วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 03:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์เลือกๆ คัดๆ เอาเฉพาะแต่วิปัสสนาเท่านั้น เพราะถูกใจ :b32:

แล้ว (คิด) ปัดไม่เอาสมาธิหรือสมถะเพราะไม่ชอบไม่อยากได้

สุภาษิตโบราณเรียกพฤติกรรมนี้ว่า “เลือกที่รัก ผลักที่ชัง” (ที่พูดกันติดปากว่า เลือกที่รัก มักที่ชัง")

ขยายความว่า คุณเฉลิมศักดิ์คัดเอาแต่สิ่งที่ตนชอบใจอยากได้เท่านั้น (คือ ชื่อวิปัสสนา แต่ไม่เข้าใจ

วิปัสสนา)

แต่ (ใจคิด) ปฏิเสธผลักไสสิ่งที่ตนไม่อยากได้ ไม่อยากเอา (คือสมถะ แต่ก็ไม่รู้เข้าใจสมถะ)


แต่การทำกรรมฐาน หรือ การปฏิบัติธรรม หามีพฤติกรรมเช่นว่านั้นไม่ :b1: :b20:

สภาวธรรมหรือธรรมชาติเค้าเป็นยังไง โยคีพึงกำหนดรู้ไปตามนั้น ตามที่มันเป็น

คือว่า กายใจ (รูปนาม) นี้เป็นยังไงก็รู้ยังงั้นตามนั้นแหละ

และต้องรับรู้เข้าใจทุกๆด้าน ไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่งด้านเดียว

ชอบใจไม่ชอบใจ ฯลฯ สุข ทุกข์ เป็นต้น ยังไงก็ยังงั้นตามนั้น

การปฏิบัติอย่างนี้แหละ คือการเริ่มต้นเข้าสู่หนทางแห่งวิปัสสนา ซึ่งจะพาให้ตนพ้นจากทุกข์ :b12:
:b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ม.ค. 2010, 10:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้จะพูดให้แคบเข้ามาเพื่อให้เห็นโครงสร้างเดิมหัวข้อธรรม

(เราพูดกว้างๆๆ จนหุบไม่ลงเรียกว่า ไปๆจนหาทางกลับไม่เจอ จะว่าหลงก็ได้ :b1: )

เอาหลักไตรสิกขาวางให้ดู สิกขาสาม ท่านเรียกง่ายๆคุ้นหูคุ้นตา ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

สมาธิ = สมถะ ปัญญา = วิปัสสนา

นั่นตามตัวหนังสือ

แต่เมื่อมองเข้ามาด้านใน คือ ด้านจิตใจ ความคิดขณะหนึ่งๆ มีสัมปยุตธรรมที่เกิดร่วมกับจิตมากน้อย ตามสมควร

แก่ความคิดขณะหนึ่งๆนั้น เช่น ผัสสะ เจตนา สัญญา มนสิการ ฯลฯ

คนเรียนอภิธรรมมาแล้วพอเข้าใจ

คุณเฉลิมศักดิ์เห็นว่าเรียนมาเหมือนกัน แต่ไม่นำมาใช้หรือใช้ไม่เป็น จึงมององค์ธรรมภายใน (นามธรรม)

เพียงตัวเดียวโด่เด่โดดๆ สมถะๆ หรือ สมาธิๆ หรือ วิปัสสนาๆ เหมือนชีวิตจิตใจมีนามธรรมทำงานเกิดดับ

เพียงเท่านั้น ที่ท่านไม่ยกมาพูดอธิบาย ยังเหลืออีกมาก คุณกลับมองไม่เห็น นึกไม่ออก :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์ดูบทบาทสมถะกับวิปัสสนาภาคปฏิบัติ ดูสิครับเหมือนและต่างกันตรงไหน


สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะและในวิปัสสนา

หากจะเปรียบเทียบระหว่างบทบาทของสติในสมถะกับในวิปัสสนา

ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือ ดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิท

อยู่กับอารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่ายไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์

นั้นต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ
ก็เรียกว่า เป็นสมาธิ และเพียงแค่

นั้น สมถะก็สำเร็จ


ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์กุมไว้กับจิต หรือ คุมจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน

แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์ คือ จับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดูและวิเคราะห์วินิจฉัย

โดยใช้จิตที่ตั้งมั่นเป็นที่ทำงาน ฯลฯ (ใช้จิตที่ตั้งมั่น หรือ เป็นสมาธินั่น

เองเป็นที่ทำงาน)


viewtopic.php?f=2&t=21861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คือ คุณเฉลิมศักดิ์ยอมรับแล้วนะครับ ว่าการนั่งเท้าขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายเป็นสมถะคุณยอมรับแล้วหน่า

ส่วนวิปัสสนา (ตามที่คุณเข้าใจ) จะใช้อิริยาบถอื่นจากนี้ คืออิริยาบถไหนก็ได้

แล้วคุณก็อ้าง อ.แนบอีก (บอกว่าอย่าอ้าง) ในเมื่อบอกไม่เชื่อ กรัชกายก็สรุปว่า อ.แนบนี่แหละมิจฉาทิฐิ

ต้นแบบเลย


คุณกรัชกาย กล่าวปรามาส อาจารย์แนบ อีกแล้วนะครับ ระวังบาปที่จะเกิดขึ้นด้วยนะครับ

สำหรับต้นแบบ ในแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา ในแบบวิปัสสนายานิกะ ที่ไม่ได้อาศัยองค์ฌาน จากสมถะ ขั้น อัปปนาสมาธิ ในแบบสมถะยานิกะ นั้น

มีปรากฏในพระไตรปิฏก อรรถกถา ดังนี้ครับ



21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
viewtopic.php?f=2&t=21062

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้


สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
การแสวงหา ด้วยภัตที่นำมาด้วยกระเบื้อง มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส
มากกว่าโดยแท้ เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์
มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน
ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมาก
ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา


-----------------------------------------------------------

อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร


http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... &i=273&p=1

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
ตอบว่า ก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์.
แท้จริง ในจำพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต ผู้เป็นสมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดยส่วนทั้งสอง คือ ปัญญาอ่อน และปัญญากล้า
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์หยาบเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์ละเอียด เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญากล้า. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์ไม่แยกออกมากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า.
อนึ่ง สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดยไม่ยาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญากล้า. สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีอารมณ์ที่แยกออกไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิกมีปัญญากล้า.
เพราะเหตุดังนั้น จึงกล่าวว่า สติปัฏฐานมี ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ตรัสว่า สติปัฏฐานมี ๔ ก็เพื่อละเสียซึ่งวิปัลลาสความสำคัญผิดว่างาม สุข เที่ยง และเป็นตัวตน. แท้จริง กายเป็นอสุภะ ไม่งาม แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยังสำคัญว่างาม ในกายนั้น. ด้วยทรงแสดงความไม่งามในกายนั้นแก่สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสสติปัฏฐานข้อที่ ๑ เพื่อละวิปัลลาสนั้นเสีย. และในเวทนาเป็นต้น ที่สัตว์ยึดถือว่าสุข เที่ยง เป็นตัวตน เวทนาก็เป็นทุกข์ จิตไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา. แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยังสำคัญว่าสุข เที่ยง เป็นตัวตน ในเวทนา จิต ธรรมนั้น ด้วยทรงแสดงความเป็นทุกข์เป็นต้นในเวทนา จิต ธรรมนั้นแก่สัตว์เหล่านั้นจึงตรัสสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือเพื่อละวิปัลลาสเหล่านั้นเสีย เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่าที่ตรัสว่า สติปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง ก็เพื่อละความสำคัญผิดว่างาม สุข เที่ยงและตัวตนเสีย ดังที่กล่าวมานี้. มิใช่เพื่อละวิปัลลาสอย่างเดียวเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ที่ตรัสสติปัฏฐาน ๔ ก็เพื่อละ โอฆะ โยคะ อาสวะ คัณฐะ อุปาทาน และอคติ อย่างละ ๔ ด้วย เพื่อกำหนดรู้อาหาร ๔ อย่างด้วย พึงทราบในที่มาในปกรณ์ (บาลี) เท่านี้ก่อน
.

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0


----------------------------------------------------------

คุณกรัชกายครับ หากจะกล่าวโทษ อาจารย์แนบ คงไม่ถูกต้องนะครับ เพราะในพระไตรปิฏก อรรถกถา ท่านแบ่งการปฏิบัติวิปัสสนา เป็น ๒ แบบ คือแบบวิปัสสนายานิก และ สมถยานิก

และแนวทางที่ อาจารย์แนบนำมาเผยแพร่ คือ วิปัสสนายานิก เพราะท่านไม่ชำนาญในเรื่องการทำอัปปนาสมาธิ จนได้ฌาน แล้วยกองค์ฌาน ขึ้นสู่การเจริญวิปัสสนา

และจากการที่ผมได้สนทนากับคุณกรัชกาย ผู้ที่ยินดีพอใจกับการทำสมถะ หรือ สมาธิ ก็ไม่เคยสอนวิธีที่จะยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนาอย่างไร และเบื้องต้นเลยคือการทำสมาธิให้ได้ขั้น อัปปนา ได้ฌาน ๑ - ๔ ก็ไม่แน่ใจว่าคุณกรัชกายทำได้หรือยัง ? (ไม่ต้องพูดถึงการจะยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คือ คุณเฉลิมศักดิ์ยอมรับแล้วนะครับ ว่าการนั่งเท้าขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายเป็นสมถะคุณยอมรับแล้วหน่า

ส่วนวิปัสสนา (ตามที่คุณเข้าใจ) จะใช้อิริยาบถอื่นจากนี้ คืออิริยาบถไหนก็ได้

แล้วคุณก็อ้าง อ.แนบอีก (บอกว่าอย่าอ้าง) ในเมื่อบอกไม่เชื่อ กรัชกายก็สรุปว่า อ.แนบนี่แหละมิจฉาทิฐิ

ต้นแบบเลย



คุณกรัชกายครับ แม้อาจารย์แนบ ท่านจะไม่ได้ส่งเสริมแนวทางการทำสมาธิ ขั้นอัปปนาสมาธิ ให้เกิดองค์ฌานแล้วยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา ในแบบสมถยานิก ท่านก็ไม่ได้สอนว่า การทำสมาธิ ไม่ดี แต่อย่างใด

ท่าน อาจารย์แนบ ยังได้บรรยายไว้ ในการบรรยายธรรมของท่าน เกี่ยวกับเรื่อง จิตตวิสุทธิ หรือ สมาธิวิสุทธิ ดังนี้

จิตตวิสุทธิ(สมาธิวิสุทธิ) โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm

ศีล กำจัด กิเลสอย่างหยาบ

สมาธิ กำจัด กิเลสอย่างกลาง

ปัญญา กำจัด กิเลสอย่างละเอียด

ท่านแสดงไว้ 3 ขั้นอย่างนี้ ถ้าหากว่าสมาธิสามารถทำให้หมดจดจากกิเลสได้ โดยไม่ต้องอาศัยปัญญาคือ วิปัสสนาปัญญา แล้ว ท่านฤาษีชีพราหมณ์เมื่อครั้งก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ ซึ่งท่านเหล่านี้ก็มีสมาธิแข็งแกร่งมากที่สุด จนกระทั่งสามารถจะเป็นบาทของอภิญญาได้ ก็ยังไม่ทำให้ท่านเหล่านั้นเกิดปัญญาได้

ถึงแม้สมาธิที่พระพุทธเจ้าจะทรงทำตามลำดับของฌานก็ไม่ยิ่งไปกว่าของเขา ไม่เกินเขา เพราะของเขานั่นน่ะ เป็นที่สุดแล้ว สมาธิในโลกไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าที่สุดถึงเช่นนั้นแล้ว ก็ยังไม่ทำให้ท่านเหล่านั้นเกิดปัญญาได้

พระพุทธองค์ยังได้ ตรัสถึงดาบสทั้งสองท่าน ที่ได้ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นสูงว่า “ ฉิบหายเสียแล้วจากมรรคผล ฯ “ ถ้าหากว่าสมาธิอันนั้น เป็นประโยชน์แก่ปัญญา ทำสมาธิให้มาก ๆ ปัญญาต้องเกิดขึ้นเอง พวกทำสมาธิก็ต้องเกิดปัญญาแล้ว และพระพุทธเจ้าก็คงจะไม่ตรัสว่า “ ฉิบหายเสียแล้วจากมรรคผล ฯ “ เลย

มรรคผลนั้นจะบรรลุได้ ต้องด้วย ปัญญา

ไม่ใช่ด้วย สมาธิ อย่างแน่นอน

การเจริญวิปัสสนาของท่านผู้ที่ได้ฌาน เมื่อทำฌานได้แล้ว จะทำอย่างไรเล่า จึงจะทำลายวิปลาสในสมาธิออกเสียได้ เพราะตามธรรมดาผู้ที่ได้ฌานแล้วนั้น ย่อมเป็นสุข และ ย่อมเพลิดเพลินในสุขนั้น

ก็มีอีกนัยหนึ่ง ซึ่งเป็นนัยของวิปัสสนาที่เกิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้บอกทางแนะนำให้ โดยมีพราหมณ์ ถามว่า เมื่อเข้า รูปฌาน หรือ อรูปฌาน แล้ว พระองค์จะทรงแนะนำอะไรกับเขาบ้าง

ก็มีอยู่ทางเดียว อย่างเช่น ปฐมฌาน ก็มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 5 องค์

สุขนี้นั้นเกิดจากอะไร

เกิดจาก ปีติ ปีติเป็นเหตุ

ปีติ นั้นเกิดจาก สมาธิ

ที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขนั้น เพราะ “ ปีติ “ เป็นองค์สำคัญ เวลายกขึ้นสู่ “ วิปัสสนา “ ท่านจึงเอา “ ปีติ “ ซึ่งเป็นองค์ของ “ ฌาน “ นั้นแหละขึ้นสู่วิปัสสนา

ปีติ นี้เป็น นามธรรม อาศัยเกิดที่ หทัยวัตถุ ไม่ใช่เกิดจาก ตา หู หรือ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ ไม่ใช่อย่างนั้น

“ ปีติ “ นี้เกิดจาก “ หทัยวัตถุ “ ซึ่งเป็นรูป

พิจารณาอย่างนี้แล้ว ท่านก็เพ่งปีติ

ตามธรรมดาการทำฌาน ไม่ได้เพ่ง “ นามรูป “ แต่เพ่ง “ กสิณ “ มีเพ่ง น้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นต้น

แล้วแต่ตัวกรรมฐานที่จะให้ได้ในฌานนั่น อารมณ์ของปีติ หรือ อารมณ์ของฌานในปีตินั้น มีอารมณ์กรรมฐานที่ตนเพ่งมาก่อนเป็นนิมิต หรือ เป็น ปฏิภาคนิมิต หรือ อุคคหนิมิต จากอารมณ์นั้นแล้วจึงได้เข้าถึงฌานในฌานนั้นก็มีอารมณ์อยู่อย่างนั้น

แต่เวลาที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนานั้น ไม่ได้เพ่งอารมณ์กรรมฐานมีกสิณ เป็นต้น อารมณ์เหล่านั้นเป็น บัญญัติธรรม ไม่มีสภาวะที่จะให้เห็นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้

เพราะฉะนั้นจะยกขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนาไม่ได้ ท่านก็ยกเอาปีติ เพราะเป็น นามธรรม เป็นนามขันธ์ เป็น สังขารขันธ์ มีสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จึงยกเอาปีติขึ้นเพ่ง

ธรรมชาติของปีตินั้น จะเพ่ง หรือ ไม่เพ่ง ก็มีการ เกิด – ดับ และจิตเป็นสมาธิ ก็มีการเกิด – ดับ เมื่อปีติที่อาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ปีติก็เกิด – ดับอยู่เป็นธรรมดาเช่นเดียวกัน แต่ว่าเกิด – ดับ ติดต่อรวดเร็วมาก จนกระทั่งไม่สามารถจะเข้าไปรู้ว่า เขาไม่เที่ยง หรือ เขาเกิด – ดับได้ และก็ไม่ได้ดูด้วย

---------------------------------------------------

คุณกรัชกายครับ ที่สนทนากับคุณมา หรือ ศึกษาแนวทางที่คุณชื่นชอบ ในแนวยุบหนอ พองหนอ , พุทโธ นั้น ผมยังไม่เคยพบการอธิบายที่ละเอียดแบบนี้ มาก่อนเลยนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


http://larndham.org/index.php?/topic/35 ... ge__st__80


อ้างคำพูด:
ใคร ผู้ใดก็ตาม ตีความแตก จับประเด็นของวิปัสสนาภาวนาได้ถูกต้องแล้ว จะเจริญวิปัสสนาภาวนา อันเป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และมีอยู่เฉพาะในพุทธศาสนา เป็นเอกลักษณะของพระพุทธศานา ไม่มีอยู่ในศาสนาอื่นๆ เจริญเพียงวิปัสสนาภาวนาให้ถูกต้องเพียงอย่างเดียวก็จะสามารถนำพาตนให้เข้า ถึง มรรค ผล นิพพาน ได้ ไม่ื่เนิ่นช้าอย่างแน่นอน

ที่พระ พุทธองค์จะต้องทรงแสดงเรื่องสมถะภาวนาอยู่หลายที่หลายแห่งในพระสูตรก็เพราะ ลูกศิษย์ของพระองค์สมัยนั้นล้วนแล้วแต่ฤาษี ชี ไพร อเจลกะ นักสมถะทั้งหลายทั้งสิ้น พระองค์จึงต้องทรงเชื่อมโยงความรู้ของท่านเหล่านั้น เข้ามาต่อยอด คือสมาธิดีแล้ว ก็นำมาต่อยอดเจริญปัญญาต่อไป ก็จึงพากันบรรลุนิพพานได้อย่ามากมาย

แต่ในปฐมเทศนา ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้เป็นอันดับแรกก่อนเพื่อนเลยว่า
ดูก่อนปัญจวัคคีย์ สิ่งสุดโต่ง 2 อย่างที่เธอไม่พึงกระทำ คือ กามสุขัลลิกานุโยโค กับ อัตตกิลมถานุโยโค
เธอพึงเดินตามมัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรค มีองค์ 8

สิ่ง สำคัญที่สุดคือการมาตีความของคำว่า กามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุโยโคและมัชฌิมาปฏิปทา ถ้าตีความหมายได้ถูกต้องการปฏิบัติธรรมให้ถึงมรรค ผล นิพพาน จะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากเลย

แต่ถ้าตีความหมายผิด การปฏิบัติธรรมให้ถึงมรรค ผล นิพพาน จะกลายเป็นเรื่องที่ยาก ลำบาก ใช้เวลานานแสนนาน

จะ ตีความ กามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุโยโคและมัชฌิมาปฏิปทา อย่างไร จึงจะเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม และสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ


จากความเห็น ของคุณ อโศกะ ที่คิดแนวทางการปฏิบัติแบบใหม่ โดยไปเพ่งชีพจร ให้เกิดความสงบ

กลับมอง สมถะ / สมาธิ ในแง่ลบ ถือเป็นการปฏิบัติสุดโต่งไปในทางทรมานตนเอง (อัตตกิลมถานุโยโค)

และหลายสำนักปฏิบัติ ที่ไม่อาศัย สมถะ ก็มักอาศัย อัตตโนมติ กล่าวโทษถึงการทำสมาธิ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย กล่าวปรามาส อาจารย์แนบ อีกแล้วนะครับ ระวังบาปที่จะเกิดขึ้นด้วยนะครับ


:b1: คุณเฉลิมศักดิ์ คุณให้ความหมาย คำว่า บาป ทีสิครับ เอาชัดๆ แบบไม่ต้องตีความนะครับ

เห็นอะไรๆก็บาปๆๆๆๆ ไม่รู้อะไร วันนี้คงชัดเจนจากคุณเสียที เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการสำรวมระมัดระวัง

บาปต่อไป :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย กล่าวปรามาส อาจารย์แนบ อีกแล้วนะครับ ระวังบาปที่จะเกิดขึ้นด้วยนะครับ


คุณเฉลิมศักดิ์ คุณให้ความหมาย คำว่า บาป ทีสิครับ เอาชัดๆ แบบไม่ต้องตีความนะครับ

เห็นอะไรๆก็บาปๆๆๆๆ ไม่รู้อะไร วันนี้คงชัดเจนจากคุณเสียที เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการสำรวมระมัดระวัง

บาปต่อไป
อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย กล่าวปรามาส อาจารย์แนบ อีกแล้วนะครับ ระวังบาปที่จะเกิดขึ้นด้วยนะครับ


:b1: คุณเฉลิมศักดิ์ คุณให้ความหมาย คำว่า บาป ทีสิครับ เอาชัดๆ แบบไม่ต้องตีความนะครับ

เห็นอะไรๆก็บาปๆๆๆๆ ไม่รู้อะไร วันนี้คงชัดเจนจากคุณเสียที เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการสำรวมระมัดระวัง

บาปต่อไป :b12:



คุณกรัชกาย ครับ ในเรื่อง บาป หรือ อกุศล นั้น พระวิปัสสนาจารย์ ที่ทรงพระไตรปิฏก ท่านได้สอนไว้เป็นพื้นฐาน ให้เกิดความอายชั่ว กลัวบาป

จะได้ระมัดระวัง แม้บาปเพียงเล็กน้อย ก็ไม่ควรทำ

วิบากกรรมที่จะส่งผลภายหลังการเกิด (ปวัตติกาล) จากการรวบรวมไว้ใน อรรถกถา และพระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://abhidhamonline.org/aphi/p5/072.htm

ผลกรรมของ อกุศลกรรมบถ ๑๐

viewtopic.php?f=4&t=21279


-----------------------------------

คุณป่วย...เพราะคุณบาป
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=11191

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บาป ที่คุณเฉลิมศักดิ์ทำตาลอยๆ หวาดระแวงนั่นก็ไม่รู้ว่าคืออะไร เหมือนคนกลัวผีไม่มีผิด :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ ที่สนทนากับคุณมา หรือ ศึกษาแนวทางที่คุณชื่นชอบ ในแนวยุบหนอ พองหนอ , พุทโธ นั้น ผมยังไม่เคยพบการอธิบายที่ละเอียดแบบนี้ มาก่อนเลยนะครับ


คุณเฉลิมศักดิ์ ผู้จะปฏิบัติกรรมฐาน ท่านให้วางหนังสือทุกเล่มที่ตนถืออยู่ไว้หน้าประตูห้องกรรมฐาน

อย่านำเข้าไปอ่าน ให้ดูกายใจที่กำลังเป็นไปในขณะนั้นๆ เท่านั้น

แม้แต่ความรู้ที่ตนเคยเรียนจากห้องเรียนก็พึงเก็บไว้ ไม่พึงนำไปคิดตอนที่กำลังกำหนดรู้รูปคือร่างกาย นามคือ

ความคิด ตามที่มันเป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ นี่คือการเรียนรู้ชีวิตหรือกายใจนี้

แต่คุณฟุ้งตำราจนมองไม่เห็นชีวิต มองไม่เห็นโลกตามที่มันเป็น :b23:

คุณนึกย้อนไปครั้งที่เจ้าชายสิทธิตถัตถะทิ้งสมบัติเข้าป่าดิ มีตำราไปกี่เล่ม ใช้คัมภีร์ไหนบ้าง

คุณตอบหน่อยสิครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีคำถามพื้นๆง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน


อยากนั่ง(ธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม

อยากนั่งกรรมฐานเป็นตัณหาไหม

อยากเดินจงกรมเป็นตัณหาไหม

อยากเดิน (เดินธรรมดาๆ) เป็นตัณหาไหม

อยากวิ่งเป็นตัณหาไหม

อยากวิ่งจงกรมเป็นตัณหาไหม

อยากกินข้าวเป็นตัณหาไหม

อยากปิดประตูเป็นตัณหาไหม

อยากนอนเป็นตัณหาไหม

อยากทำงานเป็นตัณหาไหม

ฯลฯ

แล้วตั้งท่าจะทำยังงั้นๆ แต่ละอย่างๆ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา :b1: :b32:

อนึ่ง หากไม่อยากทำสิ่งดังกล่าวมานั่นล่ะ เป็นตัณหาไหม


คุณตอบตามความเข้าใจของคุณเองนะครับ วาง อ.แนบ กับ link ที่ตุนๆไว้ก่อน :b28:


ปล.เกี่ยวกับ link ทั้งหมดของคุณที่นำมาปล่อยๆเนี่ย กรัชกายเคยคิดเคยถามว่าทำไมหนอ virus

ถึงไม่เข้าเครื่อง จะได้เปลี่ยน link ใหม่มั่ง ไม่ได้อิจฉาน่ะ แต่อยากให้เปลี่ยนใหม่ จำได้เกือบหมด

แล้ว :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ม.ค. 2010, 12:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


^
คุณเฉลิมศักดิ์อย่าลืมตอบคำถามข้างบนนะขอรับ :b8:


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ หากจะกล่าวโทษ อาจารย์แนบ คงไม่ถูกต้องนะครับ เพราะในพระไตรปิฏก อรรถกถา ท่านแบ่งการปฏิบัติวิปัสสนา เป็น ๒ แบบ คือแบบวิปัสสนายานิก และ สมถยานิก

และแนวทางที่ อาจารย์แนบนำมาเผยแพร่ คือ วิปัสสนายานิก เพราะท่านไม่ชำนาญในเรื่องการทำอัปปนาสมาธิ จนได้ฌาน แล้วยกองค์ฌาน ขึ้นสู่การเจริญวิปัสสนา

และจากการที่ผมได้สนทนากับคุณกรัชกาย ผู้ที่ยินดีพอใจกับการทำสมถะ หรือ สมาธิ ก็ไม่เคยสอนวิธีที่จะยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนาอย่างไร และเบื้องต้นเลยคือการทำสมาธิให้ได้ขั้น อัปปนา ได้ฌาน ๑ - ๔ ก็ไม่แน่ใจว่าคุณกรัชกายทำได้หรือยัง ? (ไม่ต้องพูดถึงการจะยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา)




คุณเฉลิมศักดิ์มองความคิดไม่ออก ยังมองว่า การภาวนาอย่างนั้น เป็นสมถะ (เหมือนเข้าใจการนั่งขาขวา

ทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายเป็นสมถะ มองการเดินสะเปะสะปะว่าเป็นวิปัสสนา)

แล้วคิดเห็นไปว่า การคิดว่า เห็นเป็นรูป รู้เป็นนาม เป็นวิปัสสนา

จึงคิดเห็นไปทำนองนั้น

สมาธิหรือสมถะยืดหยุ่นได้ มิใช่แข็งทื่อไปสุดทางตามที่คุณเข้าใจ นั่นเป็นประเด็นหนึ่ง


ขณะที่โยคี ภาวนา พองหนอ ยุบหนอ คิดหนอ ทุกข์หนอ สุขหนอ ไม่พอใจหนอ พอใจหนอ

เสียงหนอ เห็นหนอ ฯลฯ ทุกขณะทุกครั้ง ที่กระทบภาวะดังกล่าว คือ

รู้สึกยังไง เป็นอะไร จะสุขทุกข์แค่ไหน ก็กำหนดรู้ตามนั้น ตามที่มันเป็น

เท่านี้ทั้งสติสัมปชัญญะ (หรือปัญญา = วิปัสสนา) สมาธิ (สมถะ) วิริยะ เจตนา มนสิการ

สัญญา เป็นต้น เกิดทุกๆขณะที่โยคีกำหนดรู้ดูทัน

ปฏิบัติไปอย่างนั้นแหละแล้วๆเล่าๆ เมื่อได้เหตุปัจจัยพร้อมมูล องค์มรรคทั้งหมดก็รวมกันเกิดขึ้นขณะจิต

เดียว

มรรคผลจะเกิดก็เกิดจากเหตุนี้

(ไม่ต้องนั่งคิดยกหรือแบกหามมันขึ้นดอก มันขึ้นของมันเองขอให้ปฏิบัติให้ถูกวิธีแค่นี้พอ)




คุณลองศึกษาความพร้อมเพรียงขององค์มรรคที่

viewtopic.php?f=2&t=26198

และ มิใช่แต่องค์มรรคเท่านั้นที่เกิดพร้อมกันในขณะจิตเดียว (วิบเดียว) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ก็เกิดด้วยกัน

แล้วในขณะที่บรรลุมรรคผลท่านว่าจิตจะแน่วแน่ ถึงระดับปฐมฌานทุกคน แม้ผู้นั้นจะไม่เคยได้ฌาน (ตามรูป

แบบ) มาก่อน

ประเด็นหลังดู link นี้ครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=85.0

เชื่อว่า เมื่อคุณอ่านด้วยใจที่เปิดกว้างแล้ว น่าจะมองเห็นเข้าใจเรื่องที่เข้าใจต่างกันได้ โดยไม่ยากนัก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ม.ค. 2010, 15:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




chiang_saen_giant_buddha%20%282%29.jpg
chiang_saen_giant_buddha%20%282%29.jpg [ 127.49 KiB | เปิดดู 4580 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์ ศึกษาการตรัสรู้ระหว่างพระพุทธเจ้ากับสาวกขณะที่ผ่านฌานแต่ละขั้นๆดิขอรับ

viewtopic.php?f=2&t=26376

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




picture-1339.gif
picture-1339.gif [ 12.04 KiB | เปิดดู 4556 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์ขอรับ :b1:

ฟังเพลงก่อนดิครับ

http://www.baanmaha.com/forums/showthread.php?t=8970

คำถามข้างบนโน่น ค่อยๆคิด แล้วตอบก็ได้ครับ จะรอ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ม.ค. 2010, 13:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




53.gif
53.gif [ 150.33 KiB | เปิดดู 4493 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์ขอรับ คุณจะกลับมาที่นี่อีกไหมขอรับ กรัชกายรอคุณ รอๆจนปอเฉาตายหลายต้นแล้วนะขอรับ :b1: :b32:


http://www.oknation.net/blog/sawitkhaen ... 23/entry-1

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ม.ค. 2010, 12:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร