วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 15:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ก้าวล่วงออกจากโลกียธรรม
ท่านศิยะ ณัญฐสวามี (อ.ไชย ณ พล)


เมื่อทราบแล้วว่าสิ่งต่างๆ ในโลกนั้นเป็นเพียงสิ่งสมมติ
แม้จริงก็เป็นตวามจริงที่สมมติขึ้นมา
ควรก้าวล่วงออกจากโลกียธรรมนั้นเสีย

การออกจากโลกียธรรมก็อาศัยโลกียธรรมนั้นแล
ด้วยโลกียธรรมนั้นมีสองประเภท


ประเภทหนึ่งคือสมมติที่ทำให้มนุษย์มัวเมา
อีกประเภทหนึ่งเป็นวิธีบำเพ็ญเพียรมีศีลธรรม จริยธรรม
การเพ่ง การพินิจ และสมาธิ
กอปรเป็นสภาวะที่จะช่วยนำจิตใจออกจากโลกสมมติเสียได้

ถ้าจะเปรียบให้เห็นชัด
โลกียธรรมทั้งสองประเภทก็เหมือนหนามสองอันในโลก


เมื่อหนามอันนึงตำเราให้เจ็บปวด
ก็ต้องใช้หนามอีกอันนึงบ่งหนามที่ตำออกอยู่เสีย
เมื่อบ่งหนามที่ตำอยู่ออกได้แล้ว
ก็ละหนามทั้งสองเสีย


แต่การจะใช้หนามบ่งหนามออกนั้นก็มีวิธี
วิธีที่จะล้างสมมติแห่งโลกียธรรมออกจากใจเสียได้นั้น
ต้องอาศัยสมาธิกอปรกับสภาวะ นั้น คือ


๑. การสำรวมอินทรีย์ ความอดกลั้น การสำรวมใจ และความศรัทธา
๒. ความหน่ายหรือความไม่ปรารถนาในผล ไม่ว่าในโลกนี้ หรือในโลกหน้า
๓. ความแตกฉานรู้แจ่มแจ้งแทงตลอดในสมมติและสัจจะ
๔. ความปรารถนาที่จะยกระดับตนให้พ้นจากโลกียธรรมทั้งหลาย


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : “ก้าวล่วงออกจากโลกียธรรม” ใน ฤทธิศาสตร์ : ศาสตร์ลัดแห่งความสำเร็จ
โดย ศิยะ ณัญฐสวามี,
จัดพิมพ์โดย Truth Authorization Institute, พ.ศ. ๒๕๓๓, หน้า ๑๘๘)


:b44: รวมคำสอน “ดร.ไชย ณ พล (ศิยะ ณัญฐสวามี)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=48689


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 17 ก.พ. 2010, 21:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิธีที่จะล้างสมมติแห่งโลกียธรรมออกจากใจ เสียได้นั้น
ต้องอาศัยสมาธิกอปรกับสภาวะ ๔ นั้น คือ

๑. การสำรวมอินทรีย์ ความอดกลั้น การสำรวมใจ และความศรัทธา
๒. ความหน่ายหรือความไม่ปรารถนาในผล ไม่ว่าในโลกนี้ หรือในโลกหน้า
๓. ความแตกฉานรู้แจ่มแจ้งแทงตลอดในสมมติและสัจจะ
๔. ความปรารถนาที่จะยกระดับตนให้พ้นจากโลกียธรรมทั้งหลาย


เรียนท่านกุหลาบ
อ่านแล้วก็งงครับขัดกับความเข้าใจเดิมของผมจึงมีคำถามดังนี้ครับ
1 วิธีจะล้างสมมุติแห่งโลกียธรรมออกจากใจ ก็คือได้โลกุตรธรรม อันนี้แม่นบ่ครับ
2 ถ้าจะให้ได้โลกุตรธรรม ก็ต้องดำเนินตามมรรคแปด ซึ่งจัดออกได้เป็นกลุ่มของ ศีล สมาธิ และปัญญา
3 1-4 ดังที่ท่านได้กล่าวมาแล้วนั้นมันเกี่ยวกับมรรคแปดอย่างไรครับ

รบกวนท่านกุหลาบช่วยอธิบายหน่อยนะครับ

เจริญธรรมคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2010, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
วิธีที่จะล้างสมมติแห่งโลกียธรรมออกจากใจ เสียได้นั้น
ต้องอาศัยสมาธิกอปรกับสภาวะ ๔ นั้น คือ

๑. การสำรวมอินทรีย์ ความอดกลั้น การสำรวมใจ และความศรัทธา
๒. ความหน่าย หรือความไม่ปรารถนาในผล ไม่ว่าในโลกนี้ หรือในโลกหน้า
๓. ความแตกฉานรู้แจ่มแจ้งแทงตลอดในสมมติและสัจจะ
๔. ความปรารถนาที่จะยกระดับตนให้พ้นจากโลกียธรรมทั้งหลาย


อายะ เขียน:
เรียนท่านกุหลาบ
อ่านแล้วก็งงครับขัดกับความเข้าใจเดิมของผมจึงมีคำถามดังนี้ครับ

1 วิธีจะล้างสมมุติแห่งโลกียธรรมออกจากใจ ก็คือได้โลกุตรธรรม อันนี้แม่นบ่ครับ

2 ถ้าจะให้ได้โลกุตรธรรม ก็ต้องดำเนินตามมรรคแปด ซึ่งจัดออกได้เป็นกลุ่มของ ศีล สมาธิ และปัญญา
3 1-4 ดังที่ท่านได้กล่าวมาแล้วนั้นมันเกี่ยวกับมรรคแปดอย่างไรครับ

รบกวนท่านกุหลาบช่วยอธิบายหน่อยนะครับ

เจริญธรรมคับ


ธรรมสวัสดีค่ะคุณ อายะ :b8:

ขอตอบข้อ ๒ ตามกำลังสติปัญญาก่อนนะคะ
(ผิดถูกอย่างไร...โปรดพิจารณาโดยโยนิโสมนสิการด้วยค่ะ)

องค์ธรรมที่เกื้อหนุนแก่การเข้าสู่อริยมรรค
นอกจาก มรรคมีองค์ ๘ แล้วยังต้องประกอบไปด้วย
(ซึ่งมรรคมีองค์แปด นั้นเอง สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ของ “ไตรสิกขา”
ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา)


• ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
• ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
• ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)


สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗
รวมเรียกว่า “โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ” แบ่งเป็น ๗ หมวด ข้างต้น


ซึ่งในแต่ละหมวดมีความสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว
การปฏิบัติตามธรรมหมวดใดหมวดหนึ่ง
ก็ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมหมวดอื่นๆ ด้วย

ผู้รู้ท่านกล่าวว่า สาเหตุที่ท่านแบ่งไว้ถึง ประการอย่างนี้
เป็นเพียงการจำแนกตามเกณฑ์ที่นำมาเป็นกรอบในการพิจารณา


เช่น นำสติเป็นเกณฑ์ก็เป็น สติปัฏฐาน ๔
ถ้านำกำลังในการปฏิบัติเป็นเกณฑ์ก็เป็น พละ ๕
ถ้านำองค์แห่งความรู้เป็นเกณฑ์เป็น โพชฌงค์ ๗
ถ้านำหนทางในการปฏิบัติเป็นเกณฑ์ก็เป็น มรรคมีองค์ ๘ ดังนี้

เปรียบเสมือนมนุษย์

ถ้าเราจะแบ่งความเป็นมนุษย์ก็สามารถแบ่งได้หลายอย่าง
เช่น ถ้านำเพศเป็นเกณฑ์ก็มี ๒ เพศ คือ ชายกับหญิง

ถ้านำอวัยวะเป็นเกณฑ์มี ๓๒ ประการ
มี เนื้อ หนัง กระดูก หัวใจ ตับ อาหารเก่า เสลด น้ำเลือด เป็นต้น

ถ้านำระบบการทำงานของ ร่างกายเป็นเกณฑ์ก็มี ๗ ประการ
เช่น ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

จะเห็นว่ามนุษย์ในความหมายที่เรารู้จัก
สามารถแบ่งออกเป็นหลายอย่างหลายกลุ่ม
แล้วแต่เกณฑ์ที่นำมาแบ่งเช่นเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ กุหลาบสีชา จึงเข้าใจว่า....

สิ่งที่ท่านศิยะ “นำเสนอ” ข้างต้นนั้น
เป็นการดึงองค์ธรรมสำคัญในหลายหมวดมาประมวลตามความเข้าใจของท่าน
เป็นเสมือนเคล็ดหรือเทคนิคสำคัญที่ต้องมี
เพื่อนำพาและยกระดับจิตเข้าสู่โลกียธรรม

ซึ่งบางประการที่เป็นเหตุปัจจัยของกันและกันท่านได้ละที่จะกล่าวไว้

อาทิ หากการสำรวมอินทรีย์ ย่อมยังให้เกิดศีล
แต่ท่านไม่ได้พูดถึงศีลโดยตรง


ทั้งที่หากพิจารณาในหมวดไตรสิกขาแล้ว
ศีลที่มั่นคงย่อมเป็นบาทฐานสำคัญ
ที่ยังให้เกิดสัมมาสมาธิ และปัญญา
ในหมวด “ไตรสิกขา”โดยลำดับ

หากไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ปัญญาก็ไม่เกิด
เพราะปัญญาที่จะเกิดวิปัสสนาญาณนั้น
จะต้องเกิดจากการมีศีลสมบูรณ์ และมีสมาธิแน่วแน่


ข้อ ๑ และข้อ ๔ เป็นองค์ธรรมใน ๗ หมวด
และข้อ ๒ และ ข้อ ๓ เป็นสภาวะที่จำต้องเกิดขึ้น
ก่อนข้ามโคตรเพื่อบรรลุสภาวะแห่งโลกุตตระ
จนเกิด “ภาวนามัยปัญญา” ได้
ซึ่งครูบาอาจารย์ท่านกล่าวว่าเป็นเครื่องมือแท้ที่จะแก้วัฏจักรออกภายในจิตได้

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2010, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ลองพิจารณาจาก อินทรียสังวรสูตรที่ ๘ ที่ยกมาประกอบกันนี้ดูนะคะ

ว่าด้วยการสำรวมอินทรีย์

Quote Tipitaka:
[๓๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของภิกษุผู้มี
อินทรีย์สังวรวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของภิกษุ
ผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ
ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อ
นิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมมี
อุปนิสัยถูกขจัด เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น
ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ไม่ถึงความ
บริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรีย-
สังวรสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล
สมบูรณ์ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของ
ภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ
มีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญานทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัย
สมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทา
วิราคะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบ
สมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ถึงความ
บริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น.

จบอินทรียสังวรสูตรที่ ๘

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 520&Z=8539

(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 23 ก.พ. 2010, 23:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2010, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


และจาก กิมัตถิยสูตร

Quote Tipitaka:
นิสสายวรรคที่ ๑
๑. กิมัตถิยสูตร
[๒๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็น
กุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่เดือดร้อนมีอะไรเป็นผล มีอะไร
เป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ก็ความไม่เดือดร้อนมีความปราโมทย์เป็นผล มีความ
ปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
อานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
อานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณ-
*ทัสนะเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไร
เป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็น
อานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทามีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
อานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะ
เป็นอานิสงส์
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือด
ร้อนเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์
เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็น
อานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ นิพพิทามี
วิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติ-
*ญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม
ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต


:b8: :b8: :b8:

ที่มา : http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 521&Z=7566

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา
พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี


อยู่วาระหนึ่งที่พระพุทธได้ทรงแสดงถึงอาการที่เรียกว่า
"ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา"
เรามีหน้าที่เพียงแต่ ดูแลเอาใจใส่และรักษาธรรมให้ดีเท่านั้น
อันเป็นมูลเหตุเบื้องต้น


เพราะเมื่อเหตุดีแล้ว ก็จะผลิตดอกออกผลมาเอง
ส่วนจะเร็วหรือช้านั้น ก็เป็นเรื่องของสภาวะธรรมตามธรรมชาติ


ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับเราปลูกมะม่วงสักต้นหนึ่ง
หน้าที่ของเราคือ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดแมลง
ทำอยู่อย่างนั้นนานนับเดือน นับปี
ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ
แล้วในที่สุด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง มันจะต้องผลิดอกออกผลขึ้นมา

ปีแรก ๆ อาจจะมีผลิตผลไม่มาก
แต่ปีต่อ ๆ มาก็จะผลิดอกออกผลมากขึ้นเอง
หน้าที่ของเราจึงมีแต่เพียงศึกษาให้รู้ถึงวิธีการบำรุงรักษา และ
ดูแลบำรุงรักษาต้นไม้นั้นให้ดีที่สุดเท่านั้น
เมื่อเราทำเหตุให้ดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องห่วงว่าผลจะออกมาอย่างไร

ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมเราจึงต้องรักษาจิตให้เป็นศีล
มีความพากเพียรในการเจริญสติ และมีสัมปชัญญะ ให้สืบเนื่อง
ติดต่อกันไปอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมจะไหลไปสู่ธรรมตามลำดับ
ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงเบื้องปลาย คือ ความหลุดพ้นจากทุกข์เป็นที่สุด
กล่าวคือ


๑. เมื่อศีลสมบูรณ์ ไม่มีโทษทางกายวาจาใจ
ไม่มีการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นแล้ว
ก็ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
"อวิปปฏิสาร ความไม่เดือดร้อนใจ จงบังเกิดขึ้นแก่เรา"
ข้อนี้เป็นธรรมดาว่าเมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว ความไม่เดือดร้อนใจย่อมเกิดขึ้นเอง

๒. เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้วไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
"ปราโมทย์ ความปลื้มใจ จงบังเกิดแก่เรา"
ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นเอง

๓. เมื่อปราโมทย์ คือ ความปลื้มใจเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
"ปีติ ความอิ่มใจ จงบังเกิดแก่เรา"
ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อความปราโมทย์เกิดขึ้นแล้ว ปีติย่อมเกิดขึ้นเอง

๔. เมื่อปีติความอิ่มใจเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
"กายของเราจงระงับเป็นปัสสัทธิ"
ข้อนี้เป็นธรรมดาว่าเมื่อปีติเกิดขึ้นแล้ว กายย่อมระงับเอง

๕. เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
"เราจงเสวยสุข"
ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ย่อมเสวยสุขเอง

๖. เมื่อมีความสุขแล้วไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
"จิตของเรา จงตั้งมั่นเป็นสมาธิ"
ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อมีความสุขแล้ว จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิเอง

๗. เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
"เราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง"
ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ยถาภูตญาณทัสสนะ
คือความรู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเกิดขึ้นเอง

๘. เมื่อ ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นตามความเป็นจริงเกิดขึ้นแล้ว
ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า "เราจงเบื่อหน่ายเป็นนิพพิทา"
ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเบื่อหน่ายเอง

๙. เมื่อเบื่อหน่ายเป็น นิพพิทา แล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
" เราจงคลายกำหนัดเป็นวิราคะ" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อมีความเบื่อหน่ายแล้ว วิราค คือ ความคลายกำหนัด ย่อมเกิดขึ้นเอง

๑๐. เมื่อคลายกำหนัดเป็นวิราคะแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
"เราจงทำให้แจ้งซึ่ง วิมุตติญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายแล้ว"
ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อวิราคะเกิดขึ้นแล้ว วิมุตติญาณทัสสนะย่อมเกิดขึ้นเอง
ด้วยอาการอย่างนี้ เรียกว่า "ธรรมไหลไปสู่ธรรม"


ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็ม
เปรียบประดุจกระแสน้ำที่ไหลไปตามลำคลองลงสู่ห้วงมหาสมุทร
น้ำย่อมยังห้วงน้ำให้เต็มได้ฉันใด
ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็มได้ฉันนั้น


ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม
จึงควรใช้วิจารณญาณ สังเกตให้เห็นว่า
เราเพียงตั้ง "เจตนา" ในการกระทำให้ถูกต้อง
เป็นสัมมาปฏิบัติก็พอแล้ว


เราไม่ต้องตั้ง "เจตนา"
ที่จะคาดหวังให้การกระทำนั้นออกผล
เพราะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น แถมยังจะทำให้เกิดความกระวนกระวาย
หรือเป็นทุกข์ขึ้นมาอีกด้วย


คนโดยมากมักจะเข้าใจผิดในข้อนี้
นี่แสดงให้เห็นว่า เมื่อรักษาจิต ดำรงจิต และตั้งเจตนาให้ถูกต้อง
ในการกระทำ โดยรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว
สมาธิ ปัญญา ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นเอง
โดยไม่ต้องตั้งเจตนาที่จะให้เกิด

อริยมรรค ๘ โพชฌงค์ ๗ สติปัฏฐาน ๔
และแม้แต่โอวาทปาฏิโมกข์
ก็อยู่ในที่นั้นครบทั้งหมด กล่าวคือ
เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว "การไม่ทำบาปทั้งปวง" ก็จะสมบูรณ์
เมื่อใจเกิด ปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ แล้ว
ไม่ว่าจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นกุศลไปทั้งหมด
"การทำกุศลให้ถึงพร้อม" ก็จะสมบูรณ์เอง
โดยไม่ต้องตั้งใจทำอะไรเป็นพิเศษ


เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างชัดเจน
เกิดความจางคลายไปแห่งตัณหาและราคะ
เป็นการ "ชำระจิตให้ผ่องแผ้ว"
จนกระทั่งเกิดความรู้เห็นว่า จิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง
คือ วิมุตติญาณทัสสนะ ในที่สุด


:b8: :b8: :b8:

(คัดลอกบางตอนมาจาก : “ธรรมไหลไปสู่ธรรม” :
พระธรรมเทศนาของพระอาจารย์ที่ได้รวบรวมจัดพิมพ์
เป็นหนังสือธรรมบรรยายขึ้นเป็นเล่มแรกในปี พ.ศ. ๒๔๓๔)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=514


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 24 ก.พ. 2010, 00:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อายะ เขียน:
1 วิธีจะล้างสมมุติแห่งโลกียธรรมออกจากใจ ก็คือได้โลกุตรธรรม อันนี้แม่นบ่ครับ


คำตอบอยู่ในข้างต้นแล้วทั้งหมดค่ะ :b12: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 01:15
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา ............



ครับบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
แต่การจะใช้หนามบ่งหนามออกนั้นก็มีวิธี
วิธีที่จะล้างสมมติแห่งโลกียธรรมออกจากใจเสียได้นั้น
ต้องอาศัยสมาธิกอปรกับสภาวะ นั้น คือ


๑. การสำรวมอินทรีย์ ความอดกลั้น การสำรวมใจ และความศรัทธา
๒. ความหน่ายหรือความไม่ปรารถนาในผล ไม่ว่าในโลกนี้ หรือในโลกหน้า
๓. ความแตกฉานรู้แจ่มแจ้งแทงตลอดในสมมติและสัจจะ
๔. ความปรารถนาที่จะยกระดับตนให้พ้นจากโลกียธรรมทั้งหลาย


:b8: :b8: :b8:



:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาสาธุการครับ..คุณโรส :b17:

:b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร