วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R2267-7.gif
R2267-7.gif [ 49.45 KiB | เปิดดู 3578 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue


หลับอยุ่ เขียน:
ดู และ เดา เอาว่า มีมาก ที่ กลัวติดฌาณ
ว่ากันไปเลยครับ ทุกท่าน :b6:



ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ

ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน
ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า

ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้นเล่า ฯ


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุผู้เจริญทุติยฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ

ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน
ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า

ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งทุติยฌานนั้นเล่า ฯ


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุผู้เจริญตติยฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ

ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน
ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า

ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งตติยฌานนั้นเล่า ฯ


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุผู้เจริญจตุตถฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ

ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน
ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า

ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งจตุตถฌานนั้นเล่า ฯ




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง ฌานโลกุตระ ที่เป็นผลอันเกิดตามมาเอง หลังการเจริญสติปัฏฐาน นั้น ...

ถ้า มีจริตนิสัยทางสมาธิ และ จิตไม่พัวพันกับกามสัญญามากเกินไป เอกัคคตาจิต จะปรากฏก่อนวิปัสสนาญาณ ในการเจริญสติปัฏฐาน(เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า)

แต่ ถ้าไม่มีจริตนิสัยทางสมาธิ เอกัคคตาจิตก็จะยังไม่ปรากฏในเบื้องแรกๆ




คำว่า ฌานโลกุตระ นี้ จะตรงกับ รูปฌาน๑-๔ ที่บรรยาย สัมมาสมาธิในองค์มรรค ใน สัจจบรรพ มหาสติปัฏฐานสูตร


หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ท่าน ก็แสดงไว้ ในลักษณะนี้ เช่นกัน

ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา

ถาม สมฺมาสมาธิ ความตั้งใจไว้ชอบคือตั้งใจไว้อย่างไร จึงจะเป็นสมฺมาสมาธิ?

ตอบ คือ ตั้งไว้ในองค์ฌานทั้ง ๔ ที่เรียกว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เหล่านี้แหละ เป็นสมฺมาสมาธิ




ขอ นำบทธรรม เรื่อง ฌานโลกุตระ ที่ เป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐาน มาลง


โอวาทธรรม หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต


ฌานนี้เป็นฌานพุทธที่พระพุทธเจ้าค้นพบในวันตรัสรู้ ....เป็น ฌานโลกุตระ

ฌานนี้เมื่อเข้าถึงแล้ว จะไม่มีคำว่าเข้า คำว่าออก เช่นกับฌานโลก

เพราะเป็นอกาลิโกไม่มีกาลถอย เพราะเข้าแล้วจะมีขั้นตอนต่อเนื่องทันที

จิตเป็นเอกัคคตาจิต

จิตเป็นหนึ่งที่ฐีติจิต

จิตตามเห็นธรรมในธรรม คือ อินทรีย์ 5พละ5
ในขณะที่เข้าถึงนั้น อินทรีย์ 5 และพละ5 ที่เป็นอินทรีย์เกิดในของเดิมจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นธรรมในธรรมทันที

เมื่อตามเห็นธรรมในธรรมแล้ว นิวรณ์5 ขันธ์5 อายตนะ12 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์8 เป็นโลกีย์มรรคดับสิ้น เข้าถึงธรรมฐีติ เป็นโลกุตระมรรค เป็นอริยมรรค4 ผล4

จบทางเดินสติปัฐฐาน ซึ่งเป็นทางตรงทางสายเอกอริยมรรค ตรงนี้

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เอกายโนภิกฺขเว อยํ มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอกเป็นหนึ่งในทางทั้งหลาย ...."


จากหนังสือ แนวทางคำสอนในการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่มั่น

บันทึกและตรวจสอบธรรมโดยหลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดศรีสว่าง จ.หนองบัวลำภู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 3550 ครั้ง ]
tongue :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ
อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา
จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น


[๒๑๕] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ความรู้แจ่มแจ้ง
ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง
ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา
ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์


อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้
เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ
เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้นๆ


ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


555555555555555 ถูกใจ ผม นามสมมติหลับอยู่จริงๆครับทุกท่านขอบคุณ smiley smiley smiley
ก๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
555555555555555555555555555555555555
คนที่กลัวติดฌาณ ตัวเองผมเดาว่าทำไม่ได้ แล้วก็ไม่มีด้วย :b34: :b34: :b34:
55555555555555555555555555555555555555555555555
:b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32:
ฮ่ะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เอิ๊กกกกกกกกกกกก
555555555555555555555555555555555555555555555555 :b32: :b32: :b32:
ขออภัยหาก หัวเราะน่าเกลียดไป :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เซน มีรากภาษามาจากคำว่า ฌาน

ในยุคปัจจุบัน...

ยุคที่ .... ผู้คนไม่กลัวเซน แต่ กลัว ฌาน...:b6:





ยุคที่ .....ผู้คนไม่กลัวสุขที่กลั้วด้วยเบญจกามคุณ(มากกว่า เรื่องทางเพศ คือ รวมถึงเรื่อง ชอบ เสื้อผ้าสวยๆ น้ำหอม ครีมหน้าเด้ง ๆลๆ) แต่ ตั้งหน้าตั้งตากลัวสุขจากสมาธิ อันสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล :b6:

มีประเด็นหนึ่ง ที่สังเกตุเห็น

เวลานี้ ในบางแห่ง เมื่อเสวนา เรื่อง เนกขัมมะดำริ... ก็จะมีบางแนวคิดที่ว่า การเพียรออกจากกามนั้นเอาไว้ทีหลัง ควร ละสังโยชน์เบื้องต่ำ๓ให้ขาดก่อน แล้วค่อยมาดูเรื่อง เนกขัมมะดำริ ... เหตุผลที่รับฟังมาก็คือ พระโสดาบันท่านก็ยังล่ะกามไม่ขาด ...บรรลุโสดาบันก่อน แล้ว ค่อยเพียรออกจากกาม ก็ยังได้



ความจริง คิดอย่างนั้น.... ไม่ถูก

ลองหาอ่านพระสูตร ที่ทรงแสดงธรรมให้ ท่านอนาถบิณฑกเศรษฐี ฟัง จน บรรลุโสดาบันดู


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗

[๒๕๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถาแก่อนาถบิณฑิก-
*คหบดี คือ
บรรยายถึงทาน
ศีล
สวรรค์
อาทีนพ
ความต่ำทราม
ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย แล้วทรงประกาศอานิสงส์ในการออกจากกาม

ขณะที่พระองค์ทรงทราบว่า อนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควรแก่การงาน มีจิตอ่อน มีจิตปราศจาก
นิวรณ์ มีจิตสูง
มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่อนาถบิณฑิก-
*คหบดี ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อม ฉะนั้น



พระโสดาบัน ท่านหาใช่ ละเลยเนกขัมมะดำริ หรอก

เพราะ เนกขัมมะดำริ นั้น เป็นส่วนหนึ่งแห่งสัมมาสังกัปปะ... ซึ่ง ถ้า ถ้าปราศจากเนกขัมมะดำริเสียแล้ว ย่อมไม่มีทางบรรลุมรรคผลได้หรอก

ที่ พระโสดาบัน ท่านยังละกามราคะไม่ขาด เพราะ ท่านยังไม่มีสมาธิสันปันโน(สมบูรณ์พร้อมด้วยสมาธิ) ...สมาธิสัมปันโน จะพร้อม เมื่อบรรลุพระอนาคามี

สมถะ จึงเป็นเหตุให้ละราคะ และ ช่วยให้สามารถเจริญวิปัสสนา(ที่ไม่ผิดเพี้ยน)ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ติดฌาน จุฬาภินันท์ขอตอยสองนัย

๑. ถึงฌานแล้วติดใจ กลัวจะติดใจกับฌานที่ได้ - ข้อนี้ไม่มีทางติดใจ เพราะคนที่ได้ฌานจะรู้ว่าสัจธรรมคืออะไร และควรรักษาใจยังไง

๒. คิดว่าฌานน่ากลัว เลยกลัวที่จะได้ฌาน - เปล่าเลย ฌานไม่ได้น่ากลัว เพราะรู้เป็นขั้นๆ พอรู้มากขึ้น ความกลัวก็หายไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว



:b8: :b8: :b8:
smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบัน อาจจะได้ยินกล่าวกันว่า ฆราวาสให้เพียรละสังโยชน์เบื้องต่ำ๓ขาดเสียก่อน ...แล้ว ค่อยมา เพียรละกาม....
การเพียรละกาม เช่น สมาทานศีลอุโบสถ ค่อยสมาทานตอนบรรลุโสดาบันไปแล้ว




ความจริง
ถ้าพิจารณาจาก เรื่อง สังโยชน์๑๐แล้ว... รูปราคะ อรูปราคะ จะสามารถละทีหลัง กามราคะ



จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;

รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม คือ ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต
(ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)

อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม, ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ




ทำไม...ถึงไม่มองว่า

พระอนาคามีท่านเองยัง มีการติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน-อรูปฌาน ได้อยู่เลย(ท่านถึงจุติในสุทธาวาสเมื่อทำกาละ)... แล้ว ผู้เริ่มเจริญสมาธิภาวนาในยุคปัจจุบัน จะมากลัวติดสุขจากสมาธิ กันถึงขนาดนั้น กันไปทำไม???




ไม่ลองคิดแบบเดียวกันกับข้างบนว่า

การจะละสุขจากสมาธิ รอตอนบรรลุอนาคามีแล้ว-เพียรจะบรรลุ อรหันต์ ค่อยเพียรละ ก็ได้...ตอนนี้ เพียรเจริญสมาธิไปก่อนเถิด บ้างล่ะ....???

อย่าเพิ่งกลัวติดสุขจากสมาธิ กันจนเลยเถิด กลายเป็นวิภาวะตัณหา(ผลักใส ต่อต้าน)ต่อสมาธิภาวนา ขนาดนั้นเลย

การผลักใส ต่อต้าน สมาธิภาวนาจนเกินเหตุอันควร ....นอกจาก อาจจะทำให้ตนเองเสียประโยชน์บางประการ ที่ตนเองอาจจะได้รับแล้ว ยัง อาจจะหมิ่นเหม่เป็น การตำหนิธรรมอันเป็นเหตุแห่งความเจริญ ....ที่พระพุทธองค์ทรงสอนเอาไว้เข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัวผมชอบคุณตรงประเด็นกล่าวมาครับ smiley :b32: :b32: :b32:
ช่วยกันใส่ มาให้เยอะละกันครับกระทู้นี้ แฟชั่นปริพาชก2012 ผมเชื่อว่า ระบาดหนักครับ
:b22: :b22: :b22:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สุขจากกาม และ สุขจากสมาธิ ...ต่างไม่คงทน และ ยึดมั่นถือมั่น ไม่ได้ทั้งคู่ ครับ

แต่....ที่ ผมนำประเด็นนี้มาเสนอ เพราะ เห็นว่า คนในปัจจุบัน จะกลัวสุขจากสมาธิ มากกว่า สุขจากกาม .... เพราะเหตุว่า ........ๆลๆ




ซึ่ง ถ้าดู จาก ระดับพระพุทธพจน์ แล้ว...

พระพุทธองค์จะทรงแนะให้ผู้ที่ยังเสพกามอยู่ ละกาม(กามภพ) มายังสุขในสมาธิ(รูปภพ อรูปภพ)...

และ เมื่อมายังสุขในสมาธิแล้ว พระพุทธองค์จะทรงแนะนำบุคคลนั้นๆให้ไปยังบรมสุข คือ พระนิพพาน



ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้สอนให้กลัวความสุขที่เว้นจากกาม

แต่ ทรงสอนไม่ให้ยึดติด แม้นแต่ในสุขนั้นๆ เพราะมีสุขที่เหนือกว่านั้นอีก ต่างหาก





ผมขอเสนอ บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้


(จากพุทธธรรมหน้า 529)



ความสุข มีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา

อาจกล่าว ได้ว่า พุทธจริยธรรมไม่แยกต่างหากจากความสุข

เริ่มแต่ขั้นต้น ในการทำ ความดีหรือกรรมดีทั่วๆไปที่เรียกว่า บุญ

ก็มีพุทธพจน์ตรัสว่า “บุญเป็นชื่อของความสุข”

(ขุ.อิติ. 25/200/240 ฯลฯ)



ในการบำเพ็ญเพียรทางจิตหรือเจริญภาวนา ความสุขก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดสมาธิ ดังพุทธพจน์ว่า “ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ)”

(ที.ปา.11/455/329 ฯลฯ)



และเมื่อจิตเป็นสมาธิบรรลุฌานแล้ว ความสุขก็เป็นองค์ประกอบของฌาน

ดังที่เรียกว่าองค์ฌานต่อไปอีกจนถึงฌานที่ 3 -

(ที.ปา.11/232/233 ฯลฯ)



ฌานสมาบัติที่สูงกว่านั้นขึ้นไป แม้จะไม่มีสุขเป็นองค์ฌานแต่ก็กลับเป็นสุขที่

ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก



จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน ก็เป็น

ความสุข และเป็นบรมสุข คือ สุขสูงสุดด้วย – (ม.มฺ. 13/287/281 ฯลฯ )



นอกจากนั้น

จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาที่เป็นบรมสุข หรือโพธินั้น ก็พึง

บรรลุได้ด้วยความสุข หรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข ไม่ใช่บรรลุด้วย

ความทุกข์ หรือ ด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์ *

(ม.มู.12/425-6/457-8 ฯลฯ)



ๆลๆ



พวกนิครนถ์มีความเห็นว่า “ความสุขจะพึงลุถึงด้วยความสุขไม่ได้ ความสุขจะพึงลุถึงได้ด้วยความทุกข์”

ดังนั้น พวกนิครนถ์จึง บำเพ็ญตบะ กระทำอัตตกิลมถานุโยค คือ ทรมานตน-

(ม.มู.12/220/187)

พระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้ ก็เคยทรงเข้าพระทัยอย่างนั้น จึงได้ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเสียเวลาไปยาวนาน


(ม.ม.13/489/443)


ๆลๆ





พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ได้ทรงบรรลุถึงความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม และความสุขอย่างอื่นที่ประณีตยิ่งไปกว่า นั้นแล้ว

จึงทรงยืนยันได้ว่าจะไม่ทรงเวียนกลับมาหากามอีก

แต่ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงประสบความสุขที่ประณีตเช่นนั้ นแล้ว ก็จะไม่ทรงสามารถยืนยันได้ว่า พระองค์จะไม่ทรงเวียนกลับมาหากามอีก



พร้อมกันนั้นก็ได้ตรัสทำนองเตือนผู้ปฏิบัติธรรมให้ระ ลึกไว้ว่า



ถึงหาก อริยสาวกจะมองเห็นอย่างชัดเจนตามความเป็นจริงด้วยสัม มาปัญญาว่า กามทั้งหลายมีความหวานชื่นน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้มากยิ่งนัก

แต่ถ้าอริยสาวกนั้นยังไม่ประสบ ยังไม่รู้จักปีติและความสุขที่ไม่ต้องอาศัย กาม หรือความสุขที่ประณีตยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังวางใจไม่ได้ว่าเธอจะไม่วก วียนกลับมาหากามอีก- (ม.มู. 12/211/180)



และตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายไว้โดยจำเพาะในทำนองเดียวก ันว่า ถ้าผู้บวช แล้ว ยังมิได้ประสบปีติและความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม หรือความสุขที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้น กิเลสทั้งหลายเช่น อภิชฌา พยาบาท ความฟุ้งซ่าน กียจคร้าน เบื่อหน่าย ก็จะเข้าครอบงำจิตได้- (ม.มู. 13/196/205)

หมายความว่า ก็จะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ทนประพฤติพรหมจรรย์อยู่ไม่ได้



ความที่ยกมาอ้างเหล่านี้

นอกจากจะแสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาถือ ความสุขเป็นเรื่องสำคัญ

แล้วยังให้ข้อสังเกตต่อไปอีกว่า การที่อริยสาวก ละกามนั้น มิใช่เพราะกามไม่มีความสุข หรือเพราะพระพุทธศาสนาสอนให้ ละเว้นความสุข

พระพุทธศาสนายอมรับความสุขตามที่เป็นจริง สอนให้ปฏิบัติเพื่อบรรลุความสุข และยอมรับว่ากามมีความสุข

แต่อริยสาวกละกามเพราะเห็นว่ากามมีความสุขก็จริง แต่ยังปะปนด้วยทุกข์มาก

และข้อสำคัญก็คือ ยังมีความ สุขอย่างอื่นที่สุขกว่า ลึกซึ้งประณีตกว่าสุขที่เกิดจากกาม หรือความสุขที่ เกิดจากการเสพรสอร่อยของโลกอย่างสามัญชน

อริยสาวกละกามก็เพราะได้ประสบความสุขที่ประณีตกว่านั ้น



ความข้อนี้แสดงว่า

ความสุขมีแตกต่างกันเป็นขั้นเป็นระดับ

สิ่งที่ควรศึกษา ในตอนนี้ก็คือว่า พระพุทธศาสนา จัดแบ่งความสุขออกเป็นขั้น หรือ ระดับอย่างไร



ๆลๆ



ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต

ท่านจำแนกความสุขออกไปทั้งโดยประเภท และโดยระดับเป็นคู่ๆ มากมายหลายคู่ เช่น

สุขของคฤหัสถ์กับสุขของบรรพชิต

กามสุขกับเนกขัมมสุข

โลกียสุขกับโลกุตรสุข

สุขของพระอริยะกับสุขของปุถุชน เป็นต้น



แต่วิธีแบ่งที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน ละเอียด และดูง่ายไม่ซับซ้อน น่าจะได้แก่วิธีแบ่งเป็น 10 ขั้น หรือความสุข 10 ขั้น ซึ่งมีที่มาหลายแห่ง แบ่งดังนี้

(ม.ม. 13/100/96 ฯลฯ)



1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม ได้แก่ ความสุขโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอาศัยกามคุณ 5

2. ปฐมฌานสุข - สุขเนื่องด้วยปฐมฌาน ซึ่งสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา

3. ทุติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยทุติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย ปีติ สุข และเอกัคคตา

4. ตติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยตติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย สุข และเอกัคคตา

5. จตุตถฌานสุข - สุขเนื่องด้วยจตุตถฌาน ซึ่งประกอบด้วย อุเบกขา และเอกัคคตา

6. อากาสานัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ซึ่งล่วงพ้นรูปสัญญาได้โดยสิ้นเชิง ปฏิฆสัญญาล่วงลับไปหมด ไม่มนสิการ นานัตตสัญญา นึกถึงแต่อวกาศอันอนันต์เป็นอารมณ์

7. วิญญาณัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงวิญญาณอันอนันต์เป็นอารมณ์

8. อากิญจัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์

9. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อันถึงภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่


10. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ อันถึงภาวะที่ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด





ถ้าจะจัดให้ย่อเข้า สุข 10 ข้อนี้ ก็รวมเข้าได้เป็น 3 ระดับ คือ

1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม

2. ฌานสุข หรือ (อัฏฐ) สมาปัตติสุข -สุขเนื่องด้วยฌาน หรือ สุขเนื่องด้วยสมาบัติ 8 แยกเป็น 2 ระดับย่อย

2.1 สุขในรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยรูปฌาน 4

2.2 สุขในอรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยอรูปฌาน 4



3. นิโรธสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยนิโรธสมาบัติ





สุขทั้ง 10 ขั้นนี้ ท่านยอมรับว่าเป็นความสุขทั้งนั้น

หากแต่เป็นความสุขที่ดีกว่าประณีตลึกซึ้งยิ่งกว่ากัน ขึ้นไปตามลำดับขั้น เพราะความสุขขั้นต้นๆมีส่วนเสียหรือแง่ที่เป็นทุกข์แ ทรกอยู่ด้วยมาก เมื่อเป็นสุขขั้นสูงขึ้นไป ก็ยิ่งประณีตบริสุทธิ์มากขึ้น



ท่านสอนให้มองความสุขเหล่านั้นตามความเป็นจริง ทั้งด้านที่เป็นสุขและด้านที่มี ทุกข์เข้ามาปน คือมองทั้งส่วนดีและส่วนเสีย หรือทั้งแง่ที่เป็นคุณและแง่ที่เป็นโทษ- (เรียกเป็นศัพท์ว่าทั้ง อัสสาทะ และ อาทีนวะ)



นอกจากนั้นยังให้รู้จักทางออก ทางรอดพ้นหรือภาวะเป็นอิสระที่ดีกว่าซึ่งไม่ขึ้นต่อส ่วนดี ส่วนเสียนั้นด้วย - (เรียกเป็นศัพท์ว่า นิสสรณะ)



เมื่อเห็นโทษของสุขที่หยาบ ก็จะหน่ายหายติด และโน้มใจไปหาสุขที่ประณีตยิ่งกว่า

เมื่อรู้จัก และได้ประสบความสุขที่ประณีตประจักษ์กับตัวแล้ว ก็จะละความสุขที่หยาบกว่าเสียได้ มุ่งบรรลุสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ



อย่างน้อยก็จะไม่มัวเมาหมกมุ่นในสุขที่หยาบนั้นจนเกิ นไป



เมื่อใดจิตหลุดพ้นเด็ดขาดแล้วตัดเยื่อใยได้สิ้น ก็จะไม่วกเวียนกลับมาหาความสุขที่หยาบอีกต่อไป

คงเสวยแต่สุขที่ประณีตสำหรับจิตที่เป็นอิสระอย่างเดี ยว



ข้อนี้ก็เป็นลักษณะด้านหนึ่งของความก้าวหน้าในการปฏิ บัติธรรม


ๆลๆ




จะเห็นได้ในตอนต้นๆแล้วว่า

ผู้ได้สุขในฌานสมาบัติที่วกเวียนกลับมาหากามสุขอีก มีตัวอย่างเป็นอันมาก และหลายท่านได้สุขในฌานสมาบัติทั้งที่ยังอยู่ครองเรือน จึงเสพเสวยสุขทั้งสองอย่างไปด้วยกัน

อย่างไรก็ดี ท่านเหล่านี้ทั้งสองพวกย่อมมีพื้นความพร้อมมากกว่าคน ทั่วไป ที่จะสลัดกามสุขและเดินหน้าในการปฏิบัติธรรมที่สูงขึ ้นไป







จากพุทธธรรม

พระองค์ยังทรงตรัสอีกว่า



ถึงหาก อริยสาวกจะมองเห็นอย่างชัดเจนตามความเป็นจริงด้วยสัม มาปัญญาว่า กามทั้งหลายมีความหวานชื่นน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้มากยิ่งนัก

แต่ถ้าอริยสาวกนั้นยังไม่ประสบ ยังไม่รู้จักปีติและความสุขที่ไม่ต้องอาศัย กาม หรือความสุขที่ประณีตยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังวางใจไม่ได้ว่าเธอจะไม่วก วียนกลับมาหากามอีก- (ม.มู. 12/211/180)





ปิติ และ ความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม นั้นก็คือ สุขจากรูปฌาน และ อรูปฌาน

ส่วน ความสุขที่ประณีตยิ่งไปกว่านั้นอีก คือ พระนิพพาน



นี่คือ ท่านกำลังสอนให้พระสาวกพากันออกจากกามสุข




ปล...


ก่อนที่จะกลัวติดสุขจากสมาธิกัน ควรพยายามออกจากกามสุขก่อน ครับ

ไม่ใช่ว่า จิตกำลังเต็มไปด้วยนิวรณ์ ชุ่มไปด้วยกาม หรือ ฟุ้งซ่านจนใกล้จะเป็นโรคประสาทกังวล-โรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ กันอยู่แล้ว.....แต่ กลับกลัว ที่จะเจริญอานาปานสติกัน(อานาปานสติ มีพระพุทธพจน์โดยตรงที่ตรัสว่า เหมาะกับผู้เป็นวิตกจริต)จนเกินเหตุอันควร


แต่ สังเกตุดีๆน่ะครับ

เมื่อพระสาวกออกจากกามสุข มายังสุขขั้นรูปฌาน หรือ อรูปฌาน แล้ว....

พระองค์ ก็ทรงสอนต่อไปอีก ให้ละวาง แม้นแต่สุขในภพอันประณีตเหล่านั้น...

ให้ ไปสู่ บรมสุข อัน สิ้นชาติ-ขาดภพ-จบพรหมจรรย์


ยินดีที่ได้สนทนา ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




_resize.jpg
_resize.jpg [ 100.55 KiB | เปิดดู 3444 ครั้ง ]
tongue
หลับอยุ่ เขียน:
นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน

ตัมหิ ฌานัญจะ ปัญญัญจะ นิพพานะสันติเก

คำแปล

ฌานไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน

ผู้ใดมีฌานและปัญญา ผู้นั้นได้อยู่ใกล้นิพพาน


ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา พระอานนท์ได้กล่าวถึงพระภิกษุที่บรรลุอรหันต์ในสำนักของท่านมีอยู่ 4 แนวทาง (ในตำราท่านใช้คำว่ามรรค 4) โดยมีรายละเอียดในพระสูตรดังนี้

[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัย หนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง

มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

ดูกร อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีก ประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีก ประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีก ประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความ ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

* * *

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

* * *

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุ ย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑ ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

* * *

[๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ

[๕๔๒] เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

เมื่อภิกษุ มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร) อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ

เมื่อ ภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ (ที่มาลอกมา)

อโศกะ แสดงความเห็นใน คห.ถัดไปครับ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




PT_0021.JPG
PT_0021.JPG [ 38.6 KiB | เปิดดู 3440 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณหลับอยู่ มาตั้งกระทู้นี้แล้วได้เพื่อนที่มีความเห็นแนวเดียวกันเยอะเลยนะครับ
ผมอ่านและพิจารณาดูทั้ง 4 หน้าแล้ว ได้ผลสรุปออกมาว่า มีแต่ความเห็นสนับสนุนวิธีปฏิบัติแนวทางที่ 1 ที่พระอานานท์กล่าวไว้ ตามที่คุณหลับอยู่ยกมา 2 ท่อน

1.นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ

นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน

ตัมหิ ฌานัญจะ ปัญญัญจะ นิพพานะสันติเก

คำแปล

ฌานไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา

ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน

ผู้ใดมีฌานและปัญญา ผู้นั้นได้อยู่ใกล้นิพพาน

:b8:
2.แนวทางปฏิบัติธรรมตามคำแนะนำของพระอานนท์ สรุปได้ 4 ข้อ

.....2.1 สมถะนำวิปัสสนา
.....2.2 วิปัสสนานำสมถะ
.....2.3 วิปัสสนาและสมถะ ดำเนินไปควบคู่กัน
.....2.4 เจริญวิปัสสนาล้วนๆ

:b12:

คุณหลับอยู่ลองปล่อยวางความรู้เห็นทั้งหมดในสัญญาไว้สัก 5 - 10 นาฑี
แล้วสังเกต พิจารณาด้วยใจเป็นกลาง เที่ยงธรรม ดุจตุลาการจะพิพากษาคดี
คุณหลับอยู่พอจะสังเกตเห็นไหมว่า


ตามอ้างอิงข้อ 1

ไม่มีฌาณ ปัญญาไม่เกิด

ไม่มีปัญญา ฌาณไม่เกิด

มีความหมายว่า สำคัญทั้ง 2 ข้าง จะกล่าวว่าใครมาก่อนใคร ก็ไม่น่าจะถูกต้อง

ตามอ้างอิงข้อที่ 2

ยังมีวิธีปฏิบัติอีกตั้ง 3 วิธี ซึ่งจะปฏิเสธแล้วสรุปว่า มีเพียงวิธีที่ 1 วิธีเดียว คือ สมถะ นำ วิปัสสนา เป็นวิธีที่ถูกต้องและดีที่สุด น่าจะไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรม นะครับ

ใครสติ สมาธิดี เป็นทุนอยู่แล้ว ก็มาเจริญปัญญาต่อ

ใครปัญญาดี ก็เจริญสติ สมาธิขึ้นมากำกับปัญญา ไม่ให้ฟุ็งซ่าน

ใคร สติ สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ก็เจริญวิปัสสนาภาวนาไปเลย จะได้เห็นไตรลักษณ์ เบื่อหน่าย สละกาย สละใจ เข้านิพพานได้เร็ว

ใครมีอุปนิสัย เจริญปัญญาได้โดยไม่ฟุ้งซ่าน ก็เจริญวิปัสสนาล้วนๆ เข้ามรรคเข้าผลไปเลยตรงๆ ตามแนวทางที่ อรหันตวิปัสสโกทั้งหลายท่านทำตัวอย่างไว้แล้ว ก็ไม่น่าเสียหาย

กรุณาอย่านำผู้คนมาเข้าเบ้าหลอม สมถะ สู่วิปัสสนา ดังหลายๆท่านกำลังพยายามจะฝืนธรรมชาติและฝืนปกติธรรมอยู่เลย สาธุ

กลับมานึกถึงความเป็นจริง

มนุษย์ทุกคน มีต้นทุนชีวิตภายในที่แตกต่างกัน ถ้าจะตีกรอบลงมาให้สั้น ต้นทุนด้าน สติ + สมาธิ ด้านหนึ่ง กับ ต้นทุนทาง ปัญญา ด้านหนึ่ง ทั้ง 2 อย่างนี้ มนุษย์ทุกคนต่างมีฐานมาไม่เท่ากัน

เพราะฉนั้น ใครขาดด้านใด ก็มาต่อยอด เติมเต็มทางด้านนั้น เพื่อให้ สติ+สมาธิ และ ปัญญา มีอัตตราส่วนสม่ำเสมอกันและได้สมดุลย์ อันจะนำไปสู่การเจริญมรรค 8 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ

จึงเรียกร้องและขอเชิญชวนท่านผู้รู้ทุกท่าน จงได้มีใจเป็นกลาง อย๋าสุดโต่งในความคิดจนไปชู เน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนมากเกินปกติ ธรรมดา โปรดชี้นำผู้คนด้วยความสมบูรณ์พร้อม ทั้ง 2 ด้าน ของความเห็น ให้เกิดสมดุลย์ในความรู้ ความคิด ความเห็นของผู้คน เถิด

ได้โปรดกรุณาอย่าเอาความเป็นปราชญ์ รู้มากของท่านมาเบี่ยงเบนกระแสแห่งผู้คนไปสู่ทิศทางที่ท่านยึดถือเลย

โปรดเอาธรรม คือสัจจธรรม ในความเป็นจริง ของชีวิตจริงเป็นหลักสำคัญ


tongue

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
2.แนวทางปฏิบัติธรรมตามคำแนะนำของพระอานนท์ สรุปได้ 4 ข้อ

.....2.1 สมถะนำวิปัสสนา
.....2.2 วิปัสสนานำสมถะ
.....2.3 วิปัสสนาและสมถะ ดำเนินไปควบคู่กัน
.....2.4 เจริญวิปัสสนาล้วนๆ




สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


ข้อ 2.4.เจริญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่มีในพระสูตรนี้ครับ คุณอโศกะต่อเติมเองด้วยความรู้ผิด ด้วยความเข้าใจผิดครับ


อโศกะ เขียน:
2.แนวทางปฏิบัติธรรมตามคำแนะนำของพระอานนท์ สรุปได้ 4 ข้อ


.....2.4 เจริญวิปัสสนาล้วนๆ



สุขวิปัสสโก
เตวิชโช
ฉลภิญโญ
ปฏิสัมภิทัปปัตโต
เหล่านี้เป็นอริยะผลจิตครับไม่ใช้เหตุของการบรรลุธรรม
ต้องเจริญโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามีมัคคจิต อนาคามีมัคคจิต และอรหัตตมัคคจิตก่อนครับจึงจะได้สุขวิปัสสโก
เตวิชโช
ฉลภิญโญ
ปฏิสัมภิทัปปัตโต
ตามมาครับ


ที่ถูกต้องเป็นอย่างนี้ครับ

2.แนวทางปฏิบัติธรรมตามคำแนะนำของพระอานนท์ สรุปได้ 4 ข้อ

.....2.1 สมถะนำวิปัสสนา
.....2.2 วิปัสสนานำสมถะ
.....2.3 วิปัสสนาและสมถะ ดำเนินไปควบคู่กัน

.....2.4 เจริญโลกุตตระฌาน 4 หรือมรรคจิต 4 ได้แก่โสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามีมัคคจิต อนาคามีมัคคจิต และอรหัตตมัคคจิต ด้วยมัคคภาวนาครับ


คำอธิบายอยู่ในท้ายพระสูตรของพระไตรปิฎกอยู่แล้วครับ
คำอธิบายมีดังนี้ครับ

[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึงความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจากจิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วยฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัดแกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ ฉะนี้แล ฯ


จบยุคนัทธกถา



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรคจิตดวงที่ ๑

[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น


สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร