วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณอโศกะ

คุณอโศกะ มั่นใจเต็มที่เลย หรือเปล่าครับ ว่า อนิจจัง และ ทุกขัง จะรวมลงที่อนัตตา ครับ?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3467_resize.JPG
100_3467_resize.JPG [ 70.91 KiB | เปิดดู 3560 ครั้ง ]
tongue สาธุครับท่านเช่นนั้น และ กัลยาณมิตรทุกท่าน

อ้างคำพูด:
สวัสดีครับ คุณอโศกะ

คุณอโศกะ มั่นใจเต็มที่เลย หรือเปล่าครับ ว่า อนิจจัง และ ทุกขัง จะรวมลงที่อนัตตา ครับ?

.....................................................
เห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน เจริญธรรมนั้นไว้เนืองๆ


:b12:
อโศกะตอบ

มั่นใจเต็ม 200 % เลยซิครับ เพราะนี่คือ สัจจธรรม "สัพเพธัมมา อนัตตา"

ผมได้เจอข้อธรรมจากเพื่อนกัลยาณมิตรท่านหนึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนทนากันอยู่นี้ด้วย คืออนัตตา จึงขอยกมาแสดงต่อให้ลองพิจารณาด้วยนะครับ หากชอบใจก็ลองตามไปดูที่บอร์ดอะกาลิโก เพิ่มเติมอีกก็จะยิ่งดี ที่นั่นมีกัลยาณมิตรใจดีเบอะแยะ ให้แบบไม่มีเอาด้วยครับ
:b27:
ธรรมะเข้าใจง่าย
จิต เจตสิก รูป เกิดขึ้นเมื่อมี "ปัจจัยปรุงแต่ง" เท่านั้น
ซึ่งภาษาบาลีเรียก (ปัจจัยปรุงแต่ง) ว่า
"สังขารธรรม"

.

เช่น "การเห็น" ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
ถ้าไม่มี "จักขุปสาทรูป" และ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" (รูปารมณ์)

.

เช่น "เสียง"
เกิดขึ้นได้เพราะเหตุปัจจัย เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องดับไป
สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ย่อมดับไป เมื่อเหตุปัจจัยดับไป.

บางครั้ง เราเข้าใจว่า เสียงยังดังอยู่
แต่ที่คิดว่าเสียงยังดังอยู่นานนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว
เป็นรูป (เสียง-สัททรูป) ที่เกิด-ดับ-สืบต่อกันหลายขณะ.

.

ปรมัตถธรรมที่ ๔ คือ "นิพพาน"
นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ดับกิเลส
นิพพาน เป็นอารมณ์ที่รู้แจ้งได้ทางมโนทวาร (เท่านั้น)

.

เมื่อประพฤติปฏิบัติตาม "หนทางที่ถูกต้อง"
ก็จะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ นิพพาน
หนทางที่ถูกต้อง หมายถึง การอบรมเจริญปัญญา
เพื่อรู้แจ้ง "ลักษณะของสภาพธรรม"
ตามปกติ ตามความเป็นจริง.

.

นิพพาน เป็น นามธรรม
แต่ นิพพาน ไม่ใช่ จิต และ เจตสิก
เพราะสภาพธรรมที่เป็น นิพพาน ไม่เกิดและไม่ดับ
นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ไม่มี "ปัจจัยปรุงแต่ง"
ซึ่งภาษาบาลี เรียกว่า "วิสังขารธรรม"

นิพพาน ไม่เกิด เพราะเป็นสภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ดับ.

จิต และ เจตสิก เป็นนามธรรมที่รู้อารมณ์
นิพพาน เป็นนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์
แต่ นิพพาน เป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกได้.!.

นิพพาน เป็น อนัตตา
คือ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน.

.

เพราะฉะนั้น
ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริง มี ๔ ประเภท
คือ
รูปปรมัตถ์ จิตปรมัตถ เจตสิกปรมัตถ์ นิพพานปรมัตถ์

จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ เป็น "สังขารธรรม"
(หมายถึง สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง มีการเกิดขึ้น และดับไป
และ เป็น อนัตตา เพราะว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน)

แต่ นิพพาน เป็น "วิสังขารธรรม"
(หมายถึง สภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เกิด จึงไม่ดับ
และ เป็น อนัตตา เพราะว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน)

.

เมื่อศึกษาพระธรรม
จำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่า
สภาพธรรมใด เป็นปรมัตถธรรมประเภทใด
มิฉะนั้นแล้ว "คำสมมติ-บัญญัติ" ต่าง ๆ
อาจจะทำให้เราเข้าใจผิดได้
ตัวอย่างเช่น
เราควรเข้าใจว่า สภาพธรรมที่เรียกว่า "ร่างกาย" เป็นต้นนั้น
เป็น รูปปรมัตถ์

.

นิพพาน เป็น "สภาพธรรมที่ดับสังขารธรรมทั้งปวง"
เพราะฉะนั้น
พระอรหันต์ที่ดับขันธปรินิพพาน จึงไม่มีการเกิดอีกเลย.

.
"สังขารธรรม"
คือ
จิต เจตสิก รูป
เป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง (อนิจจัง)
และเป็นสภาพธรรมเป็นทุกข์ เพราะไม่เที่ยง (เกิด-ดับ)

.

ธรรมทั้งหลาย เป็น อนัตตา
หมายความว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
(สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา)
เพราะฉะนั้น
"สังขารธรรม" ทั้งหลาย ไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์.

.

แต่ ธรรมทั้งหลาย
คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน (วิสังขารธรรม)
เป็น อนัตตา

เรื่องการฟังพระธรรมนั้นสำคัญมากเพราะการฟังธรรมนั้น
จะเกิดปัญญาให้สะสมไปในภพหน้าได้ เหมือนเมื่อได้ยินเสียงกลองแล้ว
ไม่ว่านานเท่าไหร่ถ้าได้ยินขึ้นมาอีกก็สามารถจำได้
และการเจริญวิปัสสนา และสมถะก็สะสมเช่นเดียวกับ เห็นไหมว่า
การฟังธรรม เจริญวิปัสสนา เป็นสิ่งสำคัญ
เพราะฉะนั้นควรฟังธรรม กันเถอะ




:b41: :b53: s001

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณอโศกะ
ตอบได้ดี ครับ แต่ไม่ใช่สิ่งที่คุณอโศกะ เห็นนี่ครับ

อนิจจัง ก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง
ทุกขัง ก็คือสัจจะ อย่างหนึ่ง
อนัตตา ก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง

นิจจังก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง
สุขขัง ก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง
อนัตตา ก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง

คุณอโศกะ เห็นด้วยหรือเปล่าครับ
การปฏิบัติธรรม จิตต้องเห็นสัจจะธรรม ตามเป็นจริงใช่หรือเปล่าครับ?

ปรมัตถธรรม คือ มรรค4 ผล4 นิพพานครับ
ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ดังนั้นสิ่งที่ท่านลอกมาให้อ่าน จึงเป็นเท็จในความเป็นปรมัตถ์.

ถ้าในความเป็นปรมัตถ์ตามที่ท่านอโศกะเข้าใจ และท่านเห็นตามปรมัตถ์อย่างนั้น ท่านอโศกะไม่มีทางเห็นอนัตตาหรอกครับ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2009, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3699_resize_resize.JPG
100_3699_resize_resize.JPG [ 52.8 KiB | เปิดดู 3517 ครั้ง ]
tongue สุขด้วยธรรม ถึงกัลยาณมิตรทุกท่าน เป็นพิเศษสำหรับท่านเช่นนั้น
ได้ช่องแล้ว ก็แสดงธาตุของท่านออกมา ธาตุเดียวกับท่านมหาราชันย์นะครับ ดีครับ

อนิจจัง ก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง
ทุกขัง ก็คือสัจจะ อย่างหนึ่ง
อนัตตา ก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง

นิจจังก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง
สุขขัง ก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง

อนัตตา ก็คือสัจจะอย่างหนึ่ง

คุณอโศกะ เห็นด้วยหรือเปล่าครับ
การปฏิบัติธรรม จิตต้องเห็นสัจจะธรรม ตามเป็นจริงใช่หรือเปล่าครับ?

ปรมัตถธรรม คือ มรรค4 ผล4 นิพพานครับ
ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ดังนั้นสิ่งที่ท่านลอกมาให้อ่าน จึงเป็นเท็จในความเป็นปรมัตถ์.


ถ้าในความเป็นปรมัตถ์ตามที่ท่านอโศกะเข้าใจ และท่านเห็นตามปรมัตถ์อย่างนั้น ท่านอโศกะไม่มีทางเห็นอนัตตาหรอกครับ.

:b12:
อโศกะ ตอบ

นิจจัง กับสุขขัง ในโลกย์ เป็นวิปลาสธรรมครับ เพราะ เป็นมิจฉาทิฐิ ในโลกุตระจึงจะเป็นสัจจธรรม

การปฏิบัติธรรม จิตต้องเห็นสัจจะธรรม ตามเป็นจริงใช่หรือเปล่าครับ? ถูกต้องครับ

ความเห็นและสัญญา ว่าปรมัตถธรรม หมายเพียง มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 นั้น เป็นความเห็นเข้ามุมหรือติดกับ เพราะท่านจะไม่เห็นปรมัตถธรรมอืน ฟังผู้อื่นพูดเรื่องปรมัตถธรรม ไม่ตรงกับที่ท่านจำไว้ แล้วจะมีปฏิฆะและอกุศลจิต ไปหมิ่นเขาว่ารู้ผิด

ความเห็นว่า มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 เป็นปรมัตถธรรมนั้น ถูกอยู่ แต่ความยึดว่ามีคำตอบเดียวเท่านี้ นั้นน่าจะผิด


บัญญัติที่ใช้เรียก มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 นั้น ท่านเรียกว่า "โลกุตรธรรม 9 ครับ

ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง

ความที่เป็นธรรมอันยิ่งเพราะเป็น สัจจะ ความจริง ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไปแล้ว อยู่ที่ไหน ใช้สื่อภาษาใดก็เป็นความจริงโดยสภาวะที่สัมผัสรู้ได้เฉพาะทีี่ ใจ นี่คือ นัยยะที่เปิดกว้างของปรมัตถธรรมครับ

ปรมัตถธรรม สัจจ อมตะ อนัตตานิพพาน มีความหมายอัน ยิ่ง ดุจเดียวกันคือ "จริง"

smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ความเห็นและสัญญา ว่าปรมัตถธรรม หมายเพียง มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 นั้น เป็นความเห็นเข้ามุมหรือติดกับ เพราะท่านจะไม่เห็นปรมัตถธรรมอืน ฟังผู้อื่นพูดเรื่องปรมัตถธรรม ไม่ตรงกับที่ท่านจำไว้ แล้วจะมีปฏิฆะและอกุศลจิต ไปหมิ่นเขาว่ารู้ผิด

ความเห็นว่า มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 เป็นปรมัตถธรรมนั้น ถูกอยู่ แต่ความยึดว่ามีคำตอบเดียวเท่านี้ นั้นน่าจะผิด


บัญญัติที่ใช้เรียก มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 นั้น ท่านเรียกว่า "โลกุตรธรรม 9 ครับ

ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง

ความที่เป็นธรรมอันยิ่งเพราะเป็น สัจจะ ความจริง ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไปแล้ว อยู่ที่ไหน ใช้สื่อภาษาใดก็เป็นความจริงโดยสภาวะที่สัมผัสรู้ได้เฉพาะทีี่ ใจ นี่คือ นัยยะที่เปิดกว้างของปรมัตถธรรมครับ

ปรมัตถธรรม สัจจ อมตะ อนัตตานิพพาน มีความหมายอัน ยิ่ง ดุจเดียวกันคือ "จริง"



สวัสดียามเย็นครับคุณอโศกะ

ขอแสดงธรรมทำความเข้าใจให้คุณอโศกะได้เข้าใจได้ถูกต้องใหม่อีกครั้งครับ


อโศกะ เขียน:
ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง




จิตและเจตสิกที่เป็นอกุศล และอกุศลวิบาก
เป็นกามาวจรกุศล และกามาวจรกุศลวิบาก
เป็นรูปาวจรกุศล และรูปาวจรกุศลวิบาก
เป็นอรูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศลวิบาก
จิตและเจตสิกธรรมเหล่านี้เป็นโลกียะ เป็นไปเพื่อวัฏฏะ
จิตและเจตสิกธรรมเหล่านี้จึงไม่ใช่ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง

อริยะมัคคจิต 4 และอริยะผลจิต 4 เท่านั้นที่เป็นโลกุตตระจึงเป็นปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง



รูป เป็นโลกียะ เป็นไปเพื่อวัฏฏะ จึงไม่ใช่ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง ธรรมอันยิ่งคือโลกุตตระธรรมครับ


นิพพานเป็นปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง ธรรมอันยิ่งคือโลกุตตระธรรมครับ


หวังว่าคงพอจะเข้าใจนะครับว่าทำไม่ผมจึงกล่าวว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด เข้าใจมาผิด


จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า ?



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2009, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
นิจจัง กับสุขขัง ในโลกย์ เป็นวิปลาสธรรมครับ เพราะ เป็นมิจฉาทิฐิ ในโลกุตระจึงจะเป็นสัจจธรรม


สวัสดีครับ ท่านอโศกะ
โลกุตตระธรรม เท่านั้น เป็นสัจจะ ใช่ไม๊ครับ
โลกียธรรม เป็น วิปลาสธรรม ไม่ใช่สัจจะ ใช่ไม๊ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2009, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




019_resize_resize.jpg
019_resize_resize.jpg [ 51.52 KiB | เปิดดู 3477 ครั้ง ]
tongue เจริญสุข ทุกๆท่านครับ

อโศกะ เขียน:
นิจจัง กับสุขขัง ในโลกย์ เป็นวิปลาสธรรมครับ เพราะ เป็นมิจฉาทิฐิ ในโลกุตระจึงจะเป็นสัจจธรรม

เช่นนั้น เขียน

สวัสดีครับ ท่านอโศกะ
โลกุตตระธรรม เท่านั้น เป็นสัจจะ ใช่ไม๊ครับ
โลกียธรรม เป็น วิปลาสธรรม ไม่ใช่สัจจะ ใช่ไม๊ครับ


อโศกะ ตอบ

ท่านเช่นนั้นครับ คำพูดของอโศกะท่อนที่ท่านยกมาข้างบน ผมเขียนห้วนไปนิดหนึ่งจึงอาจทำให้ท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ว่า

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 3 อย่างนี้คือ ปกติธรรม สามัญลักษณะ เป็นปรมัตถธรรม คือธรรมอันยิ่ง เพราะเป็นความจิง ยังนับว่าอยู่ในส่วนของโลกียะ แต่ก็เป็นสัจจะ ความจริงที่จะเป็นเหตุส่งให้ถึงโลกุตรธรรมทั้ง 9

เมื่อมีใครเห็นสิ่งที่มีปกติเป็นอนิจจัง กลับเห็นเป็น นิจจัง ทุกขัง เป็นสุขขัง อนัตตา เป็น อัตตา จึงได้ชื่อว่าเป็นวิปลาสธรรม เพราะเห็นผิดจากสัจจธรรม ความเป็นจริง จะเรียกวิปลาสธรรมเสียใหม่ให้คุ้นหูมากขึ้น ต้องใช้บัญญัติว่า "มิจฉาทิฐิ" และเรียกความเห็นธรรม ตามความเป็นจริงว่า "สัมมาทิฐิ" ดังนี้

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2009, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_2756.JPG
100_2756.JPG [ 93.39 KiB | เปิดดู 3470 ครั้ง ]
เพิ่มเติม

นิจจัง กับ สุขขัง เป็นสัจจธรรม เมื่อถึงโลกุตรแล้วนั้น มีความหมายอย่างนี้

นิพพาน เป็นอมตะธรรม คือพ้นจากความเป็นอนิจจังและ ทุกขัง ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป เหตุนี้ จึงกล่าวว่า นิจจัง เป็นสัจจธรรมเมื่อถึงโลกุตรแล้ว

นิพานัง ปรมังสุขขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เหตุนี้ จึงกล่าวว่า สุขขัง เป็นสัจจธรรมเมื่อถึงโลกุตรแล้ว

:b8:
tongue

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 3 อย่างนี้คือ ปกติธรรม สามัญลักษณะ เป็นปรมัตถธรรม คือธรรมอันยิ่ง เพราะเป็นความจิง ยังนับว่าอยู่ในส่วนของโลกียะ แต่ก็เป็นสัจจะ ความจริงที่จะเป็นเหตุส่งให้ถึงโลกุตรธรรมทั้ง 9


สวัสดีครับ ท่านอโศกะ

ท่านเขียนใหม่ อีกแล้วสิครับ ปรมัตถธรรม คือปกติธรรม สามัญลักษณะ
และ อนัตตาของท่าน ก็ยังนับว่าอยู่ในส่วนของโลกียะ

ท่านยังใช่ คำว่า "แต่ก็เป็นสัจจะ"

อีกทั้งท่านยังเขียนใหม่อีกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นธรรมอันเป็นเหตุ

อ้างคำพูด:
นิจจัง กับ สุขขัง เป็นสัจจธรรม เมื่อถึงโลกุตรแล้วนั้น

ท่านอโศกะ เขียนใหม่จากการฟันธงครั้งแรกอีกสิครับ

ท่านจะเขียนใหม่ ไม่อยู่กับร่องกับรอย อีกนานแค่ไหนครับ

ท่านอโศกะเขียนผิด ก็อธิบายใหม่อีกที ก็ได้ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 21 ธ.ค. 2009, 21:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




watphrathat_doisuthep.jpg
watphrathat_doisuthep.jpg [ 44.93 KiB | เปิดดู 3443 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
อโศกะ เขียน:
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 3 อย่างนี้คือ ปกติธรรม สามัญลักษณะ เป็นปรมัตถธรรม คือธรรมอันยิ่ง เพราะเป็นความจิง ยังนับว่าอยู่ในส่วนของโลกียะ แต่ก็เป็นสัจจะ ความจริงที่จะเป็นเหตุส่งให้ถึงโลกุตรธรรมทั้ง 9

สวัสดีครับ ท่านอโศกะ

ท่านเขียนใหม่ อีกแล้วสิครับ ปรมัตถธรรม คือปกติธรรม สามัญลักษณะ
และ อนัตตาของท่าน ก็ยังนับว่าอยู่ในส่วนของโลกียะ

ท่านยังใช่ คำว่า "แต่ก็เป็นสัจจะ"

อีกทั้งท่านยังเขียนใหม่อีกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นธรรมอันเป็นเหตุ

อ้างอิงคำพูด:
นิจจัง กับ สุขขัง เป็นสัจจธรรม เมื่อถึงโลกุตรแล้วนั้น

ท่านอโศกะ เขียนใหม่จากการฟันธงครั้งแรกอีกสิครับ

ท่านจะเขียนใหม่ ไม่อยู่กับร่องกับรอย อีกนานแค่ไหนครับ

ท่านอโศกะเขียนผิด ก็อธิบายใหม่อีกที ก็ได้ครับ

อโศกะตอบ

อืม ! รู้สึกว่าท่านเช่นนั้นไม่เข้าใจ

ปรมัตถธรรมของผม หมายถึง ความจริง หรือสัจจธรรมทั้งหมด ทั้งที่เป็น โลกียะ และโลกุตระ

ปรมัตถธรรมของคุณเช่นนั้น กับ ท่านมหาราชันย์ เป็น โลกุตรธรรมทั้ง 9

เห็นกันคนละอย่าง พูดกันคนละภาษา คงต้องใช้ภาษาใบ้ และ ภาษาใจ คุยกันแล้วครับ คือต้องมาพบหน้า ตั้งวงสนทนากันสักครั้ง จะได้รวดเร็ว ฉับไว แก้ไข ตอบโต้และ รู้เรื่องกันได้ง่าย กว่าเคาะคีย์บอร์ดสนทนากันอย่างนี้นะครับ
smiley :b41:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




P005.jpg
P005.jpg [ 38.67 KiB | เปิดดู 3443 ครั้ง ]
สวัสดีครับคุณเช่นนั้น


มีพระธรรมเทศนามาฝากครับ


Quote Tipitaka:
[๘๗] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและพวกเธอจึงท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ สิ้นกาลนาน เราได้เห็นอริยสัจ ๔ เหล่านั้นแล้ว เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเสียได้แล้ว มูลแห่งทุกข์เราตัดได้ขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ ฯ




เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 23 ธ.ค. 2009, 21:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะตอบ

อืม ! รู้สึกว่าท่านเช่นนั้นไม่เข้าใจ

ปรมัตถธรรมของผม หมายถึง ความจริง หรือสัจจธรรมทั้งหมด ทั้งที่เป็น โลกียะ และโลกุตระ

ปรมัตถธรรมของคุณเช่นนั้น กับ ท่านมหาราชันย์ เป็น โลกุตรธรรมทั้ง 9

เห็นกันคนละอย่าง พูดกันคนละภาษา คงต้องใช้ภาษาใบ้ และ ภาษาใจ คุยกันแล้วครับ คือต้องมาพบหน้า ตั้งวงสนทนากันสักครั้ง จะได้รวดเร็ว ฉับไว แก้ไข ตอบโต้และ รู้เรื่องกันได้ง่าย กว่าเคาะคีย์บอร์ดสนทนากันอย่างนี้นะครับ





อโศกะ เขียน:
ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง



เอาไงแน่ครับคุณเช่นนั้น

อโศกะ เขียน:
ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง



หรือ


อโศกะ เขียน:
อืม ! รู้สึกว่าท่านเช่นนั้นไม่เข้าใจ

ปรมัตถธรรมของผม หมายถึง ความจริง หรือสัจจธรรมทั้งหมด ทั้งที่เป็น โลกียะ และโลกุตระ

ปรมัตถธรรมของคุณเช่นนั้น กับ ท่านมหาราชันย์ เป็น โลกุตรธรรมทั้ง 9



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ปรมัตถธรรมของผม หมายถึง ความจริง หรือสัจจธรรมทั้งหมด ทั้งที่เป็น โลกียะ และโลกุตระ


สวัสดีครับ ท่านอโศกะ

เช่นนั้น ก็ขออภัยด้วยครับ ที่เข้าใจว่า ปรมัตถธรรม ที่สนทนากันอยู่ คือ ธรรมอันยิ่ง ในพระพุทธศาสนา แต่ที่ไหนได้ เป็นปรมัตถธรรม ของท่านอโศกะ ถ้าเป็นปรมัตถธรรมของท่านอโศกะ ก็ถูกเพราะเป็นของท่านอโศกะ tongue tongue

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




a_cha.jpg
a_cha.jpg [ 16.5 KiB | เปิดดู 3413 ครั้ง ]
tongue เจริญ ๆ เถิด ท่านเช่นนั้นกับท่านมหาราชันย์
นี่มาเล่นคำเล่นศัพท์เล่นบัญญัติกันแล้วหรือครับ

ผมนึกว่าท่านเข้าใจแล้วตั้งแต่ผมแปลว่า ปรมัตถธรรม แปลว่าธรรมอันยิ่ง ให้ดูตั้งแต่แรก
แล้วที่เป็นธรรมอันยิ่ง เพราะ จริง เป็นความจริง เป็นสัจจธรรม ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป จึง
"ยิ่ง"

น่าแปลกที่ท่านทั้งสองสุตตมมยปัญญา จินตมหยปัญญา ดี แต่ภาวนามยปัญญาไม่ค่อยเกิด คงขาดประสบการณ์จริงที่ถูกต้องไปหรือเปล่า ต้องสัมผัสสภาวะ สัมผัสปรมัตถธรรมให้เยอะ ๆ บ่อย ๆ ทุกวัน เวลา นาฑี วินาฑี ที่ระลึกได้และมีโอกาสนะครับ
Onion_L

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
เจริญ ๆ เถิด ท่านเช่นนั้นกับท่านมหาราชันย์
นี่มาเล่นคำเล่นศัพท์เล่นบัญญัติกันแล้วหรือครับ


สวัสดียามเย็นครับคุณอโศกะ

ผมไม่มีคำว่าเล่นครับ แสดงความถูกต้องในธรรมจริง ๆ เป็นจริงของสัจจะครับ ไม่มีจริงแบบเท็จหรอกครับ

เอาสภาวะธรรมจริง ๆ มาแสดงให้คุณอโศกะได้ทราบความจริงครับ
คุณอโศกะจะได้ทราบสภาวะธรรมที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร
จะได้ไม่หลงงมงายไปกับตำรานอกพระพุทธศาสนาแล้วมาอ้างว่าเกิดจากการปฏิบัติ






อโศกะ เขียน:
ผมนึกว่าท่านเข้าใจแล้วตั้งแต่ผมแปลว่า ปรมัตถธรรม แปลว่าธรรมอันยิ่ง ให้ดูตั้งแต่แรก
แล้วที่เป็นธรรมอันยิ่ง เพราะ จริง เป็นความจริง เป็นสัจจธรรม ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป จึง
"ยิ่ง"


ขันธ์ หรือจิตของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม มีอยู่จริงครับ เป็นของจริงทั้งนั้น ของจริงอย่างนี้ไม่เรียกว่า ปรมัตถ์ ไม่เรียกว่าธรรมอันยิ่งครับ เป็นของธรรมดาโลก เป็นโลกียะธรรม เป็นของวัฏฏะ
ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นปรมัตถ์ตามนิยามศัพท์ของคุณอโศกะ เมื่อคุณอโศกะไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรฉาน คุณอโศกะก็ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้วใช่ไหมครับครับ เพราะคุณอโศกะบรรลุสภาวะปรมัตถธรรมด้วยเพศสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรฉาน เสียแล้วจริงไหมครับ ??


จึงกล่าวว่าคุณอโศกะมีความรู้เรื่อง ปรมัตถ์ ที่ผิด เข้าใจมาผิดครับ


ปรมัตถธรรม หรือธรรมอันยิ่งจากสภาวะของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม ได้แก่โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล สกทาคามีมัคค สกทาคามีผล อนาคามีมัคค อนาคามีผล อรหัตตมัคค อรหัตตผล และนิพพาน เป็นธรรมที่ยิ่ง เป็นธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นธรรมที่ใหญ่ เป็นธรรมที่หลุดพ้น

ขอให้คุณอโศกะเข้าใจให้ถูกต้องเป็นอย่างนี้ครับ





อโศกะ เขียน:
น่าแปลกที่ท่านทั้งสองสุตตมมยปัญญา จินตมหยปัญญา ดี แต่ภาวนามยปัญญาไม่ค่อยเกิด คงขาดประสบการณ์จริงที่ถูกต้องไปหรือเปล่า ต้องสัมผัสสภาวะ สัมผัสปรมัตถธรรมให้เยอะ ๆ บ่อย ๆ ทุกวัน เวลา นาฑี วินาฑี ที่ระลึกได้และมีโอกาสนะครับ


จากการสนทนากันมา พบว่าคุณอโศกะนี้นี่เองที่ท่องตำราภายนอกพระพุทธศาสนามาตอบ ยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นแล้วจินตนาการไปตามตำรานั้น

ตราบใดที่คุณอโศกะยังไม่บรรลุโสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล สกทาคามีมัคค สกทาคามีผล อนาคามีมัคค อนาคามีผล อรหัตตมัคค อรหัตตผล และนิพพาน ไม่เรียกว่าคุณอโศกะได้สัมมผัสปรมัตถ์ธรรมครับ

คุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ คุณอโศกะกำลังสัมผัสโลกียะธรรมอยู่ครับ แต่กล่าวตู่เอาเอง เห็นผิดเอาเอง นิยามศัพท์เอาเอง หรือเชื่อเอาตามตำรานอกพระพุทธศาสนาที่สอนมาผิด ๆ ว่า โลกียะที่สัมผัสอยู่นั้นเป็นปรมัตถ์ กล่าวได้ว่าคุณอโศกะกำลังตกต่ำทางภาวนามยปัญญาครับ เป็นผู้กำลังเดินหลงทางมัคคผลอยู่ครับ



ความเจริญทางภาวนามยปัญญา คือการเปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นลักขณูปณิชฌานจิตได้แก่ วิปัสสนาจิต มัคคจิต และผลจิตครับ

ผมและคุณเช่นนั้นปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เจริญทางภาวนามยปัญญาครับ
มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นลักขณูปณิชฌานจิตได้แก่ วิปัสสนาจิต มัคคจิต และผลจิตครับ



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร