วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมเคยบอกคุณกรัชกายหลายครั้งแล้วนี้ครับ ผมเหมือนเด็กอนุบาล กำลังเริ่มฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนา
และยังไม่ได้เกิด วิปัสสนาฌานใด ๆ ทั้งสิ้น แต่มีโอกาส วันหยุดยาว ๆ ก็ไปฝึกหัดเป็นประจำ


ขออนุญาตเรียนถามหน่อยครับ

ถามว่า คุณฝึกหัดวิปัสสนาอย่างนั้น เพื่อจุดประสงค์ใดครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลังจากให้ อ.ไปเกิดแล้ว คุณค่อยๆอ่านทำความเข้าใจ ที่ท่านอธิบายอิริยาบถบังทุกข์

ดูสิครับ ว่าบังยังไง ตรงกับใจเราไหม



อ้างคำพูด:
อ้าววว เรารึหวังดีหวังว่าให้ท่านไปเกิด

เห็นกี่ปีๆ คุณก็เรียกหาแต่ อ. แนบๆๆๆๆ อ้างอิงแต่ อ.แนบๆ วิปัสสนา อ.แนบ

จึงบอกให้คุณปล่อยให้ท่านไปผุดไปเกิดเถอะ อย่าเรียกหรือดึงท่านไว้เลย

ไม่อยากให้คุณทำบาปโดยฉุดรั้งท่านไว้ ปล่อยให้ท่านเป็นอิสระเถอะ อย่ารบกวนท่านเลย

คิดเห็นแบบนี้ น่าจะได้รับคำสรรเสริญจากคุณมากว่าตำหนินะครับ ทำคุณบูชาโทษแท้ๆ



คุณกรัชกายครับ สัตวโลก ทั้งหลาย ที่ยังมีอวิชชาอยู่ ย่อมมีภพชาติตามกรรม อยู่แล้ว

เหตุที่ผม อ้างคำสอนแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา ที่ท่านถ่ายทอดจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา และ ประสบการณ์ของท่าน เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะปฏิบัติในแนว วิปัสสนายานิกะ ที่จะยก รูป นาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติ

ซึ่งผมเห็นว่า เป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่คุณกรัชกาย เห็นว่า ไม่ถูกต้อง เพราะขัดกับหลักการท่องแบบหนอ ๆ ไม่สามารถแก้อารมณ์ยุบหนอพองหนอได้


แม้บรรดา พระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก จะละสังขารไปแล้ว แต่คำสอนของท่านก็ยังได้เป็นแนวทาง ให้ผู้สนใจได้ศึกษา เป็นแผนที่ เพื่อใช้ในการเดินทางต่อไป

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา (อาจารย์แนบ มหานีรานนท์) โดยคุณ สาวิกาน้อย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180

ประวัติการปฏิบัติธรรม ของ อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... -07-01.htm

---------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
หลังจากให้ อ.ไปเกิดแล้ว คุณค่อยๆอ่านทำความเข้าใจ ที่ท่านอธิบายอิริยาบถบังทุกข์

ดูสิครับ ว่าบังยังไง ตรงกับใจเราไหม


ตรงกับใจ ตรงกับความรู้สึกตนเอง อย่าได้นำมาตัดสินเลยครับ

ต้องตรงต่อพระธรรมวินัย ต่างหาก ที่ควรจะยกย่องเชิดชู นำมาปฏิบัติ

คำสอนของท่านผมว่าทรงคุณค่า ยิ่งกว่า อัตตโนมติของคุณกรัชกาย ยิ่งนัก

และเมื่อคุณกรัชกายไปเกิดแล้ว จะมี อนุชนรุ่นหลังกล่าวถึง อัตตโนมติ ที่ตีความข้าง ๆ คู ๆ แบบคุณหรือเปล่า ?

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตรงกับใจ ตรงกับความรู้สึกตนเอง อย่าได้นำมาตัดสินเลยครับ

ต้องตรงต่อพระธรรมวินัย ต่างหาก ที่ควรจะยกย่องเชิดชู นำมาปฏิบัติ

คำสอนของท่านผมว่าทรงคุณค่า ยิ่งกว่า อัตตโนมติของคุณกรัชกาย ยิ่งนัก

และเมื่อคุณกรัชกายไปเกิดแล้ว จะมี อนุชนรุ่นหลังกล่าวถึง อัตตโนมติ ที่ตีความข้าง ๆ คู ๆ แบบคุณหรือเปล่า ?



คุณเฉลิมศักดิ์ก็นะขอรับ พูดได้เป็นคุ้งเป็นแคว วกไปนั่นเวียนมานี่ เข้าซอยนั่นทะลุซอยโน่น อะไรนักก็ไม่รู้

แต่ไม่ตอบคำถาม ที่ถามไว้ว่า

อ้างคำพูด:
ถามว่า คุณฝึกหัดวิปัสสนาอย่างนั้น เพื่อจุดประสงค์ใดครับ


ตอบหน่อยครับ จะได้จำไว้ :b20: ต่อไปจะไม่ถามอีก :b12:

ดูๆ คุณขาดความมั่นใจในการกระทำในการปฏิบัติของตนเองนะขอรับ :b12:


แล้วว่าที่กรัชกายทำเป็นอัตตโนมติ ไม่เป็นอัตตโน นาโถ ว่างั้นเถอะ :b32:

แต่กรัชกายก็ยืนโต้กับคุณโดยไม่ต้องอ้างผู้นั้นผู้นี้นะครับ นอกจากคัมภีร์ศาสนาที่เกียวกับหลักปฏิบัติ

(ธรรมานุธัมมปฏิบัติ) ว่าลงกันไปกันได้

ส่วนคุณก็เอาแต่อ้าง อ.แนบ วิปัสสนา อ.แนบ ๆๆ

ครั้นกรัชกายจะพูดต่างเห็นแย้งก็เกรงจะกระทบคนที่ตายไปแล้ว ท่านไม่มีโอกาสลุกขึ้นมาแก้ข้อกล่าวหา

จึงอยากได้ใจที่เป็นของคุณล้วนๆ เอากันโดยไม่ต้องอ้างคนตาย

ถึงแม้จะตายก็ตาหลับ ไม่ว่าจะเป็นอัตตโนมติ หรือ เป็น อัตตโน นาโถก็ตาม :b1: :b12: :b32:


ปล. อย่าลืมตอบคำถามนะขอรับที่ถามว่า (คุณฝึกหัดวิปัสสนาอย่างนั้น เพื่อจุดประสงค์ใด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 09:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถามว่า คุณฝึกหัดวิปัสสนาอย่างนั้น เพื่อจุดประสงค์ใดครับ


ตอบหน่อยครับ จะได้จำไว้ ต่อไปจะไม่ถามอีก

ดูๆ คุณขาดความมั่นใจในการกระทำในการปฏิบัติของตนเองนะขอรับ


แล้วว่าที่กรัชกายทำเป็นอัตตโนมติ ไม่เป็นอัตตโน นาโถ ว่างั้นเถอะ

แต่กรัชกายก็ยืนโต้กับคุณโดยไม่ต้องอ้างผู้นั้นผู้นี้นะครับ นอกจากคัมภีร์ศาสนาที่เกียวกับหลักปฏิบัติ

(ธรรมานุธัมมปฏิบัติ) ว่าลงกันไปกันได้

ส่วนคุณก็เอาแต่อ้าง อ.แนบ วิปัสสนา อ.แนบ ๆๆ

ครั้นกรัชกายจะพูดต่างเห็นแย้งก็เกรงจะกระทบคนที่ตายไปแล้ว ท่านไม่มีโอกาสลุกขึ้นมาแก้ข้อกล่าวหา

จึงอยากได้ใจที่เป็นของคุณล้วนๆ เอากันโดยไม่ต้องอ้างคนตาย


คุณกรัชกายครับ ที่ผมฝึกหัดการปฏิบัติวิปัสสนา นี้ เพื่อเป็น

- พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

- อาจาริยบูชา

และ สั่งสม ปัญญาบารมี ครับ เพื่อจะได้รู้ว่า รูปนาม เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา


ทุก ๆ ครั้ง ที่เข้าปฏิบัติ เกิดความท้อแท้ ก็ได้หวนระลึกถึง คำสอนของ อาจารย์แนบ นี้แหละครับ ผมระลึกไว้เสมอว่า

อ้างคำพูด:
อานิสงส์ของการปฏิบัติธรรม
อ.แนบ มหานีรานนท์


http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... x-page.htm

เพราะฉะนั้น ขอให้รู้เถิดว่า การที่เรามาเข้าปฏิบัตินี้ สมแล้วกับที่เราเคารพเลื่อมใสพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจึงมาบูชาเพื่อพระองค์ และทุกครั้งที่เรามีสติรู้ รูปก้าว ก็เท่ากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสาธุทุกครั้ง สำรวมตาเห็นก็สักแต่ว่า เห็น รู้อยู่ที่เห็น แต่ว่า ไม่ออกไปข้างนอก เวลาเห็นเรามีสติรู้อยู่ที่ นามเห็น นามได้ยิน ก็เหมือนกัน จักขุนา สังวโร สาธุ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ โสเตน สังวโร สาธุ พระองค์ทรงสาธุ

เมื่อมีสติรู้ที่ได้ยิน กิเลสเข้าไม่ได้ เพราะอารมณ์ปัจจุบันนี่ กิเลสเข้าไม่ได้ ทำลายอภิชฌาโทมนัส

คิดดูซิว่า กุศลเท่าไรในการที่เรามาทำอยู่นี้ เว้นแต่ผู้ที่มีบาปหนา หรือมีกิเลสก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะกิเลสมาตั้งอยู่ในธรรมอันนี้ได้ นอกจากนั้นยังได้กุศลทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ทุกก้าวไปก็ได้กุศล กินข้าวเพื่อสร้างสังสารวัฏก็ได้ กินเพื่อพ้นจากสังสารวัฏก็ได้ กินแล้วก็พิจารณาว่ากินเพื่ออะไร กินเพื่อแก้ทุกข์ เบญจขันธ์นี้ต้องอาศัยอาหาร การมีเบญจขันธ์นี้ก็เป็นทุกข์ เพราะต้องอาศัยอาหาร เพื่อยังอัตภาพให้อยู่ได้

แล้วก็พิจารณาต่อไปว่า อยู่เพื่ออะไร อยู่เพื่อมรรค ผล นิพพาน ธรรมที่ควรที่จะรู้ยังไม่มี ธรรมที่ควรจะแจ้ง ยังไม่แจ้ง ทุกข์ที่ควรจะพ้นยังไม่พ้น เพื่อที่จะเอาอัตภาพนี้ไว้เพื่ออย่างนี้เท่านั้น


--------------------------------------------------------

๑๐๘ ปี อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์ ผู้บุกเบิกการศึกษาพระอภิธรรมและการปฏิบัติวิปัสสนา
http://larndham.org/index.php?showtopic=14032&st=20&

คุณกรัชกายครับ แม้จะเป็น ภาษิต ของ อุบาสิกา ในยุคหลัง ๆ แต่หากว่า สอดคล้องกับ พระธรรมวินัย ก็ควรยกย่องเชิดชู ไม่ใช่หรือครับ ?

แต่อาจจะขัดแย้ง กับ อัตตโนมติ ของคุณกรัชกาย

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:



คุณกรัชกายครับ ที่ผมฝึกหัดการปฏิบัติวิปัสสนา นี้ เพื่อเป็น
- พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
- อาจาริยบูชา
และ สั่งสม ปัญญาบารมี ครับ เพื่อจะได้รู้ว่า รูปนาม เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา

ทุก ๆ ครั้ง ที่เข้าปฏิบัติ เกิดความท้อแท้ ก็ได้หวนระลึกถึง คำสอนของ อาจารย์แนบ นี้แหละครับ ผมระลึกไว้เสมอว่า


คุณกรัชกายครับ แม้จะเป็น ภาษิต ของ อุบาสิกา ในยุคหลัง ๆ แต่หากว่า สอดคล้องกับ พระธรรมวินัย ก็ควรยกย่องเชิดชู ไม่ใช่หรือครับ ?

แต่อาจจะขัดแย้ง กับ อัตตโนมติ ของคุณกรัชกาย



คุณกรัชกายครับ ที่ผมฝึกหัดการปฏิบัติวิปัสสนา นี้ เพื่อเป็น
- พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
- อาจาริยบูชา
และ สั่งสม ปัญญาบารมี ครับ เพื่อจะได้รู้ว่า รูปนาม เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา
ทุก ๆ ครั้ง ที่เข้าปฏิบัติ เกิดความท้อแท้ ก็ได้หวนระลึกถึง คำสอนของ อาจารย์แนบ นี้แหละครับ


คุณเฉลิมศักดิ์ มี อ.แนบ เป็นศาสดี ไปแล้วหรือครับนี่ :b28:

คุณยังไม่เข้าใจความหมายของวิปัสสนาเลยขอรับ :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทุก ๆ ครั้ง ที่เข้าปฏิบัติ เกิดความท้อแท้ ก็ได้หวนระลึกถึง คำสอนของ อาจารย์แนบ นี้แหละครับ ผมระลึกไว้เสมอว่า

อานิสงส์ของการปฏิบัติธรรม
อ.แนบ มหานีรานนท์

เพราะฉะนั้น ขอให้รู้เถิดว่า การที่เรามาเข้าปฏิบัตินี้ สมแล้วกับที่เราเคารพเลื่อมใสพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจึงมาบูชาเพื่อพระองค์ และทุกครั้งที่เรามีสติรู้ รูปก้าว ก็เท่ากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสาธุทุกครั้ง สำรวมตาเห็นก็สักแต่ว่า เห็น รู้อยู่ที่เห็น แต่ว่า ไม่ออกไปข้างนอก เวลาเห็นเรามีสติรู้อยู่ที่ นามเห็น นามได้ยิน ก็เหมือนกัน จักขุนา สังวโร สาธุ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ โสเตน สังวโร สาธุ พระองค์ทรงสาธุ

เมื่อมีสติรู้ที่ได้ยิน กิเลสเข้าไม่ได้ เพราะอารมณ์ปัจจุบันนี่ กิเลสเข้าไม่ได้ ทำลายอภิชฌาโทมนัส

คิดดูซิว่า กุศลเท่าไรในการที่เรามาทำอยู่นี้ เว้นแต่ผู้ที่มีบาปหนา หรือมีกิเลสก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะกิเลสมาตั้งอยู่ในธรรมอันนี้ได้ นอกจากนั้นยังได้กุศลทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ทุกก้าวไปก็ได้กุศล กินข้าวเพื่อสร้างสังสารวัฏก็ได้ กินเพื่อพ้นจากสังสารวัฏก็ได้ กินแล้วก็พิจารณาว่ากินเพื่ออะไร กินเพื่อแก้ทุกข์ เบญจขันธ์นี้ต้องอาศัยอาหาร การมีเบญจขันธ์นี้ก็เป็นทุกข์ เพราะต้องอาศัยอาหาร เพื่อยังอัตภาพให้อยู่ได้

แล้วก็พิจารณาต่อไปว่า อยู่เพื่ออะไร อยู่เพื่อมรรค ผล นิพพาน ธรรมที่ควรที่จะรู้ยังไม่มี ธรรมที่ควรจะแจ้ง ยังไม่แจ้ง ทุกข์ที่ควรจะพ้นยังไม่พ้น เพื่อที่จะเอาอัตภาพนี้ไว้เพื่ออย่างนี้เท่านั้น



อ่านคำพรรณนา ที่คุณเฉลิมศักดิ์โพสต์นั่นแล้ว อดนึกถึงโฆษกงานปิดทองฝังลูกนิมิตตามงานวัดไม่ได้

พูดไปเรื่อยทั้งวันอะไรนักก็ไม่รู้ว่าไป

หรืออีกก็โฆษกที่ประกาศเชิญชวนให้คนถวายสังฆทานตามวัดช่วงเทศกาลว่าไป

ชวนคนเพ้อฝันวาดภาพโน่นนี่ไปตามอารมณ์ คล้ายๆคนสูบกัญชาแล้วพ่นควันออกมาแล้วก็มองตามควันซึ่งลอย

ไปในอากาศ แล้ววาดวาดภาพในใจให้เป็นรูปนก รูปหนู รูปมังกร รูปสวรรค์ มรรค ผล นิพพาน ตามจินตนาการ

ซึ่งสร้างซ้อนขึ้นในใจ แล้วก็ยิ้มกริ่ม :b1: :b12:

"รังรักในจินตนาการ"

http://www.charyen.com/jukebox/play.php?id=11807

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ม.ค. 2010, 10:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
และ สั่งสม ปัญญาบารมี ครับ เพื่อจะได้รู้ว่า รูปนาม เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา


รูปนาม เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา

...ว่ารูปนามไม่ใช่ของเรา แล้วคุณว่าเป็นของๆใครล่ะขอรับ ถามหน่อย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=9&


ในมิลินทปัญหา วรรคที่ ๙ อนุมานปัญหา แสดงการเปรียบเทียบพระพุทธพจน์ว่า เหมือนบุปผชาติที่มีสีและกลิ่นหอมนานาชนิด และเปรียบพระอริยสาวก ผู้ฉลาดในการแสดงธรรมว่า เหมือนนายมาลาการ ผู้ชำนาญในการจัดสรรบุปผชาตินั้น ดังเช่นคำของพระนาคเสนเถระ กล่าวกะพระยามิลินท์ว่า “ บัดนี้ อาตมาภาพ เป็นดุจนายมาลาการ ผู้ร้อยกรองบุปผชาติในพระชินศาสน์ “ เป็นต้น ข้อนี้ฉันใด พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ คือท่านเปรียบดุจนายมาลาการผู้ฉลาดจัดสรรดอกพฤกษชาติตามต้องการ ทั้งมิได้เอาสิ่งอื่นใด นอกจากบุปผชาติซึ่งเปรียบด้วยพุทธพจน์นั้นมาร้อยกรอง

พระบรมศาสดา ตรัสกถา ๒ คือ สมมติกถา ซึ่งมีคำว่า “ สัตว์ บุคคล เทวดา พรหม “ เป็นต้น และตรัสปรมัตถกถามีคำว่า “ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ “ เป็นต้น อันใดไว้ พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ก็แสดงธรรมตามนัยนั้นนั่นแหละ โดยแสดงว่า คำว่า สัตว์ เป็นต้น เป็นอุปาทาบัญญัติ (คือบัญญัติเพราะอาศัยขันธ์) และแสดงสภาวธรรม ๕๗ ประเภท คือ ขันธ์ ๕ อายตน ๑๒ ธาตุ ๑๘ และอินทรีย์ ๒๒ ว่าเป็นสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ฯลฯ

ภาษิตทั้งหลาย จะเป็นสาวกภาษิตก็ดี สาวิกาภาษิตก็ดี เทวดาภาษิตก็ดี อุบาสก อุบาสิกา ฤาษีทั้งหลายก็ดี เมื่อแสดงธรรมตามนัยที่พระองค์ทรงแสดงไว้ หรือแนะไว้ หรือมีความเห็นมิได้ขัดแย้งต่อพระธรรมวินัย ภาษิตเหล่านั้นทั้งหมด ก็จัดเป็นพุทธพจน์ด้วย เพราะเหตุไร ก็เพราะว่า พระศาสดาของเราทั้งหลาย เป็นธรรมสามี คือเจ้าของแห่งธรรม เป็นธรรมราชา เป็นผู้ตั้งพระศาสนา ได้วางหลักพิสูจน์ตัดสินชี้ขาดพระธรรมวินัย โดยหัวข้อไว้ ๘ ประการ คือ (กล่าวโดยย่อ)

ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด เป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความไม่สะสมทุกข์ เป็นไปเพื่อความมักน้อย เป็นไปเพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นไปเพื่อความเพียร เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นพุทธพจน์ เป็นธรรมวินัย เป็นสัตถุศาสน์


---------------------------------------------------------------

ทิฏฐิวิสุทธิ โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://larndham.org/index.php?showtopic=19112&st=0
-----------------------------------------------

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0

อ้างอิงพระบาลี อรรถาธิบาย จากหนังสือ อุบายดับทุกข์ โดย อ. ไชยวัฒน์
---------------------------------------------------

เหตุผลในการกำหนดอิริยาบถ โดยท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/article.htm

-------------------------------------------------

หลักปฏิบัติวิปัสสนา

http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htm

------------------------------------------------------



คุณกรัชกายครับ ภาษิตของ อาจารย์แนบ หรือ อุบาสก อุบาสิกา ท่านไหน ที่เป็นไปเป็นไปเพื่อกำหนดทุกข์ เป็นแนวการปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อสั่งสมปัญญาบารมี เพื่อบูชาในพุทธคุณ ผมว่าควรนำมาศึกษา และปฏิบัติตาม นะครับ

แต่ความเห็นของคุณที่เต็มไปด้วยกล่าวกล่าวเสียดสี กระแหนะกระแหน
ผมคงไม่ใส่ใจหรอกครับ :b1:


อ้างคำพูด:
ความเห็นคุณกรัชกาย

อ่านคำพรรณนา ที่คุณเฉลิมศักดิ์โพสต์นั่นแล้ว อดนึกถึงโฆษกงานปิดทองฝังลูกนิมิตตามงานวัดไม่ได้

พูดไปเรื่อยทั้งวันอะไรนักก็ไม่รู้ว่าไป

หรืออีกก็โฆษกที่ประกาศเชิญชวนให้คนถวายสังฆทานตามวัดช่วงเทศกาลว่าไป

ชวนคนเพ้อฝันวาดภาพโน่นนี่ไปตามอารมณ์ คล้ายๆคนสูบกัญชาแล้วพ่นควันออกมาแล้วก็มองตามควันซึ่งลอย

ไปในอากาศ แล้ววาดวาดภาพในใจให้เป็นรูปนก รูปหนู รูปมังกร รูปสวรรค์ มรรค ผล นิพพาน ตามจินตนาการ

ซึ่งสร้างซ้อนขึ้นในใจ แล้วก็ยิ้มกริ่ม

"รังรักในจินตนาการ"


หากคุณสงสัยแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา ที่คณาจารย์สายอาจารย์แนบ สั่งสอน

หรือจะไปวิพากษ์วิจารณ์ ผมขอแนะนำให้ไปตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่าครับ

เหมือนที่คุณเคยกระทำมาแล้วในอดีต

แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241

------------------------------------------------------------
พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ(นักปฏิบัติธรรม) บางท่าน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16059

ข.มีพฤติกรรม สวนกระแสพระสัทธรรม เช่น
๑)อติมานี มีมานะจัด มีนิสัยหยาบกระด้าง (ปากร้าย ชอบทะเลาะ เบาะแว้ง ) บุคคลอื่นแนะนำตักเตือนไม่ได้
๒)โกธาภิภูโต มักโกรธ หงุดหงิดรำคาญง่าย ไร้เหตุผล
๓)พหุภาณี พูดมาก ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่เลือกสถานที่ และบุคคล ขาดความสุภาพ
๔)สาเถยยมายาวี เป็นคนเจ้าเล่ห์ มารยา มีเจตนาแอบแฝงที่ไม่ดี หน้าด้าน ไม่รู้จักอาย เป็นคนแก้อยาก


คุณกรัชกายครับ ผมว่าพฤติกรรมของคุณที่แสดงผ่านความเห็นต่าง ๆ ดูเบี่ยงเบนไปเรื่อย ๆ แล้วนะครับ

ถ้าเบี่ยงเบนมาก ๆ ผมก็ขี้เกียจสนทนาด้วยแล้ว

ขอให้อยู่ในหัวข้อกระทู้ด้วยนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายขั้นสุดท้ายสั้นๆ คำว่า วิปัสสนา คือ

การปฏิบัติธรรม (จะใช้ชื่ออะไรสุดแล้วแต่) เพื่อให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะ

ที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ (พ้นทุกข์) นั่นคือความหมาย "วิปัสสนา"

แล้วดูที่คุณพรรณนาเกี่ยวกับวิปัสสนามาสิขอรับ เป็นไปตามแนวธรรมไหม

เหมือนคุณเอาส้มที่อื่นมาวางขาย แล้วก็บอกว่า ส้มบางมดอ่ะคับบบ :b32:


http://www.esnips.com/doc/e698435f-9b09 ... 5%E0%B9%89

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ม.ค. 2010, 18:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 5794 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า
กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น

http://larndham.org/index.php?showtopic=32047&st=1


นั่นก็เป็นความคิดของคุณเฉลิมศักดิ์ ที่ให้ความหมายสมถกรรมฐานไว้....นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้ากำหนดลมหายใจออก


แล้วท่องคำภาวนาคุณเฉลิมศักดิ์ พูดแสดงไว้ทุกหนแห่ง เป็นไงครับ ช่วยอธิบายที


เมื่อนั่งเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายเป็นสมถะ

แล้วมีคนจะนั่งวิปัสสนาล่ะนั่งยังไง

หรือ นั่งเอาขาซ้ายทับขาขวา มือซ้ายทับมือขวา เป็นวิปัสสนา :b32: นั่งแบบนี้ไช่ไหมครับ นั่งวิปัสสนา

หากต้องการจะเดินสมถะล่ะ เดินยังไง เดินวิปัสสนาล่ะเดินไง :b1:

กรุณาตอบสิครับ เพราะกระทู้นี้ก็ตั้งเกี่ยวกับสมาธิกับวิปัสสนาเช่นกัน :b13:

หรือ คุณเห็นการนั่งอย่างรูปนั่น เป็นสมถะไปแล้ว

แล้วก็นั่งกลับกันเป็นวิปัสสนา หรือ นั่งบนเก้าอี้เป็นวิปัสสนา :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ม.ค. 2010, 17:40, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า
กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น

http://larndham.org/index.php?showtopic=32047&st=1


นั่นก็เป็นความคิดของคุณเฉลิมศักดิ์ ที่ให้ความหมายสมถกรรมฐานไว้....นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้ากำหนดลมหายใจออก

แล้วท่องคำภาวนาคุณเฉลิมศักดิ์ พูดแสดงไว้ทุกหนแห่ง เป็นไงครับ ช่วยอธิบายที


คุณกรัชกาย ครับ สมถะ(สมาธิ) กับ วิปัสสนา มีความแตกต่างกัน

การนั่งเพ่ง อารมณ์บัญญัติต่าง ๆ ให้จิตเกิดความสงบ ระงับนิวรณ์ได้ชั่วคราว นั้น คือ สมถะหรือสมาธิครับ

แม้คุณกรัชกายจะนั่งเพ่งดูลมหายใจ ดูท้องยุบพอง นั้นคือ การทำสมถะหรือสมาธิ

แม้คุณกรัชกาย จะนั่งเพ่งท้องแล้วภาวนา "ยุบหนอ พองหนอ", " ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ", "เห็นไตรลักษณ์หนอ ๆ ๆ ๆ " นั้นก็คือ บัญญัติอารมณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมา

คุณกรัชกาย ลองศึกษาจากท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก อีกครั้งนะครับ

21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถ
viewtopic.php?f=2&t=21049&p=98655#p98655


๖. สมถะ คือ สมาธิที่เกิดในฌานนั้น สามารถเกิดมีได้ทั้ง อุปจาระ และอัปปนาสมาธิ ส่วนสมถะคือสมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิ ที่เกิดตามสภาวะอารมณ์ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นๆ ยังปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่ออารมณ์นั้นดับไปแล้ว สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น ก็พลอยดับไปด้วย

๗. การทำสมถะเพื่อให้เกิดฌานสมบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาดูกสิณหรืออสุภะเป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนวิปัสสนานั้นสามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตูทีเดียว

๘. การทำสมถะเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธินั้น จะทำไปหยุดไปเป็นชั่วโมงหรือ ๒ ชั่วโมงก็อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ติดกัน และส่วนใหญ่จะทำได้ใน อิริยาบถนั่ง เท่านั้น ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทุกๆ อิริยาบถ โดยไม่จำกัดและเวลาทำก็หยุดไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำติดต่อกันไปเว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น

๙. สมถะ ใช้อารมณ์เป็นบัญญัติ เช่น บัญญัติกสิณ หรืออสุภะเป็นต้น ส่วนวิปัสสนานั้น ต้องใช้สภาวะคือ นามรูป มาเป็นอารมณ์จึงจะใช้ได้


------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
เมื่อนั่งเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายเป็นสมถะ

แล้วมีคนจะนั่งวิปัสสนาล่ะนั่งยังไง

หรือ นั่งเอาขาซ้ายทับขาขวา มือซ้ายทับมือขวา เป็นวิปัสสนา นั่งแบบนี้ไช่ไหมครับ นั่งวิปัสสนา

หากต้องการจะเดินสมถะล่ะ เดินยังไง เดินวิปัสสนาล่ะเดินไง

กรุณาตอบสิครับ เพราะกระทู้นี้ก็ตั้งเกี่ยวกับสมาธิกับวิปัสสนาเช่นกัน

หรือ คุณเห็นการนั่งอย่างรูปนั่น เป็นสมถะไปแล้ว

แล้วก็นั่งกลับกันเป็นวิปัสสนา หรือ นั่งบนเก้าอี้เป็นวิปัสสนา


คุณกรัชกายครับ วิปัสสนา จะไม่มีการกำหนดกฏเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าครับ ว่าจะต้องอยู่ในอิริยาบถไหน

ตัวอย่าง เช่น นั่งขัดสมาธิ(ภาวนายุบหนอ พองหนอ) 30 นาที
เดินย่างหนอ 3 จังหวะ 30 นาที เดิน 6 จังหวะ 60 นาที
เดิน 6 จังหวะ ครึ่ง 30 นาที

วิปัสสนา ทำเพื่อแก้ทุกข์ ไม่ได้ทำเพื่อแก้อยาก

คุณกรัชกาย ลองกลับไปศึกษาหลักการปฏิบัติ จาก อาจารย์แนบ (ที่คุณเคยกล่าวปรามาสท่านไว้ )

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา (อาจารย์แนบ มหานีรานนท์) โดยคุณ สาวิกาน้อย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180



ต้องรู้เหตุที่จะเปลี่ยนอิริยาบถ

ถ้าเกิดปวดเมื่อยขึ้นมา เช่นอย่างเวลานั่ง พอมันปวดมันเมื่อยรู้สึกขึ้นมา เราก็ต้องเปลี่ยน อย่าไปทน ทนก็ใช้ไม่ได้ แล้วจะเปลี่ยนโดยยังไม่ทันรู้เหตุผลที่จะสมควรเปลี่ยน ไม่มีเหตุผลที่จะมาเสนอปัญญา ทำไปโดยยังไม่ได้เหตุก็ไม่ได้คือ เวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถ เราจะต้องรู้เสียก่อน ต้องรู้เหตุที่จะทำให้เปลี่ยนอิริยาบถเสียก่อน ไม่ใช่เปลี่ยนไปด้วยอำนาจกิเลส

ถ้าเราต้องการ ความอยากก็เกิดขึ้น เราจะละกิเลสไม่ได้ เพราะเราทำไปด้วยความต้องการกิเลสก็เข้าอาศัยได้ มันก็ละกิเลสไม่ได้ อิริยาบถนี่สำคัญ พอนั่งแล้วรู้สึกว่ามันปวดมันเมื่อย เราก็เปลี่ยนเสีย แต่ว่าให้รู้เสียก่อนว่า เปลี่ยนเพราะเหตุอะไร คือ เราไม่ได้เปลี่ยนเพราะกิเลส เราเปลี่ยนเพราะอำนาจความปวด ความเมื่อย พระอรหันต์ท่านยังต้องเปลี่ยน ท่านก็ยังต้องมีอิริยาบถที่ต้องเปลี่ยน ไม่เปลี่ยนไม่ได้มันก็ต้องตายละคนเรา ทีนี้เราก็เปลี่ยนอิริยาบถ แต่ให้รู้ว่า เปลี่ยนเพราะว่ามันเป็นทุกข์ ทุกข์มันเกิดขึ้นแล้วเราจะต้อง เปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์ ต้องให้ทำความรู้สึกอย่างนี้ เพื่อแก้ทุกข์หรือถูกทุกข์บังคับให้เปลี่ยน ถ้าเราเปลี่ยนแล้ว เราทำความรู้สึกว่าเปลี่ยนไปเพื่อจะสบาย อิริยาบทใหม่นี่มันจะสบาย เรานั่งเมื่อยเราก็ต้องอยากนอน ที่เราอยากนอนเพราะเรารู้สึกว่า รูปนอนมันสบาย สบายเป็นสุขวิปลาสเข้าแล้ว

ความสุขนี่ในพุทธศาสนาถือว่า วิปลาส คือผิดพลาดจากความเป็นจริง ฉะนั้น ทุกขวิปลาส จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา มีแต่ สุขวิปลาส เพราะทุกข์นี้เป็นของจริง เป็นตัวอริยสัจ ทุกคนก็ทราบแล้วว่าทุกข์เป็นตัวอริยสัจ เป็นของจริงเป็นสัจธรรม เพราะฉะนั้น ผู้ใดเข้าไปเห็นทุกข์ ชื่อว่า ผู้นั้นเข้าไปเห็นของจริง การเข้าไปเห็นของจริง เป็น สัจจะ เขาไม่เรียกว่า วิปลาส ส่วนความสุขไม่มีจริง จึงไม่มี คำว่า สุขสัจ เพราะสุขไม่ใช่ของจริง ความจริงมันมีแต่ทุกข์เท่านั้นแหละในโลกนี้ แต่ว่า เราไม่ได้ดู ที่ไม่ได้ดูเพราะว่า กิเลสตัณหามันย้อมใจอยู่ มันก็มุ่งไปหาความสุข หาความสบายอยู่เรื่อย ตัณหานี่ไม่ชอบทุกข์ ชอบแต่ความสุข เห็นอะไรที่มันสบาย เห็นรูปแล้วสบายใจ ฟังเสียีงแล้วสบายใจ นี่แหละตัณหามันชอบอย่างนี้

เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะเปลี่ยนอิริยาบถนี่ เพื่อจะกันตัณหาที่เข้าอาศัยอิริยาบทใหม่ เราจึงต้องมนสิการให้ถูกต้องว่า ความจริงเราต้องเปลี่ยนใช่ไหม หรือว่าเราอยากเปลี่ยน ความจริงเราต้องเปลี่ยน ไม่เปลี่ยนมันไม่ได้ ไม่เปลี่ยนได้ไหม ถ้าเราไม่อยากเปลี่ยนไม่ได้ ! นี่รับรองแล้วการที่ตัวเข้าใจว่า ตัวอยากเปลี่ยนนั้นน่ะ ที่จริงมันผิดแล้ว ความทุกข์มันเกิดขึ้นเราต้องแก้ เพื่อแก้ทุกข์ถูกไหม นี่ความจริงมันเป็นอย่างนี้ แต่ว่า เมื่อเราไม่ได้พิจารณา แม้แต่เพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าถึงความจริง

วิปลาสมันคอยอยากเปลี่ยน แท้ที่จริงไม่ได้มีความอยากเปลี่ยนอะไรหรอก ถ้าอยากเปลี่ยนกิเลสตัณหาก็เข้าอาศัยอิริยาบถใหม่ทันที ทำลายวิปลาสไม่ได้ เราทำความรู้สึกไม่ถูก เราโยนิโสไม่ถูก ก็ทำลายไม่ได้เลย


อย่าคิดว่า นั่งกรรมฐาน เดินกรรมฐาน

เพราะเหตุนี้ จึงห้ามไม่ให้รู้สึกว่า นั่งกรรมฐาน อย่าไปรู้สึกว่า เราจะต้องนั่งท่านี้ถึงจะแก้ทุกข์ได้ อันนี้ห้าม ห้ามไม่ให้รู้สึกว่า นั่งกรรมฐาน เวลาจะลุกขึ้นเดิน ไม่ให้รู้สึกว่า เดินกรรมฐาน อันนี้เป็นความสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งเป็นของน่าแปลก ใครๆ เขามาทำกรรมฐานแล้ว ไม่ให้นั่งกรรมฐาน ไม่ให้ทำกรรมฐาน สำหรับวิปัสสนานี่ ห้ามรู้สึกว่านั่งกรรมฐาน อันนี้เรานั่ง เพื่อจะเอากรรมฐาน นั่งเพื่อจะได้กรรมฐาน จะได้เห็นธรรมอะไรมันจะโผล่ขึ้นมา มันกลายเป็นอย่างนี้ไป ไม่ใช่นั่งกรรมฐาน แต่นั่งเพื่อแก้ทุกข์ นอนเพื่อแก้ทุกข์ เดินเพื่อแก้ทุกข์

ถ้ายังไม่ทุกข์ไม่ต้องเปลี่ยน ถ้าทุกข์จะเปลี่ยนเมื่อไรก็ได้ ๕ นาที ๑๐ นาที ตามใจ แต่ให้มีเหตุผลที่จะพิจารณาได้ ทีนี้ถ้าเราไปนั่งกรรมฐานเดินกรรมฐาน ก็กลายเป็นว่า เราอยากนั่ง อยากเดิน เพื่ออยากจะเห็นธรรม เขาว่าเดินมากๆ แล้วจะเห็นรูปเดินก็เลยเดิน เพราะอยากเห็นรูปเดิน กิเลสก็ปิดบังอิริยาบถเดิน ไม่รู้ว่าใครเดิน ในที่สุด ก็จะคิดเหมาเอาว่าเราเดินก็ไม่ได้ความจริง เพราะฉะนั้น ต้องทำไปตามความจริง

ที่จริงน่ะ ขอให้ไปพิจารณาดูเถอะ ถ้าทำจริงๆ แล้ว ๗ วันนี่ ท่านจะพบสิ่งที่ท่านไม่เคยพบเลยในชีวิต "ธรรม" ต้องพบแน่ แต่ขอให้ได้อารมณ์ปัจจุบันมากๆ ที่ว่ามากๆ ก็หมายถึงว่า มันไม่ฟุ้งไปอื่น แต่มันต้องฟุ้งห้ามไม่ได้ ฟุ้งก็ฟุ้งไป แล้วเราก็รู้ว่า มันฟุ้ง ก็กลับมาดูใหม่เท่านั้นแหละ ขอให้ทำใจเพียงแค่นี้ อย่าไปทำความไม่พอใจ ก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้น ขอให้ดูแต่ว่า เราจะต้องแก้ทุกข์นะ เราแก้ทุกข์ เรารู้ตัวเราไหมว่า ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมานี่ เราแก้ทุกข์อะไรบ้าง ทุกข์อะไรก็ตาม ถ้าแก้ไม่ได้ ก็อยู่ไม่ได้ต้องตาย ที่เราอยู่มาได้ทุกวันนี้เพราะเราแก้ได้เอง การที่เราแก้เองได้เลยกลายเป็นคนดี ถ้าคราวไหนเราแก้เองไม่ได้ต้องเอาหมอมาช่วยแก้ นั่นแหละถึงจะรู้ว่า เจ็บ นี่มันเมื่อย เราก็เปลี่ยนอิริยาบถได้ เราก็นอนได้ เราก็เดินได้ เขาก็ว่าเราเป็นคนดีอย่างนี้ ถ้าเผื่ออยากจะนอนก็นอนไม่ลง นอนไม่ได้แล้ว ไปเอาหมอมาช่วย ตอนนี้ก็ว่าเจ็บแล้ว แต่ที่จริงเจ็บอยู่เรื่อย ต้องแก้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา


----------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
อย่าคิดว่า นั่งกรรมฐาน เดินกรรมฐาน

เพราะเหตุนี้ จึงห้ามไม่ให้รู้สึกว่า นั่งกรรมฐาน อย่าไปรู้สึกว่า เราจะต้องนั่งท่านี้ถึงจะแก้ทุกข์ได้ อันนี้ห้าม ห้ามไม่ให้รู้สึกว่า นั่งกรรมฐาน เวลาจะลุกขึ้นเดิน ไม่ให้รู้สึกว่า เดินกรรมฐาน อันนี้เป็นความสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งเป็นของน่าแปลก ใครๆ เขามาทำกรรมฐานแล้ว ไม่ให้นั่งกรรมฐาน ไม่ให้ทำกรรมฐาน สำหรับวิปัสสนานี่ ห้ามรู้สึกว่านั่งกรรมฐาน อันนี้เรานั่ง เพื่อจะเอากรรมฐาน นั่งเพื่อจะได้กรรมฐาน จะได้เห็นธรรมอะไรมันจะโผล่ขึ้นมา มันกลายเป็นอย่างนี้ไป ไม่ใช่นั่งกรรมฐาน แต่นั่งเพื่อแก้ทุกข์ นอนเพื่อแก้ทุกข์ เดินเพื่อแก้ทุกข์


คงขัดกับความรู้สึกของคุณกรัชกาย อย่างรุนแรง ที่ว่า วิปัสสนา ห้ามรู้สึกว่าจะนั่งกรรมฐาน ขาขวาทับขาซ้าย ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ

เพราะคุณกรัชกาย ได้รับการสั่งสอนมาแบบนี้

ผม หรือ ท่านผู้รู้อื่น ๆ คงไม่สามารถแนะนำ อะไรคุณได้ ในเมื่อคุณยึดติดกับรูปแบบกับบัญญัติ เช่นนั้นอยู่

อ้างคำพูด:
กรุณาตอบสิครับ เพราะกระทู้นี้ก็ตั้งเกี่ยวกับสมาธิกับวิปัสสนาเช่นกัน

หรือ คุณเห็นการนั่ง(ขัดสมาธิ)อย่างรูปนั่น เป็นสมถะไปแล้ว

แล้วก็นั่งกลับกันเป็นวิปัสสนา หรือ นั่งบนเก้าอี้เป็นวิปัสสนา


การนั่งแบบไหนก็แล้วแต่ หากไม่ได้ทำเพื่อแก้ทุกข์ ก็ไม่ใช่วิปัสสนา

แม้จะ นั่งบนเก้าอี้ นอนบนเก้าอี้ หรือ นั่งขัดสมาธิเพื่ออยากให้สงบพร้อมท่อง พองหนอ ยุบหนอ หรือ สัมมาอะระหัง

อ้างคำพูด:
รูปนาม เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา

...ว่ารูปนามไม่ใช่ของเรา แล้วคุณว่าเป็นของๆใครล่ะขอรับ ถามหน่อย


การปฏิบัติวิปัสสนา จะทำให้เกิดปัญญา ทำลายความวิปลาสว่า รูป นามขันธ์ ๕ เป็น ของเรา(อัตตวิปลาส) เป็นสุข (สุขวิปลาส )

คุณกรัชกาย หาก แนวทางที่คุณปฏิบัติอยู่ ไม่นำไปสู่การทำลายวิปลาสนั้นได้ ก็ไม่ควรไปเรียก วิปัสสนา ให้เกิดความสับสนกับ สมาธิ เลยครับ

สร้างความวิปลาส ให้ตนเองเปล่า ๆ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 05 ม.ค. 2010, 06:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 5749 ครั้ง ]
สรุปประเด็นที่คุณตอบสั้นๆก่อน

คือ คุณเฉลิมศักดิ์ยอมรับแล้วนะครับ ว่าการนั่งเท้าขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายเป็นสมถะคุณยอมรับแล้วหน่า

ส่วนวิปัสสนา (ตามที่คุณเข้าใจ) จะใช้อิริยาบถอื่นจากนี้ คืออิริยาบถไหนก็ได้

แล้วคุณก็อ้าง อ.แนบอีก (บอกว่าอย่าอ้าง) ในเมื่อบอกไม่เชื่อ กรัชกายก็สรุปว่า อ.แนบนี่แหละมิจฉาทิฐิ

ต้นแบบเลย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




03pongs.jpg
03pongs.jpg [ 36.03 KiB | เปิดดู 5746 ครั้ง ]
tongue

เห็นท่านผู้รู้ 2 ท่านโต้วาทะกันแล้ว เข้าท่าดี ได้เห็นว่าปริยัติที่ไม่ลงตัว หรือไม่ได้สมดุลย์ ทำให้เกิด ความเห็น (ทิฐิ) ที่ต่างกัน เลยเอาทิฐิมาถูกัน เอาชนะคะคานกัน

ท่านกรัชกายและท่านเฉลิมศักดิ์ ล้วนเป็นบุคคลากรที่มีประโยชน์ มีคุณค่าต่อชาวโลก และเป็นบุคคลากรที่หายากในยุคสมัยนี้ด้วย

มาเปลี่ยนเป็นมองบวก (Possitive Thinking) ซึ่งกันและกันดีไหมครับ อย่ากระแนะกระแหนกันเลย มาร่วมมือกัน วิเคราะห์แนวทางเผยแพร่ธรรมของกันและกัน ในเชิงบวกด้านเดียว ตามคำชี้แนะของพระบรมศาสดาคือ

1.ละชั่ว ลบ สิ่งไม่ดีทั้งหมดของบุคคลและทุกสิ่งที่มากระทบชีวิต ไม่เอา ไม่เพ่งโทษทั้งบุคคล สิ่งของ และเหตุการณ์

2.ทำดี ค้นหาบวก ความดี ประโยชน์ ของบุคคลและทุกสิ่งที่มากระทบชีวิต ค้นให้เจอความดี หรือ บวกแม้ในสิ่งที่เป็นลบ หรือชั่วร้าายที่สุด (Possitive Thinking)

3.เพียรชำระจิตของตนให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ถึงพระนิพพาน ด้วยวิปัสสนาภาวนา อันนี้เป็นงานและหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนที่จะต้องทำให้สำเร็จ อย่างน้อยที่สุด คือปิดประตูอบายให้ทันในชาตินี้

สาธุ ครับ


:b8: onion s001 Lips rolleyes

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณอโศกะที่ชี้แนะ

ก็ในเมื่อคนสองคนยังตกลงเรื่องเดียวกันประเด็นเดียวกันไม่ได้ หาข้อสรุปไม่ได้ แล้วจะไปแนะนำใครยังไง

ครับ เราจะต้องเคลียกันเองก่อน

ดังนั้นคนสองคนคือกรัชกายกับคุณเฉลิมศักดิ์จะต้องสนทนากันอีก ไม่กำหนดวันจบ :b1:

เป็นไปได้ยังไงครับ มองการนั่งเป็นสมถะไป

ท่านั่งก็เป็นรูปแบบนั่ง เป็นหนึ่งในอิริยาบถใหญ่ทั้งสี่ ยืน เดิน นั่ง นอน

คุณเฉลิมศักดิ์มองการนั่งยังงั้น เป็นนามธรรมไปแล้วเวลานี้ คือเห็นการนั่ง เป็นสมาธิ(ซึ่งเป็นนามธรรม)

เป็นสมถะไปแล้ว

แล้วก็มองวิปัสสนาว่าใช้อิริยาบถอื่น

สมาธิหรือสมถะเป็นนามธรรม จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ ฯลฯ หากรู้เข้าใจ เราใช้อิริยาบถนั้น ๆ

เจริญได้หมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




oba41.gif
oba41.gif [ 18.27 KiB | เปิดดู 5711 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
3.เพียรชำระจิตของตนให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ถึงพระนิพพาน ด้วยวิปัสสนาภาวนา อันนี้เป็นงานและหน้าที่

ของชาวพุทธทุกคนที่จะต้องทำให้สำเร็จ อย่างน้อยที่สุด คือปิดประตูอบายให้ทันในชาตินี้




คุณอโศกะมองโลกในแง่ดีเกินไปขอรับ ก็ในเมื่อเข้าใจผิดยังงั้นแล้วจะชำระจิตให้สะอาดผ่องแผ้วได้อย่างไร

ครับ ก็เมื่อเหตุเป็นมิจฉาทิฐิ แล้วเป็นมิจฉาปฏิปทา

เอาเถอะ ปลอบใจ อย่างมากก็แค่สะบายใจชั่วครู่ชั่วยาม ตายไปอาจไปสวรรค์

แต่อย่าพูดถึงนิพพานเพื่อจะปิดประตูอะบงอบายอะไรเลยครับ

เป็นเรื่องเพ้อฝัน หากเป็นอย่างนั้นน่ะ (อย่าว่าแต่จะปิดประตูอบายเลยครับ หากเข้าใจธรรมผิดอย่างนี้นะแม้จะ

ปิดประตูบ้านก็แทบจะปิดไม่ได้ เพราะอะไร ? เพราะไม่เป็นวิปัสสนา คือ เตรียมตั้งท่าไว้ก่อนด้วย อยาก

ปิดอีกด้วยเป็นตัณหาอีก โอ้...จะบ้าตาย)

พุทธธรรมเหตุกับผลต้องลงกัน เหตุครงผลที่ได้รับก็ตรงทางตรงเป้าหมาย

เหตุผิดผลก็ผิดๆพลาดออกนอกทางอริยะใช้เดิน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2010, 09:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร