วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_9370.jpg
IMG_9370.jpg [ 67.38 KiB | เปิดดู 5954 ครั้ง ]
(กรรม) กระทู้นี้ เข้าใจยากสักหน่อย เพราะต้องเข้าใจความหมายนิยาม ๕ อย่าง

กระทู้แรกมาพอสมควรก่อนแล้ว รวมทั้งแยกเรื่องที่สังคมบัญญัติกับกรรมทางธรรมชาติขาดจาก

กันได้

ยากจริงไม่จริงลองดูกันต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดี –กรรมชั่ว


ดังได้กล่าวแล้วว่า กรรมนิยาม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับจิตนิยาม และสังคมนิยมน์ และความสัมพันธ์

ใกล้ชิดนี้ อาจเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจสับสนได้ง่าย

ดังนั้น การที่จะเข้าใจเรื่องกรรมและความดีความชั่วให้ชัดเจน จะต้องแยกขอบเขตระหว่างนิยาม และ นิยมน์

เหล่านี้ให้ได้ก่อน

กรรมนิยาม อาศัยจิตนิยามเหมือนซ้อนอยู่บนจิตนิยามนั่นเอง แต่จุดตัดแยกระหว่างกรรมนิยามกับจิตนิยาม

ก็ชัดเจน กล่าวคือ เจตนา เป็นเนื้อหาสาระและเป็นตัวทำการของกรรมนิยาม ทำให้กรรมนิยามเป็นอิสระออกมา

เป็นนิยามหนึ่งต่างหาก หรือทำให้มนุษย์เป็นอิสระมีบทบาทเป็นของตนเองต่างจากนิยามอื่นๆ สามารถสร้าง

โลกแห่งเจตน์จำนงของตนเองขึ้นมาได้ จนถึงกับยกตนขึ้นเทียมเท่าหรือแข่งขันกับธรรมชาติ

และแบ่งแยกว่าตนมีโลกแห่งการประดิษฐ์สร้างสรรค์ต่างหากจากโลกของธรรมชาติ

เจตนา อาศัยกลไกของจิตนิยามเป็นเครื่องมือในการทำงาน และเมื่อเจตนาทำกรรมอย่างใด

อย่างหนึ่งขึ้นแล้ว กระบวนการก่อผลก็ต้องอาศัยจิตนิยามนั่นแหละดำเนินไป เปรียบได้กับคนขับเรือยนต์

คนขับเหมือนเจตนาที่อยู่ฝ่ายกรรมนิยาม เครื่องเรือทั้งหมดเหมือนกลไกและองค์ประกอบต่างๆของจิต

ที่อยู่ฝ่ายจิตนิยาม

คนขับเรือต้องอาศัยเครื่องเรือ แต่เครื่องเรือจะพาเรือ คือ ชีวิตที่พร้อมด้วยร่างกายไปสู่ที่ไหนอย่างไร

คนขับเรือเป็นอิสระที่จะทำและเป็นผู้รับผิดชอบทำให้เป็นไป

คนขับเรือ ทั้งอาศัยและทั้งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากเรือแล้วรับผิดชอบต่อความเป็นไปของเรือที่พร้อมทั้งเครื่องเรือ

และตัวเรือด้วย

เหมือนกรรมนิยาม ทั้งอาศัยและทั้งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากจิตนิยามแล้วรับผิดชอบต่อความเป็นไปของชีวิต

ที่พร้อมทั้งจิตและกายด้วย

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกรรมนิยามกับจิตนิยามนี้ ไม่สู้มีปัญหา เพราะไม่สู้มีเรื่องที่มนุษย์เอาใจใส่

และไม่ว่า

มนุษย์จะใส่ใจรู้เรื่องของมัน หรือ แม้แต่รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม มันก็เป็นไปตามปกติของมันเรื่อยไป

อย่างมองไม่เห็นตัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้านที่เป็นปัญหาสับสนอย่างมากก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมนิยาม กับ สังคมนิยมน์ ซึ่งมักมีปัญหา

เกี่ยวกับความดีและความชั่ว ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ที่ว่าทำดี ทำชั่วเป็นความจริงที่แท้หรือไม่ อะไรเป็น

เกณฑ์แบ่งว่าอะไรดี อะไรชั่ว



ในเรื่องนี้ มีคนพูดกันไม่น้อยพูดกันบ่อยๆ ว่า ความดีและความชั่วเป็นเรื่องของคนหรือสังคมบัญญัติกันขึ้น

การกระทำอย่างเดียวกัน สังคมถิ่นหนึ่งหรือสมัยหนึ่งว่า ดี

อีกถิ่นหนึ่ง หรืออีกสมัยหนึ่งว่าไม่ดี

การกระทำอย่างเดียวกัน สังคมหนึ่งบัญญัติให้สมาชิกต้องกระทำ

แต่อีกสังคมหนึ่งบัญญัติให้สมาชิกต้องละเว้น เช่น สังคมคนป่าบางพวกบัญญัติว่าฆ่าคนพวกอื่นเป็นความดี

แต่สังคมที่เจริญแล้วบัญญัติว่าฆ่ามนุษย์เป็นความชั่วทั้งนั้น

บางศาสนาบัญญัติว่าฆ่าสัตว์ที่เป็นอาหารไม่บาป

บางศาสนาสอนว่า การเบียดเบียนสัตว์ไม่ว่าชนิดใดไม่ดีทั้งนั้น

สังคมบางถิ่นบัญญัติว่าหญิงมีสามีมากหลายได้เป็นความดี

สังคมบางถิ่นว่า หญิงดีต้องมีสามีเดียว ถ้าให้ดียิ่งขึ้นเวลาสามีตายต้องโดดเข้าเผาตัวตายตามสามีไปในกองไฟ

ที่เผาศพสามีด้วย

บางสังคม ถือว่าเด็กต้องเคารพต่อผู้สูงอายุกว่า และต้องเชื่อฟังไม่โต้เถียง มิฉะนั้น เป็นการไม่ดี

อีกบางสังคมถือว่าการเคารพกันไม่เกี่ยวกับวัยและทุกคนควรถกเถียงหาเหตุผลกัน ดังนี้เป็นต้น


คำที่ว่า ความดีความชั่วเป็นของมนุษย์และสังคมสมมุติบัญญัติกันขึ้นมาเองนี้ เป็นความจริงอยู่มากทีเดียว

แต่ถึงแม้จะเป็นจริงอย่างนั้น ก็ไม่เกี่ยวข้องในแง่ที่จะกระทบกระเทือนต่อกรรมนิยามแต่ประการใด

และก็ไม่น่าจะต้องเอา มาสับสนกันเรื่องกรรมนิยามด้วย

เรื่องความดีความชั่วที่เป็นบัญญัติของสังคม ก็เป็นเรื่องของบัญญัติสังคมหรือสังคมบัญญัติ

เรื่องความดีความชั่วหรือว่าให้ถูกคือกุศลและอกุศล ที่เป็นเรื่องของกรรมนิยาม ก็เป็นเรื่องของกรรมนิยาม

แม้ทั้งสองอย่างนี้จะสัมพันธ์กัน แต่ก็เป็นคนละเรื่องกัน มีจุดตัดแยกระหว่างกันชัดเจน

ความสับสนเกิดจากการนำเอาความดีความชั่วของสังคมนิยมน์ไปปะปนกับความดีความชั่ว คือ กุศลและอกุศล

ของกรรมนิยาม ที่เป็นคนละแดนกัน และไม่รู้จุดตัดแยกที่ถูกต้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอย้ำอีกครั้งว่า ความดีความชั่วที่เป็นบัญญัติของสังคม ก็เป็นเรื่องของสังคมอยู่ในขอบเขตของสังคมนิยมน์

กุศลอกุศล ที่เป็นคุณสมบัติของกรรม ก็เป็นเรื่องของกรรมอยู่ในกรรมนิยาม ป็นเรื่องต่างหากกัน แต่สัมพันธ์กัน

สิ่งที่เป็นทั้งตัวการสร้างสัมพันธ์และเป็นทั้งจุดตัดแยกระหว่างกันของนิยามและนิยมน์ทั้งสองนี้ ก็เช่นเดียวกับ

ในกรณีระหว่างกรรมนิยาม กับ จิตนิยาม คือได้แก่เจตนาหรือเจตน์จำนงนั่นเอง

เรื่องนี้เป็นอย่างไร พึงช่วยกันพิจารณาต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ว่าด้วยเรื่อง "กรรม"
กระทู้โน้นกำลัง "แก้กรรม" กันอยู่ค่ะจารย์
อีกเดี่ยวคงจะ "เบิกบุญ" "โอนกรรม"


อ้างคำพูด:
ต่อลิงค์นี้

เฮ้ออ...กรรมเยอะจริงๆ :b9: (อ่านไม่ทัน)
ไม่ทันชาตินี้ ขออ่านต่อชาติหน้านะคะจารย์ :b13:
นอกจากอ่านไม่ทันแล้ว ยังเข้าใจยากอีกตะหาก :b23:

จารย์คะมีคำถาม :b10: ทำไม...ถึงแก่กรรม = ตาย
:b34: ไม่น่าถาม รึเปล่าคะ งั้นไม่ต้องตอบก็ได้ค่ะ :b8:
ถึงตอนนั้นคงทราบเองว่า ทำไม :b13:

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อ้างคำพูด:
(กรรม) กระทู้นี้ เข้าใจยากสักหน่อย เพราะต้องเข้าใจความหมายนิยาม ๕ อย่าง

กระทู้แรกมาพอสมควรก่อนแล้ว รวมทั้งแยกเรื่องที่สังคมบัญญัติกับกรรมทางธรรมชาติขาดจาก

กันได้

ยากจริงไม่จริงลองดูกันต่อไป


อ้างคำพูด:
แม่มด พิจารณากรรม (กรรมนิยาม) ทางศาสนาต่อเตอะ หากอ่านแล้วเข้าใจจะมีรางวัลให้ :b36:


จริงๆ นะคะจารย์ ...ถึงจะเห็นแก่ :b36: เพียงใด แต่.....คงจะไม่ไหวมังคะ
จารย์แนะนำให้อ่าน ก็จะอ่านค่ะ :b8: :b9: แต่คงต้องหลายๆ เที่ยวหน่อย :b12:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 15 ก.พ. 2010, 15:39, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออภัยค่ะ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 14 ก.พ. 2010, 16:16, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม่มด พิจารณากรรม (กรรมนิยาม) ทางศาสนาต่อเตอะ หากอ่านแล้วเข้าใจจะมีรางวัลให้ :b36:


สิ่งที่สังคมบัญญัติ เมื่อมองจากแง่ของกรรมนิยาม อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทคือ


๑) สิ่งที่บัญญัตินั้น ไม่เกี่ยวกับ กุศล และ อกุศลในกรรมนิยามโดยตรง แต่สังคมบัญญัติขึ้น เพื่อวัตถุ

ประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งของสังคมเอง เช่น เพื่อให้คนทั้งหลายในสังคมนั้นอยู่ร่วมกันด้วยดี

มีความสงบสุข เป็นทำนองข้อตกลงหรือพันธสัญญาระหว่างกัน

ในกรณีเช่นนี้ สิ่งที่บัญญัตินั้นอาจเป็นเครื่องช่วยให้สังคมอยู่ดีมีความสงบสุขได้จริง หรืออาจไม่จริงก็ได้

อาจเป็นประโยชน์แก่สังคมจริง หรืออาจเป็นโทษก็ได้

ทั้งนี้ แล้วแต่ว่า ข้อกำหนดนั้นได้บัญญัติกันขึ้นมาด้วยความรู้ความเข้าใจกว้างขวางรอบคอบเพียงพอหรือไม่

หรือว่าคนที่ทำหน้าที่บัญญัติมีความสุจริตใจหรือไม่ เป็นต้น

บัญญัติเช่นนี้ มีมาในรูปต่างๆ อาจเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนกฎหมาย

ดีหรือชั่วในกรณีอย่างนี้ เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์ อาจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาและแตกต่างกันไปนานัปการ

แต่จะเปลี่ยนต่างไปอย่างไร ก็ไม่ใช่เรื่องของกรรมนิยาม จะต้องแยกไว้ต่างหาก ไม่ควรเอามาปนเปสับสน

และเมื่อคนใดฝ่าฝืนละเมิดบัญญัตินั้น สังคมจะลงโทษอย่างไร ก็เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์

ไม่ใช่เรื่องของกรรมนิยาม ให้แยกออกไปอย่างนี้เสียส่วนหนึ่งก่อน

ต่อจากนี้ จึงพิจารณาส่วนที่บัญญัติของสังคมนิยมน์ก้าวเข้ามาเกี่ยวข้องกับขอบเขตของกรรมนิยาม กล่าวคือ

เมื่อคนในสังคมยอมรับบัญญัตินั้นกันแล้ว ไม่ว่าบัญญัตินั้นจะเป็นอย่างไร จะดีงามหรือเป็นประโยชน์แท้จริง

หรือไม่ก็ตาม

ในเวลาที่คนผู้ใดผู้หนึ่งในสังคมนั้นจะไม่ปฏิบัติตาม จะฝ่าฝืนหรือละเมิดบัญญัตินั้น

เขาจะเกิดมีเจตนาที่จะฝ่าฝืนละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามขึ้นมาทันที * และเขาจะตระหนักรู้ต่อเจตนาของเขานั้น

อย่างไม่อาจปิดบังหรือหลอกตนเองได้

เจตนานี้แหละ คือ จุดตั้งต้นของกรรมนิยาม และเป็นเรื่องของกรรมนิยาม



สังคมหลายแห่ง อาจพยายามสืบเอาเจตนานี้ไปประกอบการพิจารณาในการตัดสินลงโทษด้วยว่า เขาผู้นั้น

ทำการละเมิดด้วยเจตนาหรือไม่ แต่นั่น ก็เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์

แสดงว่า สังคมนั้นฉลาดรู้จักถือเอาประโยชน์จากกรรมนิยามไปใช้ในทางสังคม ไม่ใช่เรื่องของกรรมนิยาม

ส่วนในเรื่องของกรรมนิยามเองนั้น ไม่ว่าสังคมจะสืบส่วนเอาเจตนานั้นไปใช้หรือไม่ หรือจะได้ล่วงรู้ว่าได้มี

การละเมิดเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม

กรรมนิยาม ก็ได้เริ่มทำงานของมัน ตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเกิดมีเจตนาและใช้เจตนาทำการล่วงละเมิดเป็นไป

กล่าว คือ กระบวนการก่อวิบากได้เริ่มดำเนิน และ บุคคลนั้นเริ่มได้รับผลของกรรมตั้งแต่บัดนั้นไป

จะเห็นได้ว่า ในความเป็นไปเช่นนี้ เรื่องที่ว่าบัญญัติของสังคมนั้นจะดีหรือชั่วจริงหรือไม่

ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาในแง่ของสังคมนิยมน์ไป ไม่เกี่ยวข้องกับกรรมนิยามโดยตรง

กรรมนิยาม เกี่ยวข้องเพียงการรับรู้ และ ใจยอมรับอย่างใดอย่างหนึ่งต่อข้อกำหนดตามที่สังคมนิยมน์ไว้นั้น

และดำเนินจากจุดเริ่มที่จิตมีกิจกรรมต่อข้อกำหนดนั้น คือ เริ่มจากเกิดเจตนาเป็นต้นไป เมื่อจัดเข้าในระบบ

ของชีวิตทางธรรม ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องในขั้นศีล

และนี้เป็นจุดที่กฎเกณฑ์ของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวพันกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ซึ่งจะต้องแยกขอบเขตกันให้ดี

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

ขยายความข้างบนที่มี *

* ส่วนที่ว่านี้ เป็นการพิจารณาชั้นเดียวก่อน ในกรณี เรื่องอาจซับซ้อนกว่านี้ได้ โดยมีองค์ประกอบอื่นเข้ามา

เกี่ยวข้องด้วย เช่น ปัญญาที่จะยอมรับหรือไม่ อย่างไร ซึ่งมีผลต่อเจตนา ทำให้เป็นเจตนาละเมิดหรือไม่

อ่อนหรือแก่เป็นต้น อันจะต้องวิเคราะห์กันอีกชั้นหนึ่ง

แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม เมื่อนึกคิดขึ้นมา ก็เป็นอันต้องมีเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง และมีผลต่อชีวิต

จิตใจทุกทีไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อที่ว่าบัญญัติว่าดี หรือ ชั่วของสังคม จะเป็นของแท้จริงหรือไม่ เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์

ไม่เกี่ยวข้องกับกรรมนิยามโดยตรง
หมายความว่ายังมีแง่ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อมได้ เช่น สังคมถือข้อปฏิบัติกันมา

อย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งดีงามถูกต้อง ทุกคนต้องปฏิบัติ

ต่อมาเกิดผู้มีปัญญาคนหนึ่งมองเห็นว่า ข้อปฏิบัตินั้นไม่ดีจริง ไม่เป็นประโยชน์หรือถึงกับเป็นผลร้ายแก่สังคมนั้น

บุคคลผู้นั้นอาจเพียรพยายามชี้แจงให้ชนร่วมสังคมทั้งหลายเข้าใจตาม พยายามแก้ไขข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้นั้น

และอาจถึงกับไม่ยอมทำตามข้อปฏิบัตินั้นเสียทีเดียว

ในกรณีเช่นนี้ การกระทำของบุคคลผู้นั้นมิใช่เกิดจากเจตนาขุ่นมัวของผู้ที่จะละเมิดเหมือนอย่างในกรณีก่อน

แต่เกิดจากเจตนาอันประกอบด้วยปัญญาของผู้ที่จะแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขของมนุษย์ทั้งหลายเป็นต้น

เนื้อหาที่จะเป็นไปในกรรมนิยาม จึงไม่เหมือนกนสุดแต่คุณสมบัติของเจตนานั้น แต่มีข้อสำทับว่า เจตนาที่

กระทำนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม ผู้กระทำย่อมรู้ตระหนักตามที่มันเป็น และเขาจะต้องรับผลในแง่ของกรรมนิยาม

ตามเจตนานั้น เขาอาจปิดบังปิดบังและหลอกสังคมได้ แต่ไม่อาจปิดบังใจตนเองหรือหลอกกฎธรรมชาติได้

พูดอย่างสั้นๆ ตัวกำหนดในกรรมนิยาม อยู่ที่ว่าเจตนาเป็นกุศล หรือ อกุศลนั่นเอง

เมื่อว่าโดยทั่วไป หรือ สำหรับกรณีทั่วไป การไม่ปฏิบัติตามบัญญัติอย่างใดอย่างหนึ่งของสังคมจะชื่อว่า

ไม่เป็นการฝ่าฝืน หรือ ละเมิดและไม่เป็นไปด้วยเจตนาที่จะละเมิด ก็ต่อเมื่อสังคมนั้น ได้ตกลงพร้อมใจกัน

ยกเลิกบัญญัตินั้นแล้ว หรือยอมรับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัญญัตินั้นแล้ว

พูดอีกภาษาหนึ่งว่า ต่อเมื่อนั้น จึงจะไม่เป็นการเสียความซื่อสัตย์ หรือ ทรยศต่อสัญญาประชาคม




ความที่ว่ามานี้ พอจะอธิบายได้ด้วยตัวอย่างง่ายๆ

สมมุติว่า คนสองคนมาอยู่ร่วมกัน เพื่อให้การอยู่ร่วมกันนั้นเป็นไปด้วยดี อำนวยความสุขและเกื้อกูลแก่การ

ดำเนินชีวิตของทั้งสองฝ่าย

เขาจึงได้วางกติกากันไว้เช่นว่า เขาทั้งสองทำงานคนละแห่ง กลับถึงบ้านไม่พร้อมกัน แต่ควรจะรับประทาน

อาหารเย็นพร้อมกัน

ครั้นจะรอกันอย่างไม่มีขอบเขตก็ไม่ได้ จึงให้แต่ละคนต้องไม่รับประทานอาหารเย็น ๑๙.๐๐ น.

บรรดาเขาทั้งสองนั้น คนหนึ่งชอบแมว ไม่ชอบสุนัข

อีกคนหนึ่งชอบสุนัข ไม่ชอบแมว

เพื่อความสงบสุขให้ถือว่า การนำสัตว์เลี้ยงใดๆเขามาในบ้านเป็นความไม่ดีงามไม่สมควร

เมื่อตกลงวางกติกากันอย่างนี้แล้ว

ถ้าเขาคนใดคนหนึ่ง จะทำการใดที่ไม่เป็นไปตามกติกานั้น เจตนาที่จะละเมิดก็ย่อมเกิดขึ้นและกรรม

ก็เกิดขึ้นตามกรรมนิยาม

ทั้งๆที่เมื่อว่าโดยสภาวะแล้ว การรับประทานอาหารก่อน ๑๙.๐๐ น. ก็ดี

การนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบ้านก็ดี จะเป็นความดีหรือความชั่วโดยตัวของมันเองก็หาไม่

คนคู่อื่นอาจวางกติกาที่ตรงข้ามจากนี้ก็ได้

และในกรณีที่ต่อมาคนใดคนหนึ่งในเขาทั้งสองนั้น พิจารณาเห็นว่า กติกาที่ได้วางไว้ไม่เป็นไปเพื่อผลดี

แก่ชีวิตร่วมกันของเขาทั้งสอง เขาก็จะต้องยกขึ้นมาพูดให้ตกลงยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกติกานั้นก่อน

การที่จะไม่ปฏิบัติตามของเขาจึงจะเป็นไปได้โดยไม่ประกอบด้วยเจตนาที่จะละเมิดหรือฝ่าฝืน


วินัยที่นับว่า เป็นส่วนหนึ่งของศีลก็เป็นไปในลักษณะอย่างนี้

เรื่องความดีความชั่ว ความผิดความถูกที่เป็นบัญญัติอันไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสังคม

กับความเป็นไปแห่งกุศลและอกุศล อันแน่นอนของกรรมนิยาม มีขอบเขตที่แยกกันได้ และมีความสัมพันธ์เนื่อง

ถึงกัน อันพึงเข้าใจได้โดยนัยนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อิ อิ :b4: :b4:

เอามาฝากเป็นพิธี...เพื่อ...ให้เข้ากับบรรยากาศ...

มีสามอัน...ก็มาแบ่งกันกิน...สามคน

จานป้อ เพื่อนม๊ด และไบกอน...


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 14 ก.พ. 2010, 19:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

จัยจร้า...เพื่อนเอกอนที่น่าร๊าาาก...(มีเบิ้ลด้วย)


จารย์คะจารย์ ลืมอะไรหรือป่าวคะ.. :b20:
รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 14 ก.พ. 2010, 21:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




ibrahims_250.gif
ibrahims_250.gif [ 25.53 KiB | เปิดดู 5753 ครั้ง ]
สาธุๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 พ.ค. 2010, 17:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) สิ่งที่บัญญัตินั้น กระทบถึงกุศล และ อกุศลในกระบวนการของกรรมนิยามด้วย

ในกรณีเช่นนี้ สังคมอาจบัญญัติความดีความชั่วด้วยความรู้ความเข้าใจว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล

คือรู้ว่าอะไรเกื้อกูล อะไรเป็นโทษแก่ชีวิตจิตใจของมนุษย์ หรืออาจบัญญัติด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจเลยก็ได้

แต่ไม่ว่า สังคมจะบัญญัติว่าอย่างไรก็ตาม ความเป็นไปตามกรรมนิยาม ก็ย่อมเป็นไปของมันตามปกติ

หาได้เปลี่ยนไปตามบัญญัติของสังคมไม่ ยกตัวอย่าง

สมมุติว่า ในสังคมหนึ่ง คนถือกันว่าการเสพสิ่งเสพติดมึนเมาเป็นการกระทำที่ดีงาม ทำให้คนมีความสุข

ควรสนับสนุน

ถือว่าการมีอารมณ์รุนแรงเป็นสิ่งดี

ถือว่าควรปลุกเร้าคนให้ตื่นเต้นเคร่งเครียด อยากได้อยากเอาวิ่งหาแข่งขันอยู่เสมอจะได้ทำงานสร้างสรรค์

ได้มาก

ถือว่าฆ่าคนพวกอื่นเป็นความดี

หรือประณีตขึ้นมาอีกว่า ฆ่าสัตว์ดิรัจฉานไม่บาป เป็นต้น

กรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าความดีความชั่วในสังคมนิยมน์ ขัดกับกุศลและอกุศลในกรรมนิยาม

ถ้ามองในแง่สังคม บัญญัติหรือข้อยึดถือเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดผลดีบ้าง ผลร้ายบ้างแก่สังคม เช่น

การถือว่าเสพสิ่งเสพติดมึนเมาเป็นการดี อาจทำให้คนจำนวนมากในสังคมนั้นเป็นคนเฉื่อยชาเกียจคร้าน

สังคมนั้น มีอาชญากรรมเช่นลักขโมยมา มีคนเจ็บป่วยไม่สมประกอบเนื่องจากเหตุนี้ เป็นต้น

หรือการมีชีวิตที่เคร่งเครียดแข่งหาแข่งเอาตลอดเวลา อาจทำให้สังคมนั้นเจริญก้าวหน้าอย่างมากและรวดเร็ว

แต่ต่อมาอาจปรากฏว่าสังคมนั้นมีคนเป็นโรคจิตและโรคหัวใจกันมาก มีการฆ่าตัวตายมาก มีปัญหาทางจิต

และปัญหาสังคมอื่นๆ มากผิดปกติ

หรือในสังคมที่ถือว่า ฆ่าคนพวกอื่นได้เป็นการดี คนของสังคม มีลักษณะที่ปรากฏแก่คนพวกอื่นว่าเป็นมนุษย์

ที่โหดร้ายควรหวาดระแวง ไม่น่าไว้วางใจ เป็นต้น

ผลต่างๆที่ปรากฏในระดับสังคมเช่นนี้ หลายอย่างอาจสืบเนื่องมาจากกรรมนิยามด้วย

แต่กระนั้นในเบื้องแรกผลที่เป็นไปในด้านสังคม ก็พึงมองในแง่สังคม

ผลในด้านกรรมนิยาม ก็พึงพิจารณาในแง่กรรมนิยาม แยกต่างหากจากกันก่อน

เสร็จจากนั้นแล้วจึงค่อยโยงเข้ามาหากันในภายหลัง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน



ว่าถึงผลในด้านกรรมนิยาม เจตนาในเรื่องนี้ซ้อนกันอยู่เป็นสองชั้น คือ เจตนาที่ประกอบด้วยความยึดถือ

ตามบัญญัตินั้น ที่แสดงออกเป็นความเชื่อถือและค่านิยม เป็นต้น

และเจตนาในการกระทำตาม หรือ ไม่ยอมกระทำตามบัญญัติในเฉพาะคราวนั้นๆ

แต่ไม่ว่า ในกรณีใด การได้รับผลตามกรรมนิยาม ย่อมเริ่มดำเนินในทันที เริ่มแต่ตั้งเจตนา เช่น

คนที่จะเสพสิ่งเสพติดมึนเมา พอจะเสพเจตนาก็ประกอบด้วยความกระหยิ่มอย่างมัวซัว เมื่อเสพเป็นนิตย์

ก็สั่งสมสภาพจิตอย่างนั้นเป็นนิสัย

คนที่เคร่งเครียดแข่งหาแข่งเอา จะทำงานแต่ละครั้ง เจตนาก็ประกอบด้วยความเครียดเร่งร้อน

และสั่งสมสภาพจิตเช่นนั้นไว้

คนที่ตั้งหน้า ฆ่าผู้อื่น แม้จะได้รับความยกย่องและรางวัลในสังคมของพวกตน

แต่ในการกระทำ คือ การฆ่าแต่ละครั้งก็ตั้งเจตนาที่ประกอบด้วยความขึ้งเครียดเ หี้ ยมเกรียมหรือกระเ หี้ ยน

กระหือรือ

หากปล่อยใจไปเรื่อยๆ ก็จะมีการสั่งสมสภาพจิตเช่นนั้นจนอาจกลายเป็นบุคลิกภาพทั้งหมดของเขา

คุณภาพของจิตจะเป็นไปในทางที่หยาบมากขึ้น แต่เสื่อมเสียความประณีต ความนุ่มนวลละมุนละไม

และความละเอียดลึกซึ้งเป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ค. 2010, 14:01, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



เจตนา แปลว่า ความจำนง ความจงใจ ความตั้งใจ

เรามักพูดถึง เจตนา บ่อย ๆ ต่อนี้พึงพิจารณาว่า ตรงกับความเข้าใจตนไหม พึงพิจารณาต่อไปนี้



:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

พึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า เจตนา สักเล็กน้อย

เจตนา ในทางธรรม มีความหมายละเอียดอ่อนกว่าที่เข้าใจกันทั่วไปในภาษาไทย

กล่าวคือ ในภาษาไทยมักใช้เจตนาต่อเมื่อต้องการเชื่อมโยงความคิดที่อยู่ภายใน กับการกระทำที่แสดง

ออกมาในภายนอกเช่นว่า พูดพลั้งไป ไม่ได้เจตนา หรือ เขากระทำการโดยเจตนา เป็นต้น


แต่ในทางธรรม คือตามหลักกรรมนี้ การกระทำ การพูดที่แสดงออกภายนอกโดยจงใจก็ดี

ความคิดต่างๆ แม้เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น ๆ ชั่วครู่ชั่วขณะแล้วผ่านไปๆ ภายในจิตใจก็ดี

การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ดี

ความรู้สึกและท่าทีของจิตใจต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ประสบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ระลึกหรือนึกขึ้นมา

ในใจก็ดี ล้วนมีเจตนาประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น


เจตนาจึงเป็นเจตน์จำนง ความจงใจ การเลือกอารมณ์ของใจ ตัวนำที่หันเหชักพาทำให้จิตเคลื่อนไหว

โน้มน้อมไปหา หรือ ผละไปจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมุ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

เป็นหัวหน้าเป็นผู้จัดการ หรือ เจ้ากี้เจ้าการของจิตว่าจะเอาอะไรไม่เอาอะไร กับเรื่องใดอย่างไร

เป็นตัวการจัดแจงแต่งวิถีทางของจิต และในที่สุดก็เป็นตัวการปรุงแต่งจิตนั้นให้เป็นไปต่างๆ

เมื่อเจตนาเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ก็คือกรรมเกิดขึ้นทีหนึ่ง

เมื่อกรรมเกิดขึ้นแล้ว ก็มีผลทันที เพราะเมื่อเจตนาเกิดขึ้น ก็คือมีกิจกรรมเกิดขึ้นในจิตแล้ว

จิตมีการเคลื่อนไหว หรือไหวตัวแล้ว

แม้เป็นเพียงความคิดอะไรเล็กน้อย ซึ่งถึงจะไม่มีผลอะไรสำคัญ แต่ก็ไม่ไร้ผลเสียเลย

อย่างน้อย ก็เป็นละอองกรรมอันละเอียดที่สั่งสม หรือ พอกเข้าไว้เป็นเครื่องปรุงแต่งคุณสมบัติ

ของจิตอยู่ภายใน

เมื่อมากขึ้น เช่น จิตเสพความคิดนั้นบ่อยๆ หรือความคิดนั้นรุนแรงขึ้นจนออกมาภายนอก

ผลก็แรงขึ้นขยายออกมาเป็นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ เป็นต้น


เช่น เจตนาในการทำร้าย ไม่ต้องพูดถึงกรรมร้ายแรงถึงขั้นจะฆ่าคน

แม้แต่การทำลายสิ่งของที่เล็กๆน้อยๆ เหลือเกิน ถ้าทำด้วยเจตนาทำร้าย คือประกอบด้วยโทสจิต

หรือมีความโกรธ

อย่างคนฉีกกระดาษด้วยความฉุนเฉียว ทั้งที่กระดาษนั้นไม่มีคุณค่าสำคัญอะไร

แต่ย่อมมีผลต่อสุขภาพจิตหาเหมือนกันไม่ กับการฉีกกระดาษของคนที่ทำด้วยจิตปกติ

โดยรู้ว่า จะไม่ใช้กระดาษนั้นแล้ว เมื่อทำการอะไรๆ ด้วยเจตนาอย่างนั้นบ่อยๆ

ผลแห่งการสั่งสมก็จะปรากฏชัดยิ่งขึ้น และอาจขยายกว้างออกไปในระดับต่างๆโดยลำดับ

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ค. 2010, 14:40, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

เปรียบเหมือน ฝุ่นละอองที่ปลิวเข้ามาในห้องทีละเล็กละน้อยอย่างที่มิได้สังเกตเลย ย่อมไม่มีส่วนใด

ที่ไร้ผลเสียเลย

แต่ผลนั้นจะสำคัญแค่ไหน นอกจากเป็นไปตามความแรงและปริมาณของสิ่งที่สั่งสมแล้ว ยังสัมพันธ์กับ

คุณภาพและการใช้งานของจิตในระดับต่างๆอีกด้วย

ฝุ่นละอองปลิวลงจับท้องถนน กว่าจะทำให้รู้สึกสกปรก ก็ต้องมีปริมาณมากมาย

ฝุ่นละอองปลิวลงบนพื้นเรือน แม้น้อยกว่านั้น ก็รู้สึกสกปรก

ฝุ่นละอองน้อยกว่านั้น ลงจับโต๊ะเขียนหนังสือ ก็สกปรก และรบกวนงาน

น้อยกว่านั้นอีก ลงจับกระจกเงาส่องหน้า ก็รู้สึกเปื้อนและกระทบการใช้งาน

ธุลีละอองนิดเดียวลงจับแว่นตา ก็รู้สึกได้และทำให้การเห็นพร่ามัวได้

อุปมาอย่างอื่น เช่น เอามีดขีดที่พื้นถนน ที่พื้นห้อง ที่กระจกแว่นตา ก็ทำนองเดียวกัน



ส่วนในด้านตรงข้ามก็พึงเห็นได้เช่น การใช้ผ้ากำมะหยี่ หรือ สำลีเล็กน้อยเช็ดพื้นห้องจนถึงเช็ดแว่นตา

เป็นต้น

รวมความ คือ เจตน์จำนง คือ เจตนา หรือ กรรมนั้น แม้เล็กน้อย ก็มิได้ไร้ผล

อาจอ้างพุทธศาสนสภาษิตว่า

“กรรมดีหรือชั่วทุกอย่างที่คนสั่งสมไว้ ย่อมมีผล ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลย

ย่อมไม่มี”

(ขุ.ชา. 27/2054/413 (แต่ไม่พึงสับสนกับเรื่องกรรมที่ไม่ให้ผลในระดับวิถีชีวิตภายนอก)

และว่า

“กรรมไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย”

(ขุ.ชา. 28/864/306)

อย่างไรก็ตาม ผลทางด้านกรรมนิยามในระดับจิตใจนี้ คนจำนวนมากคอยจะมองข้าม ไม่เห็นความสำคัญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 มี.ค. 2010, 19:16, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2010, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อลิงค์นี้

viewtopic.php?f=4&t=29542

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร