วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 18:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะลักษณะที่พูดถึงกันบ่อยๆอีกอย่างหนึ่ง คือ อนัตตา ในคัมภีร์ท่านอธิบายไว้ ดังนี้

3. อนัตตตา และอนัตตลักษณะ


คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค แสดงความหมายของอนัตตาไว้อย่างเดียวว่าชื่อว่า เป็นอนัตตา โดยความหมายว่า

ไม่มีสาระ (= อสารกฏฺเฐน) ที่ว่าไม่มีสาระ ก็คือ ไม่มีแก่นสาร ไม่มีแก่น หรือ ไม่มีแกน หมายความว่า

ไม่มีสิ่งซึ่งเป็นตัวแท้ที่ยืนยงคงตัวอยู่ตลอดไป

ดังคำอธิบายว่า โดยความหมายว่า ไม่มีสาระ คือ ตัวตน (อัตตสาระ= ตัวตนที่เป็นแก่น หรือตัวตนที่เป็น

แกน) ที่คาดกันเอาว่า เป็นอาตมัน (อัตตา = ตัวตน)

เป็นผู้สิงอยู่ หรือ ครองอยู่ (นิวาสี)

เป็นผู้สร้าง หรือ ผู้สร้างสรรค์บันดาล (การกะ)

เป็นผู้เสวย (เวทกะ)

เป็นผู้มีอำนาจในตัว (สยังวสี) เพราะว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ (คงตัวอยู่ไม่ได้)มันไม่สามารถ

ห้ามความไม่เที่ยงหรือความบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปแม้ของตัวมันเองได้

แล้วความเป็นผู้สร้างผู้บันดาล เป็นต้น ของมันจะมีมาจากที่ไหน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ก็ไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ (มีความบีบคั้นขัดแย้งข้องขัด

ต่างๆ) ดังนี้ เป็นอาทิ"*(*วิสุทธิ.3/235-6)

จะสังเกตเห็นว่า ความหมายที่ว่า ไม่มีสาระ คือ ตัวตนนี้ ท่านกล่าวไว้โดยสัมพันธ์กับความหมายว่า

ดลบันดาลไม่ได้ หรือไม่มีอำนาจในตัว

ทั้งนี้เพราะถ้ามีตัวตนคงที่ยั่งยืนอยู่เป็นแก่นเป็นแกนจริงแล้ว ก็ย่อมขืนย่อมฝืน ความเปลี่ยนแปลงได้

ไม่ต้องเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงนั้น

ยิ่งถ้าเป็นผู้ครอบครอง ก็ย่อมต้องมีอำนาจบังคับสิ่งที่ถูกครอบครองให้เป็นอย่างไรๆ ก็ได้ตามปรารถนา

แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ความไม่เป็นตัวตนและความไม่มีตัวตนสิงสู่อยู่ครอง จึงมีความหมายเด่น

ในแง่ที่ว่าไม่มีอำนาจบังคับ ไม่เป็นไปในอำนาจ ขัดแย้งต่อความปรารถนาและโดยนัยนี้

คัมภีร์รุ่นอรรถกถา จึงนิยมแสดงความหมายของอนัตตาว่า "ชื่อว่า เป็นอนัตตา โดยความหมายว่า

ไม่เป็นไปในอำนาจ (อวสวตฺตนฏฺเฐน หรือ อวสวตฺตนโต = เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ")*

(*วิสุทธิ.3/260,276) และอธิบายในทำนองว่า ไม่มีใครมีอำนาจบังคับ (ตามใจปรารถนา โดยไม่

ทำตามเหตุปัจจัย) ต่อสังขารทั้งหลายว่า สังขารที่เกิดขึ้นแล้ว จงอย่าถึงความทรงอยู่ ที่ถึงความทรงอยู่

แล้ว อย่าชรา ที่ถึงชราแล้ว จงอย่าแตกดับ จงอย่าบอบโทรม ด้วยการเกิดขึ้นและการเสื่อมสลาย*

(* วิสุทธิ.3/246-7 ฯลฯ) ตลอดจนอ้างพุทธพจน์ที่ตรัสว่า “บุคคลย่อมไม่ได้ (ตามปรารถนา) ในรูป

(และ ขันธ์อื่นๆ) ว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าเป็นอย่างนี้” *

* วิภงฺค.อ.63-64 วินย.ฎีกา 4/80 อ้างพุทธพจน์ในอนัตตลักขณสูตร สํ.ข.17/127/82

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1254130563n70dc-11499.jpg
1254130563n70dc-11499.jpg [ 50.86 KiB | เปิดดู 5729 ครั้ง ]
ขยายความว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่ปรากฏเป็นต่างๆนั้น เมื่อวิเคราะห์ตามสภาวะถึงที่สุดแล้ว หาใช่มีตัวแท้

ตัวจริงที่คงตัวยั่งยืนอยู่ยงดังที่เรียกชื่อกันว่าอย่างนั้นอย่างนี้ไม่

แต่เป็นเพียงกระบวนธรรม (ปวัตติ) ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมหรือประมวลกันเข้า

และองค์ประกอบเหล่านั้นแต่ละอย่างๆ ล้วนมีการเกิดขึ้นและความเสื่อมสลาย เป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์

สืบเนื่อง ส่งทอดเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กัน ทั้งภายในกระบวนธรรม ที่กำหนดแยกว่า เป็นกระบวนหนึ่งๆ

และระหว่างกระบวนธรรมต่างกระบวนทั้งหลาย

ในภาวะเช่นนี้ มีสิ่งที่ควรกำหนดเป็นข้อเด่นอยู่ 4 ประการ คือ

1) ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของสิ่งนั้นยืนตัวเป็นแก่นเป็นแกนอยู่

2) สภาพที่ปรากฏนั้นเกิดจากองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันปรุงแต่งขึ้น

3) องค์ประกอบเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว เสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา และสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กัน ประมวลขึ้น

เป็นกระบวนธรรม

4) ถ้ากำหนดแยกออกเป็นกระบวนธรรมย่อยๆ มากหลาย ก็มีความสัมพันธ์เป็นปัจจัยต่อกันระหว่างกระบวน

ธรรมด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนธรรมที่องค์ประกอบต่างๆ ซึ่งเกิดสลายและสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันประมวลขึ้นนี้ ดำเนินไปเรื่อยๆ

ปรากฏภาพและกลายไปต่างๆ ทั้งนี้จะปรากฏภาพและกลายไปอย่างไร ก็สุดแต่องค์ประกอบและความ

เป็นเหตุปัจจัยแก่กันนั้นนั่นเอง เป็นเรื่องที่สำเร็จเสร็จสิ้นครบถ้วนในกระบวนการ โดยไม่มีตัวตนอะไรอื่นอีก

ที่จะเข้ามาแทรกแซงหรือทำให้เป็นไปอย่างอื่นได้ คือ ไม่มีตัวตนต่างหากจากกระบวนการนั้น

ไม่ว่าจะในความหมายว่า เป็นตัวแกนภายในที่ยืนยงคงที่ฝืนความเป็นไปตามเหตุปัจจัย สามารถทำให้เป็นไป

โดยลำพังความปรารถนาของตนได้ หรือในความหมายว่า เป็นตัวการภายนอกที่สามารถสร้างสรรค์ดลบันดาล

ให้เป็นอย่างอื่น โดยไม่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อองค์ประกอบต่างๆ ประชุมกันเข้าและสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันปรากฏเป็นภาพรวมอย่างหนึ่งๆขึ้น

มนุษย์มักตั้งชื่อเรียกภาพรวมนั้น เช่น ว่าคน ม้า แมว มด รถ ร้าน นาฬิกา ปากกา นาย ก.เด็กหญิง ข.เป็นต้น

แต่ชื่อเหล่านั้น เป็นเพียงคำเรียกขานที่สมมุติกันขึ้นใช้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการสื่อสาร

สำหรับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เท่านั้น มันหาใช่เป็นภาวะที่มีอยู่แท้จริงไม่ คือมันไม่มีตัวตน

อยู่จริงต่างหากจากส่วนประกอบที่มารวมกันเข้านั้น

ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหลายออกจากกัน ก็จะมีเพียงส่วนประกอบแต่ละหน่วย ที่มีชื่อเรียกเฉพาะอย่างๆ

ของมันอยู่แล้ว หาตัวตนของภาพรวมที่ตั้งชื่อให้นั้นไม่พบจะชี้ตัวลงไปที่ไหนก็ไม่มีชื่อที่ตั้งให้แก่ภาพรวมนั้น

เป็นตัวตนสมมุติที่สร้างขึ้นซ้อนสภาวะที่เป็นจริงซ้อนอยู่ลอยๆ ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรง ไม่มีอำนาจ

ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อกระบนธรรม ที่กำลังเป็นไปอยู่นั้นเลย นอกจากความยึดถือ (ซึ่งก็เป็นองค์ประกอบ

อย่างหนึ่ง อยู่ในกระบวนธรรมเอง)

ในเมื่อเป็นเพียงสมมุติ และเป็นของซ้อนอยู่ลอยๆ ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่มันจะไม่มีอำนาจ หรือไม่มีทางที่จะไป

บังคับกระบวนธรรม หรือ องค์ประกอบใดๆ ในกระบวนธรรม ให้เป็นไปอย่างหนึ่งอย่างใดได้

กระบวนธรรม หรือ กระบวนแห่งสังขารธรรม ก็เป็นไปของมันตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความปรารถนา

ไม่ขึ้นต่อตัวตนที่ซ้อนลอยนั้น

ที่ว่าไม่เป็นไปตามความปรารถนา ก็เพราะเมื่อว่าตามความเป็นจริงแล้ว ความปรารถนานั้นก็หาใช่เป็นความ

ปรารถนาของตนไม่ แต่เป็นเพียงองค์ประกอบอย่างหนึ่ง อยู่ในกระบวนธรรม และเป็นองค์ประกอบที่ไม่ใช่ตัว

ให้สำเร็จกิจ

มันจะให้สำเร็จผลได้ก็ต่อเมื่อมันเป็นตัวผลักดันให้เกิดปัจจัยขั้นต่อไป คือ การลงมือทำ หรือ ปฏิบัติการซึ่งก็คือ

เป็นไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยนั่นเอง


การที่จะมีตัวตนซ้อนลอย เป็นตัวตนต่างหากอยู่จริงๆ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะถ้าเป็นไปได้ ความเป็นไปตาม

เหตุปัจจัยก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะตัวคงที่ ซึ่งไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น ขวางขืนกระแสอยู่ พาให้องค์

ประกอบต่างๆ เรรวนไปหมด ไม่เป็นกระบวนธรรม

ยิ่งกว่านั้น ตัวตนซ้อนนั้น ก็อาจจะขัดขวางแทรกแซงและบิดผันธรรมทั้งหลาย ให้เป็นไปอย่างอื่น

จากความเป็นไปตามเหตุปัจจัยอีกด้วย

แต่ความเป็นไปที่จริงแท้ก็คือ สังขารธรรมทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ดังนั้น ตัวตนต่างหาก

จากกระบวนธรรม จึงไม่มีอยู่จริง ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกกระบวนธรรมนั้นก็ตาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อส่วนประกอบทั้งหลายรวมกันเข้า ปรากฏรูปเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีการบัญญัติ เรียกชื่อเป็นอย่างนั้น

อย่างนี้ อันยอมรับกันโดยสมมุติ

เมื่อองค์ประกอบทั้งหลายพร้อมอยู่ ปัจจัยต่างๆ ค้ำจุนหล่อเลี้ยงอำนวย ก็คงรูปร่าง หรือ คงสภาพอยู่ตาม

ที่สมมุติเป็นตัวตนอย่างนั้น

แต่เมื่อใดองค์ประกอบทั้งหลายแยกพรากจากกัน หรือปัจจัยแวดล้อมไม่เกื้อกูล สภาพตัวตนนั้นก็หายไป

เหมือนดัง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง น้ำแข็งก็ละลาย ตัวตนที่ชื่อว่าน้ำแข็งหายไป เหลืออยู่แต่น้ำเหลว

เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น ถึงระดับหนึ่งโดยสัมพันธ์กับความกดอากาศ น้ำเหลวก็ระเหย กลายเป็นไอน้ำ

สภาพตัวตนของน้ำเหลวก็สิ้นไป

หรือเมื่อกระดาษถูกเผาไฟไหม้หมดแล้ว เหลือแต่ฝุ่นเถ้าไฟ ก็หาตัวตนที่จะเรียกว่า กระดาษไม่ได้อีกต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของอนัตตาที่ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากองค์ประกอบต่างๆมาประชุมกันเข้า สัมพันธ์กันเป็นไป

ตามเหตุปัจจัย ว่างเปล่าจากตัวตนที่เป็นแกนอันยืนยงคงตัว ปราศจากตัวการที่สร้างสรรค์บันดาลนี้

เป็นความหมายพื้นฐาน ที่อาจะอ้างความในคัมภีร์มาช่วยเสริมความเข้าใจได้หลายแห่ง เช่น พระบาลีว่า


“อาศัยเครื่องไม้ เถาเชือก ดินฉาบ และหญ้ามุง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่า เป็นเรือนฉันใด

อาศัยกระดูก เส้นเอ็น เนื้อ หนัง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่า เป็นตัวตน (รูป) ฉันนั้น”

(ม.มู.12/346/658)

มารถามพระวชิราภิกษุณีว่า

“สัตว์นี้ (ตัวบุคคลนี้) ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์เกิดที่ไหน สัตว์ดับที่ไหน?”

วชิราภิกษุณีตอบว่า

“นี่แน่ะมาร ท่านเชื่อหรือว่าเป็นสัตว์ (เป็นตัวบุคคล) ท่านมีความเห็น (อย่างนั้น) หรือ ?

นี้คือกองแห่งสังขารล้วนๆ จะหาตัวสัตว์ในนี้ไม่ได้เลย เพราะประชุมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ย่อมมีศัพท์

เรียกว่า รถ ฉันใด เมื่อขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม) ทั้งหลายมีอยู่ ก็มีสมมุติเรียกว่า สัตว์ ฉันนั้น

แท้จริง ทุกข์ (สภาพไม่คงตัว) เท่านั้นเกิดมี และทุกข์ก็ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป นอกจากทุกข์

ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ”

(สํ.ส.15/551/197)

พระเสลาภิกษุณีตอบว่า

“ร่างนี้ ไม่มีใครสร้าง ตัวนี้ไม่มีใครบันดาล อาศัยเหตุมันก็เกิดมี เพราะเหตุสลายมันก็ดับ

เม็ดพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เขาหว่านในนา อาศัยรสในแผ่นดินและยางในเมล็ดพืชทั้งสองอย่างนี้

ก็ย่อมงอกงามขึ้นได้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ประดาขันธ์ ธาตุทั้งหลาย และอายตนะทั้ง 6 เหล่านี้

อาศัยเหตุ ย่อมเกิดมี เพราะเหตุสลาย ก็ย่อมดับไป”

(สํ.ส.15/551/197)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ช้าง ม้า เหล่าทหารและยานรบทั้งหลายรวมๆเข้าด้วยกัน ก็เรียกว่ากองทัพ ตึกรามบ้านเรือนผู้คนและกิจการ

ต่างๆ มากหลายชุมนุมกันอยู่ ก็เรียกว่าเมือง มือกับนิ้วรวบเข้าด้วยกันในท่าหนึ่ง เขาเรียกว่ากำปั้น หรือหมัด

กำปั้นหรือหมัดไม่มีอยู่จริง มีแต่มือและนิ้ว มือและนิ้ว เมื่อแยกส่วนประกอบย่อยๆออกไป ก็ไม่มีเช่นเดียวกัน

วิเคราะห์กระจายส่วนออกไปได้โดยลำดับ จนหาตัวตนอะไรเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้

พระสูตรทั้งหลายมากมาย แสดงแต่เรื่องนามรูป หรือ นามธรรมและรูปธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์หรือบุคคลเลย

(วิสุทธิ.3/214-5 )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อว่าโดยสรุป พระอรรถกถาจารย์ประมวลความหมายของอนัตตา แสดงไว้เป็นหมวดรวม 4 นัย คือ

1. สุญฺญโต

-เพราะเป็นสภาพว่างเปล่า คือ ปราศจากตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกน (อัตตสาระ = สาระคือตัวตน) หรือ ว่างจาก

ความเป็นสัตว์บุคคลตัวตน เราเขาที่แท้จริง ไม่มีตัวผู้สิงสู่อยู่ครอง ไม่มีตัวผู้สร้างสรรค์บันดาล ไม่มีตัวผู้เสวย

นอกเหนือจากกระบวนธรรม แห่งองค์ประกอบทั้งหลาย ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย และนอกจากโดยการสมมุติ

พูดง่ายๆว่า ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์บุคคลตัวตน เรา เขา จากความเป็นนั่นเป็นนี่ ที่กำหนดหมายกันขึ้น


2. อสฺสามิกโต

-เพราะเป็นสภาพไร้เจ้าของ คือ ไม่เป็นตัวตนของใคร และไม่เป็นของของตัวตนใดๆ ไม่มีตัวตนอยู่ต่างหาก

ที่จะเป็นเจ้าของครอบครองสังขารธรรมทั้งหลาย มันเป็นแต่เพียงกระบวนธรรมเองล้วนๆ เป็นไปโดยลำพัง

ตามเหตุปัจจัย (ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นของใครจริง ไม่เป็นตัวตนของใคร)


3. อวสวตฺตนโต

-เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ คือ ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่ขึ้นต่อผู้ใด ไม่มีใครมีอำนาจบังคับมัน จะเรียกร้อง

หรือปรารถนาให้มันเป็นอย่างใดๆไม่ได้ นอกจากทำ การตามเหตุปัจจัย ใช้ศัพท์อีกอย่างหนึ่งว่า

อนิสฺสรโต แปลว่า เพราะไม่เป็นเจ้าใหญ่ หรือไม่เป็นใหญ่ในตัว คือ จะบงการหรือใช้อำนาจบังคับเอาไม่ได้

มีแต่จะต้องให้เป็นไปตามเหตุปัจจัย

บางแห่งใช้ว่า อกามการิยโต แปลว่า เพราะเป็นสภาพที่ไม่อาจทำได้ตามความอยาก คือ จะให้เป็นไป

ตามความอยาก ความปรารถนามิได้ หรือ จะเอาใจอยากเข้าว่าไม่ได้

แต่เป็นเรื่องของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย จะให้เป็นอย่างไร ก็จะต้องทำเอาตามเหตุปัจจัย

หรือต้องทำเหตุทำปัจจัยเอา หรือ ต้องทำให้เป็นเหตุเป็นปัจจัยขึ้นมา


รวมความว่า ไม่อยู่ในอำนาจ หรือไม่มีใครเป็นใหญ่ คือ ใครจะสั่งบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ มันขึ้นต่อ

เหตุปัจจัย ไม่ได้ขึ้นต่ออำนาจหรือความปรารถนาของใคร เช่น มันเกิดขึ้นแล้ว จะสั่งว่า อย่าตั้งอยู่

มันตั้งอยู่แล้ว จะสั่งว่าอย่าโทรม มันโทรมแล้ว จะสั่งว่าอย่าสลาย ไม่ได้ทั้งนั้น


4. อตฺตปฏิกฺเขปโต

-เพราะแย้งต่ออัตตา คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธอัตตาอยู่ในตัว หมายความว่า ความเป็นกระบวนธรรม

คือการที่องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์กันดำเนินไป โดยความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง เป็นการปฏิเสธอยู่

ในตัวว่าไม่มีตัวตนต่างหากซ้อนอยู่ ที่จะมาแทรกแซงบงการ หรือแม้แต่ขวางขืนความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

และตัวตนต่างหากเช่นนั้นมีไม่ได้ เพราะถ้ามี ก็ไม่อาจมีความเป็นไปตามเหตุปัจจัย แต่จะกลับกลายเป็นว่า

ต้องเป็นไปตามความบังคับบงการของตัวตนนั้น

อีกอย่างหนึ่ง กระบวนธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น มีความสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ พร้อมในตัวอยู่แล้ว

ไม่จำเป็นและไม่อาจจะมีตัวการอย่างอื่นที่จะเข้ามาแทรกแซงสั่งการอีกได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีความหมายอีก 2 อย่าง ซึ่งแม้จะรวมอยู่ในความหมาย 4ข้อต้นแล้ว แต่เห็นว่า มีความสำคัญเป็นพิเศษ

ควรนับเป็นข้อต่างหากไว้ เพราะเป็นลักษณะของความเป็นกระบวนธรรม อันจะเห็นเด่นชัด เมื่อวิเคราะห์

กระบวนธรรมออกไป จึงขอนำมาเพิ่มต่อไว้ด้วย คือ



5. สุทฺธสงฺขารปุญฺชโต หรือ สุทฺธธมฺมปุญฺชโต

-เพราะเป็นกองแห่งสังขารทั้งหลายล้วนๆ หรือเป็นกองแห่งธรรมทั้งหลาย (รูปธรรมและ หรือ นามธรรม)

ล้วนๆ หรือ องฺคสมฺภารโต เพราะเป็นการประกอบกันขึ้นของส่วนย่อยต่างๆ คือ เกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ

ทั้งหลายมาประชุม หรือ ประมวลกันขึ้น ไม่เป็นตัวตนชิ้นอันที่สมบูรณ์ในตัว ที่จะยั่งยืนคงตัวอยู่ได้

ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนที่แท้จริง นอกเหนือจากส่วนประกอบเหล่านั้น (ความหมายข้อนี้ เน้นอยู่แล้วในความ

หมายข้อที่ 1.ข้างต้น)


6. ยถาปจฺจยปวตฺติโต

-เพราะความเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือ องค์ประกอบทั้งหลายที่ประมวล หรือประชุมกันเข้านั้น ต่างสัมพันธ์เป็น

ปัจจัยแก่กัน เรียกรวมๆ ว่ากระบวนธรรมนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของใคร

และไม่อาจมีตัวตน ไม่ว่าจะเป็นตัวแกนภายใน หรือ ตัวการภายนอก ที่จะขวางขืนหรือบงการบังคับมันได้

(ความหมายข้อนี้แทรกอยู่ทั่ว ไปในความหมายทั้ง 4 ข้อข้างต้น โดยเฉพาะข้อที่ 3 และ 4)

รวมความก็คือ สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเองตามธรรมดา

เหตุปัจจัยมี (ที่จะให้เป็นอย่างนั้น ) มันก็เกิด (เป็นอย่างนั้น) เหตุปัจจัย (ที่จะให้เป็นอย่างนั้น )หมด

มันก็ดับ (จากสภาพอย่างนั้น)

มันหาฟังเสียงเราอ้อนวอนขอร้องหรือปรารถนาไม่ มันไม่เป็นตัว เป็นอะไรๆ (อย่างที่ว่ากัน) หรือเป็นของ

ใครทั้งนั้น


ความหมายของอนัตตาเท่าที่กล่าวมานี้ เน้นในแง่ที่เป็นลักษณะของสังขาร หรือ สังขตธรรม

แต่ความเป็นอนัตตาของอสังขตธรรม คือ นิพพาน ยังมีข้อที่พึงทำความเข้าใจเพิ่มเติม (ย่อๆ) ดังนี้


ที่ว่า อันใดไม่เที่ยง อันนั้น ย่อมเป็นทุกข์ อันใด เป็นทุกข์ อันนั้น ย่อมเป็นอนัตตา ก็จริง

แต่อันใดเป็นอนัตตา อันนั้น ไม่จำเป็นต้องไม่เที่ยง ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกข์เสมอไป กล่าวคือ

สังขาร หรือ สังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารหรือสังขตธรรมทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

แต่ธรรมทั้งปวง คือ ทั้งสังขตธรรม และ อสังขตธรรม หรือ ทั้งสังขาร และวิสังขาร แม้จะเป็นอนัตตา

แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เสมอไป

หมายความว่า อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร (คือนิพพาน)แม้จะเป็นอนัตตา แต่ก็พ้นจากความไม่เที่ยง

และพ้นจากความเป็นทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8951248-9.jpg
Y8951248-9.jpg [ 64.44 KiB | เปิดดู 5707 ครั้ง ]
:b18:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาสภาวะอนัตตาต่อ


จุดสำคัญที่มีความเข้าใจไขว้เขวและหลงผิดกันมาก ก็คือความรู้สึกว่า มีตัวผู้คิด ต่างหากจากความคิด

มีผู้จงใจ หรือ เจตนา ต่างหากจากเจตนา

มีผู้เสพเสวยเวทนา ต่างหากจากเวทนา

ตลอดจนมีตัวผู้ทำกรรม ต่างหากจากกรรม หรือ ต่างหากจากการกระทำ

แม้แต่นักปราชญ์ใหญ่ๆมากมาย ก็พากันติดอยู่ในกับดักของความหลงผิดอันนี้ จึงไม่สามารถเข้าถึงความจริง

ที่ล้วนๆ บริสุทธิ์ปราศจากการเคลือบคลุมของความรู้สึกที่เป็นอัตตวิสัย

นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ผู้มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่ง พิจารณาไตร่ตรองเป็นนักหนาเกี่ยวกับความสงสัย

ครุ่นคิดไปมาแล้วก็ลงข้อสรุปว่า “ฉันคิด เพราะฉะนั้น ฉันจึงมี”*(* Cogito ergo

sum (วาทะของ Rene Descartes 1596- 1650)

ความรู้สึกในตัวตน คือ อัตตา หรือ อาตมัน ที่แยกออกมาอย่างนี้ เป็นความรู้สึกสามัญของปุถุชนโดยทั่วไป

เป็นความรู้สึกที่นึกน่าสมจริง และ คล้ายจะสมเหตุสมผลโดยสามัญสำนึก แต่เมื่อสืบสาวลึกลงไปให้ตลอดสาย

จะมีความขัดแย้งในตัวเอง

คำถามทำนองนี้ ได้มีผู้ยกขึ้นทูลถามพระพุทธเจ้ามาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เช่นว่า

“ใครหนอผัสสะ (ใครรับรู้) ? ใครเสวยเวทนา ? ใครอยาก ? ใครยึด ?”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า

คำถามเช่นนั้น ใช้ไม่ได้ เป็นคำถามที่ตั้งขึ้นตามความรู้สึก ไม่สอดคล้องกับสภาวะ เข้ากับสภาพความ

เป็นจริงแท้ไม่ได้

ถ้าจะให้ถูก ต้องถามว่า อะไรเป็นปัจจัยให้มีการรับรู้ ?

อะไรเป็นปัจจัยให้มีเวทนา ?

อะไรเป็นปัจจัยให้มีการอยาก การยึด ?

(สํ.นิ.16/33-36/16-17)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 มี.ค. 2010, 17:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

อธิบายว่า

การคิดก็ดี ความจงใจก็ดี การอยากการปรารถนาก็ดี การเสวยเวทนาก็ดี เป็นองค์ประกอบอยู่ใน

กระบวนการแห่งรูปธรรม และ นามธรรม ฉันใด

ความรู้สึกถึงตัวผู้คิด หรือตัวผู้เจตนา เป็นต้น ก็เป็นองค์ประกอบอยู่ในกระบวนธรรมนั้น ฉันนั้น

และองค์ประกอบเหล่านั้น ก็สัมพันธ์โดยอาการเป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบทอดต่อกัน

มีแต่การคิดและความรู้สึกถึงตัวผู้คิด (คือ ความหลงผิดว่ามีตัวผู้คิด ไม่ใช่มีตัวผู้คิดเอง) เป็นต้น

ที่เกิดสืบต่อกันอยู่ในกระบวนธรรมเดียวกัน ว่าที่จริงความรู้สึกว่า มีตัวผู้คิด ก็เป็นอาการอย่างหนึ่ง


พูดง่ายๆว่า เป็นขณะหนึ่งในกระบวนการคิด

การที่เกิดความหลงผิด (คิดผิด) รู้สึกว่า มีตัวผู้คิด ก็เพราะไม่รู้จักแยกองค์ประกอบต่างๆ

ที่สัมพันธ์สืบต่อกันอยู่ในกระบวนธรรม และไม่สามารถกำหนดแยกความเป็นไปแต่ละขณะๆ

ในขณะกำลังคิด ย่อมไม่มีความรู้สึกถึงตัวผู้คิด และในขณะกำลังรู้สึกถึงตัวผู้คิด ก็ไม่มีการคิด

กล่าวคือ ในขณะกำลังคิดเรื่องที่พิจารณา ย่อมไม่มีการคิดถึงตัวผู้คิด

และในขณะกำลังคิดถึงตัวผู้คิด ก็ย่อมไม่มีการคิดเรื่องที่กำลังพิจารณา


แท้จริง การคิดเรื่องก็ดี ความรู้สึกถึงตัวผู้คิดหรือความคิดว่า มีตัวผู้คิดก็ดี

ต่างก็เป็นความคิดต่างขณะกันที่อยู่ในกระบวนธรรมเดียวกัน

ส่วนตัวผู้คิด ก็เป็นเพียงความคิดปรุงแต่งที่กลับมาเป็นอารมณ์ (ส่วนประกอบอย่างหนึ่ง) ของความคิด

อีกขณะหนึ่งเท่านั้นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเข้าใจเขวหรือหลงผิดที่กล่าวมานี้ เกิดจากการพิจารณาโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ)

เข้าหลักทิฏฐิ 6 อย่างใดอย่างหนึ่ง ในพุทธพจน์ที่ว่า



“เมื่อปุถุชน มนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทิฏฐิ 6 อย่าง ย่อมเกิดขึ้น คือ

เขาย่อมเกิดทิฏฐิ (ยึดถือ) เอาเป็นจริงเป็นแท้ว่า เรามีอัตตา...เราไม่มีอัตตา...เรากำหนดรู้อัตตา

ด้วยอัตตา...เรากำหนดรู้สภาวะ ที่มิใช่อัตตาด้วยอัตตา...เรากำหนดรู้อัตตาด้วยสภาวะที่มิใช่อัตตา

หรือมิฉะนั้น ก็จะมีทิฏฐิดังนี้ว่าอัตตาของเรานี้แหละเป็นตัวบงการ เป็นผู้เสวย ประสบวิบากแห่งกรรมที่ดี

และชั่ว ณ ที่นั้นๆ” *

(* ม.มู.12/12/14)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าชื่อที่ตั้งให้แก่ภาพรวม เป็นตัวตนสมมุติที่ซ้อนอยู่ลอยๆ ไม่มีความสัมพันธ์

หรือมีผลกระทบกระเทือนต่อกระบวนธรรมเลย นอกจากโดยความยึดถือ

ขอขยายความเสริมเข้าอีกว่า ถึงแม้ตัวตนจะไม่มีอยู่จริงก็ตาม แต่ความยึดถือในตัวตนนั้น

ก็ก่อให้เกิดปัญหาได้ เพราะความยึดถือนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในกระบวนธรรม

เมื่อเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง มันก็เป็นปัจจัยแก่องค์ประกอบอย่างอื่น และทำให้เกิดผลกระทบแก่กระบวน

ธรรมได้ แต่มันเป็นปัจจัยฝ่ายอกุศลคือไม่เกื้อกูล เพราะมันเกิดจากอวิชชา ความไม่รู้ตามเป็นจริง

และเกิดขึ้นโดยอาการแทรกแซงเข้ามาขวางขืนกระแส คือ ทั้งที่ไม่แก้ไขเหตุปัจจัย ก็จะไม่ยอมให้เป็นไป

ตามเหตุปัจจัย จึงก่อให้เกิดผลทางร้าย

ในด้านหนึ่ง ก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในกระบวนธรรม จนออกผลเป็นความรู้สึกบีบคั้นที่เรียกว่า

ทุกขเวทนา

ดังนั้น ผู้ไม่รู้เท่าทันตามเป็นจริง หลงยึดติดในสมมุติ ถือมั่นตัวตนที่สมมุติขึ้นเป็นจริงจัง ก็จะถูกความยึดติด

ถือมั่นนั่นแหละ บีบคั้นกระทบกระแทกเอา ทำให้ได้รับความรู้สึกทุกข์เป็นอันมาก

ส่วนผู้รู้เท่าทันสมมุติ ไม่ยึดติดถือมั่นในตัวตนนั้น ก็มองเห็นแต่กระบวนธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย

เขาสมมุติเรียกขานกระบวนธรรมนั้นอย่างไร ก็รู้เข้าใจเรียกขานไปตามนั้น

แต่เมื่อต้องการอย่างไร ก็แก้ไขและทำการไปตามเหตุปัจจัย ไม่หลงให้ความอยากความยึดมาเป็นเครื่อง

บีบคั้นตัว ก็ไม่ต้องได้รับความทุกข์จากความยึดติดถือมั่นนั้น

เรียกว่า รู้จักใช้สมมุติให้เป็นประโยชน์ และไม่ต้องประสบโทษจากความยึดติดในสมมุติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


อีกด้านหนึ่ง

ความยึดถือในตัวตนจะก่อนผลทางร้าย หนุนให้เกิดองค์ประกอบฝ่ายอกุศลที่เรียกว่า กิเลสขึ้นในกระบวนธรรม

ตามติดมาอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะตัณหา คือความเห็นแก่ตัว ทะยานอยาก แส่หาเครื่องบำรุงบำเรอ

ปรนเปรอตน มานะ คือความถือตัว สำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ ใฝ่แสวงอำนาจมาเชิดชูตน

และ ทิฏฐิ คือ ความยึดติดในความเห็นของตน ถือรั้นเอาความเห็นของตนเป็นความจริง

หรือถือมั่นให้ความจริงจะต้องเป็นอย่างที่ตนเห็น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยก่อให้เกิดความบีบคั้นขัดแย้ง

ขยายเพิ่มพูนและกว้างขวางออกไปทั้งภายในและภายนอก

ผู้ไม่รู้เท่าทันสมมุติ หลงยึดติดถือมั่นตัวตนเป็นจริงจัง จะปล่อยให้กิเลสเหล่านี้เป็นตัวบงการ บัญชาการ

ดำเนินชีวิตและพฤติกรรมของตน ทำให้ความทุกข์แพร่หลายและเพิ่มทวีทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง

ส่วนผู้รู้เท่าทันสมมุติไม่หลงยึดติดถือมั่นในตัวตนนั้น ย่อมปลอดพ้นจากอำนาจบงการของกิเลสเหล่านี้

ไม่ยึดถือด้วยความหลงว่า นี่ของฉัน ฉันเป็นนี่ นี่เป็นตัวของฉัน ครองชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ที่รู้เท่าทันสมมุติ

และให้ทำการตามเหตุปัจจัย เป็นฐานที่ตั้งและที่แพร่หลายแห่งความปลอดภัยไร้ทุกข์ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 มี.ค. 2010, 18:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron