วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 5384 ครั้ง ]
ความอยากระหว่างตัณหา กับ ฉันทะเคยลงที่บอร์ดที่เก่านิดหน่อยพอได้มองเห็นจุดต่าง

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13590


แต่รายละเอียดไม่ครบถ้วนนัก (เพราะขี้เกียจพิมพ์)

แต่หลังจากได้สนทนากับสหายธรรมท่านหนึ่งที่

viewtopic.php?f=2&t=22506&st=0&sk=t&sd=a&start=120

ได้แรงบันดาลใจ ว่าน่าจะพิมพ์ให้ครบถ้วนกระบวนความ เพราะยังมีผู้เข้าใจคำแปล (ความอยาก)

ตัณหากับฉันทะคลาดเคลื่อนอยู่มาก แม้กระทั่งในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมเอง

เมื่อเข้าใจการอธิบายตัณหาตรงนี้ได้ระดับหนึ่งแล้วอาจพลอยเข้าใจตัณหา เป็นต้น ในปฏิจจมุปบาทด้วย


(พิจารณาคำอธิบาย เวทนา กับ ตัณหา ที่เป็นองค์ธรรมของปฏิจจสมุปบาทด้วย- อวิชชา สังขาร

วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ => เวทนา=> ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ ฯลฯ )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ค. 2010, 08:09, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฮ้าวววววว เพิ่งตาลายมาจากภาพสามมิติ
ของีบสักแป๊บได้ป่าวคะ...แล้วค่อย เรียน...

Onion Onion Onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พุทธธรรมหน้า 485)


ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ

มีคำถามและคำกล่าวเชิงค่อนว่าพระพุทธศาสนา ที่ได้พบบ่อยครั้ง คือคำพูด

ทำนองว่า


-พระพุทธศาสนาสอนให้ละตัณหา ไม่ให้มีความอยาก เมื่อคนไม่อยากได้

ไม่อยากร่ำรวย จะพัฒนาประเทศชาติได้อย่างไร ? คำสอนของพระพุทธศาสนาขัด

ขวางต่อการพัฒนา

-นิพพานเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมก็เพื่อบรรลุนิพพาน

แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจะอยากในนิพพานไม่ได้ เพราะถ้าอยากได้ก็กลายเป็นตัณหา

กลายเป็นปฏิบัติผิด เมื่อไม่อยากได้แล้วจะปฏิบัติได้อย่างไร

คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งกันเอง และเป็นการให้ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้


คำถามและคำค่อนว่า 2 ข้อดังกล่าว กระทบหลักการของพระพุทธศาสนาตลอดสาย ตั้งแต่การ

ดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน จนถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือตั้งแต่ระดับโลกียะ

จนถึงระดับโลกุตระ


สาเหตุให้เกิดคำถามและคำกล่าวหาเช่นนี้ เกิดจากความเข้าใจพร่ามัวสับสนบางอย่าง ซึ่งมีอยู่มาก

ในหมู่ชาวพุทธเอง ความสับสนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับถ้อยคำด้วย

จุดสำคัญ คือ เข้าใจคำว่า ความอยากเป็นตัณหาทั้งหมด

และเข้าใจต่อไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละความอยาก หรือ สอนไม่ให้มีความอยากใดๆเลย

นอกจากนั้น บางทีรู้จักข้อธรรมอื่น ที่มีความหมายทำนองนี้เหมือนกัน แต่รังเกียจที่จะแปลว่า

ความอยาก จึงเลี่ยงแปลเป็นอื่นเสีย เมื่อถึงคราวจะพูดเรื่อง เกี่ยวกับความอยาก จึงลืมนึกถึงคำนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ค. 2010, 08:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนที่จะทำความเข้าใจกันต่อไป

ขอให้ลองหยุดดูหลักการง่ายๆ เกี่ยวกับความอยาก ที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้สักแห่งหนึ่ง

ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี และปรมัตถทีปนี * ท่านกล่าวไว้ว่า "ความปรารถนา"

(บาลีว่า ปตฺถนา แปลว่า ความอยาก) มี 2 อย่าง คือ


1. ความปรารถนาที่เป็นตัณหา (ตัณหาปัตถนา แปลว่า อยากด้วยตัณหา)

2. ความปรารถนาที่เป็นฉันทะ (ฉันทปัตถนา แปลว่า อยากด้วยฉันทะ)


คำอธิบายนี้ แม้จะเป็นชั้นอรรถกถา แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับทำความเข้าใจได้ดีมาก

ถือความตามนี้ว่า ความอยากที่เป็นแรงจูงใจให้มนุษย์กระทำการต่างๆนั้น

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

ความอยากที่ชั่วร้ายก็มี ความอยากที่ดีก็มี

ความอยากฝ่ายชั่วเรียกว่า “ตัณหา”

ความอยากฝ่ายดีเรียกว่า “ฉันทะ”


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

(ขยายความข้างบนที่มี *)


* ม.อ.1/55-56; อิติ.อ.79;

ท่านยกตัวอย่างบาลีมาอธิบายด้วยว่า คำว่า “ปรารถนา” ในพุทธดำรัสว่า

“ผู้ที่ยังปรารถนาอยู่ จึงมีความเพ้อพร่ำ กับทั้งความหวั่นไหวในสิ่งที่หมายใจเอาไว้”

(ขุ.สุ.25/420/510) เป็นความปรารถนาแบบตัณหา

ความ ปรารถนา ในพุทธพจน์ว่า “กระแสของมารร้าย เราตัดได้ ทลาย ทำให้หมดลำพองแล้ว เธอทั้งหลาย

จงเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ พึงปรารถนาความเกษมเถิด”

(ม.มู.12/391/421) เป็นความปรารถนาแบบฉันทะ ซึ่งเป็นกุศล ได้แก่ความอยากทำ

คำอธิบายทั้งนี้ ท่านปรารภคำว่า “ปรารถนา”

ในบาลีอีกแห่งหนึ่งว่า “แม้ภิกษุใดเป็นเสขะ ยังมิได้บรรลุอรหัตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันเป็นโยคเกษมอยู่”

(ม.มู.12/3/6 ฯลฯ )

คำปรารถนาในที่นี้ ก็เป็นความปรารถนาแบบฉันทะเช่นกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ต้องการทราบหลักการของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับเรื่อง

ความอยากหรือแรงจูงใจต่างๆให้ชัดเจน ยังมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจอีกบางประการ

พึงพิจารณาด้วยดีต่อไป


ความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อแก้และกันความสับสน

ในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คำศัพท์ธรรมที่รู้จักกันทั่วไปสำหรับใช้ในความหมายว่า ความอยาก

ก็คือคำว่า “ตัณหา” ซึ่งบางทีแปลให้ได้ความหมายจำเพาะมากยิ่งขึ้นว่า ความทะยานอยาก

เหตุที่รู้จักคำนี้มาก เพราะเป็นศัพท์เฉพาะซึ่งท่านใช้เป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๒ คือเหตุแห่งทุกข์

ตัณหาเป็นความอยากชนิดที่มีมูลรากมาจากอวิชชา เป็นต้นตอให้เกิดทุกข์ และจะต้องกำจัดเสีย

จึงเป็นข้อธรรมที่คนทั้งปวงผู้ต้องการดับทุกข์ แก้ปัญหาชีวิต หรือเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา

จะต้องเกี่ยวข้องสนใจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้จักความอยากที่เป็นตัณหาแล้วจะเหมาเอาความอยากทุกอย่างเป็นตัณหาไปหมด

ก็ไม่ถูกต้อง

ในเมื่อตัณหาเป็นความอยากจำเพาะแง่ ก็ควรรู้จักความอยากที่เป็นความหมายกว้างด้วย

และการรู้จักความหมายในความหมายกว้างนั่นแหละจะช่วยให้เข้าใจความอยากจำเพาะแง่ที่เรียกว่า ตัณหา

นี้ชัดเจนขึ้นด้วย

คำศัพท์ธรรม ที่มีความหมายครอบคลุมความอยากในแง่ต่างๆ ได้แก่ “ฉันทะ” ซึ่งโดยทั่วไปแปลกันว่า

ความพอใจ

แต่ความจริง แปลได้อีกหลายอย่างเช่น ความชอบใจ ความอยาก ความยินดี ความรัก ความใคร่

ความต้องการ
เป็นต้น

เมื่อถือตามที่พระอรรถกถาจารย์จัดแยกไว้ พอสรุปได้ว่า ฉันทะ มี ๓ ประเภท คือ *


1. ตัณหาฉันทะ ฉันทะคือตัณหา หรือฉันทะที่เป็นตัณหา เป็นฝ่ายชั่วหรือ อกุศล

2. กัตตุกัมยตาฉันทะ ฉันทะคือความใคร่เพื่อจะทำ ได้แก่ ความต้องการทำ หรือ อยากทำ

เป็นฝ่ายกลางๆ คือ ใช้ในทางดีก็ได้ ชั่วก็ได้ แต่ท่านมักจัดรวมเข้าเป็นฝ่ายดี

3. กุศลธรรมฉันทะ ฉันทะในกุศลธรรม หรือ ธรรมฉันทะที่เป็นกุศล เป็นฝ่ายดีงาม หรือ กุศล

มักเรียกสั้นๆ เพียงว่า กุศลฉันทะ (ความรักดี ความใฝ่ดี )

หรือ ธรรมฉันทะ (ความรักธรรม หรือ ความใฝ่ธรรม)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

* ดู นิทฺ.อ. 1/20,73; ปฏิสํ.อ.141-2 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย คห.บน ทั้ง 3 ข้อ พร้อมที่อ้างอิงอาจดูรุงรังไปหน่อย


ข้อที่ ๑ ฉันทะที่เป็นตัณหาฉันทะ (1) นั้น ท่านใช้เป็นไวพจน์คำหนึ่งของตัณหา เช่นเดียวกับ

ราคะและโลภะ เป็นต้น (2)ฉันทะประเภทนี้ ในบาลีมีใช้มาก ที่คุ้นตากันมากคือในคำว่า “กามฉันทะ”

ซึ่งเป็นข้อแรกในนิวรณ์ ๕

กามฉันทะนี้ ท่านว่าได้แก่ กามตัณหานั่นเอง (3)

ฉันทะนี้ บางแห่งก็มาด้วยกันกับไวพจน์ทั้งหลายเป็นกลุ่ม เช่น ข้อความว่า “ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา

อุปาทาน ...ใดๆ ในจักษุ ในรูป ในจักขุวิญญาณ ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ

(และในหมวดอายตนะอื่นครบทั้ง ๖) ...

เพราะสลัดทิ้งได้ซึ่งฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปาทาน เหล่านั้น เราย่อมรู้ชัดว่า

จิตของเราหลุดพ้นแล้ว” (4)

แต่ส่วนมากมาลำพังโดดๆ

ถึงกระนั้น ก็สังเกตไม่ยากว่า มีความหมายเท่ากับตัณหา เพราะถ้าเอาคำว่าตัณหาใส่ลงไปแทนที่ฉันทะ

ในกรณีนั้นๆ ก็จะได้ความเหมือนกัน เช่น ฉันทะในภพ (5)

ฉันทะในกามคุณทั้งหลาย (6)

ฉันทะในกาย (7)

ฉันทะในเมถุน (8)

ฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่เป็นอัตตา คือ รูป เวทนา เป็นต้น (9)

เสียง กลิ่น รส เป็นต้น (10)

ที่สร้างรูปเป็นศัพท์เฉพาะอย่างเดียวกับตัณหา ก็มี เช่น รูปฉันทะ สัททฉันทะ คันธฉันทะ รสฉันทะ

โผฏฐัพพฉันทะ และธรรมฉันทะ (11)

แม้แต่ฉันทะในคน (12) ก็มี ซึ่งก็หมายถึงความรักใคร่หรือความมีใจผูกพันนั่นเอง

ดังจะเห็นได้ชัดในคันธภกสูตร ตรัสถึงฉันทะในบุตรและภรรยา (13)

และในสูตรเดียวกันนี้ตรัสว่า “ฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์” ตรงกับที่ตรัสในอริยสัจข้อที่ ๒ ว่า ตัณหาเป็นสมุทัย

คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ และอีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า พึงละฉันทะ (ในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)

(14)

เท่ากับที่ตรัสในธรรมจักรว่า ตัณหาเป็นสิ่งที่พึงละเสีย (15)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห. บน ตัวเลข (1) หลังข้อความนั้นๆ หมายถึงที่มา...ตามลำดับ



(1) คำว่า ตัณหาฉันทะ กัตตุกัมมยตาฉันทะ และกุศลธรรมฉันทะ ตามปกติเป็นเพียงคำสำหรับใช้อธิบาย

(โดยมากใช้ในอรรถกถา) ว่า ฉันทะในกรณีนั้นๆ เป็นฉันทะประเภทใด

ในบาลีใช้เพียง ”ฉันทะ” ผู้ศึกษาจะต้องกำหนดแยกเอาเอง

ตัวอย่าง ที่มาของ “ตัณหาฉันทะ”

เช่น ม.อ.3/502; ฯลฯ

(2) ไวพจน์ของตัณหานอกจากฉันทะ ราคะ และโลภะ มีอีกหลายคำเช่น อนุนัย นันทิ อิจฉา มายา

ปณิธิ สิเนห (เสน่หา) อาสา อภิชฌา ฯลฯ

(ดู อภิ.สํ. 34/691/272 ฯลฯ)

(3) ที่มาตรงกับฉันทะ ๓ ประเภทที่อ้างแล้ว เฉพาะอย่างยิ่ง นิทฺ.อ.1/73 ปฏิสํ.อ. 141-2

(กามฉันทะ แปลว่า ความพอใจ หรือความอยากในกาม หรือแปลว่า ฉันทะ คือ ความใคร่ก็ได้)

(4)ม.อุ. 14/171/127; โดยทั่วไป ท่านถือว่า ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา เป็นไวพจน์กัน

(ใช้แทนกันได้) มีความหมายตรงกัน แต่ในบางกรณีที่ต้องให้เห็นความต่าง ท่านจะอธิบายความแตกต่าง

นั้นในแง่ของระดับความรุนแรง เช่น ความต่างระหว่าง ฉันทะ กับ ราคะ และฉันทราคะว่า ฉันทะคือราคะที่มี

กำลังน้อยบ้าง

ฉันทะคือตัณหาที่ยังอ่อนกำลัง แต่เมื่อเกิดบ่อยๆกลายเป็นตัณหาที่แรง ก็เป็นราคะบ้าง

โลภะที่มีกำลังน้อย เป็นฉันทะ เมื่อมีกำลังแรงขึ้นไปอีก ทำให้ติดได้ เป็นราคะ

เมื่อมีกำลังเพิ่มขึ้นไปกว่านั้นอีก กลายเป็นราคะอย่างหนา จัดเป็นฉันทะราคะบ้าง

(ดู ที.อ.2/125 องฺ.อ.3/347 ฯลฯ)


(5)ขุ.เถรี.26/415/444 (พึงเทียบกับ กามฉันทะ = กามตัณหา; ภวฉันทะ นี้ก็ตรงกับ

ภวตัณหา)

(6) ขุ.เถร.26/399/416

(7) ม.ม.13/272/267 ฯลฯ

(8) ขุ.สุ.25/416/497

(๙) สํ.ข.17/142-4/94-6

(10) สํ.สฬ.18/343/242 ฯลฯ

(11) เช่น สํ.นิ.16/345-351/173-8 (เทียบกับ รูปตัณหา สัททตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา ซึ่งมี

ดื่น เช่น สํ.นิ.16/10/3 ฯลฯ พึงสังเกตด้วยว่า คำ “ธรรมฉันทะ” ในกรณีนี้ หมายถึงอยากใน

ธรรมารมณ์ คือ สิ่งที่ใจคิด เป็นคนละอย่างกับธรรมฉันทะ ในข้อที่๓)

(12) สํ.ส.15/762/290

(13) สํ.สฬ. 18/627-8/403-6 (ในสูตรนี้ ฉันทะมาด้วยกันกับราคะ และเปมะ คือความรัก)

(14) สํ.ข.17/142-4/94-6

(15) วินย. 4/15/20 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อที่ ๒ ฉันทะที่เป็นกัตตุกัมยตาฉันทะ หมายถึง ความต้องการจะกระทำ หรือความอยากทำ

ดังได้กล่าวแล้ว

ฉันทะประเภทนี้ ตรงกับที่อภิธรรมจัดเข้าเป็นเจตสิกอย่างหนึ่งในจำพวกปกิณณกเจตสิก คือเจตสิกที่เรี่ยราย

กระจายทั่วไป เกิดกับจิตฝ่ายกุศลก็ได้ ฝ่ายอกุศลก็ได้- (1)

กัตตุกัมยตาฉันทะ ที่คุ้นกันดีที่สุด ก็คือฉันทะที่เป็นธรรมข้อแรกในอิทธิบาท ๔ - (2)

และที่เป็นสาระของสัมมัปปธานทั้ง ๔ ข้อ - (3)

ฉันทะประเภทนี้ มีความหมายใกล้เคียงกับวิริยะ หรือวายามะ (ความพยายาม) และอุตสาหะ

บางที ท่านก็กล่าวซ้อนกันไว้เพื่อเสริมความหมายของกันและกัน -(4)

นับว่าเป็นคุณธรรมสำคัญที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติธรรม และการบำเพ็ญกิจกรณีย์ต่างๆ

อย่างไรก็ดี กัตตุกัมยตาฉันทะ ท่านมักรวมเข้าไว้ด้วยกันกับฉันทะประเภทที่ ๓ คือ กุศลธรรมฉันทะ

เสมือนจะถือว่าฉันทะ ๒ ประเภท นี้เป็นอย่างเดียวกัน เช่น ฉันทะในอิทธิบาท ๔ และในสัมมัปปธาน ๔ นั้น

ก็เป็นกัตตุกัมยตาฉันทะ และกุศลธรรมฉันทะ -(5)

จึงผ่านไปยังฉันทะประเภทที่ ๓ ทีเดียว

ส่วนเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงจัดกัตตุกัมยตาฉันทะเข้าร่วมกับกุศลธรรมฉันทะ จะกล่าวต่อไปข้างหน้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บน พร้อมแหล่งอ้างอิง



(1) วิสุทธิ. 3/36,40 สงฺคห.ฎีกา 101 ฯลฯ (ท่านอธิบายโดยวิธีแสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน

และปทัฏฐานของฉันทะไว้ด้วย แต่ไม่ขอนำมาลงไว้ที่นี้ ผู้สนใจพึงศึกษาดูตามที่มาซึ่งได้ให้ไว้นี้)

(2) อิทธิบาท ๔ มีที่มามากมาย เช่น ที.ปา.11/231/233 อภิ.วิ.35/505/292 ฯลฯ

(3) เช่น องฺ.จตุกฺก.21/69/96 ฯลฯ

(4) เช่น ในพุทธพจน์แสดงสัมมัปปธานที่อ้างแล้ว และใน ขุ.สุ. 25/424/529 ฯลฯ

(5) ไขความฉันทะ เป็นกัตตุกัมยตาฉันทะ เช่น ม.อ.3/391 (บาลี = ม.ม.13/659/606)

องฺ.อ.3/120 (บาลี = องฺ.ฉกฺก.22/291/341) ฯลฯ

วิภงฺค.อ.378 (บาลี = อภิ.วิ.35/485/285; อรรถกถาแห่งนี้ จำแนกเพิ่มอีกว่า ฉันทะ

มีมากมายหลายอย่าง คือ ตัณหาฉันทะ ทิฏฐิฉันทะ วิริยฉันทะ ธรรมฉันทะ

แต่เกินจำเป็นสำหรับการศึกษาในที่นี้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อที่ ๓ ฉันทะประเภทกุศลธรรมฉันทะ ที่เรียกชื่อเต็ม มีที่มาแห่งหนึ่งในพระสูตร ซึ่งตรัสแสดง

องค์ประกอบ ๖ ประการ อันยากที่จะปรากฏให้ได้พบในโลก (1)

กุศลธรรมฉันทะนี้ เป็นองค์ประกอบข้อสุดท้ายใน ๖ ข้อนั้น ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้บุคคล

ได้รับประโยชน์ จากพระพุทธศาสนา หรือ สามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามเพราะบุคคลใด แม้จะมีองค์

ประกอบ ๕ ข้อแรกครบถ้วนแล้ว

แต่ถ้าบุคคลนั้น ขาดกุศลธรรมฉันทะเสียอย่างเดียว ก็ไม่สามารถใช้องค์ประกอบข้ออื่นๆให้เป็นประโยชน์ได้

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

คัมภีร์วิภังค์แห่งพระอภิธรรมปิฎก (2) อธิบาย “ฉันทะ” ในสัมมปัปธาน ๔ และในอิทธิบาท ๔ ว่า

เป็นกัตตุกัมยตากุศลธรรมฉันทะ ซึ่งนับว่าเป็นต้นแบบของคำอธิบายฉันทะฝ่ายดี

ในอรรถกถาทั้งหลาย และคงจะเป็นต้นเค้าของการจัดเอาฉันทะประเภทที่ ๒ มารวมเข้าเป็นข้อเดียวกับ

ฉันทะประเภทที่ ๓ นี้

ฉันทะที่กล่าวถึงในการปฏิบัติธรรมส่วนมาก เป็นฉันทะในสัมมัปปธาน ๔ คือในข้อความว่า

“บุคคลนั้น ยังฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ระดมความเพียร ประคองจิต ยืนหยัดเพื่อความไม่เกิดขึ้น

แห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด...เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว...เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม

ที่ยังไม่เกิด...เพื่อความดำรงอยู่ไม่เลื่อนลางไป เพื่อความเพิ่มพูน ไพบูลย์เจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว”


แม้ฉันทะที่มาในข้อความอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมก็มีรูปความคล้ายกัน เช่น ฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรม

ทั้งหลาย (3)

ฉันทะในการสมาทานสิกขา (4)

ฉันทะเพื่อเจริญปัญญินทรีย์ (5)

ฉันทะเพื่อละสรรพกิเลส (6)

เกิดฉันทะในนิพพาน (7) เป็นต้น

ดังนั้น จึงจัดว่าเป็นทั้งกัตตุกัมยตาฉันทะ และกุศลธรรมฉันทะ (8) คือ เป็นทั้งฉันทะที่อยากจะทำ

และเป็นฉันทะในสิ่งที่ดีงาม พูดง่ายๆว่า ต้องการทำสิ่งที่ดีงาม



รวมความว่า ศัพท์ธรรมที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุมความอยาก หรือ ความต้องการซึ่งเป็นแรงจูงใจ

ของมนุษย์ได้ทุกอย่าง ก็คือคำว่า ฉันทะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 19:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บน พร้อมแหล่งใช้อ้างอิง


(1)คือ ยากที่ใครๆจะได้ประสบครบถ้วน ถ้าประสบเข้าแล้วก็นับว่าเป็นโอกาสดียิ่ง เพราะเป็นการได้ปัจจัย

ต่างๆ พรั่งพร้อมบริบูรณ์สำหรับการปฏิบัติธรรมหรือเจริญก้าวหน้าในอริยธรรม;

๖ อย่างนั้น คือ ความปรากฏแห่ง

๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒. บุคคลผู้แสดงธรรมที่พระตถาคตได้ทรงประกาศไว้

๓.การได้มาเกิดในถิ่นแห่งอริยชน

๔. ความมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

๕. ความไม่เป็นคนใบ้บ้าหาปัญญามิได้

๖. กุศลธรรมฉันทะ

(องฺ.ฉกก. 22/367/491)

(2) อภิ.วิ.35/467/280; ฯลฯ (บาลีว่า “กตฺตุกมฺยตา กุสโล ธมฺมจฺฉนฺโท” พึงสังเกตว่า

ที่นี้เป็น กุสโล ธมฺมจฺฉนฺโท ส่วนในบาลีที่อ้างในวรรคก่อนเป็น กุสลธมฺมจฺฉนฺโท)

(3) องฺ.ฉกฺก.22/350/482

(4) องฺ.ติก.20/521/294 ฯลฯ

(5) ขุ.ปฏิ.31/455/337

(6) ขุ.ธ.25/26/44 (ธ.อ.6/141 ว่าเป็นกัตตุกัมยตาฉันทะ)

(7) พึงพิจารณา ฉันทะในธรรมทั้งหลาย

(ขุ.เถร.26/332/315)

ฉันทะในธรรมบททั้งหลาย

(สํ.สง15/788/298)

และฉันทะเพื่อการบรรลุอรหัตผล

(สํ.ม.19/1168/350) ด้วย

นอกจากนี้ ท่านว่าฉันทะเป็นองค์ธรรมในขณะแห่งมรรคทั้ง ๔ ผลทั้ง ๔ เป็นมรรค เป็นอภิสมัย เป็นวิราคะ

และเป็นวิมุตติ

(ดู ขุ.ปฏิ.31/156-9/107-9 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 19:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความว่า ศัพท์ธรรมที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุมความอยาก หรือ ความต้องการซึ่งเป็นแรงจูงใจ

ของมนุษย์ได้ทุกอย่าง ก็คือคำว่า “ฉันทะ”

ฉันทะ เป็นข้อธรรมสำคัญมาก พระพุทธองค์ตรัสว่า “ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล” หมายความว่า ฉันทะ

เป็นรากหรือเป็นต้นเค้าของธรรมทุกอย่าง *

ฉันทะ ที่ไม่ดี เป็นกุศล เป็นฝ่ายชั่ว ตรงกับคำว่า ตัณหา จะใช้คำว่า ตัณหาแทนก็ได้

ส่วนฉันทะที่ดีงามเป็นฝ่ายกุศล มีชื่อเต็มว่า กุศลธรรมฉันทะ บางทีเรียกสั้นเข้าเป็น กุศลฉันทะ บ้าง

ธรรมฉันทะ บ้าง แต่นิยมเรียกคำเดียวว่า ฉันทะ

นอกจากนี้ ยังมีฉันทะที่เป็นกลางๆ คือ ความต้องการทำ หรืออยากทำ เรียกว่า กัตตุกัมยตาฉันทะ

แต่ท่านมักจัดรวมเข้าในฝ่ายดี เป็นกุศลธรรมฉันทะด้วย



อย่างไรก็ดี เพื่อความสะดวกในการศึกษาต่อไป มิให้เกิดความสับสน

ต่อไปนี้ (เฉพาะในบทความหัวข้อนี้) จะแยกทั้งคำ แยกทั้งความให้ขาดออกจากกันอย่างชัดเจน

กล่าวคือ สำหรับฉันทะฝ่ายชั่ว ไม่ว่าในกรณีที่เรียกว่า ฉันทะ ก็ตาม เรียกว่า ตัณหา ก็ตาม

ในที่นี้จะใช้ว่า ”ตัณหา” อย่างเดียว

และสำหรับฉันทะฝ่ายดี ก็จะเรียกสั้นๆ เพียงว่า “ฉันทะ”


ส่วนฉันทะที่เป็นกลางๆ คือ กัตตุกัมยตาฉันทะ ก็จะอธิบายรวมๆ แทรกไปกับตัณหาและฉันทะนั้น

เป็นอันว่า ใช้คำหลักเพียง ๒ คำ คือ ตัณหา กับ ฉันทะ

ตรงตามมติของอรรถกถาที่แบ่งความปรารถนา หรือ ความอยากเป็นสองอย่าง ดังยกมาอ้างไว้แล้วข้างต้น

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:



(ขยายความข้างบนที่มี *)

* องฺ.อฏฺฐก.23/189/350 องฺ.ทสก.24/58/113 (องฺ.อ. 3/319 ไขความว่า

ธรรมทั้งปวงในที่นี้ หมายถึงเบญจขันธ์ (คือ ขันธ์ ๕ หรือว่ารูปกับนาม หรือว่ากายกับใจ หรือชีวิตนี้)

พึงเทียบกับบาลีใน ม.อุ.14/121/101 และ สํ.ข.17/182/121 ที่ว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ มีฉันทะ

เป็นมูล)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 20:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ link นี้

viewtopic.php?f=2&t=28861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.พ. 2012, 18:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b8: :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร