วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นคำแนะนำ นะครับ แบบว่ารักพระพุทธศาสนาครับ

การยกหลักฐานจากพระไตรปิฎกโดยไม่ยึดถืออรรถาธิบายจากคัมภีร์อรรถกถานั้น มีโอกาสผิดพลาดมาก
ขอแนะนำว่า บางครั้ง เรายกพุทธพจน์มายืนยันแนวคิดตัวเอง ขอให้ดูคำอธิบายในอรรถกถาด้วย จะเป็นบุญของเราอย่างมหาศาล

การรักษาพระธรรมวินัยให้ถูกต้องเป็นหน้าที่ พวกเราพุทธบริษัททุกคนพึงช่วยกันทำครับ


เมื่ออ้างพระไตรปิฎก แต่ไม่ยึดถืออรรถกถา บางครั้งจะมีการตีความไปต่างๆ นานา เมื่อคน ๑๐๐ คนอ่านพระไตรปิฎกแล้วต่างก็ตีความไปต่างๆ กันโดยไม่ยึดถืออรรถกาก็ย่อมจะต้องหาข้อสรุปไม่ได้อย่างแน่นอน

กลัวว่าต่อไปภายภาคหน้า จะเกิดสัทธรรมปฏิรูป (สัทธรรมปลอม)

มีชาวพุทธจำนวนไม่น้อยมีความคิดว่า คัมภีร์อรรถกถาคือ อัตโนมติ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ของพระอรรถกถาจารย์


บางท่านคิดว่า พระพุทธศาสนา คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ลงตัวสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว ความคิดว่าจะต้องไปแสวงหาสิ่งใหม่ๆ หรือตีความกันใหม่ ท่านอาจคิดว่าเป็นความคิดที่ผิดพลาด

มีบางคนคิดว่าคนยุคสมัยนี้อาจจะเข้าใจเนื้อความของพระบาลีได้ดีกว่า
อรรถกถาอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้

หรือบางคนคิดว่าจะต้องพยายามคิดค้นความรู้ใหม่ๆ ตีความกันเองใหม่นอกจากหลักฐานที่มีอยู่


แล้วเราท่านทั้งหลาย มั่นใจได้ขนาดไหนว่าตีความพุทธพจน์ถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน

ผมเองเคยมีวาสนาได้เรียนบาลีจนจบหลักสูตรคณะสงฆ์ไทย เรียนจบอภิธรรม ๙ ปริเฉทของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มีโอกาส เรียนภาษาสันสกฤต ปรากฤต พุทธศาสนามหายาน เพิ่มเติม ในมหาวิทยาลัย ทั้งยังมีวาสนาเคยสอนบาลีหลายปี สันสกฤต ๑ ปี ยังมีความรู้สึกว่าปัญญาผมยังน้อย ยังไม่มั่นใจ ในการตีความพุทธพจน์

คนที่เป็นนักภาษาศาสตร์ จะเข้าใจเนื้อความนี้มากกว่าผมครับ

ขอให้พิจารณาเพิ่มเติมนิดนึงครับ

๑.พระอรรถกถาจารย์ ในยุคต้น ๆ ส่วนมากเป็นพระอริยเจ้า

๒.ท่านคลุกคลีอยู่กับธรรมะตลอด ไม่มีเรื่องวุ่นวายซับซ้อนมากเหมือนในปัจจุบัน

๓.สำคัญที่สุด ท่านเป็นเจ้าของภาษา บางท่านรู้หลายภาษา สิงหล บาลี สันสกฤต ปรากฤต เศารเสนี มหาราษฏรี อื่น ๆ มากมาย สามารถเทียบเคียงความหมายได้เป็นอย่างดี

๔.ที่สำคัญที่สุด อรรถกถาเล่มที่ผ่านการสังคายนามา (มีอรรถกถาหลายเล่ม มีมาแต่ครั้งสังคายนาครั้งที่ ๑ เช่น มหาอรรถกถา ) เป็นมติของพระเถระจำนวนมาก เห็นพ้องต้องกัน หาใช่มติขององค์ใดองค์หนึ่งไม่




ต่อไปนี้ เป็นบทความของท่านผู้รู้ ท่านเขียนไว้ ผมตัดตอน ย่อมา

ลองอ่านเล่น ๆ นะครับ เชื่อก็ได้ ไม่เชื่อก็ได้ คงไม่ได้เสียหายอะไร

แท้ที่จริงแล้ว อรรถกถาไม่ใช่อัตโนมติของพระอรรถกถาจารย์ แต่มีมาตั้งแต่ครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่

ในสมัยพุทธกาลมีอรรถาธิบายพุทธพจน์ เรียกว่า “ปกิณกเทศนา” ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงอธิบายหลักธรรมที่เข้าใจยากให้กระจ่างชัดด้วยพระองค์เอง

ในสมัยปฐมสังคายนา พระเถระผู้ใหญ่ มีพระมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระเป็นต้น ได้ร้อยกรองพระธรรมวินัยโดยไม่ได้สงเคราะห์ปกิณกเทศนานั้นเข้าในพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นคำอธิบายอีกทอดหนึ่ง แต่ท่านได้สังคายนาปกิณกเทศนานั้นเมื่อร้อยกรองพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นลง โดยเรียกว่า “มหาอรรถกถา


นอกจากคัมภีร์มหาอรรถกถารวบรวมปกิณกเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังประกอบด้วยคำอธิบายของพระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้นด้วย.

ในสมัยพุทธกาล ท่านเหล่านั้นได้ชี้แจงขยายความข้อธรรมที่สำคัญไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เข้าใจพุทธาธิบายได้อย่างถูกต้อง ไม่วินิจฉัยตามทัศนคติของตน

พระเถระในสมัยปฐมสังคายนาจนถึงตติยสังคายนาได้บรรจุคำอธิบายของพระสาวกเหล่านั้นไว้ในคัมภีร์มหาอรรถกถาร่วมกับปกิณกเทศนาเพื่อให้คัมภีร์มหาอรรถกถาเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างบริบูรณ์เพียบพร้อมด้วยพุทธภาษิตและสาวกภาษิต


ครั้นล่วงสู่พุทธศตวรรตที่ ๓ พระมหินทเถระโอรสพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. ๒๗๐-๓๑๒) ได้ไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ลังกาทวีปหลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ ท่านได้นำพระไตรปิฎกพร้อมทั้ง มหาอรรถกถาไปด้วย ต่อมาคัมภีร์อรรถกาได้รับการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อกุลบุตรชาวสิงหลได้ศึกษาโดยสะดวกเหมือนการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน

เมื่อกาลเวลาผ่านไปคัมภีร์มหาอรรถกถาที่เป็นฉบับภาษาบาลีเดิมได้อันตรธานสูญหายไปจากประเทศอินเดียและลังกา เพราะภัยพิบัตินานัปการ คงเหลือแต่คัมภีร์มหาอรรถกถาที่แปลเป็นภาษาสิงหล

ต่อมาพระเถระนามว่าพระพุทธโฆสาจารย์ได้เดินทางไปประเทศลังกาในรัชสมัยพระเจ้ามหานาม (พ.ศ. ๙๕๓-๙๗๕) แล้วปริวรรตคัมภีร์มหาอรรถกถาภาษาสิงหลมาเป็นภาษามคธ (บาลี) เพื่อผู้รู้ภาษาบาลีในนานาประเทศสามารถอิงอาศัยคัมภีร์อธิบายที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกชี้แจงขยายความไว้ คัมภีร์ที่พระพุทธโฆสาจารย์ปริวรรตมาจากมหาอรรถกถาภาษาสิงหลนี้เรียกว่า “อรรถกถา” (คัมภีร์อรรถาธิบาย) ในบางที่เรียกว่า “สังคหัฏฐกถา” (อรรถาธิบายประมวลความ)

อยากจะบอกว่า

๑) การปฏิเสธอรรถกาซึ่งเป็นอรรถาธิบายพระบาลีที่ถูกต้อง เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน
พุทธบริษัทในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท (โดยเฉพาะภิกษุบริษัท) ต่างก็ได้ยึดถือคัมภีร์อรรถกถาในการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกมาช้านานแล้ว และได้พยายามรักษาคัมภีร์อรรถกถานั้นและพระไตรปิฎกไว้เป็นอย่างดี การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองไปต่างๆนานา เท่ากับเป็นการทำลายเนื้อความที่ถูกต้องของพระไตรปิฎก เมื่อไม่เชื่อถือเนื้อความที่ถูกต้องแล้ว กลับพยายามตีความเอาเองตามความคิดเห็นของตน พระไตรปิฎกนั้นก็จะต้องได้รับการบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ และค่อยอันตรธานสูญสิ้นไปในที่สุด เพราะฉะนั้นการปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองจึงเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน



๒) การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาร้ายแรงยิ่งกว่าการทำลายพระพุทธรูป หรือภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองตามความคิดเห็นของตนโดยไม่บอกหรือแสดงให้ชัดเจนว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเป็นการจาบจ้วง บิดเบือน ถอนถอนพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา เป็นความผิดที่ร้ายแรงยิ่งกว่าการทำลายพระพุทธรูป

การที่มีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติปาราชิกก็เช่นกัน เป็นความเสียหายแก่ภิกษุรูปนั้นเท่านั้น ไม่ได้เป็นความเสียหายต่อภิกษุรูปอื่นๆ หรือคณะสงฆ์ ที่สำคัญคือไม่ได้เป็นการทำความเสียหายต่อพระธรรมวินัย เพราะพระธรรมวินัยก็ยังคงอยู่ เพราะฉะนั้นการปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาจึงเป็นความผิดที่ร้ายแรงมีผลเสียหายต่อพระศาสนามากยิ่งกว่าการต้องอาบัติปาราชิกของภิกษุบางรูป

๓) การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถา เป็นการสร้างความแตกแยกในหมู่พุทธบริษัท
อาจมีบางคนคิดว่าการยึดถือคัมภีร์อรรถกถาเป็นการยืนกระต่ายขาเดียว ไม่รับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น และเป็นการก่อให้เกิดการโต้เถียงและขัดแย้ง
พระพุทธศาสนาคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ความคิดเห็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ฉะนั้นที่ว่าการยึดถือคัมภีร์อรรถกถาเป็นการยืนกระต่ายขาเดียวและไม่รับฟังความคิดเห็นจึงไม่เป็นความจริงและฟังไม่ขึ้น ในทางตรงข้ามการยึดถือคัมภีร์อรรถกถาเป็นการรักษาพระไตรปิฎกไว้ โดยไม่บิดเบือนตีความเข้าข้างตนเอง
การยึดถือคัมภีร์อรรถกถานั่นแหละเป็นการยุติความขัดแย้งที่ชอบธรรมที่สุด
ใครไม่เชื่ออรรถกถาแล้วจะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวก็ได้ ไม่ได้ห้ามหรือบังคับให้เชื่ออรรถกถา
แต่ขอให้บอกให้ชัดเจนว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว


๔) การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระธรรมวินัยเอาเองเป็นการไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่เคารพพระธรรมวินัย และจะไม่มีความเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่ตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว จักเป็นศาสดาแก่เธอทั้งหลายเมื่อตถาคตล่วงลับไปแล้ว”
เมื่อไม่ยึดถือคัมภีร์อรรถกถาแล้วจะไม่มีทางรู้เนื้อความที่ถูกต้องได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมเป็นการกระทำตนให้เสื่อมจากพระศาสนา จะไม่มีความเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาเป็นแน่แท้ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรเลย
ประวัติคัมภีร์อรรถกถาและโทษของการปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาที่ได้แสดงมานี้คงจะเป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลายเป็นแน่ ขอให้พุทธบริษัทที่มีความรักและมุ่งเทิดทูนพระศาสนาของพระพุทธเจ้าจงอย่าได้มีความแตกแยกกันโดยการยึดถือคัมภีร์อรรถกถาเป็นแบบแผนในการศึกษาพระไตรปิฎกเถิด


จิรัง ติฏฐะตุ สัทธัมโม ธัมเม โหนตุ สะคาระวา.
ขอพระสัทธรรมจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน ขอพระภิกษุสามเณรและสาธุชนทั้งหลายจงเป็นผู้มีความเคารพในพระสัทธรรม เถิด

:b48: :b48: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 14 ม.ค. 2010, 10:00, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎก (บางส่วน)

คัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระไตรปิฎก 45 เล่ม มีทั้งหมด 23 คัมภีร์ โดยอาจมีชื่อคัมภีร์ซ้ำกันบ้าง

คัมภีร์อรรถกถาพระวินัยปิฎก
1. มหาวิภังค์ ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
2. มหาวิภังค์ ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
3. ภิกขุนีวิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
4. มหาวรรค ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
5. มหาวรรค ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
6. จุลวรรค ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
7. จุลวรรค ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
8. ปริวาร มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

คัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก
1. ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
2. ทีฆนิกาย มหาวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
3. ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
4. มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
5. มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
6. มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
7. สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
8. สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
9. สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
10. สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
11. สังยุตตนิกาย มหาวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
12. อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
13. อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
14. อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
15. อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
16. อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
17. ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถโชติกา
18. ขุททกนิกาย ธรรมบท มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ธัมมปทัฏฐกถา
19. ขุททกนิกาย อุทาน-อิติวุตตกะ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
20. ขุททกนิกาย สุตตนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถโชติกา
21. ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ-เปตวัตถุ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
22. ขุททกนิกาย เถรคาถา-เถรีคาถา มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
23. ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ชาตกัฏฐกถา
24. ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ชาตกัฏฐกถา
25. ขุททกนิกาย มหานิทเทส มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา
26. ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา
27. ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธรรมปกาสินี
28. ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ วิสุทธชนวิลาสินี
29. ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ วิสุทธชนวิลาสินี
30. ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มธุรัตถวิลาสินี
31. ขุททกนิกาย จริยาปิฎก มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี


คัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก
1. ธัมมสังคณ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ อัฏฐสาลินี
2. วิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัมโมหวิโนทนี
3. ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
4. กถาวัตถุ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
5. ยมก ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
6. ยมก ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
7. ปัฏฐาน ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
8. ปัฏฐาน ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
9. ปัฏฐาน ภาค 3 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
10. ปัฏฐาน ภาค 4 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
11. ปัฏฐาน ภาค 5 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)
12. ปัฏฐาน ภาค 6 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี (ปัญจปกรณัฏฐกถา)


นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์อธิบายอรรถกถา เรียกว่า ฏีกา
คัมภีร์ อธิบาย ฏีกา เรียกว่า อนุฏีกา
คัมภีร์อื่น ๆ อีก มากมายอะครับ

เพราะเราเป็นเถรวาท เราจึงต้องศึกษาตามนี้ครับ
:b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
ผมเองเคยมีวาสนาได้เรียนบาลีจนจบหลักสูตรคณะสงฆ์ไทย เรียนจบอภิธรรม ๙ ปริเฉทของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มีโอกาส เรียนภาษาสันสกฤต ปรากฤต พุทธศาสนามหายาน เพิ่มเติม ในมหาวิทยาลัย ทั้งยังมีวาสนาเคยสอนบาลีหลายปี สันสกฤต ๑ ปี ยังมีความรู้สึกว่าปัญญาผมยังน้อย ยังไม่มั่นใจ ในการตีความพุทธพจน์



สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ

ถ้าสามารถเรียนจบพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกด้วยก็จะดีนะครับ
ลองสร้างวาสนาศึกษาและปฏิบัติพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกด้วยนะครับ
เพราะพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกจะต่างกับ ๙ ปริเฉทอย่างสิ้นเชิงครับ
ผมว่าคุณไวโรจนมุเนนทระยอดเยี่ยมกว่านี้แน่ครับ


ขอแสดงความชื่นชมในวาสนาบารมีของคุณไวโรจนมุเนนทระด้วยคนครับ

สาธุครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


โมฆบุรุษ ใบลาน เปล่า

ไร้ประโยชน์ ในการหาสิ่งที่ไม่ใช่ ธรรมวินัย มายกให้เป็นธรรมวินัย

กลับทำให้พระสัทธรรมเสื่อม

ควรเจริญธรรมวินัยให้แจ้งในจิต

ไม่ควรทำตนให้เป็นโมฆบุรุษ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
อยากจะบอกว่า



สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ

ผมก็อยากจะบอกคุณว่า.....

เราไม่ได้ปฏิเสธอรรถกถาเสียทั้งหมดหรอกครับ
แต่อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และธรรมมัตถาธิบายใดที่ไม่ถูกต้อง ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์
เราปฏิเสธครับ
เช่นอรรถกาที่คุณไวโรจนมุเนนทระ ยกมามาอ้างอิง แต่ขัดแย้งกับพุทธพจน์ พวกเราก็ต้องขออภัยนะครับ ที่ไม่อาจเชื่อถือตามคุณไวโรจนมุเนนทระยกมาได้ครับ


หวังว่าคุณไวโรจนมุเนนทระคงจะเข้าใจ และให้ความสำคัญกับสติปัญญาในการเชื่อถือสัทธาของผู้อื่นด้วยเช่นกันนะครับ






ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
อยากจะบอกว่า
๑) การปฏิเสธอรรถกาซึ่งเป็นอรรถาธิบายพระบาลีที่ถูกต้อง เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน


ผมก็อยากจะบอกคุณว่า.....

เชื่อพุทธพจน์ เชื่ออรรถกถาที่ถูกต้องตามพุทธพจน์ และปฏิเสธอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และธรรมมัตถาธิบายใดที่ไม่ถูกต้อง ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์

พระพุทธศาสนาย่อมเจริญรุ่งเรืองสืบไปครับ แต่การเชื่อถืออรรถกถาที่ตีความผิด แสดงขัดแย้งคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้คนอื่นรู้ผิด เข้าใจผิด อย่างนี้สิทำลายพระพุทธศาสนาแบบถอนรากถอนโคนจริง

เหมือนกับการปฏิบัติที่คุณไวโรจนมุเนนทระปฏิบัติอยู่ตอนนี้ที่รู้มาผิด เข้าในมาผิด ปฏิบัติผิด แสดงธรรมผิดนี่แหละ ที่ทำลายพระพุทธศาสนาแบบถอนรากถอนโคนจริง






ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
อยากจะบอกว่า
๒) การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาร้ายแรงยิ่งกว่าการทำลายพระพุทธรูป หรือภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองตามความคิดเห็นของตนโดยไม่บอกหรือแสดงให้ชัดเจนว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเป็นการจาบจ้วง บิดเบือน ถอนถอนพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา เป็นความผิดที่ร้ายแรงยิ่งกว่าการทำลายพระพุทธรูป


ผมก็อยากจะบอกคุณว่า.....

ถ้าคุณไวโรจนมุเนนทระหรือใครก็ตาม อ่านพุทธพจน์ที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนา แล้วน้อมใจไปตามอรรถ ธรรม นิรุติ และปฏิภาณนั้น ไม่ไปตีความเพิ่มเติมย่อมเข้าใจพระธรรมเทศนาได้แน่ครับ
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมที่ยากและปราณีตให้ง่าย หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด ตามประทีปแก่ผู้หลงทางอยู่แล้วครับ







ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
อยากจะบอกว่า
๓) การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถา เป็นการสร้างความแตกแยกในหมู่พุทธบริษัท
อาจมีบางคนคิดว่าการยึดถือคัมภีร์อรรถกถาเป็นการยืนกระต่ายขาเดียว ไม่รับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น และเป็นการก่อให้เกิดการโต้เถียงและขัดแย้ง


ผมก็อยากจะบอกคุณว่า.....

การเชื่อถือสัทธาในพระพุทธพจน์ น้อมพระธรรมเทศนามาใส่เกล้า
ใช้ปัญญาเลือกอรรถกถาที่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์
ย่อมสร้างความสามัคคีในหมู่พุทธบริษัทให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้นครับ
เพราะธรรมะในพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของการแสดงความคิดเห็นครับ
แต่เป็นการถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าครับ
ดังนั้นถ้าชาวพุทธทุกคนลงมือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อม ๆ กัน
ความแตกแยกในหมู่พุทธบริษัทย่อมไม่มีอย่างแน่นอนครับ
จะมีก็แต่ความรักความเมตตากรุณาเอื้ออาทรต่อกัน สามัคคีกันอย่างแน่นแฟ้นครับ







ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
อยากจะบอกว่า
๔) การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระธรรมวินัยเอาเองเป็นการไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่เคารพพระธรรมวินัย และจะไม่มีความเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่ตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว จักเป็นศาสดาแก่เธอทั้งหลายเมื่อตถาคตล่วงลับไปแล้ว”...


ผมก็อยากจะบอกคุณว่า.....

การเคารพในพระพุทธเจ้า กับการปฏิเสธอรรถกถาที่ไม่ถูกต้อง และปฏิเสธอรรถกถาที่คัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มันคนละเรื่องกันกับการเคารพในพระพุทธเจ้าครับ

ที่เราชาวพุทธเคารพสัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระองค์ทรงแสดงสัจจะธรรมอันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้จริง พระธรรมเทศนาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่หมู่สัตว์ ทั้งมนุษย์ เทวดา มาร พรหม คุณของพระพุทธเจ้ามีไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ เราชาวพุทธจึงสัทธาในพระองค์ตรงนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับการมีหรือไม่มีอรรถกถาหรอกครับ


การสัทธาอันเกิดจากการใช้ปัญญาพิสูจน์สัจจะธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ชอบด้วยเหตุผลครับ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญด้วยครับ เช่นทรงสั่งสอนว่าอย่าเชื่อเพราะเป็นศาสดา หรืออาจารย์ หรือตำรา ฯลฯ แต่ให้พิสูจน์ด้วยการปฏิบัติตามให้ได้ผลจริงเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อถือสัทธาครับ


อรรถกถาถ้าพิสูจน์แล้วถูกต้องได้ผลดีจริงเราเชื่อแน่ครับ
อรรถกถาพิสูจน์แล้วไม่ถูกต้อง และยังคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียอีก อย่างนี้เราคงเชื่อถือสัทธาต่อไปไม่ได้ครับ


ดังนั้นการเชื่ออรรถกถาและการเคารพพระพุทธเจ้านั้นคนละเรื่องคนละประเด็นกันครับคุณไวโรจนมุเนนทระ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุครับเจ้าของกระทู้ คุณ ไวโรจนมุเนนทระ

ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ การศึกษาพระไตรปิฏก อรรถกถา

ขอเพิ่มเติมจาก คัมภีร์ระดับ อรรถกถา คือ พระอภิธัมมัตถสังคหะ

และคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ดังนี้

http://abhidhamonline.org/aphi/p1/001.htm

บรรดาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดเวลา ๔๕ ปี รวมได้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อประมวลและจัดสรรสงเคราะห์เป็นหมวดหมู่ได้ ๓ หมวด

๑. พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้เป็นข้อบังคับ เป็นระเบียบแบบแผนให้ประพฤติปฏิบัติ ผู้ล่วงละเมิดหรือไม่ปฏิบัติจะต้องมีโทษตามชั้น ๆ ที่กำหนดไว้

๒. พระสุตตันตปิฏก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้ โดยยกบุคคลขึ้นเป็นตัวอย่างทั้งในทางดีและทางชั่ว มุ่งหมายให้ผู้ศึกษาได้รู้ถึงสมมุติสัจจะรู้ความจริงตามความเป็นไปของโลก พระสูตรนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ให้อัธยาศัยสงบ และมีจิตใจแน่วแน่มั่นคง

๓. พระอภิธรรมปิฎก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่ล้วนเป็นปรมัตถสัจจะ คือเป็นความจริงอันมีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลงผันแปร เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เห็นแจ้งในสภาวธรรมนั้น ๆ โดยไม่กล่าวอ้างบุคคล พระอภิธรรมนี้เป็นพื้นฐานที่จะสร้างสรรค์ให้มีสติว่องไว และมีปัญญาหลักแหลม

๑. บาลี หมายถึง พระพุทธพจน์ คือถ้อยคำที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาโดยตรง

๒. อรรถกถา หมายถึง คำอธิบาย หรือขยายความของท่านอรรถกถาจารย์ เพื่อให้คำหรือเนื้อความในบาลีให้ละเอียดชัดเจนเข้าใจง่ายขึ้น

๓. ฎีกา หมายถึง คำอธิบายขยายความในอรรถกถาให้ชัดเจนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งท่านฎีกาจารย์ได้อธิบายไว้

๔. อนุฎีกาจารย์ คือ ผู้ที่อธิบายข้อสงสัยในฎีกา

๕. เกจิอาจารย์ คือ อาจารย์อื่น ๆ ที่แสดงความเห็นในข้อธรรม เพื่ออธิบายขยายความในข้อธรรมโดยทั่ว ๆ ไป



------------------------------------------------------------------------

ขอยกตัวอย่าง การใช้ อัตตโนมติ(ความเห็นส่วนตัว) ไปอธิบาย ตีความหมายพระบาลีเอง เช่น

ในเรื่อง จิตปภัสสร ของ เกจิอาจารย์บางท่าน กลายมาเป็นเรื่อง จิตว่าง, จิตเดิม, จิตเดิมแท้บริสุทธิ์

จนท่านผู้รู้ ที่ทรงพระไตรปิฏก ได้นำอรรถกถา มาอธิบายชี้แจงเพิ่มเติมดังนี้


วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "จิตเดิม" ( จิตว่าง )

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=10128


"ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺติ" ความว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ก็จิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา"


ในเอกนิบาตอังคุตตรนิกาย อรรถกถา ภาค ๑ หน้า ๔๕ ข้อ ๕๐ ท่านแก้ว่า จิตก็คือ ภวังคจิตนั่นเอง


พระดำรัสที่ว่า "หลุดพ้นแล้ว" หมายถึง เป็นจิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกุศลที่สัมปยุตด้วยญาณมีเหตุ ๓ เป็นต้น ได้รับการสรรเสริญ มีชื่อเสียง สืบเนื่องมาจากบุตรเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระ ก็เพราะเหตุที่บุตรเป็นต้นของตนเหล่านั้นั่นแหละ เป็นคนดีงาม ด้วยเหตุที่ได้รับการศึกษาได้รับโอวาทและคำพร่ำสอน ฉันใด


ภวังคจิตดวงนี้ที่พระมหามุนีตรัสว่า "หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา" ก็ด้วยอำนาจแห่งกุศลจิต ซึ่งเกิดขึ้นในขณะของชวนะฉันนั้นฯ

ตามที่ได้ยกข่อความจากอาคตสถานมาแสดงเทียบเคียงให้เห็นดังนี้แล้ว ผู้อ่านก็พอจะทราบได้ว่าอะไรเป็นอะไร


แต่ขอให้ทัศนะไว้นิดหนึ่งว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ บางครั้งถึงกับอุทิศเพศบวชมาเป็นเวลานานก็มี ขอร้องให้พากันเชื่อพระบาลีและอรรถกถาอันเป็นหลักปริยัติฝ่ายเถรวาทเถิด เพราะจะเป็นปัจจัยให้เกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นที่ถูกต้องในส่วนของพระปริยัติศาสนาขึ้นได้


แม้จะเกิดศรัทธาให้ลงมือปฏิบัติ ก็เชื่อเหลือเกินว่าต้องไม่ผิดแน่ เพราะเมื่อปริติถูกก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิบัติถูก อันเป็นเสมือนเงาตามตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ยอมเชื่อโดยยกตัวเสมอกับอรรถกถาเสียแล้วก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้

-------------------------------------------------------



ฝากถึงทุกท่าน ด้วยนะครับ การวินิจฉัย วิจัยธรรม อธิบายธรรมต่าง ๆ ควรระมัดระวังด้วย

ควรจะอ้างหลักฐาน จากพระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ ของเถรวาท ให้มาก

ไม่เช่นนั้น อาจจะผิดพลาดได้ ( ดังข้อคิดจากพระครูศรีโชติญาณ )

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
ผมเองเคยมีวาสนาได้เรียนบาลีจนจบหลักสูตรคณะสงฆ์ไทย เรียนจบอภิธรรม ๙ ปริเฉทของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มีโอกาส เรียนภาษาสันสกฤต ปรากฤต พุทธศาสนามหายาน เพิ่มเติม ในมหาวิทยาลัย ทั้งยังมีวาสนาเคยสอนบาลีหลายปี สันสกฤต ๑ ปี ยังมีความรู้สึกว่าปัญญาผมยังน้อย ยังไม่มั่นใจ ในการตีความพุทธพจน์



สาธุ ในปริยัติศาสนา ที่คุณไวโรจนมุเนนทระ

ขอให้ผมได้มีโอกาสที่จะกระทำธุระในพระพุทธศาสนา ทั้ง คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ ให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ

ขอให้ได้พบ ครูบาอาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก อรรถกถา


---------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์

โมฆบุรุษ ใบลาน เปล่า

ไร้ประโยชน์ ในการหาสิ่งที่ไม่ใช่ ธรรมวินัย มายกให้เป็นธรรมวินัย

กลับทำให้พระสัทธรรมเสื่อม

ควรเจริญธรรมวินัยให้แจ้งในจิต

ไม่ควรทำตนให้เป็นโมฆบุรุษ

.....................................................

พูดถึง พระใบลานเปล่า ที่พระพุทธองค์ทรงเรียก ภิกษุท่านหนึ่ง

ภิกษุท่านนั้น ก็บรรลุมรรคผลนิพพานไปแล้ว

ก็ยังเหลือ แต่พวกเรา ที่ยังวนเวียนว่าย ในสังสารวัฏ ไม่รู้ที่หมาย

ว่างเปล่าจากใบลาน (เถรวาท) ความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้น

พระใบลานเปล่า ที่ปรากฏใน อรรถกถา ธรรมบท ดังนี้

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=5



๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระนามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โยคา เว" เป็นต้น.

รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด

ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดาทรงดำริว่า "ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า "เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตน เราจักยังเธอให้สังเวช."

จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระเถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า "มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็ตรัสว่า "คุณใบลานเปล่าไปแล้ว."

--------------------------------------------------------------------

นึกถึง ประวัติการปฏิบัติธรรมของพระที่ทรงพระไตรปิฏกที่เป็นพระวิปัสสนาจารย์ของ อ.แนบ โยมผ้าขาวที่เข้าถึงสภาวะธรรมจากการปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจะไปสอนพระผู้ทรงพระไตรปิฏก ไม่ได้ ต้องเข้าไปในฐานะศิษย์ก่อน


http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... x-page.htm


ประวัติการปฏิบัติธรรม
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... -07-01.htm

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ครั้นล่วงสู่พุทธศตวรรตที่ ๓ พระมหินทเถระโอรสพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. ๒๗๐-๓๑๒) ได้ไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ลังกาทวีปหลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ ท่านได้นำพระไตรปิฎกพร้อมทั้ง มหาอรรถกถาไปด้วย ต่อมาคัมภีร์อรรถกาได้รับการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อกุลบุตรชาวสิงหลได้ศึกษาโดยสะดวกเหมือนการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน

เมื่อกาลเวลาผ่านไปคัมภีร์มหาอรรถกถาที่เป็นฉบับภาษาบาลีเดิมได้อันตรธานสูญหายไปจากประเทศอินเดียและลังกา เพราะภัยพิบัตินานัปการ คงเหลือแต่คัมภีร์มหาอรรถกถาที่แปลเป็นภาษาสิงหล

ต่อมาพระเถระนามว่าพระพุทธโฆสาจารย์ได้เดินทางไปประเทศลังกาในรัชสมัยพระเจ้ามหานาม (พ.ศ. ๙๕๓-๙๗๕) แล้วปริวรรตคัมภีร์มหาอรรถกถาภาษาสิงหลมาเป็นภาษามคธ (บาลี) เพื่อผู้รู้ภาษาบาลีในนานาประเทศสามารถอิงอาศัยคัมภีร์อธิบายที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกชี้แจงขยายความไว้ คัมภีร์ที่พระพุทธโฆสาจารย์ปริวรรตมาจากมหาอรรถกถาภาษาสิงหลนี้เรียกว่า “อรรถกถา” (คัมภีร์อรรถาธิบาย) ในบางที่เรียกว่า “สังคหัฏฐกถา” (อรรถาธิบายประมวลความ)

อยากจะบอกว่า

๑) การปฏิเสธอรรถกาซึ่งเป็นอรรถาธิบายพระบาลีที่ถูกต้อง เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน
พุทธบริษัทในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท (โดยเฉพาะภิกษุบริษัท) ต่างก็ได้ยึดถือคัมภีร์อรรถกถาในการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกมาช้านานแล้ว และได้พยายามรักษาคัมภีร์อรรถกถานั้นและพระไตรปิฎกไว้เป็นอย่างดี การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองไปต่างๆนานา เท่ากับเป็นการทำลายเนื้อความที่ถูกต้องของพระไตรปิฎก เมื่อไม่เชื่อถือเนื้อความที่ถูกต้องแล้ว กลับพยายามตีความเอาเองตามความคิดเห็นของตน พระไตรปิฎกนั้นก็จะต้องได้รับการบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ และค่อยอันตรธานสูญสิ้นไปในที่สุด เพราะฉะนั้นการปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองจึงเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน


---------------------------------------------------------

สำหรับความเห็นส่วนตัว ของผม

ภิกษุ ที่นำ อัตตโนมติ มาอธิบาย พระไตรปิฏก เอง แล้วเกิดความผิดพลาด ก็มี ท่านพุทธทาส เป็นต้น

จนภายหลัง ได้กล่าวตู่ พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท ว่าขาดความน่าเชื่อถือ


ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
สำหรับความเห็นส่วนตัว ของผม

ภิกษุ ที่นำ อัตตโนมติ มาอธิบาย พระไตรปิฏก เอง แล้วเกิดความผิดพลาด ก็มี ท่านพุทธทาส เป็นต้น

จนภายหลัง ได้กล่าวตู่ พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท ว่าขาดความน่าเชื่อถือ


ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?



สวัสดีครับคุณchalermsak

ผมว่าเอาให้แคบลงดีกว่านะครับ
เรามาพูดถึงประเด็นคุณไวโรจนมุเนนทระ ยกอรรถกถาที่มาสนับสนุนความคิดเห็นตนเองดีกว่าครับ
แล้วบังเอิญว่าอรรถกถาที่คุณไวโรจนมุเนนทระ ยกมานั้น มันขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ ยังไม่ต้องไปไกลถึงคนอื่นเช่นท่านพุทธทาส หรือใคร ๆ หรอกครับ เอาแค่คุณไวโรจนมุเนนทระ ก่อนดีกว่าครับ จะได้สนทนากันรู้เรื่องเป็นเรื่อง ๆ ไปครับ


ผมมีคำถามว่าคุณไวโรจนมุเนนทระ เรียนจบอภิธรรม ๙ ปริเฉท กับเรียนจบอถิธรรมในพระไตรปิฎกนั้นคุณchalermsakมีความเห็นว่าอย่างไรครับ เป็นอภิธรรมเหมือนกันหรือต่างกันครับ ??



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ee231.jpg
ee231.jpg [ 91.84 KiB | เปิดดู 9276 ครั้ง ]
tongue
ขอให้กำลังใจคุณไวโรจน์มุเนนเถระ อดทนแสดงความเห็นต่อไปนะครับ

มหาราชันย์ เขียน

การสัทธาอันเกิดจากการใช้ปัญญา พิสูจน์สัจจะธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ชอบด้วยเหตุผลครับ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญด้วยครับ เช่นทรงสั่งสอนว่าอย่าเชื่อเพราะเป็นศาสดา หรืออาจารย์ หรือตำรา ฯลฯ แต่ให้พิสูจน์ด้วยการปฏิบัติตามให้ได้ผลจริงเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อถือ สัทธาครับ

อโศกะ เขียน

อนุโมทนากับอัตโนมัติของคุณมหาราชันย์ท่อนนี้

โปรดให้โอกาสผู้ที่กำลังพิสูจน์ธรรม ด้วยจิตเมตตาและเป็นกลาง

ภิกษุคัมภีร์เปล่าผู้รอบรู้พระไตรปิฎก กลับไปบรรลุธรรมด้วยคำสอนง่ายๆเรื่องจอมปลวก จากเณรน้อย ที่ถึงจริง

รู้มาก กับ ถึงจริง นั้น อรรถรสของคำสอน มีความสดชื่น หอมหวาน ต่างกันมากมายนัก

สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ เป็นพุทธพจน์

ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น เป็นคำแปลและอธิบายของอรรถกถาจารย์แล้ว

ถ้าไปแปลว่า ธรรมทั้งหลายควรยึดถือให้มั่น นี่คือสัทธรรมปฏิรูป

แต่การอธิบายแจกแจงให้เข้าใจความหมายและวิธีปฏิบัติ ว่าจะทำอย่างไร จึงจะปล่อยวางความยึดมั่น ถือมั่น ไม่ใช่สัทธรรมปฏิรูป แต่เป็นเมตตา กรุณาของอรรถกถาจารย์ ที่จะทำให้พระสัทธรรมเข้าใจง่าย ในภาษาง่ายๆ ปฏิบัติง่ายยิ่งขึ้น กลับเป็นกุศลกรรม และการเผยแพร่ธรรม โปรดมองในมุมนี้ด้วย



:b8: tongue

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
ครั้นล่วงสู่พุทธศตวรรตที่ ๓ พระมหินทเถระโอรสพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. ๒๗๐-๓๑๒) ได้ไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ลังกาทวีปหลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ ท่านได้นำพระไตรปิฎกพร้อมทั้ง มหาอรรถกถาไปด้วย ต่อมาคัมภีร์อรรถกาได้รับการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อกุลบุตรชาวสิงหลได้ศึกษาโดยสะดวกเหมือนการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน

เมื่อกาลเวลาผ่านไปคัมภีร์มหาอรรถกถาที่เป็นฉบับภาษาบาลีเดิมได้อันตรธานสูญหายไปจากประเทศอินเดียและลังกา เพราะภัยพิบัตินานัปการ คงเหลือแต่คัมภีร์มหาอรรถกถาที่แปลเป็นภาษาสิงหล

ต่อมาพระเถระนามว่าพระพุทธโฆสาจารย์ได้เดินทางไปประเทศลังกาในรัชสมัยพระเจ้ามหานาม (พ.ศ. ๙๕๓-๙๗๕) แล้วปริวรรตคัมภีร์มหาอรรถกถาภาษาสิงหลมาเป็นภาษามคธ (บาลี) เพื่อผู้รู้ภาษาบาลีในนานาประเทศสามารถอิงอาศัยคัมภีร์อธิบายที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกชี้แจงขยายความไว้ คัมภีร์ที่พระพุทธโฆสาจารย์ปริวรรตมาจากมหาอรรถกถาภาษาสิงหลนี้เรียกว่า “อรรถกถา” (คัมภีร์อรรถาธิบาย) ในบางที่เรียกว่า “สังคหัฏฐกถา” (อรรถาธิบายประมวลความ)

อยากจะบอกว่า

๑) การปฏิเสธอรรถกาซึ่งเป็นอรรถาธิบายพระบาลีที่ถูกต้อง เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน
พุทธบริษัทในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท (โดยเฉพาะภิกษุบริษัท) ต่างก็ได้ยึดถือคัมภีร์อรรถกถาในการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกมาช้านานแล้ว และได้พยายามรักษาคัมภีร์อรรถกถานั้นและพระไตรปิฎกไว้เป็นอย่างดี การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองไปต่างๆนานา เท่ากับเป็นการทำลายเนื้อความที่ถูกต้องของพระไตรปิฎก เมื่อไม่เชื่อถือเนื้อความที่ถูกต้องแล้ว กลับพยายามตีความเอาเองตามความคิดเห็นของตน พระไตรปิฎกนั้นก็จะต้องได้รับการบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ และค่อยอันตรธานสูญสิ้นไปในที่สุด เพราะฉะนั้นการปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองจึงเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน


---------------------------------------------------------

สำหรับความเห็นส่วนตัว ของผม

ภิกษุ ที่นำ อัตตโนมติ มาอธิบาย พระไตรปิฏก เอง แล้วเกิดความผิดพลาด ก็มี ท่านพุทธทาส เป็นต้น

จนภายหลัง ได้กล่าวตู่ พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท ว่าขาดความน่าเชื่อถือ


ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187



สำหรับความเห็นส่วนตัว ของผม

ภิกษุ ที่นำ อัตตโนมติ มาอธิบาย พระไตรปิฏก เอง แล้วเกิดความผิดพลาด ก็มี ท่านพุทธทาส เป็นต้น

จนภายหลัง ได้กล่าวตู่ พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท ว่าขาดความน่าเชื่อถือ


คุณกรุณาอย่าไปยุ่งกับท่านพุทธทาสเลยนะงับ

เพราะท่านพุทธทาส พ้นไปแล้ว

คุณจะว่าใครก็ตาม ผมไม่ได้เข้าข้างพุทธทาส แต่การเอาความเห็นต้น ไปวิจารณ์ พระอริยเจ้า

ก็เหมือนการขัดขวางธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศไว้

ระวัง จะจมปทุมนรกไม่รู้ตัวนะงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
รู้มาก กับ ถึงจริง นั้น อรรถรสของคำสอน มีความสดชื่น หอมหวาน ต่างกันมากมายนัก



สวัสดครับคุณอโศกะ


ผู้ที่สามารถรู้มากด้วย และถึงจริงด้วยคงไม่เสียหายอะไรไม่ใช่หรือครับ ??






อโศกะ เขียน:
แต่การอธิบายแจกแจงให้เข้าใจความหมายและวิธีปฏิบัติ ว่าจะทำอย่างไร จึงจะปล่อยวางความยึดมั่น ถือมั่น ไม่ใช่สัทธรรมปฏิรูป แต่เป็นเมตตา กรุณาของอรรถกถาจารย์ ที่จะทำให้พระสัทธรรมเข้าใจง่าย ในภาษาง่ายๆ ปฏิบัติง่ายยิ่งขึ้น กลับเป็นกุศลกรรม และการเผยแพร่ธรรม โปรดมองในมุมนี้ด้วย



ผมว่าท่านผู้อ่านท่านมีสายตาที่ยาวไกล มีปัญญาวินิจฉัยได้ดีแน่นอนครับ ไม่ได้ผู้อ่านท่านไม่ได้ปฏิเสธอรรถกถาทั้งหมดนี่ครับ แต่ก่อนจะยอมรับต้องตรวจสอบก่อนครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 19:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
คุณกรุณาอย่าไปยุ่งกับท่านพุทธทาสเลยนะงับ

เพราะท่านพุทธทาส พ้นไปแล้ว

คุณจะว่าใครก็ตาม ผมไม่ได้เข้าข้างพุทธทาส แต่การเอาความเห็นต้น ไปวิจารณ์ พระอริยเจ้า

ก็เหมือนการขัดขวางธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศไว้

ระวัง จะจมปทุมนรกไม่รู้ตัวนะงับ


สาธุ..ครับ

เก่งนะครับ..คนที่ชอบไปยุ่งกะพระเนี้ย..ไม่ต้องถึงขั้นอริยะหรอก..แค่ 227 ครบ..ผมว่า..ก็น่ากลัวแล้ว

คุณขงเบ้งครับ...ถามนิด

คนที่ถึงความเป็นอริยะแล้วนี้..จะมีลักษณะที่ชอบกล่าว..ชอบแสดง..ว่าคนนั้น..คนนี้..ไม่ดียังงั้น..ยังงี้..บ้างหรือเปล่าครับ? :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณทุกท่านครับ

ทุกอย่างเพื่อให้เกิดปัญญา

เพื่อพ้นทุกข์

เราท่านล้วนบัณฑิต ล้วนพี่น้องกัน ขัดแย้งทางความคิด แต่ศิษย์พระพุทธเจ้าเหมือนกัน

ผมไม่อาจตัดสินใครผิด ใครถูก

เพียงแต่ผมเรียนมาอย่างนี้ ฟังมาอย่างนี้ ประสบการณ์ผมมีอย่างนี้ ศึกษาจากสำนักครูบาอาจารย์ แลเคยถกเถียงกับผู้รู้มาพอสมควร จนได้ข้อยุติระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่าจะถูกเสมอไป พระไตรปิฏกผมก็ไม่ได้อ่านทุกหน้า ก็ขอแสดงเท่าที่ปัญญาผมมีครับ

ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การยกหลักฐานอ้างพระไตรปิฎก ถ้าไม่ดูอรรถกถา มีโอกาสผิดพลาด


ขอยกตัวอย่าง ทิฏฐิของท่านพุทธทาส แล้วกันครับ คือ ท่านไม่เชื่อว่า ปฏิสนธิวิญญาณมีจริง การเกิดของสัตว์ทั้งหลายไม่มีปฏิสนธิวิญญาณร่วมด้วย วิญญาณมีเพียงที่ผ่าน อายตนะ เท่านั้น
(การเกิดของสัตว์ทั้งหลาย อาศัยเพียง รูปธรรม คือ ไข่ของมารดา เชื้อของบิดา เท่านั้น)

ท่านพุทธทาสจึงพยามจะ อธิบาย พระไตรปิฏกเอง โดยกล่าวตู่ พระไตรปิฏก (โดยเฉพาะพระอภิธรรม) อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท ว่าอธิบายถ่ายทอดกันมาแบบผิด เป็นภาษาคน

ทิฏฐิของท่านพุทธทาส เท่านั้นที่เป็นภาษาธรรม

จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ชุดลอยปทุม


อ้างคำพูด:
หน้า ๕๙
อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร.
เอาละทีนี้จะพูดต่อไปถึงความรู้ที่มันจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นว่า ทำไมจึงอธิบายผิด ? และ อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?
เดี๋ยวนี้ในเมืองไทยก็ดี ในประเทศพม่าก็ดี ในประเทศลังกาก็ดี สอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียวกันแทบทั้งนั้น คือสอนตามข้อความที่มีอธิบายอยู่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เรื่องมี ๓ ชาติ คร่อม ๓ ชาตินี้ พวกฝรั่งชั้นเก่งที่สุดก็ถือเอาตามนี้. อธิบายเอาตามนี้เป็นคุ้งเป็นแควไปเลย. แปลว่าทุก ๆ ประเทศที่เป็นพุทธบริษัทเขากำลังสอนปฏิจจสมุปบาทชนิดที่คร่อม ๓ ชาติ, สายเดียวคร่อม ๓ ชาติ. กันอยู่ทั้งนั้น. นี่เมื่อพูดอะไรแปลกออกไปมันก็จะต้องถูกด่าจากคนทั้งโลกก็ว่าได้. ผมกำลังพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะคร่อม ๓ ชาติ. ดังนั้นต้องติดตามว่ามันอธิบายผิดได้อย่างไร ? อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?
อธิบายกันผิดมาตั้งแต่เมื่อไรอันนี้รู้ได้ยาก. แต่ข้อที่ว่าอธิบายผิดรู้ได้ง่าย เพราะมันผิดจากพระบาลีเดิม และเพราะผิดความมุ่งหมายของปฏิจจสมุปบาท ที่ทรงสอนเพื่อให้ทำลายอัตตา ฉะนั้นจึงถือว่าอธิบายผิด. สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวร. ท่านทรงมีความเห็นว่าเรื่องนี้อธิบายผิดกันมาตั้งพันปีแล้ว. ท่านก็ไม่ทรงศรัทธาในการที่จะอธิบายปฏิจจสมุปบาทคร่อม ๓ ชาติ. แล้วท่านก็อธิบายไปในทำนองว่ามันคร่อมอยู่เพียงชาติเดียว. แต่แล้วก็ไม่แน่พระทัยที่จะอธิบายรายละเอียดก็เลยทิ้งไว้ลุ่น ๆ . แต่ข้อที่ท่านทรงยืนยันความเข้าใจของท่านก็คือ มันคงอธิบายผิดกันมาตั้งพันปีแล้ว. ข้อนี้ผมก็เห็นด้วยพระองค์ท่าน. แต่ผมก็อาจจะเลยไปถึงเกินกว่าพันปี อธิบายกันผิดมา เกินกว่าพันปี เพราะหนังสือวิสุทธิมรรคนี้มีอายุตั้ง ๑,๕๐๐ ปีแล้ว.
ในหนังสือวิสุทธิมรรคนั้นอธิบายปฏิจจสมุปบาทเป็น ๓ ชาติทั้งนั้น คร่อม ๓ ชาติทั้งนั้น แล้วในการแต่งวิสุทธิมรรคนั้น. พระพุทธโฆษาจารย์ก็ยังเขียนไว้ว่า อธิบายตามที่เขามีกันอยู่ก่อนแล้วด้วย ประเดี๋ยวจะเอามาอ่านให้ฟังสำหรับคำพูดของพระพุทธโฆษาจารย์ เรื่องมันมีหลักฐานว่าท่านอธิบายตามที่มีอธิบายกันอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นสมัยของท่านมันก็ตั้ง ๑,๕๐๐ ปีแล้ว และถ้าต่อไปจากนั้นอีกมันก็เกือบ ๒,๐๐๐ ปี ผมมีความเห็นว่าอาจจะอธิบายผิดกันมาตั้งแต่หลังสังคายนาครั้งที่ ๓ คือ พ.ศ. ประมาณ ๓๐๐ ก็ได้. ดังนั้นก็แปลว่าผิดกันมาตั้ง ๒,๒๐๐ ปี มันจะต้องอธิบายผิดกันมาตั้ง ๒,๒๐๐ ปีมาแล้ว ไม่ใช่ ๑,๐๐๐ ปีอย่างสมเด็จพระสังฆราชเจ้าท่านว่า ประเดี๋ยวจะชี้ให้ดู.
ถ้าจะพูดว่าเมื่อไรให้แน่นอนนั้น ต้องค้นหาหลักฐานทางโบราณคดี. มันลำบากมากไปอีก. แต่เมื่อเราพูดกันอย่างนี้ที่ไม่มีทางจะผิดได้ มันก็ต้องพิจารณาถึงข้อที่ว่า ทำไมมันจึงเกิดการอธิบายแหวกแนวของพระพุทธเจ้าไปได้ ในเมื่อพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เป็นหลัก ๆ อย่างนี้ ไม่มีทางจะคร่อม ๓ ชาติ. ทำไมมันจึงไปคร่อม ๓ ชาติ และให้มีอัตตาขึ้นมาได้.
ข้อนี้ผมตั้งข้อสันนิษฐานว่ามันมีได้โดยที่ไม่รู้. เกิดไม่รู้. เกิดเข้าใจไม่ได้ แล้วก็เดาหรือสันนิษฐานกันโดยไม่เจตนานี้อย่างหนึ่ง เพราะว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งที่สุดในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ตรัส และใคร ๆ ก็ยอมรับว่ามันเป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุด. ทีนี้พอมาถึงสักประมาณ ๓ – ๔๐๐ ปี เกิดเข้าใจไม่ได้ ก็เริ่มเกิดความคิดแตกแยก. ทีนี้ต่อมาอีกมันก็แตกแยกหนักเข้า ๆ จนกระทั่งกลายเป็นตรงกันข้ามไป. อย่างนี้เรียกว่าไม่มีใครเจตนาอธิบายให้ผิด มันเป็นเพราะความไม่รู้.
ทีนี้มาเดากันดูอีกทางหนึ่งดีกว่าว่า จะมีทางเป็นไปได้ไหมว่าอาจเกิดมีหนอนบ่อนไส้ขึ้นในพระพุทธศาสนา. มีคนขบถทรยศเป็นหนอนบ่อนไส้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แกล้งอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นหลักของพระพุทธศาสนาให้ผิดเสีย คือให้เป็นสัสสตทิฏฐิในฮินดู หรือกลายเป็นศาสนาพราหมณ์. ปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้าไม่มีทางที่จะมีอัตตา, ชีโว, อาตมันหรืออะไรทำนองนั้น. ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างนั้น เพราะว่าเป็นของพุทธ. แล้วถ้ามีใครมาอธิบายปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนาให้มันเกิดคร่อม ๓ ชาติอย่างนี้มันก็เกิดเป็นอัตตาขึ้นมา เขาก็กลืนพุทธศาสนาสำเร็จ. ถ้ามีเจตนาเลวร้ายกันถึงขนาดนี้ ก็แปลว่าต้องมีคนแกล้งอธิบายขึ้นมาให้มีช่องให้เกิดอัตตาขึ้นมาในพุทธศาสนา แล้วศาสนาพราหมณ์ก็กลืนศาสนาพุทธวูบเดียวหมดโดยกระทันหัน. นี้เป็นเรื่องสันนิษฐานในแง่เลวร้ายอย่างนี้ก็มีได้

เรื่องส่วนตัวพระพุทธโฆษาจารย์
ทีนี้จะวิจารณ์เรื่องส่วนตัวของพระพุทธโฆษาจารย์กันบ้าง ไม่ใช่จ้วงจาบ ไม่ใช่นินทา ไม่ใช่ใส่ร้าย แต่เอามาเป็นเหตุผลสำหรับการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทของท่าน(บางส่วนที่คร่อมภพชาติ ซึ่งท่านพุทธทาสถือว่าผิดจากหลักบาลี ) ซึ่งมันมีแง่ให้เราตั้งข้อสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์ ท่านจบไตรเพทอย่างพราหมณ์คนหนึ่ง มีวิญญาณอย่างพราหมณ์ แล้วจึงมาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แล้วได้รับการสมมุติกันในหมู่คนบางพวกว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เมื่อ พศ. ร่วมพันปี นักโบราณคดีถือว่าท่านเกิดที่อินเดียใต้ มิใช่ชาวมคธ บางพวกดึงท่านมาเป็นมอญก็มี ไม่เหมือนในอรรถกถา ที่ถือว่าท่านเป็นชาวมัธยมประเทศ ท่านเป็นพราหมณ์โดยเลือดเนื้อมาเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วถ้าเกิดไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพุทธให้กลายเป็นพราหมณ์อย่างนี้ มันยิ่งสมเหตุสมผล คือท่านเผลอไปก็ได้ ถ้าท่านเผลอท่านก็ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นแน่นอน ข้อนี้จะว่าอย่างไรก็ต้องพูดอย่างที่เรียกว่า ขอฝากไว้ให้ท่านผู้มีสติปัญญาพิจารณาดูเถิด
ทีนี้ของประหลาดๆในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์นั้นยังมีอีกบางเรื่องดังที่ผมพูดเมื่อตะกี้นี้ เรื่องปฏิจจสมุปบาทคร่อม ๓ ชาตินี้ก็เรื่องหนึ่งแล้ว เราพูดกันเข้าใจแล้ว ทีนี้ก็เรื่องที่ท่านอธิบายอะไรๆในพระพุทธศาสนากลับกลายไปเป็นพราหมณ์อย่างนี้มันมีอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเช่นเรื่องโลก ,หรือโลกวิทู
เมื่อท่านอธิบายโลกวิทู ซึ่งเป็นพระพุทธคุณบทนี้ ท่านอธิบายโลกแบบโลกอย่างพราหมณ์ไปหมด ตามที่เขาพูดกันอยู่ ท่านไม่อธิบายโลกอย่างที่พระพุทธเจ้าอธิบายโลกอย่างพระพุทธเจ้าอธิบายนั้น ท่านอธิบายโลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ตถาคตได้บัญญัติไว้ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งที่ยังเป็น ๆ ที่มีสัญญาและใจ


-----------------------------------------------------------------

คำวิจารณ์ของท่านพุทธทาสต่อ พุทธวิสัย (การแสดงพระอภิธรรม ณ ดาวดึงส์เทวโลก)
http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 30962.html

ประวัติพระอภิธรรม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 71b5fad520

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร