วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




1.bmp
1.bmp [ 378.86 KiB | เปิดดู 9496 ครั้ง ]
เจริญกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้


คนเราที่จะอยู่อย่างดีนี้ จะต้องดำเนินชีวิตเป็น คือ รู้จักดำเนินชีวิตนั่นเอง
ถ้าใครรู้จักดำเนินชีวิต ชีวิตนั้นก็เป็นชีวิตที่ดีงาม เป็นชีวิตที่พัฒนาเจริญก้าวหน้า
ประสบประโยชน์สูง


แต่ถ้าดำเนินชีวิตไม่เป็น ก็จะมีแต่ขาดทุน และประสบแต่ความทุกข์ และความเสื่อม
ฉะนั้น จะต้องรู้จักดำเนินชีวิต หรือดำเนินชีวิตเป็น



ญาติโยมเอ๋ย โปรดทราบไว้เถอะว่า
บุญกรรมนั้นมีจริง บาปกรรมนั้นมีจริง ยมพบาลจดไม่มี จิตนี้เป็นผู้จด

จดทุกวันคืออารมณ์ เรื่องจริงแน่ จดทุกกระเบียดนิ้ว บาปบุญคุณโทษ บันทึกเข้าไว้
ถ้าเราทำกรรมดี ก็ไปบังเกิดในสวรรค์ ทำชั่วก็ลงนรกไป



วันนี้ อาตมาขออนุโมทนาสาธุการส่วนกุศลที่ท่านทั้งหลายมาบำเพ็ญกุศล

เจริญวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ตนเอง โดยเฉพาะด้วย การเจริญสติปัฏฐาน ๔

กาย เวทนา จิต ธรรม พิจรณาโดยปัญญา ตลอดกระทั่งยืน เดิน นั่ง นอน

จะคู้เหยียดขาทุกประการก็มีสติครบ รับรองได้เลยว่า ถ้าโยมทำถึงขึ้น ปิดประตูอบายได้เลย



เพราะเหตุใด เพราะกิเลสทั้งหลาย โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้น โยมก็กำหนด
ขณะมีโลภะก็กำหนดโลภะ โลภะก็หายไป

จิตวิญญาณตายขณะมีโลภะ ตายไปเป็นเปรต
กำลังมีโทสะตายไปขณะนั้นลงนรก
มีโมหะรวบรวมอยู่ในจิตไว้มาก ตายไปกลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน

แต่ถ้ามีสติปัฏฐาน ๔ มีสติสัมปชัญญะดี อบายภูมิไม่ต้องไป
ปิดประตูนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ทางอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ทุกประการ



ขอกุศลที่ญาติโยมได้บำเพ็ญไว้แล้ว จงเป็นพลวปัจจัยย้อนกลับเป็นบุญกุศลให้แก่ญาติโยมทั้งหลาย

ประสบความสุขสันต์นิรันดรทุกท่าน และจงพยายามก้าวหน้าผ่านอุปสรรคถึงฝั่งฟากคือพระนิพพาน

โดยทั่วหน้ากัน ณ โอกาสนี้เทอญ

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม





มีชีวิตใหม่ เปลี่ยนถ่ายเลือดใหม่

ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔




หลวงปู่หล้าเขียนไว้ว่า รู้ตามความเป็นจริง ปฏิบัติตามความเป็นจริง สิ้นสงสัยตามความเป็นจริง ...

พวกเราทั้งหลาย อย่าได้นอนใจในวัฏสงสารเลย จงรีบหลุดพ้นตามคำสั่งของพระบรมศาสดาที่ว่า

" เมื่อพวกเธอทั้งหลาย ยังไม่มีญาณว่าพ้นทุกข์ โดยสิ้นเชิง พวกเธออย่าได้นอนใจนะ "


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงกล่าวไว้ว่า ...

ชีวิตนี้น้อยนัก ... แต่ ... ชีวิตนี้สำคัญนัก

เป็นหัวเลี้ยว หัวต่อ เป็นทางแยก
จะไปสูง หรือ ไปต่ำ จะไปดี หรือ ไปร้าย

เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น

พึงสำนึกข้อนี้ให้ดี แล้วจงเลือกเถิด เลือกให้ดีเถิด


หลวงพ่อ พระครู ภาวนานุกูล ชูชัย ( วัดนาค บางปะหัน ) จะสอนเสมอๆว่า ..
ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น รู้ลงไปตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น อยู่กับมัน ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่ดิ้นรนคิดเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ไม่แทรกแซงสภาวะ เมื่อวิปัสสนา( เห็นตามความเป็นจริง ) หรือ วิปัสสนาญาณ (เห็นแจ้ง ) เมื่อเขาจะเกิด เขาจะเกิดเอง จงขจัดความอยากที่เกิดขึ้นในจิตออกไปให้หมด

พระอาจารย์ปรีชา ( วัดนาค บางปะหัน ) ท่านสอนว่า
จงทำตัวเหมือนแมงมุม ที่กางใยดักเหยื่อ จงจับเหยื่อกินให้หมด



จงเป็นผู้มีความเพียรเจริญสติปัฏฐานกันเถิด

วันเวลานับวันจะล่วงเลยผ่านไปเรื่อยๆ
เราไม่อาจจะรู้ล่วงหน้าได้เลยว่า วินาทีต่อไป เราจะมีโอกาสได้ลืมตาตื่นขึ้นมาอีกหรือไม่




สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ หมายความว่า บุคคลผู้ประสงค์จะฝึกจิต
ให้เกิดศิล สมาธิ ปัญญานั้น ต้องอาศัยสติเป็นหลักใหญ่และสำคัญที่สุด
เพราะสติเป็นผู้ควบคุมกายกับใจ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า สติ คอยควบคุมรูปกับนาม
ให้ดำเนินไปถูกทางที่เราต้องการ ดุจบุคคลเลี้ยงเด็กๆที่กำลังซุกซน
ต้องคอยดูแล ระมัดระวังอยู่เสมอ จะประมาทหรือเผลอมิได้ ทางนั้นได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้า ๓๒๕ เป็นต้นไป
กับเล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๐๓ เป็นต้นไป



อินทรีย์ ๕

บรรดาอินทรีย์ ๕ นั้น ถ้าข้อหนึ่งมีกำลังมากเกินไป อินทรีย์นอกนั้นก็พึงทราบว่า
ไม่สามารถทำกิจของตนได้ แต่เมื่อว่าโดยพิเศษแล้ว นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมยกย่อง
สรรเสริญว่า สัทธากับปัญญาต้องเท่าๆกัน วิริยะกับสมาธิต้องเท่าๆกัน เพราะว่าคนที่มีสรัทธามาก
แต่มีปัญญาน้อยย่อมเลื่อมใสโดยลุ่มหลง คือ เลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ควรเลื่อมใส
ส่วนคนมีปัญญามากแต่มีสรัทธาน้อย ย่อมตกไปในฝ่ายเกเรย่อมเยียวยาได้ยาก
ดุจโรคที่เกิดจากยา ย่อมทำให้นายแพทย์เยียวยาได้ยากฉะนั้น


อันธรรมดากุศลย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่าย คือ เพียงจิตตุปปบาทเดียว ก็สามารถเกิดขึ้นได้
เมื่อจิตของบุคคลเป็นไปเร็วอย่างนี้ ถ้าใครไม่ได้ทำบุญ มีทานเป็นต้นไว้
ย่อมตกนรกได้โดยง่ายดายทีเดียว


เมื่อสัทธากับปัญญา วิริยะกับสมาธิสม่ำเสมอกัน บุคคลนั้นย่อมเลื่อมใสในวัตถุที่ควรเลื่อมใสเท่านั้น
ถ้าบุคคลมีสมาธิกล้า มีความเพียรอ่อน ความเกียจคร้านย่อมครอบงำได้
เพราะสมาธิเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน


ถ้าบุคคลมีความเพียรกล้า มีสมาธิอ่อน ความฟุ้งซ่านย่อมครอบงำได้ เพราะวิริยะเป็นไปใน
ฝักฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน ส่วนสมาธิที่บุคคลประกอบด้วยความเพียร ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน
เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติธรรมผู้มุ่งหวังตั้งใจต่อมรรค ผล นิพพาน ต้องทำสัทธากับปัญญา
วิริยะกับสมาธิให้สม่ำเสมอกัน อินทรีย์ ๕ เสมอกันเมื่อใด อัปปนาก็เกิดได้เมื่อนั้น


สำหรับผู้ที่เคยเจริญสมถกรรมฐานมาก่อน สัทธาแก่กล้า จึงควร เพราะถ้าผู้นั้นเชื่ออยู่อย่างนั้น
จึงจักถึงอัปปนาได้ ส่วนสมาธิกับปัญญาเอกัคคตามีกำลังแก่กล้าจึงควร เพราะผู้นั้นจะรู้แจ้ง
แทงตลอดพระไตรลักษณ์ได้ด้วยอุบายอย่างนี้


สำหรับผู้เจริญวิปัสสนา ปัญญาต้องมีกำลังแก่กล้าจึงจะควร เพราะผู้นั้นจะรู้แจ้งแทงตลอด
พระไตรลักษณ์ได้ด้วยอุบายอย่างนี้


ส่วนสตินั้น ต้องการให้มีกำลังกล้า ในทุกที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ
เพราะว่าสติย่อมรักษาจิตไว้ไม่ให้ตกไปอยู่ในความฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
แห่งสัทธา วิริยะ ปัญญา ซึ่งเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน และรักษาจิตไว้ไม่ให้
ตกไปสู่ความเกียจคร้ายด้วยสมาธิ ซึ่งเป็นไปในฝักฝ่ายความเกียจคร้าน
เพราะเหตุนั้น สติจึงจำเป็นต้องปรารถนาในทุกที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ
และเหมือนกับพระเจ้าแผ่นดินปรารถนาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ ในราชกิจทุกอย่างฉะนั้น


อาศัยเหตุดังพรรณนามาฉะนี้ ท่านจึงตั้งคำถามและคำตอบไว้ว่า เพราะเหตุไร
สติจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ตอบว่า เพราะจิตมีสติเป็นที่ระลึก
และสตินั้นมีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆเป็นลักษณะ คือเป็นเครื่องหมาย เป็นป้ายบอกให้รู้
มีความหลงไม่ลืม เป็นหน้าที่ มีการรักษาอารมณ์ไว้เป็นอย่างดี
เป็นผลปรากฏคือ มีหน้าที่มุ่งตรงต่ออารมณ์

จากหนังสือ วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๒ ว่าด้วย มหาสติปัฏฐาน หลวงพ่อโชดก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 พ.ค. 2010, 23:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



" เอกายโน อยํ ภิกเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ
สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย
นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฐานา "

" ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเอก
เป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อก้าวล่วงความเศร้าโศกปริเทวนาการ เพื่อดับทุกข์ทางกาย
ดับทุกข์ทางใจของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อบรรลุมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งพระนิพพาน
ทางนั้นคือ สติปัฏฐาน ๔ "


" อิเมสํ โข พฺราหฺมณ จตุนฺนํ สติปฏฐานานํ อภาจิตตฺตา
อพหุลีกตตฺตา ตถาคตโตปรินพฺพุเต สทฺธมฺโม จิรฐิติโก โหติ "

" ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้ทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล
พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว "


" อิเมสํ โข พฺราหฺมณ จตุนฺนํ สติปฏฐานานํ ภาจิตตฺตา
พหุลีกตตฺตา ตถาคตโตปรินพฺพุเต สทฺธมฺโม จิรฐิติโก โหติ "

" ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคลได้เจริญ ได้ทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล
พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลูกอินทรีและพละ


กุศลธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า " อินทรีย และ พละ " นี้เป็นพลังทางจิต
ซึ่งมีอยู่ในตัวเรา และพร้อมที่จะปลุกให้ตื่นหรือเพาะให้งอกงาม แล้วนำมาใช้ประโยชน์
แก่ตนได้อย่างมหาศาล ท่านจำแนกกุศลธรรมเหล่านี้ไว้ ๕ อย่างเท่ากัน และเรียกชื่อต่างกันไป
ตามหน้าที่ว่า อินทรีย ๕ และ พละ ๕ ดังนี้

๑. ศรัทธา ความเชื่อเลื่อมใส

๒. วีริยะ ความเพียร

๓. สติ ความระลึกรู้

๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น

๕. ปัญญา ความรอบรู้

แต่แบ่งตามหมวด เรียกตามคำบาลี ดังนี้

อินทรีย ๕ _____ พละ ๕

๑. สัทธินทรีย _______ ๑. สัทธาพละ

๒. วีริยินทรีย _______ ๒. วีริยพละ

๓.สตินทรีย ________ ๓. สติพละ

๔. สมาธินทรีย _______ ๔. สมาธิพละ

๕.ปัญญินทรีย ________ ๕. ปัญญาพละ

คำว่า อินทรีย แปลว่า ความป็นใหญ่ มีหน้าที่ดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกัน
มิให้ฝ่ายตรงข้ามเข้ามารุกรานเขตแดนและรังแกผู้อยู่ใต้ความคุ้มครอง

อินทรีย เป็นธรรม มีหน้าที่ในการคุ้มครองป้องกันและปราบปรามอกุศลธรรมฝ่ายตรงข้าม
ไม่ให้ล้ำเข้ามาในเขตอำนาจ และที่เรียกว่า " พละ "

" พละ " ธรรมเหล่านี้ เป็นหน่วยกำลังปลุกหรือเพาะให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นพละกำลัง ให้สามารถ
ทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็ง เป็นธรรมที่มีอนุภาพยิ่งใหญ่ สามารถปราบปรามข้าศึกคือ กิเลสอาสวะ
ตั้งแต่ขนาดย่อม จนถึงขนาดใหญ่ให้สงบราบคาบ เป็นขั้นตอน จนถึงหมดสิ้นไปได้
ซึ่งจะปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง โดยตามลำดับตามญาณที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับคุณ Walaiporn

ง่ายขึ้นไปกว่านั้นอีกคือ

สติปัฏฐานทั้ง 4 รวมไว้ที่ ปัจจุบันอารมณ์

ใครสะสมความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ย่อมเป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4 โดยธรรมชาติ

อานิสงของปัจจุบันอารมณ์ให้ดูได้ที่ ภัตเทกรัตติคาถา ครับ
:b8: :b8: :b8: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2010, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศัตรูหรืออกุศลกรรมของอินทรียและพละ คือ

ตัณหา ความอยากได้ดิ้นรน เป็นปฏิปักษ์ต่อ ศรัทธา
โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นปฏิปักษ์ต่อ วีริยะ
มุฏฐสัจจะ ความหลงลืม เป็นปฏิปักษ์ต่อ สติ
วิกเขปะ ความฟุ้งซ่าน เป็นปฏิปักษ์ต่อ สมาธิ
สัมโมหะ ความลุ่มหลง เป็นปฏิปักษ์ต่อ ปัญญา

สิ่งเหล่านี้อยู่ในตัวเรา
ถ้ามีตัณหาดิ้นรน อยากได้โน่น อยากได้นี่ มันก็ครอบงำจิตใจของเราให้เป็น อสัทธิยะ
มิให้เกิด ศรัทธา หรือ เกิดผลุบๆโผล่ๆ

ถ้ามี โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้าน เป็นอุปนิสัยสันดานอยู่ ก็ยากที่จะให้เกิด ความเพียรพยายาม
ทำความดี หรือถ้าทำ ก็ทำอย่างจับจด

ถ้ามีใจเลื่อนลอย หลงลืม จะคุมสติในการทำงานหรือเจริญกัมมัฏฐานได้อย่างไร

ถ้าจิตใจฟุ้งซ่าน วอกแวก สมาธิก็ไม่เกิดขึ้น

ถ้ายิ่งลุมหลงมัวเมาอยู่ ปัญญาก็ไม่เกิด

เพื่อขจัดอกุศลธรรมเหล่านี้ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออินทรียและพละ เพื่อทำให้อินทรีย ๕ พละ ๕
เหล่านี้ ให้ตื่นขึ้นในตัวเอง และพัฒนาให้แก่กล้า ต้องทำด้วยวิปัสสนา

การปรับอินทรีย ๕ พละ ๕ แม้โยคีปลุกอินทรียและพละ แต่ละอย่างให้เกิดขึ้นในตัวเอง
และพัฒนาให้แก่กล้าเป็นระยะๆมาแล้ว ยังไม่เป็นการเพียงพอ ท่านจะต้องพยายามปรับ
กล่าวคือ ปรับศรัทธากับปัญญา คู่ ๑ และ วีริยะกับสมาธิ คู่ ๑ แต่ละคู่ให้มีสภาพสม่ำเสมอ
และเป็นอุปการะแก่กัน เพราะถ้า


มีศรัทธามากกว่าปัญญา
ก็จะเชื่องมงาย ไร้เหตุผล
ถ้าใช้ ปัญญา ไตร่ตรองคิดหาเหตุผลเรื่อยไป ก็จะกลายเป็นคนเชื่อยาก พาให้ขาดศรัทธา

หากพากเพียรมากไป ก็พาให้ฟุ้งซ่าน ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิ
แต่การบำเพ็ญสมาธิเสียเรื่อยไป ก็ซบเซาเซื่อมซึม พาให้เกียจคร้าน ไม่ปรารถนาจะทำความเพียร
และขาด วีริยะ

ยกตัวอย่าง เกี่ยวกับอริยาบท ๒ อย่างคือ เดินจงกรม ท่านว่า เป็นวีริยะ
คือ เป็นการทำความเพียรอย่างหนึ่ง แม้จะมีสมาธิอยู่บ้าง แต่ก็หนักไปทางวีริยะ

ส่วนการนั่งกัมมัฏฐาน เป็นการบำเพ็ญสมาธิอย่างหนึ่ง แม้จำต้องมีความเพียรประกอบ แต่ก็หนัก
ไปในข้างสมาธิ อินทรียทั้ง ๒ อย่างนี้ ต้องปฏิบัติให้เสมอกัน ถ้าเดินจงกรมตลอดเวลาเท่าใด
เช่น ๑๕ นาทีหรือเท่าใดก็แล้วแต่ ก็ควรนั่งสมาธิกำหนดภาวนาตลอดเวลาเท่ากันกับเดินจงกรม
เพื่อปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ( ในกรณีที่ สมาธิมากเกินสติ นั่งให้น้อยลง
เดินให้มากขึ้น ต้องสังเกตุดู
)

เมื่อมีวิริยะในการเดินจงกรม และมีสมาธิในการนั่งกำหนดอินทรียคือ ปัญญา ที่เรียกว่า " ญาณ "
( วิปัสสนาปัญญา ทุติภาค น. ๔๔๒ - ๓ ) ก็จะเกิดขึ้นด้วยการรู้เห็นตามความเป็นจริง
ด้วยการกำหนด เช่น พระพุทธพจน์ ว่า

" นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส , นตฺถิ ปญิญา อฌายิโน
การกำหนดสภาวะ ไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่มีแก่ผู้ไม่กำหนด
"

เมื่อโยคีกำหนดอยู่ก็เกิดปัญญา เมื่อปัญญาสัมปยุตด้วยศรัทธา ศรัทธาคือ ความเชื่อนั้น
ก็หนักแน่น ประกอบด้วยเหตุผล ไม่เชื่องมงาย ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งหย่อนหรือเกินกว่ากัน
ก็ถือว่า อินทรียไม่เสมอกัน การปรับอินทรียให้มีเสมอกันนี้ เป็นเรื่องสำคัญมาก
ท่านเรียกไว้เป็นภาษาบาลีว่า " อินทรียสมัตตปฏิปทนา "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 ม.ค. 2010, 20:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรียสมัตตปฏิปทา

การปรับอินทรียให้เสมอกัน ที่ท่านเรียกว่า " อินทรียสมัตตปฏิปทา " ได้แก่
การปรับอินทรียทั้ง ๕ มีศรัทธาเป็นต้น ให้มีภาวะเสมอกัน เพราะว่า
ถ้า อินทรียคือ ศรัทธา มีกำลังแก่กล้าไป และอินทรียอื่นๆ มีกำลังอ่อน
แล้วอินทรียคือ วีริยะ ก็มิสามารถทำหน้าที่ประคองจิต
อินทรีย คือ สติ ก็ไม่สามารถทำหน้าที่ตั้งแนบชิดอยู่กับจิต
อินทรียคือ สมาธิ ก็ไม่สามารถทำหน้าที่มิให้จิตฟุ้งซ่าน
อินทรียคือ ปัญญา ก็ไม่สามารถทำหน้าที่หยั่งเห็น

เพราะฉะนั้น เมื่อโยคีมนสิการโดยพิจรณาสภาวธรรมหรือด้วยอาการใด
อินทรีย คือ ศรัทธา นั้น มีกำลังแก่กล้าขึ้น
โยคีพึงทำให้ลดลงเสีย โดยไม่มนสิการด้วยอาการอย่างนั้น
และข้อนี้ มีเรื่องของท่านพระ วักกลิเถระ เป็นนิทัศนะอุทาหรณ์

แต่ถ้าอินทรีย คือ วีริยะ มีกำลังแก่กล้าไป
ในขณะนั้น อินทรีย คือ ศรัทธา ก็ไม่สามารถทำหน้าที่น้อมใจเชื่อได้เลย
ทั้งอินทรียอื่นๆ ก็ไม่สามารถทำหน้าที่ต่างๆของตนด้วย
เพราะฉะนั้น โยคีพึงลดอินทรีย คือ วีริยะ ลงเสีย ด้วยการเจริญปัสสัทธิ ( ความสงบ ) เป็นต้น
ถึงแม้ในข้อนี้ ก็มีเรื่องของท่าน พระโสณะ พึงแสดงเป็นตัวอย่างได้

ถึงในอินทรียอื่นๆนอกนี้ก็เหมือนกัน พึงทราบไว้ว่า เมื่ออินทรียหนึ่งมีกำลังแก่กล้า
อินทรียอื่นๆก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนๆ

แต่ในเรื่องนี้ ท่านสรรเสริญไว้โดยเฉพาะถึงการที่ ศัรทธากับปัญญา มีความสม่ำเสมอกัน
และการมีสมาธิกับวีริยะ มีความสม่ำเสมอกัน

เพราะว่า คนมีศรัทธาแก่กล้า แต่ อ่อนปัญญา มักจะเป็นผู้เลื่อมใสสุดยอด
จะเลื่อมใสไปในสิ่งที่ไม่สมควร

ส่วนผู้ที่มีปัญญาแก่กล้า แต่ ศรัทธาอ่อน ก็ย่อมฝักใฝ่ในฝ่ายผิด หรืออยู่ในพวกโอ้อวด
เป็นเหมือนโรคที่เกิดขึ้นจากยา เป็นโรคที่รักษาไม่หาย
คนมีปัญญาแก่กล้า แต่ศรัทธาอ่อนก็เช่นกัน ย่อมจะคิดแล่นเลยธงไปว่า บุญกุศลย่อมมีได้
โดยเพียงแต่ใจคิดก็พอแล้ว เลยไม่ทำบุญ มีการให้ทานเป็นต้น ตายไปตกนรก
แต่คนนั้น เมื่อมีอินทรียทั้ง ๒ ( คือ ปัญญากับศรัทธา ) เสมอกัน ก็จะเลื่อมใสในสิ่งที่ถูกเท่านั้น

ส่วน สมาธิมีกำลังแก่กล้า แต่ วีริยะอ่อน โกสัชชะ ( ความเกียจคร้าน ) ก็จะครอบงำ
เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ

ถ้า วีริยะมีกำลังแก่กล้า สมาธิอ่อน อุทธัจจะ ( ความฟุ้งซ่าน ) ก็จะครอบงำ
เพราะวีริยะเป็นฝ่าย อุทธัจจะ

แต่ทว่า สมาธิที่ผสมผสานกันดีกับวีริยะ จะไม่ตกไปในโกสัชชะ ( ความเกียจคร้าน )
และ วีริยะที่ผสมผสานกันดีกับสมาธิ จะไม่ตกไปใน อุทธัจจะ ( ความฟุ้งซ่าน )

ฉะนั้น โยคีพึงปรับอินทรียทั้ง ๒ ( คือ สมาธิกับวีริยะ ) ให้สม่ำเสมอกัน
เพราะว่า เมื่อปรับอินทรียทั้ง ๒ นี้ สม่ำเสมอกันแล้ว อัปปนาสมาธิก็จะเกิดขึ้น

อีกประการหนึ่ง ท่านผู้บำเพ็ญทางสมาธิ ( คือ สมถะ ) ถึงแม้จะมีศัรทธาแก่กล้าก็ใช้ได้
เมื่อท่านเป็นผู้บำเพ็ญทางสมาธินั้น เชื่อไป กำหนดใจไป ก็บรรลุอัปปนาสมาธิ

แต่ใน ( อินทรียทั้ง ๒ คือ ) สมาธิและปัญญานั้น
สำหรับผู้บำเพ็ญทางสมาธิ เอกัคคตา ( คือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ) มีกำลังแก่กล้าเป็นใช้ได้
เพราะท่านผู้บำเพ็ญทางสมาธินั้น จะบรรลุอัปปนาด้วยอาการอย่างนี้

สำหรับท่านผู้บำเพ็ญทางวิปัสสนา ปัญญาที่มีกำลังแก่กล้าเป็นของดี
เพราะท่านผู้บำเพ็ญทางวิปัสสนานั้นจะบรรลุการแทงตลอดลักษณะ (คือ สภาวลักษณะและไตรลักษณ์)
ไว้ด้วยอาการอย่างนี้
แต่เมื่ออินทรียทั้ง ๒ ( คือ สมาธิและปัญญา ) สม่ำเสมอกัน อัปปนาย่อมเกิดอย่างแน่นอน

ส่วน สติ มีกำลังแก่กล้า เป็นการดีทุกสถาน
เพราะ สติจะคุ้มครองรักษาจิต มิให้ตกไปในอุทธัจจะ เพราะศรัทธา วีริยะ และปัญญา
เป็นฝ่ายของอุทธัจจะ และสติจะคุ้มครองรักษาจิตมิให้ตกไปในโกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นโกสัชชะฝ่าย


เพราะฉะนั้น สติ พึงเป็นที่ประสงค์ในที่ทุกสถาน
เหมือนเกลือคือ ที่ต้องใช้ในการปรุงกับข้าวทุกอย่าง และเหมือน อำมาตย์ผู้รอบรู้การงานทั้งปวง
เป็นผู้ที่ต้องประสงค์ในราชกิจทุกอย่าง

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็แล สติ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่ามีประโยชน์ในที่ทั้งปวง เพราะอะไร
เพราะว่า จิตมีสติเป็นที่พึ่ง และสติมีความระแวดระวังอารักขา เป็นประโยชน์เฉพาะหน้า
ปราศจากสติเสียแล้ว การปกครองจิต หรือ ข่มจิตก็มีไม่ได้ฉะนี้

รวมความแล้ว ท่านวิปัสสนาจารย์ สอนว่า การปรับอินทรียในตัวเราให้แก่กล้าสมดุลย์
ตามหลักในพระคัมภีร์

แปลจาก สุมงฺคลวิลาสินี,ทุติยภาค,น.513-515 ปปญฺจสูทนี ปฐมภาค,น.399-400,
สารตฺถปภาสินี,ตติยภาค น.252-243,สมฺโมหวิโนทนี,น.362-363และ
วิสุทฺธิมคฺค ปฐมภาค น.164-5
อจ.ธนิต อยู่โพธิ ผู้แปล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียบตำรากับวิธีทางปฏิบัติ

ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ แบ่งส่วนก้าวเท้าออกไว้ ๖ ส่วน หรือ ๖ ระยะ ดังนี้

" ตโต เอกปทวารํ อุทฺธรณ - อติหรณ - วีติหรณ - โวสฺสชฺชน -
สนฺนิกฺเขปน - สนฺนิรุมฺภน - วเสน ฉ โกฏฐาเส กโรติ
"

แปลว่า ครั้นแล้วกระทำแบ่งก้าวเท้า ก้าวหนึ่งออกเป็น ๖ ส่วนคือ

๑. อุทฺธรณํ นาม ปาทสฺส ภูมิโต อุกขฺขิปนํ
ยกเท้าขึ้นจากพื้น เรียกว่า อุทธรณะ ( ยก )

๒. อตหรณํ นาม ปุรโต หรณํ
ยื่นเท้าไปข้างหน้า เรียก อติหรณะ ( ย่าง )

๓. วีติหรณํ นาม ขาณุ กณฺฏก ทีฆชาติอาทีสุ กิญฺขิเทว ทิสฺวา อิโต จิโต จ ปาทสญฺจรณํ
เมื่อเห็นตอ เห็นหนาม หรือเห็นทีฆชาติ ( งู ) เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง
แล้วก้าวเท้าไปข้างโน้น ( และ ) ข้างนี้ เรียกว่า วีติหรณะ ( ย้ายหรือยั้ง )

๔. โวสฺสชชนํ นาม ปาทสฺส โอโปนํ
หย่อนเท้าลงต่ำ เรียกว่า โวสัชชนะ ( ลง )

๕. สนฺนิกฺเขปนํ นาม ปฐวีตเล ฐปนํ
วางเท้าลงบนพื้นดิน เรียกว่า สันนิกเขปนะ ( เหยียบ )

๖.สนฺนิรุมฺภนํ นาม ปุน ปาทุทฺธรณกาเล ปาทสฺส ปฐวิยา สทฺธึ อภินิปปีฬนํ
กดเท้าข้างหนึ่งลงกับพื้น ในเวลาที่จะยกเท้าอีกข้างหนึ่งขึ้น เรียกว่า สันนิรุมภนะ ( กด )

ในการแบ่งก้าวเท้าออกเป็น ๖ ส่วน ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ อาจเปรียบเทียบกับการเดินจงกรม
๖ ระยะ ตามหลักของพระวิปัสสนาจารย์อย่างกว้างๆ โดยไม่เคร่งครัดกับคำแปลข้างต้นดังนี้

๑. อุทธรณะ ( ยก ) เทียบกับ ยกส้นหนอ

๒. อติหรณะ ( ย่าง ) เทียบกับ ยกหนอ

๓. วีติหรณะ ( ย้าย ) เทียบกับ ย่างหนอ

๔. โวสสัชชนะ ( ลง ) เทียบกับ ลงหนอ

๕. สันนิกเขปนะ ( เหยียบ ) เทียบกับ ถูกหนอ

๖. สันนิรุมภนะ ( กด ) เทียบกับ กดหนอ

แปลจาก วิสุทธิมคฺค,ตติยภาค.น.๒๕๑ และดู - ปปญจสูทฺนี,ปฐมภาค.น.๓๕๙
กับดู สารตฺถปกาสินี,ทุติยภาค.น.๑๒๖,๒๘๓ - ๒๘๔ ปรมตฺถโชติกา,สุตฺตนิปาตวณฺณนา,
ปฐมภาค.น.๖๘ และดู สติปัฏฐานสำหรับทุกคน ฉบับพิมพ์โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หน้า ๒๐๘ - ๒๓๙ ระยะ ในพจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน แปลว่า ตอน,ช่อง,จังหวะ
และแปลคำจังหวะ ว่า ตอน,ส่วน,ระยะ ความหมายเดียวกัน

จากหนังสือ วิปัสสนานิยม อจ.ธนิต อยู่โพธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 25 ม.ค. 2010, 19:40, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีการเดินจงกรม 6 ระยะ


การเดินจงกรม 6 ระยะ เราสามารถนำมาพลิกแพลงได้ โดยจะใช้การกำหนด " หนอ " เข้ามาช่วย
หรือ จะใช้ นับแบบเป็นจังหวะโดยใช้ตัวเลขมาใช้ หรือ จะใช้จิตรู้ลงไปในการเคลื่อนไหวก็ได้
เพียงแต่ควรยึดหลักเอาไว้เท่านั้นเอง


สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ ควรจะเดินระยะหนึ่งให้คล่องก่อน จึงค่อยๆเพิ่มระยะอื่นๆ

ระยะที่ 1

ใช้ หนอ ขวา ย่าง หนอ ซ้าย ย่าง หนอ
ท่าเตรียมคือ ยืนเท้าราบธรรมดา ปลายเท้าแยกออกจากกันเล็กน้อย
หน้าก้มมองพื้นเล็กน้อย

กำหนด ขวา ( ยกส้นเท้าขวา ปลายเท้ายังแตะอยู่ที่พื้น ) ย่าง ( ย่างเท้าไปข้างหน้า )
หนอ ( วางเท้าลงบนพื้น ) ซ้าย ย่าง หนอ ทำแบบเดียวกัน

ใช้ตัวเลข 1 ( ใช้แทนกำหนดเท้า ) 2 ( ย่างเท้าไปข้างหน้า ) 3 ( วางเท้าลงกับพื้น )

ใช้จิตรู้ รู้ลงที่เท้าขวาพร้อมๆกับยกส้นเท้า
รู้ลงไปกับเท้าที่ย่างไปข้างหน้า รู้ลงในเท้าที่วางลงกับพื้น

RIGHT GOES THUS LEFT GOES THUS



ระยะที่ 2

ใช้ หนอ ยกหนอ เหยียบหนอ
ท่าเตรียมคือ ยกส้นเท้ารอ
กำหนดยกหนอ กระดกส้นเท้าขึ้น ยกปลายเท้าลอยขึ้น แล้วย่างเท้าไปข้างหน้า
เหยียบหนอ วางเท้าลงบนพื้น

ใช้ตัวเลข 1 และ 2 การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

LIFTING TREADING



ระยะที่ 3

ใช้หนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
ท่าเตรียมคือ ยกส้นเท้ารอ ปลายเท้าแตะพื้น
พอกำหนดยกหนอ คือ กระดกส้นเท้าขึ้น ยกปลายเท้าลอยขึ้นจากพื้น
ย่างหนอ ( เท้าที่ยื่นไปข้างหน้า ) เหยียบหนอ ( วางเท้าลงบนพื้น )

ใช้ตัวเลข ใช้ 1 2 3 แทนการใช้กำหนดหนอ ตามการเคลื่อนไหวของเท้า

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

LIFTING MOVING TREADING


ระยะที่ 4

ใช้หนอ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ

ท่าเตรียมตัว ยืนเท้าราบธรรมดา แล้วยกเท้าพร้อมๆกับคำกำหนด

ใช้ตัวเลข 1 2 3 4 แทนการใช้กำหนดหนอ ตามการเคลื่อนไหวของเท้า

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

HEEL UP LIFTING MOVING TREADING


ระยะที่ 5

ใช้หนอ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ เหยียบหนอ

ท่าเตรียมตัว ยืนเท้าราบธรรมดา แล้วยกเท้าพร้อมๆกับคำกำหนด

ใช้ตัวเลข 1 2 3 4 5 แทนการใช้กำหนดหนอ ตามการเคลื่อนไหวของจังหวะเท้า

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

HEEL UP LIFTING MOVING LOWERING TOUCHING


ระยะที่ 6

ใช้หนอ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ
ท่าเตรียมตัว ยืนเท้าราบธรรมดา
ลงหนอ คือ หย่อนเท้าลง ถูกหนอ ปลายเท้าแตะพื้น แต่ส้นเท้ายังไม่แตะ
กดหนอ กดส้นเท้าลงเหยียบพื้น

ใช้ตัวเลข 1 2 3 4 5 6 แทนการใช้กำหนดหนอ ตามการเคลื่อนไหวของจังหวะเท้า

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

HEEL UP LIFTING MOVING LOWERING TOUCHING PRESSING

มือจะไขว้หลัง หรือ จะไขว้หน้า หรือจะปล่อยราบไปกับตัวก็ได้ ตามสะดวก
เพียงแต่ ถ้านำมือไขว้หลัง ผลที่ได้รับคือ จะเป็นคนเดินแผ่นหลังตรง ไม่เดินหลังโกง
นี่เป็นเพียงรูปแบบคร่าวๆ จะเดินแบบไม่มีรูปแบบก็ได้ แต่ขอให้มีสติรู้อยู่กับกาย
รู้อยู่กับอริยาบทเดิน กับเท้ากระทบพื้น


มีบางคนที่มีปัญหาในเรื่องการเดินจงกรม


bbby เขียน:
คุณน้ำ ขอถามคำถามที่ออกจะแปลกหน่อยน่ะค่ะ คือสงสัยมานานแล้วค่ะคือ
เวลาเดินจงกลมนี่ เค้าเดินแล้วหลับตาหรือปล่าวค่ะ
แล้วเท้าล่ะค่ะ ค่อยๆก้าวช้าๆ หรือว่าแบบปกติค่ะ



เดินจงกรมลืมตาเดินค่ะ เหมือนเราเดินทำงานนี่แหละค่ะ
ส่วนมือจะเอากุมมือไว้หน้า หรือไขว้ไว้หลัง หรือปล่อยแกว่งตามสบาย ทำได้ทั้งนั้นค่ะ

คำว่า เดินจงกรม มันเป็นเพียงคำศัพท์เท่านั้นแหละค่ะ
การเดินจงกรม คือ การมีสติ สัมปชัญญะ รู้อยู่กับการเดิน

จริงๆ ในชีวิตของเรา ทุกลมหายใจของเรา ตั้งแต่เราลืมตาตื่นขึ้นมา จนกระทั่งเข้านอน
มันก็คือการปฏิบัติน่ะค่ะ เพียงแต่เราอาจจะไปยึดติดในรูปแบบว่า
การปฏิบัติคือการเดินจงกรมกับการนั่งสมาธิ เท่านั้น

การเดินจงกรมก็เช่นเดียวกัน ขณะที่เราทำงานหรือทำอะไรอยู่ก็ตาม
ในอริยาบทเดิน ขอให้เรามีสติรู้อยู่กับทุกย่างก้าวที่เดิน
เมื่อเราสามารถรู้ลงไปทุกย่างก้าวที่เดินได้ สติ สัมปชัญญะเราย่อมเกิดมากขึ้น

เพียงแต่รูปแบบในการเดินจงกรมที่มีเกิดขึ้นมานั้น เพื่อให้เหมาะสมแต่ละคน
คนแต่ละคนล้วนมีสติ สัมปชัญญะไม่เท่ากัน ตามแต่เหตุที่กระทำกันมา
ทำไมต้องใช้หนอ ทำไมต้องใช้จิตรู้ ทำไมต้องใช้ตัวเลข ทำไมแค่รู้
ทุกอย่างล้วนเป็นอุบายในการแนะนำหรือการสอน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเลือกรูปแบบเอาเอง
ตามที่ตัวเองทำแล้วถนัด ทำแล้วสะดวก ทำแล้ว ทำให้รู้อยู่กับเท้าทุกย่างก้าวได้

ลองอ่านดูนะคะ นี่อีกคนที่มาปรึกษา บางคนจะติดศัพท์ ติดคำเรียก
เลยทำให้ไม่ยอมเดินก่อนที่จะนั่ง จริงๆแล้วควรจะเดินก่อนที่จะนั่ง
เพื่อสติจะได้ดีขึ้น ทำให้ความคิดน้อยลง สมาธิตั้งมั่นได้ง่ายขึ้น
ยิ่งเดินมากยิ่งดี เดินหลายๆชม.ได้ยิ่งดี


หรอ says: ทำไมเวลานั่งสมาธิไป สักพัก มันก็คล้ายกับอยู่ในห้องว่างๆ ไม่มีอะไร
แต่จู่ๆ มันดันคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ขึ้นมาเองอ่ะพี่ พอเริ่มรุ้สึกว่ามันคิด มันก็หยุดคิดเอง
แต่ถ้ารุ้สึกไม่ทัน มันก็จะคิดๆไป แล้วมีอาการเหมอนวุบด้วย ทำไมอ่ะพี่

สุขที่แท้จริง says: เดินจงกรมก่อนนั่งป่ะ

หรอ says: ป่าว นั่งอย่างเดียว ไม่ได้เดินเลย

สุขที่แท้จริง says: ควรจะเดินจงกรมก่อนที่จะนั่ง

หรอ says: ยังไม่ถนัด ยังบอกอาการยากเวลา เดิน

สุขที่แท้จริง says: แค่เดินๆนี่นะ ทุกคนมีใครมั่งที่ไม่เดิน ไปทำงานก็ต้องเดิน

หรอ says: เดินครับ

สุขที่แท้จริง says: แล้วถ้าจะต้องนั่งสมาธิ แค่เราเดินเหมือนเราทำงานนี่แหละ
แต่ต้องตั้งเวลาไว้ว่า จะเดินสักกี่นาที มันแตกต่างจากกันตรงไหน มันก็แค่คำเรียกน่ะ เดินจงกรม แค่ศัพท์

หรอ says:ก็จะลองพยายามก่อนนะพี่ คราวหน้าคงมีไรมาพูดคุยสอบถามบ้าง
ว่าแต่ไออาการที่ผมบอกน่ะคือไรอ่ะ

สุขที่แท้จริง says: ไม่มีอะไรค่ะ ความคิดมันย่อมมีเป็นเรื่องธรรมดา

หรอ says: จำเป็นต้องรุ้ทันมันไหม๊

สุขที่แท้จริง says: เดินก่อนนั่งค่ะ แล้วจะดีขึ้น ถ้าเดินก่อนสักชม.ยิ่งดี
มันจะไม่ค่อยเกิดความคิดเวลานั่ง

หรอ says: แต่เมื่อก่อนเดินไปๆ มันมีอาการตึงๆแน่นๆอ่ะ

สุขที่แท้จริง says: มันตึงมันแน่น มันก็เรื่องธรรมดา มันเกิดแล้วก็หาย

หรอ says:บางทีก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนไม่รุ้อะไรไปเลย เช่น 10 - 9 เหลือเท่าไหร่หน้อ
ต้องตั้งสติแล้วคิดใหม่

สุขที่แท้จริง says: แล้วจะไปรู้อะไรล่ะนั่น เดินก็รู้เท้าที่เดินแค่นั้นเอง

หรอ says:หมายถึงเดินไปเดินมา ก็มีอาการอย่างว่า พอเลิกกำหนด
จะขายของ ดันคิดเลขไม่ออกดิ่พี่ ทอนตังค์ไม่ถุก

สุขที่แท้จริง says:ไปกำหนดอะไรล่ะนั่น

หรอ says:ตึกๆๆๆ

สุขที่แท้จริง says: แค่ให้รู้เท้าที่กำลังเดิน

หรอ says:ครับ ผมไปนะพี่

สุขที่แท้จริง says: อย่าลืมเดินจงกรมก่อนนั่งนะคะ เดินๆๆๆธรรมดานี่แหละ
ไม่ต้องไปกำหนดตึกๆอะไร แค่ให้รู้ที่เท้ากำลังเดินพอ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกหนึ่งตัวอย่างที่มาฝึกใหม่ๆเดินจงกรมไม่เป็น

การเดินจงกรม ส่วนมากจะก่อปัญหาเกิดขึ้นให้กับผู้ปฏิบัติ นำสภาวะของผู้ปฏิบัติมาให้อ่าน
น่าจะช่วยคลี่คลายเรื่องการจงกรมได้ดี ทั้งเรื่องระหว่างการใช้กำหนดหนอเข้ามาช่วย
กับ การรู้ลงไปในอริยาบท





กระต่ายขนฟ says
เดิน 60 นั่ง 50 ตอนเดินวันนี้ ช่วงต้น มีแต่ความอยาก

และความคิดเรื่องการปฎิบัติค่ะ มีความรู้สึกว่าปฎิบัติไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะกำหนดแบบไหน
ถึงจะมีสติ ก็พยายามหายใจยาวๆ

แล้วเดินไป แต่ก็ยังเป็นตลอด ระหว่างที่เกิดความรู้สึกเหล่านี้
ก็ยังพอรู้การเดินได้ คือจะรู้ตอนยก เท้า เท้ากระทบพื้น

ตอนก้าวเท้าไปด้านหน้า ส่วนใหญ่จะรู้ได้เล็กน้อยแล้วก็จะหลง
ไปเกิดอารมณืที่บอกมาค่ะ ก็พยายามรู้ลงไปที่อารมณื กำหนดรู้หนอ หายใจยาวๆ

มันก็ยังไม่หายยังมีบทบาทอยู่ ก็เดินๆต่อไป แล้วอีกสักพักใหญ่
สภาวะก็เปลี่ยนเป็น มีแน่นที่จมูก

แล้วจิตก็นิ่งขึ้น ความว้า วุ่นความอยากยังมีอยู่ แต่ขึ้นมาสั้นๆ
แต่ความคิด ยังมีมาตลอด แต่ ก็ไม่ยาวมาก ก็กลับมากำหนดรู้ที่เท้าได้ดีขึ้นค่ะ

แล้วก็เดินๆไป เด๋วก็กลับมาอยากใหม่แต่ไม่แรงมาก คราวหลังนี้กำหนดแล้วมันจางลง
ได้บ้างน่ะค่ะ แล้วพอมานั่งครั้งนี้ก้อลองพยายามหายใจยาวๆ จริงจัง ตอนต้น

สังเกตเห็นว่าลมมันสั้นมันจะไม่เข้าไป จะติดที่อก ก็ลองหายใจต่อ
พบว่าคราวนี้ลมจะละเอียดมากเย็นๆ แต่เป็นการใช้พลังจากอกหายใจ
ทำแบบนี้อยู่ 5 ครั้ง สังเกตุเห็นลมเด่นชัด เลยจับที่ลม

ความร้อนที่กระทบ การหายใจเข้า - ออก แล้วก็ จิตมันลอยไปคิดไวมาก
คือถ้าดูลมแล้วจิตจะลอยไว

ก็มาดูใหม่ว่าเห้นกายไหม ก็เห็นกายคลื่อนไหว เลยจับที่กาย กายเคลื่อนไหว นิดเดียว
สักพักก็มีหลงไปคิด คราวนี้ไม่ไปหลับในค่ะแต่ลอยไปคิดเบาๆ ไม่รู้คิดอะไร
แล้วก็พอรู้ว่าลอย ก็จะพยามๆกลับมารูกายใหม่แบบนี้ค่ะ ช่วงหลังๆของการนั่ง

เห็นจิตมันลอย แล้วกำลังจะดึงกลับมาโดยหายใจยาวๆ ตอนนั้นึกว่ารู้สึกตัวอยู่
อยู่ๆมันงุบลงไปเลยทั้งๆที่กำลังจะตั้งต้นหายใจ ยาวๆ ก็งุบลงไปต่อหน้าเลยค่ะ
แล้วก็หายใจยาวๆ อีก แล้วดูต่อ

ก็มีรู้สึก ตัวบ้าง แต่ส่วนใหญมันจะลอยไปค่ะ
รู้ว่าลอยก็พยายามอีก แบบนี้จนจบค่ะพี่

สุขที่แท้จริง says
พี่ถามนะคะ หมูเข้าใจคำว่า แค่รู้มั๊ยคะ

กระต่ายขนฟ says
แต่ก่อนก็คิดว่าเข้าใจ แต่ตอนนี้ชักไม่แน่ใจแล้วค่ะ

สุขที่แท้จริง says
เป็นยังไงคะ เมื่อก่อนเข้าใจว่ายังไง

กระต่ายขนฟ says
ก็ช่วงแรกๆของการปปฎิบัติ เวลามีอารมณือะไรเด่นก็แค่รู้ว่ามันมี
แล้วมันจเปลี่นให้เราเห็นน่ะค่ะพี่ แล้วก็เปลี่ยนการรู้ไปเรื่อยๆ
ไม่ต้องไป สนใจว่ามันจะเป็นอย่างไร แค่รู้ว่ามันมี แล้วเด๋วมันก็เปลี่ยน

สุขที่แท้จริง says
แล้วตอนนี้ล่ะคะ

กระต่ายขนฟ says
ตอนนี้มัน ไม่เปลี่ยนให้เห็นแบบแต่ก่อนค่ะ มันยากขึ้น
แล้วก็ ต้องเดินนานๆ ถึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงแบบเป็นกลลุ่มก้อนค่ะพี่

สุขที่แท้จริง says
คืออะไรคะเป็นกลุ่มเป็นก้อน

กระต่ายขนฟ says
คือ อย่างตอนแรก ที่หมูอยาก ปฎิบัติ น่ะค่ะ
เจ้าความอยาก ความฟุ้งซ่านมาทยอยมาเป็นระลอก ดูแล้วมันยังไม่หายไป
หลายๆ ครั้งจนผ่านไปนานๆ ถึงเปลี่ยนเป็นความนิ่ง

แล้วเห็นว่าจิตมันเปลี่ยนไป สภาวะเปลี่ยนน่ค่ะ แต่สมัยก่อน
จะเห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงแทบจะ ไม่มีกก้าวแบบนี้น่ค่ะ

สุขที่แท้จริง says
รู้มั๊ยว่ามันนิ่งเพราะอะไร

กระต่ายขนฟ says
สมาธิ...น่าจะนะคะ

สุขที่แท้จริง says
เข้าใจถูกนี่คะ แล้วหมูไปสงสัยอะไรล่ะนั่น

กระต่ายขนฟ says
คือ บอกไม่ถูกเหมือนกันค่ะ แต่รู้สึก ว่ามัน จะพยายามปฎิบัติให้ถูก

สุขที่แท้จริง says
ความอยากไงหมู

กระต่ายขนฟ says
ค่ะพี่ คือมันรู้สึกว่า ถ้าปฎิบัติถูฏแล้วสภาวะจะต้องดับให้เห็น

สุขที่แท้จริง says
พี่เคยบอกแล้ว การเจริญสติ เมื่อสติเริ่มดีขึ้น
เราจะได้สมาธิเป็นของแถม อะไรล่ะสภาวะดับน่ะค่ะ


กระต่ายขนฟ says
คือ เห็นว่ามันขึ้นมาแล้วคลลายลงไป ไม่ไปติดกับสภาวะเดิมๆ น่ะค่ะ
อันนั้นหมูจะรู้สึกว่าทำถูก

สุขที่แท้จริง says
ก็สติหมูยังไม่มากพอนี่ จะไปเห็นรายละเอียดแบบนั้นได้ไงล่ะคะ

กระต่ายขนฟ says
ค่ะพี่ แบบว่ามันเคยทำได้ แหะๆ

สุขที่แท้จริง says
มันเที่ยงมั๊ย

กระต่ายขนฟ says
ไม่เที่ยงค่ะ

สุขที่แท้จริง says
นั่นสิ แล้วหมูไปยึดอะไรล่ะนั่น

กระต่ายขนฟ says
คือพอมันเคยทำได้แล้วอยู่ไมใได้เราก็จะคิดว่าเราทำผิดหรือเปล่าน่ะค่

สุขที่แท้จริง says
ก็สติของหมูยังไม่มากพอ แล้วสมาธิยังไม่ตั้งมั่น แค่นั้นเองจะมีอะไร
มันต้องมีทั้งสติและสมาธิที่ตั้งมั่นประกอบกันค่ะ


กระต่ายขนฟ says
บางครั้งมันก็ตั้งมั่น บางครั้งมันก็ไม่ตั้ง

สุขที่แท้จริง says
นั่นสิ แล้วหมูจะไปคาดหวังอะไรกับมัน เหมือนแค่รู้ ที่พี่น้ำถามไปเมื่อกี้

เวลาหมูเดิน แค่รู้ว่ากำลังเดิน ความคิดเราไปห้ามมันไม่ได้
มีใครบ้างห้ามความคิดได้ มีห้ามได้เหมือนกัน

แค่สั้นๆ คิดหนอๆๆๆ พอความคิดนี่ดับไปได้ แป๊บนึง ตัวใหม่เกิดอีกแล้ว

พี่ถึงบอกไงคะว่า ให้แค่รู้ว่ากำลังเดิน ให้มารู้อยู่กับการเดิน
มันอยากคิดอะไรก็เรื่องของมัน แต่เราเอาจิตเรารู้อยู่กับการเดิน

บางครั้งมันลอย ให้หยุดเดิน กำหนดรู้หนอๆๆๆ แล้วก็เดินต่อ

การเดินจงกรมนี่จริงๆแล้วไม่มีอะไรเลย พอเราเดินมากๆ เดินบ่อยๆ
เรารู้ลงไปในการเดินได้ตลอด สติมันก็เกิดขึ้น

แต่ถ้ากำหนดตามรูปแบบ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ อันนั้นเหมาะกับคนที่ชอบฟุ้งไปเรื่อย
คิดไปเรื่อย เอาจิตมาผูกกับกริยานี้ซะ มันก็จะฟุ้งน้อยลง

เวลาความคิดเกิด ขณะที่เดิน หมูก็แค่รู้ว่ามันมีเท่านั้นเอง
จะไปสนใจอะไรกับมัน แต่ถ้ามันคิดอกุศล เรารู้นี่

เราก็หยุดเดิน หายใจยาวๆ กำหนดคิดหนอๆๆๆ รู้หนอๆๆๆ รู้อะไร
รู้ว่ามันเป็นอกุศล มันมีเท่านี้เองเดินจงกรม

พอเราเดินมากๆ เมื่อเราไปนั่ง ก็เหมือนกับเราได้ผ่อนคลายอริยาบท
ที่เราเดินมา นอกนั้นมันไม่ได้มีอะไรเลย แต่เราทำเพื่อฝึกสติ

ทุกวันนี้เวลาพี่เดินจงกรมก็ยังมีความคิด ไม่ใช่ไม่มี มันมีบ้าง ไม่มีบ้าง
พี่ก็แค่รู้ว่ามันมี ไม่เคยใส่ใจกับมัน

พี่ก็รู้ที่เท้าก้าว ย่าง เหยียบ รู้ที่กาย รู้ที่เท้ากระทบพื้น เดินจนครบเวลา 1 ชม.
ที่ตั้งไว้ พี่ไม่เคยไปใส่ใจกับความคิดว่า

เมื่อไหร่มันจะหยุดคิด เพราะมันไม่ใช่อกุศล เลยแค่รู้ว่ามันคิด มันก็เท่านั้นเอง
หน้าที่คือ เดินให้ครบเวลาที่กำหนดไว้ รู้ที่กาย รู้ที่เท้ากระทบพื้น บางช่วงมันลอย
มันเบาไม่มีน้ำหนักเท้าหรือนน.ตัว เราก็เอาการกำหนดเข้ามาช่วย
มันมีเท่านี้จริงๆเดินจงกรมน่ะค่ะ

เหมือนเวลาพี่ถูกสอบอารมณ์ เวลาครูบาฯถาม เดินจงกรมเป็นไงมั่ง
พี่ก็ตอบว่า มันมีความคิดมันก็แค่คิด ตัวนี้หายไปตัวใหม่มา

รู้ตัวตลอดเวลาเดิน รู้ที่กายเคลื่อนไหว รู้ที่เท้ากระทบพื้น
เนี่ย คำตอบพี่มีเท่านี้เองเวลาสอบอารมณ์

อื่มมม ... เรื่องความสงสัยที่หมูเป็นอยู่นั้น เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ปฏิบัติทุกๆคน
แม้กระทั่งความอยากก็เป็นไปตามกิเลสของแต่ละคน อยากมากอยากน้อย

พี่ไม่ค่อยมีเรื่องพวกนี้เลยนะบอกตามตรง คือ ทำอย่างเดียว
ครูบาฯให้ทำยังไง ก้ทำ ไม่เคยสงสัยว่ามันถูกหรือผิด

แล้วอีกอย่าง หมูดูตัวเองได้นี่ ว่า สติเดี๋ยวนี้เป็นไง โดยที่พี่ไม่ต้องบอกอะไรเลยก็ได้
แค่นี้ก็เป็นคำตอบให้กับหมูได้ พี่ถึงบอกไง ดูสติเป็นหลัก


กระต่ายขนฟ says
ค่ะพี่น้ำ

สุขที่แท้จริง says
หมูพอจะมองภาพออกมั๊ย เดินจงกรมน่ะ

กระต่ายขนฟ says
มองออกค่ะ แล้วพวก อารมณอยาก อารมซ่านๆ
ที่มันตีขึ้นมาหลังจากความคิดนี่เราก็ ไม่ต้องสนใจมันเหมือนกัน กำหนดว่ามี
ถึงไม่หายก็กลับมารู้กายต่อ ใช่ไหมคะ

สุขที่แท้จริง says
ใช่ค่ะ ทำแค่นั้นเอง แต่ถ้าเป็นอกุศลนี่ ต้องกำหนดคิดหนอๆๆๆก่อน
จึงรู้หนอๆๆทับไปอีกที


มันไม่มีอะไรเลยจริงๆนะ เพียงแต่ว่าหมูไปยึดติดมันน่ะ
ว่าเมื่อทำได้แบบนี้แล้ว จะต้องเป็นแบบนี้ตลอดไป

กระต่ายขนฟ says
ใช่ค่ะพี่ พอไม่ได้ก็ รู้สึกว่าทำไม่ถูก แต่ว่า หมูจะทำแบบที่พี่น้ำบอก

สุขที่แท้จริง says
ค่ะ เดิน 60 นั่ง 35 ค่ะ

กระต่ายขนฟ says
ได้ค่ะพี่

หลังจากได้คำแนะนำเรื่องการเดินจงกรม และเรื่องความคิด



กระต่ายขนฟ says
รอบนี้เดิน ก็รู้เท้าได้ดีขึ้น มีช่วงที่พอรู้ได้ต่อเนื่อง ทั้งยกย่าง วาง
ตอนกลับตัวจะ ไม่ค่อยรู้สึกตัว

จะใจลอยตอิอนสุดทาง และกลับตัว เลยค่อยๆกลับ ค่อยๆกำหนด ก็ดีขึ้นค่ะ
ส่วนความคิดทำแบบพี่น้ำบอก คือไม่สนใจมัน

ก็ไม่คิดยาวขึ้นมาแทรก ตอนเดินแล้วเราสนใจการเดินมากกว่า
ส่วนนั่ง ช่วงแรกไม่ยอมรู้กาย หลงไป สมาธิ แล้วก็สะดุ้งออกมา
พอหลุดออกมาก็พยายามรู้กายต่อ รู้ไม่ไหว ก็หลงไปใหม่ เข้าไป อยู่ในสมาธิใหม่น่ค่ะ
แล้วก็ ช่วงหลังมันกลับมารู้กายได้ อีก แล้วก็ไปใหม่อีก จบแล้วอะค่ะ

สุขที่แท้จริง says
รู้สึกว่า พอตัดความคิดไปได้ หมูว่าเดินจงกรมเป็นยังไงบ้างคะ

ถึงไม่ใช่งูพิษ แต่ก็ไม่คิดจะเป็นกระต่ายขนฟ says
ก็ รู้กายได้ดีขึ้นค่ะ แล้วก็ช่วงที่มีความคิดขึ้นมา มันก็รู้กายได้ด้วย มันจะรู้คู่กัน
จะไม่หลงไปในโลกความคิดมาก ความฟุ้งซ่านในอกมีบ้างแต่ไม่เยอะ
หลังๆก็ไม่ค่อยมีค่ะ


สุขที่แท้จริง says
นี่แหละเดินจงกรมแหละ คนส่วนมากจะไม่รู้ตรงนี้ เพราะไปติดอยู่
ที่ความคิดกันซะส่วนมากแล้วหาวิธีการที่จะหยุดคิดกัน


แต่เขาลืมกันไปว่า ความคิดมันจะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ตัวนี้หายไป
ตัวนี้โผล่มา พอเกิดสมาธิขึ้นมา

ความคิดก็สงบลงไปได้ชั่วครู่ แป๊บเดียวมาอีกแล้ว มัวแต่ไปปล้ำไปตามความคิดกัน
ก็เลยเดินจงกรมแบบเลื่อนลอย คือ แทบจะไม่ได้อะไรเลย ได้อยู่แต่มันได้น้อย

ยิ่งเรารู้อยู่กับกาย รู้อยู่กับการเดินได้มากเท่าไหร่ สติมันก็เกิดขึ้นมากตามตัว
สมาธิก็จะเกิดง่าย

เหมือนที่หมูบอกน่ะ มันจะรู้ทั้งความคิดและรู้กายด้วย
อีกหน่อยพอสติดีมากกว่านี้ ความคิดมันจะรู้แผ่วๆแค่รู้
แต่จะมารู้ชัดที่กายเคลื่อนไหว ที่อริยบททุกย่างก้าวมากขึ้น


กระต่ายขนฟ says
อืมๆค่ะ หมูจะจำหลักนี้ไว้ค่ะ

สุขที่แท้จริง says
หมูเห็นข้อเปรียบเทียบมั๊ยล่ะ ทั้งๆที่เวลาเดินทั้งสองรอบเท่ากัน
แต่ดูสิ่งที่หมูพูดมารอบแรกระหว่างเดิน กับรอบสองแตกต่างกันลิบลับ


ถึงไม่ใช่งูพิษ แต่ก็ไม่คิดจะเป็นกระต่ายขนฟ says
ใช่ค่ะ รอบสอง ความคิดเล็กๆน้อยๆ ปล่อยไปเลยค่ะ
มันขึ้นมาเรารู้อยู่แล้ว แต่เราดูกาย

สุขที่แท้จริง says
รู้มั๊ย ว่าทำไมพี่ไม่พูดเรื่องนี้ตั้งแต่แรก ทำไมถึงปล่อยมานานขนาดนี้

กระต่ายขนฟ says
สงสัยเหมือนกันค่ะ แหะๆ เพราะหมูทำเหมียนเดิมเรย
พี่น้ำอยากให้เห็นความแตกต่าง หรือเปล่า คะ

สุขที่แท้จริง says
เพราะว่าพี่ต้องการให้หมูเรียนรู้สภาวะด้วยตัวเองก่อน
พี่รอจนกระทั่งเห็นแล้วว่า หมูไม่ไหวแล้ว


ชักสงสัยแล้วว่ามันถูกหรือผิด เพราะหมูอาจจะเคยอ่านมา
หรืออาจจะไปได้ยินใครเขาคุยกัน


กระต่ายขนฟ says

ค่ะพี่ หมูได้ยินมาว่า การที่เรารู้กายต่อเนื่อง ตลอดเวลา มัน เป็นสมถะ
ขอโทษนะคะ เขาบอกมันจะเพ่ง

เขาบอกว่ารู้ทุกย่างก้าว มันคือการเพ่งกายอะค่ะ
นี่ก่อนหมูจะเลิกฟัง มันยังติดอยู่ในใจ


สุขที่แท้จริง says
แล้วตอนนี้เข้าใจคำว่าแค่รู้ชัดขึ้นหรือยัง

ถึงไม่ใช่งูพิษ แต่ก็ไม่คิดจะเป็นกระต่ายขนฟ says
หมูว่าดีขึ้นค่ะ

สุขที่แท้จริง says
แล้วหมูว่าเพ่งมั๊ยล่ะ รอบบนี้น่ะ

กระต่ายขนฟ says
มันก็ไม่เพ่งนะคะ เพราะถ้าเพ่ง มันคงจะเครียดๆ
แต่ว่ามันก้มีความอึดอัด ที่ใบหน้าบางเกน้อย บางครั้งน่ะค่ะ

สุขที่แท้จริง says
ที่ใบหน้าเป็นอะไรหรือคะ

กระต่ายขนฟ says
ก็มันจะแน่นๆ บางครั้ง ตรงกราม ตรงจมูก

สุขที่แท้จริง says
ใช่ นั่นแหละอาการเพ่ง

กระต่ายขนฟ says
ถ้างั้นหมูก็เพ่งอะค่ะ แก้ยังไงคะพี่

สุขที่แท้จริง says
ครั้งนี้ก็ยังเป็นหรือคะ

กระต่ายขนฟ says
เป็นค่ะ แต่ว่าไม่ได้เป็นมาก

สุขที่แท้จริง says
วันนี้หมูเพิ่งลองทำตามที่พี่บอกวันแรก รอดูวันต่อไปละกันค่ะ
หมูเดิน ... ไม่ต้องไปเกร็ง ไปเครียด ไปคาดหวังว่าดีหรือไม่ดี หรือได้อะไร
เดินแล้วรู้ลงไป แบบเท้ากระทบเราก็รู้


แต่ไม่ใช่ไปเพ่งให้มันรู้ชัดขนาดนั้น อันนั้นมันเจาะจงมันจะกลายเป็นเพ่ง ทำให้เราเครียด
แค่รู้ว่าอ้อเท้าสัมผัสพื้น กายเคลือ่นไหว พอวันใดสติมากขึ้น มันจะชัดเองค่ะ
โดยเราไม่ต้องไปเจาะจงอะไรเลย

แม้แต่เดินปกติทำงานนี่แหละ มันจะชัดมากๆ รู้อยู่กับการเดิน รู้อยู่กับกายเคลื่อนไหว


กระต่ายขนฟ says
ค่ะพี่ อย่างนั้น หมูไม่จงใจรู้นะคะ ถ้ามันจะรู้แค่ไหนก็แค่นั้น

สุขที่แท้จริง says
แค่รู้พอแล้ว

ถึงไม่ใช่งูพิษ แต่ก็ไม่คิดจะเป็นกระต่ายขนฟ says
ได้ค่ะพี่ ไว้จะลองทำดูค่ะพี่

สุขที่แท้จริง says
เมื่อก่อนพี่ติดนะ ติดอยู่นานมากเดินจงกรม ไม่มีใครแนะนำหรือบอกเลย
พี่เรียนรู้จากสภาวะเอง ว่าต้องทำแบบนี้ๆแล้วมันจะไม่มึนหัว แล้วมันจะมีสติ


กระต่ายขนฟ says
พี่น้ำเคยติดเพ่งด้วย

สุขที่แท้จริง says
ใช่ค่ะ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอนี่แหละ ยิ่งมากำหนดยืนหนอนี่มึนไปเลย

กระต่ายขนฟ says
ค่ะหมูก็เป็น แต่สมัยก่อนนะคะ วันนี้ไม่ขนาดนั้น มีกรามแน่นๆ บ้าง
ขอบคุณพี่น้ำมากๆ นะคะ สำหรับววันนี้ ที่ช่วยชี้ทาง

สุขที่แท้จริง says
ยืนหนอน่ะ เราแค่คิดว่าเหมือนน้ำขึ้นน้ำลงน่ะค่ะ ไม่ต้องไปตามลมหายใจ
คือหายใจปกตินี่แหละ แต่เวลากำหนดยืนหนอน่ะ

ให้คิดถึงเวลาน้ำขึ้น น้ำลงเท่านั้นเอง แล้วมันจะไม่ไปเพ่ง ไม่ทำให้มึน


กระต่ายขนฟ says
ค่ะ หมูตอนกำหนดยืนหนอ จะระลึกถึงการยืน
รู้เท้ายืน น่ะค่ะ ไม่ได้ไล่ขึ้นลง

สุขที่แท้จริง says
ไล่ขึ้นลงเหมือนน้ำขึ้นน้ำลงค่ะ แล้วจะทำให้หมูไม่ไปติดเพ่ง
มันจะเหลือแค่รู้เองเวลายืน เหมือนกับเดินจงกรมน่ะแหละค่ะ
นี่แหละ การไม่บอกอะไรเลยของพี่เพราะเหตุนี้ ไม่งั้นมันง่ายเกินไป
ความเคลือบแคลงใจย่อมเกิดอีก


กระต่ายขนฟ says
อ่อ เคลื่อนไหว งั้นพรุ่งนี้ลองใหม่ ค่ะพี่ วันนี้ก็งงๆเหมือนกัน

สุขที่แท้จริง says
ให้เรียนรู้ด้วยตัวเองทุกๆอย่าง จนพี่ดูน่ะ ไปไม่ไหวแล้ว ถึงจะบอก
พอบอกทำทันที ผู้ปฏิบัติก็จะเห็นความแตกต่างได้ทันที งงอะไรหรือคะ


กระต่ายขนฟ says
อ่อก็อย่างที่น้ำถามว่าสงสัยไหมทำไมเพิ่งบอกไงคะ
ก็คิดว่า เอ๋ ที่ผ่านมาทำเหมือนเดิม เอ ทำไมพี่น้ำเพิ่งบอกละเอียด แต่ว่าจริงๆ
ก็คิดอยู่ว่า ต้องมาถึงจุดนี้ก่อน สมัยก่อนถ้าเริ่มทำเลย สติไม่ดีมากๆ ยิ่งกว่านี้
หมูจะมองไม่เห็นข้อแตกต่างมากค่ะ

สุขที่แท้จริง says
ค่ะ เหตุนี้แหละค่ะ พี่ถึงพูดกับหมูบ่อยๆว่า พี่ดูสติ พี่ไม่ได้ดูเรื่องอื่นๆ

ไม่งั้นข้อสงสัยไม่จบสิ้น แยกความแตกต่างก็แยกไม่ได้
เพราะไม่มีตัวเปรียบเทียบ จะไปเปรียบเทียบกับอะไรล่ะ

ต้องให้เรียนรู้ด้วยตัวเองก่อน ทำเหมือนคนทั่วๆไปทำกัน พอเห็นว่าเอาละ
ควรบอกก็บอก

พอได้ทำมันก็แยกภาพออกได้ชัดเจนว่าเพ่งกับไม่เพ่งแตกต่างตรงไหน
เอาความรู้สึกตรงไหนมาวัด แล้วแค่รู้มันเป็นยังไง ดูตรงไหน
รู้สึกอย่างไรถึงเรียกว่า แค่รู้


กระต่ายขนฟ says
ค่ะพี่ แต่ก่อนนึกว่า รู้นี่ต้องลงไปในมัน
อย่างความคิด ต้องกำหนดลงไป ที่ความคิด ความรู้สึก
แต่อย่างวันนี้เดินแล้วความคิดมันลอยขึ้นมา เราไม่ต้องลงไปหามัน
พอมันลอย ก็ปล่อยไป นี่ คือ ความหมายของคำว่า แค่ รู้ ใช่ไหมคะ


สุขที่แท้จริง says
ใช่ค่ะ รู้ว่ามันมีเท่านั้นเอง

กระต่ายขนฟ says
พี่น้ำคะ มันเหมือนกับว่าเรามีจุดยืน ของเรา เรายืนจุดเดิม
อะไรมากระทบเรารู เราไม่ตามลงไป

สุขที่แท้จริง says
มันมีของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่เอาจิตเราไปข้องกับมัน
เราก็เป็นอิสระจากความคิด

เราก็จะรู้ชัดที่กายมากขึ้น รู้ชัดในอริยาบทยามเคลื่อนไหวมากขึ้น
สติก็เกิดมากขึ้นตามตัว


กระต่ายขนฟ says
ไม่ต้องตามลงไปดูมันเปล่าคะ

สุขที่แท้จริง says
ใช่ค่ะ เหมือนต่างคนต่างอยู่ หมูเข้าใจคำพูดนี้มั๊ยคะ

กระต่ายขนฟ says
อย่างอารมณืฟุ้งซ่านหรือทรมานกลางอก นี่จริงๆเราอยู่เฉยๆมันก็มากระทบเราเอง
เราไม่ต้องไปจีกำหนดจี้ลงไปที่มันชัดๆ วันนี้หมูเพิ่ง ได้หลักนี้

สุขที่แท้จริง says
เราไม่ต้องเอาจิตไปเกาะเกี่ยวอารมณ์เหล่านั้นมา เราแค่รู้ว่ามันมีเท่านั้นเอง

กระต่ายขนฟ says
ไว้หมูลองทำสะสมไปเรื่อยๆ หมูน่าจะเข้าใจคำที่พี่น้ำบอกได้ด้วยตัวเอง
แล้วหมูจะมารายงานว่าหมูรู้สึกแบบไหน ถูกตามจริงหรือยังนะคะ
เราไม่รู้จริงๆนะคะ ว่าแค่รู้ เป็นยังไง

สุขที่แท้จริง says
ใช่ค่ะ สภาวะนี่สำคัญมากๆ มันอธิบายเป็นรูปธรรมหรือตัวหนังสือได้ยากมากๆ
ต้องคุยกันตัวต่อตัวแบบนี้ แล้วต้องปฏิบัติจริงๆ


กระต่ายขนฟ
ช่วงสมัยแรกๆบางครั้งที่หมูมีสติดีๆ ตอนนั้นเข้าใจคำว่าแค่รู้แบบพี่น้ำพูดค่ะ
แต่ไม่ได้สรุปออกมาเป็นองค์ความรู้แบบนี้ มันเข้าใจในการปฎิบัติตอนนั้นๆ
ว่าแค่รู้นี่หว่า แต่ว่า มันก้ลืมน่ะค่ะ เพราะมันไม่ได้เห็นบ่อยๆ

สุขที่แท้จริง says
ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวได้รู้อะไรมากมาย มีอีกหลายอย่างที่พี่ไม่บอก
แต่ให้หมูเรียนรู้สภาวะด้วยตัวเอง หมูจะได้ประโยชน์


กระต่ายขนฟ says
ค่ะพี่ งั้นวันนี้หมูกราบลาก่อนนะคะ


การเดินจงกรม เมื่อโยคีเดินจนเข้าใจแล้ว จะรู้เลยว่าไม่ว่าจะเดินแบบไหนๆ
ล้วนไม่มีความแตกต่างกันเลย ที่มองดูว่าแตกต่าง เนื่องจาก สติ สัมปชัญญะแต่ละคนไม่เท่ากัน
อุบายในการเดินจงกรม มีหลากหลาย แล้วแต่โยคีจะเลือกเอง
สามารถสลับสับเปลี่ยนไปตามสภาวะของแต่ละคน ไม่มีอะไรตายตัว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระพุทธพจน์ ว่า
" นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส , นตฺถิ ปญิญา อฌายิโน
การกำหนดสภาวะ ไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่มีแก่ผู้ไม่กำหนด
"


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕


ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน

ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ

สติเป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต แต่เกิดพร้อมกับจิต รับอารมณ์เดียวกับจิต โดยองค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก
สติ ตามแนวปฏิบัติ มีอยู่ ๓ ประเภท

๑. สติขั้นต่ำ ได้แก่ สติของบุคคลธรรมดาสามัญ ซึ่งมีอยู่กันทุกคน เช่น จะขับรถก็ต้องมีสติ
จะเขียนหนังสือก็ต้องมีสติ จะอ่านหนังสือก็ต้องมีสติ จะลุก จะยืน ฯลฯ ก็ต้องมีสติด้วยกันทั้งนั้น
ต่างกันตรงที่ว่าใครจะมีมากมีน้อยกว่ากันเท่านั้น
ถ้าใครขาดสติจะทำอะไรผิดๆพลาดๆ ลืมโน่น ลืมนี่บ่อยๆ

๒. สติขั้นกลาง ได้แก่ สติของผู้บำเพ็ญมหากุศล เช่น ทำทานรักษาศิล เรียนธรรม
ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม เจริญสมถกรรมฐานเป็นต้น

๓. สติขั้นสูง ได้แก่ สติของนักปฏิบัติธรรม ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน
ตามแนวแห่งมหาสติปัฏฐาน ที่พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 03:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปหานะ แปลว่า ละ การละแบ่งออกเป็น ๕ อย่างคือ


๑. ตทังคปหาน ละได้ชั่วคราว ได้แก่ ศิล

๒. วิกขัมภนปหาน ละด้วยการข่มเอาไว้ ได้แก่ สมาธิ ( ฌาน )

๓. สมุจเฉทปหาน ละโดยเด็ดขาด ได้แก่ มรรค

๔. ปฏิปัสสัมภนปหาน ละโดยสนิท คือ สงบระงับ ได้แก่ ผล

๕. นิสสรณปหาน ละโดยการออกไป ได้แก่ นิพพาน

๑. ตทังคปหาน แปลว่า ละด้วยองค์นั้นๆ หมายความว่า
ละด้วยองค์ของพระกรรมฐาน เช่น ในเวลาเจริญสมถกรรมฐาน เพ่งพระพุทธรูปเป็นอารมณ์
ภาวนาว่า " พุทโธๆ " ขณะนั้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง สงบลงไป ไม่เกิดขึ้น
เพราะกำลังแห่งสมาธิ สมาธิจะเกิดก็เพราะองค์แห่งพระกรรมฐานที่เราเจริญเป็นปัจจัย
ถ้าเจริญกรรมฐานอย่างอื่นๆ เช่น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น ก็สามรถละกิเลสด้วย
องค์กรรมฐานนั้นๆ เช่นเดียวกัน

๒. วิกขัมภนปหาน แปลว่า ละด้วยการข่มไว้ คือ ข่มกิเลส
เช่น นิวรณ์ ๕ มีกามฉันท พยาบาท เป็นต้น ไว้ด้วยอำนาจแห่งสมาธิอันเกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน
เมื่อได้ฌานแล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ สงบลง เพราะองค์ของฌาน เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรัณ์ทั้ง ๕ คือ

วิตก เป็นปฏิปักษ์ต่อ ถีนมิทธะ
วิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อ วิจิกิจฉา
ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อ พยาบาท
สุข เป็นปฏิปักษ์ต่อ อุทธัจจกุกกุจจะ
เอกัคคตา เป็นปฏิปักษ์ต่อ กามฉันทะ

การละกิเลสด้วยอำนาจแห่งฌานนี้เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เป็นเพียงข่มกิเลสไว้
ดุจเอาก้อนหินทับหญ้า ฉะนั้น ยังละไม่ได้อย่างเด็ดขาด

๓. สมุจเฉทปหาน แปลว่า ละกิเลสได้โดยเด็ดขาด ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
มีรูปนามเป็นอารมณ์ จนเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาโดยตามลำดับถึง ๑๖ ญาณ

คำว่าวิมุติ กับ ปหาน นั้น แตกต่างโดยเพียงพยัญชนะ ส่วนความหมายเหมือนกัน

วิมุติ

วิมุติ แปลว่า หลุดพ้น เราจะหลุดพ้นได้ ต้องปฏิบัติตามทางสายกลางคือ มรรค ๘
จะพบวิมุติ วิมุติมี ๕ อย่างคือ ตทังควิมุติ วิกขัมภนวิมุติ สมุจเฉทวิมุติ ปฏิปัสสัทธิวิมุติ
นิสสรณวิมุติ ต้องปฏิบัติถึงสมุจเฉทวิมุติ จึงจะหลุดพ้นได้โดยเด็ดขาด มีอธิบายดังนี้

๑. ตทังควิมุติ หลุดพ้นด้วยองค์นั้นๆ หมายความว่า หลุดพ้นไปชั่วขณะหนึ่ง
เช่น ขณะฟังเทศน์ ขณะนั่งเจริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ขณะบริกรรมพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่ง
เช่น พุทโธ หรือ พองหนอ ยุบหนอ เป็นต้น ขณะนั้น ถ้าทำถูกหลัก คือพร้อมไปด้วยองค์ ๓
ได้แก่ มีความเพียร ตั้งใจทำ ๑ มีสติระลึกอยู่เสมอ ๑ มีสัมปชัญญะรู้ตัวทุกขณะ จิตจะหลุดพ้นไปได้
ด้วยองค์ของพระธรรมนั้นจริง หลุดพ้นอย่างนี้ เพียงชั่วขณะเดียว ยังเป็นโลกียอยู่

๒. วิกขัมภนวิมุติ หลุดพ้นด้วยการข่มเอาไว้ หมายความว่า ข่มกิเลสไว้ด้วยองค์แห่งฌานทั้ง ๕
ผู้ที่จะข่มได้อย่างนี้ ต้องเจริญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน เป็นต้นก่อน
องค์ฌานทั้ง ๕ นั้น คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นคู่ปรับของกิเลสขั้นกลาง คือ
นิวรณ์ ๕ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

เมื่อปฏิบัติธรรมคือ เจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุฌานอย่างนี้ ถือว่า หลุดพ้นจากกิเลส
ด้วยการข่มไว้เพียงชั่วคราว ดุจเอาหินทับหญ้าไว้เท่านั้น กิเลสยังมีอยู่ กิเลสยังไม่หมด
ฌานเสื่อมเมื่อใด เมื่อนั้น ก็พาให้รับทุกข์อีก เหมือนกับต้นอุตพิษ ถ้ารากยังมีอยู่
ก็จะต้องมีดอกออกมาส่งกลิ่นเหม็นตลอดไปได้อีก ฉะนั้น ความหลุดพ้นตรงนี้ยังเป็นโลกียะอยู่

๓. สมุจเฉทวิมุติ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด ด้วยอำนาจแห่ง อริยมรรค หมายความว่า
อนุสัยกิเลสที่เนืองนองอยู่ในขันธสันดานจะหลุดออกไปได้ ต้องอาศัยปัญญาขั้นสูงสุดเหนือโลกทั้ง ๓
คือ เหนือกามโลก เหนือรูปโลก เหนืออรูปโลก ได้แก่ โลกุตรปัญญานั่นเอง

ปัญญาขั้นนี้จะเกิดขึ้นได้โดยวิธีเดียวเท่านั้นคือ เจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแบบของสติปัฏฐาน ๔
เช่น กำหนด กาย เวทนา จิต ธรรม เมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้ว จะเกิดปัญญาขึ้นมาโดยลำดับๆ
นับตั้งแต่โลกียะ จนถึงโลกุตตระ ตัวอย่างที่นำมากล่าวคร่าวๆ

๑. เกิด นามรูปปริเฉทญาณ พิจรณาแยกรูปนามออกจากกันได้

๒. เกิด ปัจจยปริคคหญาณ พิจรณารู้เหตุ รู้ผล รู้ปัจจัยของรูปนาม

๓. เกิด สัมมสนญาณ พิจรณานามรูปเห็นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

๔. เกิด อุทยัพพยญาณ พิจรณานาเห็นความเกิด ความดับ ของรูปนาม
ตั้งแต่ข้อนี้เป็นต้นไป จัดเป็นภาวนามยปัญญา

มีต่อ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 03:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. เกิด ภังคญาณ พิจรณาเห็นเฉพาะ ความดับไปของรูปนามฝ่ายเดียว

๖. เกิด ภยญาณ พิจรณาเห็นว่า รูปนามเป็นของที่น่ากลัว

๗. เกิด อาทีนวญาณ พิจรณาเห็น ทุกข์โทษของรูปนาม

๘. เกิด นิพพิทาญาณ พิจรณาเห็น รูปนามเป็นของที่น่าเบื่อหน่าย แล้วเบื่อหน่ายในรูปนาม

๙. เกิด มุญจิตุกัมยตาญาณ อยากจะหลุดพ้นจากรูปนาม

๑๐. เกิด ปฏิสังขาญาณ ใจเข้มแข็ง ตั้งใจปฏิบัติจริงๆ เพื่อให้หลุดพ้น

๑๑. เกิด สังขารุเปกขาญาณ ใจเฉยๆ แต่มีสติ สัมปชัญญะดี ดูความเกิดดับของรูปนามอยู่

๑๒. เกิด สัจจาโลมิกญาณ เป็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง
และแทงตลอด อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ยังเป็นโลกียปัญญาอยู่

๑๓. เกิด โคตรภูญาณ ปัญญาที่ครอบงำและทำลายโคตรของปถุชน เข้าสู่เขตโคตรของ
พระอริยเจ้า อยู่ในระหว่างกลางแห่งโลกียะกับโลกุตระต่อกัน แต่มีนิพพานเป็นอารณ์แล้ว
ถึงขั้นนี้ ก็ยังละกิเลสไม่ได้โดยเด็ดขาด

๑๔. เกิด มรรคญาณ ปัญญาที่ตัดกิเลส ที่เป็นตัวเหตุนำไปสู่อบายภูมิ ๔ ได้อย่างเด็ดขาด
คือ โลภะ ๔ กับ โมหะ ๑ นิยมเรียกตามสำนวนพระสูตรว่า สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส
ปัญญาขั้นนี้เป็นโลกุตระแท้ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ปฏิบัติถึงขั้นนี้ หลุดพ้นได้จริงๆ
อย่างนี้จึงเรียกว่า " สมุจเฉทวิมุติ " ได้

๑๕. เกิด ผลญาณ ปัญญาที่สัมปยุติด้วย ผล มีนิพพาน เป็นอารณ์โลกุตระ

๑๖. เกิด ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาที่หวนกลับไปพิจรณากิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่
มรรค ผล นิพพาน ปัญญาขั้นนี้เป็นโลกียะ

๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุติ แปลว่า หลุดพ้นอย่างสงบระงับ หมายความว่า กิเลสไม่กลับ
ฟื้นฟูขึ้นมาได้อีกแล้ว ภพชาติก็น้อยลงไปมากแล้ว อย่างมากก็เหลือเพียง ๗ ชาติเท่านั้น
เป็นดลกุตระ อยู่เหนือโลกทั้ง ๓ คือ เหนือกามโลก เหนือรูปโลก เหนืออรูปโลก
โดยองค์ธรรมได้แก่ผลญาณคือ ญาณที่ ๑๕ นั่นเอง

๕. นิสสรณวิมุติ แปลว่า หลุดพ้นโดยสลัดออกไม่มีเหลือ ได้แก่ ละกิเลสได้โดยเด็ดขาด
ด้วยไม่มีกิเลสเหลือเป็นเชื้อที่จะก่อภพชาติอีกต่อไปด้วย เป็นอันว่ากิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจอื่นจะต้องทำไม่มีอยู่อีกเลย โดยองค์ธรรมได้แก่ อมตมหานิพพาน นั่นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน

นิพพาน แปลว่า ดับกิเลส แบ่งออกเป็น ๕ อย่าง คือ ระงับไปชั่วคราว
อย่างนี้จัดเป็นตทังคนิพพาน โดยส่วนสูงได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ

๑. ตทังคนิพพาน ดับกิเลสด้วยองค์นั้น เช่น ขณะกำลังนั่งภาวนาอยู่นั้น สติอยู่กับนามรูป
ขณะนั้น โลภะ โทสะ โมหะ ไม่เกิด ชื่อว่า กิเลสสะงบ ระงับไปชั่วคราว อย่างนี้จัดเป็น
ตทังคนิพพาน โดยส่วนสูงได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ

๒. วิกขัมภนนิพพาน ดับกิเลสด้วยการข่มไว้ คือ ข่มไว้เพราะสมถกรรมฐาน
เช่น เจริญสมถกรรมฐาน ได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
สามารถข่มนิวรณ์ ๕ ได้ อย่างนี้จัดเป็น วิกขัมภนนิพพาน และการดับกิเลสด้วยการข่มไว้
เพราะกำลังของวิปัสสนาในญาณที่ ๑ - ญาณที่ ๑๓ ก็จัดเป็น วิขัมภนนิพพาน

๓. สมุจเฉทนิพพาน ดับกิเลสโยเด็ดขาดได้แก่ ดับด้วยอำนาจมรรคญาณ คือ ญาณที่ ๑๔

๔. ปฏิปัสสัทธินิพพาน ได้แก่ ดับกิเลสโดยระงับ หมายเอามรรคผล ได้แก่ ผลญาณที่ ๑๕

๕. นิสสรณนิพพาน ดับกิเลสได้โดยไม่มีเหลือ ได้แก่ ผู้นั้นสิ้นอาสวะกิเลส เป็นพระอรหันต์
ถึงอมตนิพพานแล้ว

:b43: ในขณะที่นั่งภาวนาอยู่นั้น อย่างน้อยที่สุดก็มี ตทังคนิพพานเป็นแน่แท้
ถ้าทำได้ผลดีเต็มที่แล้ว ก็ได้ชื่อว่า มีสมุจเฉทนิพพานด้วย ข้อนี้แล้วแต่วาสนา บารมีของคนๆนั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นตอนวิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖ ในแนวทางปฏิบัติ


ในทางปฏิบัติ ปรากฏการณ์ทางวิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖ จะเกิดขึ้นเป็นขั้น เป็นตอน
ตรงตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ โดยมีลำดับ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

๑. สิลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของศิล คือ รักษาศิล ๕ - ๘ - ๑๐ - ๒๒๗ ให้บิรสุทธิ์
ตามสมควรแก่เพศของตน

๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของจิต คือ ยังขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิให้เกิด

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของความเห็น คือ เห็นรูปนาม

๑. นามรูปปริเฉทญาณ ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการผ่านพ้นความสงสัย

๒. ปัจจยปริคคหญาณ ญาณกำหนดรู้ปัจจัย ( ของนาม และรูป )

๕. มัคคามัคญาณทัสสนาวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของความรู้ ความเห็นว่า เป็นทางปฏิบัติถูก
รู้ทางถูกและทางผิดแล้ว ทิ้งทางผิด ยึดทางถูกต่อไป เช่น เวลาเกิดวิปัสสนูปกิเลส
อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ให้ผู้ปฏิบัติกำหนดรู้จนหายไป ไม่หลงติดอยู่ ไม่เข้าใจผิดว่าอันนั้นเป็นของถูก
วิปัสสนาญาณก็จะแก่กล้าขึ้นไปได้โดยลำดับๆ

๓. สัมมาสนญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการพิจรณาเห็น ( รูปนาม - สังขาร - โดย
พระไตรลักษณ์ )
๔. ( ก ) ตรุณอุทยพยญาณ ญาณกำหนดรู้ความเกิดและความดับ อย่างอ่อน


๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิของความรู้ ความเห็นทางปฏิบัติถูก
มีความรู้ ความเห็นดำเนินไปโดยลำดับๆ นับตั้งแต่อุทยพยญาณอย่างแก่เป็นต้นไป จนถึงอนุโลมญาณ

๔. ( ข ) พลวอุทยพยญาณ ญาณกำหนดรู้ความเกิดและความดับ อย่างแก่
๕. ภังคญาณ ญาณกำหนดรู้ความดับ ( ของสังขาร )
๖. ภยญาณ ญาณกำหนดรู้ ( สังขาร ) โดยความเป็นสิ่งที่น่ากลัว
๗. อาทีนวญาณ ญาณกำหนดรู้โทษ ( ของนามและรูป หรือ สังขาร )
๘. นิพพิทาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยความเบื่อหน่าย ( ในนามและรูป )
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยความปรารถนาที่จะพ้นไป ( จาก นามและรูป )
๑๐. ปฏิสังขาญาณ ณาณกำหนดรู้ด้วยการทบทวน( โดยพระไตรลักษณ์ )
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการวางเฉยในสังขาร
๑๒. อนุโลมญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการคล้อยตาม
๑๓. โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตรปถุชน ( โดยอนุโลม )


๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิของความรู้ ความเห็น

๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค
๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล ( นับเข้าในญาณทัสสนวิสุทธิ โดยอนุโม )
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการสำรวจทบทวน ( เป็นโลกียะ ไม่นับเข้าอยู่ในญาณทัสสนวิสุทธิ )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร