วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG0273A.jpg
IMG0273A.jpg [ 52.81 KiB | เปิดดู 11051 ครั้ง ]
tongue

หลายท่านคงได้เคยสวดมนต์แปลมาแล้ว คำแปลในส่วดมนต์บทต่างๆนั้น ทำให้เราได้ทราบถึงความหมายของบทสวด ได้เข้าใจข้อธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย อันจะเป็นการนำมาใส่ใจประพฤติปฏิบัติตาม ให้เกิดผลเป็นความก้าวหน้าและสุขเย็น

สำนวน การแปลจากภาษาบาลี เป็นภาษาไทย ปัจจุบันนี้ที่นิยมกันเป็นสำนวนการแปลจากสวนโมกข์โดยท่านพุทธทาสภิกขุและ หมู่คณะของท่าน ซึ่งนับเป็นสำนวนการแปลที่ไพเราะ ตรงกับความหมายที่แท้จริงมาก ผู้สวดจึงได้รับความรู้และความทราบซึ้งประทับใจในความหมายของบทสวด จนเกิดการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยใจคอ เปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิตไปสู่ทาางที่ดีกันเป็นจำนวนมาก


การแปลความ หมายจากคำบาลีในบทสวด จึงมีความสำคัญมาก ถ้าแปลได้ถูกต้องตามตามพยัญชนะ อรรถ นัยยะ และเนื้อหาที่แท้จริงของคำสอนจะเป็นดุจการชี้ทางเดินที่ถูกต้องให้แก่ผู้คน แต่ถ้าแปลผิดเพี้ยนไปแม้สักนิดหนึ่ง ก็อาจเป็นการชี้ทางผิดทำให้คนหลงทางได้

:b8:

ตัวอย่าง เช่นถ้าแปลสิ่งทีมีความหมายว่า ซ้าย เป็น ขวา หน้า เป็นหลังอย่างนี้ ผลที่จะเกิดตามมาคือทำให้ผู้คนหลงทาง กลับข้างกันไปหมด เกิดความเสียหายได้มาก

ดังนั้น วันนี้จึงได้นำ ธรรมคุณ 6 ประการ สำนวนแปลใหม่อีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งแปลโดยอาจารย์บ้านนอก อยู่ติดชายแดนพม่า มาให้ผู้สนใจศึกษาพุทธศาสนาได้ลองพิจารณากันดู ว่าจะเป็นประโยชน์ ถูกต้องดีหรือไม่ ช่วยกันวิพากย์ วิจารณ์ เพื่อสร้างสรรความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ชาวพุทธรุ่นนี้และรุ่นต่อๆไปนะครับ

ของแถม ก็เป็น สุดยอดคำสอนของพระพุทธเจ้า คัดและแปลมาให้ทุกท่านได้พิจารณาด้วยครับ

*************ธัมมาภิคีติง
*********(ธรรมคุณ 6 ประการ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.(คืออะไร)

สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง จึงจักรู้ได้ด้วยตนเอง;

อะ กาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ;

โอ ปะนะยิโก, (ความเห็นธรรมนั้น)เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดขึ้นในตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป (แล้วจะส่งให้ถึงความสงบเย็น คือ มรรค - ผล - นิพพาน)

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.



******คำสอนที่สั้นและเรียบง่ายของพระพุทธเจ้า

ภิกขะเว ดูก่อน เธอผู้เห็นภัยในทุกข์ วัฏฏะสงสาร ความเวียนว่ายตายเกิดทั้งหลาย

อนัตตาโต ที่สภาวธรรม อันเกิดขึ้นเองเป็นเอง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรานั้น

อนุปัสสันโต เธอจงตามเฝ้าดู (สัมมาทิฐิ)

ภาวิโต เธอจงตามเฝ้าพิจารณา (สัมมาสังกัปปะ)

พะหุลีกะโต ทำให้มาก เจริญให้มาก (ในการตามดูตามพิจารณานั้น)

อภิญญายะ ถ้าเธอทำได้เช่นนั้นแล้ว มรรคญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ

สัมโพธายะ ผลญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ

นิพพานายะ นิพพาน ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ

สังวัฎฎะติ เป็นของเธอโดยชอบ ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป


onion huh

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




b3.jpg
b3.jpg [ 50.35 KiB | เปิดดู 10952 ครั้ง ]
tongue

สวากขาโต ภัคควตาธัมโม
ธรรมมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น คืออะไร?


ชาวพุทธทุกคนพึงควรจะได้ถามตนเองและตอบคำถามนี้ให้ได้ จำคำตอบให้แม่นยำ เผื่อฝรั่ง คนต่างชาติต่างศาสนามาถาม จะได้ตอบตรงกันเป็นคำเดียวกัน

"ธรรมมะ" คืออะไร มีผู้ให้คำจำกัดความไว้ว่า "ธรรมมะคือสิ่งที่เป็นไปตามอำนาจของเหตุและปัจจัย"

มีเหตุ แต่ไม่มีปัจจัยมากระทบ ผล ก็ไม่เกิด

มีปัจจัย แต่ไม่มีเหตุ ผล ก็ไม่เกิด


แต่การจะอธิบายคำว่าธรรมมะให้เข้าใจนั้นเป็นของยาก ดุจความพยายามที่จะอธิบายคำว่าร้อน หนาว เค็ม เปีรี้ยว หนัก เบา เจ็บ สบาย ว่าเป็นอย่างไร จะอธิบายให้คนที่ไม่เคยสัมผัสธรรมชาติเหล่านี้ให้เข้าใจไม่มีทางได้

ประเด็นของธรรมคุณบทที่ 1 นั้นคือ ธรรมมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น ธรรมมะที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดี คือธรรมมะประเภทใด

ธรรมมะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีนั้นมีเรื่อเดียวคือ เรื่อง ทุกข์ และวิธีดับเหตุทุกข์ หรืออริยสัจ 4 ธรรมมะนอกนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบทั้งสิ้น

สันทิฐิโก ธัรรมมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ ผู้ที่ทำความเห็นให้ถูกต้องสมบูรณ์แล้วจักรู้ได้ด้วยตนเอง ความเห็นถูกต้องคือ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา หรือ ความเห็นถูกต้องคือเห็น อนัตตา นั่นเอง

ใครเห็นอนัตตา ผู้นั้นก็เห็นธรรม ใครเห็นธรรม ผู้นั้นก็เห็นพระพุทธเจ้า

เห็นอนัตตาแล้วไปมีผลอย่างไรกับ อริยสัจ 4

การเห็นอนัตตา ไปเกี่ยวข้องกับอริยสัจข้อที่ 2 คือ สมุทัย เหตุทุกข์

อะไรเป็นเหตุทุกข์ ตัณหา เป็นเหตุทุกข์ ตัณหา ความอยาก เกิดมาจากไหน

จากปฏิจจสมุปบาท เวทนา ทำให้เกิดตัณหา แล้วเวทนา เกิดมาจากอะไร ก็สาวขึ้นไปตามปฏิจจสมุปบาท

แต่ถ้าจะวิเคราะห์ลัดลงไปตรงไป เราเพียงแต่ตั้งคำถามง่ายๆกับตนเองว่า

ตัณหา ความอยาก ถามว่า ใครอยาก

เวทนา ความรู้สึก ถามว่า ใครรู้สึก

สามัญสำนึกของคนธรรมดาสามัญ ก็จะตอบได้ว่า ใครอยาก ตอบ ฉันอยาก เราอยาก กูอยาก

กู รู้สึก (ชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ)

กู เรา ฉัน มาจากไหน มาจากอุปาทาน ความเห็นผิด (มิจฉาทิฐิ)

ทำไมถึงเห็นผิด

เพราะไม่รู้ (อวิชชา) โง่ เขลา มืด บอด จึงเห็นผิด

สรุปลงท้าย ความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู เป็นต้นเหตุที่แท้จริงของทุกข์ทั้งปวง เป็นสมุทัย

ดังนั้นความเห็นถูกต้องว่าเป็น อนัตตา จึงเป็นการแก้สมุทัยโดยตรง

โสดาปัตติมรรค มรรคที่ 1 จึงมีเป้าประเด็น ทำลาย สักกายทิฐิ หรือ อัตตทิฐิ เป็นประการแรก ประการสำคัญ ดังนี้

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


*********(ธรรมคุณ 6 ประการ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.(คืออะไร)

สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง จึงจักรู้ได้ด้วยตนเอง;

อะ กาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ;

โอ ปะนะยิโก, (ความเห็นธรรมนั้น)เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดขึ้นในตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป (แล้วจะส่งให้ถึงความสงบเย็น คือ มรรค - ผล - นิพพาน)

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.



******คำสอนที่สั้นและเรียบง่ายของพระพุทธเจ้า

ภิกขะเว ดูก่อน เธอผู้เห็นภัยในทุกข์ วัฏฏะสงสาร ความเวียนว่ายตายเกิดทั้งหลาย

อนัตตาโต ที่สภาวธรรม อันเกิดขึ้นเองเป็นเอง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรานั้น

อนุปัสสันโต เธอจงตามเฝ้าดู (สัมมาทิฐิ)

ภาวิโต เธอจงตามเฝ้าพิจารณา (สัมมาสังกัปปะ)

พะหุลีกะโต ทำให้มาก เจริญให้มาก (ในการตามดูตามพิจารณานั้น)

อภิญญายะ ถ้าเธอทำได้เช่นนั้นแล้ว มรรคญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ

สัมโพธายะ ผลญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ

นิพพานายะ นิพพาน ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ

สังวัฎฎะติ เป็นของเธอโดยชอบ ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป

onion onion onion onion cheesy cheesy cheesy


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2010, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




pic74.jpg
pic74.jpg [ 46.79 KiB | เปิดดู 10839 ครั้ง ]
tongue

*************ธัมมาภิคีติง
*********(ธรรมคุณ 6 ประการ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.(คืออะไร)

สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง จึงจักรู้ได้ด้วยตนเอง;

อะ กาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ;

โอ ปะนะยิโก, (ความเห็นธรรมนั้น)เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดขึ้นในตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป (แล้วจะส่งให้ถึงความสงบเย็น คือ มรรค - ผล - นิพพาน)

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.


ทำไมหนอจึงไม่มีผู้สนใจสุดยอดเคล็ดลับการปฏิบัติธรรมที่ซ่อนความหมายอยู่ในธรรมคุณ 6 ประการ อันเป็นสุดยอดการสรุปคุณของพระธรรมนี้
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าว่าเขาแปลแบบมีอะไรงอกออกมา เยอะเกินไป
เข้าใจว่าต้องการสื่อให้คนเข้าใจง่ายขึ้น โดยแปลแบบเพิ่มการอธิบายด้วย
แต่ข้าพเจ้า ยิ่งจะแปลให้กว้าง ความหมายมันยิ่งแคบลง
ข้าพเจ้าว่าไม่ควร
ถ้าจะอธิบายก็ควรแยกออกไปต่างหากเลย


เช่น คำว่า อกาลิโก คำเดียว แปลออกไปเสียเยอะเลย
แต่ยิ่งแปลเยอะ ความหมายมันยิ่งแคบลงนะ
อ้างคำพูด:
อะ กาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)


ผมติดใจคำว่า "เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้"
ผมขอถามว่า คำว่า "พระอาทิตย์สลาย" เป็น"ธรรม" ชนิดหนึ่งหรือไม่
ถ้ายอมรับว่าเป้น "ธรรม" ชนิดหนึ่ง ก้ต้องถามต่อว่า
ธรรมข้อนี้ "เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้" หรือไม่
เราจะปฏิบัติยังไงให้พระอาทิตย์สลาย?

ธรรมคุณ ผมคิดว่า หมายความว่า เป็น"คุณสมบัติ"ของธรรม
ไม่ได้หมายความแคบๆว่า เป็น"ข้อดี" ของธรรม

อันนี้แสดงความเห็นแบบบ้านๆนะ เพราะไม่ถนัดเลยในเรื่องภาษาบาลี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ อนุโมทนากับคุณอโศกะครับ กับข้อธรรมที่นำมาแสดง tongue tongue tongue

โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกชื่นชอบการแสดงข้อธรรมของคุณอโศกะ กบคุณอนัตตาธรรมครับ ดูแล้วแฝงด้วยความร่มรื่น ร่มเย็น (ขออนุญาตชมครับ) tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



สันทิฏฐิโก หมายถึง พึงเห็นเอง กับ เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง คนละความหมายกันนะคะ
เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง ประโยคนี้หมายถึง สัมมาทิฏฐินะคะ

.....................................................................................

" ก่อนอื่น อริยมรรคชื่อว่า สนฺทิฏฺฐิโก เพราะเป็นธรรมอัน

พระอริยบุคคลผู้ทำความไม่มีกิเลสมีราคะ เป็นต้น ในสันดานของตนอยู่ พึงเห็นเอง

ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ดูกรพราหมณ์ บุคคลผู้ กำหนัดแล้ว

ถูกความกำหนัดครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะยึดไว้รอบแล้วนั่นแล

ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง ย่อมได้เสวย

ทุกขโทมนัสทางใจบ้าง ครั้นความกำหนัดเขาละเสียได้แล้ว

เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตน และ ผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เขาย่อมไม่ได้เสวย

ทุกขโทมนัสทางใจ ดูกรพราหมณ์ ธรรมเป็นสันทิฏฐิกะอย่างนี้ประการ ๑" ดังนี้

อนึ่ง แม้โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ก็ชื่อสันทิฏฐิกะ เพราะเป็นธรรมที่

บุคคลใด ๆ ได้บรรลุแล้ว บุคคลนั้น ๆพึงละความที่จะพึงถึงด้วยความเชื่อผู้อื่นเสียแล้ว

เห็นเองด้วยปัจจเวกขณญาณ "

.................................................................................

ผู้ที่จะมีสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่แค่เห็นไตรลักษณ์ได้แค่นั้นนะคะ
เพราะการเห็นไตรลักษณ์ บางคนเห็นจากจินตามยปัญญาก็มี แต่ถ้าเห็นโดยภาวนามยปัญญา
จะต้องผ่าน สัจจานุโลมิกญาณด้วย จึงจะได้ชื่อว่า เห็นตามความเป็นจริงได้ในระดับหนึ่ง

อะ กาลิโก หมายถึง ไม่จำกัดกาลนะคะ

แล้วเวลากล่าวถึง อนัตตา ควรกล่าวถึงองค์ธรรมอนิจจัง ทุกขังด้วยค่ะ
เพราะนั่นหมายถึง องค์ธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเกิดพร้อมๆกัน
ไม่ใช่เกิดแค่ตัวใดตัวหนึ่ง เพียงแต่จะเห็นตัวไหนชัดมากที่สด ก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่คนๆนั้นกระทำมา

เอหิปัสสิโก หมายถึง ท่านจงมาดูเถิด อันนี้หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติเห็นผลแล้ว ได้ร้องให้ผู้อื่นมาดู
มันคนละความหมายกับคำว่า เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ

ส่วนใครจะมาดูหรือไม่ อันนั้นก็เรื่องของคนอื่นๆเขา เพราะการที่เขาจะมาดูหรือไม่ดูนั้น
หมายถึง การที่จะมาเชื่อกันหรือไม่เชื่อกันนั้น ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ได้เคยร่วมกระทำกันมา
หากไม่เคยสร้างเหตุร่วมกันมา พูดยังไง แสดงถึงเหตุและผลยังไง เขาย่อมไม่เชื่อ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 20:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Namdang_0054_resize_resize.JPG
Namdang_0054_resize_resize.JPG [ 78.73 KiB | เปิดดู 10747 ครั้ง ]
tongue
สาธุ อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง ที่มีคุณชาติสยาม คุณภัทรพงศ์ และน้อง walaiporn มาสนใจให้ข้อวิตกวิจารณ์ ทำให้มีเหตุที่เราจะได้สนทนา ทำความแตกฉานในธรรมกันต่อไป สาธุ ขอบคุณคุณภัทรพงศ์ด้วยที่ให้กำลังใจ

ชาติสยามเขียน

เช่น คำว่า อกาลิโก คำเดียว แปลออกไปเสียเยอะเลย
แต่ยิ่งแปลเยอะ ความหมายมันยิ่งแคบลงนะ
อ้างอิงคำพูด:
อะ กาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)

ผมติดใจคำว่า "เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้"
ผมขอถามว่า คำว่า "พระอาทิตย์สลาย" เป็น"ธรรม" ชนิดหนึ่งหรือไม่
ถ้ายอมรับว่าเป้น "ธรรม" ชนิดหนึ่ง ก้ต้องถามต่อว่า
ธรรมข้อนี้ "เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้" หรือไม่
เราจะปฏิบัติยังไงให้พระอาทิตย์สลาย?


อนัตตาธรรม ตอบ

คุณชาติสยามครับ อะกาลิโก ในคำแปลที่นิยมเดิม (ฉับบสวนโมกข์) ท่านก็ยังกรุณาแปลขยายความเผื่อไว้ให้เราเข้าใจ เพราะคำว่า "เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่มีบาลีบอกไว้ในธรรมคุณข้อที่ 3 นี้ใช่ไหมครับ

คำแปลขยายในสำนวนใหม่ที่ว่า ( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย) นั้นจึงเป็นความกรุณาของผู้แปลที่ต้องการจะให้เรารู้ว่า ธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น นอกจากจะไม่จำกัดกาล เวลาแล้ว ยังไม่จำกัดสิ่งต่างๆ ดังได้ขยายความมาให้ดูด้วย
พิสูจน์ได้ทันที โดยจินตมยปัญญาเทียบกับเหตุการณ์ เรื่องราว แวดล้อม ที่เราเคยผ่าน เคยเห็น เคยศึกษา หรือจะใช้ภาวนามยปัญญาพิสูจน์ดูก็ยิ่งจะซึ้งนะครับ


ส่วนประเด็นที่ถามว่า "เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้"
ผมขอถามว่า คำว่า "พระอาทิตย์สลาย" เป็น"ธรรม" ชนิดหนึ่งหรือไม่..........

ข้อนี้คุณชาติสยามถามออกไปนอกประเด็นที่พระพุทธเจ้าทรงสอน หรือทำขอบเขตไว้ และเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ เพราะมันเป็น อนัตตา จริงๆ

คุณชาติสบามต้องกลับไปทำความเข้าใจให้ดีให้ถูกต้องตั้งแต่ธรรมคุณข้อที่1 แล้วจะได้ไม่คิดคำถามนอกลู่นอกทางแห่งพุทธธรรม

ธรรมคุณข้อที่ 1 สวากขาโต ภัควตาธัมโม แปลสำนวนนิยม พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น

แปลสำนวนใหม่ เพิ่มวงเล็บข้างท้ายไปอีกนิดเดียวว่า (คืออะไร?) ย่อสั้นๆ ธรรมคุณข้อที่ 1 นี้ ให้เราถามตัวเองว่า ธรรมมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น คืออะไร หรือ สอนเรื่องอะไร

ธรรมคุณข้อที่ 2 จะเป็นคำตอบที่ดีมาก สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสำเร็จเบ็ดเสร็จ
(อดใจรอฟังหรือรออ่านตอนต่อไปนะครับ ซึ่งจะได้เป็นคำตอบรวมกับของน้องwalaiporn ด้วยครับ)

:b8: :b8: :b27: :b27: :b27: :b12: :b12: :b12: :b1: :b1: :b16: :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตาธรรม เมื่อ 01 เม.ย. 2010, 11:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
[color=#000080]ส่วนประเด็นที่ถามว่า "เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้"
ผมขอถามว่า คำว่า "พระอาทิตย์สลาย" เป็น"ธรรม" ชนิดหนึ่งหรือไม่..........

ข้อนี้คุณชาติสยามถามออกไปนอกประเด็นที่พระพุทธเจ้าทรงสอน หรือทำขอบเขตไว้ และเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ เพราะมันเป็น อนัตตา จริงๆ


ไม่นอกสิครับ
พระอาทิตย์สลาย คือ ไตรลักษณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2010, 01:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
******คำสอนที่สั้นและเรียบง่ายของพระพุทธเจ้า

ภิกขะเว ดูก่อน เธอผู้เห็นภัยในทุกข์ วัฏฏะสงสาร ความเวียนว่ายตายเกิดทั้งหลาย

อนัตตาโต ที่สภาวธรรม อันเกิดขึ้นเองเป็นเอง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรานั้น

อนุปัสสันโต เธอจงตามเฝ้าดู (สัมมาทิฐิ)

ภาวิโต เธอจงตามเฝ้าพิจารณา (สัมมาสังกัปปะ)

พะหุลีกะโต ทำให้มาก เจริญให้มาก (ในการตามดูตามพิจารณานั้น)

อภิญญายะ ถ้าเธอทำได้เช่นนั้นแล้ว มรรคญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ

สัมโพธายะ ผลญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ

นิพพานายะ นิพพาน ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ

สังวัฎฎะติ เป็นของเธอโดยชอบ ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป


ไม่ทราบว่าธรรมบทนี้ชื่ออะไรครับ อ่านแล้วชวนให้ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง อนุโมทนาด้วยครับ tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2010, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Image-146.JPG
Image-146.JPG [ 52.91 KiB | เปิดดู 10691 ครั้ง ]
tongue คุณชาติสยาม กับ น้อง walaiporn ลองฟังต่อไปอีกสักนิดก่อนนะครับ สำหรับคุณภัทรพงศ์ คำสอนที่สั้นและเรียบง่าย ผมได้รับมาจากพระอาจารย์ชาวไตยจากเมืองไทยใหญ่ประเทศพม่า หากอยากทราบรายละเอียดลองไปเยีี่ยมเวบ portee.in.th ดูนะครับ

ธรรมคุณข้อที่ 2 สันทิฐิโก แปลสำนวนนิยมว่า เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

เป็นความเมตตากรุณาของท่านผู้แปลที่ขยายความให้เบ็ดเสร็จ เพราะ บาลีว่า "สันทิฐิ" ถ้าแปลตรงๆจะมาจากคำว่า สัน + ทิฐิ + โก ทิฐิ = ความเห็น สัน = ทำให้สมบูรณ์ ถูกต้อง โก เป็นคำย้ำท้ายประโยคแปลรวมว่า ทำความเห็นให้สมบูรณ์ ถูกต้อง (ซิ แล้วจะเห็นเอง)


ธรรมคุณข้อที่ 2 ถ้าจะแปลแบบขยายความให้เข้าใจ และได้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการด้วย จึงควรแปลว่า

ธรรมมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ดีแล้วนั้น คือ สิ่งที่ผู้ทำความเห็นให้ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว จักเห็นและรู้ได้ด้วยตนเอง


อันความเห็นที่สมบูรณ์ถูกต้องนั้น ประมวลรวมลงที่ "อนัตตา" ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสรุปไว้ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา" ธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็นอนัตตา ผู้ใดเห็นอนัตตา ก็เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมก็เห็นพระพุทธเจ้า

คำว่า "ธรรม"นี้เป็นปรมัตถสัจจะ ไม่อาจอธิบายให้เข้าใจได้ครบถ้วนด้วยภาษา บัญญัติของมนุษย์ ต้องสัมผัสรู้ที่ใจตรงๆ

ดังนั้นธรรมคุณข้อที่ 2 สันทิฐิโก จึงสรุปลงมาได้ว่า ถ้าเธออยากรู้ว่าธรรมมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นคืออะไร
เธอก็จงทำความเห็น(ทิฐิ) ของเธอให้ถูกต้อง สมบูรณ์ ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา แล้วเธอก็จะเห็นธรรม รู้ธรรม ซึ้งใจในธรรม ยอมรับธรรม และได้รับผลแห่งธรรม

แปลอย่างนี้จะเป็นการระบุและชี้ให้ลงมือปฏิบัติ เพื่อทำสัมมาทิฐิให้เกิด


หมายเหตุ: วลัยพร บอกว่ากล่าว อนัตตา ต้องพูดถึง อนิจจังและทุกขังด้วย ก็เลยจะบอกน้องว่า ทั้งอนิจจังและทุกขัง นั้น ล้วนแล้วแต่รวมลงที่ อนัตตา

อนิจจัง = ไม่เที่ยง ทำไมถึงไม่เที่ยงละ? ก็เพราะมันเป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

ทุกขัง = ทนอยู่ไม่ได้ ทำไมถึงทนอยู่ไม่ได้ล่ะ? ก็เพราะมันเป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

รู้อนิจจัง อาจไม่รู้ถึง ทุกขังและ อนัตตา

รู้ทุกขัง อาจไม่รู้ถึง อนัตตา

แต่รู้อนัตตาตัวเดียว จะรู้แจ้งแทงตลอดทั้ง อนิจจังและ ทุกขัง ดังนี้

จบ วิสัชนาเรื่องธรรมคุณ ข้อที่ 2 ไว้รอฟังข้อที่ 3 ต่อไปนะครับ

สำหรับคุณชาติสยาม scope หรือขอบเขตแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น พระองค์ทรงแสดงไว้ชัดเจนตั้งแต่วันปฐมเทศนา คืออริยสัจ 4 กิจ 3 อย่าง มีอาการรวม 12 ลองไปทบทวนดูดีๆนะครับ

เรื่องสลายพระอาทิตย์ เป็นเรื่องอนิจจัง พอฟังได้

แต่ป่วยประโยชน์ที่จะไปหาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระอาทิตย์ เปลี่ยน ย้าย เคลื่อน คล้าย มาหาดู ใน กาย จิต รูป นาม ขันธ์ 5 ของตัวเจ้าของนี้ จึงจะถูกที่และถูกทางนะครับ น้องวลัยพรด้วยนะครับ

:b1: :b12: :b12: :b12: :b16: :b16: :b27: :b27: :b27: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2010, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
สำหรับคุณชาติสยาม scope หรือขอบเขตแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น พระองค์ทรงแสดงไว้ชัดเจนตั้งแต่วันปฐมเทศนา คืออริยสัจ 4 กิจ 3 อย่าง มีอาการรวม 12 ลองไปทบทวนดูดีๆนะครับ

เรื่องสลายพระอาทิตย์ เป็นเรื่องอนิจจัง พอฟังได้

แต่ป่วยประโยชน์ที่จะไปหาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระอาทิตย์ เปลี่ยน ย้าย เคลื่อน คล้าย มาหาดู ใน กาย จิต รูป นาม ขันธ์ 5 ของตัวเจ้าของนี้ จึงจะถูกที่และถูกทางนะครับ น้องวลัยพรด้วยนะครับ

:b1: :b12: :b12: :b12: :b16: :b16: :b27: :b27: :b27: :b8: :b8:


เราหลงประเด้นกันแล้ว

ผมบอกว่า คำว่าอกาลิโก ไม่ควรจะตีความหมายแคบๆอยู่กับการปฏิบัติ

แต่ควรจะหมายถึงอย่างกว้าง ว่าธรรมทั้งปวงของพระพุทธเจ้านั้นเป้นสัจจธรรม

อะไรคือสัจจธรรม

สัจธรรมคือความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
จริงแท้แน่นอนอยู่แล้ว เช่น สรรพสิ่งมีเกิดย่อมมีดับ นี่คือความจริง
โดยที่เวลา ไม่มีผล ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน อนาคต สิ่งนี้ก้จะจริงอยู่ตลอดไป
นี่เรียกว่าสัจจธรรม


ถ้าจริงแล้วเท้จได้ เท้จแล้วจริงได้ อย่างนี้ไม่เรียกว่าสัจธรรม
เช่น "พระอาทิตยืขึ้นทางทิศตะวันออก" อย่างนี้จริงแค่ระยะเวลาหนึ่ง
เมื่อไหร่ดลกแตกสลาย เมื่อนั้นคำกล่าวนี้ก็เป้นเท้จ
นี่เรียกว่ามันประกอบด้วยกาล

ผมถึงบอกว่า คำว่าอกาลิโก มันไม่ใช่แค่การปฏิบัติ
มันเป้นการพูดถึงคูณสมบัติของใบไม้ในกำมือพระพุทธเจ้าว่ามี 6 ข้อ
ไม่ว่าจะหยิบใบไม้ใบไหนขึ้นมา มันจะต้องมีคูณสมบัติทั้ง 6 ข้อนี้อยู่
ไม่ใช่ว่ามีแค่ 5 หรือมีแค่ 4 แต่มี 6

ดังนั้น การแปลว่า "ไม่ประกอบด้วยกาล" จึงครอบคลุมครบถ้วนดีแล้ว
ไม่ควรจะตีความละเอียดลงไปแค่ว่าการปฏิบัติให้ผลไม่จำกัดกาล

ซึ่งถ้าเล่นแง่หน่อยนึง
ผมก้สามารถถามได้ว่า ถ้า"ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล"
แสดงว่าการให้ผลนั้นย้อนเวลาได้
อนาคตมาให้ผลปัจจุบันได้ อย่างนั้นหรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




_resize.jpg
_resize.jpg [ 100.55 KiB | เปิดดู 10675 ครั้ง ]
tongue อนุโมทนากับการชี้แจงของคุณชาติสยาม

เราไม่ได้หลงประเด็น แต่ชี้ไปที่เป้าหมายคนละประเด็น คุณชาติสยามกล่าวว่า สัจจธรรมไม่เกี่ยวกับกาลเวลา ก็ถูกของคุณชาติสยาม

ส่วนที่ผมอยากจชี้นั้น อยากจะชี้ให้ทุกท่านเห็นว่า นอกจากกาล เวลาแล้ว ธรรมมะ หรือสัจจธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับ คำแปลขยายทั้งหมดนั้นด้วย เพราะสัจจธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อความหลุดพ้นอันเป็นประเด็นคำสอนโดยเฉพาะของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ขึ้นกับทุกอย่าง ทั้งกาลและคำแปลที่ขยาย สามารถพิสูจน์ได้ทันที

ตัวอย่างเรื่องการจะไปบรรลุธรรมโดยย้อนอดีตกาล หรือล่วงไปในอนาคตกาลนั้น มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วในปฏิบัติการ

โดยสัจจธรรม การเกิดขึ้นให้รู้ ดับไปจากการรับรู้ของสัจจธรรมทั้งปวงรวมลงที่ปัจจุบันธรรมซึ่ีงดำรงอยู่ได้จริงๆชั่วพริบตาเดียว


:b12: :b12: :b12: :b16: :b16: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2010, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




ee375_resize_resize.jpg
ee375_resize_resize.jpg [ 68.38 KiB | เปิดดู 10640 ครั้ง ]
tongue
ธรรมคุณข้อที่ 3. อะกาลิโก คำแปลสำนวนนิยม (ธรรมมะ ๆ ทีพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น) เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

ปฏิบัติได้และให้ผลได้ เป็นเมตตาของผู้แปลขยายความให้


คำขยายความเพิ่มในสำนวนใหม่ ไม่จำกัด กาล เวลา สถานที่ บุคคล เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ วรรณะ ศาสนา เพศ วัย ระดับการศึกษา และการแต่งกาย

ถ้าใครก็ตามสามารถทำความเห็นให้ถูกต้อง สมบูรณ์ คือเห็น "อนัตตา" ยอมรับ อนัตตา แล้ว ย่อมเห็นธรรม ลองพิสูจน์กันดู ท้าพิสูจน์ด้วยนะครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




F_0034_resize_resize.JPG
F_0034_resize_resize.JPG [ 95.62 KiB | เปิดดู 10598 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
อะ กาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)


เพิ่มเติมเรื่องอะกาลิโก

คำว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
กาล หรือ กาละ ในที่นี่หมายถึง กาลเวลา คือ กลางวัน กลางคืน เช้า สาย บ่าย เย็น อย่างนี้เป็นต้น
การปฏิบัติธรรมหรือการให้ผลของธรรมจึงไม่จำกัด เวลา กลางวัน กลางคืน เช้า สาย บ่าย เย็น

ส่วนกาล 3 กาล คือ อดีตกาล ปัจจุบันกาล อนาคตกาล นั้น จะมีเงื่อนไขแห่งธรรมอย่างอื่นมาเป็นข้อจำกัดกันไว้ อย่างเช่นที่คุณชาติสยาม พยายามจะไปคิดว่า เอาอดีต หรือ อนาคต มาปฏิบัติและให้ผล ก็น่าจะได้ คำพูดอย่างนี้เป็นได้เพียงโวหารคุยกัน แต่โดยธรรมแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้เพราะกรรมและผลของกรรมทั้งหมดจะเริ่มต้นที่ ปัจจุบันกาล ปัจจุบันอารมณ์ ทั้งสิ้น โดยไม่สามารถจะมีข้อแม้อื่นใดได้ เพราะนี่คือ สัจจธรรม

คำแปลขยาย สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย นั้น
เป็นเครื่องช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้พิสูจน์ธรรมในแง่มุมอื่นๆอีกว่า ธรรมมะๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนนี้ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ โดยไม่มีขีดจำกัดของ

สถานที่ จะปฏิบัติที่วัด ที่บ้าน ในป่า ในเมืองและที่อื่นๆ ก็สามารถปฏิบัติได้และให้ผลได้

บุคคล จะเป็นบุคคลประเภทใด สูง ต่ำ ดำ ขาว ยาก ดี มี จน ก็มีสิทธิที่จะปฏิบัติธรรมและได้รับผลแห่งธรรมเสมอกัน

เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ วรรณะ ศาสนา เพศ วัย การแต่งกาย ระดับการศึกษา ก็ไม่เป็นข้อจำกัด ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพและโอกาส ที่จะปฏิบัติธรรมและได้รับผลแห่งธรรม เสมอเหมือนกันหมด

เพียงแต่มาทำให้ความเห็น (ทิฐิ) ตรง ถูกต้อง สมบูรณ์ คือเห็นว่า ธรรมทั้งปวงเป็น อนัตตา ทุกคนก็สามารถจะเห็นธรรมและเข้าถึงธรรมได้

คราวต่อไปมาฟังเรื่อง
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ; นะครับ
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร