วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 22:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 6633 ครั้ง ]
เรื่องทุกข์นี้ เราสามารถพรรณนาแสดงรายชื่อขยายรายการออกไปได้เป็นอันมาก เพราะปัญหาของมนุษย์

มีมากมาย ทั้งทุกข์ที่เป็นสามัญแก่ชีวิตโดยทั่วไป และทุกข์ที่แปลกกันออกไปตามสภาพแวดล้อม

ของยุคสมัย ถิ่นฐาน และสถานการณ์ ข้อสำคัญอยู่ที่จะต้องรู้ความมุ่งหมาย

การที่ท่านแสดงชื่อทุกข์ต่างๆไว้มากมาย ก็เพื่อให้เรารู้จักมันตามสภาพ คือ ตามที่เป็นจริง

(= ปริญญากิจ) เพื่อปฏิบัติต่อทุกข์นั้นอย่างถูกต้อง ด้วยการยอมรับรู้สู้หน้าสิ่งที่มีอยู่ซึ่งตนจะต้อง

เกี่ยวข้อง

ไม่ใช่เลี่ยงหนี อำพรางปิดตาหลอกตัวเอง หรือ แม้กระทั่งปลอบใจตน ประดุจดังว่า ทุกข์เหล่านั้นไม่มีอยู่

หรือ ตนเองหลีกหลบไปได้แล้ว และ กลายเป็นสร้างปมปัญหา เสริมทุกข์ให้หนักหนาซับซ้อน และรุนแรงยิ่งขึ้น

แต่เข้าเผชิญหน้า ทำความรู้จัก แล้วเอาชนะอยู่เหนือมัน ทำตนให้ปลอดพ้นได้จากทุกข์เหล่านั้น

ปฏิบัติต่อทุกข์โดยทางที่จะทำให้ทุกข์ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่อย่างชั่วคราว จนถึงโดยถาวร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2.ทุกขตา และ ทุกขลักษณะ

คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค แสดงอรรถของทุกขตาไว้อย่างเดียวว่า ชื่อว่า เป็นทุกข์ โดยความหมายว่า เป็นของมีภัย

(= ภยฏฺเฐน)*(*ขุ.ปฏิ.31/79/53 ฯลฯ)

ที่ว่า มีภัยนั้น จะแปลว่า เป็นภัย หรือ น่ากลัว ก็ได้ ทั้งนี้โดยเหตุผลว่า สังขารทั้งปวง เป็นสภาพที่ผุพัง

แตกสลายได้ จะต้องย่อยยับมลายสิ้นไป จึงไม่มีความปลอดภัย ไม่ให้ความปลอดโปร่งโล่งใจ หรือความเบาใจ

อย่างเต็มที่แท้จริง

หมายความว่า ตัวมันเองก็มีภัยที่จะต้องเสื่อมโทรมสิ้นสลายไป มันจึงก่อให้เกิดภัย คือ ความกลัวและ

ความน่ากลัวแก่ใครก็ตามที่เข้าไปยึดถือเกี่ยวข้อง


ส่วนคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆ คำอธิบายที่ท่านใช้บ่อยมีอยู่ 2 นัย คือ

ชื่อว่าเป็นทุกข์ โดยความหมายว่า มีความบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลาย-

(อุปฺปาทวยปฏิปีฬนฏฺเฐน หรือ อุปฺปาทวยปฏิฬีนตาย – วิสุทธิ.3/237)

ทั้งบีบคั้นขัดแย้งต่อประดาสิ่งที่ประกอบอยู่กับมัน และ ทั้งมันเองก็ถูกสิ่งที่ประกอบอยู่ด้วยนั้นบีบคั้นขัดแย้ง*

(* วิสุทธิ.ฎีกา.3/462)

และชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ (ทุกฺขวตฺถุตายหรือทุกฺขวตฺถุโต-วิสุทธิ.3/87) คือ เป็นที่รองรับ

ของความทุกข์ หรือทำให้เกิดทุกข์ เช่น ก่อให้เกิดความรู้สึกทุกข์

พูดให้ง่ายว่า ที่เรียกว่าเป็นทุกข์ ก็เพราะทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ เป็นต้น

หรือที่เรียกว่าบีบคั้น ก็เพราะทำให้เกิดความรู้สึกบีบคั้น เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


ความหมายที่ประมวลไว้ครบถ้วนที่สุดมี 4 นัยคือ เป็นทุกข์ด้วยอรรถ 4 อย่าง ดังนี้


1. อภิณฺหสมฺปติปีฬนโต เพราะมีความบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คือ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเกิดขึ้น

ความเสื่อมโทรม และความแตกสลาย และ บีบคั้นขัดแย้งอยู่ตลอดเวลา กับสิ่งที่ประกอบอยู่ด้วยหรือสิ่งที่

เกี่ยวข้อง ด้วยต่างก็เกิดขึ้น ต่างก็โทรมไป ต่างก็แตกสลาย


2. ทุกฺขโต เพราะเป็นสภาพที่ทนได้ยาก คือ คงทนอยู่ไม่ได้ หมายความว่า คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

จะต้องเปลี่ยน จะต้องสลาย จะต้องหมดสภาพไป เพราะความเกิดขึ้นและความโทรมสลายนั้น*


3. ทุกฺขวตฺถุโต เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ คือ เป็นที่รองรับของความทุกข์ หรือเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดทุกข์

หมายความว่า ทำให้เกิดความทุกข์ต่างๆ เช่น ทุกขเวทนา คือความรู้สึกทุกข์ หรือความรู้สึกบีบคั้น เป็นต้น


4. สุขปฏิกฺเขปโต เพราะแย้งต่อความสุข คือโดยสภาวะของมันเอง ก็ปฏิเสธความสุข หรือกีดกั้นความสุข

อยู่ในตัว หมายความว่า เมื่อพูดตามความจริงแท้ๆแล้ว ความสุขที่เป็นตัวสภาวะจริงๆ ก็มีแต่เพียงความรู้สึกสุข

เท่านั้น

อธิบายว่า ตัวสภาวะที่มีเป็นพื้น ได้แก่ ทุกข์ คือ ความบีบคั้นกดดันจัดแย้ง ที่เป็นลักษณะอย่างหนึ่ง ของสังขาร

ทั้งหลาย

ความบีบคั้นกดดันจัดแย้งนี้ ก่อให้เกิดความรู้สึกบีบคั้นกดดันจัดแย้ง ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา)

ด้วย

เมื่อใด ทุกข์คือความบีบคั้นกดดัน ขัดแย้งนั้นผ่อนคลายหายไป หรือ คนปลอดพ้นจากทุกข์นั้น ก็เรียกว่า มีความ

สุขหรือรู้สึกสุข

ยิ่งทำให้เกิดทุกข์คือบีบคั้นกดดัน ทำให้รู้สึก ขาด พร่อง กระหาย หิวมากเท่าใด ในเวลาที่ทำให้ผ่อน

หาย ปลอดพ้นจากทุกข์หรือบีบคั้นกดดันนั้น ก็ยิ่งรู้สึกสุขมากขึ้นเท่านั้น


เหมือนคนที่ถูกทำให้ร้อนมาก เช่น เดินมาในกลางแดด พอเข้ามาในที่ร้อนน้อยลงหรืออุ่นลง ก็รู้สึกเย็น

ยิ่งได้เข้าไปในที่ ที่เย็นตามปกติก็จะรู้สึกเย็นสบายมาก

ในทางตรงข้าม ถ้าทำให้ได้รับความรู้สึกสุข (สุขเวทนา) แรงมาก พอเกิดความทุกข์ ก็จะรู้สึกทุกข์

(ทุกขเวทนา) รุนแรงมากด้วยเช่นกัน

แม้แต่ทุกข์เพียงเล็กน้อย ที่ตามปกติจะไม่รู้สึกทุกข์

เขาก็อาจจะรู้สึกทุกข์ได้มาก เหมือนคนอยู่ในที่ ที่เย็นสบายมาก พอออกไปสู่ที่ร้อนก็รู้สึกร้อนมาก

แม้แต่สภาวะที่คนอื่นๆ หรือตัวเขาเองเคยรู้สึกเฉยๆ เขาก็อาจจะกลับรู้สึกเป็นร้อนไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บนที่มี *


* ทุกข์ ความหมายในภาษาไทย ที่แปลตามตัวอักษรว่า ทนได้ยาก อาจให้ความรู้สึกกว่า เข้ากันดีกับ

ทุกขเวทนา เช่น ความเจ็บปวด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า เป็นสิ่งที่คนทนได้ยาก แต่นั่นเป็นเพียงถ้อยคำแสดงความ

หมายที่พอดี มาตรงกับความรู้สึก

ความจริง ความหมายนั้น เป็นสำนวนในภาษาบาลี ซึ่งหมายถึงคงทนอยู่ไม่ได้ หรือ คงสภาพอยู่ไม่ได้

ซึ่งเป็นลักษณะของสังขารทั้งหมดทุกอย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

พูดลึกลงไปอีกให้ตรงความจริงโดยสมบูรณ์ว่า ที่ว่าเป็นสุขหรือรู้สึกสุข (สุขเวทนา) นั้นตามที่แท้จริงก็ไม่ใช่

ปลอดพ้น หรือ หายทุกข์ดอก แต่เป็นเพียงระดับหนึ่งหรือขีดขั้นหนึ่งของทุกข์เท่านั้น กล่าวคือ ความบีบคั้น

กดดันขัดแย้ง ที่ผ่อนหรือเพิ่มถึงระดับถึงระดับหนึ่ง หรือ ในอัตราหนึ่งเราเรียกว่าเป็นสุข เพราะทำให้เกิดความ

รู้สึกสุข

แต่ถ้าเกินกว่านั้นไป ก็กลายเป็นต้องทนหรือเหลือทน เรียกว่าเป็นทุกข์ คือรู้สึกทุกข์ (= ทุกขเวทนา)

ว่าที่แท้จริงก็มีแต่ทุกข์ คือแรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เหมือนกับเรื่องความร้อน

และความเย็น ว่าที่จริงความเย็นไม่มี มีแต่ความรู้สึกเย็น สภาวะที่เป็นพื้นก็คือ ความร้อนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

จนถึงไม่มีความร้อน

ที่คนเราพูดว่า เย็นสบายนั้น ก็เป็นเพียงความรู้สึก ซึ่งที่แท้แล้วเป็นความร้อนในระดับหนึ่งเท่านั้น

ถ้าร้อนน้อยหรือมากเกินกว่าระดับนั้นแล้ว ก็หารู้สึกสบายไม่

โดยนัยนี้ ความสุขหรือพูดให้เต็มว่าความรู้สึกสุขคือสุขเวทนาก็เป็นทุกข์ ทั้งในความหมายว่าเป็นทุกข์ระดับหนึ่ง

มีสภาวะเพียงความรู้สึก และในความหมายว่า เป็นสิ่งที่ขึ้นต่อความบีบคั้นกดดัน ขัดแย้ง จะต้องกลาย

จะต้องผันแปร จะต้องหมดไป เหมือนกับว่าทุกข์ที่เป็นตัวสภาวะนั้น ไม่ยอมให้สุขยืนยงคงอยู่ได้ยั่งยืนตลอดไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 พ.ค. 2010, 19:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคที่อ้างถึงข้างต้นว่า ท่านแสดงอรรถคือความหมายของทุกข์ ซึ่งเป็นข้อที่ 2

ในไตรลักษณ์ไว้อย่างเดียวว่า เป็นสิ่งมีภัย (ภยฏฺเฐน) นั้น

เมื่อถึงตอนที่อธิบายเรื่องอริยสัจ ท่านได้แสดงอรรถของทุกข์ ซึ่งเป็นข้อที่ 1 ในอริยสัจว่ามี 4 อย่าง คือ

มีความหมายว่า บีบคั้น (ปีฬนฏฺฐ)

มีความหมายว่า เป็นสังขตะ (สงฺขตฏฺฐ)

มีความหมายว่า แผดเผา (สนฺตาปฏฺฐ)

และมีความหมายว่า ผันแปร (วิปริณามฏฺฐ) *( * ขุ.ปฏิ.31/45/28/545/449 ฯลฯ)

เห็นว่าความหมาย 4 นัยนี้ ใช้กับทุกข์ในไตรลักษณ์ได้ด้วย จึงขอนำมาเพิ่มไว้ ณ ที่นี้ โดยตัดข้อซ้ำ

คือ ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 (ปีฬนฏฺฐ และ วิปริณามฏฺฐ) ออกไป คงได้เพิ่มอีก 2 ข้อ คือ


1. สงฺขตฏฺฐ โดยความเป็นของปรุงแต่ง คือ ถูกปัจจัยต่างๆ รุมกันหรือมาชุมนุมกันปรุงแต่งเอา

สภาพที่ขึ้นต่อปัจจัย ไม่เป็นของคงตัว

2. สนฺตาปฏฺฐ โดยความหมายว่าแผดเผา คือ ในตัวของมันเองก็มีสภาพที่แผดเผาให้กร่อนโทรม

ย่อยยับสลายไป และทั้งแผดเผาผู้มีกิเลสที่เข้าไปยึดติดถือมั่นมันให้เร่าร้อนกระวนกระวายไปด้วย *

(* ดู ปฏิสํ.อ.119,123 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเรื่องทุกข์นี้ มีข้อควรเข้าใจที่สำคัญอีก 2 อย่างคือ


ก. ทุกข์ในไตรลักษณ์ กับ ทุกข์ในอริยสัจ 4 :


ทุกข์ ปรากฏในหมวดธรรมสำคัญ 3 หมวด คือ ในเวทนา (เวทนา 3 ทุกข์ สุข อทุกขมสุข,

เวทนา 5 คือ ทุกข์ สุข โสมนัส โทมนัส และอุเบกขา) เรียกเต็มว่า ทุกขเวทนา

ในไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา) เรียกเต็มว่า ทุกขลักษณะ

และในอริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เรียกเต็มว่า ทุกขอริยสัจ

ทุกข์ ในหมวดธรรมทั้งสามนั้น มีความหมายเกี่ยวโยงเนื่องอยู่ด้วยกัน แต่มีขอบเขตกว้างแคบกว่ากัน

เป็นบางแง่บางส่วนหรือเป็นผลสืบต่อจากกัน ดังนี้

ทุกข์ ที่มีความหมายกว้างที่สุดครอบคลุมทั้งหมด คือ ทุกข์ในไตรลักษณ์

หรือ ทุกขลักษณะ หรือ ทุกขตา ได้แก่ ภาวะที่ไม่คงตัว คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เพราะมีความบีบคั้นกดดัน

ขัดแย้งที่เกิดจากความเกิดขึ้น และความเสื่อมสลาย ดังได้อธิบายมาแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นลักษณะ

ของสังขารทั้งหลายทั้งปวง (สัพเพ สังขารา ทุกขา) กินขอบเขตเท่ากันกับความไม่เที่ยง คือ สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (ยะทะนิจจัง ตัง ทุกขัง)


ทุกข์ ที่มีความหมายแคบที่สุด เป็นเพียงอาการสืบเนื่องด้านหนึ่งเท่านั้น ก็คือ ทุกข์ที่เป็นเวทนา

เรียกเต็มว่า ทุกขเวทนา หรือ ความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ อาการสืบเนื่องจากทุกข์ในไตรลักษณ์


หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในบุคคลเนื่องมาจากทุกข์ในไตรลักษณ์นั้น กล่าวคือ ความรู้สึกบีบคั้นกดดันข้องขัด

ของคน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อความบีบคั้นกดดันขัดแย้ง ที่เป็นสภาพสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นไปในระดับหนึ่ง

หรือในอัตราส่วนหนึ่งโดยสัมพันธ์กับสภาพกายและสภาพจิตของเขา ดังที่ได้อธิบายมาแล้วในข้อความ

บางตอนข้างต้น (สุขปฏิกฺเขปโต)

ทุกขเวทนา นี้ก็เป็นทุกข์ตามความหมายในไตรลักษณ์ด้วย เช่นเดียวกับเวทนาอื่นๆทุกอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ก็ตาม หมายความว่าเวทนาทุกอย่าง จะเป็นทุกขเวทนาก็ดี

สุขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนากก็ดี ล้วนเป็นทุกข์ในความหมายที่เป็นลักษณะสามัญนั้นทั้งสิ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 มี.ค. 2010, 18:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ในอริยสัจ หรือทุกขอริยสัจ ก็คือ สภาวะที่เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์นั่นเอง แต่จำกัดขอบเขตเฉพาะเท่าที่

จะเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกระทบต่อชีวิต

ขยายความว่า สังขารทั้งหลายถูกบีบคั้นตามธรรมดาของมัน โดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ และสังขารเหล่านั้น

นั่นแหละ ก็ก่อความบีบคั้นขึ้นแก่คน โดยเป็นทุกข์ในอริยสัจ (แต่การที่มันจะกลายเป็นของบีบคั้นคนขึ้น

มาได้ ก็เพราะมันเองถูกบีบคั้น โดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์)


พูดง่ายๆว่า ทุกขอริยสัจหมายเฉพาะเรื่องของเบญจขันธ์ หรืออุปาทานขันธ์ เรียกเป็นศัพท์ว่าได้แก่ ทุกข์เฉพาะ

ส่วนที่เป็นอินทรียพัทธ์ คือ เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่รวมถึงทุกข์ที่เป็นอนินทรียพัทธ์ ซึ่งเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์

แต่ไม่จัดเป็นทุกข์ในอริยสัจ

(พึงสังเกตว่า ทุกขอริยสัจเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย สมุทัย และมรรค ก็เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย

แต่ไม่เป็นทุกขอริยสัจ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อสังเกตบางอย่าง ที่จะช่วยให้กำหนดขอบเขตของทุกข์ในอริยสัจง่ายขึ้น พอประมวลได้ ดังนี้

1) เป็นอินทรียพัทธ์ คือ เนื่องด้วยอินทรีย์ เกี่ยวข้องกับชีวิต เป็นปัญหาสำหรับมนุษย์ ไม่รวมถึงอนินทรียพัทธ์

ไม่ใช่ทุกข์ในข้อความว่า

“สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ (สัพเพ สังขารา ทุกขา) “

หรือในข้อความว่า “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (ยะทะนิจจัง ตัง ทุกขัง”

ซึ่งหมายถึงทุกข์ในไตรลักษณ์ ที่กินความกว้างขวางครอบคลุมทั้งหมด


2) เป็นเรื่องที่เกิดจากกรรมกิเลส คือ เป็นทุกข์ที่เป็นปัญหาของมนุษย์ เกิดจากกิเลสและกรรมของคน

(ใช้ศัพท์ตามพระบาลีว่า เกิดจากทุกขสมุทัย คือ เกิดจากตัณหา)


3) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปริญญากิจ คือ ตรงกับกิจในอริยสัจข้อที่ 1 อันได้แก่ ปริญญา

อธิบายว่า ปริญญา คือ การกำหนดรู้ หรือ การรู้จักตามสภาพที่มันเป็น


เป็นกิจที่มนุษย์จะต้องกระทำต่อทุกข์ในอริยสัจ คือการทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของตน

ทุกข์ในอริยสัจ จำกัดเฉพาะทุกข์ที่เกี่ยวกับกิจคือปริญญานี้เท่านั้น


4) เน้นความหมายในแง่ที่ว่าเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ หรือเป็นที่รองรับของทุกข์ (ทุกฺขวตฺถุตาย)

ไม่เพ่งความหมายในแง่ว่ามีความบีบคั้นกดดันขัดแย้งด้วยการเกิดขึ้นและการเสื่อมสลาย

(อุทยพฺพยปฏิปีฬนฏฺเฐน) ซึ่งเป็นความหมายที่เต็มเนื้อหาของทุกข์ในไตรลักษณ์ *

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

*แหล่งสำคัญที่พึงค้นสำหรับเรื่องนี้คือ อภิ.ยมก.38/825/276 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ม.ค. 2014, 19:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ประเภทของทุกข์ :

ทุกข์ที่ท่านจำแนกไว้ ส่วนใหญ่เป็นทุกข์ในอริยสัจ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคน เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข

เป็นสิ่งควรคำนึงเพื่อปลดเปลื้องเสียด้วยการปฏิบัติ

ส่วนทุกข์ที่ครอบคลุมความทุกข์ทั้งหมดอย่างในไตรลักษณ์ ท่านแสดงไว้แต่พอเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความรู้

ความเข้าใจเท่าทันตามความเป็นจริง

ในที่นี้จะยกเอามาแสดงเฉพาะชุดสำคัญๆ หรือ ที่ท่านกล่าวถึงกันบ่อยๆ ดังนี้

ชุดที่ 1 ทุกขตา 3 หรือ ทุกข์ 3 (ที.ปา.11/228/229 ฯลฯ)

เป็นชุดสำคัญ ซึ่งมีพุทธพจน์แสดงเป็นหลัก ครอบคลุมความหมายทั้งหมดของทุกข์ในไตรลักษณ์

คือ

1) ทุกขทุกขตา หรือ ทุกขทุกข์ - ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ

อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อและตามสภาพ เช่น ความเจ็บปวด ไม่สบาย เมื่อยขบ เป็นต้น

หมายถึง ทุกขเวทนานั่นเอง

2) วิปริณามทุกขตา หรือ วิปริณามทุกข์ - ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในความแปรปรวน

ได้แก่ ความรู้สึกสุขหรือสุขเวทนา ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาวะที่แท้จริง ก็เป็นเพียงทุกข์ในระดับหนึ่งหรือในอัตรา

ส่วนหนึ่ง

สุขเวทนานั้น จึงเท่ากับเป็นทุกข์แฝง หรือมีทุกข์ตามแฝงอยู่ด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะกลายเป็นความรู้สึกทุกข์

หรือก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ในทันทีที่เมื่อใดก็ตามสุขเวทนานั้นแปรปรวนไป

พูดอีกนัยหนึ่งว่า สุขเวทนานั้น ก่อให้เกิดทุกข์ เพราะความไม่จริงจังไม่คงเส้นคงวาของมันเอง


3) สังขารทุกขตา หรือ สังขารทุกข์ - ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือ สภาวะของสังขารทุกสิ่งทุกอย่าง หรือ สิ่งทั้ง

หลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นทุกข์คือ เป็นสภาพถูกบีบคั้นกดดันด้วยการเกิดขึ้น

และการเสื่อมสลายของปัจจัยต่างๆที่ขัดแย้ง ทำให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิได้ ไม่คงตัว

ทุกข์ข้อที่สามนี้คลุมความทุกข์ในไตรลักษณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ม.ค. 2014, 20:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชุดที่ 2 ทุกข์ 12 เป็นชุดไขความสำหรับแสดงความหมายของทุกข์ในอริยสัจ 4 มีดังนี้

1) ชาติ – ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ต่างๆอเนกประการ ท่านแบ่งซอยออกเป็น

ก. คัพโภกกันติมูลกทุกข์ -ทุกข์เกิดจากการเกิดอยู่ในครรภ์ อยู่ในที่อันแสนจะคับแคบอึดอัด มืดตื้อแออัด

ด้วยสิ่งที่น่ารังเกียจ ดุจหนอนในของเน่าหรือน้ำครำ

ข. คัพภปริหรณมูลกทุกข์- ทุกข์เกิดจากการบริหารครรภ์ มารดาจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ลุกนั่ง เดินวิ่งแรง

หรือเบา กินดื่มของร้อนเย็นเปรี้ยวเผ็ด เป็นต้น มีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ทั้งสิ้น

ค. คัพภวิปัตติมูลกทุกข์- ทุกข์เกิดจากการวิบัติของครรภ์ เช่น ท้องนอกมดลูก เด็กตายในครรภ์ ต้องผ่าตัดออก

เป็นต้น

ง. วิชายนมูลกทุกข์- ทุกข์เกิดจากการคลอด ทั้งถูกกระทุ้งกระแทกพลิกหัน ทั้งถูกกดถูกบีบถูกอัดกว่าจะผ่าน

ช่องอันแสนแคบออกมาได้ เจ็บปวดแสนสาหัส

จ. พหินิกขมนมูลกทุกข์- ทุกข์เกิดจากออกมาภายนอก เด็กแรกคลอดมีร่างกายและผิวละเอียดอ่อน

ดังแผลใหม่ ถูกสัมผัสจับต้องเช็ดล้างแสนเจ็บแสบ

ฉ. อัตตุปักกมมูลกทุกข์- ทุกข์เกิดจากทำตัวเอง เช่น ฆ่าตัวตายบ้าง ประพฤติวัตรบำเพ็ญตบะทรมานตนบ้าง

โกรธเคืองเขาแล้วไม่กินข้าว หรือทำร้ายตัวเองบ้าง เป็นต้น

ช. ปรุปักมมูลกทุกข์- ทุกข์เกิดจากคนอื่นทำให้ เช่น ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำร้าย เป็นต้น

2) ชรา-ความแก่ ทำให้อวัยวะทั้งหลายย่อหย่อนอ่อนแอ อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้น ทำหน้าที่

บกพร่องผิดเพี้ยน กำลังวังชาเสื่อมถอย หมดความแคล่วคล่องว่องไว ผิวพรรณไม่งดงามผ่องใส

หนังเหี่ยวย่น ความจำเลอะเลือนเผลอไผล เสื่อมอำนาจและความเป็นเสรีทั้งภายนอกและภายใน เกิดทุกข์กาย

และทุกข์ใจได้มาก

3) มรณะ-ความตาย ยามจะสิ้นชีพ เคยทำชั่วไว้ ก็เห็นนิมิตของบาปกรรม มีคนหรือของรักก็ต้องพลัดพราก

จากไป ส่วนประกอบในร่างกายก็พากันหยุดทำหน้าที่ ทุกข์ทางกายก็อาจมีมาก จะทำอะไรจะแก้ไขอะไร

ก็ทำไม่ได้ แก้ไขไม่ได้

4) โสกะ- ความเศร้าโศก ได้แก่ ความแห้งใจ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น

5) ปริเทวะ-ความคร่ำครวญหรือร่ำไร ได้แก่ บ่นเพ้อไปต่างๆ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น

6) ทุกข์-ความทุกข์กาย ได้แก่ เจ็บปวด เช่น กายบาดเจ็บ ถูกบีบคั้น เป็นโรค เป็นต้น

7) โทมนัส - ความทุกข์ใจ ได้แก่ เจ็บปวดรวดร้าวใจ ที่ทำให้ร้องไห้ ตีอกชกหัว ลงดิ้น เชือดตัวเอง

กินยาพิษ ผูกคอตาย เป็นต้น

8) อุปายาส-ความคับแค้น หรือสิ้นหวัง ได้แก่ เร่าร้อนทอดถอนใจ ในเมื่อคามโศกเศร้าเพิ่มทวี เป็นต้น

9) อัปปิยสัมปโยค- การประสบคน หรือ สิ่งซึ่งไม่เป็นที่รัก เช่น ต้องพบต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่ชอบ

หรือชิงชัง เป็นต้น

10) ปิยวิปโยค- การพลัดพรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รัก เช่น จากญาติ จากคนรัก สูญเสียทรัพย์สิน

เป็นต้น

11) อิจฉิตาลาภ-การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา คือ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สมหวัง

12) อุปาทานขันธ์- ขันธ์ทั้ง 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน กล่าวคือ ทุกข์ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นทุกข์

ของอุปาทานขันธ์ทั้ง 5

เมื่อว่าโดยสรุป หรือโดยรวบยอดก็คือ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชุด ที่ ๓ ทุกข์ ๒

เป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่างๆ ในแนวหนึ่ง ได้แก่


๑) ปฏิจฉันนทุกข์ ทุกข์ปิดบัง หรือ ทุกข์ซ่อนเร้น ไม่ปรากฏออกมาให้เห็นชัดๆ เช่น ปวดหู ปวดฟัน ใจเร่าร้อน

เพราะไฟราคะและไฟโทสะ เป็นต้น

๒) อัปปฏิจฉันนทุกข์ ทุกข์ไม่ปิดบังหรือทุกข์เปิดเผย เช่น ถูกหนามตำ ถูกเฆียน ถูกมีดฟัน เป็นต้น

(วิภงฺค.อ. 120; ปญฺจ. อ. 336 ฯลฯ)


ชุด ที่ ๔ ทุกข์ ๒

เป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่างๆ อีกแนวหนึ่ง ได้แก่

๑)ปริยายทุกข์ ทุกข์โดยปริยาย หรือทุกข์โดยอ้อม ได้แก่ ทุกข์ทุกอย่างที่กล่าวถึงข้างต้น นอกจาก

ทุกขเวทนา

๒) นิปปริยายทุกข์ ทุกข์โดยปริยาย หรือทุกข์โดยตรง ได้แก่ ความรู้สึกทุกข์ ที่เรียกว่า ทุกขทุกข์

หรือ ทุกขเวทนานั่นเอง

(วิภงฺค.อ. 120; ปญฺจ. อ. 336 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ในคัมภีร์มหานิทเทส และจูฬนิทเทส บางแห่งแสดงชื่อทุกข์ไว้อีกเป็นอันมาก*(*ขุ.ม.29/23/19 ฯลฯ)

มีทั้งที่ซ้ำกับที่แสดงไว้แล้วข้างต้น และที่แปลกออกไป ยกมาจัดเป็นกลุ่มๆ ให้ดูง่าย ดังนี้


ก) ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ-ปริเทวะ-ทุกข์-โทมนัสสะ-อุปายาสทุกข์

ข) เนรยิกทุกข์ (ทุกข์ของสัตว์นรก)

ติรัจฉานโยนิกทุกข์ (ทุกข์ของสัตว์ดิรัจฉาน)

ปิตติวิสยิกทุกข์ (ทุกข์ของสัตว์ในแดนเปรต)

มานุสกทุกข์ (ทุกข์ของมนุษย์)

ค) คัพโภกกันติมูลกทุกข์ (ทุกข์เกิดจากการลงเกิดในครรภ์)

คัพเภฐิติมูลกทุกข์ (ทุกข์เกิด จากการอยู่ในครรภ์)

คัพภวุฏฐานมูลกทุกข์ (ทุกข์เกิด จากการออกจากครรภ์)

ชาตัสสูปนิพันธิกทุกข์ (ทุกข์ติดพันตัวของผู้ที่เกิดแล้ว)

ชาตัสสปราเธยยกทุกข์ (ทุกข์เนื่องจากต้องขึ้นต่ออื่น ของผู้ที่เกิดแล้ว)

อัตตูปักกมทุกข์ (ทุกข์ที่ตัวทำแก่ตัวเอง)

ปรูปักกมทุกข์ (ทุกข์จากคนอื่นทำให้)

ง) ทุกขทุกข์ สังขารทุกข์ วิปริณามทุกข์

จ) โรคต่างๆ เช่น โรคตา โรคหู เป็นต้น รวม ๓๕ ชื่อ

ฉ) อาพาธ คือ ความเจ็บไข้ที่เกิดจากสมุฏฐาน ๘ อย่าง คือ ดี เสมหะ ลม สมุฏฐานต่างๆประชุมกัน

อุตุแปรปรวน บริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ถูกเขาทำ เช่น ฆ่าและจองจำ เป็นต้นและผลกรรม

ข) หนาว ร้อน หิว กระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ ทุกข์จากสัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลาน

ฏ) ทุกข์เพราะความสูญเสียญาติ ความสูญเสียโภคะ ความสูญเสียด้วยโรค ความสูญเสียศีล ความสูญเสียทิฏฐิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในมหาทุกขักขันธสูตร และจูฬทุกขักขันธสูตร*(*ม.มู.12/198/ 169;213/181)

พระพุทธเจ้าตรัสถึงทุกขขันธ์ คือ กองทุกข์ต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นปัญหาแก่มนุษย์สืบเนื่องมาจากกาม

โดยสรุป ทุกขขันธ์ หรือ กองทุกข์เหล่านั้น ได้แก่

ก) ความลำบากตรากตรำเดือดร้อน ตลอดกระทั่งการสูญเสียชีวิต เนื่องมาจากการประกอบการงานหาเลี้ยงชีพ

ข) ความเศร้าโศกเสียใจ ในเมื่อเพียรพยายามในการอาชีพแล้ว โภคะไม่สำเร็จผล

ค) แม้เมื่อโภคะสำเร็จผลแล้ว ก็เกิดความทุกข์ยากลำบากใจ ในการที่ต้องคอยอารักขาโภคทรัพย์

ง) ความเศร้าโศกเสียใจ เมื่อสูญเสียโภคทรัพย์นั้นไป อารักขาไว้ไม่สำเร็จผล เช่น ถูกโจรปล้นไฟไหม้ เป็นต้น

จ) การทะเลาะวิวาทแก่งแย่งทำร้ายกันถึงตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ระหว่างราชากับราชาบ้าง

คฤหบดีกับคฤหบดีบ้าง แม้กระทั่งระหว่างมารดาบิดากับบุตร พี่กับน้อง และเพื่อนกับเพื่อน

ฉ) การทำสงครามประหัตประหารกันระหว่างหมู่ชน ๒ ฝ่าย ในสมรภูมิ ซึ่งต่างพากันล้มตายและได้รับความทุกข์

แสนสาหัส เพราะถูกอาวุธหรือเนื่องมาจากการต่อสู้กันนั้น

ช) การทำสงครามที่ฝ่ายหนึ่งรุกรานโจมตีบ้านเมืองของอีกฝ่ายหนึ่ง และจากการต่อสู้กันก็ต้องบาดเจ็บล้มตาย

ได้รับทุกข์เป็นอันมาก

ญ) การทำทุจริตก่ออาชญากรรมต่างๆ เช่น ปล้นทรัพย์ ทำความผิดทางเพศ เป็นต้น แล้วถูกจับกุมลงโทษต่างๆ

ถึงตายบ้าง ไม่ถึงตายบ้าง

ฏ) การประกอบกรรมทุจริตทางกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วก็ไปได้รับทุกข์ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระบาลีและอรรถกถา ยังกล่าวถึงทุกข์ชื่ออื่นๆ กระจายกันอยู่แห่งละเล็กละน้อยอีกหลายแห่ง

บางแห่งมีเพียงคำบรรยายอาการของความทุกข์ (เหมือนอย่างในมหาทุกขักขันธสูตร และจูฬทุกขักขันธสูตร

ข้างบนนี้)

โดยไม่เรียกชื่อทุกข์ไว้โดยเฉพาะ บางแห่งก็ระบุชื่อทุกข์เฉพาะอย่างลงไป เช่น สังขารทุกข์ อบายทุกข์

วัฏฏมูลทุกข์ อาหารปริเยฏฐิทุกข์ เป็นต้น


อย่างไรก็ดี เรื่องทุกข์นี้ เราสามารถพรรณนาแสดงรายชื่อขยายรายการออกไปได้อีกเป็นอันมาก เพราะปัญหา

ของมนุษย์มีมากมาย ทั้งทุกข์ที่เป็นสามัญแก่ชีวิตโดยทั่วไป และทุกข์ที่แปลกกันออกไปตามสภาพแวดล้อม

ของยุคสมัย ถิ่นฐาน และสถานการณ์ ข้อสำคัญอยู่ที่จะต้องรู้ความมุ่งหมาย

การที่ท่านแสดงชื่อทุกข์ต่างๆไว้มากมายก็เพื่อให้เรารู้จักมันตามสภาพ

คือ ตามที่เป็นจริง (ปริญญากิจ) เพื่อปฏิบัติต่อทุกข์นั้นอย่างถูกต้อง ด้วยการยอมรับรู้สู้หน้าสิ่งที่มีอยู่

ซึ่งตนจะต้องเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เลี่ยงหนี อำพรางปิดตาหลอกตัวเอง หรือ แม้กระทั่งปลอบใจตน

ประดุจดังว่า ทุกข์เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ ตนเองหลีกหลบไปได้แล้ว และ กลายเป็นสร้างปมปัญหาเสริมทุกข์

ให้หนักหนาซับซ้อน และรุนแรงยิ่งขึ้น แต่เข้าเผชิญหน้า ทำความรู้จัก แล้วเอาชนะอยู่เหนือมัน

ทำตนให้ปลอดพ้นได้จากทุกข์เหล่านั้น ปฏิบัติต่อทุกข์โดยทางที่จะทำให้ทุกข์ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่อย่าง

ชั่วคราว จนถึงโดยถาวร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร