วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209056.jpg
m209056.jpg [ 121.3 KiB | เปิดดู 4191 ครั้ง ]
๓) กรรมชำระล้างได้อย่าง ?


มีพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษนี้ทำกรรมไว้อย่างไร ๆ เขาย่อมได้เสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ”

เมื่อเป็นอย่างที่กล่าวนี้ การครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ก็มีไม่ได้ (คือ ไม่มีประโยชน์อะไร)

เป็นอันมองไม่เห็นช่องทางที่จะทำความสิ้นทุกข์ให้สำเร็จได้เลย”

“แต่ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษนี้ทำกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนาอย่างไร ๆ เขาย่อมได้

เสวยวิบากของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ” เมื่อเป็นอย่างที่กล่าวนี้ พรหมจรรย์ (การครองชีวิตประเสริฐ)

ก็สำเร็จประโยชน์ (คือ มีได้) เป็นอันเห็นช่องทางที่จะทำความสิ้นทุกข์ให้สำเร็จได้”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ทำกรรมชั่วเพียงเล็กน้อย กรรมนั้นก็นำเขาไปนรกได้

ส่วนคนบางคน ทำกรรมชั่วเล็กน้อยอย่างเดียวกันนั่นแหละ กรรมนั้น เขาเสวยผลเสร็จไปเสียแต่

ในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแต่ที่มากๆ เท่านั้น”


“คนประเภทไหน ทำกรรมชั่วเพียงเล็กน้อย กรรมนั้นก็นำเขาไปนรกได้ ?

คือ คนบางคนเป็นผู้ไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้อบรมปัญญา

มีคุณน้อย มีอัตภาพเล็ก มีปรกติอยู่เป็นทุกข์ เพราะวิบากเล็กๆน้อยๆ

บุคคลประเภทนี้ ทำกรรมชั่วเพียงเล็กน้อย กรรมชั่วนั้น ก็นำเขาไปนรกได้
(เหมือนใส่ก้อนเกลือ

ในขันน้ำน้อย)”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

“คนประเภทไหน ทำกรรมชั่วเล็กน้อยอย่างเดียวกันนั่นแหละ

กรรมนั้น เขาเสวยผลเสร็จไปเสียแต่ในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแต่ที่มากๆ เท่านั้น ?

คือคนบางคนเป็นผู้ได้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณไม่น้อย เป็นมหาตมะ

มีธรรมเครื่องอยู่หาประมาณมิได้

บุคคลประเภทนี้ ทำกรรมชั่วเช่นเดียวกันนั่นแหละ กรรมชั่วนั้น เขาเสวยผลเสร็จไปเสียแต่ในปัจจุบัน

ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแต่ที่มากๆ เท่านั้น
(เหมือนใส่ก้อนเกลือในแม่น้ำ)” *

(องฺ.ติก.20/540/320) ;


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ข้อความว่า

“ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย” แปลอีกอย่างหนึ่งว่า “ทั้งส่วนที่น้อย ก็ไม่ปรากฏเป็นมาก”

แต่ถ้าแปลตามอรรถกถาจะได้ความอีกอย่างว่า “ทั้งกรรมที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏผลต่อไป กรรมที่มากเท่านั้น

จึงจะปรากฏผลต่อไป” ดู องฺ.อ.2/299

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ชาวพุทธบ้านเราพึงพิจารณาคำสอนระหว่างพระพุทธเจ้ากับศาสดาในศาสนาอื่น

เรื่องเดียวกันแต่แนวการสอนการแนะนำต่างกันยังไง ข้อแรกเป็นแนวคิดแนวสอนของศาสดอื่น)



“ดูกรนายคามณี ศาสดาบางท่าน มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า

ผู้ที่ฆ่าสัตว์ ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด

ผู้ที่ลักทรัพย์ ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด

ผู้ประพฤติกาเมสุมิจฉาจาร ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด

ผู้ที่พูดเท็จ ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด

สาวก ที่เลื่อมใสในศาสดานั้น คิดว่า “ศาสดาของเรา มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า

ผู้ที่ฆ่าสัตว์ ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด”

เขาจึงได้ทิฐิขึ้นมาว่า “สัตว์ที่เราฆ่าไปแล้วก็มี เราก็ต้องไปอบาย ตกนรกด้วย

เขาไม่ละวาจานั้น ไม่สละทิฐินั้นเสีย ก็ย่อมอยู่ในนรก เหมือนถูกจับมาใส่ไว้…”


ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก...

พระองค์ ทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาต...

อทินนาทาน...

กาเมสุมิจฉาจาร...

มุสาวาท โดยอเนกปริยาย และตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย จงงดเว้นเสียเถิดจากปาณาติบาต...

อทินนาทาน...กาเมสุมิจฉาจาร...มุสาวาท” สาวก มีความเลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมพิจารณา

เห็นดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาต ฯลฯ โดยอเนกปริยาย และตรัสว่า

“ท่านทั้งหลาย จงงดเว้นเสียเถิดจากปาณาติบาต ฯลฯ”

ก็สัตว์ที่เราฆ่าเสียแล้วมีมากถึงขนาดนั้นๆ การที่เราฆ่าสัตว์ไปเสียมากๆ ถึงขนาดนั้นๆ ไม่ดี ไม่งามเลย

เราจะกลายเป็นผู้เดือดร้อนใจ ในเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัยแท้ และเราก็จักไม่ชื่อว่า ไม่ได้กระทำกรรมชั่ว”

เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปาณาติบาตนั้นเสีย และเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่า

เขาละกรรมชั่วนั้นได้ ด้วยการกระทำอย่างนี้…”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 พ.ค. 2010, 19:56, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“เขาละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ละมุสาวาท...ปิสุณาวาจา...ผรุสวาจา...

สัมผัปปลาปะ...อภิชฌา...พยาบาท...มิจฉาทิฐิ แล้วเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ

เขาเป็นผู้อริยสาวก มีใจปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท (ความคิดเบียดเบียน)

ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น อยู่ด้วยใจที่ประกอบด้วยเมตตาปกแผ่ไปทิศ 1...

ทิศ 2...ทิศ 3...ทิศ 4...ครบถ้วนทั้งสูง ต่ำ กว้างขวาง ทั่วทั้งโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า

ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ยิ่งใหญ่ ไม่มีประมาณ ไร้เวร

ไร้พยาบาท ฯลฯ เมื่อเจริญเมตตาเจโตวิมุติ ทำให้มากอย่างนี้ กรรมใดที่ทำไว้พอประมาณ

กรรมนั้น จักไม่เหลือ จะไม่คงอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตินั้น…”

(สํ.สฬ.18/613-619/393-398)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_9510.jpg
IMG_9510.jpg [ 64.64 KiB | เปิดดู 4172 ครั้ง ]
พุทธพจน์ในข้อที่ ๓ นี้ นำมาแสดงไว้เพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผล

ของกรรม ให้มีการศึกษาโดยละเอียด เป็นการป้องกันไม่ให้ลงความเห็นตัดสินความหมายและเนื้อหา

ของหลักกรรมง่ายเกินไป

แต่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถนำมารวมไว้ได้ทั้งหมด เพราะจะกินเนื้อที่มากเกินไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูลักษณะเมตตาเจโตวิมุติ


ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่ง

ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์

ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร

คือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจ

ให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้น ผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

(ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่ โรงเรียนสั่งให้ นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่ามันเป็น

เรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่

รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ถ้ายังไง เราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่า ผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นแบบอัปปมัญญา

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง

จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา

พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ

กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น

จากนั้นผมรู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย

รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว

กายขยายไปทุกทิศ จนรู้สึกว่ากายหายไป คือ ไม่มีกาย

เวลานี้รู้สึกว่า ความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด

โอ ความสุขนี้ แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่

บางคนทำทุจริตต่างๆ เพื่อหาเงินมาสนองความสุขตนทำไปทำไมนะ

มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย

ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆคน (ส่วนใหญ่) ในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้น

ผมก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก

ถึงค่อยเข้าใจคำว่า ลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง

ก่อนหน้านี้เข้าใจว่า คือ ลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ คือปีติเกิดค้างอยู่

แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้นผมรู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"

จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน

หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล)ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น


แต่หลังจากนั้นมาผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย

คือทำได้มากสุด ก็แค่ทำปีติให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น

(แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที) แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้

จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปีติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 17:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ดังกล่าวที่ว่า

“คนประเภทไหน ทำกรรมชั่วเพียงเล็กน้อย กรรมนั้นก็นำเขาไปนรกได้ ?

คือคนบางคนเป็นผู้ไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้อบรมปัญญา มีคุณน้อย

มีอัตภาพเล็ก มีปรกติอยู่เป็นทุกข์ เพราะวิบากเล็กๆน้อยๆ


บุคคลประเภทนี้ ทำกรรมชั่วเพียงเล็กน้อย กรรมชั่วนั้น ก็นำเขาไปนรกได้ (เหมือนใส่ก้อนเกลือ

ในขันน้ำน้อย)”


ตัวอย่างเช่น

อ้างคำพูด:
เมื่อวันศุกร์ตอนถอยรถ ไม่เห็นหมาไม่รู้ว่า มันวิ่งเข้ามาตอนไหน ได้ยินเสียงมันร้อง

เลยหยุดรถ แล้วลงมาดูเหมือนมันจะช้ำใน แล้วตาย (เหมือนเหยีบบเด็กเลย เห็นแล้วเศร้าสงสารมันจัง

เจ้าของหมารู้เขาจะโกรธไหม

ส่วนผมคนทำแย่จัง

ทำอย่างไรถึงจะสบายใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 18:34, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนพุทธพจน์ด้านครงข้าม

“คนประเภทไหน ทำกรรมชั่วเล็กน้อยอย่างเดียวกันนั่นแหละ

กรรมนั้น เขาเสวยผลเสร็จไปเสียแต่ในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแต่ที่มากๆ เท่านั้น ?

คือคนบางคนเป็นผู้ได้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณไม่น้อย เป็นมหาตมะ

มีธรรมเครื่องอยู่หาประมาณมิได้


บุคคลประเภทนี้ ทำกรรมชั่วเช่นเดียวกันนั่นแหละ กรรมชั่วนั้น เขาเสวยผลเสร็จไปเสียแต่ในปัจจุบัน

ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแต่ที่มากๆ เท่านั้น (เหมือนใส่ก้อนเกลือในแม่น้ำ)”


จะต่างจากตัวอย่างที่อ้างอิงก่อนหน้า คือ เขาจะตัดวงจรความคิด (ปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร) ได้เร็ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 18:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




90oq6.jpg
90oq6.jpg [ 103.49 KiB | เปิดดู 4138 ครั้ง ]
ต่อ (9)

viewtopic.php?f=2&t=18847

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร