วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 20:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2010, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ว า ง ตั ว... ว า ง จิ ต อ ย่ า ง ไ ร
ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคม !!!

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดสุนันทวนาราม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี


• คำ ถ า ม

จากสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคม
ทำให้รู้สึกว่าความอดทนของคนเรามีขีดจำกัด
ตามหลักพุทธศานา เราต้องอดทน ให้อภัย
ทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้เลยหรือ ?


• คำ ต อ บ

ความอดทนต้องประกอบด้วยปัญญา
พิจารณาเหตุควรอดทน หรืออดทนในสิ่งที่ควร

ในชีวิตของคนเรา
จำเป็นต้องอดทนต่อเหตุที่เข้ามากระทบ อย่างคือ


๑. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ

คืออดทนต่อธรรมชาติดินฟ้าอากาศ

๒. อดทนต่อทุกขเวทนา

คืออดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วยความไม่สบายกาย

๓. อดทนต่อความเจ็บใจ

คืออดทนต่อเหตุแห่งความไม่พอใจที่มากระทบ

เช่น คำพูดที่ไม่ชอบใจ ความบึบคั้นจากผู้บังคับบัญชา
อดทนต่อความโกรธหงุดหงิดขุ่นเคืองใจ
ไม่ระเบิดอารมณ์ออกมา
ไม่ไปทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นทั้งด้วยกายและวาจา เป็นต้น และ

๔. อดทนต่ออำนาจกิเลส

คืออดทนต่อสิ่งยั่งยวนน่าเพลิดเพลินใจ
อดทนต่อสิ่งที่อยากทำแต่ไม่สมควรทำ
เช่น การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การเที่ยวกลางคืน
เล่นการพนัน สูบบุหรี่กินเหล้าเมายา เป็นต้น

ถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นว่าเหตุทั้ง๔ นี้
เป็นสิ่งที่วนเวียนอยู่กับชีวิตเราตลอดทั้งชีวิต

พุทธศาสนาจึงสอนให้เรามีความอดทน
ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เราควรมี ควรพัฒนาให้ยิ่งๆขึ้นโดยไม่มีขีดจำกัด


การที่เราเห็นว่าสังคมมีปัญหา แตกแยกสามัคคีกัน
แล้วเราหมดความอดทนอดกลั้น ระเบิดอารมณ์ออกมา
แสดงความโกรธไม่มีเมตตา ไม่ให้อภัยกัน
ก็จะยิ่งทำให้สังคมแย่ลง

เราควรมองที่ตัวเองก่อนว่า
เราทำหน้าที่ของพลเมืองที่ดีแล้วหรือยัง
บทบาทหน้าที่ของเราก็มีอยู่ทุกคน
เราทำหน้าที่ของเราถูกต้องสมบูรณ์ไหม


ถ้าเราทำดีที่สุดแล้ว
หากอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยให้รู้จักปล่อยวาง


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 23 เม.ย. 2010, 13:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2010, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


• คำ ถ า ม

ถ้าเราวางเฉยไม่ยินดียินร้าย
ต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุบัน
ไม่แสดงออกในทางใดทางหนึ่ง
เพื่อหาทางแก้ปัญหาให้กับสังคม
เป็นการเห็นแก่ตัวหรือไม่ ?


• คำ ต อ บ

ถ้าเราไม่สนใจ ไม่เอาใจใส่ หรือไม่ทำหน้าที่
อันนี้เป็นการเห็นแก่ตัว
ยินดียินร้าย เกิดขึ้นจากกิเลส อวิชชา ความโลภ โกรธ หลง

ไม่ให้ยินดียินร้ายนี้หมายถึง
ทำให้จิตใจเป็นกลางๆ ไม่มีอติหรือลำเอียง


คือลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียก ฉันทาคติ
ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียก โทสาคติ
ลำเอียงเพราะเขลา เรียก โมหาคติ
ลำเอียงเพราะกลัวเรียก ภยาคติ
ต้องขจัดสิ่งเหล่านี้ออกจากจิตใจ

เพราะจิตใจที่ดีมีเมตตา
ทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ตามบทบาทหน้าที่ของเรา


แต่การเมตตาก็ต้องอาศัยปัญญาเหมือนกัน
ถ้าความเมตตาที่ปราศจากปัญญา
ก็เป็นสิ่งที่เป็นอันตราย


เช่น เรื่องชาวนากับงูเห่า
ชาวนาสงสารงูเห่าก็เข้าไปช่วยตนถูกงูกัดตาย
ใช้ไม่ได้เป็นการทำร้ายตนเอง

เราควรวางตัวอย่างไรในสถานการณ์ความขัดแย้ง
ตอบสั้นๆ ก็คือ ให้เราตั้งมั่นในศีล ๕
เมื่อเรารักษาศีล ๕ มั่นคงแล้ว
ศีลจะรักษาเราคุ้มครองเรา


นอกจากนี้ก็ให้มีสติปัญญาระมัดระวังตัว
ไม่ไปในสถานที่ “อโคจร”
คือไม่ไปในสถานที่ที่ไม่ควรไป
ไม่คบหากับบคคลที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม เป็นต้น


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 23 เม.ย. 2010, 14:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2010, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


• คำ ถ า ม

วันๆ มีแต่ข่าวร้ายๆ
รับรู้แล้วบันดาลโทสะเราจะแก้ไขได้อย่างไร ?


• คำ ต อ บ

นี่เป็นความจริงของชีวิต วัฏสงสารเป็นอย่างนี้เอง
เป็นโทษของวัฏฏสงสาร


ญาติพี่น้องของพระพุทธเจ้าก็ยังต้องเสียชีวิตจากการกระทำในวัฏฏสงสาร
เป็นกรรมที่ต้องประสบ

พระพุทธเจ้าเมื่อทราบข่าวเหล่านี้ก็ทำใจเป็นกลาง
มีอุบกขา เราต้องทำใจเป็นกลาง ๆ อย่างพระพุทธเจ้า

ให้พิจารณาด้วยปัญญาว่าข่าวก็เป็นข่าว
เมื่อดูข่าวแล้วเกิดอารมณ์ก็ให้เห็นว่าเป็นอารมณ์


เมื่อเห็นได้อย่างนี้แล้วก็จะเห็นตัวรู้
พุทธะ ผู้รู้ ผู้เบิกบาน
อย่ายึดมั่นถือมั่น
ข่าวก็เป็นเรื่องธรรมดา
อารมณ์ก็เป็นเรื่องธรรมดา


ชีวิตของเราต้องรักษาศีล รักษาสุขภาพใจของเรา

รูปภาพ

:b8: :b8: :b8:

(คัดลอกบางตอนมาจาก : “คนไทยใจดี” : ธรรมบรรยายเล่มที่ ๓๐
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก วัดสุนันทวนาราม
บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี,
พิมพ์ครั้งที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒, พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, หน้า ๖๘-๗๑)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 23 เม.ย. 2010, 14:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 19:31
โพสต์: 169

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: ทำดี
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มที่ชอบ
ชื่อเล่น: เก็บเกี่ยว
อายุ: 0
ที่อยู่: ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


ในตอนที่มีความขัดแย้งทางสังคมที่ผ่านมานั้น มีเพื่อนผมคนหนึ่งท่านทุกข์ใจมากที่เห็นพระบ้างรูปเข้าร่วมด้วยท่านว่าท่านพยายามทำดี พยายามทำตัวเป็นคนรักษาพระศาสนามาตลอด แต่ทำไมพระเหล่านั้นกลับไม่ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเป็นกลาง และท่านถามว่าในสมัยพระพุทธเจ้ามีพระแบบนี้ไหม ผมเลยตอบไปว่า เท่าที่ผมได้อ่านศึกษามาบ้างนั้น ข้อศีลของพระใน ๒๒๗ นั้นมาจากพระที่กำลังศึกษาอยู่ยังทำผิดทำถูกอยู่เสมอ ผมว่าถ้าพระพุทธเจ้ายังอยู่ ศีลอาจจะมากกว่า ๒๒๗ ก็เป็นได้ในสังคมปัจจุบัน แม้ปัจจุบันแม้เป็นพระแล้วแต่ท่านยังไม่สมบูรณ์ถึงที่สุดก็เป็นธรรมดาที่มีผิดถูกบ้าง แม้เราเองก็เป็นเช่นท่านอยู่ยังเป็นคนที่ยังไม่สมบูรณ์ทางจิตใจกันเลย :b9:

.....................................................
รักษาที่ดีไว้ ก่อความดีใหม่ๆ ละๆๆชั่วต่อๆไป


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร