วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ แปลว่า พระนิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง”

ว่างจาก อวิชชาและสัมมาทิฏฐิ มันเต็มบริบูรณ์อยู่แล้วด้วยตัวมันเอง จึงเป็นความว่างอย่างยิ่ง

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผงธุลีดิน เขียน:
“นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ แปลว่า พระนิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง”

ว่างจาก อวิชชาและสัมมาทิฏฐิ มันเต็มบริบูรณ์อยู่แล้วด้วยตัวมันเอง จึงเป็นความว่างอย่างยิ่ง


ถาม : นิพพานํ ปรมํ สุขํ หมายความว่าอย่างไร ต่างกับ นิพพานํ ปรมํ สุญญํ อย่างไร

หลวงพ่อ พุธ :
นิพพานํ ปรมํ สุขํ เป็นภาษาบาลี เมื่อแปลออกมาก็คือว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
นิพพานํ ปรมํ สุญญํ พระนิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง หรือสูญอย่างยิ่ง
ความหมายของคำพูดก็ต่างกันอยู่แล้ว อันหนึ่งหมายถึงสุข อันหนึ่งหมายถึงสูญ
คือ ความสูญเปล่า ไม่มีอะไร ทีนี้ปัญหาที่น่าสงสัยก็อยู่ตรงที่ว่า นิพพานํ ปรมํ สุญญํ
เราเข้าใจว่า พระนิพพานนี้สูญเพราะ นิพพาน ก็แปลว่า ดับ พึงทำความเข้าใจว่า
ดับ หมายถึง ดับจากกิเลสตัณหา มานะ ทิฏฐิ อวิชชา ดับหมด แต่สิ่งที่เหลืออยู่จากการดับนั้น
อาตมาใคร่ขอฝากท่านผู้ฟัง ท่านทั้งหลายไว้พิจารณา ว่าสิ่งที่เหนือการดับนั้น
พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกเราไว้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร อาตมาขอฝากไว้ให้ท่านทั้งหลายไว้พิจารณา
ทีนี้คำว่า นิพพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานสุขอย่างยิ่ง กับ นิพพานํ ปรมํ สุญญํ
พระนิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง อันนี้คำแปลก็มีความหมายต่างกันอยู่แล้ว
อันหนึ่งหมายถึงความสุข อันหนึ่งหมายถึงความสูญ คือ สูญเปล่า คือ สูญจากกิเลส ตัณหา
มานะ ทิฏฐิ นั่นเอง ความสูญ จากกิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ก็หมายถึงว่า ความดับกิเลส
แล้วสิ่งที่อยู่เหนือการดับกิเลสนั้นคืออะไร อันนี้ขอฝากให้นักธรรมะทั้งหลายช่วยพิจารณา


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 01 พ.ค. 2010, 22:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 02:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
คือ "นิพพานัง ปรมัง สุขัง"
มีคนแปลว่า "นิพพาน เป็นสุข อย่างยิ่ง"
ซึ้งแปลได้ครบถ้วนไม่ขาดไม่เกิน

แต่แปลแล้ว ไม่ตรงกับสัจจะธรรม
เพราะ "สุข" เป็นอารมณ์
ถ้านิิพานแล้วจะมีอารมณ์อยู่ ก็ดูจะแปลกๆ
เป็นนิพพานที่ยังไม่พ้นขันธ์ เป็นความสุขจากขันธ์


นิพพาน เป็นสุข อย่างยิ่ง

สุข..นี้ไม่ใช่..สุขเวทนา..นะครับ

แต่เป็นสุขที่เกิดความสงบ..ดั่งพุทธสุภาษิตว่า..

นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ....สุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี

นั้นแหละครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 04:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ชาติสยาม เขียน:
คือ "นิพพานัง ปรมัง สุขัง"
มีคนแปลว่า "นิพพาน เป็นสุข อย่างยิ่ง"
ซึ้งแปลได้ครบถ้วนไม่ขาดไม่เกิน

แต่แปลแล้ว ไม่ตรงกับสัจจะธรรม
เพราะ "สุข" เป็นอารมณ์
ถ้านิิพานแล้วจะมีอารมณ์อยู่ ก็ดูจะแปลกๆ
เป็นนิพพานที่ยังไม่พ้นขันธ์ เป็นความสุขจากขันธ์


นิพพาน เป็นสุข อย่างยิ่ง

สุข..นี้ไม่ใช่..สุขเวทนา..นะครับ

แต่เป็นสุขที่เกิดความสงบ..ดั่งพุทธสุภาษิตว่า..

นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ....สุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี

นั้นแหละครับ :b8:



เหอๆๆ

สันนิษฐานแบบกบ อ่อนอภิธรรม

สุข..นี้ไม่ใช่..สุขเวทนา..นะครับ

แต่เป็นสุขที่เกิดความสงบ..


สุขที่เกิดจากความสงบ
เป็นได้แค่ เจตสิก

เหอๆๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 23:38
โพสต์: 193

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


enlighted เขียน:
varinne เขียน:

"นิพพาน"

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

นิพพาน-คำว่า นิพพาน นี้ เขาแปลว่า ดับ ท่านจัดให้เป็นหลายประเภทด้วยกัน คือ

1.ดับกิเลส-มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังไม่ตาย แต่จิตเป็นนิพพาน

2.ดับกิเลส-โดยไม่มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ตายแล้วจิตเป็นสุข อยู่แดนทิพย์อมตะนิพพาน

แต่ว่าในวันนี้จะขอพูดถึง นิพพานมาตรฐาน ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้

องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า......

"นิพพานัง ปรมัง สุขัง"-แปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่ทว่าเรื่องพระนิพพานนี้ มีความเข้าใจเฝือของบรรดาท่านพุทธบริษัทอยู่มาก ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้จุดหนึ่งว่า

"นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"-ซึ่งแปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นธรรมว่างจากความทุกข์ ว่างจากกิเลส โลภ โกรธ หลง ว่างจากขันธ์ 5 ว่างจากดิน น้ำ ลม ไฟ ว่างอย่างยิ่ง


คำว่า "สุญ" ในที่นี้ ส่วนที่แปลศัพท์โดยมากมักจะทับศัพท์ ใช้คำว่า"สูญ"

แต่คำว่า"สุญ" นั้น เขาแปลว่า"ว่าง" ก็หมายความว่า "บุคคลใดที่จะเข้าถึงนิพพานได้ ต้องว่างด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

1.ว่างจากโลภะ-คือ ไม่มีความโลภในจิตใจ

2.ว่างจากโทสะ-คือ ไม่มีความหงุดหงิด โกรธง่ายในใจ

3.ว่างจากโมหะ-คือ ไม่มีความหลงในโลกทั้งสามในจิตใจ

เพราะว่าโลภะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นรากเหง้าของความชั่ว ที่เรียกว่า รากเหง้าของกิเลส กิเลส ก็คือความชั่ว ความมัวหมองของจิต ที่เรียกว่า จิตคิดชั่ว กิเลสทั้งหมดที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตตรัสแล้ว โดยชื่อแล้วนับปริมาณไม่ได้

แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ตรัสว่า กิเลสทั้งหมดถ้ากล่าวโดยย่อแล้ว ก็เหลือ 3 ประการ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง

ฉะนั้น สมเด็จพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ถ้าจิตของบุคคลใดว่างจากกิเลสทั้ง 3 ประการ คือ

โลภะ-ความโลภไม่มีในจิต

โทสะ-ความโกรธไม่มีในจิต

โมหะ-ความหลงไม่มีในจิต

อย่างนี้ สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสว่า เป็นผู้มีความว่างจากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน คือคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"......

ที่มา http://www.buddhapoem.com/index.php?lay ... &No=464354


อนุโมทนาคร๊าบ

ว่างชั่วคราว เข้าไปนิพพาน แป๊ปนึง แล้วกลับมาอยู่กับกิเลสต่อได้หรือเปล่าคร๊าบ


อุปมาดั่งคนแขนด้วน ไม่ว่าจะเช้า กลางวัน หรือเย็น แขนก็ยังด้วนเหมือนเดิม ไม่มีวันงอกใหม่ได้อีก
เปรียบดั่งกิเลส ขาดแล้วขาดเลย ไม่มีทางงอกออกมาได้อีก

ไปนิพพานแล้ว ไปเลย ไม่มีการถอยหลังกลับมาอีก

ปล. นิพพานเข้าๆออกๆ ไม่ใช่นิพพานของแท้

.....................................................
หากไม่สนใจหลักธรรมปลีกย่อย แล้วจะบรรลุหลักธรรมใหญ่ได้ยังไง -- กวนอู

"ทรัพยกรมนุษย์หากตายไป บริษัทฯ สามารถหามาแทนได้ แต่ทรัพยากรครอบครัวนั้น ครอบครัวไม่สามารถหามาแทนได้"


แก้ไขล่าสุดโดย varinne เมื่อ 02 พ.ค. 2010, 19:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร