วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ปฏิบัติธรรม คืออะไร ?

คำว่า ปฏิบัติธรรม นั้น หมายความว่าอย่างไร ปฏิบัติธรรมก็คือ เอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ เอามาใช้ดำเนินชีวิตทำการทำงาน คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง ทำให้เป็นชีวิตที่ดีมีความสุขนั่นเอง

เมื่อปฏิบัติธรรมก็หมายถึงว่า เอาธรรมมาใช้ในชีวิตจริง หรือเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ถ้ายังไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นการปฏิบัติ ว่าถึงตัวคำว่า "ปฏิบัติ" เองนี้ เดิมนั้นแปลว่า "เดินทาง" มาจากภาษาบาลี ของเดิมนี้มีคำคล้ายๆ กับอีกคำหนึ่งคือ "ปฏิปทา"

"ปฏิปทา" แปลว่าอะไร จะเห็นได้ในคำว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" ที่เราแปลกันว่า "ทางสายกลาง" มัชฌิมา แปลว่า สายกลาง และปฏิปทา แปลว่า ทาง ทางคืออะไร ทางนั้น คือ ที่จะเดิน คำว่าปฏิปทา ก็คือ ที่ ที่จะเดิน คำว่า ปฏิปทา กับคำว่า ปฏิบัตินี้ เป็นคำเดียวกัน รากศัพท์อันเดียวกัน ถ้าเป็นกริยา มีรูปเป็น ปฏิปชฺชติ แปลว่า ดำเนิน หรือเดินทาง

เพราะฉะนั้น ปฏิปชฺชติ มาเป็น ปฏิบัติ หรือเป็น ปฏิปทา ก็ตาม ก็แปลว่า การเดินทาง หรือแปลว่า ทางที่เดิน ถ้าเป็นการเดินทางก็นิยมใช้ในรูปว่า ปฏิปตฺติ หรือไทยใช้ว่า ปฏิบัติ ถ้าเป็นทางที่เดินก็นิยมใช้ ปฏิปทา เพราะฉะนั้น เราเอาถ้อยคำสำหรับสิ่งที่เป็นรูปธรรมนั้นเอง มาประยุกต์ใช้ในทางธรรม การเดินทางตามปกตินั้น เป็นการเดินทางภายนอก เป็นการเดินทางด้านวัตถุ เอาเท้าเดิน หรือแม้มีรถแล้ว เอารถวิ่งไป ตลอดจนไปด้วยเครื่องบิน ก็เรียกว่า เป็นการเดินทาง

ทีนี้ ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ชีวิตก็เป็นการเดินทางชนิดหนึ่ง แต่เรามักเปลี่ยนคำพูดจากเดินมาเป็น ดำเนิน ที่จริงเดินกับดำเนินนั้น ก็ศัพท์เดียวกันนั่นแหละเดินก็แปลงมาดำเนิน แล้วเราก็มีการดำเนินชีวิตในการดำเนินชีวิตนั้น ก็เหมือนกับว่าเราเอาชีวิตนี้ไปเดินทาง หรือว่าการเป็นอยู่ของเรานั้นเปรียบเสมือนทาง ถ้าเป็นอยู่อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่าเดินทางชีวิตอย่างถูกต้อง คือ ดำเนินชีวิตได้ดี ถ้าเดินทางชีวิตไม่ถูกต้อง ก็เรียกว่าดำเนินชีวิตที่ผิด ในเมื่อปฏิปทา หรือปฏิบัตินี้ แปลว่า การเดินทาง และทางที่เดิน เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมก็คือเอาธรรมมาใช้ในการเดินทางชีวิต หรือเอามาช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องหรือเอามาช่วยในการเดินทางชีวิต เพื่อให้การดำเนินชีวิตนั้นเป็นไปด้วยดี

หมายความว่า ถ้าเราไม่เอาธรรมมาใช้ การเดินทางชีวิตของเราก็อาจจะผิด อาจจะเขว อาจจะพลาด อาจจะหลง อาจจะไปในทางที่เกิดความเสื่อม ความพินาศ แทนที่จะเป็นทางแห่งความสุข ความเจริญ เราก็เลยเอาธรรมมาช่วย เอาธรรมมาปฏิบัติ ก็คือ เอาธรรมมาใช้ช่วยให้การเดินทางชีวิตนี้ถูกต้อง ได้ผลดีที่ประสงค์ พูดง่ายๆ จึงว่า การปฏิบัติธรรมก็คือการเอาธรรมมาใช้นั่นเอง ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของเรา เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมก็จึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่เฉพาะการที่จะปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่ที่วัด ไปอยู่ที่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิอะไรอย่างนั้น ไม่ใช่แค่นั้น อันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เป็นการพยายามนำธรรมมาใช้ในขั้นลึก ในการที่จะฝึกฝนจิตใจอย่างจริงๆ จังๆ

ถ้าจะเรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้น ก็เรียกว่า เป็นการปฏิบัติแบบ intensive เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง ที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เรานั่งกันอยู่ในที่นี้ ก็ต้องมีการปฏิบัติธรรม คือเอาธรรมมาใช้ เมื่อปฏิบัติสิ่งนั้น ทำสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

ดังนั้น ถ้าตนมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน แล้วศึกษาเล่าเรียนอย่างถูกต้อง มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจเล่าเรียน เล่าเรียนให้ได้ผล ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เช่น เล่าเรียนโดยมีอิทธิบาท ๔ มีฉันทะ พอใจรักในการเรียนนั้น มีวิริยะ มีความเพียร ใจสู้ มีจิตตะ เอาใจใส่รับผิดชอบ มีวิมังสา คอยไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทดสอบ ทดลองให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป อย่างนี้ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรม หรือในการทำงานก็เหมือนกัน เมื่อมีอิทธิบาท ๔ เอาอิทธิบาท ๔ มาใช้ในการทำงานนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

แม้แต่ออกไปในท้องถนน ไปขับรถ ถ้าขับโดยรักษากฎจราจร ขับเรียบร้อยดีไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลึกเข้าไปแม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใส สบายใจ ในเวลาที่ขับรถนั้นได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมในระดับต่างๆ แล้วแต่ว่าใครจะสามารถเอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตหรือในการทำกิจหน้าที่นั้น ให้ได้ผลแค่ไหน เพียงไร ก็เรียกว่า ปฏิบัติธรรมทั้งนั้น เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงนั้น ต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทุกคนมีหน้าที่ต้องดำเนินชีวิตให้ดีงามถูกต้อง แม้แต่การนั่งฟัง

ปาฐกถานี่ก็มีการปฏิบัติธรรม เมื่อตั้งใจฟัง ฟังเป็นใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง สิ่งที่รับฟังนั้นทำให้เกิดปัญญาขึ้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมทั้งนั้น เป็นอันว่า การปฏิบัติธรรมนี้ เป็นเรื่องที่กว้างมาก หมายถึงการนำเอาธรรมมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิต หรือการทำกิจทำงานทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ถูกต้อง ให้ดี ให้เกิดผลเป็นประโยชน์ เพราะจะได้เข้าถึงชีวิตที่ดีงามมีความสุขที่แท้จริงนั่นเองเป็นการปฏิบัติธรรม

สำนักปฏิบัติธรรมวัดศรีกัลยาณนิคม
สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๖ ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ต.วังซ่าน อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์

:b8: :b8: :b8:


.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 16:25
โพสต์: 56

แนวปฏิบัติ: การเจริญสติ
งานอดิเรก: จิตอาสา
สิ่งที่ชื่นชอบ: ธรรมะ
ชื่อเล่น: น้องอ้อ
อายุ: 40
ที่อยู่: พิษณุโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขอบคุณนะค่ะที่ให้ความกระจ่างในเรื่องของการปฎิบัติธรรม เพราะอย่างน้อยๆ ในชีวิตที่เรา

ได้เกิดมานั้น ขอให้เรามีสิ่งที่ดีๆ ติดตัวเราไป และที่สำคัญ ทำให้เราเห็นความจริงว่า

" ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป "

ขอบคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรม อย่างแรกที่ต้องรู้คือเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติ
ธรรมทุกอย่าง การปฏิบัติทุกอย่างควรจะต้องมีเป้าหมายโดยดำเนินไปในทางสายกลาง
(ถ้าใครไม่ทราบว่าอะไรคือทางสายกลางของตน ก็ให้ปฏิบัติตาม มรรคมีองค์ 8)

เป้าหมายที่สูงสุดคืออะไร
เราปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่ออะไร
ท่านตรัสรู้อะไร และมุ่งหวังให้เหล่ามนุษย์เห็นในจุดใด ไปถึงในจุดใด
นั่นก็คือการแจ้งในหลักอริยสัจ 4 เพื่อความพ้นทุกข์ ไม่กลับมาเกิดอีก นั่นเอง

บางคนปฏิบัติจะเอาแต่บุญแต่กุศล ความดีงามต่างๆ แต่ไม่เคยคิดปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ที่แท้จริง
โดยหารู้ไม่ว่า บุญกุศลหรือความสุขนั้นก็เป็นตัวทุกข์ตัวหนึ่งเหมือนกัน
แล้วสมควรแล้วหรือที่เราจะปฏิบัติธรรมเพียงเพื่อเอาแต่ความสุข ความดีงาม ความเป็นกุศลในชีวิต

ถ้ามองที่จุดหมายการปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว บุญ กุศล ความดีงามต่างๆเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรมีไว้
แต่มีไว้เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อไปสู่พระนิพพานเท่านั้น
ไม่ใช่สิ่งที่มีไว้เพื่อยึดมั่นถือมั่นแต่อย่างใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับท่านพงพันด้วยครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




4.jpg
4.jpg [ 10.58 KiB | เปิดดู 2157 ครั้ง ]
tongue อนุโมทนาสาธุกับคุณวรานนท์

ผมคัดลอกธรรมมะดีๆ จากเพื่อนมหากัลยาณมิตรท่านหนึ่งมาฝากด้วยครับ คงช่วยเสริมกระทู้อันดีนี้ให้มีค่ามากขึ้นนะครับ สาธุ
:b8:
smiley

ธรรมะเข้าใจง่าย
จิต เจตสิก รูป เกิดขึ้นเมื่อมี "ปัจจัยปรุงแต่ง" เท่านั้น
ซึ่งภาษาบาลีเรียก (ปัจจัยปรุงแต่ง) ว่า
"สังขารธรรม"

.

เช่น "การเห็น" ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
ถ้าไม่มี "จักขุปสาทรูป" และ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" (รูปารมณ์)

.

เช่น "เสียง"
เกิดขึ้นได้เพราะเหตุปัจจัย เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องดับไป
สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ย่อมดับไป เมื่อเหตุปัจจัยดับไป.

บางครั้ง เราเข้าใจว่า เสียงยังดังอยู่
แต่ที่คิดว่าเสียงยังดังอยู่นานนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว
เป็นรูป (เสียง-สัททรูป) ที่เกิด-ดับ-สืบต่อกันหลายขณะ.

.

ปรมัตถธรรมที่ ๔ คือ "นิพพาน"
นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ดับกิเลส
นิพพาน เป็นอารมณ์ที่รู้แจ้งได้ทางมโนทวาร (เท่านั้น)

.

เมื่อประพฤติปฏิบัติตาม "หนทางที่ถูกต้อง"
ก็จะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ นิพพาน
หนทางที่ถูกต้อง หมายถึง การอบรมเจริญปัญญา
เพื่อรู้แจ้ง "ลักษณะของสภาพธรรม"
ตามปกติ ตามความเป็นจริง.

.

นิพพาน เป็น นามธรรม
แต่ นิพพาน ไม่ใช่ จิต และ เจตสิก
เพราะสภาพธรรมที่เป็น นิพพาน ไม่เกิดและไม่ดับ
นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ไม่มี "ปัจจัยปรุงแต่ง"
ซึ่งภาษาบาลี เรียกว่า "วิสังขารธรรม"

นิพพาน ไม่เกิด เพราะเป็นสภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ดับ.

จิต และ เจตสิก เป็นนามธรรมที่รู้อารมณ์
นิพพาน เป็นนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์
แต่ นิพพาน เป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกได้.!.

นิพพาน เป็น อนัตตา
คือ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน.

.

เพราะฉะนั้น
ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริง มี ๔ ประเภท
คือ
รูปปรมัตถ์ จิตปรมัตถ เจตสิกปรมัตถ์ นิพพานปรมัตถ์

จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ เป็น "สังขารธรรม"
(หมายถึง สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง มีการเกิดขึ้น และดับไป
และ เป็น อนัตตา เพราะว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน)

แต่ นิพพาน เป็น "วิสังขารธรรม"
(หมายถึง สภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เกิด จึงไม่ดับ
และ เป็น อนัตตา เพราะว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน)

.

เมื่อศึกษาพระธรรม
จำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่า
สภาพธรรมใด เป็นปรมัตถธรรมประเภทใด
มิฉะนั้นแล้ว "คำสมมติ-บัญญัติ" ต่าง ๆ
อาจจะทำให้เราเข้าใจผิดได้
ตัวอย่างเช่น
เราควรเข้าใจว่า สภาพธรรมที่เรียกว่า "ร่างกาย" เป็นต้นนั้น
เป็น รูปปรมัตถ์

.

นิพพาน เป็น "สภาพธรรมที่ดับสังขารธรรมทั้งปวง"
เพราะฉะนั้น
พระอรหันต์ที่ดับขันธปรินิพพาน จึงไม่มีการเกิดอีกเลย.

.
"สังขารธรรม"
คือ
จิต เจตสิก รูป
เป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง (อนิจจัง)
และเป็นสภาพธรรมเป็นทุกข์ เพราะไม่เที่ยง (เกิด-ดับ)

.

ธรรมทั้งหลาย เป็น อนัตตา
หมายความว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
(สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา)
เพราะฉะนั้น
"สังขารธรรม" ทั้งหลาย ไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์.

.

แต่ ธรรมทั้งหลาย
คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน (วิสังขารธรรม)
เป็น อนัตตา

เรื่องการฟังพระธรรมนั้นสำคัญมากเพราะการฟังธรรมนั้น
จะเกิดปัญญาให้สะสมไปในภพหน้าได้ เหมือนเมื่อได้ยินเสียงกลองแล้ว
ไม่ว่านานเท่าไหร่ถ้าได้ยินขึ้นมาอีกก็สามารถจำได้
และการเจริญวิปัสสนา และสมถะก็สะสมเช่นเดียวกับ เห็นไหมว่า
การฟังธรรม เจริญวิปัสสนา เป็นสิ่งสำคัญ
เพราะฉะนั้นควรฟังธรรม กันเถอะ


onion Kiss

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร