วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ศีลมี ๒ ระดับ คือ

๑. ระดับธรรม ระดับที่ยังเป็นธรรม คือเป็นข้อแนะนำสั่งสอนหรือหลักความประพฤติที่แสดงและบัญญัติไปตามกฎธรรมดาแห่งความดีความชั่ว ที่เรียกว่ากฎแห่งกรรม ผู้ทำดีทำชั่วหรือรักษาศีลละเมิดศีล ย่อมได้รับผลดีชั่วเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย หรือกฎแห่งกรรมนั้น

๒. ระดับวินัย คือเป็นแบบแผน ข้อบังคับ ที่บัญญัติหรือวางหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นทำนองกฎหมาย สำหรับกำกับความประพฤติของสมาชิกในหมูชนหรือชุมชนหนึ่ง โดยสอดคล้องกับความมุ่งหมายของหมู่คณะหรือชุมชนนั้น โดยเฉพาะผู้ละเมิดบทบัญญัติแห่งศีลประเภทวินัยนี้ มีความผิดตามอาญาของหมู่ซ้อนเข้ามาอีกชั้นหนึ่ง เพิ่มอกุศลเจตนาที่จะได้รับตามกฎแห่งกรรมของธรรมชาติ
ข้อสังเกต ศีลขั้นพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ เช่น ศีล ๕ จะมีสาระที่มุ่งเพื่อการไม่เบียดเบียน ซึ่งเป็นขั้นต้นที่สุดของการสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกื้อกูล ศีลต่อจากนั้นไป จะหันไปเน้นการสร้างสภาพเกื้อกูลทั้งของสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ส่วนตัว และการฝึกหัดขัดเกลาตนเองเพื่อจุดหมายที่จำเพาะมากยิ่งขึ้น

ความสำนึกในการรักษาศีล
๑. เพื่อการฝึกหัดขัดเกลาตนเอง
๒. การคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นหรือสังคม
อานิสงส์ ( ความดี ) ของการประพฤติเบญจศีลเบญจธรรม พระอรรถกถาจารย์กล่าวอานิสงส์ของการประพฤติในเบญจศีลเบญจธรรมไว้ ดังนี้
๑. เป็นที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๒. เป็นผู้ไม่ทำชีวิตให้เดือดร้อนเสียหาย
๓. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น
๔. เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
๕. เป็นผู้ที่มีคุณค่ามากทางสังคม
๖. เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคม
๗. เป็นผู้มีความแกล้วกล้าในสังคม
๘. เป็นที่เคารพ ยกย่องและนับถือของสังคม
๙. เป็นผู้นำที่ดีในสังคม
๑๐. เป็นผู้ไม่หลงลืมสติจนถึงวินาทีสุดท้าย
๑๑. เป็นต้นเหตุให้บรรลุคุณธรรมวิเศษ มีพระโสดาบัน เป็นต้น
๑๒. เป็นผู้ควรแก่การนับถือบูชาหลังจากสิ้นชีพไปแล้ว
๑๓. เป็นผู้นอนเป็นสุขไม่ฝันร้าย

สังคมที่ยึดมั่นในหลักมนุษยธรรม
สังคมที่ยึดมั่นในหลักมนุษยธรรม สังคมนั้นก็จะเป็นสังคมที่มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินเหมาะแก่การดำรงชีวิต ประกอบกิจการงาน และจะเป็นสังคมที่มีลักษณะดังนี้ คือ
๑. เป็นสังคมที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะมีสื่อหรือกลไกในการควบคุมระเบียบสังคม
๒. เป็นสังคมที่มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๓. เป็นสังคมที่มีความสงบสุขไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
๔. เป็นสังคมที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่เห็นแก่ตัว

ประเทศที่ยึดมั่นในหลักมนุษยธรรม
ประเทศที่ยึดมั่นในหลักมนุษยธรรม จะเป็นประเทศที่มีลักษณะสำคัญอันเป็นบ่อเกิดทางการเกื้อกูลแก่การดำรงชีพ การประกอบสัมมาชีพทุกอย่างของประชาชน โดยสรุป ศีล ตามความหมายของพระพุทธศาสนาแล้วจะทำให้ประเทศมีลักษณะที่สำคัญ คือ
๑. ทำให้เกิดสภาพความเป็นอยู่ที่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติกิจต่าง ๆ เพื่อการเข้าถึงจุดหมายที่ดีงามโดยลำดับ จนถึงจุดหมายสูงสุดของชีวิต
๒. ทำให้สมาชิกของสังคมหรือสังคมนั้นอยู่ร่วมกันด้วยดี สังคมสงบเรียบร้อย สมาชิกต่างดำรงอยู่ด้วยดีและมุ่งหน้าปฏิบัติกิจของตน ๆ โดยสะดวก
๓. โภคสมบัติของประเทศนั้นมั่งคั่งและมั่นคง
๔. ประชาชนฝึกหัดขัดเกลาตนเอง ทำให้กิเลสเบาบางลง ด้วยการควบคุมยับยั้งสังวร ปรับการแสดงออกทางกาย วาจาให้เอื้อแก่สภาพความเป็นอยู่ที่เกื้อกูลและการอยู่ร่วมกันด้วยดีนั้น อันเป็นขั้นต้นของการพัฒนาชีวิตของตนให้พร้อมที่จะเป็นที่รองรับของกุศลธรรมทั้งหลาย เฉพาะอย่างยิ่งคือเป็นพื้นฐานของสมาธิหรือการฝึกปรือคุณธรรมทางจิตใจที่สูงขึ้นไป

ผู้นำที่ยึดมั่นในหลักมนุษยธรรม
บุคคลที่เป็นผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำระดับโลก ผู้นำระดับประเทศ หรือผู้นำระดับอื่น ๆ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำบริษัท ห้างร้าน ชุมชนต่าง ๆ หรือแม้แต่องค์กรเล็ก ๆ เช่น ผู้นำครอบครัว หากยึดมั่นในหลักศีล 5 แล้ว ก็จะทำให้สังคมเป็นสังคมยุคพระศรีอาริย์ สาเหตุที่โลกมีปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระดับไหนก็ตาม ส่วนมากเกิดมาจากผู้นำขาดหลักมนุษยธรรม จึงมีการคดโกงเอารัดอาเปรียบกันใช้อำนาจทำการประพฤติผิด จึงทำให้สังคมเดือดร้อน ครอบครัวเกิดการหย่าร้างเพราะสามีภรรยาไม่ประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักศีล 5 แล้วก็ทำให้เกิดปัญหาแก่บุตร ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมาอีกมากมาย ปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้จะหมดไป หากผู้นำทั้งหลายในทุกระดับหันมาประพฤติตามหลักมนุษยธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ ความสงบ ความสันติ ความปลอดภัยความผาสุกก็จะกลับมาสู่สังคมตลอดไป

ประโยชน์ของความมีมนุษยธรรม
เมื่อสังคมประพฤติตามหลักมนุษยธรรม ปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะสังคมมีความเมตตาเห็นอกเห็นใจ เห็นประโยชน์หรือสุขทุกข์ของคนอื่นเป็นเสมือนหนึ่งว่าของตนเอง ไสว มาลาทอง๑ ได้บอกถึงประโยชน์ของศีล ๕ แต่ละข้อไว้ดังนี้

เบญจศีลข้อที่ ๑
๑. เพื่อให้มีเมตตาธรรม ไม่เบียดเบียน
๒. เพื่อให้ชีวิตมีความปลอดภัย ไม่ต้องหวาดระแวงกันและกัน
๓. เพื่อให้ประกอบกิจการงานและประพฤติธรรมได้โดยสะดวก
๔. เพื่อเป็นพื้นฐานให้สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ต่อไป
๕. เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
๖. เพื่อกำจัดเวรภัยทั้งปัจจุบันและอนาคต

เบญจศีลข้อที่ ๒
๑. เพื่อให้ประกอบอาชีพโดยความซื่อสัตย์สุจริต
๒. เพื่อให้รักและเคารพเกียรติของตนเอง
๓. เพื่อให้เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น
๔. เพื่อให้เกิดความมั่นใจในทรัพย์สินของตนเองไม่ต้องวิตกกังวล
๕. เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
๖. เพื่อกำจัดเวรภัยทั้งปัจจุบันและอนาคต

เบญจศีลข้อที่ ๓
๑. เพื่อให้เกิดความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน ไว้วางใจกันได้
๒. เพื่อให้เคารพในสิทธิความเป็นสามีเป็นภรรยาของกันและกัน
๓. เพื่อป้องกันการหย่าร้าง การแตกร้าว ภายในครอบครัว
๔. เพื่อสร้างความมั่นคงและความอบอุ่นภายในครอบครัว
๕. เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข
๖. เพื่อกำจัดเวรภัยทั้งปัจจุบันและอนาคต

เบญจศีลข้อที่ ๔
๑. เพื่อให้มีความซื่อสัตย์ มีความจริงใจและไว้วางใจกันได้
๒. เพื่อสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
๓. เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของกันและกัน
๔. เพื่อให้ใช้วาจาประสานประโยชน์ของกันและกัน ไม่ทำลายกันด้วยคำพูด
๕. เพื่อให้อยู่รวมกันด้วยความสงบสุข
๖. เพื่อกำจัดเวรภัยทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เบญจศีลข้อที่ ๕
๑. เพื่อสนับสนุนการรักษาศีล ๕ ข้อข้างต้นให้เกิดมีขึ้น
๒. เพื่อให้มีสติรอบคอบสามารถควบคุมใจตัวเองได้
๓. เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทะเลาะวิวาทและทำร้ายกัน
๔. เพื่อป้องกันสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตมิให้เสื่อม
๕. เพื่อป้องกันอาชญากรรม มิจฉาชีพและการกระทำทุจริตต่าง ๆ
๖. เพื่อกำจัดเวรภัยทั้งปัจจุบันและอนาคต

หากเราจะนำวัตถุประสงค์ของศีล ๕ ไปเปรียบทียบกับวัตถุประสงค์ของการบัญญัติพระวินัยของพระภิกษุก็น่าจะนำมาประยุกต์เข้ากันกับประโยชน์ของศีล ๕ ข้อได้ คือก่อนที่พระพุทธเจ้าจะบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อ พระองค์ได้แถลงถึงวัตถุประสงค์คือประโยชน์ที่มุ่งหมายของวินัยก่อนบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อให้ภิกษุทราบโดยทั่วกันก่อน ซึ่งมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ

๑. เพื่อความดีงามที่เป็นไปโดยความเห็นชอบร่วมกันของสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุขแห่งสงฆ์
๓. เพื่อกำราบคนหน้าด้านไม่รู้จักอาย
๔. เพื่อความผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสีย ความทุกข์ความเดือดร้อนที่จะมีในปัจจุบัน
๖. เพื่อบำบัดความเสื่อม ความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะมีในภายหลัง
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความดำรงมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สนับสนุนวินัยให้หนักแน่น

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโอกาสแสดงข้อเท็จริงเกี่ยวกับศีลในพุทธศาสนาหน่อยนะครับ เพื่อชาวพุทธจะไม่ได้สับสน

พระพุทธองค์แสดงข้อปฏิบัติในการให้ชาวพุทธ มีศีล ไม่ได้ให้ไป ถือศีล การฝึกตนให้ศีลเกิด กับการถือศีล แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

การสมทานศึกษาในศีล เรียกย่อๆ ว่า การสมทานศีล คือ การศึกษากฏธรรมชาติหรือความจริงของโลกและชีวิต คือ กฏไตรลักษณ์ และกฏเหตุปัจจัย พูดสรุปง่ายๆ ว่า เมื่อศึกษาจนมีปัญญารู้เหตุรู้ผล ผู้ผิดรู้ถูก รู้บบุญรู้บาป รู้ดีรู้ชั่ว ที่คิดจะไปลักขโมย โกหก ฆ่าคน ฯ ก็ไม่ทำ แบบนี้เรียกว่า การสร้างศีลที่เหตุ

Quote Tipitaka:
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับด้วยประการดังนี้แล ฯ


การถือศีล เป็นการระงับ เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ไม่สามารถทำได้ตลอด ไม่มีอาณิสงค์ถึงอรหัตผล จึงไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องตามหลักของพุทธศาสนา โลภะ โทสะ โมหะ มีกำลังมาก ใช่ว่าจะทัดทานได้โดยง่าย

เพราะฉะนั้น ศีลของพุทธ จึงไม่ใช่เครื่องมือที่ทำให้เป็นคนดี แต่เป็นตัวชี้วัดว่า คนนั้นเป็นคนดีหรือยัง ด้วยการศึกษา ฝึกตน

ผู้ที่เข้าใจว่า สามารถเป็นคนดีด้วยการถือศีล พระพุทธองค์เรียกว่า สีลพตปรามาส

ความจริงเป็นต้นตอของปัญญา ปัญญาเป็นต้นตอของศีล และศีลเป็นต้นตอของความสงบในจิตใจ

ถ้าชาวพุทธพากันไปถือศีลแบบพราหมณ์ ไม่ศึกษาเรื่องบาปบุญ สังคมไม่มีทางสงบได้จริงๆ หรอก ... นะจะบอกให้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าว่า ถือศีล ก็ใช้ได้นี่

เหมือนเราจัับหัวคนไทย ไม่ได้ เขาถือ
เขา"ถือ"

เขาถือ ก็คือ "ยึดถือ"

ยึดถือศีล ก็ถูกแล้ว

ศีลเป็นข้อห้าม

การยึดถือข้อห้ามต่างๆก็เป็นเรื่องดี
โดยเฉพาะว่าเป็นข้อห้ามที่เรียกกันว่าศ๊ล

มีศีล ถือศีล ข้าพเจ้าว่า เสมอกัน
อย่าได้ติดกับคำเล็กคำน้อยเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มันไม่ได้เกี่ยวกับศัพท์แสง แต่มันเป็นเรื่องของสภาวะธรรม พระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่องศีลไว้ดีแล้ว ชอบแล้ว แต่ชาวพุทธเองต่างหากที่ไม่ได้ใส่ใจ ไม่ศึกษา ถึงไปเอาศีลของศาสนาอื่นมา ยึดถือ

ถือศีล เป็นพราหมณ์

ถือศีลบริสุทธิ์ เป็นฤาษี

ศึกษา ฝึกตน จนเกิดศีล ถึงจะเป็นพุทธ


การถือศีล เป็นอาการของการระงับไว้ ห้ามไว้ หมายถึง คิดจะลัก แต่ยังพอมีสติสัปปัชัญญะ ก็ไม่ลัก หรือคิดจะฆ่า กำลังจะฆ่า แต่คิดได้ว่า จะติดคุก ลูกเมียจะลำบาก ก็เลยไม่ฆ่า พอพลาดไปนิดเดียว เกิดอารมณ์ชั่ววูป ก็เสร็จเรียบร้อย ไปสงบในคุกในตารางตามระเบียบ

ถือศีลบริสุทธิ์ เอาแบบไม่ผิดเลย ต้องปลีกวิเวก ห่างไกลผู้คน หลบผัสสะ เพื่อจะได้ไม่ผิดศีล พวกนี้เวลามีไครมาแหย่จนผิดศีล จะโมโหมาก

ศีลจะเกิดได้ ก็เพราะปัญญา ศึกษาภัยแม้ในโทษเพียงเล็กน้อย ไปลักของไม่ดีอย่างไร ไปฆ่าเขา ผลที่ตามมะจะเป็นอย่างไร กินเหล้า ผลเสียมีอะไรบ้าง ฯ พอรู้อย่างนี้แล้ว ก็ไม่ไปลัก ไม่ไปฆ่า ไม่ไปโกหกเบียดเบียนผู้อื่น ฯ

ที่เป็นอย่างนี้เพราะเหตุใด?

พระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุของธรรมทั้งหลายไว้ดีแล้ว ดังจะแสดงให้เห็นนี้;-

เพราะ นิสัย ของคนเราสั่งสมมาข้ามชาติข้ามภพ สิ่งที่รับรู้ทางอินทรีย์ ๖ (ตา หู จมูก สิ้น กาย ใจ) จะถูกตีความเกิดเป็นเวทนา จากเวทนาจะถูกเก็บไว้เป็นสัญญา จากสัญญาจะถูกเปลี่ยนเป็นความคิด (สังขาร) ความคิดก็จะเป็นพื้นฐานของความรู้ (วิญญาณ) แปลว่า เรารู้อะไร เห็นอะไร รู้สึกอะไร มันก็จะกลับมาเป็นนิสัย หรือ กลับมาสั่งเรา จนเราไม่สามารถสั่งตัวเองได้

เช่น เด็กๆ ทำอะไรไม่มีซ้ำๆ เราก็จะบอกให้หยุด เพราะเดี๋ยวจะติดเป็นนิสัย

คนจะไม่ออกนอกกรอบของศีลโดยปกติในชีวติประจำวันได้ ต้องเจริญที่เหตุการเกิดศีล หรือทำเหตุที่ทำให้เป็นคนดี เท่านั้นไม่มีทางอื่น

อะไรทำให้คนเป็นคนดี อะไรทำให้คนเป็นคนไม่ดี?

กุศลเหตุ ๓ ทำให้คนเป้นคนดี คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ คือ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง

อกุศลเหตุ ๓ ทำให้คนเป็นคนไม่ดี คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ความพอใจ ไม่พอใจ และหลงไปตามเวทนาอารมณ์

ทำอย่างไรจะเป็นคนดี?

พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดเจนว่า มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่สามารถฝึกฝนตนเองได้จนประเสริฐที่สุด การเป็นคนดีโดยนิสัย ต้อง ฝึกฝนตนเองเท่านั้น ไม่มีทางอื่น

ให้ฝึกสร้างความคิดเห็นตอบสนองต่อสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า มันไม่เที่ยง ฯ เห็นอะไรอยากได้ ก็พิจารณาว่า มันไม่เที่ยง คิดอยากจะกินเหล้า ก็พิจารณาความคิดว่า มันไม่เที่ยง ฯ หากสามารถพิจารณาแบบนี้ได้ตลอด ไม่เกิด ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ชีวิตคุณจะเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ ... :b38:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 01:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


มีมรรค..จึงมีผล
มีผล..เพราะมีมรรค..นะคุณศุภฤกษ์

ตอนแรก..มันก็ต้องควบคุม..บังคับ..บัญชา..ให้ร่ายกายจิตใจ..อยู่ในศีลในธรรม..กันก่อนทั้งนั้นแหละ..เพราะปัญญายังไม่เข้มแข็งพอ..อาจจะเรียกช่วงนี้ว่า..มรรค..ก็ได้..ช่วงนี้จะสั้น..หรือ..ยาว..ขึ้นอยู่กับตัวปัญญา

เมื่อทำจนชิน..จนปัญญาพัฒนาขึ้นมาทัน..จนเห็นจริง..แบบจริง ๆ ..ว่าศีลมีคุณอย่างไร..ถึงตอนนี้จ้างให้ผิดศีลมันก็ไม่ทำ..นี้จะเรียกว่า..ผล..ก็ได้

บางคน..อยู่บนทางเดิน..บนมรรคศีล..เพื่อความเป็นผู้มีศีลบริบูรณ์..ก็นับว่าดีแล้ว..ดีกว่าคนไม่กลัวบาปกลัวกรรมเป็นไหน ๆ

บางคน..เสวยผล..เป็นผู้มีศีลบริบูรณ์..ก็ดีแล้ว

จะมาเปรียบเทียบความดี..ระหว่าง..มรรค..กะ..ผล..ว่าผลดีกว่ามรรค..นี้ไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง..เพราะมันคนละอย่าง..คนละวรรค..คนละตอน..เทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว

อย่าไปนึกรังเกียจกันเลย..คนบนมรรคนั้นนะ

หากยังคิดจะเทียบเคียง..กันอยู่..น่าจะกลับไปพิจารณา..ตัวมานะของตัวเอง..ให้ดี ๆ..จะดีกว่า
จะเห็นอะไรดี ๆ เยอะเลย..

นี้ยกนะ..ยกให้ไปดู..สังโยชน์เบื้องสูง..กันเลยนะ


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 01:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มีมรรค..จึงมีผล
มีผล..เพราะมีมรรค..นะคุณศุภฤกษ์
ตึงไปหย่อนไปมันไม่ดีนะคุณกบฯ

ธรรมชาติน้ำใหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ธรรมะนั้นสวนกระแส ปลาเป็นว่ายทวนน้ำ ปลาตายก็ใหลตามน้ำไป แล้วกบฯ จะเป็นปลาตายหรือปลาเป็นล่ะ :b7:

ศีลเบื้องต้น ได้มาจากการฟังธรรมให้รู้ดีรู้ชั่ว (สุตตมยปัญญา, จินตมยปัญญา) แบบนี้เรียกว่า ผู้กำลังเดินอยู่ในทาง ไปตามธรรมชาติ ฝึกวิปัสสนาไป (ภาวนามยปัญญา) ศีลก็จะมั่นคงขึ้น จนกลายเป็นอริยศีลขันธ์ในที่สุด

กบฯ จะถือศีลอยู่ให้เมื่อยทำไมละ หามาไนตัวสิ ไม่ต้องไปรับศีลจากใครบ่อยๆ พระพุทธองค์เรียบเรียงคำสอนไว้ดีแล้วตามหลักของเหตุปัจจัย จะไปเอาคำสอนของศาสนาอื่นมาปนทำไมกัน :b38:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 02:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ตึงไปหย่อนไปมันไม่ดีนะคุณกบฯ

มันก็จริงนะ..หย่อนไปมันไม่ดี

แต่..ตึง ๆ หย่อน ๆ ของแต่ละคน..มันก็ยังไม่เหมือนกันซะทีเดียว..ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของแต่ละคน..ตัวนี้ก็จะรู้ได้ก็ต้องสังเกตุสังกา..ตนให้ดี..อันไหนทำแล้ว..ตน..ไม่เจริญ..ก็ต้องปรับต้องเปลี่ยน..อันนี้ต้องมีความเพียรประกอบปัญญา..นะ

อ้างคำพูด:
ธรรมชาติน้ำใหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ธรรมะนั้นสวนกระแส ปลาเป็นว่ายทวนน้ำ ปลาตายก็ใหลตามน้ำไป แล้วกบฯ จะเป็นปลาตายหรือปลาเป็นล่ะ :b7:

ธรรมะนั้นสวนกระแส..ของโลก..ของอวิชชา..ที่มัวแต่..คิดหา..วิธี..หาความสุข..จากวัตถุธาตุ..จากรูป..แม้แต่จากอรูป

อ้างคำพูด:
ศีลเบื้องต้น ได้มาจากการฟังธรรมให้รู้ดีรู้ชั่ว (สุตตมยปัญญา, จินตมยปัญญา) แบบนี้เรียกว่า ผู้กำลังเดินอยู่ในทาง ไปตามธรรมชาติ ฝึกวิปัสสนาไป (ภาวนามยปัญญา) ศีลก็จะมั่นคงขึ้น จนกลายเป็นอริยศีลขันธ์ในที่สุด

ศีลอบรมสมาธิ..สมาธิอบรมปัญญา..ปัญญากลับมาอบรมศีล..สมาธิ..จะเข้าใจดีหากกลับไปดู..บารมี10

ทาน..ศีล..เนกขัมมะ..ฯลฯ..ต้องเต็ม..ปัญญาจึงจะเต็ม
ปัญญาเต็ม..ทาน..ศีล..เนกขัมมะ..ฯลฯ..จึงบริบูรณ์

มันเกื่อกูลกันอย่างนี้

อ้างคำพูด:
กบฯ จะถือศีลอยู่ให้เมื่อยทำไมละ หามาไนตัวสิ ไม่ต้องไปรับศีลจากใครบ่อยๆ พระพุทธองค์เรียบเรียงคำสอนไว้ดีแล้วตามหลักของเหตุปัจจัย จะไปเอาคำสอนของศาสนาอื่นมาปนทำไมกัน :b38:


จะเรียกว่าอะไร..ก็แล้วแต่..แต่กบฯ..สบาย ๆ ไม่เมื่อย..แล้วละ..
เพราะศีลรักษาง่าย ๆ เอง..
รักษาที่หัวใจของตัวเราเอง..แค่นั้น

แต่กว่าจะสบายนี้นะ..จะว่ายากก็ยาก..จะว่าง่ายก็กระไรอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 02:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ศีลอบรมสมาธิ..สมาธิอบรมปัญญา..
ตรงนี้เป็นการสอนอริยะบุคคลนะ ตั้งแต่พระอนาคามี หมายถึงผู้ที่มีอริยศีลขันธ์แล้ว ไปเจริญอริยสมาธิ เพื่อให้ได้อภิญญา หรือปัญญายิ่ง เอาไว้ศึกษาธรรม รู้ธรรมให้ถ้วนทั่ว ที่ทรงแสดงย่อๆ เพราะผู้ฟังเป็นอริยบุคคลแล้ว ฟังกันรู้เรื่อง
อ้างคำพูด:
ทาน..ศีล..เนกขัมมะ..ฯลฯ..ต้องเต็ม..ปัญญาจึงจะเต็ม
ปัญญาเต็ม..ทาน..ศีล..เนกขัมมะ..ฯลฯ..จึงบริบูรณ์
กะจะบวชแล้วรึ
อ้างคำพูด:
เพราะศีลรักษาง่าย ๆ เอง..
รักษาที่หัวใจของตัวเราเอง..แค่นั้น
ตกลงจะเข็นกบฯ เป็นพุทธแท้ๆ ได้หรือเปล่า(วะ)เนี่ย :b5: กบตัวแรกที่อาจจะสำเร็จเป็นอริยบุคคล :b4:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 02:41, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 02:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 02:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยศีลและวัตร


เป็นศีลและเป็นวัตรเป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ในสิกขาบททั้งหลายนั้น นี้เป็นศีล.
ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร.

เพราะอรรถว่าสำรวม จึงชื่อว่าศีล
เพราะอรรถว่า สมาทานจึงชื่อว่าวัตร


นี้เรียกว่าเป็นศีลและเป็นวัตร.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 02:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน?

ธุดงค์ (องค์ของภิกษุผู้กำจัดกิเลส) ๘ คือ อารัญญิกังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทานจาริกังคธุดงค์ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถติกังคธุดงค์ นี้เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล กล่าวคือพระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิดอิฐผลใดอันจะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้ว หยุดความเพียรจักไม่มี ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่าจิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์(ความนั่งเนื่องด้วยขาที่คู้เข้าโดยรอบ) นี้เพียงนั้น แม้การสมาทานความเพียร เห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 02:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 02:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๐๒] บทว่า ปาติโมกข์ ได้แก่ศีลอันเป็นที่อาศัย เป็นเบื้องต้นเป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

บทว่า สังวร ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา
การไม่ล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา

บทว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว มีอธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดีประกอบแล้ว ด้วยปาติโมกขสังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยปาติโมกขสังวร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 02:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภิกษุคำนึงถึงสิกขา สมมตินี้ ก็ชื่อว่าศึกษา รู้ก็ชื่อว่าศึกษา เห็นก็ชื่อว่าศึกษา พิจารณาก็ชื่อว่าศึกษา ตั้งจิตก็ชื่อว่าศึกษา น้อมใจไปด้วยศรัทธาก็ชื่อว่าศึกษา ประคองความเพียรก็ชื่อว่าศึกษา เข้าไปตั้งสติก็ชื่อว่าศึกษา ตั้งจิตไว้ก็ชื่อว่าศึกษา รู้ชัดด้วยปัญญาก็ชื่อว่าศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งก็ชื่อว่าศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ก็ชื่อว่าศึกษา ละธรรมที่ควรละก็ชื่อว่าศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็ชื่อว่าศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญก็ชื่อว่าศึกษา คือ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี ย่อมสมาทานศึกษา

ว่าจะไม่อะไรกับภาษาในพระไตรปิฏกแล้วนะ พยายามจะบอกง่ายๆ สอนง่ายๆ เฮ้อ ... กลุ้มเป็นการส่วนตัว

อ้างคำพูด:
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ...

ตรงนี้สอนพระอริยะ แต่ยังไม่เป็นอริยบุคคล (โสดาปัตติมรรค) ดูฉบับยาวๆ กว่านี้หน่อย
Quote Tipitaka:
(ทันตภูมิ) ฯ ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕ อยู่ ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียง เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด

ดูกรอัคคิเวสสนะ ในเมื่ออริย สาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ
สรุปง่ายๆ ว่า ให้ไปเรียนจนเกิดศีล(ขั้นต้น) จนตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ให้ความรู้ทางธรรม ฯ ก่อนแล้วจึงให้ไปวิปัสสนา

แล้วคุณ เช่นนั้น แปลออกมาแบบง่ายๆ ได้ความว่าประการใดละ :b38:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 03:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๐๔] บทว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร มีอธิบายว่า อาจาระ
มีอยู่ อนาจาระ มีอยู่

ใน ๒ อย่างนั้น อนาจาระ เป็นไฉน

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อนาจาระ
ความเป็นผู้ทุศีล แม้ทั้งปวง ก็เรียกว่าอนาจาระ

ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ หรือด้วยการให้ใบไม้ หรือด้วยการให้ดอกไม้ หรือด้วยการให้ผลไม้ หรือด้วยการให้จุณสำหรับอาบ หรือด้วยการให้ไม้ชำระฟัน หรือด้วยการพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก หรือด้วยการพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว หรือด้วยการเป็นคนรับเลี้ยง
เด็ก หรือด้วยการรับใช้ฆราวาส หรือด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิอย่างใดอย่างหนึ่ง
นี้เรียกว่า อนาจาระ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร