วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ ถูกต้องแล้วครับ ในสภาวะธรรมทั่วไป หรือ ในชีวิตประจำวัน อิริยาบถ ได้เข้ามาปิดบังทุกข์ไว้

เมื่อวานนั่งพับเพียบ ฟังพระสวดมนต์ ได้ประมาณ 30 นาที รู้สึกปวดชาที่ขาไปหมด จนต้องเปลี่ยนเป็นท่าเทพบุตร สักพักก็ปวดอีก ก็เปลี่ยนเป็นนั่งพับเพียบอีกข้างหนึ่ง



นั่งพับเพียบเมื่อย เปลี่ยนเป็นท่าเทพบุตร ก็ปวดอีกหรอ ทำไมคุณไม่ลองเปลี่ยนเป็นท่าซาตานดูบ้างล่ะ อาจหายปวด :b32:


เปลี่ยนอย่างนั้นเป็นสัญชาตญาณของคนและสัตว์ เปลี่ยนยังงั้นแหละท่านเรียกอิริยาบถ หรือ การเปลี่ยนไหว

บังทุกข์ลักษณะไว้ คือ ยังไม่ทันเห็นอริยทุกข์เลยเปลี่ยนไปสะแระ แล้วก็ฟูใจว่า เห็นทุกข์


ถามหน่อย นั่งท่านั้นเมื่อย แล้วก็เปลี่ยนอีกท่าหนึ่ง เมื่อยอีกเปลี่ยนอีก อย่างนี้คุณว่า เห็นทุกข์แล้วหรอ

แบบนี้คนทั้งโลกก็เห็นทุกข์ลักษณะหมดแล้วดิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 08:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




53.gif
53.gif [ 150.33 KiB | เปิดดู 4108 ครั้ง ]
หลังจากให้ อ.ไปเกิดแล้ว คุณค่อยๆอ่านทำความเข้าใจ ที่ท่านอธิบายอิริยาบถบังทุกข์

ดูสิครับ ว่าบังยังไง ตรงกับใจเราไหม



อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ


ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้น กดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา

ก็ถูก อิริยาบถ คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ



ภาวะที่ทนอยู่มิได้

หรือ ภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้

หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมีแรงบีบคั้น กดดันขัดแย้ง เร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น

(= สภาวะทุกข์) จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือ ความรู้สึกของมนุษย์ มักจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง

แต่ในระหว่างนั้น

ถ้ามีการคืบเคลื่อนยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูป เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี

สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้าย พ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน

หรือ ผู้สังเกตแยกพราก จากสิ่งที่ถูกสังเกต ไปเสียก่อน ก็ดี

ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่ มักเป็นเช่นนี้


ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ




ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง

ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉย

ในท่าเดียวได้

ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่ ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว

นอนอย่างเดียว ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะ จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึก

บีบคั้น กดดัน ที่คนทั่วไปเรียกว่า “ทุกข์” เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย

จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น ที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น

เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความบีบคั้น กดดัน

ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า “ความสุข”

เกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไป

อย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)


ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึก ปวด เมื่อย

เป็นทุกข์

เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า

เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ ไปได้

เมื่อไม่รู้สึก ทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย

ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ



:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ดูเต็มๆที่

viewtopic.php?f=2&t=18911

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 08:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้เขาถามว่า "วิปัสสนากรรมฐาน กับ นั่งสมาธิ ต่างกันอย่างไร"

หากต้องการตอบให้เข้าหลักเดิม ก็เอา ศีล สมาธิ ปัญญา วางให้ดู แล้วก็บอกเขาว่า วิปัสสนา ได้แก่ปัญญา

(ที่พัฒนาออกไปจากสัมปชัญญะ)

สมาธิก็คือสมาธิ แปลตามแบบว่า ความมีใจมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ นึกภาพไม่ออกก็นึกถึงคนเดินไต่เส้น

ลวดที่ขึงแน่วไป นั่นแหละลักษณะของสมาธิ


ส่วนศัพท์ที่ต่อมา คือ กรรมฐานก็อีกความหมายหนึ่ง (วิปัสสนากรรมฐาน)

นั่งก็คืออิริยาบถนั่ง ที่เขาถามว่า นั่งสมาธิ

พูดอธิบายแค่นี้ก่อน แล้วผู้ฟังก็จับประเด็นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 18:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก คห.บนอีกหน่อย เพื่อให้เห็นข้อธรรมต่างๆชัดอีก คือ ในขณะที่เขาเดินไต่เส้นลวดที่ขึงอยู่แน่วไป

จนตลอดสาย มิใชมีแต่ สมถะ หรือ สมาธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีสัมปยุตธรรม เช่น สติ สัมปชัญญะ

หรือ ปัญญา วิริยะ อุเบกขา เจตนา มนสิการ ฯลฯ ซึ่งเป็นนามธรรมทำงานกันอยู่ โดยไม่ต้องแยกแยะ

ออกมาพูด

สมมุติคนที่กำลังเดินไต่อยู่นั้น คิดว่า นี่เป็นองค์ธรรมระดับไหนแล้ว เป็นกลางหรือยัง เป็นสมถะหรือวิปัสสนา

ฯลฯ แค่เขาคิดแยกแยะแค่นั้นแหละหัวทิ่ม ตกจากงาน (คือเดินไต่) ทันที อย่าว่าแต่สองขาเลย ต่อให้มี

ร้อยขาก็ตก

ที่เราถกเถียงกันอยู่เนี่ย เถียงกันเรื่องตัวหนังสือ ยังไม่ได้ลงมือฝึกลงมือทำอะไรเลย คิดไปล่วงแล้วว่าจะเอา

นั่นไม่เอานี่ จะเอาวิปัสสนา ไม่เอาสมถะ หรือสมาธิ

อย่างคุณเฉลิมศักดิ์เนี่ยนะ ยังไม่ได้เริ่มต้นฝึกหรือทำอะไรเลย คิดฟุ้งซ่านเรื่องที่ตนได้รับมาหลายปีแล้ว

จริงไม่จริงคุณเฉลิมศักดิ์ที่เคารพ :b9: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 12:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




ferurnfdzzxime8n59qg.gif
ferurnfdzzxime8n59qg.gif [ 209.5 KiB | เปิดดู 4020 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์จะมาอีกไหมขอรับ :b1: :b12:

คุณประจำอยู่เว็ปไหนบอร์ดใด บอกก็ได้ครับ กรัชกายจะตามไปสนทนาด้วย (เว้นอยู่แห่งเดียว)

หรือคุณจะกรุณาไปที่นี่ก็ได้นะครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php

เราจะสนทนาพูดคุยกันแบบสุดขอบเขตสติปัญญาของแต่ล่ะคนๆเลย :b12:


"กิ๊กทั่วไทย"

http://www.esnips.com/doc/3bdf7409-b202 ... 7%E0%B8%A2

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 ธ.ค. 2009, 18:45, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเชิญศึกษาธรรมบรรลุฉลับพลัน จบโลก จบธรรม จบกรรม การปฏิบัติ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต วัดร่มโพธิธรรม จ.เลย ที่บอร์ดสนทนาทั่วไปขอรับ หรือ http://www.rombodhidharma.com/


ไม่แตกต่างกันหากเป็นการทำเอาทั้งวิปัสนากรรมและสมาธิ คือกรรมซ้อนธรรม มีตัวตนเป็นผู้ได้เสียไปเรื่อย
ที่แตกต่างเนื้อหาวิปัสนากรรมฐานคือไม่ตั้ง ไม่ต้อง ปลงใจ วางใจ ไม่ยึด ไม่อะไรกับอะไร ช่างมัน อยู่เองแล้ว แล้ๆไป ที่ไม่เป็นกรรมซ้อนธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตนอยู่แล้ว

ขอให้ท่านมีส่วนในความ ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา แจ่มแจ้งในสัจธรรม ลุล่วงพ้นทุกข์ ตามองค์พุทธะ พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต นั่นเทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นั่งพับเพียบเมื่อย เปลี่ยนเป็นท่าเทพบุตร ก็ปวดอีกหรอ ทำไมคุณไม่ลองเปลี่ยนเป็นท่าซาตานดูบ้างล่ะ อาจหายปวด


เปลี่ยนอย่างนั้นเป็นสัญชาตญาณของคนและสัตว์ เปลี่ยนยังงั้นแหละท่านเรียกอิริยาบถ หรือ การเปลี่ยนไหว

บังทุกข์ลักษณะไว้ คือ ยังไม่ทันเห็นอริยทุกข์เลยเปลี่ยนไปสะแระ แล้วก็ฟูใจว่า เห็นทุกข์


ถามหน่อย นั่งท่านั้นเมื่อย แล้วก็เปลี่ยนอีกท่าหนึ่ง เมื่อยอีกเปลี่ยนอีก อย่างนี้คุณว่า เห็นทุกข์แล้วหรอ

แบบนี้คนทั้งโลกก็เห็นทุกข์ลักษณะหมดแล้วดิ


คุณกรัชกายครับ ที่ผมยกตัวอย่างนั้น เป็นชีวิตประจำวันของพวกเรา ที่ไม่ได้ เจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา

การเปลี่ยนอิริยาบถที่เราทำทั่วไปนั้น ไม่สามารถเว้นกั้น ความพอใจ (อภิชฌา) ไม่พอใจ (โทมนัส)

เพราะขาดโยนิโสมนสิการ ยังมีความเป็นตัวเรา (เปลี่ยนท่าต่าง ๆ) พอใจกับอิริยาบถใหม่ที่เกิดขึ้น ไม่พอใจกับทุกขเวทนาในอิริยาบถเก่า


การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ อ้างอิงพระบาลี อรรถาธิบาย
http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้

ประการแรก โก คจฺฉติ -- ใครเดิน, มีอรรถาธิบายว่า อาการเดิน ท่าทางที่เดิน เป็นเพียงอาการของรูปธรรมเท่านั้น รูปนั่นแหละเดิน หามีสัตว์ บุคคล หญิง ชาย ในอาการเดินนั้นไม่ การพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ เป็นไปเพื่อการถอนทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลผู้เดิน

ประการที่ ๒ กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร มีอรรถาธิบายว่า การเดิน คือ อาการที่เดิน ท่าทางที่เดิน ไม่ใช่ของสัตว์ ไม่ใช่ของบุคคล ไม่ใช่ของหญิง ไม่ใช่ของชาย ตลอดจนไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของพระกรรมฐาน เพราะว่าอย่าว่าแต่สัตว์ บุคคล หญิง ชายเลย แม้แต่ผู้ปฏิบัติหรือพระโยคีหรือพระกรรมฐานตามที่ใช้เป็นชื่อของผู้ปฏิบัตินั้น ก็หามีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ไม่ เป็นเพียงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่การเข้าใจความ หรือใช้สื่อความหมายในเวลาที่พูดเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การเดินนี้จะเป็นของใครที่ไหนได้ ก็เป็นของรูปนั่นแหละ เพราะเป็นอาการของรูป ประการที่ ๒ นี้ หากมองเพียงผิวเผินแล้ว จะไม่เห็นความแตกต่างกับประการแรก เพราะว่าความรู้ว่า รูปเดิน ไม่ใช่คนสัตว์เดิน กับความรู้ว่าการเดินเป็นของรูป น่าจะเป็นความรู้อันเดียวกัน แต่ทว่าความจริงยังมีข้อที่แตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ ความรู้ในประการแรกนั้น เป็นเพียงปฏิเสธความมีอยู่แห่งสัตว์บุคคลผู้เดิน อันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริง ที่สร้างความเข้าใจผิดว่ามีผู้เดินในเวลานั้น ก็คือรูปเดินเท่านั้น ความรู้อย่างนี้กล่าวได้ว่า เป็นความรู้ที่ถ่ายถอนทิฏฐิคือความเห็นผิดตรง ๆ ส่วนความรู้ในประการที่ ๒ เป็นการปฏิเสธแม้ความเป็นบุคคลพิเศษ คือ เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน อันพิเศษกว่าคนธรรมดา ก็ความรู้สึกว่า ตนเป็นคนพิเศษกว่าคนอื่น คือเป็นผู้ปฏิบัติเป็นต้นนี้ เป็นความเห็นผิด ที่ท่านเรียกว่า มานวินิพันธาทิฏฐิ แปลว่า ทิฏฐิเกี่ยวกับมานะ กล่าวคือ นอกจากจะเห็นผิดด้วยทิฏฐิว่า เป็นสัตว์เป็นบุคคลดังกล่าวแล้ว ยังสำคัญว่าสัตว์บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน ด้วยมานะความถือตัว ความนับถือตัว เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย และเมื่อสำคัญว่ามีผู้ปฏิบัติ มีผู้กรรมฐานอันเป็นบุคคลพิเศษอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมยังความประพฤติเป็นไปของตน ให้เป็นของพิเศษ อันเป็นของเฉพาะตน ซึ่งเป็นคนพิเศษเท่านั้น ไม่ทั่วไปแก่ผู้คนตามปกติอื่น ๆ นั่นก็คือ แต่งท่าทางการเดินของตนให้แปลกไปจากท่าทางการเดินของผู้ไม่ปฏิบัติ กล่าวคือ ค่อยๆ ยก ค่อยๆ ย่าง ค่อยๆ ก้าว จะยกเท้าก้าวอย่างช้า ๆ เป็นจังหวะ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเมื่อทำอิริยาบถให้ผิดปกติไปอย่างนี้ ก็ย่อมเล็งเห็นอิริยาบถที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษนี้ ว่าเป็นสาระ เป็นของดี เป็นของมีประโยชน์ อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะทำปัญญาให้เกิดขึ้นมาเห็นความจริงในรูปอิริยาบถว่า รูปเดินเป็นต้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันเป็นการเห็นว่า ไม่เป็นสาระนั่นเอง ย่อมมีได้ยาก เหตุเพราะเข้าไปตั้งความเป็นสาระไว้เสียก่อนแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติโดยประการที่ป้องกันมานะด้วย คือต้องมีการสำเหนียกอยู่เสมอว่า การเดินเป็นของรูปเท่านั้น ไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของผู้กรรมฐาน นี้เป็นข้อที่แปลกไปจากประการแรก แห่งประการที่ ๒

---------------------------------------------------
ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดย
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm
------------------------------------------

อ้างคำพูด:
กรัชกาย
เปลี่ยนอย่างนั้นเป็นสัญชาตญาณของคนและสัตว์ เปลี่ยนยังงั้นแหละท่านเรียกอิริยาบถ หรือ การเปลี่ยนไหว

บังทุกข์ลักษณะไว้ คือ ยังไม่ทันเห็นอริยทุกข์เลยเปลี่ยนไปสะแระ แล้วก็ฟูใจว่า เห็นทุกข์


ถามหน่อย นั่งท่านั้นเมื่อย แล้วก็เปลี่ยนอีกท่าหนึ่ง เมื่อยอีกเปลี่ยนอีก อย่างนี้คุณว่า เห็นทุกข์แล้วหรอ

แบบนี้คนทั้งโลกก็เห็นทุกข์ลักษณะหมดแล้วดิ


คุณกรัชกายครับ คน สัตว์ ทุกวันนี้ ไม่ค่อยได้กำหนดทุกข์กัน เลยไม่เห็นทุกข์

ว่าแต่คุณกรัชกายเถอะครับ มีแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อกำหนดทุกข์ อย่างไร

ไม่ใช่นั่ง คัดลอกแต่ จากหนังสือมา (แต่ไม่บอกที่มา ) แล้วมา ทำวิปัสสนึก เอาเอง นะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลังจากให้ อ.ไปเกิดแล้ว คุณค่อยๆอ่านทำความเข้าใจ ที่ท่านอธิบายอิริยาบถบังทุกข์

ดูสิครับ ว่าบังยังไง ตรงกับใจเราไหม



อย่างคุณเฉลิมศักดิ์เนี่ยนะ ยังไม่ได้เริ่มต้นฝึกหรือทำอะไรเลย คิดฟุ้งซ่านเรื่องที่ตนได้รับมาหลายปีแล้ว

จริงไม่จริงคุณเฉลิมศักดิ์ที่เคารพ :b32: :b32:


คุณกรัชกาย คงหมายถึง อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ใช่ไหมครับ ?

นี้หรือความเห็นของผู้ที่ปฏบัติธรรม มาโชกโชน อย่างคุณกรัชกาย

-----------------------------------------------------------------

ผมเคยบอกคุณกรัชกายหลายครั้งแล้วนี้ครับ ผมเหมือนเด็กอนุบาล กำลังเริ่มฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนา และยังไม่ได้เกิด วิปัสสนาฌานใด ๆ ทั้งสิ้น แต่มีโอกาส วันหยุดยาว ๆ ก็ไปฝึกหัดเป็นประจำ

http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=10&

แบบฝึกหัดวิปัสสนา
http://larndham.org/index.php?showtopic=21524&st=0

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา จากพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก

http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตทุกชีวิตย่อมมีวิปลาสธรรมเสมอ วิปลาสธรรม หมายถึง ธรรมที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะตั้งแต่เกิดมาเราไม่เคยรู้เลยว่า ชีวิตคือ ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันประกอบขึ้นจาก จิต เจตสิก และรูป ที่มีการเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ทั้งนี้เพราะ อาสวะ และอวิชชา ที่เรามีมาเนิ่นนานจนนับภพนับชาติไม่ถ้วน ประกอบกับตัวการสำคัญที่มาคอยปิดบัง ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงสภาวธรรมของความจริงอันได้แก่ “ไตรลักษณ์” ได้ นั่นคือ

๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจัง เพราะสันตติ คือ การเกิดสืบต่อของนามรูปที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไม่สามารถเห็นความเกิด และความดับของนามรูปได้ เราจึงเข้าใจผิดว่ามีความเที่ยงแท้ถาวร (นิจจัง)

๒. อิริยาบถ ปิดบัง ทุกขัง เพราะการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่มีอยู่เกือบตลอดเวลา จึงทำให้คนเรามองไม่เห็นทุกข์ที่เกิดจากอิริยาบถเก่า ด้วยอำนาจของตัณหาคนเราจึงไขว่คว้าหาความสบายจากอิริยาบถใหม่ เมื่อเปลี่ยนแล้วหลงเข้าใจว่าเป็นสุข การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถจึงปิดบังทุกขเวทนา ทำให้ไม่สามารถเห็นทุกขสัจจะได้

๓. ฆนสัญญา ปิดบัง อนัตตา เพราะ ฆนสัญญา คือ ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่เกิดจากการประชุมกันของรูปธรรม และนามธรรม จึงทำให้เราหลงผิดคิดว่าชีวิตเป็นตัวตน (อัตตา)

เพราะธรรมที่ปิดบังไตรลักษณ์นี้เอง จึงทำให้เราหลงผิดคิดว่า ชีวิตคือรูปนามนี้ดี มีความสวยงามน่ารัก(สุภวิปลาส) มีความสุขสบาย (สุขวิปลาส ) มีความเที่ยงแท้ ถาวร (นิจจวิปลาส) และเป็นตัวตน คน สัตว์ (อัตตวิปลาส) ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว ชีวิตเป็นเพียงแค่ขันธ์ห้า คือรูปธรรมและนามธรรม ที่ประกอบกันขึ้นมาด้วยรูปธาตุ จนเป็นรูปกลาปต่างๆ ในที่สุดก็เกิดเป็นกลุ่มก้อนของอวัยวะที่ล้วนมีแต่อสุภะ และทั้งรูปนามที่เกิดขึ้นนั้นก็คงสภาพเดิมไว้ไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องแตกดับ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และไม่สามารถบังคับบัญชาได้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




T251252_04T.gif
T251252_04T.gif [ 83.78 KiB | เปิดดู 3962 ครั้ง ]
สวัสดีปีใหม่ครับ :b8: คุณเฉลิมศักดิ์ :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ ที่ผมยกตัวอย่างนั้น เป็นชีวิตประจำวันของพวกเรา ที่ไม่ได้ เจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา

การเปลี่ยนอิริยาบถที่เราทำทั่วไปนั้น ไม่สามารถเว้นกั้น ความพอใจ (อภิชฌา) ไม่พอใจ (โทมนัส)

เพราะขาดโยนิโสมนสิการ ยังมีความเป็นตัวเรา (เปลี่ยนท่าต่าง ๆ) พอใจกับอิริยาบถใหม่ที่เกิดขึ้น ไม่พอใจกับทุกขเวทนาในอิริยาบถเก่า



กรณี อภิชฌา โทมนัส ที่คุณพูดถึงทุกครั้งเนี่ย :b1:

หากปฏิบัติสติปัฏฐาน (สัมมาสติ) ถูกทางถูกวิธีแล้ว ถูกกำจัดหมดไปเองครับ อย่าวิตกเลย

ศึกษาลิงค์สัมมาสติที่

viewtopic.php?f=2&t=21861&p=104674#p104674

ถามหน่อยครับ

โยนิโสมนสิการ คืออะไรครับ ต้องยังไงจึงจะเป็นโยนิโสมนสิการ ยังไงเป็นอโยนิโสมนสิการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ คน สัตว์ ทุกวันนี้ ไม่ค่อยได้กำหนดทุกข์กัน เลยไม่เห็นทุกข์

ว่าแต่คุณกรัชกายเถอะครับ มีแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อกำหนดทุกข์ อย่างไร

ไม่ใช่นั่ง คัดลอกแต่ จากหนังสือมา (แต่ไม่บอกที่มา ) แล้วมา ทำวิปัสสนึก เอาเอง
นะครับ




คุยกันตั้งนานสองนานแล้ว คุณยังไม่รู้อีกหรือครับว่า กรัชกายกำหนดทุกข์อย่างไร

จะสุข จะทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ยังไง เป็นเรื่องของธรรมชาติ ให้กำหนดรู้ตามที่มันเป็น

เป็นยังไงรู้สึกอย่างไร ก็กำหนดยังงั้น อย่างนั้น

ไม่ต้องถามว่าใครทุกข์ใครเดิน เดินยังไง ไม่ต้อง

(ที่มาทำลิงค์ให้แล้วว่า ดูเต็มๆที่...คุณก็ไปดูสิครับ)



คุณเฉลิมศักดิ์ครับ หลักปฏิบัติเนี่ยเมื่อจับหลักได้แล้ว ไม่ต้องร้องที่มาก็ได้

เพราะ อะไร ?

เพราะธรรมะหรือธรรมชาติ ก็คือกายใจนี้ ทุกข์และความดับทุกข์ก็อยู่ที่กายใจนี้

สามัญลักษณะก็อยู่ที่นี่ ชีวิตมีครบหมดครับ

แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ตนเองจะรู้เห็นเข้าใจธรรมชาตินั่นหรือไม่ต่างหากล่ะครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 10:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย คงหมายถึง อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ใช่ไหมครับ ?
นี้หรือความเห็นของผู้ที่ปฏบัติธรรม มาโชกโชน อย่างคุณกรัชกาย



อ้าววว เรารึหวังดีหวังว่าให้ท่านไปเกิด

เห็นกี่ปีๆ คุณก็เรียกหาแต่ อ. แนบๆๆๆๆ อ้างอิงแต่ อ.แนบๆ วิปัสสนา อ.แนบ

จึงบอกให้คุณปล่อยให้ท่านไปผุดไปเกิดเถอะ อย่าเรียกหรือดึงท่านไว้เลย

ไม่อยากให้คุณทำบาปโดยฉุดรั้งท่านไว้ ปล่อยให้ท่านเป็นอิสระเถอะ อย่ารบกวนท่านเลย :b1:

คิดเห็นแบบนี้ น่าจะได้รับคำสรรเสริญจากคุณมากว่าตำหนินะครับ ทำคุณบูชาโทษแท้ๆ :b12:



อ้างคำพูด:
ผมเคยบอกคุณกรัชกายหลายครั้งแล้วนี้ครับ ผมเหมือนเด็กอนุบาล กำลังเริ่มฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนา และยังไม่ได้
เกิด วิปัสสนาฌานใด ๆ ทั้งสิ้น แต่มีโอกาส วันหยุดยาว ๆ ก็ไปฝึกหัดเป็นประจำ


สาธุครับ หมั่นวิปัสสนึกอย่างนั้นเนื่องๆนะครับ ...เห็นเป็นรูป รู้เป็นนาม ฯลฯ นึกบ่อยๆแล้วๆเล่าๆไว้

บ่อยๆจนกระทั่งความคิดเห็นอย่างนั้นเกิดติดต่อกันได้ยาวนาน เห็นเป็นรูป รู้เป็นนาม ฯลฯ ตามหลักที่ได้เรียน

มา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 09:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ ไม่ว่าจะแฝงอยู่ในขันธ์ ๕

หรืออยู่ต่างหากจากขันธ์ ๕ ที่จะมาเป็นเจ้าของ หรือ ควบคุมขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป

ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบ ถ้วนเพียงพอ


ขันธ์ ๕ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท คือ มีอยู่ในรูปกระแส

แห่งเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้

มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป

พร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก ส่วนต่างๆ สัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน

เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแส หรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผลและคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน

ด้วยภาวะเช่นนี้ ขันธ์ ๕ หรือ ชีวิต จึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ

อยู่ในภาวะแห่งอนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่

อนัตตา ไม่มีส่วนใดที่มีตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนได้

ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้น และ สลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้

เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยว

ข้อง ด้วยความไม่รู้
(ด้วยอวิชชา)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ปฏิจจสมุปบาท ในอภิธรรมนิยมเรียกว่า ปัจจยาการ แปลว่า อาการที่เป็นปัจจัย

(mode of Conditionality)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 11:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูอีกนิด


พุทธพจน์แห่งหนึ่งที่เชื่อมปฏิจจสมุปบาท กับ กฎแห่งกรรมสนิทกันเป็นอย่างดี คือที่ตรัสว่า

"บัณฑิตผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็นจริง ดังนี้..."

(ม.ม.13/707/648; ขุ.สุ.25/382/457)


“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”

(ม.มู. 12/346/359)

“ภิกษุทั้งหลาย แท้จริง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ

เมื่อใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงความเกิดและความดับของโลกตามที่มันเป็นอย่างนี้ อริยสาวกนี้ เรียกว่า

เป็นผู้มีทิฐิสมบูรณ์ ก็ได้ ผู้มีทัศนะสมบูรณ์ ก็ได้ ผู้ลุถึงสัทธรรมนี้ก็ได้

ว่าผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบเสขวิชชาก็ได้ ผู้บรรลุกระแสธรรมแล้วก็ได้

พระอริยะผู้มีปัญญาชำแรกกิเลสก็ได้ ผู้อยู่ชิดประตูอมตะก็ได้”

(สํ.นิ.16/184-187/94-68 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร