วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 02:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 181 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะวิจารณ์

ท่อนนี้คุณมหาราชันย์เล่นตีขลุม สรุปเอาว่าผมสร้างอกุศลมูล ลองไปพิจารณาดูใหม่ให้ดีนะครับ การเอาสติ เอาปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ หรือเจริญสติปัฏฐาน 4 เจริญมรรค 8 อยู่นั้น เป็นอกุศลตอนไหน การเจริญปัญญาวิปัสสนาภาวนาไม่ใช่มหากุศลหรอกหรือ พิจารณาใหม่นะครับ



ไม่ได้ตีขลุมแน่นอนครับ
จิตเกิดได้ทีละ 1 ดวงครับคุณอโศกะ ไม่เกิดพร้อมกันหลายดวงในเวลาเดียวกันครับ
คุณอโศกะบอกว่าเจริญสติปัฏฐาน 4 แต่จิตยังมีนิวรณ์ 5 อยู่ อวดว่าตนเองเก่ง มีความกล้าหาญ กำลังใช้ความสามารถสู้กับนิวรณ์ 5 อยู่โดยไม่เอาฌาน ไม่ยอมเปลี่ยนคุณภาพจิต

คุณอโศกะจะยอมรับความจริงหรือไม่ครับว่าจิตแบบนี้ของคุณอโศกะเป็นกามาวจร จิตเป็นจิตที่มีจิตอื่นเยี่ยมกว่า เป็นจิตที่เล็ก เป็นจิตที่ไม่หลุดพ้น จิตคุณอโศกะยังพัวพันอยู่กับนาม-รูปที่เป็นโลกียะ จิตฟุ้งซ่านไปในโลกียะธรรม แต่รู้ผิดเอาเอง เข้าใจผิดเอาเองว่าอกุศลจิตที่ทรงอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นมหากุศลจิต


คำว่ามหากุศลจิตในพระพุทธศาสนา คือจตุตถฌานอันเป็นที่ตั้งควรแก่อภิญญาครับ


ผมยืนยันได้อย่างหนักแน่นว่า จิตคุณเป็นอกุศลจิตและอกุศลวิบากจิตครับ
จึงกล่าวยืนยันได้ว่าคุณรู้มาผิด เข้าใจมาผิดอย่างแน่นอนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะวิจารณ์

ท่อนนี้ก็ตีขลุมสรุปเอาอีกแล้ว แถมไม่พอยังใส่ความใส่ไฟเอาหน้าซื่อๆอีกด้วย

ผมต้องการให้รู้ว่าวิปัสสนาปัญญาจะเกิดขึ้นได้นั้น ผู้เจริญต้องทำตัวเหมือนนักวิจัย ที่เข้าไป สังเกต พิจารณากระบวนการทำงานของ กายและจิต หรือ รูป - นาม นี้ โดยปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ แสดงเหตุแสดงผลไปตามธรรมชาติ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาทำตัวเป็นเพียง Observer สิ้นสุดกระบวนการทำงานของแต่ละอารมณ์ จนจบรอบการปฏิบัติ 1 รอบ จะได้ผลสรุป เป็นรายงานออกมาเองในจิต เรียกว่า "ภาวนามยปัญญา" ผลการวิจัยนี้ผู้ปฏิบัติจะได้พบว่า ทุกขสัจจะ เป็นอย่างไร อะไรเป็นเหตุ
(สมุทัย) เหตุนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะดับลงได้อย่างไร หลังจากเหตุทุกข์ดับแล้วอะไรจะเกิดขึ้นเป็นผล (นิโรธ) กระบวนการเรียนรู้ วิจัย ธรรมชาติของกายและจิตนี้ (มรรค) ต้องทำอย่างไรบ้าง Byproduct ผลพลอยได้ของการทำวิจัยนี้ คือนิพพาน อมตะสุข ดังนี้ คุณมหาราชันย์เห็นถึงความหมาย นัยยะ ตรงนี้หรือเปล่าครับ



ไม่ได้ตีขลุมครับคุณอโศกะ ผมมีเหตุมีผลครับ
ศาสนานี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสสอนให้ละอุปาทานในขันธ์ 5 คือละนาม-รูปครับ

ถ้าปล่อยจิตไปตามธรรมชาติ ธรรมชาติของจิตตั้งแต่เกิดมาของคุณอโศกะคือกามาวจรกุศลจิต กับกามาวจรกุศลวิบากจิต และกามาวจรอกุศลจิต กับกามาวจรอกุศลวิบากจิตเท่านั้น ตั้งแต่เริ่มปฏฺสนธิมาครับ


การที่คุณอโศกะปล่อยจิตให้เป็นไปตามธรรมชาติ ธรรมชาติย่อมมีแต่กามาวจรกุศลจิต กามาวจรกุศลวิบากจิต อกุศลจิต และอกุศลวิบากจิตเท่านั้นที่เกิดขึ้นดับไปตลอดเวลา เพราะจิตมีแต่กามสัญญา


เพราะคุณอโศกะไม่ยอมรับความจริงว่ารู้มาผิด เข้าใจผิด เรียนมาไม่ดี ศึกษามาไม่ดี สร้างเหตุให้เกดทุกข์อยู่ตลอดเวลา แต่กลับสำคัญผิดว่ากำลังเจริญมรรค 8 สู่นิพพาน


คุณเริ่มเหตุที่กามาวจร ผลย่อมเป็นกามาวจรครับ


คุณอโศกะต้องละกามาวจรจิต ละรูปาวจรจิต ละอรูปาวจรจิต แล้วเจริญมัคคจิต 4 ที่ไม่เกิดให้เกิด ที่เกิดแล้วให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ในปัจจุบันขณะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะวิจารณ์

กล้าหาญอย่างไร จึงหลบผัสสะไปอยู่ในฌาณ ทำไมไม่ออกมาอยู่ปกติธรรมดาอย่างคนทั่วไป เผชิญหน้ากับ ผัสสะและเวทนา เพื่อจะได้ค้นหาเหตุทุกข์ให้เจอ แล้วเอามันออก อย่างนี้สิถึงจะแสดงว่าเป็นนักสู้ที่แท้จริง



คนกล้าหาญคือคนที่ต่อสู้ ประหัตประหารกับศัตรูครับ
การทรงฌานเปรียบเสมือนการถืออาวุธคอยประหัตประหารศัตรูครับ
ศัตรูมาเมื่อไหร่ก็ลงมือประหัตประหารศัตรูนั้นทันทีครับ
ถ้าผมไม่กล้าหาญต่อสู้กับนิวรณ์ 5 และกามสัญญาจนประสบชัยชนะได้ ผมจะบรรลุทุติยฌานได้อย่างไร ??


แต่คุณอโศกะสิครับ ไม่ได้เป็นคนกล้าหาญเลยครับ ปล่อยให้จิตอยู่ในการครอบงำของนิวรณ์ 5 ยอมจำนนต่อนิวรณ์ 5 ยอมจำนนต่อกามสัญญาในนามรูปอันเป็นกามโลกีย์และอาสาวะกิเลสทั้งหลาย จิตเป็นกามาวจรเกิดดับดวงแล้วดวงเล่า จิตเป็นจิตที่อ่อนแอ พ่ายแพ้กิเลสสังโยชน์อย่างยับเยินตลอดเวลา
อ้างว่า...บริโภคกามด้วยความกล้าหาญ

คุณอโศกะจะยอมรับความจริงว่าคุณรู้มาผิด เข้าใจมาผิดแล้วหรือยังครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะ วิจารณ์

ท่อนนี้ ก็ใส่ความอย่างน่าละอาย แล้วการปฏิบัติตาม อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา ผิดคำสอนของพระพุทธเจ้าตรงไหนครับ



ไม่ได้ใส่ความแน่นอนครับ


แต่กล่าวไปด้วยคำสัจจ์ครับ
ความจริงเป็นอย่างไรก็นำมาตีแผ่ไปอย่างนั้น

แต่คุณอโศกะต่างหากล่ะครับที่ไม่ยอรับความจริง


คุณอโศกะอ้างว่าปฏิบัติตาม อริยสัจ 4 แล้วทำไมไม่บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานในสัมมาสมาธิ

คุณอโศกะอ้างว่าปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วทำไมไม่บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานในสัมมาสมาธิ


คุณอโศกะอ้างว่าปฏิบัติตามอนัตตา แล้วทำไมไม่บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ชนิดสุญญตะสมาธิ


ถ้าคุณอโศกะทำเหตุตามที่พูดกล่าวอ้างมาจริงย่อมได้ผลจริง สัจจะย่อมแสดงสัจจะธรรมครับ



คุณอโศกะว่าคุณอโศกะเป็นคนน่าละอายหรือไม่ ที่คุณไม่พูดคำสัจจ์ กล่าวแต่คำเท็จ ไม่ยอมรับความจริงว่ารู้มาผิด เข้าใจมาผิด ปฏิบัติมาผิดทาง ปฏิบัติผิดคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


คำตอบที่ผมตอบมาทั้งหมดได้แสดงให้เห็นแล้วว่าคุณอโศกะรู้มาผิดอย่างไร เข้าใจมาผิดอย่างไร ปฏิบัติมาผิดแนวทางอย่างไร คุณอโศกะควรที่จะมีความละอายได้แล้วครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การพัวพันในนามรูปที่เป็นโลกียะ คือการทำเหตุให้มีสักกายะทิฏฐิต่อไป
ใครปฏิบัติอย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ประมาทในศาสนาของพระสมณะโคดมครับ




ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:

คนกล้าหาญคือคนที่ต่อสู้ ประหัตประหารกับศัตรูครับ
การทรงฌานเปรียบเสมือนการถืออาวุธคอยประหัตประหารศัตรูครับ
ศัตรูมาเมื่อไหร่ก็ลงมือประหัตประหารศัตรูนั้นทันทีครับ
ถ้าผมไม่กล้าหาญต่อสู้กับนิวรณ์ 5 และกามสัญญาจนประสบชัยชนะได้ ผมจะบรรลุทุติยฌานได้อย่างไร ??




:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 13 ธ.ค. 2009, 20:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะ วิจารณ์เพิ่มเติม

ฌาณ ไม่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ดีอยู่ เป็นกุศลอยู่ พระพุึทธเจ้าทรงสรรเสริญอยู่ ตามหลักฐานที่คุณโคตรภูยกมา แต่มีข้อความหนึ่งที่พึงพิจารณาประกอบไปด้วยในกลุ่มข้อความที่คุณโคตรภูยกมานี้ คือ

ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค

แสดงว่า ฌาณ นั้นดีอยู่สำหรับพระเสขะบุคคล แต่ท่านผู้ปารถนาจะให้ถึงที่สุดแห่งความเป็นอเสขะบุคคล มิพึงควรยินดีอยู่เพียงแค่นี้ ซึ่งน่าจะมีข้อธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อยู่ แต่ผมค้นพระไตรปิฎกไม่เก่ง จึงต้องขอท่านที่เก่งกรุณาช่วยขค้นมาแสดงให้ด้วย


cool

ท่านอโศกะ ในสูตรนี้อธิบายไว้ชัดเจนแล้ว ท่านเองต่างหากที่ไม่พยายามเข้าใจ หรืออ่านไม่จบทั้งพระสูตร ลองอ่านนะครับ ส่วนที่เหลือทั้งหมด แล้วท่านจะได้จะได้คำตอบจากที่ท่านถามว่า ตามที่อ้างอิงข้างต้น

.......................................................

[๑๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมคคัล-
ลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดม
ผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุก
รูปทีเดียวหรือหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บาง
พวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ใน
เมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญ
ผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ
โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จ
ล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
[๑๐๒] พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้
ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ฯ
ค. แน่นอน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้ปรารถนา
จะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์
แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด
ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น
ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว
จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่า
รื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จำทางผิด
กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์
พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์
ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่า
รื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมือง
ราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดย
สวัสดี ดูกรพราหมณ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์
ก็ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอัน
ท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม
คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี ฯ
ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้า
เป็นแต่ผู้บอกทาง ฯ
[๑๐๓] พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็
ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเรา
อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความ
สำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้
ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้ ฯ
[๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมค-
คัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลจำพวกที่
ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้
โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจา
เหลวไหล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่
ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพ
กล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
ทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียร
หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวก
คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น ส่วนพวกกุลบุตรที่มี
ศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคน
เจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเหลวไหล
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ซึ่ง
ความเป็นผู้ตื่น มุ่งความเป็นสมณะ เคารพกล้าในสิกขา ไม่มีความประพฤติ
มักมาก ไม่มีความปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าใน
ความสงัดเงียบ ปรารภความเพียร ส่งตนไปในธรรม ตั้งสติมั่น รู้สึกตัว
มั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ
ย่อมอยู่ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่
มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่น
จันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ
ฉันใด โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บัณฑิตกล่าวได้ว่า
เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า
แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

จบ คณกโมคคัลลานสูตร ที่ ๗ (ขอขอบคุณเว็บลานธรรมครับ)

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
การแสดงความเห็นของอโศกะ ที่ไม่เน้นเรื่องฌาณ ไม่ประสงค์จะให้ผู้คนยินดีในฌาณจนเกินไป ก็เนื่องด้วยเหตุผลว่า ที่ฌาณนั้น มีโอกาสติดหลงได้ง่ายและลุ่มลึก ดังเช่นท่าน กาลเทวินดาบส อาฬารและอุทกดาบสท่านเป็นอยู่ เสวยผลอยู่

ฌาณมิใช่วิหารธรรมอันควรนักสำหรับผู้ที่มุ่งมั่นเดินทางไปสู่ความเต็มพร้อมแห่งอเสขะบุคคล เพราะฌาณ เป็นเส้นทางเดินสายเก่า เป็นทางเดินของฤาษี ชี ไพร พราหมณ์ ฮินดู อเจลกะทั้งหลาย เป็นทางสายที่ยาก สายที่อ้อมโค้ง สำหรับผู้คนในยุคสมัยนี้


:b20: :b20: :b20: :b20: :b20:

ผมว่าท่านได้ข้อมูลมาผิด แล้วขาดการใคร่ครวญ หรือ ขาดการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ที่ถูกต้อง ครับ ดาบสทั้ง 3 ท่านนี้ คือ กาลเทวินดาบส อาฬารและอุทกดาบส เป็นกลุ่มคนแรกที่พระพุทธเจ้าจะไปโปรด เพราะเป็นผู้พร้อมที่สุดที่สามารถจะเข้าใจใน อริยสัจจ์ 4 ที่พระองค์ค้นพบ แต่ทั้ง 3 ท่านตายเสียก่อน

แล้วที่ท่านบอกว่า ฌาณเป็นทางอ้อมไม่ใช่ทางเดินของศาสนานี้ ก็ใช่แต่ไม่ถูกทั้งหมดครับ ท่านต้องเข้าใจด้วยว่าในช่วงเวลานั้น ไม่มีใครรู้จัก อริยสัจจ์ 4 พระพุทธเจ้าเป็นผู้พบก่อนเป็นพระองค์แรกในยุคนั้น จึงเป็นตรัสรู้เป็นพระศาสดา พระองค์ก็เรียนรู้เรื่องฌาณ จากดาบสทั้ง 3 จนชำนาญแล้วจึงต่อยอดออกไปครับ โดยพระองค์ยอมรับว่า ฌาณหรือสัมมาสมาธิ เป็น 1 ในมรรค 8 ครับ ซึ่งจะขาดเสียมิได้เลยครับและเป็น 1 ใน 3 ของไตรสิกขาด้วย


มีสภาวะธรรมชนิดไหนบ้างครับที่ดีและเพียบพร้อมเท่ากับการดำรงฌาณ ส่วนวิธีการที่จะให้ได้มาก็แล้วแต่จริตของแต่ละคนครับ ฌาณคือสัมมาสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตเป็นวิหารธรรมของพระเสขะและอเสขะ

สัมมาสมาธิ ที่ท่านอโศกะกำลังเผยแผ่อยู่ ผมไม่ขัดท่านหรอก แต่ผมว่าท่านยังเข้าใจไม่ถูกทั้งหมด เริ่มแรกผมก็เข้าใจเช่นท่านครับ แต่ผมไม่สามารถที่หาสภาวะธรรมของจิตหรือคุณภาพของจิตที่ไม่มีตัณหาและทิฎฐิ มารองรับในสติปัฎฐาน 4 ได้ ครับ ถ้าเราไม่สามารถดำรงฌาณไว้ สติปัฎฐาน 4 ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ครับ กลายมาเป็นการพัวพันในขันธ์ 5 ไป เกิดเป็นสักกายะทิฎฐิไปครับ

อย่างไรก็ดี ลองทบทวนในพระสูตรนี้อีกครั้งครับ เพื่อการแลกเปลี่ยนทัศนะคติ ผมคงไม่ฟันธงครับ ว่าการได้มาซึ่งสัมมาสมาธิ จะมาโดยทางใด เป็นเพียงแลกเปลี่ยนเพื่อ ประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านครับ

เจริญในธรรม

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3966_resize_resize.JPG
100_3966_resize_resize.JPG [ 51.07 KiB | เปิดดู 3955 ครั้ง ]
tongue สวัสดีคุณโคตรภู เจริญฌาณ เจริญธรรม ท่านมหาราชันย์ สวัสดีกัลยาณมิตรทุกท่านครับ
วันนี้ยังไม่มีโอกาสสนทนา แต่ได้ขออนุญาตคัดลอกข้อธรรมจากครูบาอาจารย์ที่ท่านเฉลิมศักดิ์ไปค้นหามา มาแสดงให้ท่านโคตรภูและท่านที่สนใจลองศึกษาดูก่อนนะครับ บางทีจะได้ช่วยผ่อนคลายความยึดติดในบัญญัติได้บ้างครับ สาธุ

พอดีเนื้อความในกระทู้หายไป ผมขอนำมาลงใหม่ครับ
--------------------------------------------------------------
เมื่อปลายปี ๔๘ ได้มีโอกาสเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ สำนักปฏิบัติวิปัสสนา วัดขามสะแกแสง ต. พะงาด อ. ขามสะแกแสง จ. นครราชสีมา โทร. ๐๔๔ - ๓๘๕๒๓๘ , ๓๘๕๑๕๖


โดยมีพระมหาประกอบ ปภงฺกโร เป็นพระวิปัสสนาจารย์

และได้รับแจกหนังสือ ความรู้เบื้องต้นก่อนอารเจริญสติปัฏฐาน

เลยคัดลอกบางส่วนมาฝากชาวลานธรรมครับ

หลักของสมถะและวิปัสสนา

หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย
หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ
หลักของวิปัสสนา ต้องการให้ ปัญญา รู้เหตุผลตามความจริงและสภาวธรรม ไม่ใช่ต้องการให้นิ่ง หรือ สงบ หรือ สุขสบาย แต่ต้องการให้ความจริงของธรรมชาติ ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์เท่านั้น
หลักของปัญญาในทางที่ถูกต้องนั้น ยิ่งเพ่งยิ่งรู้ ยิ่งเพ่งอารมณ์ที่เป็นความจริงได้มากเท่าใด ปัญญาก็จะยิ่งรู้เหตุผลที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ยิ่งเกิดความเห็นถูกมากยิ่งขึ้นเท่าใด ความสงสัยและความเห็นผิด ก็จะยิ่งหมดไปเท่านั้น กิเลส คือ ความเห็นผิดและความสงสัย ถูกละไปหมดเท่าใด จิตใจก็จะบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสมากขึ้นเท่านั้น
ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นชื่อของปัญญา ที่รู้ความจริง แล้วละกิเลสให้บริสุทธิ์หมดจดได้ นี่คือหลักการของ วิปัสสนา

สมถะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาอย่างไร ?

สมถภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สงบจากกิเลสนิวรณ์ มิใช่เป็นทางปฏิบัติเพื่อพ้นความทุกข์โดยตรง ทั้งยังไม่เป็นเหตุให้เข้าถึงอริยสัจ ๔ ประการ เช่น การปฏิบัติของท่านอาฬารดาบส กาลมโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ที่สำเร็จอรูปฌาน ถึงอากิญจัญญายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเคยสอนการทำฌานแก่พระพุทธเจ้ามาก่อน ก็ยังไม่บรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะสมถะไม่อาจหยั่งสู่สภาวะของรูปนามตามความเป็นจริง และไม่อาจทำลายความเห็นผิดที่คิดว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน เป็นเราได้
เมื่อไม่รู้ว่า รูปนาม ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์ เพราะไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีอยู่ที่ รูปนาม แต่พระพุทธองค์ประสงค์จะอนุเคราะห์แก่บรรดาฌานลาภีบุคคล ที่เคยเจริญสมถภาวนามาจนสำเร็จฌานชำนิชำนาญแล้ว ก็ให้ยกองค์ฌานคือ สภาวะของ นามธรรม มีวิตก วิจาร ปิติ สุข (เวทนา) เอกัคคตา (สมาธิ) ขึ้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาโดยต้องออกจากฌานเสียก่อน และมีความชำนิชำนาญในวสี ๕ ประการด้วย นามธรรมที่เป็นองค์ฌานเหล่านี้ มีสภาพธรรมที่เป็นความจริง จึงจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้ปรากฏได้
อนึ่ง ผู้เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบ ข่มกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว แม้ยังไม่สำเร็จฌานหรือยังไม่ชำนาญในฌาน แต่การที่สงบจากกิเลสนิวรณ์ ก็เป็นปัจจัยช่วยการปฏิบัติวิปัสสนาให้สะดวกขึ้นได้ เพราะอาศัยกิเลสนิวรณ์สงบลง จึงเป็นปัจจัยให้ปัญญารู้นามรูป ตามความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาจึงได้แสดงฌานเป็นบาทของวิปัสสนาไว้ โดยหมายถึงการได้ฌานแล้ว จึงมาเจริญวิปัสสนาต่อไป หรือหมายถึง เมื่อเจริญสมถภาวนาจนจิตสงบจากกิเลสนิวรณ์แล้วจึงมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อ ไป เรียกผู้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยอาศัยสมถะนี้เป็นบาทว่า สมถยานิกกะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่า หากไม่ทำสมถกรรมฐานเสียก่อนแล้ว วิปัสสนาย่อมเกิดไม่ได้ ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญา ที่เห็นรูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้ใดเมื่อได้ศึกษารูปนามตามนัยปริยัติแล้ว จะยกรูปนามสู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยตรงก็ได้ เรียกผู้นั้นว่า วิปัสสนายานิกกะ
แต่ในปัจจุบันนี้หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยากเพราะจิตใจของ บุคคลสมัยนี้เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้
ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

ความแตกต่างระหว่างสมถะ กับวิปัสสนา

๑. โดยปรารภผล
สมถะ เพ่ง เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง

๒. โดยอารมณ์
สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นส่วนมากเพราะต้องการความมั่นคง
วิปัสสนา ต้องมีรูปนาม เป็นอารมณ์ เพราะต้องเป็นอารมณ์ที่มีการเกิด – ดับ ตรงตามธรรมชาติที่เป็นความจริง

๓. โดยสภาวธรรม
สมถะ มีสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิก ที่ให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์
วิปัสสนา มีปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๔. โดยการละกิเลส
สมถะ ละกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส
วิปัสสนา ละกิเลสอย่างละเอียด อนุสัยกิเลส

๔. โดยอาการที่ละกิเลส
สมถะ ละด้วยการข่มไว้ เป็น วิกขัมภนปหาน
วิปัสสนา ละด้วยการขัดเกลาเป็นขณะ ๆ เป็น ตทังคปหาน

๕. โดยอานิสงส์
สมถะ ให้อยู่เป็นสุขด้วยการข่มกิเลส และให้ไปเกิดในพรหมโลก
วิปัสสนา เพื่อละวิปลาสธรรม และเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด
-------------------------------------------------------------------------------
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
เมื่อปลายปี ๔๘ ได้มีโอกาสเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ สำนักปฏิบัติวิปัสสนา วัดขามสะแกแสง ต. พะงาด อ. ขามสะแกแสง จ. นครราชสีมา โทร. ๐๔๔ - ๓๘๕๒๓๘ , ๓๘๕๑๕๖


โดยมีพระมหาประกอบ ปภงฺกโร เป็นพระวิปัสสนาจารย์

และได้รับแจกหนังสือ ความรู้เบื้องต้นก่อนอารเจริญสติปัฏฐาน

เลยคัดลอกบางส่วนมาฝากชาวลานธรรมครับ

หลักของสมถะและวิปัสสนา



สวัสดียามค่ำครับคุณอโศกะ

พยายามหาสิ่งผิดมาสนับสนุนสิ่งผิดของคุณจังเลยนะครับ
พยายามหาความรู้จากคนที่รู้มาผิด เข้าใจมาผิดมาสนับสนุนสิ่งที่คุณอโศะกรู้ผิด เข้าใจมาผิด เป็นบาปเป็นกรรมทั้งคู่เลยนะครับ


หาพระไตรปิฎกมาสนับสนุนสิครับ ถูกต้องแน่นอนกว่ากันครับ


อย่าทำบาปทำกรรมกับชาวพุทธต่อไปเลยครับ
เตือนมาด้วยความหวังดีครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3685_resize_resize.JPG
100_3685_resize_resize.JPG [ 67.7 KiB | เปิดดู 3915 ครั้ง ]
tongue อะโห พุทโธ อะโหธัมโม อะโหสังโฆ

พุทโธ เมนาโถ

ธัมโมเมนาโถ

สังโฆเมนาโถ

กัลยาณะ ครุอุปั๙ฌาย์อาจาริโย เมนาถัง

น่าเวทนาจัง ที่คุณมหาราชันย์ไม่อ่านให้ดีว่า คำสอนของอรรถกถาจารย์ที่ยกมานั้น ไพเราะเพราะพริ้ง งามพร้อม ลึกซึ้ง ในสภาวะ และเป็นภาษาสามัญธรรมดา ง่ายในการเข้าใจ เป้นเมตตาและกรุณาของครูบาอาจารย์ที่มาทำคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นด้วยอรรถาธิบาย แต่ผู้ยึดมั่น ถือมั่นในปริยัติ ประยุคธรรมสู่การปฏิบัติจริงไม่เป็น มาเห็นและวินิจฉัยว่าเป็นคำสอนที่ผิด


แล้วอีกประเด็นหนึ่งที่จะวิเคราะห์ตามธรรมสภาวะ ให้คุณมหาราชันย์ดูเป็นตัวอย่าง ว่าการนำปริยัติประยุกต์ใช้ นำไปสู่การปฏิบัติ เขาทำกันอย่างไร

มหาราชันย์ เขียน:

คนกล้าหาญคือคนที่ต่อสู้ ประหัตประหารกับศัตรูครับ
การทรงฌานเปรียบเสมือนการถืออาวุธคอยประหัตประหารศัตรูครับ
ศัตรูมาเมื่อไหร่ก็ลงมือประหัตประหารศัตรูนั้นทันทีครับ
ถ้าผมไม่กล้าหาญต่อสู้กับนิวรณ์ 5 และกามสัญญาจนประสบชัยชนะได้ ผมจะบรรลุทุติยฌานได้อย่างไร ??


อโศกะวิจารณ์

ยิ่งแสดงความเห็นมากและนานไป คุณมหาราชันย์ได้หลงเปิดเสื้อให้คนอื่นเขาเห็นหลังเสียแล้วนะครับ

การแสดงความเห็นของคนกล้าหาญที่คุณมหาราชันย์กล่าวอวดอ้าง ตามอ้างอิงข้างบนนี้นั้น
เป้นการแสดงภูมิปฏิบัติ (ไม่ใช่ภูมิปริยัตินะครับ) ที่คุณมหาราชันย์มีอยู่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ผมจะวิเคราะห็ให้ฟังตามธรรมดังนี้


โดยอภิธรรม 1 ขณะชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับ เปลี่ยนแปลงไปนับจำนวนครั้งแทบจะไม่ถ้วน ที่พอเทียบเคียงได้ทางวิทยาศาสตร์ ในธรรมมะบรรยายในสำนักของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ท่านกล่าวไว้ว่า นักวิทยาศาสตรค้นพบและสร้างเครื่องมือนับความเร็วของอนุภาคไฟฟ้าที่เกิดดับภายใน 1 วินาฑี เรียกว่า บับเบิ้ลแชมเบอร์ เครื่องมือนี้สามารถวัดได้ว่า ใน 1 วินาฑี อนุภาคไฟฟ้าในกายของมนุษย์นี้ เกิด - ดับ ได้เท่าากับ 1 เติมด้วย เลขศูนย์ 22 ตัว ครั้ง จิตก็น่าจะเกิดดับด้วยความเร็วประมาณนี้ มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่นับได้ทัน

การที่คุณมหาราชันย์ไปตั้งรับ ตั้งรบไว้ที่ ฌาณ 2 นั้น ไม่ทันกิน และไม่ทันการหรอกครับ คุณมหาราชันย์ จะไม่ทันกับปัจจุบันธรรม หรือ ปัจจุบันอารมณ์อย่างแน่นอน

ดังนั้นความเห็นสภาวธรรม สภาวอารมณ์ทั้งหลาย เพื่อจะนำมาเจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไป ของคุณมหาราชันย์ จึงเป็นการทำงานกับอดีตอารมณ์ไปเสียหมด อดีตทั้งหลายแก้ไขไม่ได้ เขาผ่านไปแล้ว อนาคตก็แก้ไขไม่ได้ มีแต่จะป้องกัน ที่ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์นั้นจึงจะแก้ไขได้

พุทธศาสนา คำสอนของพระพุทธเจ้า หรือชาวพุทธที่ปฏิบัติธรรมเป็น เขาจะให้ความสำคัญกับ ปัจจุบันอารมณ์ หรือปัจจุบันธรรม มากที่สุดครับ ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียใหม่นะครับท่านมหาราชันย์

ความที่สติ ปัญญาไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ หรือไม่ใกล้ปัจจุบันอารมณ์มากที่สุดนั้น จะทำให้เกิดวิปัสสนึก มิใช่วิปัสสนา


ข้อสังเกตที่สำคัญที่ทุกท่านอาจนำไปพิสูจน์ได้ทันทีคือ

ถ้าสติ ปัญญา ไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ ความคิดนึก หรืออุทัจจะ จะเกิดขึ้น ถ้าสติ ปัญญาทันปัจจุบันอารมณ์ได้ดี จะไม่มีความคิด นึก จะมีแต่สภาวะแสดงอยู่โดยธรรมชาติ ให้ สติ ปัญญาได้ดู ได้เห็น ได้รู้ เป็น ปรมัตถ์ เห็นปรมัตถ์ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เป็นปรมัตถ์ รูป วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร เป็นปรมัตถ์ เมื่อปรมัตถ์ เห็นปรมัตถ์ ก็จะได้ปรมัตถ์ เป็นปรมัตถ์ ในที่สุด

ความนัยอันนี้คุณมหาราชันย์คงจะหมดโอกาสที่จะเข้าใจเสียแล้วในชาตินี้ เพราะไปติดยึดแน่นเหลือเกินกับสมมุติบัญญัติที่ว่า

ปรมัตถธรรม มีแต่ มัคจิต ผลจิต เท่านนั้น นอกนั้นถือว่าผิด ไม่ใช่

:b34:

ถ้าเป็นอย่างนี้ก็คงไปอ่านหนังสือ ปรมัตถธรรม ของท่านอาจารย์ประเดิม กมโล จากสำนักวิปัสสนาวัดสร้อยทองไม่รู้เรื่องเป็นแน่ และก็คงพาลไปถึงคำสอนของอรรถกถาจารย์จำนวนมากที่ท่านใช้สมมุติบัญญัติ คำว่า "ปรมัตถธรรม"กันอย่างแพร่หลาย เป็นปกติในภาษาธรรมธรรมดา ของสามัญชนชาวพุทธ


"สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ" ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น นะครับ ท่านมหาราชันย์และพุทธบริษัททั้งหลาย

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ชัดเจนแล้วว่า พระองค์ทรงเป็นเพียงผู้ชี้ทาง การเดินทาง กาไปถึงที่หมาย และการได้รับผล เป็นเรื่องของปัเจกชน จะต้องทำเอาเอง พระองค์จะมาช่วยอุุ้้ม รุนก้น จูงมือผู้คนเข้าพระนิพพานนั้นย่อมเป็ดนไปไม่ได้

ธรรมมะทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ นั้นเป็นเพียงเครื่องช่วยชี้บอกทาง มิใช่ยาที่ต้มกินแล้วจะได้ถึงพระนิพพาน เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัททั้งหลาย จะได้ศึกษา เลือกเฟ้น จับประเด็น หลักคำสอน ปริยัติทั้งหมดนั้น ให้ได้ หัวใจคำส onion s001 Kiss อน อันจะนำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติจริง ตามความเข้าใจ ความถนัด ของผู้ศึกษาแต่ละท่านแต่ละคน ต้องจับประเด็น และสรุปออกมาเป็นคำพูดสั้นๆ เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้ง่าย ให้เป็นแบบฉบับเฉพาะตน แต่ไม่ออกนอกกรอบแห่งสัจจธรรม

:b8:

ท่านมหาราชันย์ จับประเด็นและสรุปคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหรือเปล่าครับ ถ้าสรุปได้แล้วกรุณามีเมตตา นำมาเขียนแสดงไว้ในลานธรรมจักรนี้เป็นธรรมทานนะครับ

แต่อันที่สรุปวิธีปฏิบัติว่า ตั้งอยู่ในฌาณ 2 สู้ หรือเจริญวิปัสสนาภาวนาต่อนี้ ไม่ค่อยถูกธรรมดีนะครับ อย่างที่ท่านทำนี้มันเป็นวิชาพราหมณ์ วิชาฤาษี ผิดวิสัยของพุทธบุตร

หรือท่านมีปณิธาน ตั้งปราถนาจะบรรลุธรรมโดย เจโตวิมุติ ถ้าปราถนาอย่างนั้นก็แล้วกันไป ไม่ต้องคุยกันมาก เพราะใช้ถนนคนละเส้น คุยกันไม่รู้เรื่องหรอกครับ ถ้าจะคุยกัน ก็เป็นธรรมทัศนะ ประดับสติปัญญา คบหากันไว้ เผื่อไปพบเจอกัน ใน สกิทาคามีผล อนาคามีผล หรือ อรหัตตผล จะได้พอรู้จักกัน นะครับ

ยาวมากแล้วครับวันนี้

สาธุ อนุโมทนากับทุกๆท่านที่มาสนใจอ่านและเยี่ยมกระทู้นี้ครับ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน
มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบ
มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้."

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
"ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน
มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบ
มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้."
"ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน
มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบ
มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้."


------------------------------------------------------------

มาจนถึงปัจจุบันนี้ไม่มีพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านเช่นนั้น จึงไม่มีเห็นแบบอย่างที่แท้จริง(หรือมีก็หายากเต็มที) เหลือแต่พระสงฆ์ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ไม่รู้จะหาแบบอย่าง ที่พึ่งอาศัย อย่างไว้ใจได้ที่ไหนบ้าง เหลือแต่พระไตรปิฎก พอที่จะเป็นรากฐาน ให้เป็นแบบอย่าง ให้เป็นที่พึ่งอาศัย แต่ก็อ่านให้เข้าใจได้ยากพอสมควร จนไม่มีใครอยากอ่านกันซักเท่าไร ไม่เอาเป็นที่อ้างอิง เชื่อแต่คำสอนชั้นหลังๆ ขาดการวิเคราะห์ เพราะไม่เคยอ่านของจริง ไม่ค้นคว้า ไม่ไตร่ตรอง สัญญาที่มีจึงเป็นกามสัญญา

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
น่าเวทนาจัง ที่คุณมหาราชันย์ไม่อ่านให้ดีว่า คำสอนของอรรถกถาจารย์ที่ยกมานั้น ไพเราะเพราะพริ้ง งามพร้อม ลึกซึ้ง ในสภาวะ และเป็นภาษาสามัญธรรมดา ง่ายในการเข้าใจ เป้นเมตตาและกรุณาของครูบาอาจารย์ที่มาทำคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นด้วยอรรถาธิบาย แต่ผู้ยึดมั่น ถือมั่นในปริยัติ ประยุคธรรมสู่การปฏิบัติจริงไม่เป็น มาเห็นและวินิจฉัยว่าเป็นคำสอนที่ผิด



สวัสดียามค่ำครับคุณอโศกะ

คำสอนของครูบาอาจารย์ของคุณอโศกะที่ยกมานี่แหละครับ ที่สอนผิด รู้มาผิด เข้าใจมาผิด นำมาจากตำราแต่งเอง ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คำสอนของพระอรหันต์สาวกครับ


อ้างเมตตานำยาพิษมาให้ท่านผู้อ่าน และสอนวิปัสสนาผิดทางมัคคผลในสำนักที่คุณอโศกะกล่าวถึงครับ

คำสอนผิด ๆ อย่างนี้ผมผ่านมาเยอะแล้วครับ เข้าใจง่ายผมยินดีสนับสนุนครับ แต่เข้าใจนี่ผมไม่ยอมรับครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
การที่คุณมหาราชันย์ไปตั้งรับ ตั้งรบไว้ที่ ฌาณ 2 นั้น ไม่ทันกิน และไม่ทันการหรอกครับ คุณมหาราชันย์ จะไม่ทันกับปัจจุบันธรรม หรือ ปัจจุบันอารมณ์อย่างแน่นอน

ดังนั้นความเห็นสภาวธรรม สภาวอารมณ์ทั้งหลาย เพื่อจะนำมาเจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไป ของคุณมหาราชันย์ จึงเป็นการทำงานกับอดีตอารมณ์ไปเสียหมด อดีตทั้งหลายแก้ไขไม่ได้ เขาผ่านไปแล้ว อนาคตก็แก้ไขไม่ได้ มีแต่จะป้องกัน ที่ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์นั้นจึงจะแก้ไขได้

พุทธศาสนา คำสอนของพระพุทธเจ้า หรือชาวพุทธที่ปฏิบัติธรรมเป็น เขาจะให้ความสำคัญกับ ปัจจุบันอารมณ์ หรือปัจจุบันธรรม มากที่สุดครับ ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียใหม่นะครับท่านมหาราชันย์

ความที่สติ ปัญญาไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ หรือไม่ใกล้ปัจจุบันอารมณ์มากที่สุดนั้น จะทำให้เกิดวิปัสสนึก มิใช่วิปัสสนา



สวัสดีครับคุณอโศกะ

ความเห็นนี้ของคุณอโศกะบ่งบอกบอกความเบาปัญญาของคุณอย่างชัดเจนเลยครับ

ฌานนั้นมีฌานที่เป็นเหตุและฌานที่เป็นผลครับ
ฌานที่เป็นเหตุนั้นมีเพียงขณะจิตดวงเดียวเท่านั้นครับ

ฌาน 2 ที่ผมทรงไว้เป็นฌานที่เป็นผลครับ ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่วิปัสสนาฌาน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิจิตครับ เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารของผมในปัจจุบันเท่านั้นครับ

ผมทำเหตุแห่งสมถะวิปัสสนามาแล้ว
เสร็จภาระกิจในขั้นเหตุนั้นแล้ว จึงมาเสวยผลครับ


ปัจจุบันขณะของผมคือการเสวยผลแห่งปีตี สุขในฌาน
ข้อความนี้ของคุณอโศกะแสดงถึงว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิด แต่คุณไม่ยอมรับ ไม่รู้จักเหตุ ไม่รู้จักผลคุณก็ไม่ยอมรับ


ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องเหตุในการเจริญมัคค 4 ในกระทู้นี้เลยครับ
เป็นการคิดเอง เออเองผิด ๆ ของคุณอโศกะเพียงคนเดียว


ถามผมสักคำสิครับ ว่าฌานที่ทรงไว้นั้นเป็นฌานเหตุ หรือฌานผล
ใช้วิชชาหรือปัญญาบ้างนะครับ อย่าใช้ อวิชชาอยู่เลยครับ


ไม่มีใครสามารถทำเหตุอย่างเดียวตลอดปีตลอดชาติได้หรอกครับ ต้องเสวยผลวิบากกันบ้างครับ
ที่นี่ศาสนาพุทธนะครับ สอนเรื่องเหตุและผล สอนเรื่องกรรมและวิบากครับคุณอโศกะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 181 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร