วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2010, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

เจตน์จำนง คือ เจตนา หรือ กรรม นั้นแม้เล็กน้อย ก็มิได้ไร้ผล ดังพุทธศาสนสุภาษิตว่า

“กรรมดี หรือ ชั่วทุกอย่างที่คนสั่งสมไว้ ย่อมมีผล ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลย

ย่อมไม่มี”

และว่า “กรรมไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย”


อย่างไรก็ตาม ผลทางด้านกรรมนิยามในระดับจิตใจนี้ คนจำนวนมากคอยจะมองข้าม

ไม่เห็นความสำคัญ

จึงขอเพิ่มการเปรียบเทียบ ด้วยข้ออุปมาเกี่ยวกับน้ำอีกสัก ๒ อย่าง



-น้ำสะอาดและน้ำสกปรก มีหลายระดับ เช่น น้ำครำในท่อระบายโสโครก น้ำในแม่น้ำลำคลอง

น้ำประปา และน้ำกลั่นสำหรับผสมยาฉีด เป็นต้น

น้ำครำพอใช้เป็นที่อาศัยของสัตว์หลายอย่างได้ แต่ไม่เหมาะแก่การใช้อาบ ไม่อาจใช้กินหรือทำกิจ

ที่ประณีตอื่นๆ

น้ำในแม่น้ำลำคลอง ใช้อาบน้ำซักผ้าได้ แต่ก็ยังไม่เหมาะที่จะใช้ดื่ม

น้ำประปาใช้ดื่มกินได้ แต่จะใช้ผสมยาฉีดยังไม่ได้

เมื่อมีแต่น้ำประปาและกิจที่ใช้ไม่มีส่วนพิเศษออกไป น้ำประปานั้นก็พอแก่ความประสงค์

แต่ถ้ามีกรณีพิเศษเช่นจะผสมยาฉีด ก็เป็นอันติดขัด

เปรียบได้กับจิตที่มีคุณภาพต่างๆกัน โดยความหยาบประณีตขุ่นมัวและสะอาดผ่องใสกว่ากัน

เนื่องมาจากกรรมที่ได้ประกอบสั่งสมไว้ ถ้ายังใช้งานในสภาพชีวิตอย่างนั้นๆ ก็อาจยังไม่รู้สึกปัญหา

แต่เมื่อล่วงผ่านกาลเวลาและวัยแห่งชีวิตไป อาจถึงโอกาสที่ต้องใช้จิตที่ประณีตยิ่งขึ้น ซึ่งกรรมปางหลัง

จะก่อปัญหาให้ อาจติดขัดใช้ไม่ได้ หรือถึงกับเน่าเสียไปทีเดียว


-น้ำกระเพื่อมและสงบเรียบมีหลายระดับ ตั้งแต่น้ำในทะเลมีคลื่นโตๆ

น้ำในแม่น้ำที่มีคลื่นจากเรือยนต์

น้ำในลำธารที่ไหลริน

น้ำในสระที่ลมสงบ จนถึงน้ำในภาชนะนิ่งปิดสนิท

บางกรณีจะใช้น้ำมีคลื่นกระเพื่อมกระฉอกบ้างก็ได้

แต่บางกรณีอาจต้องใช้น้ำสงบนิ่งอย่างที่แม้แต่วางเข็มเย็บผ้าลงไปก็ลอยนิ่งอยู่ได้นาน

คุณภาพของจิตที่หยาบและประณีต ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้งาน และ การเข้าถึงคุณวิเศษต่างๆ

ที่ชีวิตจะเข้าถึงได้ ก็พึงเข้าใจโดยทำนองนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.พ. 2014, 18:12, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2010, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังคมน์นิยม กับ กรรมนิยามแยกต่างหากกัน

ผลในฝ่ายกรรมนิยาม ย่อมดำเนินไปตามกระบวนการของมันเอง ไม่ขึ้นต่อบัญญัติของสังคมที่ขัดกับมัน

ดังที่กล่าวมานี้

อย่างไรก็ดี เพราะเหตุที่นิยมน์และนิยามทั้งสองนั้น มีแง่ที่สัมพันธ์กันดังกล่าวแล้วในข้อที่หนึ่ง ดังนั้น

ผู้ปฏิบัติถูกต้องในแง่ของกรรมนิยาม คือ ทำตามหลักกุศล ก็อาจประสบปัญหาจากสังคมน์นิยมที่ขัดแย้ง

นั้นได้ เช่น

ผู้ที่อยู่ในสังคมที่ชื่นชอบการเสพสิ่งมึนเมา แต่ไม่ยอมเสพด้วย เขาย่อมได้รับผลตามกรรมนิยาม คือไม่เสีย

คุณภาพจิตที่โปร่งผ่องใสไป เพราะเหตุจากของเมานั้นก็จริง

แต่ในแง่สังคม ซึ่งต่างหากจากกรรมนิยาม เขาอาจถูกเย้ยหยันล้อเลียน เช่นว่า ไม่เข้มแข็ง หรือ ถูกมอง

ในทางไม่ดีในแง่สังคมอย่างอื่นๆอีก

และแม้ในแง่ของกรรมนิยามเอง เขาอาจประสบปัญหาจากเจตนาฝ่าฝืนข้อนิยมนี้ของสังคมอย่างที่กล่าวแล้ว

ในข้อหนึ่ง

เกิดความข้อแย้งในทางจิตใจ ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดแล้วแต่ปัญญาที่จะปลดเปลื้องจิตของเขา

สังคมเจริญแล้วที่คนทั้งหลายมีปัญญา มักได้อาศัยประสบการณ์ ซึ่งได้สะสมมาของมนุษย์รุ่นเก่าๆ

ได้เรียนรู้ว่าอะไรเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจของมนุษย์อย่างแท้จริง อะไรไม่เกื้อกูลแล้วมักบัญญัติกฎเกณฑ์ข้อกำหนด

เกี่ยวกับความดีความชั่วฝ่ายสังคมนิยมน์ ให้สอดคล้องกับหลักฝ่ายกุศล และ อกุศลในฝ่ายกรรมนิยาม

ความสามารถบัญญัติหลักฝ่ายสังคม ให้สอดคล้องกับหลักฝ่ายกรรมนิยามนี้ น่าจะเป็นเครื่องวัดถึงความเจริญ

ที่แท้จริงของสังคมนั้นได้ด้วย

โดยนัยนี้ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยข้อบัญญัติเกี่ยวกับความดีและความชั่ว น่าจะพิจารณาเป็น ๒ ขั้น คือ

พิจารณาในแง่สังคมนิยมน์ว่าข้อบัญญัตินั้นเป็นไปเพื่อผลดี เช่น ช่วยให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมหรือไม่

ขั้นหนึ่ง

แล้วพิจารณาในแง่กรรมนิยามว่าข้อบัญญัตินั้นเป็นกุศลหรือไม่คือ เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจหรือไม่ อีกขั้นหนึ่ง

ข้อบัญญัติบางอย่าง แม้สังคมจะยึดถือกันมานาน แต่แท้จริงแล้วไม่เกื้อกูลเลย แม้ในแง่สังคมนิยมน์

ส่วนในแง่กรรมนิยามเป็นอันไม่ต้องพูดถึง ข้อบัญญัติเช่นนั้น สังคมพึงตกลงกันยกเลิกเสีย หรืออาจต้องอาศัย

ผู้มีปัญญาที่ใจบริสุทธิ์กอปรด้วยกรุณามาชักนำ เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำต่อประเพณีเกี่ยวกับการบูชายัญ

และวรรณะ ๔ ของสังคมอินเดีย เป็นต้น



ในกรณีทีพิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อบัญญัติหรือนิยมน์นั้นเกื้อกูลในแง่สังคม จะช่วยให้เกิดความเจริญแก่หมู่มนุษย์

แต่ไม่สอดคล้องกับหลักแห่งกุศลธรรมตามกรรมนิยาม

กรณีเช่นนี้ ควรจะตั้งข้อสงสัยว่า บางทีคนอาจหลงผิดมองเห็นสิ่งที่ไม่เกื้อกูลแก่สังคมอย่างแท้จริง ว่าเป็นสิ่ง

เกื้อกูลก็ได้ คืออาจหลงพอใจในความเจริญก้าวหน้าที่ผิดๆ เป็นที่ชื่นชมน่าพอใจในเวลาสั้นๆ แต่ก่อโทษ

ในระยะยาว สิ่งที่เกื้อกูลแท้จริง น่าจะสอดคล้องกันทั้งในแง่สังคมนิยมน์และในแง่กรรมนิยาม มีหลักทั่วไปว่า

สิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ มักเกื้อกูลอย่างเป็นกลางๆ คือ เมื่อเกื้อกูลแก่ชีวิตหนึ่งก็เกื้อกูลแก่ชีวิตทั้งหมด

เรื่องนี้พึงเห็นบทเรียนจากการสร้างความเจริญด้านกายภาพมนุษย์มุ่งหวังความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ

เข้าใจว่า

ความมีวัตถุพรั่งพร้อมสะดวกบริบูรณ์ จะนำมาซึ่งประโยชน์สุขสูงสุดแก่สังคมมนุษย์ จึงได้เพียรพยายาม

สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุมากมาย พร้อมกับทำลายชีวิตและสภาพชีวิตต่างๆ ที่เห็นว่าขัดขวาง

ความเจริญของตน จนในที่สุดก็ได้ทราบว่า การกระทำของตนมีหลายส่วนที่ได้เป็นไปด้วยความหลงผิด

แม้สังคมจะดูคล้ายเจริญก็จริง แต่ได้ก่อพิษภัยแก่ชีวิตด้านร่างกายเป็นอันมาก จนถึงกับว่า ถ้าขืนก้าวหน้า

ในลักษณะเดิมต่อไป อาจกลายเป็นการดำเนินสู่ความพินาศเสื่อมสูญก็ได้

พึงสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุชนิดที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ชีวิตด้านกายฉันใด

ก็พึงสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางสังคมชนิดที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ชีวิตด้านจิตปัญญาฉันนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ก.พ. 2010, 20:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2010, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการวินิจฉัยว่าอะไรเป็นความดี อะไรเป็นความชั่วนี้ เมื่อพูดในทางปฏิบัติ เพื่อให้คนทั่วไปใช้ประโยชน์

ได้ทุกระดับ

พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ถือข้อพิจารณาเกี่ยวกับกุศล และ อกุศลเป็นหลักแก่นกลาง


จากนั้นทรงผ่อนขยายออกไป ให้ใช้สำนึกเกี่ยวกับความดีความชั่วของตนเอง อย่างที่เรียกกันว่า

มโนธรรม และ ให้ถือมติของผู้รู้เป็นหลักประกอบหรืออ้างอิง (สองอย่างนี้ เป็นฐานของหิริโอตตัปปะ)

นอกจากนั้นให้พิจารณาที่ผลของการกระทำอันจะเกิดแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น หรือ แก่บุคคลและสังคม

การที่ตรัสเช่นนี้ คงจะเป็นด้วยว่า

คนบางคนยังมีปัญญาไม่กว้างขวางลึกซึ้งเพียงพอ อาจมองเห็นภาวะที่เป็นกุศลและอกุศลไม่ชัดเจน

จึงให้ถือเอามติของท่านผู้รู้เป็นหลักประกอบด้วย และถ้ายังไม่ชัดพอก็ มองดูง่ายๆ จากผลของการกระทำ

แม้แต่ที่เป็นไปตามบัญญัติของสังคม

สำหรับคนทั่วไปการพิจารณาด้วยหลักทั้งสามนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการตรวจสอบหลายๆ ชั้น เพื่อให้การวินิจฉัย

เป็นไปอย่างรอบคอบ


โดยสรุป เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดีและกรรมชั่วมีว่า ในแง่ของกรรม ให้ถือเอาเจตนาเป็นหลักตัดสินว่าเป็นกรรม

หรือไม่ และในแง่กรรมนั้นดีหรือชั่ว ให้พิจารณาตามหลัก เกณฑ์ ดังนี้

ก. เกณฑ์หลัก

๑. ตัดสินด้วยความเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล โดย

-พิจารณามูลเหตุว่า เป็นเจตนาที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือเกิดจากอกุศลมูล คือ

โลภะ โทสะ โมหะ

-พิจารณาตามสภาวะว่า เป็นสภาพเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจหรือไม่ ทำให้จิตสบาย ไร้โรค ปลอดโปร่ง ผ่องใส

สมบูรณ์หรือไม่

ส่งเสริม หรือ บั่นรอนคุณภาพและสมรรถภาพของจิต ช่วยให้กุศลธรรม (สภาพที่เกื้อกูล)ทั้งหลายเจริญ

งอกงามขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายลดน้อยลง หรือทำให้กุศลธรรมลดน้อยลง

อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญงอกงามขึ้น ตลอดจนมีผลต่อบุคลิกภาพอย่างไร


ข. เกณฑ์ร่วม

2. ใช้มโนธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตนเองพิจารณาว่า การที่กระทำนั้น ตนเองติเตียนตนเอง

ได้หรือไม่ เสียความเคารพตนเองหรือไม่

3. พิจารณาความยอมรับของวิญญู หรือนักปราชญ์หรือบัณฑิตชน ว่าเป็นสิ่งที่วิญญูยอมรับหรือไม่ ชื่นชม

สรรเสริญ หรือตำหนิติเตียน

4. พิจารณาลักษณะ และผลของการกระทำ

-ต่อตนเอง

-ต่อผู้อื่น

ก) เป็นการเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น ทำตนเองหรือผู้อื่นให้เดือดร้อนหรือไม่

ข) เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข หรือ เป็นไปเพื่อโทษทุกข์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น



หลักเกณฑ์นี้อาจสรุปได้อีกแนวหนึ่ง ด้วยสำนวนแสดงการจัดประเภทของเกณฑ์ที่ใช้ตัดสิน

แต่มีข้อที่ต้องทำความเข้าใจกันไว้ก่อนบางอย่าง กล่าวคือ

ประการที่หนึ่ง ให้ถือว่า การพิจารณาในแง่ของกุศลมูล อกุศลมูล และกุศล อกุศลนั้นว่าโดยสาระ

เป็นอันเดียวกัน คือ มุ่งพิจารณาความเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล ต่อคุณภาพของชีวิตจิตใจ

อีกประการหนึ่ง การยอมรับหรือไม่ยอมรับของปราชญ์ การติเตียนหรือสรรเสริญของวิญญูนั้น

เมื่อมองอย่างกว้างๆ หรือมองในระดับสถาบัน และเมื่อว่าโดยส่วนใหญ่ มติของวิญญูหรือปราชญ์จะปรากฏ

อยู่ในรูปของบัญญัติทางศาสนาบ้าง

ขนบธรรมเนียมประเพณีบ้าง กฎหมายบ้าง เป็นต้น

แม้ว่าบทบัญญัติและสิ่งที่ถือตามกันมาเหล่านี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นมติของวิญญูเสมอไป และการปฏิบัติ

ที่ขัดแย้งแปลกออกไปจากบทบัญญัติและสิ่งที่ถือตามกันมาเหล่านี้ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อที่วิญญูติเตียน

เสมอไป แต่ก็พอจะพูดได้ว่า ส่วนที่แตกต่างนี้เป็นข้อยกเว้น ซึ่งเป็นกิจของวิญญูนั่นแหละที่ต้องสอบสวน

ตรวจตราในเรื่องเหล่านี้ในแต่ละกาลแต่ละสมัยแต่ละครั้งแต่ละคราวเรื่อยๆไป

จึงมักมีพุทธพจน์ตรัสสำทับว่า “อนุวิจฺจ วิญฺญู”* (วิญญญูใคร่ครวญแล้ว จึงติเตียนหรือสรรเสริญ คือยอมรับ

หรือไม่ยอมรับ) ก็ได้เป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติบัญญัติกันมาผิดๆ หรือ เคลื่อนคลาด

จากความหมายที่ถูกต้อง เช่น พระพุทธเจ้าทรงติเตียน ไม่ยอมรับระบบวรรณะ และการบูชายัญ เป็นต้น

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

* ดู ม.ม. 13/39/35-46/40: 553/500 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2010, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



เมื่อทำความเข้าใจกันอย่างนี้แล้ว ก็สรุปหลักเกณฑ์ตัดสินความดีความชั่ว หรือกรรมดี กรรมชั่ว

ทั้งตามแนวกรรมนิยามล้วนๆ และกรรมนิยามที่สัมพันธ์กับสังคมนิยมน์ ทั้งโดยสภาวะและโดยคุณค่า

ซึ่งเป็นคุณค่าโดยสภาวะบ้าง

คุณค่าตามที่กำหนดให้บ้าง ได้อีกสำนวนหนึ่ง มีสาระอย่างเดียวกับข้อสรุปข้างบนนั้นเอง แต่จัดจำแนก

ข้อต่างกัน มีใจความคาบเกี่ยวกัน ดังนี้



๑.ว่าโดยคุณโทษต่อชีวิต หรือต่อจิตใจและบุคลิกภาพ คือ เป็นสภาวะที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจหรือไม่

เอื้อหรือไม่ต่อคุณภาพชีวิต ส่งเสริมหรือบั่นรอนคุณภาพและสมรรถภาพของจิต ทำให้คุณธรรม

หรือ อกุศลธรรมทั้งหลายอื่นลดถอย หรือ เจริญงอกงาม ช่วยสร้างเสริมบุคลิกภาพที่ดีงามหรือไม่


๒. ว่าโดยคุณโทษต่อบุคคล คือ เป็นการเบียดเบียนตนหรือไม่ ทำให้ตนเดือดร้อนหรือไม่ เป็นไปเพื่อ

ทำลาย หรือ อำนวยประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น และแก่ส่วนรวม*


๓.ว่าโดยคุณโทษต่อสังคม คือ เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่ ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนหรือไม่ เป็นไปเพื่อ

ทำลาย หรือ อำนวยประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น และแก่ส่วนรวม


๔.ว่าโดยมโนธรรม หรือ โดยสำนึกอันมีตามธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ คือ พิจารณาเห็นด้วยความรู้สึก

ผิดชอบชั่วดีของตนเองว่า การนั้นเมื่อทำแล้ว ตนเองติเตียนหรือกล่าวโทษตนเองได้หรือไม่


๕. ว่าโดยมาตรฐานทางสังคม คือ ตามบัญญัติทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และสถาบันต่างๆทางสังคม

เช่น กฎหมาย เป็นต้น ซึ่งขึ้นต่อการใคร่ครวญตรวจสอบกลั่นกรองของวิญญูทั้งหลาย ตามกาลสมัย ที่จะมิให้

ถือกันไปโดยงมงาย หรือ ผิดพลาดคลาดเคลื่อน

ตลอดจนการใคร่ครวญแล้วยอมรับ หรือ ไม่ของวิญญูเหล่านั้นในแต่ละกรณี

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


* ข้อ ๒. ต่อจากข้อ ๑. ในแง่ที่มุ่งถึงผลซึ่งบุคคลจะได้ประสบในระดับแห่งวิถีชีวิต โดยเฉพาะความสุข

ความทุกข์ ความเจริญและความเสื่อมเสียหายอย่างเห็นๆ (บุคคลอาจไม่รู้จัก ไม่เข้าใจชีวิตจิตใจของเขา

เองด้วยซ้ำ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2010, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนจะพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการให้ผลของกรรมดี และ กรรมชั่วในหัวข้อถัดไป

ขอนำข้อความจากบาลีต่อไปนี้ มาอ้างเป็นหลักสำหรับความที่ได้กล่าวมาในตอนนี้


“ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? ได้แก่ กุศลมูล 3 คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยกุศลมูลนั้น

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลมูลนั้น เป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือ ธรรมเป็นกุศล”


“ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน? ได้แก่ อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่

ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบ

ด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือ ธรรม

เป็นอกุศล”


(อภิ.สํ.34/663/259)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.พ. 2014, 18:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2010, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“อันตรายมี 2 อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ และ อันตรายที่ปกปิด”

“อันตรายที่ปรากฏเป็นไฉน? ได้แก่ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า ฯลฯ

โจร ฯลฯ

โรคตา โรคหู โรคจมูก ฯลฯ

หนาว ร้อน หิว กระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ

สัมผัสเหลือบยุงลมแดด และ สัตว์เสือกคลาน เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ”


“อันตรายที่ ปกปิด เป็นไฉน? ได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์

ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ (ลบล้างปิดซ่อนความดีของผู้อื่น)

ความยกตัวกดเขาไว้ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด ความดื้อกระด้าง ความแข่งดี

ความถือตัว ความดูหมิ่น ความมัวเมา ความประมาท

ปวงกิเลส ปวงทุจริต ปวงความกระวนกระวาย ปวงความร่านรน ปวงความเดือดร้อน ปวงความปรุงแต่ง

ที่เป็นอกุศล เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปกปิด”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2010, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่ากระไร จึงชื่อว่าอันตราย ?

เพราะอรรถว่าครอบงำ...

เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม...

เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย...”


“ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าครอบงำ เป็นอย่างไร ?

คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมข่ม ย่อมกดขี่ ครอบงำ ท่วมทับ บันรอน ย่ำยี บุคคลนั้น...”


“ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร ?

คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ”


“ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย เป็นอย่างไร ?

คือ อกุศลธรรมชั่วร้ายเหล่านั้นเกิดขึ้นที่ภายในนั้น อาศัยอัตภาพอยู่ เหมือนกับสัตว์อาศัยรู ก็อยู่ในรู

สัตว์อาศัยน้ำ ก็อยู่ใน น้ำ สัตว์อาศัยป่า ก็อยู่ในป่า สัตว์อาศัยต้นไม้ ก็อยู่ที่ต้นไม้ ฯลฯ ”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


“สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังมีศิษย์อยู่ร่วมด้วย ยังมีอาจารย์คอยสอดส่อง*

(* เป็นสำนวนแบบเล่นคำ แปลตามศัพท์ว่า อยู่มีอันเตวาสิก มีอาจารย์) ย่อมอยู่เป็นทุกข์

ไม่ผาสุกสบาย

ภิกษุมีศิษย์อยู่ร่วมด้วย มีอาจารย์คอยสอดส่อง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่ผาสุกสบาย เป็นอย่างไร ?

กล่าว คือ พอจักษุเห็นรูป...พอโสตสดับเสียง....พอจมูกดมกลิ่น...พอลิ้นลิ้มรส...พอกายต้องสิ่ง

กระทบ...พอใจรู้ธรรมารมณ์

อกุศลธรรมชั่วร้าย ความดำริร่าน อันก่อกิเลสผูกรัดทั้งหลาย ก็เกิดขึ้นแก่ภิกษุ

อกุศลธรรมชั่วร้ายทั้งหลาย ย่อมอยู่อาศัย เที่ยววิ่งซ่านไปข้างในของเธอ เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอจึงถูกเรียก

ว่า มีลูกศิษย์อยู่ร่วมด้วย

อกุศลธรรมชั่วร้ายเหล่านั้น ย่อมคอยเรียกเร้าเธอ เพราะเหตุดังนั้น เธอจึงถูกเรียกว่ามีอาจารย์คอยสอด

ส่อง...”


“สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ เป็นมลทินภายใน

เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็นผู้จองล้างภายใน

สามประการนี้ คือ อะไร ?

ได้แก่ โลภะ โทสะ...โมหะ ฯลฯ”


“โลภะก่อความเสียหาย โลภะทำใจให้กำเริบ คนไม่รู้เท่าทันว่า มันเป็นภัยที่เกิดขึ้นข้างใน โลภเข้าแล้ว

ไม่รู้อรรถ โลภเข้าแล้วไม่เห็นธรรม พอความโลภเข้าครอบงำ เวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ

โทสะ ก่อความเสียหาย ฯลฯ

โมหะ ก่อความเสียหาย ฯลฯ (เหมือนกัน)”


“สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการเกิดขึ้นภายในตัวของคน ย่อมเกิดขึ้น

เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เพื่อความเป็นอยู่ไม่ผาสุก

สามประการ คือ อะไร ?

ได้แก่ โลภะ...โทสะ...โมหะ ฯลฯ”


“โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นข้างในตนเอง ย่อมบั่นรอนคนใจบาป เหมือนขุยไผ่บั่นรอนต้นไผ่ ฉะนั้น..”

(ขุ.ม.29/22/14-18; 728/436-441; 911/573-8 ฯลฯ )


“ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความทุกข์ เพื่อความเป็นอยู่ไม่ผาสุก สามประการคืออะไร ?

ได้แก่ โลภะ...โทสะ...โมหะ ฯลฯ”

(สํ.ส. 15403/142)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูลมี ๓ อย่างดังนี้

สามอย่าง คือ อะไร ?

ได้แก่ อกุศลมูล คือ โลภะ อกุศลมูล คือ โทสะ อกุศลมูล คือ โมหะ”


“แม้ตัวโลภะเองก็เป็นอกุศล

คนโลภแล้ว ปรุงแต่งกรรมใด ด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นอกุศล

คนโลภแล้ว ถูกความโลภครอบงำ มีจิตถูกโลภะบ่อนเสียแล้ว ย่อมหาเรื่องก่อความทุกข์แก่ผู้อื่น

โดยฆ่าเขาบ้าง จองจำบ้าง ทำให้สูญเสียบ้าง

ตำหนิโทษเอาบ้าง ขับไล่บ้าง ด้วยถือว่า ข้าฯ เป็นคนมีกำลัง ข้าฯ เป็นผู้ทรงกำลัง

แม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล

อกุศลธรรมชั่วร้ายเป็นอเนก ซึ่งเกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นต้นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด

มีโลภะเป็นปัจจัย เหล่านี้ ย่อมประดังมีแก่เขาด้วยประการฉะนี้”


“แม้ตัวโทสะเองก็เป็นอกุศล

คนมีโทสะแล้ว...ย่อมหาเรื่องก่อทุกข์แก่ผู้อื่น...แม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล

อกุศลธรรมชั่วร้ายเป็นอเนก... ย่อมประดังมีแก่เขาด้วยประการฉะนี้ ฯลฯ ”


“แม้ตัวโมหะเอง ก็เป็นอกุศล

คนโมหะแล้ว ปรุงแต่งกรรมใด ด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้น ก็เป็นอกุศล

คนมีโมหะแล้ว...ย่อมหาเรื่องก่อทุกข์แก่ผู้อื่น...แม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล

อกุศลธรรมชั่วร้ายเป็นอเนก...ย่อมประดังมีแก่เขาด้วยประการฉะนี้ ฯลฯ ”


“บุคคลเช่นนี้ ผู้ถูกอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดจากโลภะ...โทสะ...โมหะ ครอบงำแล้ว มีจิตถูกบ่อนแล้ว

ในปัจจุบันนี่เอง ก็อยู่เป็นทุกข์ มีความดั่งเครียด คับแค้น เร่าร้อน

เพราะกายแตกตายไป ก็เป็นอันหวังทุคติได้ เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อก็ตาม

ถูกเถาย่านทราย ๓ เถา ขึ้นคลุมยอด พ้นรอบต้นแล้ว ย่อมถึงความไม่เจริญ ย่อมถึงความพินาศ

ย่อมถึงความเสื่อม ความวอดวาย...”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล มี ๓ อย่างดังนี้

สามอย่าง คือ อะไร ?

ได้แก่ กุศลมูล คือ อโลภะ

กุศลมูล คือ อโทสะ

กุศลมูล คือ อโมหะ ฯลฯ” *


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

* องฺ.ติก. 20/509/258-268-263 (ท่านบรรยายเรื่องกุศลมูลไว้ด้วย แต่พึงทราบโดยนัยตรงข้าม

จากที่กล่าวแล้ว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุเพื่อความก่อกำเนิดแห่งกรรมทั้งหลายมี ๓ อย่างดังนี้

สามอย่าง คือ อะไร ?

ได้แก่ โลภะ...โทสะ..โมหะ...”


“กรรมใด กระทำด้วยโลภะ...โทสะ...โมหะ เกิดจากโลภะ...โทสะ..โมหะ...

มีโลภะ...โทสะ...โมหะ เป็นต้นเหตุ เป็นตัวก่อกำเนิด

กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป

(กรรมสมุทัย) ไม่เป็นไปเพื่อดับกรรม (กรรมนิโรธ)”


“ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุเพื่อความไม่ก่อกำเนิดแห่งกรรมทั้งหลาย มี ๓ อย่างดังนี้

สามอย่าง คือ อะไร ? ได้แก่ อโลภะ...อโทสะ...อโมหะ...”


“กรรมใด กระทำด้วยอโลภะ...อโทสะ...อโมหะ เกิดจากอโลภะ...อโทสะ..อโมหะ..

มีอโลภะ...อโทสะ..อโมหะ เป็นต้นเหตุ เป็นตัวก่อกำเนิด

กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไมมีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล

กรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อดับกรรม (กรรมนิโรธ) ไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป (กรรมสมุทัย)” *

(องฺ.ติก.20/551/338)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.พ. 2014, 18:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลาย พึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล

ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูติเตียน

ธรรมเหล่านี้ถือปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์

เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายพึงละเสีย”


“ดูกรกาลามชนทั้งหลาย พวกท่านสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ?
โลภะ...โทสะ...โมหะ เมื่อเกิดขึ้นภายในตัวของคน ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูล หรือเพื่อไม่เกื้อกูล”


(ตอบ: เพื่อไม่เกื้อกูล พระเจ้าข้า)


“คนที่โลภแล้ว...เคืองแค้นแล้ว...หลงแล้ว ถูกโลภ...โทสะ...โมหะครอบงำ มีจิตอันถูกบ่อนแล้ว

ย่อมสังหารชีวิตบ้าง ถือเอาของที่เขามิได้ให้บ้าง ล่วงภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง

ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นบ้าง ซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน


(ทูลรับ: จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า)


“ดูกรกาลามชนทั้งหลาย พวกท่านสำคัญความข้อนั้นว่า อย่างไร ?

ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ?


(ตอบ: เป็นอกุศล พระเจ้าข้า)


“ประกอบด้วยโทษ หรือไม่มีโทษ?


(ตอบ: ประกอบด้วยโทษ พระเจ้าข้า)


“ผู้รู้ติเตียน หรือผู้รู้สรรเสริญ ?


(ตอบ: ผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า)


“ธรรมเหล่านี้ ถือปฏิบัติถึงที่แล้ว เป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ หรือหาไม่ หรือว่าพวกท่าน

มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร ?


(ตอบ: เมื่อปฏิบัติถึงที่แล้ว เป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ พวกข้าพระองค์มีความเห็นในเรื่องนี้

ว่า อย่างนี้)


“โดยนัยดังนี้แล กาลามชนทั้งหลาย ข้อที่เราได้กล่าวไว้ว่า มาเถิด กาลามชนทั้งหลาย

ท่านทั้งหลาย อย่าถือโดยฟังตามกันมา ฯลฯ อย่าถือโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล ฯลฯ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย พึงละเสีย

ดังนี้นั้น เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลดังว่ามานี้”

(องฺ.ติกิ.20/505/243)

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


พึงศึกษาเรื่องกาลามชน Link นี้

viewtopic.php?f=7&t=27939

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้ เป็นคำสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศล กับพระอานนท์

ถามตอบปัญหาเกี่ยวกับความหมายของความดี ความชั่ว ซึ่งจะเห็นว่า ท่านเอาหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น

เข้าสัมพันธ์กันทั้งหมด



ราชา พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาแล้ว

กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่น เราไม่ยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้นโดยความเป็นแก่นสาร

ส่วนชนเหล่าใด เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา ใคร่ครวญ พิจารณาแล้ว กล่าวคุณหรือโทษ

ของชนเหล่าอื่น เราย่อมยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้น โดยความเป็นแก่นสาร


พระคุณเจ้าอานนท์ผู้เจริญ ความประพฤติทางกาย... ความประพฤติทางวาจา...ความประพฤติทางใจ

ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู จะพึงกล่าวโทษได้ คือ อย่างไหน ?

อานนท์: คือ ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่เป็นอกุศล มหาบพิตร


ราชา: ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่เป็นอกุศล คือ อย่างไหน ?

อานนท์: คือ ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีโทษ


ราชา: ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีโทษ คือ อย่างไหน ?

อานนท์: คือ ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีความบีบคั้น*


ราชา : ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีความบีบคั้น คือ อย่างไหน ?

อานนท์: คือ ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีทุกข์เป็นผล


ราชา: ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีทุกข์เป็นผล คือ อย่างไหน ?

อานนท์:คือ ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนก็ดี

เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นก็ดี เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายก็ดี ที่อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่ง

แก่เขา กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมถอยไป

มหาบพิตร ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ อย่างนี้แล ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้เป็นวิญญู จะพึงกล่าวโทษได้”

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

ขยายความ (ศัพท์)ข้างบนที่มี *


* ศัพท์ “สพฺยาปชฺฌ” เรามักแปลกันว่า มีความเบียดเบียน หรือประกอบด้วยความเบียดเบียน

แต่อรรถกถาทั้งหลายท่านได้แปลว่ามีทุกข์ หรือ ประกอบด้วยทุกข์ทั้งสิ้น

ไม่ว่าที่นี้หรือที่อื่น จะแปลว่า มีความคับข้องก็ดูดี

(อพฺยาปชฺฌ ที่ตรงข้าม ก็เช่นเดียวกัน) ดู ม.อ.3/321,99,332,508 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากนั้น ท่านได้ทูลตอบคำถามในฝ่ายกุศลโดยทำนองเดียวกัน ลงท้ายสรุปว่า


“ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีสุขเป็นผล คือ ความประพฤติ...ที่ไม่เป็นไปทั้งเพื่อ

เบียดเบียนตน ทั้งเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ที่อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อม

ถอย และกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่เขา

มหาบพิตร ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ อย่างนี้แล ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้เป็นวิญญู ไม่พึงกล่าวโทษได้”


(ม.ม.13/55.-4/500-3)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“คนอยากได้ใคร่ติดแล้ว...แค้นเคืองแล้ว...ลุ่มหลงแล้ว...ถูกราคะ...โทสะ...โมหะ ครอบงำแล้ว

มีจิตอันถูกบ่อนแล้ว ย่อมคิดการเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมคิดการเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดการเพื่อ

เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยโทมนัสเป็นทุกข์ทางจิตใจบ้าง

ครั้นละราคะ...โทสะ...โมหะ เสียได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดการเพื่อเบียดเบียนตน ไม่คิดการเพื่อเบียดเบียน

ผู้อื่น ไม่คิดการเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องเสวยโทมนัสเป็นทุกข์ทางจิตใจ”


“คนอยากใคร่ติดแล้ว ...แค้นเคืองแล้ว...ลุ่มหลงแล้ว...ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย...

ทางวาจา...ทางใจ

ครั้นละราคะ..โทสะ ...โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติทุจริตทางกาย...ทางวาจา..ทางใจ"


“คนอยากใคร่ติดแล้ว ...แค้นเคืองแล้ว...ลุ่มหลงแล้ว...มีจิตถูกบ่อนแล้ว...ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง

แม้ซึ่งประโยชน์ตน...แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น...แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ครั้นละราคะ..โทสะ ...โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน...แม้ซึ่งประโยชน์

ผู้อื่น...แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ฯลฯ”

(องฺ.ติก.20/511/278-9 ฯลฯ)


“บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้ เสวยผล

กรรมที่ทำนั้น ไม่ดี

“บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีจิตเอิบอิ่มดีใจ เสวยผล กรรมที่ทำนั้นแลดี”

(ขุ.ธ.25/15/23)

“คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง”

(ขุ.ชา.27/294/84)


“กรรมชั่ว ก็เหมือนน้ำนมรีดใหม่ๆ ย่อมไม่แปรเป็นผลในทันที

แต่กรรมชั่ว ย่อมตามมเผาลนคนพาลเหมือนไฟที่เถ้าปิดไว้”

(ขุ.ธ.25/15/24)


“บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้แล้ว (กลับตัวได้) หันมาทำดีปิดกั้น บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใส

เหมือนดังดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอก”

ขุ.ธ. 25/23/38

“ความดีที่ทำไว้เอง เป็นมิตรติดตามตัวสืบต่อไป”

สํ.ส.15/163/51

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร