วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


การอ่านพระไตรปิฎก ภาษาบาลี จำนวน 45 เล่มให้จบภายใน ๙ วัน

ข้อมูลนี้ผมเซ็ทไว้ครั้งเมื่อเตรียมจัดอ่านพระไตรปิฏกฉบับบาลีให้จบภายใน ๙ วันโดยไม่หยุดพัก เสียงสาธยายพระไตรปิฏกจะดังอยู่ตลอดเวลา อ่านเอาบุญเป็นพุทธบูชา บำเพ็ญวิริยบารมี และศรัทธาบารมี ไม่ได้อ่านเพื่อให้เข้าใจ ใครมีศรัทธาให้นิมนต์พระเปรียญ ๓๙๙ รูป ได้กุศลกิริยามหาศาล

ก่อนอื่น ขอบอกจำนวนหน้าในพระไตรปิฏกก่อน

เล่ม 1 – 8 พระวินัยปิฎก มีจำนวน 3,250 หน้า

เล่มที่ จำนวนหน้า
1/ 444
2/ 471
3/ 267
4/ 362
5/ 356
6/ 374
7/ 422
8/ 554

เล่ม 9 – 33 พระสุตตันตปิฎกปิฎก มีจำนวน 12,078 หน้า

เล่มที่ จำนวนหน้า
9/ 312
10/ 396
11/ 343
12/ 611
13/ 689
14/ 548
15/ 353
16/ 332
17/ 340
18/ 489
19/ 589
20/ 385
21/ 346
22/ 503
23/ 487
24/ 393
25/ 558
26/ 507
27/ 571
28/ 453
29/ 630
30/ 429
31/ 642
32/ 574
33/ 598

เล่ม 34 – 45 พระอภิธรรมปิฏก มีจำนวน 6,497 หน้า

เล่มที่ จำนวนหน้า
34/ 381
35/ 588
36/ 236
37/ 662
38/ 753
39/ 556
40/ 577
40/ 577
41/ 647
42/ 428
43/ 600
44/ 531
45/ 538

รวมทั้งหมด 45 เล่ม 21,825 หน้า

ความเร็วในการอ่านสาธยาย

อ่านแบบเร็ว หน้าละ 73 วินาที
อ่านแบบค่อนข้างเร็ว หน้าละ 86 วินาที
อ่านแบบปกติ หน้าละ 96 วินาที


อ่านแบบแยก 3 กอง พร้อมกัน ใช้ระดับความเร็วปกติ 96 วินาที/หน้า จะใช้เวลา ๑๓ วัน และอีก ๒ ช.ม.เศษ

พระวินัยปิฏก 3,250 ใช้เวลา ประมาณ 3 วัน 6.1 ช.ม.
พระสุตตันตปิฎก 12,078 ใช้เวลา ประมาณ 13 วัน 4.2 ช.ม.
พระอภิธรรมปิฎก 6,497 ใช้เวลา ประมาณ 7 วัน 2.1 ช.ม.



อ่านแบบแยก 4 กอง พร้อมกัน ใช้ระดับความเร็วปกติ 96 วินาที/หน้า จะใช้เวลา ๗ วัน กับอีก ๒ ช.ม.เศษ แต่ถ้าเซ็ทให้ดี ใช้เวลาประมาณ ๕ วันครึ่ง

1.พระวินัยปิฏก 3,250 ใช้เวลา ประมาณ 3 วัน 6.1 ช.ม.
2.พระสุตตันตปิฎก กอง 1 6,236 ใช้เวลา ประมาณ 6 วัน 9.2 ช.ม. ( เล่ม 9 - 22 )
3.พระสุตตันตปิฎก กอง 2 5,842 ใช้เวลา ประมาณ 6 วัน 4.9 ช.ม ( เล่ม 23 - 33 )
4.พระอภิธรรมปิฎก 6,497 ใช้เวลา ประมาณ 7 วัน 2.1 ช.ม
.


ตัวอย่างการอ่าน

การอ่าน ในเวลาจำกัด 9 วัน
โดยจัดแบ่งเป็น 4 กอง ๆ ละ 2 จุด (ธรรมาสน์)
เพื่อ สาธยายและตรวจทาน วนสลับกันจนจบ
โดยให้พระสงฆ์ส่งต่อกันเรื่อย ๆ แบบไม่หยุดพัก



tongue

นิมนต์พระสาธยาย 399 รูป
พระอภิธรรมปิฎก จำนวน 6,497 หน้า สาธยายองค์ละ 16.28 หน้า
พระสุตตันตปิฎก กอง 1 จำนวน 6,236 หน้า สาธยายองค์ละ 15.62 หน้า
พระสุตตันตปิฎก กอง 2 จำนวน 5,842 หน้า สาธยายองค์ละ 14.64 หน้า
พระอภิธรรมปิฎก จำนวน 3,520 หน้า สาธยายองค์ละ 8.14 หน้า
เฉลี่ยรวม องค์ละประมาณ 54.68 หน้า
ใช้พระอภิธรรมปิฎกเป็นเกณฑ์ องค์ละ 16.28 หน้า
หนึ่งวันประมาณ 55 - 56 รูป ใช้เวลา 7.21 วัน อ่านหมด 6,497 หน้า


เพียงเพื่อได้เทอดทูนพุทธธรรม แม้ไม่เข้าใจ ขอให้เป็นอุปนิสัยไว้ภายภาคหน้า
พุทธัสสาหัสมิ ทาโสว พุทโธ เม สามิกิสสโร
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

รูปภาพ

วิโรจนมุนินโท

:b53: :b53: :b53:


แก้ไขล่าสุดโดย ไวโรจนมุเนนทระ เมื่อ 07 ม.ค. 2010, 01:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:34
โพสต์: 173

ชื่อเล่น: เจ้ก
อายุ: 23

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue อนุโมทนาสาธุด้วยน่ะครับท่าน ขอให้ประสบความสำเร็จตามที่ท่านได้ตั้งปณิธานไว้น่ะครับ smiley

.....................................................
จะขอเป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่า..เพื่อเติมเต็มธรรมที่ขาดหาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้จะงมงาย

บางครั้งก็มีสร่างซา

ตาบอด ก็มองเห็น

หูหนวก ก็ได้ยิน

ใจไม่บอด

เป็นวาสนา

ธุ ธุ ธุ

:b53:

โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ

หลวงจีนงมงาย

.:b51: :b51: :b51:.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ii019.jpg
ii019.jpg [ 34.54 KiB | เปิดดู 5168 ครั้ง ]
tongue

ผู้สาธยายมนต์ ย่อมได้ สมาธิ วิริยะ ตบะ ขันติ

ผู้ใคร่ครวญ พิจารณาตามมนต์ ย่อมได้ สุตตและจินตมยปัญญา

ผู้ปฏิบัติตามมนต์ย่อมได้ ภาวนามยปัญญาและ นิพพาน

อนุโมทนา สาธุ

:b8: :b8: :b8: :b8: :b27:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงจีนงมงาย เขียน:
แม้จะงมงาย

บางครั้งก็มีสร่างซา

ตาบอด ก็มองเห็น

หูหนวก ก็ได้ยิน

ใจไม่บอด

เป็นวาสนา

ธุ ธุ ธุ

:b53:

โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ

หลวงจีนงมงาย

.:b51: :b51: :b51:.


ท่านหลวงจีนงมงาย เจ้าคะ
บอกได้รึเปล่าคะ ทำไมจึงเป็นชื่อหลวงจีนงมงาย..เจ้าคะ

เพราะตามอ่านการ post ของท่านหลายบทความ
ถึงจะได้ชื่อว่า งมงาย ที่ข้างท้าย แต่สำนวนที่ท่านเรียบเรียงมานั้น
ล้วนมีนัยอ่านแล้วน่าขบคิดตามยิ่งนัก...
จนข้าน้อย...อ่านแล้วรู้สึกอยากจะทราบความเป็นมาของการเป็นหลวงจีนงมงายยิ่งนัก..

:b8: :b16: :b8:

แนะนำตัวสักนิดจะได้มั๊ย...เจ้าคะ...

:b8: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติ เช่นนี้

ไม่ได้ถือว่าเป็นพุทธบูชา แต่เป็น อวิชชาบูชา

ทำเอาตามอวิชชาเรื่อยๆ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
การปฏิบัติ เช่นนี้

ไม่ได้ถือว่าเป็นพุทธบูชา แต่เป็น อวิชชาบูชา

ทำเอาตามอวิชชาเรื่อยๆ


การอ่านพระไตรปิฎก ต้องใช้

สมาธิ ขันติ วิริยะ

เป็นต้น

การอ่านพระไตรปิฎกเป็นเจตนาที่ดี

ถึงแม้ความเชื่อครั้งนี้อาจไม่ถูกต้องนัก

แต่ไม่ถึงกับบูชาอวิชชา

อย่างขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41:

ขอบคุณครับ ที่แสดงความเห็น

อ่านแบบนี้ ในพม่าเขามีบ่อย แค่เดินผ่านเข้ามณฑลพิธี ก็ขนลุก ปีติ น้ำตาใหล

แม้ไม่เกิดปัญญามากมาย แต่เป็นกุศโลบายเหมือนเราสวดมนต์


ผู้อ่านต้องมีศีล

ขณะอ่านพนมมือ จิตเป็นสมาธิ กาย วาจา ใจ พร้อม

พระสงฆ์จำนวนมากประชุมกัน

ให้ความสำคัญพระไตรปิฏก

สร้างกระแสเชิดชูพระไตรปิฎก

เชิดชูพระเณรที่ท่านเรียนบาลี

ญาติโยมจำนวนมากได้มาทำบุญ

บางคนมานั่งสมาธิทั้งคืน

เทวดา สาธุการ

สิ่งที่ไม่เป็นมงคลทั้งหลาย ถอยห่างออกไป


นพม่า เท่าที่ทราบ พระท่านที่ทรงจำพระไตรปิฏก คือท่องได้ แปลได้ มี ๒ หรือ ๓ องค์

แต่ที่ทรงจำได้ ๑ ปิฏก หรือ เป็นนิกาย มีหลายรูป

อยากจะเชิดชูตรงนี้

เพราะต้องเชิญท่านเหล่านี้มาเป็นทิฎฐานุคติแบบอย่าง

ให้พระเณรทรงจำบาลีให้มากขึ้น

บาลี คนเรียนยิ่งน้อย คนเข้าใจยิ่งน้อย แล้วต่อไป ใครจะแปลพุทธพจน์ให้ลูกหลานฟัง


ท่านอาจมองว่าเป็นอวิชชา ในร้อยกิจกรรมที่มนุษย์ทำอยู่ทุกวันนี้ มีกิจกรรมอะไรบ้างครับ สวยงามกว่านี้

อนุโมทนาครับ

:b46:


แก้ไขล่าสุดโดย ไวโรจนมุเนนทระ เมื่อ 09 ม.ค. 2010, 11:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุโมทนาสาธุการกับท่าน "ไวโรจนมุเนนทระ" ด้วยเจ้าค่ะ
ขอให้ปณิธานครั้งนี้สำเร็จผลสมดังมุ่งหวังไว้ทุกประการด้วยเจ้าค่ะ

:b8: :b8: :b8:

เท่าที่ทราบในบ้านเราก็มีกิจกรรมอันเป็นมงคลนี้เช่นกัน
เป็นการบำเพ็ญกุศลให้มวลชนได้มีส่วนร่วมสืบทอดเสียงพระธรรม
ซึ่งกรุงเทพมหานครได้จัดงานอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากลขึ้นเป็นครั้งแรก
โดยมี กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปภัมภ์ฯ
ได้นำต้นฉบับพระไตรปิฎกปาฬิจากการสังคายนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐
มาจัดพิมพ์ชุดสมบูรณ์ในครั้งแรกเป็นอักษรโรมัน
ซึ่งเป็นอักษรสากลและรู้จักแพร่หลายในนานาชาติ

เพื่อให้ชาวโลกสามารถอ่านออกเสียงพระไตรปิฏกปาฬิได้ถูกต้องกว้างขวางยิ่งขึ้น
การออกเสียงพระธรรมที่ถูกต้องเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาพระไตรปิฎกเจ้าค่ะ


:b8: :b8: :b8:

พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันและงานอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากล :b8:
viewtopic.php?f=18&t=19103


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
:b41:

ขอบคุณครับ ที่แสดงความเห็น

อ่านแบบนี้ ในพม่าเขามีบ่อย แค่เดินผ่านเข้ามณฑลพิธี ก็ขนลุก ปีติ น้ำตาใหล

แม้ไม่เกิดปัญญามากมาย แต่เป็นกุศโลบายเหมือนเราสวดมนต์


ผู้อ่านต้องมีศีล

ขณะอ่านพนมมือ จิตเป็นสมาธิ กาย วาจา ใจ พร้อม

พระสงฆ์จำนวนมากประชุมกัน

ให้ความสำคัญพระไตรปิฏก

สร้างกระแสเชิดชูพระไตรปิฎก

เชิดชูพระเณรที่ท่านเรียนบาลี

ญาติโยมจำนวนมากได้มาทำบุญ

บางคนมานั่งสมาธิทั้งคืน

เทวดา สาธุการ

สิ่งที่ไม่เป็นมงคลทั้งหลาย ถอยห่างออกไป


นพม่า เท่าที่ทราบ พระท่านที่ทรงจำพระไตรปิฏก คือท่องได้ แปลได้ มี ๒ หรือ ๓ องค์

แต่ที่ทรงจำได้ ๑ ปิฏก หรือ เป็นนิกาย มีหลายรูป

อยากจะเชิดชูตรงนี้

เพราะต้องเชิญท่านเหล่านี้มาเป็นทิฎฐานุคติแบบอย่าง

ให้พระเณรทรงจำบาลีให้มากขึ้น

บาลี คนเรียนยิ่งน้อย คนเข้าใจยิ่งน้อย แล้วต่อไป ใครจะแปลพุทธพจน์ให้ลูกหลานฟัง


ท่านอาจมองว่าเป็นอวิชชา ในร้อยกิจกรรมที่มนุษย์ทำอยู่ทุกวันนี้ มีกิจกรรมอะไรบ้างครับ สวยงามกว่านี้

อนุโมทนาครับ

:b46:


ผมยังไม่เห็นได้ยินข่าวเลย ที่ว่าเทวดา สาธุการ

เทวดานะ ฉลาดในสิ่งที่เป็นมงคลมากกว่ามนุษย์อีก

ท่องจำมากเท่าไหร่ก็ได้แค่อยู่ในสัญญา

ถ้าจะบูชาพระพุทธเจ้าจริง ต้องปฏิบัติตามท่าน

ไม่ใช่ไปอวด จะอ่านบูชาท่าน ไม่รู้จะบูชาท่าน หรือ อวิชชา กันแน่

เพราะทำไปเพื่อ ปปัจธรรม มานะ ทิฏฐิ

บาลีไม่ได้เรียนก็เห็นพ่อแม่ครูอาจารย์บรรลุพระอรหันต์ กันมากมาย

สอนให้พระเณรจำบาลีมากๆ แค่นี้ก็เห็นผิดแล้ว

พระเณรควรปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า ให้มาเดินตามรอยท่าน

อย่าทำตัวเป็นใบลานเปล่า

ไปจำมาสั่งสอนมันไม่ได้พ้นทุกข์หรอก

ได้แต่รับจ้าง เฝ้ารีดนมวัว

ไม่ได้ดื่มนมวัว

จะไปมีประโยชน์อะไร

กับสิ่งที่ แบบนี้

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
การปฏิบัติ เช่นนี้

ไม่ได้ถือว่าเป็นพุทธบูชา แต่เป็น อวิชชาบูชา

ทำเอาตามอวิชชาเรื่อยๆ


การอ่านพระไตรปิฎก ต้องใช้

สมาธิ ขันติ วิริยะ

เป็นต้น

การอ่านพระไตรปิฎกเป็นเจตนาที่ดี

ถึงแม้ความเชื่อครั้งนี้อาจไม่ถูกต้องนัก

แต่ไม่ถึงกับบูชาอวิชชา

อย่างขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์


เจตตนามันผิดแต่แรกแล้ว

พระพุทธเจ้าสรรเสริญการปฏิบัติบูชา

ไม่ได้สรรเสริญใบลานเปล่า

การอ่านพระไตรปิฏกแบบนี้

ก็มีโทษเช่นกันคือ

มานะ อวิชชา ตัญหา โลภะ มิจฉาทิฏฐิ โอ้อวด

ก็ผิดแต่แรกแล้ว

กิจกรรมดีๆของพระพุทธเจ้า ทรงมีเยอะ

เช่นการปฏิบัติธรรม ตามสัจธรรมของท่าน เป็นต้น

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
:b41:

ขอบคุณครับ ที่แสดงความเห็น

อ่านแบบนี้ ในพม่าเขามีบ่อย แค่เดินผ่านเข้ามณฑลพิธี ก็ขนลุก ปีติ น้ำตาใหล

แม้ไม่เกิดปัญญามากมาย แต่เป็นกุศโลบายเหมือนเราสวดมนต์


ผู้อ่านต้องมีศีล

ขณะอ่านพนมมือ จิตเป็นสมาธิ กาย วาจา ใจ พร้อม

พระสงฆ์จำนวนมากประชุมกัน

ให้ความสำคัญพระไตรปิฏก

สร้างกระแสเชิดชูพระไตรปิฎก

เชิดชูพระเณรที่ท่านเรียนบาลี

ญาติโยมจำนวนมากได้มาทำบุญ

บางคนมานั่งสมาธิทั้งคืน

เทวดา สาธุการ

สิ่งที่ไม่เป็นมงคลทั้งหลาย ถอยห่างออกไป


นพม่า เท่าที่ทราบ พระท่านที่ทรงจำพระไตรปิฏก คือท่องได้ แปลได้ มี ๒ หรือ ๓ องค์

แต่ที่ทรงจำได้ ๑ ปิฏก หรือ เป็นนิกาย มีหลายรูป

อยากจะเชิดชูตรงนี้

เพราะต้องเชิญท่านเหล่านี้มาเป็นทิฎฐานุคติแบบอย่าง

ให้พระเณรทรงจำบาลีให้มากขึ้น

บาลี คนเรียนยิ่งน้อย คนเข้าใจยิ่งน้อย แล้วต่อไป ใครจะแปลพุทธพจน์ให้ลูกหลานฟัง


ท่านอาจมองว่าเป็นอวิชชา ในร้อยกิจกรรมที่มนุษย์ทำอยู่ทุกวันนี้ มีกิจกรรมอะไรบ้างครับ สวยงามกว่านี้

อนุโมทนาครับ

:b46:


หลัก ตัดสินธรรมวินัย 8 ประการแสดงให้เห็นอยู่แล้ว
ว่า

ธรรมเหล่านี้
เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก

เป็นไปเพื่อสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก



แค่นี้ละ มันตรงข้ามกับท่านแล้วยังจะประพฤติอีก

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ทุกอย่างล้วนมีเหตุนะ เหตุจากที่เราท่านทั้งหลายสร้างกันมา
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ มันต้องไปด้วยกันนะ

ครูบาฯที่มาถ่ายทอดให้กับเรา ท่านก็ต้องศึกษามาก่อนทั้งนั้น
การที่จะมาฟันธงทำนองว่าอันนั้นผิด อันนี้ถูก มันไม่ใช่ถูกต้องตามความเป็นจริง
เป็นเพียงแค่กล่าวด้วยความถูกใจของตัวเองเป็นหลัก

เมื่ออ่านสิ่งที่เขากระทำแล้ว จิตไม่อนุโมทนากับเขาก็ไม่ควรเข้ามาสนทนากับเขา
เพราะรังแต่จะก่ออกุศลจิต จะสะสมอกุศลจิตไปเพื่ออะไร ก่อภพก่อชาติไม่รู้จบ

รังเกียจผู้ศึกษาปริยัติ แถมขัดขวางผู้ศึกษาปริยัติอีก เกิดมาชาติต่อๆไปก็เป็นผู้ด้อยปริยัติ
สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้นนะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขงเบ้งแห่งกลยุทธ์ เขียน:
เจตตนามันผิดแต่แรกแล้ว

พระพุทธเจ้าสรรเสริญการปฏิบัติบูชา

ไม่ได้สรรเสริญใบลานเปล่า

การอ่านพระไตรปิฏกแบบนี้

ก็มีโทษเช่นกันคือ

มานะ อวิชชา ตัญหา โลภะ มิจฉาทิฏฐิ โอ้อวด

ก็ผิดแต่แรกแล้ว

กิจกรรมดีๆของพระพุทธเจ้า ทรงมีเยอะ

เช่นการปฏิบัติธรรม ตามสัจธรรมของท่าน เป็นต้น


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

ปัญญาอีก ๓ อย่าง
๑. จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]
๒. สุตมยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]
๓. ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม]


การอ่าน ท่องจำพระไตรปิฎกเป็นการสืบทอดพระศาสนา

สำคัญต่อพระพุทธศาสนายิ่งกว่าการสร้างวัด หรือพระพุทธรูปใดๆ

หากไม่ท่องจำคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสัทธรรมคงสูญสิ้นไปนานแล้ว

การอ่านพระไตรปิฎกจึงไม่ใช่เจตนาที่ผิด

เป็นปฏิบัติบูชา

เป็นวิชชา

เพราะพระไตรปิฎกเป็นพระธรรมที่เป็นวิชชา

ไม่ใช่ใบลานเปล่าเพราะวิชชาในพระไตรปิฎกสอนเรื่องทุกข บ่อเกิดแห่งทุกข และแนวทางแห่งการดับ

ทุกข

สอนว่าทุกขเกิดจากอวิชชาที่ไปยึดมั่นในอุปทานว่า

ตัวเรามี

ตัวตนนั้นมี

แท้จริงเป็นแค่เหตุปัจจัย

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี

ฉนั้นการอ่านพระไตรปิฎกจึงปราศจากโทษใดๆตามที่ท่านขงเบ้งกล่าวหา

อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติธรรมอีกด้วย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.onion.


เข้ากรุงเทพใหม่ ๆ

จะไปสีลม ทั้งผิด ทั้งหลง จ้างแท็กซี่นำ

ก็ได้แต่ขำ ๆ งมงายแท้เรา

มาใหม่ มาใหม่ ค่อย ๆ ดูทาง

หอบแผนที่กาง ทั้งอ่าน ทั้งท่อง

วกซ้าย วกขวา เลิ่กลักเหลียวมอง

โอย ครั้งที่สอง หลงอีกแล้วเรา

ถามทาง ถามทาง

เจอแต่คนไม่รู้ทาง ถามใหม่ ๆ

ไม่รู้ ไม่บอกทาง ไม่ชี้ ก็แล้วไป

เจอคนตาใส ชี้มั่ว บอกทาง

เอาละสิ เจอพวกไม่รู้ ผ่าดันชี้

กว่าจะรู้ว่าผิดทีนี้ มันเซ็งจิตจัง

แต่ยังโชคดีเจอ “คนรู้ทาง”

ใจดีบอกทาง ไม่ได้ไปกะเรา

เฮ้อ โล่งไปที ถึงเหมือนกัน ไม่ต้องจ้างแท็กซี่



จะไปนิพพาน

เจอคนเคยไป จะไปถูกทาง

ไม่เจอคนเคยไป ศึกษาเส้นทาง เจอคนศึกษาทาง ยังพอไปถูก

ไม่เจอคนเคยไป เจอคนไม่รู้ทาง ไม่ศึกษาเส้นทาง แล้วจะไปยังไง

หลงอมตนิรันดร์กาล


นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า ไปนิพพาน จ้างแทกซี่นำไม่ได้

:b53:

โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ

หลวงจีนงมงาย


:b51: :b51: :b51:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร