนิพพานเป็นที่ไป และเข้าถึงแน่นอน

..............หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธศาสนา...คือ..ศาสนาแห่งการชนะ !

จงชนะตา.....หู.....จมูก.....ลิ้น.....กาย...ใจ...ไว้เถิด
จะก้าวหน้าในมรรคแห่งพุทธศาสนา...
สิ่งทั้งหลาย...อยู่ที่ใจ...
สำเร็จมาแต่ใจ...
ใจเป็นนาย...เป็นประธาน...

จงเอาชนะหัวหน้านี้...
โดยมีใจที่แข็งและดีไว้เถิด...
สมาธิหรือปัญญาก็เป็นอันเจริญอย่างได้ผลดีที่สุดไปในนั้นพร้อมเสร็จ..
ใจที่แข็ง..ไปฝึกสมาธิย่อมได้ง่าย..
เพราะมันได้อยู่แล้ว...
ปัญญาก็ปรากฏอยู่แล้ว...
มีแต่จะขยายตัวเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น...

ท่านทั้งหลาย...จงรบ !! จงชนะ !!
จงชนะสงคราม ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย..ใจ...
สิ่งทั้งหลายที่เป็นมารและทุกข์...
จะหมดไปตามส่วนที่ชนะแล้วเสมอ......

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ห้ามฆ่า แต่ ทำไมไม่ห้ามกิน ?

โ ด ย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์


ปัญหาเกี่ยวกับศีลข้อที่ ๑ ยังมีให้สงสัยอีกประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือปัญหาเรื่องการกินเนื้อสัตว์บางคน คงคิดว่า ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงห้ามฆ่าสัตว์แล้ว ทำไมจึงไม่ทรงห้ามการกินเนื้อสัตว์เสียด้วยจะมิเข้าทำนองที่ว่า ปากว่าตาขยิบรึ ?ปัญหาตรงนี้น่าสนใจมาก โดยเฉพาะในกลุ่มของพวกที่ทานเนื้อ กับพวกทานมังสวิรัติ มักจะมีปัญหาโต้แย้งกันอยู่เสมอ

เราลองมาทำใจให้เป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แล้วฟังเหตุผลดูซิว่า ทำไมห้ามฆ่า จึงไม่ห้ามกิน ?ผู้ที่จะให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ อดีตอนุศาสนาจารย์ แห่งกองทัพบก

“พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ” ท่านให้เหตุผลไว้อย่างนี้ครับการที่พระพุทธเจ้าห้ามฆ่า แต่ไม่ห้ามกินนั้น เพราะการกระทำทั้ง ๒ อย่าง มีเหตุ และ ผลไม่เหมือนกัน การฆ่านั้นจิตของผู้ฆ่าจะต้องตกอยู่ในอำนาจของกิเลส อย่างหนึ่งอย่างใด ถ้าไม่โลภก็โกรธ ไม่โกรธก็หลง จึงจะฆ่าได้ ถ้าจิตเป็นอิสระแก่ตัว คือไม่มีอาการดังกล่าวครอบงำ คนเราจะไม่ฆ่าสัตว์ การฆ่าทุกครั้ง จะต้องกระทำในขณะจิตผิดปกติ เสมอ ฉะนั้นการฆ่าแต่ละครั้งจึงมีผล ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางจิตของผู้ฆ่า หมายความว่า การฆ่าทำให้จิตทรุดต่ำลงทุกครั้ง จะแคล้วคลาดไปไม่ได้เลยเพราะฉะนั้น ท่านจึงห้ามฆ่า

ทีนี้การกินไม่เป็นอย่างนั้น จิตไม่ต้องโลภ ไม่ต้องโกรธ และไม่ต้องหลง ก็กินได้ และเนื้อสัตว์ที่ปราศจากชีวิตแล้ว เขาแล่มาขาย จำหน่ายจ่ายแจกกันมาเป็นทอดๆ ย่อมมีสภาพเป็นเพียงวัตถุชิ้นหนึ่งจะทิ้งก็เน่าจะกิน ก็อิ่ม ไม่มีเชื้อบาปเชื้อกรรมติดอยู่ในเนื้อนั้นเลย พระพุทธองค์ จึงไม่ทรงห้ามการกินเนื้อสัตว์ ชัดเจนใช่ไหมครับ สำหรับคำชี้แจงเรื่อง

“ ห้ามฆ่า แต่ ทำไมไม่ห้ามกิน ? ”

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ

อนุโมทนาสาธุจ้า :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร