วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 04:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 01:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีเจริญจิตภาวนา
วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
๑. เริ่มต้นอริยาบทที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำ ความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่
ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียวรักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ “รู้อยู่เฉยๆ” ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำ หรับผู้ฝึกใหม่ ต่อ เมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ
จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวย
อารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไปด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใครข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำ ให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไปในกรณีที่ไม่สามารถทำ เช่นนี้ ให้ลองนึกคำ ว่า "พุทโธ" หรือคำ อะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำ ที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิตพึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่งฐานแห่งจิตที่คำ นึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำ หนดถูกฐานแห่งจิตแล้วเมื่อกำ หนดถูก และพุทโธปรากฏใน มโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ถ้าขาดแม้อึดใจ จิต ก็จะแล่น สู่อารมณ์ทันทีเมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำ นองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เองข้อควรจำ ในการกำ หนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำ นงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการเจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไปแต่ถ้าเจตจำ นงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอนดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละเจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าสึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมาตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตรายเจตจำ นงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำ ให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลยเมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำ บริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำ บริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำ บริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ “พฤติแห่งจิต” ที่ฐานนั้น ๆบริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ
๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์
นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)ทำ ความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิต
เผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖
๔. จงทำ ญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัย
ของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไป เรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด
๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิต
ต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำ ความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้คำ ว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง
๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับ
กฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำ อำ พรางทั้งสิ้นเรียกว่า “สมุจเฉทธรรมทั้งปวง”
๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่าย
ภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง
เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำ ไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า “พ้นเหตุเกิด”
๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า
ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่
สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)เมื่อจิตว่างจาก “พฤติ” ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกันวิธีเจริญจิตภาวนา ๔
เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไรเมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว “จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง” จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำ พูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า “นิพพาน”โดยปกติ คำ สอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ “ปริศนาธรรม” มิใช่เป็นการบรรยายธรรมฉะนั้น คำ สอนของท่านจึงสั้น จำ กัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำ ว่า “พฤติของจิต” แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้นคำ ว่า “ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำ ญาณให้เห็นจิต” เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำ ดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำ สอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำ ดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้“พฤติแห่งจิต” อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำ ว่า “มรรคปฏิปทา” นั้น จะต้องอยู่ใน “มรรคจิต” เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวารคือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


beby คุณธรรมบุตร และคุณลูกโป่ง สมกับเป็นพี่น้องกันจริง.....ค่ะ
ชื่อ o.wan ค่ะ เข้ามาศึกษาธรรมะที่ลานนี้ แต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน :b32: เท่าไหร่
ยังไง....ก็ช่วยแนะนำด้วยนะคะ
onion

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบุตร เขียน:
วิธีเจริญจิตภาวนา
๑. เริ่มต้นอริยาบทที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก



เริ่มที่ละนิวรณ์ 5 ในจิต ขณะยืน เดิน นั่ง นอน

นี้เรียกว่า วิธีเจริญจิตภาวนา





ธรรมบุตร เขียน:
วิธีเจริญจิตภาวนา
๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์
นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ


ละกามสัญญา เข้าสู่รูปสัญญา
ละรูปสัญญา เข้าสู่ อรูปสัญญา
ละอารัมณูปณิชฌาน เข้าสู่วิปัสสนาจิต คือลักขณูปณิชฌาน ได้แก่อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตตสมาธิ และสุญญตสมาธิ
ละโลกียะจิต เข้าสู่โลกุตตระจิต

นี้เรียกว่า วิธีเจริญจิตภาวนา







ธรรมบุตร เขียน:
วิธีเจริญจิตภาวนา
๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิต
เผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖


ให้ส่งจิตออกนอกขันธ์ 5 มีนิพพานเป็นอารมณ์
เพราะการตามรู้ตามดูขันธ์ 5 เอาขันธ์ 5 เป็นฐานนั้น สักกายะทิฏฐิย่อมมีได้
ไม่ตามดูจิต แต่ให้เลือกสร้างจิตเป็นกุศล
เลือกเจริญรูปาวจรกุศลจิต และเลือกเจริญอรูปาวจรกุศลจิต เพื่อละและดับนิวรณ์ 5
เลือกเจริญวิปัสสนาจิต และมัคคจิต 4 ที่เป็นลักขณูปณิชฌานเพื่อละ และเพื่อดับสังโยชน์ทั้งหลาย

นี้เรียกว่า วิธีเจริญจิตภาวนา






ธรรมบุตร เขียน:
วิธีเจริญจิตภาวนา
๔. จงทำ ญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัย
ของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไป เรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด


จงทำดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างให้ปรากฎในจิตในใจ “ในการแทงตลอด”

ความว่า พระโยคาวจร...................


............. ย่อมแทงตลอด “ทุกขสัจ” เป็นการแทงตลอด “ด้วยการกำหนดรู้”


............. แทงตลอด “สมุทัยสัจ” เป็นการแทงตลอด “ด้วยการละ”


............. แทงตลอด “นิโรธสัจ” เป็นการแทงตลอด “ ด้วยการทำให้แจ้ง”


............. แทงตลอด “มรรคสัจ” เป็นการแทงตลอด “ด้วยการเจริญ”


นี้เรียกว่า วิธีเจริญจิตภาวนา







ธรรมบุตร เขียน:
วิธีเจริญจิตภาวนา
๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิต
ต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำ ความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้คำ ว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง


รูปเป็นอัพพยากตาธรรม คือเป็นผล ไม่เป็นวิบาก รูปวิญญาณจึงไม่มีจริง ที่มีจริงคือจักขุวิญญาณ
เจริญมัคคจิตคือการเจริญนามขันธ์ 4 ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ให้ปราศจากนิวรณ์ 5 ปราศจากกิเลส และปราศจากสังโยชน์ทั้งหลาย ให้เป็นจิตที่บริสุทธิ์ขาวรอบ เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่มีอำนาจ อ่อน ควรแก่การงาน ด้วยจตุตถฌาน

นี้เรียกว่า วิธีเจริญจิตภาวนา







ธรรมบุตร เขียน:
วิธีเจริญจิตภาวนา
๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับ
กฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำ อำ พรางทั้งสิ้นเรียกว่า “สมุจเฉทธรรมทั้งปวง”


กุศลมูลและอกุศลมูลเป็นปัจจัยปรุงแต่งโดยอัตโนมัติทุกขณะจิตที่ทำเหตุ
การละและดับ ทำที่เหตุได้อย่างเดียว ผลและวิบากมาจากเหตุ ทำเหตุแล้วผลละไม่ได้ ถ้าผลนั้นเป็นวิบากต้องได้รับวิบากนั้นสืบไป ไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม ซึ่งวิบากกรรมใดหนักวิบากนั้นให้ผลก่อน

ทำเหตุเป็นโลกียะ ผลและวิบากย่อมเป็นโลกียะ
ทำเหตุเป็นโลกุตตระ ผลและวิบากย่อมเป็นโลกุตตระ (พระอริยะบุคคลเบื้องต้น 3 คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ยังได้รับผลและวิบากเพื่อภพต่อไปอยู่ครับ ส่วนพระอรหันต์เสวยผลและวิบากชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายไม่เกิดอีก)

อรหัตตมัคคจิตเป็นสมุจเฉทปหานธรรมทั้งปวง ถึงฝั่งคือดับขันธ์ปรินิพพาน

เจริญอรหัตตมัคคจิตเรียกว่า วิธีเจริญจิตภาวนา






ธรรมบุตร เขียน:
วิธีเจริญจิตภาวนา
๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่าย
ภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง
เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำ ไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า “พ้นเหตุเกิด”


ยังมีขันธ์ 5 อยู่ตราบใด วิบากกรรมทั้งดีและชั่วยังให้ผลอยู่ตราบนั้น แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนมายุอยู่ตราบใด วิบากกรรมดีและชั่วยังผลได้อยู่ตราบนั้น

ดับขันธ์ปรินิพพานได้เมื่อใด กรรมวิบากทั้งจึงจะเป็นอโหสิกรรม

อรหัตตมัคคจิตเรียกว่า วิธีเจริญจิตภาวนา เป็นไปเพื่อดับขันธ์ปรินิพพานครับ





ธรรมบุตร เขียน:
วิธีเจริญจิตภาวนา
๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า
ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่
สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)เมื่อจิตว่างจาก “พฤติ” ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป


พระสมณะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอริยะสาวกทั้งหลายตรัสรู้อรหัตตผลแล้ว ทรงประกาศพระพุทธศาสนา 84,000 พระธรรมขันธ์ตราบจนหมดอายุขัย ดับขันธ์ปรินิพพานทุกพระองค์ ไม่มีองค์ใดนิ่งเงียบเลย

ทุก ๆ พระองค์ต่างประกาศคุณธรรมให้พุทธบริษัทให้รู้ตามสัจจธรรมนั้น


นี้เรียกว่า วิธีเจริญจิตภาวนา



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 06 ม.ค. 2010, 15:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
beby คุณธรรมบุตร และคุณลูกโป่ง สมกับเป็นพี่น้องกันจริง.....ค่ะ
ชื่อ o.wan ค่ะ เข้ามาศึกษาธรรมะที่ลานนี้ แต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน :b32: เท่าไหร่
ยังไง....ก็ช่วยแนะนำด้วยนะคะ
onion

ขออนุโมทนา สาธุด้วย หากมีความตั้งใจไปให้ถึง ผมว่าสำเร็จครับ ผมก็กำลังศึกษาเช่นเดียวกันหากมีอะไรขาดตกบกพร่องก็ขอได้โปรดชี้แนะด้วยนะครับ อ๋อ..พรุ่งนี้ผมจะบวชครับ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 01:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมบุตร เขียน:
ขออนุโมทนา สาธุด้วย หากมีความตั้งใจไปให้ถึง ผมว่าสำเร็จครับ ผมก็กำลังศึกษาเช่นเดียวกันหากมีอะไรขาดตกบกพร่องก็ขอได้โปรดชี้แนะด้วยนะครับ อ๋อ..พรุ่งนี้ผมจะบวชครับ


:b8: :b8: :b8: ขออนุโมทนาสาธุการอย่างยิ่งยวดด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 02:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ธรรมบุตร เขียน:

ขอ อนุโมทนา สาธุด้วย หากมีความตั้งใจไปให้ถึง ผมว่าสำเร็จครับ ผมก็กำลังศึกษาเช่นเดียวกันหากมีอะไรขาดตกบกพร่องก็ขอได้โปรดชี้แนะด้วยนะ ครับ อ๋อ..พรุ่งนี้ผมจะบวชครับ


ขออนุโมทนาอย่างยิ่งด้วยครับ :b8:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบุตร เขียน:
O.wan เขียน:
beby คุณธรรมบุตร และคุณลูกโป่ง สมกับเป็นพี่น้องกันจริง.....ค่ะ
ชื่อ o.wan ค่ะ เข้ามาศึกษาธรรมะที่ลานนี้ แต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน :b32: เท่าไหร่
ยังไง....ก็ช่วยแนะนำด้วยนะคะ
onion

ขออนุโมทนา สาธุด้วย หากมีความตั้งใจไปให้ถึง ผมว่าสำเร็จครับ ผมก็กำลังศึกษาเช่นเดียวกันหากมีอะไรขาดตกบกพร่องก็ขอได้โปรดชี้แนะด้วยนะครับ อ๋อ..พรุ่งนี้ผมจะบวชครับ

:b8: :b8: :b8: ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 07 ม.ค. 2010, 08:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบุตร เขียน:
ขออนุโมทนา สาธุด้วย หากมีความตั้งใจไปให้ถึง ผมว่าสำเร็จครับ ผมก็กำลังศึกษาเช่นเดียวกันหากมีอะไรขาดตกบกพร่องก็ขอได้โปรดชี้แนะด้วยนะครับ อ๋อ..พรุ่งนี้ผมจะบวชครับ



:b41: ขออนุโมทนา :b41: สาธการ :b42: เมื่อท่านบวช
บรรลุรวด :b42: เร็วประจัก :b42: ในมัคคผล
เป็นที่พึ่ง :b42: ชาวโลก :b42: และพึ่งตน
ขอกุศล :b42: เต็มเปี่ยม :b42: เยี่ยมมัคคญาณ



ขออนุโมทนาสาธุการในกุศลจิตของคุณธรรมบุตร และผู้อ่านที่เป็นกองเชียร์ทั้งหลายครับ



ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลททุกเมื่อ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha2.gif
buddha2.gif [ 15.7 KiB | เปิดดู 3815 ครั้ง ]
tongue

ข้อธรรมจากหลวงปู่ดุลย์ที่คุณธรรมบุตรยกมาแสดงนั้น เป็นประเด็นธรรมถาคปฏิบัติ อธิบายโดยผู้ปฏิบัติจริง รู้จริงเป็นภาษาพูดธรรมดา มิใช่ภาษาตำรา แต่เปี่ยมไปด้วยเนื้อหา แก่น สาระ และเทคนิคปฏิบัติ

เมื่อบวชแล้ว อย่าได้ลังเล อย่าได้หลงลืมที่จะพิสูจน์ธรรม ตามข้อธรรมที่คุณยกมาแสดงนี้ ผลอันยิ่งย่อมจักบังเกิดมีแก่คุณธรรมบุตรเป็นแน่แท้

สิทธัง ปณฺิธานัง สัมฤทธิ เทอญ
:b27: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 09:12
โพสต์: 9

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: เรียน
สิ่งที่ชื่นชอบ: BTS
ชื่อเล่น: จันทร์
อายุ: 20
ที่อยู่: ห้องเล็กๆ

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ....จากข้อครวามนี้

เมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ ทำไมไม่รู้ตัวทำไมต้องปล่อยไห้คิดจนอิ่ม...??? :b9: :b53:

.....................................................
การสร้างวัดนั้นเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แค่เป็นได้แค่เพียงมรดกโลก
แต่การสร้างคนให้เป็นพระนั้น สำคัญยิ่งกว่าเพราะจะได้เป็นมรดกธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร