วันเวลาปัจจุบัน 30 มี.ค. 2024, 15:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


การดูแลผู้ป่วยปวด หลัง ปวดเอว ด้วยดุลยภาพบำบัด

โดย : รศ.พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ
หัวหน้าหน่วยฝังเข็มและระงับปวด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล



ดุลยภาพศาสตร์กับการปฏิรูประบบสาธารณสุข

“สูงสุดสู่สามัญ”


การร่างพระราชบัญญัติแห่งชาติเรื่องสุขภาพ
และการปฏิรูประบบสาธารณสุขกำลังเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจ
จากคนทุกวงการมิใช่เฉพาะจากบุคลากรทางด้านสาธารณสุขเท่านั้น
การพัฒนาการแพทย์ไทย การแพทย์ทางเลือก
การแพทย์แผนปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำเพื่อช่วยมวลมนุษย์
แต่การพัฒนาที่หลงทางกลับเป็นผลเสีย
ระบบสาธารณสุขนั้นควรมองเป็นหนึ่งเดียว
มิใช่แยกว่าจะใช้การแพทย์แผนใดดีกว่ากัน
ซึ่งเป็นการหลงประเด็น
เนื่องจากพยายามมองวิธีการแทนการใช้หลักการแนวคิด
ที่สำคัญมองวิถีชีวิตคนไทยทั้งระบบที่ส่งผลถึง
สาเหตุของการเกิดโรคด้วยการมองคนทั้งคน
องค์ประกอบของคนนั้นแยก จิต กาย สังคม
ออกจากกันไม่ได้โดยเด็ดขาด โดยเฉพาะกายต้องทุกระบบ
ดังนั้นหัวใจในการปฏิรูประบบสาธารณสุข
จึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้ทุกคนรู้และเข้าใจ
มีส่วนร่วมในหลักการแนวคิด ที่ไปในทิศทางเดียวกัน
ผลงานของศูนย์วิจัยระบบสาธารณสุขของอเมริกาพบว่า
โรคภัยไข้เจ็บนั้น 80% หายได้จากตัวเราเอง
20% นั้นหายจากวิธีการรักษาที่มีอยู่ในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ
ถ้าเราเริ่มเอาใจใส่สุขภาพเมื่อใดก็ถือว่า
ได้เริ่มต้นส่งเสริมป้องกันรักษา และฟื้นฟูตัวเราเองได้แล้ว 50%
การวิจัยเรื่องการฝังเข็ม (Acupuncture) ของสหพันธ์รัฐเยอรมัน
จากผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง จำนวน 1162 ราย
อาการปวดเข่า จำนวน 1039 ราย
เปรียบเทียบการรักษาด้วยวิธีฝังเข็มแบบจีน (TCM)
และแบบใช้จุดตื้น ๆ และจุดที่คิดเอาเองไม่มีหลักวิชา
ได้ผลดี 51% และ 48% ตามลำดับ
แต่อย่างไรก็ตามยังสูงกว่าแบบการแพทย์ตะวันตก (Standardtherapy)
ที่ได้ผลเพียง 28% เท่านั้น


ปัญหาสำคัญของการปฏิรูประบบสาธารณสุข คือ
การพัฒนาเชิงวิจัยเพื่อให้องค์ความรู้กระจ่างชัดเจนขึ้นให้ไปในทิศทางเดียวกัน
ซึ่งยังไม่มีองค์กรนี้ในภาครัฐที่จะบูรณาการความคิดภาคปฏิบัติให้ไปด้วยกัน


เนื้อหาความรู้ที่ให้ประชาชนต้องไม่ใช่เสนอแนะวิธีการที่แปลกแยกกันโดยสิ้นเชิง
ในทฤษฎีหลากหลายจากการแพทย์ตะวันตก
การแพทย์ไทย และการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ
มนุษย์เราจะดูแลตนเองได้ต้องมีพื้นฐาน
ความเข้าใจในกลไกธรรมชาติของมนุษย์
อย่างเป็นระบบและเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วน
ความสัมพันธ์ของจิต กาย สังคม
และความเชื่อมโยงอวัยวะภายใน ภายนอก
เนื้อเยื่อ กระดูก เอ็น ข้อต่อ หลอดเลือดแดง ดำ ทางเดินน้ำเหลือง
ตลอดจนสารเคมีในร่างกายนั้น เมื่อมีภาวะเสียสมดุลจุดใดจุดหนึ่ง
กลไกธรรมชาติมนุษย์จะพยายามปรับสมดุลให้ได้
เมื่อใดกลไกเสีย หรือความไม่สมดุลมากเกินไป
จนร่างกายปรับสมดุลไม่ได้หรือไม่ทันกับความเสียสมดุล
ก็จะบ่งชี้อาการหลากหลาย ซึ่งมนุษย์เราจะรู้สึกได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นกับ
การสังเกตการณ์ของแต่ละบุคคล คือการมีสติปัญญา หรือการเอาใจใส่
หาความรู้และทำความเข้าใจกับตัวเราเอง


ความสมดุลนั้นมีทั้งนามธรรมและรูปธรรมที่อธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ได้
การเรียนรู้การปรับสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตนั้น
มนุษย์เราจะเรียนได้ด้วยตนเองตลอดเวลาอยู่แล้ว
เพียงแต่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบองค์รวมและการบูรณาการกับมนุษย์
และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อม สังคม
ถ้าเราทำความเข้าใจอย่างเป็นระบบก็จะสามารถส่งเสริม ป้องกัน รักษา
และฟื้นฟูสุขภาพด้วยตนเองได้ถึง 80%


อาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดแขน ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดขา ปวดท้อง
ตาพร่า หูอื้อ เวียนศีรษะ หายใจไม่อิ่ม เจ็บหน้าอก ภูมิแพ้ ความดัน
อัมพฤต อัมพาต สมาธิสั้น เด็กพัฒนาการช้า
มองอาการก็จะเป็นคนละโรค คนละเรื่อง
วิธีการรักษายิ่งเป็นคนละโลกแห่งความเป็นจริง
เพราะยึดอาการโรค วิธีการรักษาเป็นตัวตั้ง
ทั้ง ๆ ที่กายวิภาค สรีระวิทยา ชีวะเคมี ของร่างกายมนุษย์ต้องมีสมดุลตลอดเวลา
ที่สำคัญมีความสัมพันธ์กันทุกระบบ
โดยเฉพาะเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม
แต่เมื่อถึงวิธีการรักษา กลับพยายามแยก
และซอยให้อยู่ในมือของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา
ยิ่งมีแพทย์ทางเลือกมากเท่าใด
ทฤษฎี วิธีการของแต่ละสถาบัน ที่เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ
ยิ่งเพิ่มความสับสนของประชาชนยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ


ศาสตร์และศิลป์ในการดำรงชีวิตที่แท้จริง
คือ ดุลยภาพศาสตร์ (ความรู้ของความสมดุล) ทุกระบบ
ตั้งแต่ปฏิสนธิ การคลอด การเลี้ยงดู พฤติกรรมอาชีพ
การมีอุบัติเหตุในบ้าน นอกบ้าน เกี่ยวข้องกับความสมดุลทุกระบบ
ผลกระทบจากแม่สู่ลูก จากสิ่งแวดล้อม อาหาร การขับถ่าย จิตใจ
ดุลยภาพศึกษาในโครงสร้าง หน้าที่
ตำแหน่งของร่างกายที่เปลี่ยนไปตามเวลา สถานที่
ซึ่งเป็นไปทั้งระบบ ไม่สามารถแยกแขนจากขา จากหลัง คอ ศีรษะ
หรืออวัยวะภายในที่แยกกัน เมื่อมีผลกระทบส่วนใดส่วนหนึ่งได้
เช่น ขาแพลงส่งผลถึง เข่า สะโพก หลังส่วนล่าง
ส่วนบน คอ ศีรษะ แล้วย้อนมาอีกข้างได้ด้วยแรงต้านของมนุษย์เอง
ดังนั้น การดำเนินของอาการหรือโรค มิได้ขึ้นกับแรงกระทบเท่านั้น
ยังขึ้นกับกาลเวลาที่ผ่านไป ความไม่สมดุลมากขึ้น
อาการหลากหลาย นอกจากเจ็บปวดแล้ว ตาพร่า หูอื้อ เวียนศีรษะ
หายใจไม่อิ่ม แขนขาชา ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
อัมพฤต อัมพาต สามารถตามมาได้หมด
การปรับสมดุลทุกระบบ อาการหลากหลายหายไปได้
การเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และการสังเกตการณ์ไปสู่การวิจัยนั้น
จะมีค่าต่อการพัฒนาวิชาการทางการแพทย์ โดยการเปลี่ยนวิธีคิด


สาเหตุของการเกิดอาการและโรค เป็นองค์รวม
การส่งเสริมป้องกัน การบำบัดรักษา ฟื้นฟูก็ต้องบูรณาการ
เป็นหนึ่งเดียวด้วยการปรับสมดุล
องค์ประกอบของมนุษย์เริ่มจากควบคุมอารมณ์ด้วยสติ (Emotion)
การเคลื่อนไหวทุกระบบเคลื่อนไหวอย่างสมดุล การหายใจ (Exercise)
การรับประทานอาหาร (Eating) การขับถ่าย (Excretion)
ดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment) เริ่มตั้งแต่เซลล์เล็ก ๆ
ในตัวเราจนนอกร่างกายด้วยการใช้ความสมดุลของแต่ละบุคคล
ตามกาลเวลา สถานที่เป็นเกณฑ์ ต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
ไม่มีการบ่งชี้ที่ตายตัว ดังนั้นทั้งหมดต้องขึ้นกับการเรียนรู้ให้เข้าใจ
ไปสู่การปฏิบัติการ (Education)
ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติของดุลยภาพบำบัด (7E)


หลักการในการเรียนรู้ และไปสู่การปฏิบัติ
ซึ่งใช้เป็นบทนำ ในการฝึกอบรมทั้งประชาชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
พยาบาล แพทย์ ในวิชาดุลยภาพบำบัด และ เวชกรรมฝังเข็มแนวใหม่
ซึ่งทางมูลนิธิดุลยภาพบำบัดเพื่ออายุและสุขภาพฯ
บ้านสวนสหคลินิก สมาคมฝังเข็มเพื่อสุขภาพ ร่วมกันจัด
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ หลักการ แนวคิด ปรัชญา
เพื่อการพัฒนาวิชาการให้ไปในทิศทางเดียวกัน


ปัญหา

การบริหารจัดการการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือกในประเทศไทยที่สำคัญ คือ การหลงประเด็น
จากความไม่เข้าใจลึกซึ้งหรือกระจ่างพอในกระบวนการหรือขั้นตอนต่างๆ
ที่จะแก้ ปัญหานี้ ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจ
และตั้งคำถามแบบมองภาพรวม จากหัวข้อดังต่อไปนี้


1. WHAT
มองถึงวัตถุประสงค์ซึ่งต้องชัดเจนและทำความเข้าใจ
ในความหมายของแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก
การแพทย์ตะวันตกว่าคืออะไร ทิศทางการพัฒนาควรไปร่วมกัน
มีเป้าหมายสำคัญเดียวกันคือ เพื่อส่งเสริม รักษา ฟื้นฟู
และป้องกันสุขภาพของประชาชน
ปัจจุบันความเข้าใจในการแพทย์ทางเลือกเริ่มสับสนเน้นไปที่วิธีการ
ที่นอกเหนือกว่าที่ใช้กันในการแพทย์แผนปัจจุบัน
หรือการแพทย์แผนไทยรวมแพทย์แผนไทยประยุกต์(อายุรเวท)
หรือเน้นไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไปหรือไม่?
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ประสานงานกันอย่างเป็นรูปธรรม
และยังถกเถียงกันอยู่ในด้านการบริหารจัดการตั้งแต่ชื่อองค์กร
งบประมาณ หรือใครจะเป็นผู้นำกรมการแพทย์แผนไทย
หรือกรมการแพทย์ทางเลือก ซึ่งจะยิ่งสร้างความสับสบให้ประชาชนมากขึ้น
และในอนาคตอาจส่งผลกระทบถึงพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
และสิ้นเปลืองทรัพยากรประเทศเป็นแน่แท้


2. WHY
หลักการและเหตุผลซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดว่าทำไม (Why)
ถึงต้องมาร่างพระราชบัญญัติแห่งชาติเรื่องสุขภาพ
เนื่องจากความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการเสนอแนวคิด ปรัชญา ทฤษฎี
หลักการเหตุผลในแต่ละศาสตร์ไม่ตรงกันทำให้เน้นไปที่วิธีการเท่านั้น
พยายามเลือกผู้ปฏิบัติ ผู้บริหารตามวิธีการหลากหลาย
โดยไม่ได้เน้นว่า ปัญหาที่แท้จริงในการแพทย์แผนปัจจุบัน(ตะวันตก)
นั้นคือ มีการแยกส่วนกันคิด แยกส่วนกันในการแก้ไขปัญหาของร่างกาย
ดังนั้นจึงเกิดการแพทย์นอกระบบ การแพทย์ทางเลือกขึ้น
โดยใช้ชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น การแพทย์แบบผสมผสาน
หรือการแพทย์พหุลักษณ์ MULTIDISCIPLINARY,
INTERDISCIPLINARY, COMPLEMENTARY,
การแพทย์ทางเลือก (ALTERNATIVE)
โดยส่วนใหญ่จะเน้นการรักษาไปที่พยาธิสภาพ (PATHOLOGY)
เฉพาะจุดและอาการถ้าถามถึงสาเหตุ (ETIOLOGY)
จะตอบว่าไม่รู้สาเหตุที่ชัดเจน (UNKNOWN)
โทษภูมิต้านทาน โทษไวรัส กรรมพันธุ์ เป็นต้น
ทำให้เมื่อเกิดโรคชัดเจนก็อาจจะช้าเกินที่จะแก้ไข
ผู้บริหารในกระทรวง แพทย์และผู้ช่วยแพทย์
ผู้ให้การบริการการบำบัดรักษา รวมถึงประชาชน
ส่วนใหญ่จะมองและคิดวิธีการที่มีอยู่ในประเทศและทั่วโลกเท่านั้น
จนลืมปรัชญา แนวคิด หลักการ
สาเหตุของการเกิดอาการและโรคหลากหลาย
ควรมองแบบภาพรวม มองทั้งแบบมหภาคและจุลภาค (HOLISTIC MEDICINE)
การมองแบบแยกส่วนอยู่ตลอดเวลาในการแพทย์ตะวันตก
และการแพทย์ทางเลือกบางวิธี การจึงทำให้ในความเป็นจริงพบว่า
การแพทย์ตะวันตกและการแพทย์ทางเลือกบางวิธี
ไม่สามารถทำให้สุขภาพดีถ้วนหน้าได้
และพบปัญหาจากการประชุมร่วมกัน
เช่น เมื่อจะจัดประชุมในกลุ่มแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือกก็จะไม่มีผู้ประสานงานบ้าง
ไม่มีงบประมาณเพียงพอบ้าง ส่วนคนที่มีงบประมาณก็ไม่พยายามเข้าใจ
ไม่เปิดใจให้กว้างเพื่อรับสภาพความเป็นจริง
ในระบบการศึกษานอกโรงเรียนแพทย์
นอกกระทรวงสาธารณสุข
การแก้ปัญหาในข้อนี้ควรสร้างความเข้าใจให้ตรงกันก่อน
และช่วยกันคิดหาวิธีว่าเราจะใช้วิธีอะไร
ที่นอกเหนือไปจากระบบการแพทย์ตะวันตกมาเสริม
หรือเป็นพื้นฐานเพื่อสร้างสุขภาพแทนการซ่อมสุขภาพ
ส่งเสริมให้ผู้บริหารในกระทรวง แพทย์และผู้ช่วยแพทย์
ผู้ให้การบำบัดรักษา และประชาชนเปลี่ยนวิธีคิด
วิธีวินิจฉัยโรคเป็นองค์รวม มองคนทั้งคนทั้งมหภาคและจุลภาค
กายทุกระบบควรมีความสัมพันธ์กับจิตวิญญาณและสังคมด้วย


3. HOW
ปัญหาจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกันไม่มีทางที่จะลงตัวกันได้
ร่วมกับการยึดติดกับบุคคลากรที่เลือกมาให้อย่างสำเร็จรูป
ซึ่งเกาะติดกับรูปแบบเดิมๆ
ยึดการจัดตั้งองค์กรแบบต่างประเทศตามความเข้าใจของตนเอง
ทำให้การจัดตั้งองค์กรมีสภาพเสมือนจะแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
โดยระบบต่างๆไม่ สมประกอบ
ถ้ากลยุทธ์ในการแก้ปัญหา(STRATEGY)
ในการแก้ปัญหามีความต่อเนื่องที่ไม่ตรงเป้าหมาย
ก็คงจะเป็นการบริหารจัดการ ที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
ตัวอย่างเช่น งานวิจัยให้ ส.ก.ว.พิจารณาให้ทุนจะเน้นไปว่า
ต้องให้มีกำไรและต้องคุ้มทุน
เมื่อเริ่มคิดกำไรขาดทุนกับชีวิตมนุษย์เป็นเงิน สมควรแล้วหรือ
โดยทั่วไปเมื่อเห็นชอบในโครงการนั้นๆผู้บริหารจัดการก็จะให้งบประมาณ
มหาวิทยาลัยแพทย์ต่างๆในการทำวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
ทั้ง ๆ ที่การส่งเสริมสุขภาพที่แท้จริงต้องมองที่ประชาชนว่า
เขาทำกันอย่างไร มิใช่การวิจัยนั้นต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์
ตามหลักวิทยาศาสตร์เสมอไป เพราะส่วนใหญ่ยังไม่มีการพิสูจน์อย่างแท้จริง
เครื่องมือการตรวจค้นก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ทุกอย่างได้ตามความเป็นจริง
แต่แพทย์ผู้ที่มาบริหารจัดการก็พยายามนำมาตรฐานการวิจัยของต่างประเทศ
มาเป็นเกณฑ์วัด ตัวอย่างในการแพทย์ตะวันตกที่พบว่าเป็นปัญหา
เช่น เรื่องยา ได้มีการวิจัยแล้วว่าสามารถใช้ได้ในคนอย่างปลอดภัย
แต่ก็ยังสร้างปัญหาไปทั่วโลกได้เช่นกัน
จึงเป็นที่มาของการปฏิรูประบบสุขภาพในหลายๆประเทศทั่วโลก
จากปัญหาในข้อ 1และข้อ 2 และตัวอย่างดังกล่าว
นำมาซึ่งการตอบคำถามในข้อนี้ว่าจะทำอย่างไร (HOW) ที่จะแก้ปัญหาสุขภาพ
ก่อนอื่นต้องมีการลดความขัดแย้ง โดยมีการประชุมสัมมนาร่วมกัน
ระหว่างองค์กรทั้งในระบบและนอกระบบก่อนจัดตั้งองค์กรนั้น ๆ
ในเรื่องของการตั้งงบประมาณและการสร้างงานวิจัย
เพื่อให้รองรับการบริการ การเรียน การสอนต่อในอนาคต
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน


4. WHEN
ข้อนี้เป็นคำถามที่ทุกกลุ่ม ควรร่วมกันพิจารณาในหลักวิชาการว่า
เมื่อไร (WHEN) ถึงจะให้ความสำคัญของวิธีการของวิชานี้
หรือองค์กรนี้ในการดูแลผู้ป่วย ทุกฝ่ายจะถกเถียงกันตลอดว่า
ภาควิชาใด สูติ, ศัลย์, อายุรศาสตร์ ฯลฯ
จนมาถึงเรื่องการแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ สมุนไพร, นวด, ฝังเข็ม,
พลังจักรวาล ฯลฯ ก็ยังไม่มีที่สิ้นสุด
พอมาถึงผู้ปฏิบัติจริง ก็จะไม่ลงตัว มีความแตกต่าง
แปลกแยก และโต้เถียงกันไม่รู้จบ
ในสัจจธรรมนั้นมนุษย์ไม่สามารถรับการแก้ปัญหาได้
อย่างเป็น ส่วน ๆ ตลอดเวลา ในบางครั้งเมื่อเกิดปัญหา
เช่น แขนขาด, ขาขาด คงต้องมีการกระทำเฉพาะส่วนอย่างรีบด่วน
แต่การแก้ปัญหาแบบองค์รวมก็ต้องทำด้วย
เพื่อมิให้เกิดข้อบกพร่องในอนาคต
ตัวอย่างโรคที่ตายและปัญหามากที่สุดในปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนไปตามสังคม
คือ อุบัติเหตุ เนื่องจากเรายึดหลักการเดิม ๆ
คือ การแพทย์ตะวันตก ต้องเป็นพระเอกเช่นเคย
โดยเพิ่มสาขา Emergency Medicine ทุกอย่างเฉียบพลัน
ต้องรีบแก้ปัญหา ซึ่งในบางกรณีเป็นการลงทุนที่แพงมาก ๆ
ทั้ง ๆ ที่เรามีการแก้ปัญหาด้วยภูมิปัญญาคนไทยที่ประยุกต์ทั้งแนวคิด
ปรัชญา จนถึงวิธีการมาได้ แต่ก็ไม่พยายามเปิดใจกว้าง
ยึดอัตตา ของตัวเองคิดว่าการเรียนจากต่างประเทศทุกอย่างต้องดีที่สุด
ต้องตามตำราเดิม ๆ ทั้งในบางครั้งการแพทย์ไทย
การแพทย์ทางเลือกในประเทศมีหลักการ แนวคิดแบบประหยัด ,
ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล อาจเท่าเทียมกับบางจุด หรือสูงกว่าบางจุด
แต่ก็มิได้นำขึ้นมาถกเถียงกันในด้านวิชาการ
ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่สุดเช่นกัน
สมควรต้องได้รับการพิจารณาในองค์ความรู้นั้น
ต้องเป็นรูปธรรมชัดเจน มิใช่พูดกันแต่นามธรรม
ต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ก่อน
ทำไมจึงไม่มาร่วมกันพัฒนาเพื่อประชาชน
และประเทศชาติในอนาคตให้ไปในทิศทางเดียวกัน


5. WHERE
สุดท้ายเราก็จะเริ่มก่อตั้ง เพื่อตอบสนองคำถามที่ว่า ที่ไหน (Where) ทันที
เพราะพยายามเบี่ยงเบนประเด็นว่า ที่ประเทศนั้นประเทศนี้เขายังทำกันแล้ว
จากความไม่เข้าใจในข้อ 1-2-3-4 ตามลำดับ ก็จะมาถึง การจัดการ
ข้อที่ 5นี้เป็นไปอย่างบิดเบี้ยว! ความแตกแยกมองผู้ร่วมงานด้านสาธารณสุข
เพื่อตอบสนองสุขภาพที่ดีของประชาชน ก็แปลกแยกกันไปเรื่อย ๆ
ไม่มีทางจะมาบรรจบและรวมพลังกันทำงานได้
ฉะนั้นการแก้ไขปัญหา อาจจะไม่ทั้งหมด แต่ส่วนสำคัญ
ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้บริการ ควรจะทำความเข้าใจ
ศึกษาข้อมูล ดังกล่าวให้ถ่องแท้เสียก่อน โดยเฉพาะให้เป็นรูปธรรมชัดเจน
เพราะส่วนใหญ่ผู้บริหาร ผู้จัดการ กับผู้ปฏิบัติจริง ไม่เคยได้มีโอกาส
พิจารณาร่วมกันในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะผู้รับบริการว่า
ทำไมเขาถึงได้เดินทางไกลเหลือเกิน จากคลินิกหนึ่งไปอีกคลินิก
จากโรงพยาบาลหนึ่งไปอีกโรงพยาบาลหนึ่ง
จากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศ เพื่อแสวงหาผู้รู้ ผู้ให้บริการ
ซึ่งเป็นที่มาของการสูญเสียเงิน เวลา และโอกาสทั้งสิ้น


การสัมมนาวิชาการแพทย์ทางเลือก ครั้งที่ 2
เรื่อง "การดูแลผู้ป่วยปวดหลัง ปวดเอวด้วยการแพทย์ผสมผสาน"
วันที่ 23-24 มีนาคม 2549 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ


เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารประกอบการบรรยาย "การดูแลผู้ป่วยปวดหลัง ปวดเอวด้วยดุลยภาพบำบัด" (pdf)
http://www.dtam.moph.go.th/alternative/ ... adawan.pdf

สไลด์ประกอบการบรรยาย "การดูแลผู้ป่วยปวดหลัง ปวดเอวด้วยดุลยภาพบำบัด" (pdf)
http://www.dtam.moph.go.th/alternative/ ... opathy.pdf


ที่มา... กองการแพทย์ทางเลือก

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 23:29
โพสต์: 1065


 ข้อมูลส่วนตัว


cool สาธุจ้า!...ยายลูกโป่ง tongue
บทความนี้ช่างดีแท้...เป็นประโยชน์ในยามนี้จริง ๆ

:b8: :b4: :b8:

จะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย เหมือนดอกไม้โรย ไม่มีเกสร...

:b9: :b32: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย มัทนา ณ หิมะวัน เมื่อ 03 พ.ค. 2010, 14:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

มัทนา ณ หิมะวัน เขียน:
จะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย เหมือนดอกไม้โรย ไม่มีเกสร...


อนุโมทนาสาธุด้วยครับ มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b54: :b47: :b48: :b47: :b48: :b47: :b54:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร