วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 276 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า

ทางสายเดียวที่เป็นหนทางสู่พระนิพพาน คือ การเจริญวิปัสสนา
โดยการปฏิบัติตามแนว "สติ" ปัฏฐาน ๔

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ ซึ่งหาคำตอบให้ตนเองไม่ได้...ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ก็เป็นอัธยาศัยของแต่ละคนที่จะศึกษา ปฏิบัติ หาคำตอบให้แก่ตนเองต่อไป


ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ คำสอน

บางท่าน สอนโดยตนเองก็ยัง ไม่อาจแยกแยะได้ เช่น ระหว่าง

ความคิด (หลง) ความอยาก (ตัณหา) กับ

ฉันทะ(ความปราถานา) , สติ (การระลึกได้)


ดังนั้นจึง "ตีความ" การมี "สติ" รู้ทัน ความคิด หรือความอยาก

เหมาว่า เป็นเพียงความคิด หรือความอยาก เช่นเดียวกันไปเสียหมด

แบบนี้ก็ลบ คำว่า สติ ออกจากสารบบคำสอนของพระพุทธองค์เสียเลยดีกว่า

ไปปฏิบัติตาม แนวตัณหาปัฏฐาน ๔ กันดีกว่า

กุศลเกิด กับ อกุศลเกิด
สภาวะมันต่างกันโดยสิ้นเชิง
แต่ด้วยความดันทุรัง เอาบัญญัติมาบดบังปรมัตถ.....

อกุศลเกิดกับตนเองแท้ๆ ยังดูไม่ออก

เวรกรรมของชาวพุทธแท้ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:
พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า

ทางสายเดียวที่เป็นหนทางสู่พระนิพพาน คือ การเจริญวิปัสสนา
โดยการปฏิบัติตามแนว "สติ" ปัฏฐาน ๔

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ ซึ่งหาคำตอบให้ตนเองไม่ได้...ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ก็เป็นอัธยาศัยของแต่ละคนที่จะศึกษา ปฏิบัติ หาคำตอบให้แก่ตนเองต่อไป


ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ คำสอน

บางท่าน สอนโดยตนเองก็ยัง ไม่อาจแยกแยะได้ เช่น ระหว่าง

ความคิด (หลง) ความอยาก (ตัณหา) กับ

ฉันทะ(ความปราถานา) , สติ (การระลึกได้)


ดังนั้นจึง "ตีความ" การมี "สติ" รู้ทัน ความคิด หรือความอยาก

เหมาว่า เป็นเพียงความคิด หรือความอยาก เช่นเดียวกันไปเสียหมด

แบบนี้ก็ลบ คำว่า สติ ออกจากสารบบคำสอนของพระพุทธองค์เสียเลยดีกว่า

ไปปฏิบัติตาม แนวตัณหาปัฏฐาน ๔ กันดีกว่า

กุศลเกิด กับ อกุศลเกิด
สภาวะมันต่างกันโดยสิ้นเชิง
แต่ด้วยความดันทุรัง เอาบัญญัติมาบดบังปรมัตถ.....

อกุศลเกิดกับตนเองแท้ๆ ยังดูไม่ออก

เวรกรรมของชาวพุทธแท้ๆ




คุณ Eikewsang cool
ขออภัยด้วยนะคะ ถ้าคำพูดอาจจะทำให้ไม่ถูกใจ :b8:

สมถะต้องคู่กับวิปัสสนาค่ะ จะสมถะก่อนหรือ วิปัสสนาก่อนก่อนก็ได้ แต่จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ค่ะ
การปฏิบัติบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 ให้ผลคือ สติ สัมปชัญญะ พร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาค่ะ
จะมาบอกว่า การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 นั้น เป็น วิปัสสนา อย่างเดียว ไม่ถูกต้องนะคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 01:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คุณ Eikewsang cool
ขออภัยด้วยนะคะ ถ้าคำพูดอาจจะทำให้ไม่ถูกใจ :b8:

สมถะต้องคู่กับวิปัสสนาค่ะ จะสมถะก่อนหรือ วิปัสสนาก่อนก่อนก็ได้ แต่จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ค่ะ
การปฏิบัติบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 ให้ผลคือ สติ สัมปชัญญะ พร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาค่ะ
จะมาบอกว่า การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 นั้น เป็น วิปัสสนา อย่างเดียว ไม่ถูกต้องนะคะ



cool สวัสดีครับ กัลยาณมิตร walaiporn cool

smiley smiley ขอบคุณ....สำหรับท่าที ที่เป็นมิตรในการวิพากษ์วิจารณ์กัน tongue tongue

:b12: ไม่มีอะไรต้องกังวลหรอกครับ เรื่องถูกใจ/ไม่ถูกใจ :b12:

เพราะทราบว่า มีเจตนาพูดคุยกัน แบบเอา "ถูกต้อง" เป็นประมาณ
:b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45:


เห็นด้วยครับกับที่ คุณ walaiporn ว่ามาทั้งหมด

คือ สมถ คู่ วิปัสสนา หรือ สติ - สมาธิ ต้องเดินคู่กันเสมอ จึงขึ้นวิปัสสนา
ถ้าขาดสมาธิแล้ว จิตก็ไม่มีทางขึ้นเป็นวิปัสสนา...แน่นอน

และสติปัฏฐานนั้น มีสมถ ปะปนอยู่ในรายละเอียดจริงๆ


แต่ว่า ที่ผมกล่าวในเบื้องต้นของกระทู้นี้ เพราะ
หมายเอาคำตรัสของพระพุทธองค์ เป็นประโยค...ชู...กระทู้ครับ



v v v ดังเช่นตัวอย่างที่นำมาให้ดูนี่ขอรับv v v

เป็นส่วนหนึ่งของธรรมเทศนา ของสมเด็จพระสังฆราชฯ.....ในหัวข้อ

เอกายนมรรค ทางปฏิบัติอันเดียว


"..... เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม จะแสดงสรุปธรรมะ

ที่บรรยายมาโดยลำดับ ตามแนวพระสูตรใหญ่ ที่ตรัสแสดงสติปัฏฐาน

อันได้ชื่อว่า มหาสติปัฏฐานสูตร

อันได้ถือเป็นหลักในการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป

พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงชี้ทางปฏิบัติอันเดียว

อันเรียกโดยชื่อว่าเอกายนมรรค ทางไปอันเดียว

คือทางปฏิบัติอันเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย..."


http://www.mahayana.in.th/tsavok/tape/0 ... %B8%A7.htm



ขออนุโมทนาครับ


(โอ้ยๆๆๆ แก้ไขบ่อยๆ เพราะไม่ชำนาญการใช้เครื่องมือ...ครับ)


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 08 เม.ย. 2010, 01:43, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 01:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่เรามาถกๆกันนี่ ก็เพราะ บัญญัติ ที่ใช้ในการตีความกันสะส่วนมากเลยค่ะ
ต่างคน ต่างรู้ ในเมื่อรู้ยังไม่เหมือนกัน ก็เลยต้องมีข้อสนทนาหรือจะเรียกว่า ถกกันก็ได้ค่ะ


Eikewsang เขียน:

คือ สมถ คู่ วิปัสสนา หรือ สติ - สมาธิ ต้องเดินคู่กันเสมอ จึงขึ้นวิปัสสนา
ถ้าขาดสมาธิแล้ว จิตก็ไม่มีทางขึ้นเป็นวิปัสสนา...แน่นอน

และสติปัฏฐานนั้น มีสมถ ปะปนอยู่ในรายละเอียดจริงๆ



อย่างตรงนี้ ที่คุณกล่าวว่า " ถ้าขาดสมาธิแล้ว จิตไม่มีทางขึ้นเป็นวิปัสสนา "

ถือว่า เรามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะคะ ถ้าตรงไหน ที่คุณเห็นว่า มันไม่ใช่นะ
ก็นำเสนอข้อคิดเห็นมาได้เลยค่ะ

คือ ขอถามน่ะค่ะ ในมุมมองของคุณนั้น คุณเข้าใจว่า " วิปัสสนา " นั้น เป็นอย่างไรหรือคะ
แล้ว ทำไมต้องมีสมาธิก่อน ถึงจะขึ้นวิปัสสนาได้ แบบนี้ ถ้าคนไม่เคยทำสมาธิ
ก็ขึ้นวิปัสสนาไม่ได้สิคะ ... ใช่ป่ะคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 08 เม.ย. 2010, 01:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 02:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


fakemonk เขียน:


ถ้าไม่มีสมถะ วิปัสสนา จะเอากำลังมาจากไหน?

สติปัฏฐาน ๔ มีทั้งส่วนที่เป็นสมถะ และวิปัสสนา

กรรมฐานบางอย่าง เป็นได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา



เช่น การพิจารณาตามข้อกระดูก ไม่ให้จิตหลุดไปจากกระดูกในกายเลย เป็นสมถะ
แต่ถ้าจิตสงบแล้ว มันจะเป็น วิปัสสนา แล้วปัญญาที่เกิดขึ้น มันจะแตกต่างจากปัญญาสามัญสำนึกมาก




แลกเปลี่ยนมุมมองกันนะคะ

ตรงนี้ ขออภัยด้วยนะคะ ไม่ได้คิดละเมิดอะไรใครๆ
แต่เวลาเราจะตีความ ตามตัวหนังสือนี่ ถ้าเป็นไปได้นะคะ ถ้าเข้าใจสมถะและวิปัสสนา
จะอ่านตัวหนังสือ หรือ ตัวสภาวะที่แสดงมานี่ เข้าใจได้ง่ายกว่าค่ะ

ขอพูดทีละข้อนะคะ

" ถ้าไม่มีสมถะ วิปัสสนาจะเอากำลังมาจากไหน "
คำว่า " สมถะ " หมายถึงผลของการทำสมาธิ คือ จิตสงบ ถูกต้องไหมคะ?

แล้วกำลังของสมาธิที่จิตสงบลงไปนั้น มี 3 ระดับ
ขณิกสมาธิ ๑ อุปจารสมาธิ ๑ อัปนาสมาธิ ๑

อย่าลืมว่า แต่ละคนสร้างเหตุมาแตกต่างกันไป ในแนวทางปฏิบัติ ผลของสมาธิจึงมีกำลัง
ของสมาธินั้น มาก น้อยแตกต่างกันไป ตามที่เหตุกระทำมา
แต่ขณิกะ ก็ขึ้นชื่อว่า เป็นผลของสมาธิ จัดว่าเป็นสมถะเหมือนกัน

แต่เพราะการให้ค่าให้ความหมายว่า สมถะต้อง สมาธิระดับ อุปจารสมาธิและอัปนาสมาธิเท่านั้น
จึงทำให้กลายเป็นข้อถกเถียงไม่รู้จบ

แต่พอมาเป็นจิตตวิสุทธิ์ ขณิกสมาธิ กลับถูกจัดเข้าใจจิตตวิสุทธิ์ เคยสงสัยกันมั่งไหมคะว่าทำไม
ขณิกสมาธิ ใหม่ๆอาจจะมีกำลังน้อย แต่เมื่อทำได้บ่อยๆ กำลังของสมาธินั้น
สามารถสะสมเป็นอัปนาสมาธิได้ จึงถูกจัดเป็น จิตวิสุทธิ์เพราะเหตุนี้


ข้อต่อไปนะคะ


กรรมฐานบางอย่าง เป็นได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา
เช่น การพิจารณาตามข้อกระดูก ไม่ให้จิตหลุดไปจากกระดูกในกายเลย เป็นสมถะ
แต่ถ้าจิตสงบแล้ว มันจะเป็น วิปัสสนา แล้วปัญญาที่เกิดขึ้น มันจะแตกต่างจากปัญญาสามัญสำนึกมาก



ขออภัยด้วยนะคะ ถ้าเป็นคำพูดของครูบาฯจริงๆ :b8:

กรรมฐาน ขึ้นชื่อว่า กรรมฐานที่มียกไว้ 40 กองนั้น ล้วนมีการบริกรรมภาวนาทั้งสิ้น
ผลที่ได้รับคือ สมถะค่ะ ความสงบ คือ สมถะค่ะ ไม่ใช่วิปัสสนา

แต่การพิจรณาการพิจารณาตามข้อกระดูก ไม่ให้จิตหลุดไปจากกระดูกในกายเลย
อันนี้เป็น วิปัสสนาค่ะ



สมถกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้ในการบริกรรมภาวนา เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ
ปฐวี-ดิน อาโ-น้ำ เป็นต้น หรืออารมณ์ที่เป็นอสุภะอื่นๆ รวม ๔๐ อย่าง

วิปัสสนา มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ สภาวธรรมทั้งหลายในสกลกายของเรา
กล่าวโดยย่อคือ นามและรูป หรือเบญจขันธ์ กับทั้งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์
( คือ ความนึกคิด-ความรู้สึก ) หรืออัตภาพร่างกายนี้ นับเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ของวิปัสสนา

" รูปํ ภิกฺขเว โยนิโสมนสิการ รูปานิจฺจญญจ ยถาภูตํ สมนุปสฺสถ "
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการตั้งสติกำหนดที่รูป ถ้ามีสมาธิแล้ว
รูปนั้นเป็นอนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนแน่นอน "

" โผฏฐพฺเพ อนิจฺจโต ชานโต ปสฺสโต อวิชฺชา ปหียติ วิชฺชา อุปฺปชฺชติ
" โยคีบุคลลที่โผฏฐัพพาถูกต้องสัมผัสนั้น ตั้งสติกำหนดรู้เห็นอยู่ว่าไม่เที่ยง
บุคคลนั้น อวิชชาหายไป วิชชาญาณปรากฏ "


การเจริญวิปสสนา คือ การกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ถ้าผิดจากการกำหนดรูปนามเสียแล้ว
ก็หาใช่วิปัสสนากัมมัฏฐานไม่



ถึงถามไปไงคะว่า เข้าใจว่า คำว่า " วิปัสสนา " นั้น หมายถึงอะไร?


fakemonk เขียน:
ดังนั้น ที่บอกว่า วิปัสสนาไปก่อน โดยไม่มีสมถะ เป็นเรื่อง ขี้โม้ ทั้งหมด





การเจริญสติ ก็คือว่า เป็นการทำวิปัสสนา นำหน้า แล้วมีผลที่ได้รับคือ สติ สัมปชัญญะ และสมาธิค่ะ
ผลของสมาธิก็อย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้วว่า แต่ละคนได้ผลแตกต่างกันไป
ผลของสมาธิ คือ ความสงบ คือ สมถะ ถูกไหมคะ

อื่มมม .... แล้วเป็นเรื่องโม้ตรงไหนหรือคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 08 เม.ย. 2010, 02:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ...เกิด...ทำให้หยุดคิด(หลง)/อยาก(ตัณหา)

แล้วสติก็ดับลง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ที่เรามาถกๆกันนี่ ก็เพราะ บัญญัติ ที่ใช้ในการตีความกันสะส่วนมากเลยค่ะ
ต่างคน ต่างรู้ ในเมื่อรู้ยังไม่เหมือนกัน ก็เลยต้องมีข้อสนทนาหรือจะเรียกว่า ถกกันก็ได้ค่ะ


Eikewsang เขียน:

คือ สมถ คู่ วิปัสสนา หรือ สติ - สมาธิ ต้องเดินคู่กันเสมอ จึงขึ้นวิปัสสนา
ถ้าขาดสมาธิแล้ว จิตก็ไม่มีทางขึ้นเป็นวิปัสสนา...แน่นอน

และสติปัฏฐานนั้น มีสมถ ปะปนอยู่ในรายละเอียดจริงๆ



อย่างตรงนี้ ที่คุณกล่าวว่า " ถ้าขาดสมาธิแล้ว จิตไม่มีทางขึ้นเป็นวิปัสสนา "

ถือว่า เรามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะคะ ถ้าตรงไหน ที่คุณเห็นว่า มันไม่ใช่นะ
ก็นำเสนอข้อคิดเห็นมาได้เลยค่ะ

คือ ขอถามน่ะค่ะ ในมุมมองของคุณนั้น คุณเข้าใจว่า " วิปัสสนา " นั้น เป็นอย่างไรหรือคะ
แล้ว ทำไมต้องมีสมาธิก่อน ถึงจะขึ้นวิปัสสนาได้ แบบนี้ ถ้าคนไม่เคยทำสมาธิ
ก็ขึ้นวิปัสสนาไม่ได้สิคะ ... ใช่ป่ะคะ?


สวัสดีครับ คุณwalaiporn

ถูกต้องที่สุดเลยครับ บัญญัตินี่ เล่นงานนักปฏิบัติโดยตลอด
ทั้งดดยการสื่อสาร และโดยการนำไปปฏิบัติ

คนที่ไม่มีสมาธิเลย ทำวิปัสสนาไม่ได้แน่นอน

วิปัสสนา คือ การมีสติระลึกสภาพตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
กับกาย ใจ ของเรา

***โดยความเป็นปรมัตถ***

สมาธิ ที่จะนำใช้กับวิปัสสนา ของเพียงแค่ระดับ ขณิกสมาธิเท่านั้นก็ได้แล้ว

คือ ถ้าจะเปรียบเทียบ ก็ประมาณว่า ในเวลาที่เราคิดเลขระดับบวก ลบ ที่ยากขึ้นระดับหนึ่ง

หรือ สมาธิเพียงระดับที่จิตไม่หลงไปฟุ้งซ่าน
เพียงพอที่จะตามรู้รูปรู้นามเท่านั้น

(อันนี้ผมหมายถึงผู้ปฏิบัติที่ใช้วิปัสสนา นำสมถะ นะครับ)

เช่น ในเวลาที่จิตบางขณะขาดสมาธิ (แน่นอนย่อมขาดสติด้วย)
หลงไปในกิเลสาสวะทั้งหลาย ฟุ้งซ่านบ้าง ความอยากบ้าง

บังเอิญหากมีคนมาด่าเรา แล้วจิตเราอยากด่าตอบ เราก็ต้องหยุดฟุ้งซ่าน หยุดอยาก

แล้วมีสมาธิระดับหนึ่ง เพื่อคิดที่จะด่าเขาตอบ สมาธิในระดับนี้ เป็นเพียงขณิก

แต่หากในขณะนั้นเอง จิตเกิดสติรู้ทันโทสะ ที่จะด่าตอบเขา จิตก็เปลี่ยนอกุศล เป็นกุศลทันที
(นั่นคือ จิตเห็นความเป็นปรมัตถ คือ อกุศลที่เกิดขึ้นกับจิต)

จิตที่รู้ทันกิเลสดังกล่าว เป็นบาทฐานของการขึ้นสู่วิปัสสนา

ดังนั้น จิตที่ขาดสมาธิ ย่อมไม่มีความตั่งมั่นพอที่จะให้เกิดสติได้

ส่วน สมถะ นั้น

คือ การยกจิตขึ้นพิจารณาอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง

และ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เช่น เพ่งกสิณ พิจารณาอสุภ

หรืออย่างกรณี อานาปานสติ ก็ตามลมหายใจโดยความเป็นบัญญัติ
เช่น ภาวนา พุทโธ(พุทธานุสติ) ยุบหนอ พองหนอ (กายตคาสติ) หรือ
นับจำนวน 1 2 3 4 5 ....

จนกระทั่งจิตตั้งมั่น ตามลำดับ คือ ขณิก อุปจาร อัปปนา(ได้ณาน)

ผมจึงเห็นว่า การเรียนรู้ความเป็นบัญัติ ปรมัตถ เป็นสิ่งสำคัญของนักปฏิบัติ

ครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งสอนว่า จิตในขณะนั้นคล้ายแม่วัวซึ่งกำลังอยู่กินหญ้ากลางทุ่ง

สองตาก็ต้องคอยมองยอดหญ้าที่กำลังเล็มกิน
แต่เธอก็ไม่จองมองหญ้า โดยละสายตาไปจากสิ่งรอบข้างไปเสียทั้งหมด

เพราะต้องชายตาไปมองลูกน้อยที่เล่นอยู่ใกล้
คือ จะไม่เพ่งไม่มองที่หญ้า หรือลูก เสียที่เดียว

จิตที่มองหญ้า คือ สมาธิที่ตั้งมั้นในระดับหนึ่ง
ส่วนจิตที่คอยชำเลืองมองลูก คือ สติ ที่คอยระลึกรู้สภาพปรมัตถที่เกิดขึ้น

(หมายเหตุ.- จำมาจากตำรา และครูบาอาจารย์เทศนา)

ขออนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


enlighted เขียน:
สติ...เกิด...ทำให้หยุดคิด(หลง)/อยาก(ตัณหา)

แล้วสติก็ดับลง


แล้วก็เกิดใหม่ แล้วก้ดับลง

เกิด :b1: ตั้งอยู :b4: ดับ :b34: :b23:

เกิด :b1: ตั้งอยู :b4: ดับ :b34: :b23:

เกิด :b1: ตั้งอยู :b4: ดับ :b34: :b23:

เกิด :b1: ตั้งอยู :b4: ดับ :b34: :b23:

เกิด :b1: ตั้งอยู :b4: ดับ :b34: :b23:

นี่แหละครับ ไตรลักษณ์

ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Eikewsang cool
เหตุเกิดจากการสื่อ อาจจะสื่อสั้นเกินไป จึงสื่อแค่ " สติ "
การที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้นั้น ต้องมีเหตุที่ประกอบกันคือ สติ กับ สัมปชัญญะค่ะ
ไม่ใช่มีแค่องค์ธรรมเพียงตัวใดตัวหนึ่ง




Eikewsang เขียน:
ถูกต้องที่สุดเลยครับ บัญญัตินี่ เล่นงานนักปฏิบัติโดยตลอด
ทั้งโดยการสื่อสาร และโดยการนำไปปฏิบัติ

คนที่ไม่มีสมาธิเลย ทำวิปัสสนาไม่ได้แน่นอน

วิปัสสนา คือ การมีสติระลึกสภาพตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น กับกาย ใจ ของเรา
โดยความเป็นปรมัตถ





ตรงนี้ ขออนุญาตินะคะ คำกล่าวที่ว่า " คนที่ไม่มีสมาธิเลย ทำวิปัสสนาไม่ได้แน่นอน "
เราอาจจะถูกสอนมาแตกต่างกัน ลองฟัง " วิปัสสนา " ตรงนี้ดูบ้างนะคะ

วิปัสสนา คือ การดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น รู้ลงไปแล้วอยู่กับมัน โดยไม่ไปชอบหรือชัง
ไม่คิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆทั้งสิ้น

การเจริญสติ แนวทางที่ปฏิบัติอยู่ เป็นการดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ฉะนั้น
จึงไม่จำเป็นต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐาน คนที่ไม่มีสมาธิเลยก็ทำได้ อยู่ตรงไหนๆก็ทำได้ตลอดเวลา

ผลของการเจริญสติ ทำให้ มีทั้ง สติ สัมปชัญญะ และ สมาธิเกิดขึ้น
การที่เราเอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับรูป,นาม อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมทำให้เกิดสมาธิขึ้นมาได้

จากสภาวะที่ต้องอาศัยบัญญัติในการกำหนดดู วันใดที่สติ สัมปชัญญะมากพอ กำลังของสมาธิมากพอ
ก็จะสามารถเห็นตามความเป็นจริงได้ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนี้พูดแบบคร่าวๆนะคะ
แต่ถ้ารายละเอียด มีมากกว่านี้




Eikewsang เขียน:

บังเอิญหากมีคนมาด่าเรา แล้วจิตเราอยากด่าตอบ เราก็ต้องหยุดฟุ้งซ่าน หยุดอยาก
แล้วมีสมาธิระดับหนึ่ง เพื่อคิดที่จะด่าเขาตอบ สมาธิในระดับนี้ เป็นเพียงขณิก

แต่หากในขณะนั้นเอง จิตเกิดสติรู้ทันโทสะ ที่จะด่าตอบเขา จิตก็เปลี่ยนอกุศล เป็นกุศลทันที
(นั่นคือ จิตเห็นความเป็นปรมัตถ คือ อกุศลที่เกิดขึ้นกับจิต)

จิตที่รู้ทันกิเลสดังกล่าว เป็นบาทฐานของการขึ้นสู่วิปัสสนา
ดังนั้น จิตที่ขาดสมาธิ ย่อมไม่มีความตั่งมั่นพอที่จะให้เกิดสติได้




ลองฟังอีกมุมมองนะคะ
ตรงสภาวะที่กล่าวอ้างมานี้ การที่คนด่าเรา ใหม่ๆ สติ สัมปชัญญะเราอาจจะไม่ทันการปรุงแต่งของจิต
ที่ไปปรุงแต่งเสียงที่มากระทบ เมื่อขาดสติ สัมปชัญญะ เราเลยเกิดการโต้ตอบกับเขา

แต่เมื่อเราฝึกเจริญสติบ่อยๆ ตัวสัมปชัญญะย่อมเกิดตาม ทำให้ทั้งสติ และสัมปชัญญะมากำลังมากขึ้น
เสียงที่มากระทบ ที่เราเคยปรุงแต่งนั้น ย่อมดับไป เสียงสักแต่ว่าเสียง ย่อมไม่ก่อผลใดต่อจิตของเรา
เมื่อไม่สามารถก่อผลได้ ตัวเวทนา ตัวสังขารขันธ์ ย่อมทำงานไม่ได้ค่ะ
เพราะมันดับตั้งแต่เกิดการกระทบแล้ว

ตรงนี้เป็นผลของการเจริญสติ หาใช่เกิดจากการทำสมาธิไม่




Eikewsang เขียน:
ดังนั้น จิตที่ขาดสมาธิ ย่อมไม่มีความตั่งมั่นพอที่จะให้เกิดสติได้



จากที่ได้อธิบายข้อความเมื่อกี้นี้ ชี้ให้เห็นได้ว่า การทำให้เกิด สติ สัมปชัญญะนั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัย
สมาธิให้เป็นพื้นฐานแต่อย่างใด แต่ สมาธิต่างหากที่ต้องอาศัยสติ สัมปชัญญะ ในการสร้างสมาธิ
ให้เป็นสัมมาสมาธิ เพื่อประโยชน์ในการทำวิปัสสนา



Eikewsang เขียน:
ส่วน สมถะ นั้น
คือ การยกจิตขึ้นพิจารณาอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง




กิจอันใด ที่เกี่ยวกับการพิจรณา นั่นคือ วิปัสสนาค่ะ
สมถะ เพียงเอาจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งนานๆ สามารถทำให้เกิดเป็นสมาธิได้



Eikewsang เขียน:
และ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เช่น เพ่งกสิณ พิจารณาอสุภ





เพ่งกสิณ คือ การทำสมถะ เมื่อนิมิตเกิด นี่คือ สมถะนำหน้า
ให้นำนิมิตนั้นๆมาพิจรณา นี่คือ วิปัสสนาตามหลัง

พิจรณาอสุภะ คือ การทำวิปัสสนา แต่ผลที่ได้คือ สติ สัมปชัญญะ และ สมาธิ
นี่ คือ วิปัสสนาก่อน สมถะตามหลัง

ตรงไหน ที่อ่านแล้ว มีความคิดเห็นแตกต่าง นำเสนอมาได้นะคะ
อย่างที่บอกแหละค่ะ ถือว่ามาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและแนวทางปฏิบัติกันค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 08 เม.ย. 2010, 19:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกๆของ " บัญญัติ " จะมีสภาวะของ " ปรมัติถ์ " ซ่อนอยู่
แม่แต่คำว่า " สติ สัมปชัญญะ " ตัวสติ และ ตัวสัมปชัญญะ ก็มีสภาวะซ่อนอยู่
ต้องทำเอง ถึงจะรู้ เมื่อรู้ตรงกันแล้ว จะไม่มีข้อถกกัน
แต่ขึ้นชื่อว่า " ธรรม " ถึงแม้จะนำมาถกกัน ย่อมดีกว่า ไปถกเรื่องทาง " โลกๆ " ท่านว่าจริงไหม?

อาจจะมีเห็นด้วยบ้าง ไม่เห็นด้วยบ้าง ก็ว่าไปตามทิฏฐิของแต่ละคน
สุดแต่ว่าใคร จะรู้จักเก็บเกี่ยวได้มากกว่ากัน หรือ ปล่อยทิ้งผ่านไป

ตรงนี้นำมาฝากค่ะ




ฉันทะ แปลว่า ความชอบใจ ความพอใจในอารมณ์นั้นๆ เป็นชื่อของตัณหา

จำแนกออกเป็น 5 อย่าง

๑. ปริเยสนฉันทะ พอใจในการแสวงหา เช่น พอใจในรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ที่ตนได้มานั้น

๒. ปฏิลาภฉันทะ พอใจในการได้มา เช่น พอใจในรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ที่ตนได้มานั้น

๓. ปริโภคฉันทะ พอใจในการบริโภคใช้สอย เช่น มีรายได้น้อย แต่พอใจใช้จ่ายเกินฐานะ

๔. สันนิธิฉันทะ พอใจในการสั่งสมไว้

๕. วิสสัชชนฉันทะ พอใจในการจำหน่ายจ่ายแจก เช่น แบ่งผลประโยชน์ แบ่งทรัพย์

ฉันทะ มีวิตกเป็นแดนเกิด คือ เกิดมาแต่วิตก ได้แก่ ความตรึก ความคิด

วิตก มี ปปัญจสัญญาเป็นแดนเกิด

ปปัญจสัญญา แปลว่า ความจำที่ทำให้สรรพสัตว์เน่นช้าและติดอยู่
ซึ่งเกิดกับตัณหา มานะ ทิฏฐิ

ปปัญจสัญญามี ๓ อย่างคือ

๑. ตณฺหาปปัญฺโจ ความเนิ่นช้าเพราะตัณหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วภาวตัณหา หรือ ตัณหา ๑๐๘

๒. มานปปญฺโจ ความเนิ่นช้าเพราะมานะ ได้แก่ มานะ ๙ หรือ มานะ ๑๒

๓. ทิฏฐิปปญฺโจ ความเนิ่นช้าเพราะทิฏฐิ ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒

ฉันทะ เป็นชื่อของตัณหา จะแนกเป็น ๒ อย่างคือ

ก. ตัณหาฉันทะ ความพอใจเพราะ อำนาจแห่งตัณหา เช่น กามตัณหา ภวตัณหา วิภาวตัณหา
จำแนกออกเป็น ๕ ก็มี ได้แก่ ปริเยสนฉันทะ พอใจในการแสวงหากามคุณ ๕ ดังที่บรรยายมาแล้วนั้น

ข. ธัมฉันทะ พอใจในพระธรรม เช่น พอใจในการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์อันเป็นส่วนปริยัติ
พอใจในการปฏิบัติ เช่น ปฏิบัติสมถกรรมฐานแลวิปัสสนากรรมฐาน
พอใจในปฏิเวธอันเป็นผลแผ่งการปฏิบัติ

เหตุที่ทำให้เกิดกามฉันทะ มี ๒ อย่าง คือ

๑. สุภารมฺมณํ อารมณ์งาม อารมณ์ดี ได้แก่ อารมณ์ คือ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์ที่ดีงาม

๒. อโยนิดสมนสิการ การทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย คือ ไม่มีพระกรรมฐานเป็นเรือนใจนั่นเอง
จึงทำให้หลงติดอยู่ในสมมิบัญญัติกิเลสทั้งหลาย มี โลภะ เป็นต้น
อาศัยสมมติบัญญัติเกิด สมด้วยพระบาลีว่า


อกฺเขยฺยสญฺญิโน สตฺตา อกฺเขยฺยสฺมึ ปติฏฺฐิตา อกฺเขยฺยํ อปริญฺญาย โยมคมายนฺติ มจฺจุโน

สัตว์ทั้งหลายพากันยึดมั่นอยู่ในสมมติบัญญัติ ติดแน่นอยู่ในสมมติบัญญัติ
เพราะไม่กำหนดรู้ในสมมติบัญญัติให้ทราบชัดตามความเป็นจริงนี้เอง
จึงต้องพากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในห้วงมหรรณพภพสงสาร ไม่มีสิ้นสุดยุติลงได้


จากหนังสือ วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๑ เล่ม ๑ ว่าด้วย วิปัสสนากรรมฐานทั่วไป โดย หลวงพ่อโชดก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 03:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jetasik.jpg
Jetasik.jpg [ 107.21 KiB | เปิดดู 8197 ครั้ง ]
สวัสดีครับ คุณwalaiporn

มาคุยกันต่อครับ ขอนำเอาฝังเจตสิกให้ดด้วย

walaiporn เขียน:
คุณ Eikewsang cool
เหตุเกิดจากการสื่อ อาจจะสื่อสั้นเกินไป จึงสื่อแค่ " สติ "
การที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้นั้น ต้องมีเหตุที่ประกอบกันคือ
สติ กับ สัมปชัญญะค่ะ
ไม่ใช่มีแค่องค์ธรรมเพียงตัวใดตัวหนึ่ง

ถูกต้องครับ สติ กับ สัมปชัญญะ ต้องเกิดคู่กัน
(เวลาพวกเราคุยกัน ถ้าพูดถึงสติ หมายถึง สติสัมปชัญญะ คือ สัมมาสติครับ)
สัมปชัญญะ เป็นตัวปัญญา หรือ ความฉลาดของสติ

แต่ไม่ใช่แค่นั้น สภาวะของจิตในขณะเกิด "สติสัมปชัญญะ"
ยังมีองค์ธรรมอื่นประกอบมากมาย อย่างน้อย 32 ตัว จาก 38
เจตสิกฝ่ายอัญสมานเจตสิก 13 ตัว , ฝ่ายโสภณสาธารณอีก 19 ตัว (จาก25)

โปรดสังเกตุ สัมปชัญญะ ไม่ใช่เจตสิก
แต่เป็นสภาวะของสติ ที่มีปัญญาเจตสิกเข้าประกอบ

จิตในขณะนั้นมีตัวหนึ่งชื่อ เอกัคคตาเจตสิก คือ ความตั้งมั่น หรือ สมาธินั่นเอง
(ในที่นี้หมายเพียงสมาธิตามความหมายทั่วไป)

ดังนั้น ถ้าจิตไม่มีความตั้งมั่น ความสงบ ความเหมาะควร ความอ่อน ความเบา
ในระดับหนึ่งตามาสมควรแล้ว

ไม่ทางเกิด สติสัมปชัญญะ ได้แน่นอนครับ

สติไม่ใช่เครื่องมือ เพียงตัวเดียวของวิปัสสนาครับ

แต่สติเป็นเหตุใกล้ ของวิปัสสนา
สมาธิ และองค์ธรรมอื่น เป็นตัวสนับสนุน

ต่างกับสมถ ถ้าไม่มีสติ ก็ไม่มีทางเข้าถึงฌานได้
มี ความสุข (เวทนา) เป็นเหตุใกล้
ตัวอื่นๆ สนับสนุน

เพราะฉะนั้น คนมีความทุกข์ ย่อมไม่มีทางมีสมาธิได้ เพราะมั่วฟุ้งซ่าน หลงไปในทุกข์
]

walaiporn เขียน:

ตรงนี้ ขออนุญาตินะคะ คำกล่าวที่ว่า " คนที่ไม่มีสมาธิเลย ทำวิปัสสนาไม่ได้แน่นอน"
เราอาจจะถูกสอนมาแตกต่างกัน ลองฟัง " วิปัสสนา " ตรงนี้ดูบ้างนะคะ
วิปัสสนา คือ [color=#FF0000]การดูตามความเป็นจริง
ที่เกิดขึ้น รู้ลงไปแล้วอยู่กับมัน โดยไม่ไปชอบหรือชัง
ไม่คิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆทั้งสิ้น
การเจริญสติ แนวทางที่ปฏิบัติอยู่ เป็นการดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ฉะนั้น
จึงไม่จำเป็นต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐาน คนที่ไม่มีสมาธิเลยก็ทำได้ อยู่ตรงไหนๆก็ทำได้ตลอดเวลา[/color]

เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนครับ
ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นในระดับขณิกสมาธิ ไม่มีทางเกิดสติครับ

ลองร้องเพลง แล้วบวกเลข แบบง่ายๆ เช่น 5+8+9 ดูซิครับ
ถ้าไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อน ไม่มีทางบวกได้

คนที่ฝึกสมาธิมาแล้ว ร้องเพลงไปบวกเลขไปอาจทำได้
(เคยมีการจัดการแข่งขันกันมาแล้วนะครับ คือ
ให้ร้องคาราโอเกะ แล้วบวกเลขยากๆ)

เพราะจิตของเขาตั้งมั่นในเรื่องหนึ่ง แต่ก็ยังทำอีกเรื่องหนึ่งได้
คือ ทำเรื่องหนึ่งไปตามความเคยชิน คือ ร้องเพลง
อีกเรื่องหนึ่งทำโดยจิตตั้งมั่น คือ คิดเลข

จิตจะสลับไปปรุงแต่ง จัดการ ในแต่งละเรื่องทั้ง 2 เรื่องในเวลาเดียวกัน

ถ้าไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อนเลย
ต้องหยุดทำอย่างอื่น เพื่อให้จิตตั้งมั่นระดับหนึ่ง
แล้วจึงมาบวกเลขถึงทำได้

คือ อย่างไปมองว่า สมาธิเป็นของไกล ของยากขนาดนั้นครับ
ขณะที่คุณ walaiporn กำลังพิมพ์ หรืออ่านอยู่นี้ อาจฟังเสียงธรรมเทศนาไปด้วย
อ่าน หรือ พิมพ์ไปด้วยก็ได้

ขณะพิมพ์ ก็ต้องมีขณิกสมาธิ เป็นอย่างน้อยครับ
ในขณะคิดที่จะพิมพ์ จิตมันจะวางเสียงที่มากกระทบหูชั่วขณะ
แล้วสลับไปคิดชั่วขณะ แล้วจึงเกิดการตัดสินใจ(อธิโมกข์)พิมพ์ข้อความลงไป


walaiporn เขียน:

ผลของการเจริญสติ ทำให้ มีทั้ง สติ สัมปชัญญะ และ สมาธิเกิดขึ้น
การที่เราเอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับรูป,นาม อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมทำให้เกิดสมาธิขึ้นมาได้

เห็นด้วยครับ
การเจริญสติบ่อยๆ เนืองๆ ผลที่ตามมาคือ
สมาธิก็จะพลอยเจริญยิ่งขึ้นตามมาด้วย

walaiporn เขียน:

จากสภาวะที่ต้องอาศัยบัญญัติในการกำหนดดู วันใดที่สติ สัมปชัญญะมากพอ กำลังของสมาธิมากพอ
ก็จะสามารถเห็นตามความเป็นจริงได้ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนี้พูดแบบคร่าวๆนะคะ
แต่ถ้ารายละเอียด มีมากกว่านี้

เห็นด้วยครับ

แต่ไม่ใช่กำลังของสมาธิอย่างเดียว สติก็ต้องมีกำลังด้วย ต้องไปคู่กัน
คือ ต้องตั้งมั่น แล้วระลึกรู้สภาวะด้วย

ระดับของการตั้งมั่นก็ต้องมากพอ ระดับของสติก็ต้องมาพอ
ต่อมาเข้าถึงวิปัสสนาปัญญา

บัญญัติมีความสำคัญมาก ถ้าไม่มีบัญญติ เราก็ไม่สามารถเข้าใจปรมัตถได้

walaiporn เขียน:

ลองฟังอีกมุมมองนะคะ
ตรงสภาวะที่กล่าวอ้างมานี้ การที่คนด่าเรา ใหม่ๆ สติ สัมปชัญญะเราอาจจะไม่ทันการปรุงแต่งของจิต
ที่ไปปรุงแต่งเสียงที่มากระทบ เมื่อขาดสติ สัมปชัญญะ เราเลยเกิดการโต้ตอบกับเขา
แต่เมื่อเราฝึกเจริญสติบ่อยๆ ตัวสัมปชัญญะย่อมเกิดตาม ทำให้ทั้งสติ และสัมปชัญญะมากำลังมากขึ้น
เสียงที่มากระทบ ที่เราเคยปรุงแต่งนั้น ย่อมดับไป เสียงสักแต่ว่าเสียง ย่อมไม่ก่อผลใดต่อจิตของเรา
เมื่อไม่สามารถก่อผลได้ ตัวเวทนา ตัวสังขารขันธ์ ย่อมทำงานไม่ได้ค่ะ
เพราะมันดับตั้งแต่เกิดการกระทบแล้ว
ตรงนี้เป็นผลของการเจริญสติ หาใช่เกิดจากการทำสมาธิไม่

ข้อความที่ขีดเส้นใต้ เห็นด้วยครับ

จากตัวอย่าง
ถ้าใช้สมาธินำ ข่มความโกรธไว้ , ก็ไม่ด่าเขากลับ...เช่นกัน
แต่การมีสมาธิดังกล่าวได้ ก็ต้องมีสติกำกับอยู่ด้วย

แต่ถ้าเปลี่ยนจากการใช้สมาธิข่มความโกรธ
มาเป็นมีสติเป็นตัวนำ เห็นสภาวะว่า จิตในขณะกิเลสเข้ามาปรุงแต่ง
ถ้าสติมีกำลังมากพอ โทสะก็อาจดับลงไปได้เช่นกัน
เพราะมีสติเจตสิก เข้ามาแทนที่ โทสเจตสิก
แต่ขณะที่จะมีสติได้ขนาดนั้น ก็ต้องมีสมาธิระดับหนึ่งอยู่ด้วย

อีกมุมหนึ่ง...ถ้าในขณะนั้น จิตมี ฟุ้งซ่านเข้ามาพร้อมกับโทสะด้วย แล้วปรุงแต่งจิตไว้ตลอด
สติ ไม่มีทางเกิดได้ เพราะจิตหลง(ฟุ้งซ่าน)ไปในโทสะโดยตลอด
ต่อเมื่อ จิตกลับมาตั้งมั่น เลิกหลง(ดับฟุ้งซ่าน)
สติ จึงจะเกิดขึ้นได้
(ความจริง ฟุ้งซ่านจะมาพร้อม โลภ โทสะ เสมอ
เพียงแต่จะมีกำลังของฟุ้งซ่านมาก/น้อย เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)

สติ ไม่มีทางเกิดขึ้นเดี่ยวๆ ได้
ตามที่ให้เหตุผลไว้แล้ว

walaiporn เขียน:
"แต่เมื่อเราฝึกเจริญสติบ่อยๆ ตัวสัมปชัญญะย่อมเกิดตาม "

ตรงนี้ขอตอบตามตรงว่า ไม่รู้

แต่ถ้าโดยความเห็น
สัมปชัญญะ ไม่ได้เกิดจากสติ ไม่เจริญมาจากสติ
สัมปชัญญะ เป็นตัวปัญญานะครับ....
ต้องโยนิโสมนสิการให้เกิดพร้อมสติ เพื่อกำกับตัวสติให้เป็น "สัมมาสติ"


Eikewsang เขียน:
ดังนั้น จิตที่ขาดสมาธิ ย่อมไม่มีความตั่งมั่นพอที่จะให้เกิดสติได้

----------------------------------------------------------------------
walaiporn เขียน:

จากที่ได้อธิบายข้อความเมื่อกี้นี้ ชี้ให้เห็นได้ว่า การทำให้เกิด สติ สัมปชัญญะนั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัย
สมาธิให้เป็นพื้นฐานแต่อย่างใด แต่ สมาธิต่างหากที่ต้องอาศัยสติ สัมปชัญญะ ในการสร้างสมาธิ
ให้เป็นสัมมาสมาธิ เพื่อประโยชน์ในการทำวิปัสสนา


การที่จิตเกิดสมาธิได้นั้น ไม่ได้หมายความว่า เราต้องไปนั่งทำสมาธิก่อนนะครับ
แต่บางคนที่เขาสามารถทำได้ ก็ควรทำ

แต่ถ้าทำสมาธิไม่ได้ ก็ต้องมาอาศัยการเจริญสมาธิ ไปพร้อมกับการเจริญสติครับ

ทั้งสมาธิ และสติ ต้องอาศัยซึ่งกันและกันครับ

ทำสมาธิโดยไม่มีสติ ก็จะกลายเป็นมิจฉาสมาธิครับ
เช่น คนเล่นไพ่ ก็ต้องมี(มิจฉา)สมาธิ แต่จำเป็นไม่มีสติ

ถ้าจิตไม่เคยตั้งมั่น(มีสมาธิ)เอาเสียเลยทั้งวัน ฟุ้งซ่านทั้งวัน
สติก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ครับ


walaiporn เขียน:

กิจอันใด ที่เกี่ยวกับการพิจรณา นั่นคือ วิปัสสนาค่ะ
สมถะ เพียงเอาจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งนานๆ สามารถทำให้เกิดเป็นสมาธิได้


ก็ต้องดูด้วยว่าพิจารณาอะไร อย่างไร

เช่น ถ้าพิจารณาลมหายใข้ออก โดยเห็นว่า ร่างกายเราพอง ยุบ
ในขณะลมเข้าออก แบบนี้ก็ สมถ

ถ้าพิจารณาโดยความเป็นธาตุ แล้วในขณะพิจารณานั้น
มีสติระลึกรู้สภาวะของกาย ของใจในขณะหายใจ
ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็อาจเป็นวิปัสสนาได้

จิตในขณะ "ยก(วิตก)" ลมหายใจขึ้นพิจารณา หรือที่เรียกว่า "วิหารธรรม"
(โดยไม่พิจารณากายใจอย่างอื่น) ........เป็นสมถ

เมื่อมีสติพิจารณาเห็นกายใจ ตามความเป็นจริง.....เป็นวิปัสสนา

walaiporn เขียน:

เพ่งกสิณ คือ การทำสมถะ เมื่อนิมิตเกิด นี่คือ สมถะนำหน้า
ให้นำนิมิตนั้นๆมาพิจรณา นี่คือ วิปัสสนาตามหลัง


ถูกครับ....เพ่งกสิณ คือ สมถะ
ไม่ต้องมีนิมิตเกิดขึ้น ก็เป็นสมถะ แล้วครับ

จิตที่ยกเอาองค์กสิณ ขึ้นพิจารณา จะมีขณิกสมาธิเป็นเบื้องต้น
จิตในขณะนั้น เป็นสมถะแล้วครับ

จิตที่ยกเอานิมิตขึ้นมาพิจารณา ก็ไม่ใช่ วิปัสสนา
เพราะ....นิมิต....ก็คือ....บัญญัติ ชนิดหนึ่ง เห็นได้ด้วยใจ

walaiporn เขียน:

พิจารณาอสุภะ คือ การทำวิปัสสนา แต่ผลที่ได้คือ สติ สัมปชัญญะ และ สมาธิ
นี่ คือ วิปัสสนาก่อน สมถะตามหลัง

พิจารณาอสุภะ ก็เป็นสมถะ
อสุภะ ...เป็นรูปารมณ์.... เป็นบัญญัติ

แต่ถ้าจิตในขณะนั้น เห็นความไม่เที่ยงแท้ของร่างกายมนุษย์
แล้วเกิดความสลดสังเวช

เห็นสภาวปรมัตถ คือ ความเป็นจริงของร่างกาย
ภายหลังจากเหลือเพียง รูปขันธ์แล้ว เป็นต้น
ก็อาจเป็นวิปัสนาได้

ส่วนความเป็นจริง คือ ร่างกายต้องเนื้อเปื่อย
โดยตาเนื้อเห็น....ก็ยังอยู่แค่........สมถะ

วิปัสสนา ต้องใช้ปัญญาเห็น สภาวปรมัตถ

สมถะ ใช้ตาเนื้อเห็น ใช้ใจเห็น แล้วยกขึ้นเป็นอารมณ์ที่ใช้เพ่ง

walaiporn เขียน:

ตรงไหน ที่อ่านแล้ว มีความคิดเห็นแตกต่าง นำเสนอมาได้นะคะ
อย่างที่บอกแหละค่ะ ถือว่ามาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและแนวทางปฏิบัติกันค่ะ

ยินดีอย่างยิ่งครับ

สมาธิไม่ใช่เป็นเรื่องที่ต้องจงใจทำ เช่น ต้องไปนั่งสมาธิ หรือ ทำอะไรทำนองนั้น

สมาธิ สามารถเจริญไปพร้อมๆ กับการเจริญสติได้

เพียงแต่ ต้องมีความเพียร เป็นเบื้องต้นก่อน
คือ มีความตั้งใจว่า จะเจริญภาวนา

สรุป

วิปัสสนา คือ การพิจารณาลักษณะ สภาวะ
ตามความเป็นจริง(ปรมัตถ)ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกายใจ
จึงมีชื่อว่า ลักขณูปณิชฌาน

สมถะ คือ การพิจารณาอารมณ์ อาจเป็นรูป เช่น กสิณ อสุภะ
สัมผัส เช่น พิจารณาลมหายใจเข้าออกที่กระทบโพรงจมูก
ธรรมารมณ์ เช่น นิมิตที่เป็นภาพติคตา
จึงมีชื่อเรียกว่า อารมณูปณิชฌาน


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 09 เม.ย. 2010, 03:58, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ดี ครับ

อ่านแล้ว ดีจัง
เขียนกันต่อ เรื่อยๆนะในกระทู้นี้ แต่อย่ายาวเป็นพรืดๆนะ อิอิ ตาลาย :b20:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 23:20
โพสต์: 70

ชื่อเล่น: pmam
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ข้าน้อยขอน้อมรับ...สิ่งที่ท่านผู้รู้..แบ่งปัน ความรู้มาฝาก tongue :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ เป็นตัวระลึก
สัมปชัญญะ เป็นความรู้สึกตัว

หากไม่มาเจริญสติปัฏฐาน จะไม่มีวันเข้าใจสภาวะทั้งของ สติ และ สัมปชัญญะ
นำมาให้อ่านซ้ำนะคะ ไม่แน่ใจว่าคุณเคยอ่านแล้วหรือยัง


ในเมื่อกรรมฐานมีตั้ง 40 กอง เท่าที่อ่านๆมา แล้วที่นอกเหนือกว่านั้นอีกก็มี
ถ้าได้อ่านเรื่องราวในสมัยพุทธกาล

ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงเน้นนักหนา เรื่อง สติปัฏฐาน ๔

สติ แปลว่า แปลว่า ความระลึกได้
ซึ่งแบ่งออกเป็น

สติเป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต แต่เกิดพร้อมกับจิต รับอารมณ์เดียวกับจิต โดยองค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก

สติ ตามแนวปฏิบัติ มีอยู่ ๓ ประเภท

๑. สติขั้นต่ำ ได้แก่ สติของบุคคลธรรมดาสามัญ ซึ่งมีอยู่กันทุกคน เช่น จะขับรถก็ต้องมีสติ
จะเขียนหนังสือก็ต้องมีสติ จะอ่านหนังสือก็ต้องมีสติ จะลุก จะยืน ฯลฯ ก็ต้องมีสติด้วยกันทั้งนั้น
ต่างกันตรงที่ว่าใครจะมีมากมีน้อยกว่ากันเท่านั้น
ถ้าใครขาดสติจะทำอะไรผิดๆพลาดๆ ลืมโน่น ลืมนี่บ่อยๆ

๒. สติขั้นกลาง ได้แก่ สติของผู้บำเพ็ญมหากุศล เช่น ทำทานรักษาศิล เรียนธรรม
ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม เจริญสมถกรรมฐานเป็นต้น

๓. สติขั้นสูง ได้แก่ สติของนักปฏิบัติธรรม ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน
ตามแนวแห่งมหาสติปัฏฐาน ที่พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้


ในการใช้ชีวิตโดยทั่วๆไป ปกติเราท่านทุกรูปทุกนามล้วนมีสติเป็นองค์ประกอบอยู่แล้ว
แต่ทุกคนลืมตรงนี้กันไป " สัมปชัญญะ "


สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว หรือ ความรู้สึกตัว
รู้ตัวหรือรู้สึกตัวอะไร รู้ตัวหรือรู้สึกตัว ในขณะที่กำลังกระทำการอยู่


เช่น เราหยิบแก้วน้ำ เรามีสติระลึกว่า กำลังจะหยิบแก้วน้ำ แล้วถ้ามีสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วย
เราย่อมมีความรู้สึกตัวหรือรู้ตัวขณะที่หยิบแก้ว

แต่ถ้าในกรณีที่ไม่มีสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วยนั้น บางทีเราระลึกว่า จะหยิบแก้วน้ำนะ
แต่บังเอิญว่า มีสิ่งอื่นมากระทบที่หักเหความสนใจในการหยิบแก้วน้ำ
คุณอาจจะหยิบแกวได้ แต่อาจจะหล่น หรืออาจจะลืมหยิบ เพราะมัวไปสนใจสิ่งที่มากระทบ
บางทีต้องมายืนคิดว่า เอ ... เมื่อกี้เราคิดจะทำอะไร?


เหตุที่พระพุทธองค์ทรงเน้นนักหนาเรื่อง สติปัฏฐาน ๔ นั้น ก็เนื่องจากเหตุของสติ ที่ขาดสัมปชัญญะ
ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น ไม่ว่าจะ กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนก่อให้เกิดทั้งสติ และ สัมปชัญญะ

เช่น การเดินจงกรม ทำไมบางจึงต้องมีรูปแบบ ทำไมบางที่ไม่ต้องมีรูปแบบ
เหตุที่บางที่ มีรูปแบบเนื่องจาก ผู้แนะนำในการสอน ท่านปฏิบัติได้เช่นนั้น ท่านจึงแนะนำแบบนั้น
เหตุที่ไม่มีรูปแบบ ก็เนื่องจากเหตุเช่นเดียวกัน

บางที่อาจจะใช้คำพูดว่า เดินยังไงก็ได้ ให้รู้สึกตัว หรือ รู้ตัว นี่คือ สัมปชัญญะ
เพียงแต่อาจไม่คุ้นหูของผู้ที่ไม่ได้ศึกษาปริยัติ ว่า ความรู้ตัวหรือรู้สึกตัวนี่คืออะไร
รู้แต่ว่าเขาให้เดิน ก็เดิน เพียงแต่อาจจะเป็นพวกที่ไม่ขี้สงสัย ก็เลยไม่ถามกัน

เหตุที่ต้องมาฝึกเจริญสติกัน เพื่อให้มีสัมปชัญญะเกิด
ปกติ สติในคนทั่วๆไป ย่อมมีสติเป็นปกติอยู่แล้ว ถ้าถามว่า มีสัปชัญญะไหม
มี แต่อาจจะไม่เห็น หรือไม่รู้ว่ามี เพราะถ้าไม่มาเจริญสติ
จะไม่สามารถแยกแยะสภาวะให้เห็นภาพที่ชัดเจนแบบนี้ได้ค่ะ

สัมปชัญญะ ไม่อาจจะมีได้ตลอดเวลา จึงต้องมาเจริญสติกันเพราะเหตุนี้



สมถะ มี ๒ แบบคือ

๑. ปริตตสมถะ แปลว่า สมถะเล็กน้อย ได้แก่ สมถะที่เจริญแล้ว มีสมาธิเกิดเพียง ๒ ชั้น คือ
ขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ เท่านั้น เช่นผู้ปฏิบัติไปสู่ป่าช้าแล้ว เอาร่างกระดูกเป็นอารมณ์
ภาวนาว่า " อิฏฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ " จนเกิดสมาธแล้ว พิจรณาว่า ร่างกระดูกนี้เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วใช้สติกำหนดดูอาการที่ท้องพองยุบ ( เพราะเมื่อบริกรรมภาวนาหายไป
จิตจะนิ่ง สงบ แต่จะมีการเคลื่อนไหวของกายที่เห็นชัดคือ ท้องพองยุบ ให้นำจิตมารู้ตรงกายแทน )
จนกว่าจะเห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ ได้มรรค ผล นิพพาน อย่างนี้เรียกว่า
" แบบสมถะก่อน แล้วต่อ วิปัสสนา "

๒.มหัคคตสมถะ แปลว่า สมถะที่ทำให้ดีจนถึงฌาน เช่น
เจริญอัฏสังขลิกอสุภะ ถึงฌาน ถึงอัปปนาสมาธิ เมื่อได้ฌานแล้ว ให้เอาฌานเป็นบาทต่อวิปัสสนา
จนเห็นความเกิดดับไปของรูปนาม เห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว เห็นทุกข์โทษของรูปนาม
เบื่อหน่ายรูปนาม อยากหลุดพ้นจากรูปนาม ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงๆ ใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม
เห็นอริยสัจ ๔ รูปนามดับ ทำลายโคตรของปถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยเจ้า
ตัดกิเลสได้เป็นสมุจเฉทประหาน มีนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่า
เอา " สมถะที่ได้ฌานเป็นบาท แล้วต่อ วิปัสสนา "


วิปัสสนา

แบบ วิปัสสนา มี ๓ คือ จุฬวิปัสสนามัชฌิมวิปัสสนา มหาวิปัสสนา

๑. จุฬวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาน้อยๆ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติได้ลงมือเจริญวิปัสสนา โดย กำหนดรูปนาม
ตามอาการที่เกิดขึ้นขณะปัจจุบัน เช่น ท้องพอง-ยุบ ลมหายใจเข้าออกที่กระทบจมูก เป็นต้น
จนเห็นรูปนาม เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม เห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง มีแต่สิ้นไป หมดไปฝ่ายเดียว
เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นของน่ากลัว เป็นอนัตตา คือ บังคับบัญชาไม่ได้ และไม่มีสาระแก่นสารใดๆ

๒. มัชฌิมวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาอย่างกลาง ได้แก่ผู้ปฏิบัติตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงๆ โดย
เดินจงกรมบ้าง นั่งกำหนดบ้าง กำหนดเวทนาบ้าง กำหนดจิตบ้าง กำหนดธรรมบ้าง
ตามนัยแห่งพระไตรปิฎก อันมีปรากฏอยู่ในมหาสติปัฏฐานนั่นเอง เห็นความเกิดดับของรูปนาม
คือ ญาณ ที่ ๔ เป็นต้นไป จนกระทั่งถึง สังขารุเปกขาญาณ คือ ญาณ ที่ ๑๑

๓. มหาวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาใหญ่ คือ วิปัสสนาที่มีกำลังแก่กล้า สามารถเห็นอริยสัจ ๔
ซึ่งเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ และสามารถทำลายปุถุโคตร คือ โคตรของปถุชนอันหนาแน่น
ไปด้วยกิเลสตัณหาให้เบาบางลงไป รูปนามดับหมด ซึ่งเรียกว่า โคตรภูญาณ ต่อจากนั้น
มรรคญาณก็เกิดขึ้น ประหานกิเลสคือ สักายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ให้เด็ดขาดออกไป
แล้ว ปัจจเวกขณญาณ ก็เกิดขึ้นมาพิจรณากิเลสที่ละ ที่เหลือ มรรค ผล นิพพาน

ผู้ที่จะปฏิบัติให้ถึงมหาวิปัสสนานั้น จะต้องอาศัยคุณธรรมหลายอย่างมาเป็นเครื่องประคับประคอง
ให้การปฏิบัติได้ดำเนินไปถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ในปฏิสัมภิทามรรค
ท่านแสดงไว้มีอยู่หลายอย่าง จะได้ยกมาบรรยายพอเป็นตัวอย่างสัก ๑๑ ข้อ ดังต่อไปนี้

๑. ทัสสนะ มีความเห็นถูกเป็นลักษณะได้แก่ เห็นปัจจุบันธรรม เห็นรูปธรรม เห็นพระไตรลักษณ์เป็นต้น

๒. ปหานะ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ แล้วละโลภะ โทสะ โมหะ ได้ตามสัดส่วนแห่งการปฏิบัติ

๓. อุปัตถัมภนะ ต้องหมั่นบำเพ็ญไตรสิกขาให้แก่กล้า ดุจบุคคลหมั่นรดน้ำต้นไม้ในสวนของตน ฉะนั้น

๔. ปริยาทานะ ครอบงำกิเลส ด้วยไตรสกขา

๕. วิโสธนะ ชำระกิเลสให้หมดไปด้วย ศิล สมาธิ ปัญญา

๖. อธิษฐานะ ตั้งใจปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่ย่อหย่อน

๗. โวทานะ ยังใจให้ผ่องแผ้วสะอาดปราศจากมลทิน ด้วย ศิล สมาธิ ปัญญา

๘. วิเสสาธิคมะ พยายามปฏิบัติเต็มที่ ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน จนสามารถบรรลุคุณธรรมวิเศษ
ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง

๙. ปฏิเวธะ ปฏิบัติต่อไปไม่ท้อถอย จนได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยธรรม

๑๐. สัจจาภิสมยะ มีความบากบั่นมั่นอยู่ในศิล สมาธิ ปัญญา เป็นนิตย์ จนสามารถ
ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

๑๑. ปติฏฐาปนะ สามารถยังจิตของตนให้ตั้งมั่นอยู่ในศิล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งถึงมรรค ผล
นิพพาน เป็นปริโยสาน

ทั้ง ๑๑ ข้อนี้ เมื่อย่อให้สั้นก็ได้แก่ ศิล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง
ศิล สมาธิ ปัญญา ในที่นี้ ได้ปรมัตถ์ คือ รูปกับนามเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น
ถ้าจะย่อให้สั้นกว่านี้ ได้แก่ ความไม่ประมาท

ความไม่ประมาท คือ มีสติอยู่เสมอ ไม่อยู่ปราศจากสติ จะมีสติอยู่เสมอได้ ต้องเจริญสติปัฏฐาน ๔
โดยกำหนดรูปนาม รูปนามอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อตฺถิ กาโย หมายความว่า สกลกายของผู้ปฏิบัติมีเพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือ รูปกับนาม
แม้สกลกายของบุคคลทั่วโลกก็มีเพียง รูปกับนาม เท่านั้น เหมือนกันหมด ไม่มียกเว้นใครเลย

อนิสฺ สิโต หมายความว่า ไม่มีตัณหา ไม่มีมานะ ไม่มีทิฏฐิ เพราะการปฏิบัติของผู้นั้นได้ผลดีแล้ว

น จ กิญฺจิ หมายความว่า ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูปนาม เพราะละกิเลสได้แล้วตามส่วนของมรรค
มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น


แนวทางปฏิบัติ

" สเจ ปนสฺส เตน เตน มุเขน รูปํ ปริคฺคเหตฺวา อรูปํ ปริคฺคณฺหโต สุขุมตฺตา อรูปํ น อุปฏฐาติ เตน
ธุรนิกฺเขปํ อกตฺวา รูปเมว ปุนปฺปุนํ สมฺมสิตาพฺพํ มนสิกาตพฺพํ ปริคฺคเหตพฺพํ ววฏฐเปตพฺพํ ยถา ยถา
หิสฺสรูปํ สุวิกฺขาลิตํ โหติ นิชฺชฏํ สุปริสุทฺธํ ตถา ตถา ตทารมฺมณา อรูปธมฺมา สยเมว ปากฏา โหติ
"

แปลว่า หากโยคี กำหนดรูป โดยมุขนั้นๆแล้ว กำหนดอรูปแต่ยังไม่ปรากฏขึ้นมา เพราะอรูป
เป็นของละเอียดอ่อน โยคีผู้นั้นก็มิควรละเลิกกำหนดเสีย ควรพิจรณาใส่ใจใคร่ครวญ กำหนดรูปนั้นแหละ
ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า เพราะว่ารูปของโยคีที่ชำระล้างดีแล้ว สะสางออกดีแล้ว บิรสุทธิ์ดีแล้วด้วยอาการใดๆ
สิ่งที่เป็นอรูปทั้งหลาย ซึ่งมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ ก็จะปรากฏขึ้นมาเองโดยแท้ด้วยอาการนั้นๆ



ตทารมฺมณา อรูปฺธมฺมา สยเมว ปากฏา โหตนฺติ

" สิ่งที่เป็นอรูปทั้งหลาย ซึ่งมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ก็จะปรากฏขึ้นมาเอง "

เพราะตลอดเวลาปฏิบัติ จะมีสภาวะต่างๆเกิดและปรากฏให้เห็นในมโนทวารอยู่เนืองๆและตลอดไป


การพิจรณา มี 2 ภาค

การพิจรณานั้น มีวิธีปฏิบัติแบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ ภาคธรรมดา ๑ ภาคสภาวะ ๑

ภาคธรรมดา ได้แก่ การพิจรณาตั้งแต่ขณะเริ่มแสวงหา ขณะรับ ขณะบริโภค บริโภคแล้ว
ตัวอย่างในการพิจรณาปัจจัย ๔ ตามพระบาลีดังนี้คือ

๑. พิจรณาจีวร " ปฏิงฺขา โยนิโส จีวรํ ปฏิเสวามิ " เราพิจรณาโดยแยบคายแล้วเสพจีวร
เพียงเพื่อบำบัดหนาว บำบัดร้อน บำบัดสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อคลานทั้งหลาย
เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ทำให้เกิดความละอาย

๒. พิจรณาอาหาร ว่า " ปฏิสงฺขา โยนิโส ปิณฑปาตํ ปฏิเสวามิ " เราพิจรณาโดยแยบคายแล้ว
เสพบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อให้กายตั้งอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์
แก่การประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จักระงับเวทนาเก่าเสียได้ ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
เราจักเป็นไป เราจักไม่มีโทษ เราจักผาสุขเพราะอย่างนี้

๓.พิจรณาที่อยู่ ว่า " ปฏิสงฺขา โยบิโส เสนาสนํ ปฏิเสวามิ " เราพิจรณาโดยแยบคายแล้วเสพเสนาสนะ
เพียงเพื่อบำบัดความหนาว บำบัดความร้อน บำบัดสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน
เพื่อบรรเทาอันตรายแก่ฤดู และพอใจในการหลีกเร้นสำหรับภาวนา

๔. พิจรณายาแก้ไข้ ว่า " ปฏิสงฺขา โยนิโส คิลานปจฺจยเภสชฺช ปริกฺขารํ ปฏิเสวามิ " เราพิจรณา
โดยแยบคายแล้วเสพยาเป็นปัจจัยสำหรับแก้ไข้ เพียงเพื่อบำบัดเวทนา อันเกิดแต่อาพาธต่างๆ
ที่เกิดขึ้นแล้ว และเพื่อความเป็นผู้ไม่มีความลำบาก

ทั้ง ๔ ข้อนี้ ใช้พิจรณาในขณะที่กำลังใช้สอย กำลังบริโภคอยู่ แม้บริโภคแล้วก็พิจรณาอีก ๔ ข้อ
เช่นกัน มีคำว่า " อชฺช อปจฺจเวกฺขิตฺวา ยํ จีววรํ ปริภุตฺตํ " เป็นต้น ใจความว่า

" จีวรใด อันเราได้พิจรณาแล้ว บริโภคแล้ว ในวันนี้ จีวรนั้น เราบริโภคแล้ว เพียงเพื่อบำบัดหนาว
บำบัดร้อน " ดังนี้เป็นต้น

๒. ภาคสภาวะ จะได้ยกมาพอเป็นตัวอย่าง เช่น ในเวลาบริโภคอาหาร ให้พิจรณาตั้งแต่ตาเห็น
ใจนึกอยากเคลื่อนอวัยวะไปจับ ถูก ยกขึ้นมา อ้าปาก อม เยว ถ้ารสปรากฏ ก็หยุดกำหนดรสเสียก่อน
แล้วจึงเคี้ยวต่อไปได้ กลืนลงไปในท้องก็ให้กำหนด หมดแล้วก็ให้กำหนด จะเอาใหม่อีกก็ให้กำหนด
ให้พิจรณาอย่างนีทุกๆคำข้าวที่เราบริโภค เพื่อให้ทันปัจจุบันเห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ได้มรรค
ผล นิพพาน

อย่างนี้ เรียกว่าภาคสภาวะ พิจรณาภาคสภาวะ คือ พิจรณาโดยวิธีวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง
ในขณะที่กำลังพิจรณาดังกล่าวนี้ กายกรรม วจีกรรม มดนกรรม บริสุทธิ์ จัดเป็นศิล ศิลอย่างนี้
จัดเป็นศิลบริสุทธิ์ เพราะเกิดกับสมาธิปัญญา ศิลบริสุทธิ์อย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการพิจรณาปัจจัย ๔
ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ แปลว่า บริสุทธิ์ด้วยการพิจรณา


วิปัสสนา มี 2 สภาวะ คือ

1. วิปัสสนา ที่ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ตรงนี้ยังอาศัยบัญญัติอยู่ ถึงแม้จะเป็นการดูรูป,นามก็ตาม
ตราบใดที่รูป,นามที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ยังไม่ปรากฏ ยังถือว่า อาศัยบัญญัติอยู่

จุฬวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาน้อยๆ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติได้ลงมือเจริญวิปัสสนา โดย กำหนดรูปนาม
ตามอาการที่เกิดขึ้นขณะปัจจุบัน เช่น ท้องพอง-ยุบ ลมหายใจเข้าออกที่กระทบจมูก เป็นต้น
จนเห็นรูปนาม เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม เห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง มีแต่สิ้นไป หมดไปฝ่ายเดียว
เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นของน่ากลัว เป็นอนัตตา คือ บังคับบัญชาไม่ได้ และไม่มีสาระแก่นสารใดๆ


2.วิปัสสนาญาณ ตรงนี้จะเกิดในวิปัสสนาญาณเท่านั้น

มัชฌิมวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาอย่างกลาง ได้แก่ผู้ปฏิบัติตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงๆ โดย
เดินจงกรมบ้าง นั่งกำหนดบ้าง กำหนดเวทนาบ้าง กำหนดจิตบ้าง กำหนดธรรมบ้าง
ตามนัยแห่งพระไตรปิฎก อันมีปรากฏอยู่ในมหาสติปัฏฐานนั่นเอง เห็นความเกิดดับของรูปนาม
คือ ญาณ ที่ ๔ เป็นต้นไป จนกระทั่งถึง สังขารุเปกขาญาณ คือ ญาณ ที่ ๑๑

มหาวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาใหญ่ คือ วิปัสสนาที่มีกำลังแก่กล้า สามารถเห็นอริยสัจ ๔
ซึ่งเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ และสามารถทำลายปุถุโคตร คือ โคตรของปถุชนอันหนาแน่น
ไปด้วยกิเลสตัณหาให้เบาบางลงไป รูปนามดับหมด ซึ่งเรียกว่า โคตรภูญาณ ต่อจากนั้น
มรรคญาณก็เกิดขึ้น ประหานกิเลสคือ สักายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ให้เด็ดขาดออกไป
แล้ว ปัจจเวกขณญาณ ก็เกิดขึ้นมาพิจรณากิเลสที่ละ ที่เหลือ มรรค ผล นิพพาน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หวังว่า คงทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นนะคะ
ที่บอกไปว่า การเจริญสติ สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นฝึก ไม่จำเป็นต้องมีสมาธิมาตั้งแต่แรกก็ได้
ถ้าเราไปพูดว่า ต้องมีสมาธิก่อนนะ ถึงจะฝึกเจริญสติได้
ไม่งั้นคงจะไม่มีบทสวดมนต์แบบนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ


สนฺทิฏฺฐิโก
http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=13173

อกาลิโก แปลว่า ไม่มีกาล หมายถึง ไม่จำกัดด้วยกาล คือ ธรรมที่ได้รู้นี่ ไม่มีการเกี่ยวข้องกับกาล
เวลา โลกนี้เป็นแค่สมมุติ เวลาในโลกนี้เป็นแค่สมมุติ ทุกๆสรรพสิ่งในโลกใบนี้ล้วนเป็นเพียงรูป,นาม
และสมมุติเท่านั้น พระพุทธองค์ได้ทรงเห็นแล้ว จึงทรงมีพระธรรมคำสอนทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้กับเรา

เอหิปัสสิโก ท่านจงมาดูกันเถิด เมื่อทรงเห็นแล้ว จึงทรงตรัสบอกกับทุกๆคนว่า ท่านจงมาดูเถิด
ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อในพระธรรมคำสอนนี้ ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนได้กระทำมาทั้งสิ้น


บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณที่ว่า เอหิปัสสิโก แปลว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นบทสวดสรรเสริญ
พระธรรมคุณ ที่ชี้ชัดว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้น สามารถนำมาปฏิบัติได้ทุกเมื่อ
ได้ผลทันทีที่ปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติที่พิสูจน์กันได้ด้วย ประสบการณ์จากการปฏิบัติของตนเอง


โอปนยิโก ควรนำเข้าไป
http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=13175


ปจฺจตฺต๋ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ

บทว่า ปจฺจตฺต๋ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ความว่า อันวิญญูชน

ทั้งหลายมีอุคฆติตัญญูบุคคลเป็นต้น ทั้งปวงพึง รู้ว่า " มรรค

เราเจริญแล้ว ผลเราบรรลุแล้ว นิโรธเราทำให้แจ้งแล้ว " เพราะว่า

กิเลสทั้งหลายของสัทธิวิหาริก จะละด้วยมรรคที่พระอุปัชฌายะ

เจริญหาได้ไม่ เธอจะอยู่เป็นผาสุกด้วยผลสมาบัติของท่านก็ไม่

ได้ จะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่ท่านทำให้แจ้งก็ไม่ได้ เพราะ

เหตุนั้น จึงมีคำอธิบายว่า โลกุตตรธรรมนั่น บุคคลไม่พึงเห็นดัง

เช่น เครื่องประดับที่ศีรษะของคนอื่น ( ซึ่งจะฉวยเอามาประดับที่

ศีรษะของตัวเองได้ ) แต่พึงเห็นว่าธรรมอันวิญญูชนทั้งหลายจะ

พึงเสวยอยู่ในจิตของตัวเองเท่านั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 552


[๔๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปเป็นผู้มีความคิด

อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า พระธรรมอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็น

เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู. ควรน้อมเข้ามาใน

ตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟัง

ธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม ก็แลครั้นรู้ทั่ว

ถึงธรรมแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ อาศัย

ความที่ธรรม เป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความ

เอ็นดู จึงแสดงธรรม


นำมาจาก http://www.dhammahome.com/front/webboar ... php?id=386



หากยังมีความเห็นอื่นๆ ก็นำมาแลกเปลี่ยนกันอีกได้นะคะ
การสนทนาธรรมเป็นสิ่งที่ดีค่ะ ขออนุโมทนาที่มาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 276 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร