วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 14:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 1801 ครั้ง ]
ดูศัพท์และคำแปลก่อน


กายสังขาร = กายสัญเจตนา (ความจงใจทางกาย)

วจีสังขาร = วจีสัญเจตนา (ความจงใจทางวาจา)

จิตตสังขาร = มโนสัญเจตนา (ความจงใจในใจ)

ปุญญาภิสังขาร (ความดีที่ปรุงแต่งชีวิต) = กุศลเจตนาฝ่ายกามาวจรและฝ่ายรูปาวจร

อปุญญาภิสังขาร (ความชั่วที่ปรุงแต่งชีวิต) = อกุศลเจตนาฝ่ายกามาวจร

อาเนญชาภิสังขาร (ภาวะมั่นคงที่ปรุงแต่งชีวิต) = กุศลเจตนาฝ่ายอรูปาวจร

ผัสสะ = การกระทบระหว่างอายตนะภายใน ภายนอก และวิญญาณทางอายตนะนั้นๆ

เวทนา ถ้าแบ่งโดยลักษณะเป็น ๓ คือ สุข ทุกข์ และอทุกขมสุข

หรือ ๕ คือ สุข (ทางกาย) ทุกข์ (ทางกาย) โสมนัส (ทางใจ)โทมนัส (ทางใจ) อุเบกขา

ตัณหา ถ้าแบ่งโดยอาการเป็น ๓ คือ กามตัณหา (ทะยานอยากในสิ่งสนองความต้องการทาง

ประสาททั้ง ๕)

ภวตัณหา (ความอยากให้คงอยู่นิรันดร)

วิภวตัณหา (ความอยากให้ดับสูญ)

หรือ กามตัณหา (อยากด้วยความยินดีในกาม)

ภวตัณหา (อยากอย่างมีสัสตทิฐิ)

วิภวตัณหา (อยากอย่างมีอุจเฉททิฐิ)

ตัณหา ๓ นี้ คูณ ตัณหา ๖ = ๑๘ คูณภายในภายนอก = ๓๖ คูณกาล ๓ = ๑๐๘

(องฺ.จตุกฺก.21/199/290)


ต่อจากลิงค์นี้

viewtopic.php?f=7&t=28157

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ม.ค. 2010, 13:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำอธิบายหัวข้อและองค์ประกอบ หรือ ข้อตามลำดับ*

(* คำจำกัดความเหล่านี้ดู สํ.นิ.16/6-18/3-5ฯลฯ ส่วนคำอธิบายขยายความดูวิสุทธิมัคค์

และ วิภงฺค.อ.ตามที่อ้างข้างต้น)



๑. อวิชชา = ความไม่รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อริยสัจ ๔)

และ (ตามแบบอภิธรรม) ความไม่รู้หนก่อน (อดีต) -หนหน้า (อนาคต) -ทั้งหนก่อนหนหน้า

(ทั้งอดีตอนาคต) - ปฏิจจสมุปบาท

๒. สังขาร = กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

และ (ตามนัยอภิธรรม) ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร

๓. วิญญาณ = จักขุวิญญาณ โสต- ฆาน-ชิวหา-กาย- มโนวิญญาณ (วิญญาณ ๖)

๔. นามรูป = นาม (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ)

หรือ ตามแบบอภิธรรม (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) + รูป (มหาภูต ๔ และรูปที่

อาศัยมหาภูต ๔)

๕. สฬายตนะ = จักขุ-ตา โสตะ-หู ฆานะ-จมูก ชีวหา-ลิ้น กาย-กาย มโน-ใจ

๖. ผัสสะ= จักขุสัมผัส โสตะ- ฆาน –ชิวหา- กาย- มโนสัมผัส (สัมผัส ๖)

๗. เวทนา= เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส จากโสต-ฆาน-ชิวหา- กาย-และมโนสัมผัส (เวทนา ๖)

๘ .ตัณหา = รูปตัณหา (ตัณหาในรูป) สัททตัณหา (ในเสียง) คันธตัณหา (ในกลิ่น)

รสตัณหา (ในรส) โผฏฐัพพตัณหา (ในสัมผัสทางกาย) ธัมมตัณหา (ในธรรมารมณ์)

๙. กามุปาทาน= (ความยึดมั่นในกามคือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่างๆ)

ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ คือ ความเห็น ลัทธิ ทฤษฎี ต่างๆ)

สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต ว่าจะทำให้คนบริสุทธิ์ได้)

อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในอัตตา สร้างตัวตนขึ้นยึดถือไว้ด้วยความหลงผิด)

๑๐. ภพ = กามภพ รูปภพ อรูปภพ

อีกนัยหนึ่ง = กรรมภพ (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร)

กับ อุปปัตติภพ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญา

ภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ)

๑๑.ชาติ = ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้มาซึ่งอายตนะต่างๆ หรือความเกิด

ความปรากฏขึ้นของธรรมต่างๆ เหล่านั้นๆ *

๑๒ . ชรามรณะ = ชรา (ความเสื่อมอายุ ความหง่อมอินทรีย์)

กับ มรณะ (ความสลายแห่งขันธ์ ความขาดชีวิตินทรีย์)

หรือ ความเสื่อมและความสลายแห่งธรรมต่างๆ เหล่านั้นๆ *

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

(ความหมายนัยหลังที่มี * ข้อ ๑๑. * ๑๒.* ใช้สำหรับอธิบายปฏิจจสมุปบาทที่เป็นไปในขณะจิตเดียว

ตามหลักใน อภิ.วิ.35/302-3/194; 338/213; 428/256)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ม.ค. 2010, 15:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
(ข้อ ๑๑. ๑๒.* ใช้สำหรับอธิบายปฏิจจสมุปบาทที่เป็นไปในขณะจิตเดียว ตามหลักใน
อภิ.วิ.35/302-3/194; 338/213; 428/256)


:b17: :b19:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างอธิบายแบบช่วงกว้างที่สุด


เพื่อให้คำอธิบายสั้นและง่าย เห็นควรใช้วิธียกตัวอย่างดังนี้


(อาสวะ =>) อวิชชา เข้าใจว่าการเกิดในสวรรค์เป็นยอดแห่งความสุข เข้าใจว่าฆ่าคนนั้นคนนี้เสียได้

เป็นความสุข เข้าใจว่าฆ่าตัวตายเสียได้จะเป็นสุข เข้าใจว่าเข้าถึงความเป็นพรหมแล้วจะไม่เกิด

ไม่ตาย เข้าใจว่าทำพิธีบวงสรวงเซ่นสังเวยแล้วจะไปสวรรค์ได้ เข้าใจว่าไปนิพพานได้ด้วยการบำเพ็ญตบะ

เข้าใจว่าตัวตนอันนี้นั่นแหละจะได้ไปเกิดเป็นนั่นเป็นนี่ด้วยการกระทำอย่างนี้ เข้าใจว่าตายแล้วสูญ ฯลฯ จึง

=> สังขาร นึกคิด ตั้งเจตจำนงไปตามแนวทางหรือโดยสอดคล้องกับความเข้าใจนั้นๆ คิดปรุงแต่งวิธีการ

และลงมือกระทำการ (กรรม)ต่างๆ ด้วยเจตนาเช่นนั้น เป็นกรรมดี (บุญ)บ้าง เป็นกรรมชั่ว (อบุญ หรือ

บาป)บ้าง เป็นอาเนญชาบ้าง จึง

=> วิญญาณ เกิดความตระหนักรู้และรู้รับอารมณ์ต่างๆเฉพาะที่เป็นไปตามหรือเข้ากันได้กับเจตนา

อย่างนั้นเป็นสำคัญ

พูดเพื่อเข้าใจกันง่ายๆก็ว่า จิตหรือวิญญาณถูกปรุงแต่งให้มีคุณสมบัติเฉพาะขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ

แบบใดแบบหนึ่ง เมื่อตาย พลังแห่งสังขารคือกรรมที่ปรุงแต่งไว้จึงทำให้ปฏิสนธิวิญญาณที่มีคุณสมบัติ

เหมาะกับตัวมัน ปฏิสนธิขึ้นในภพ และระดับชีวิตที่เหมาะกัน คือ ถือกำเนิดขึ้น จากนั้น

=> นามรูป กระบวนการแห่งการเกิดก็ดำเนินการ ก่อรูปเป็นชีวิตที่พร้อมจะปรุงแต่งกระทำกรรมต่างๆ

ต่อไปอีก จึงเกิดมีรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ขึ้นโดยครบถ้วน ประกอบด้วยคุณสมบัติ

และข้อบกพร่องต่างๆ ตามพลังปรุงแต่งของสังขาร คือ กรรม ที่ทำมา และภายในขอบเขตแห่งวิสัยของภพ

ที่ไปเกิดนั้น สุดแต่จะไปเกิดเป็นมนุษย์ ดิรัจฉาน เทวดาเป็นต้น


=> สฬายตนะ แต่ชีวิตที่จะสนองความต้องการของตัวตน และพร้อมที่จะกระทำการต่างๆ โต้ตอบ

ต่อโลกภายนอก จะต้องมีทางติดต่อกับโลกภายนอก สำหรับให้กระบวนการรับรู้ดำเนินงานได้

ดังนั้น อาศัยนามรูปเป็นเครื่องสนับสนุน กระบวนการแห่งชีวิตจึงดำเนินต่อไปตามพลังแห่งกรรม ถึงขั้น

เกิดอายตนะทั้ง ๖ คือ ประสาท ตา หู จมูก ลิ้น กาย และเครื่องรับรู้อารมณ์ภายใน คือ ใจ จากนั้น

=>ผัสสะ กระบวนการแห่งรับรู้ก็ดำเนินงานได้ โดยการเข้ากระทบหรือประจวบกันระหว่างองค์ประกอบ

สามฝ่าย คือ อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ)

กับอารมณ์ หรือ อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์)

และวิญญาณ ( จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโน

วิญญาณ) เมื่อการรับรู้เกิดขึ้นครั้งใด

=>เวทนา ความรู้สึกที่เรียกว่า การเสวยอารมณ์ ก็จะเกิดขึ้นในรูปใดรูปหนึ่ง คือ สุขสบาย (สุข

เวทนา) ไม่สบาย เจ็บปวด เป็นทุกข์ (ทุกขเวทนา) หรือ ไม่ก็เฉยๆ (อทุกขมสุขเวทนา

หรือ อุเบกขาเวทนา) และโดยวิสัยของบุถุชน กระบวนการย่อมไม่หยุดอยู่เพียงนี้ จึง

=> ตัณหา ถ้าสุขสบายก็ติดใจ อยากได้ หรือ อยากได้ให้มากยิ่งๆขึ้นไปอีก เกิดการทะยานอยาก

และแส่หาต่างๆ

ถ้าเป็นทุกข์ ไม่สบาย ก็ขัดใจ ขัดเคือง อยากให้สูญสิ้นให้หมดไป หรือให้พ้นๆไปเสีย

ด้วยการทำลายหรือหนีไปให้พ้นก็ตาม เกิดความกระวนกระวายดิ้นรนอยากให้พ้นจากอารมณ์ที่เป็นทุกข์

ขัดใจ หันไปหาไปเอาสิ่งอื่นอารมณ์อื่นที่จะให้ความสุขได้

หรือไม่ก็รู้สึกเฉยๆ คือ อุเบกขา เป็นความรู้สึกอย่างละเอียด จัดเข้าในฝ่ายสุข เพราะไม่ขัดใจ เป็นความ

สบายอย่างอ่อนๆ รู้สึกเรื่อยๆเพลินๆ จากนั้น

=>อุปาทาน ความอยากเมื่อรุนแรงขึ้นก็กลายเป็นยึด คือ ยึดมั่นถือมั่นติดสยบหมกมุ่นในสิ่งนั้น

หรือ เมื่อยังไม่ได้ก็อยากด้วยตัณหา เมื่อได้หรือถึงแล้ว ก็ยึดฉวยไว้ด้วยอุปาทาน

และเมื่อยึดมั่น ก็มิใช่ยึดแต่อารมณ์ที่อยากได้ (กามุปาทาน) เท่านั้น

แต่ยังพ่วงเอาความยึดมั่นในความเห็น ทฤษฎี ทิฐิต่างๆ (ทิฏฐุปาทาน)

ความยึดมั่น ในแบบแผนความประพฤติและข้อปฏิบัติที่จะให้ได้สิ่งที่ปรารถนา (สีลัพพตุปาทาน)

และความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน (อัตตวาทุปาทาน) พัวพันเกี่ยวเนื่องกันไป

ด้วยความยึดมั่นถือมั่นนี้ จึงก่อให้เกิด

=>ภพ เจตนา เจตจำนง ที่จะกระทำการ เพื่อให้ได้มาและให้เป็นไปตามความยึดมั่นถือมั่นนั้น

และนำให้เกิดกระบวนพฤติกรรม (กรรมภพ) ทั้งหมดขึ้นอีก

เป็นกรรมดี กรรมชั่ว หรือ อาเนญชา สอดคล้องกับตัณหาอุปาทานนั้นๆ เช่น

อยากไปสวรรค์ และมีความเห็นที่ยึดมั่นไว้ว่าจะไปสวรรค์ได้ด้วยกระทำเช่นนี้ ก็กระทำกรรมอย่างนั้นๆ

ตามที่ต้องการ พร้อมกับการกระทำนั้น ก็เป็นการเตรียมภาวะแห่งชีวิต คือ ขันธ์ ๕ ที่จะปรากฏในภพ

ที่สมควรกับกรรมนั้นไว้พร้อมด้วย (อุปปัตติภพ) เมื่อกระบวนการก่อกรรมดำเนินไปเช่นนี้แล้ว

ครั้นชีวิตช่วงหนึ่งสิ้นสุดลง พลังแห่งกรรมที่สร้างสมไว้ (กรรมภพ) ก็ผลักดันให้เกิดการสืบต่อ

ขั้นตอนต่อไปในวงจรอีก คือ

=>ชาติ เริ่มแต่ปฏิสนธิวิญญาณที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับพลังแห่งกรรมนั้น ปฏิสนธิขึ้นในภพที่

สมควรกับกรรม บังเกิดขันธ์ ๕ ขึ้นพร้อม เริ่มกระบวนการแห่งชีวิตให้ดำเนินต่อไป คือ เกิด

นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาขึ้นหมุนเวียนวงจรอีก และเมื่อการเกิดมีขึ้นแล้ว ย่อมเป็นการ

แน่นอนที่จะต้องมี

=> ชรามรณะ ความเสื่อมโทรม และแตกดับแห่งกระบวนการของชีวิตนั้น

สำหรับบุถุชน ชรามรณะนี้ ย่อมคุกคามบีบคั้นทั้งโดยชัดแจ้ง และแฝงซ่อน (อยู่ในจิตส่วนลึก)

ตลอดเวลา

ดังนั้น ในวงจร (วัฏฏะ) ชีวิตของบุถุชน ชรามรณะ จึงพ่วงมาพร้อมด้วย


-โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ซึ่งเรียกรวมว่า ความทุกข์นั่นเอง

คำสรุปของปฏิจจสมุปบาทจึงมีว่า “กองทุกข์ทั้งปวง จึงเกิดมีด้วยอาการอย่างนี้”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี ในฐานะที่เป็นวัฏฏะ หรือ วงจร ความสิ้นสุดจึงไม่มี ณ ที่นี้

แท้จริง องค์ประกอบช่วงนี้ กลับเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งอีกตอนหนึ่ง ที่จะทำให้วงจรหยุดหมุนเวียน

ต่อไป กล่าวคือ โสกะ (ความแห้งใจ) ปริเทวะ (ความร่ำไร) ทุกข์โทมนัส (ความเสียใจ)

อุปายาส (ความผิดหวังคับแค้นใจ) เป็นอาการสำแดงออกของการมีกิเลสที่เป็นเชื้อหมักดองอยู่ใน

จิตสันดาน ที่เรียกว่า อาสวะ

อันได้แก่ ความใฝ่ใจในสิ่งสนองความอยากทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ (กามาสวะ)

ความเห็นความยึดถือต่างๆ เช่น ยึดถือว่า รูปเป็นเรา รูปเป็นของเรา เป็นต้น (ทิฏฐาสวะ)

ความชื่นชอบอยู่ในใจว่า ภาวะแห่งชีวิตอย่างนั้นอย่างนี้เป็นสิ่งดีเลิศ ประเสริฐ มีความสุข หวังใจใฝ่ฝันที่

จะได้อยู่ครอบครองภาวะชีวิตนั้นเสวยสุข ให้นานแสนนาน หรือ ตลอดไป (ภวาสวะ)

และความไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น (อวิชชาสวะ)

ชรามรณะ เป็นเครื่องหมายแห่งความเสื่อมสิ้นสลาย ซึ่งขัดกับอาสวะเหล่านี้ เช่น ในด้านกามาสวะ

ชรามรณะ ทำให้บุถุชนเกิดความรู้สึกว่า ตนกำลังพลัดพราก หรือหมดหวังจากสิ่งที่ชื่นชอบที่ปรารถนา

ในด้านทิฏฐาสวะ เมื่อยึดถืออยู่ว่าร่างกายเป็นตัวเราเป็นของเรา พอร่างกายแปรปรวนไป ก็ผิดหวังแห้งใจ

ในด้าน ภวาสวะ ทำให้รู้สึกตัวว่า จะขาด พลาด พราก ผิดหวัง หรือหมดโอกาสที่จะครองภาวะแห่งชีวิตที่

ตัวชื่นชอบอย่างนั้นๆ

ในด้านอวิชชาสวะ ก็คือขาดความรู้ความเข้าใจมูลฐานตั้งต้นแต่ว่าชีวิตคืออะไร ความแก่ชราคืออะไร

ควรปฏิบัติอย่างไร ต่อความแก่ชรา เป็นต้น

เมื่อขาดความรู้ความคิดในทางที่ถูกต้อง พอนึกถึงหรือเข้าเกี่ยวข้องกับชรามรณะก็บังเกิดความรู้สึกและแสดง

อาการในทางหลงงมงาย ขลาดกลัว และเกิดความซึมเซา หดหู่ ต่างๆ

ดังนั้น อาสวะ จึงเป็นเชื้อ เป็นปัจจัยที่จะให้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดขึ้นได้ทันที

ที่ชรามรณะเข้ามาเกี่ยวข้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เหล่านี้ แสดงถึงอาการมืดมัวของจิตใจ

เวลาใดความทุกข์เหล่านี้เกิดขึ้น จิตใจจะพร่ามัวร้อนรนอับปัญญา เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ก็เท่ากับพ่วง

อวิชชาเกิดขึ้นมาด้วย อย่างที่กล่าวในวิสุทธิมัคค์ว่า

“โสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ไม่แยกไปจากอวิชชา และธรรมดาปริเทวะ ก็ย่อมมีแก่คนหลง เหตุนั้น

เมื่อโสกะเป็นต้น สำเร็จแล้ว อวิชชาก็ย่อมเป็นอันสำเร็จแล้ว”

(วิสุทธิ.3/192)

ว่า “ในเรื่องอวิชชา พึงทราบว่า ย่อมเป็นอันสำเร็จมาแล้วแต่ธรรมมีโสกะ เป็นต้น”

(วิสุทธิ.3/193)

และว่า “อวิชชา ย่อมยังเป็นไปตลอดเวลาที่โสกะ เป็นต้น เหล่านั้นยังเป็นไปอยู่”

(วิสุทธิ.3/124)

โดยนัยนี้ ท่านจึงกล่าวว่า “เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด”

(ม.มู.12/128/100)

และสรุปได้ว่า ชรามรณะของปุถุชน ซึ่งพ่วงด้วยโสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา หมุนวงจร (วัฏฏะ) ต่อไปอีก สัมพันธ์กันไปไม่ขาดสาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร