วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3683_resize_resize.JPG
100_3683_resize_resize.JPG [ 56.79 KiB | เปิดดู 3287 ครั้ง ]
tongue เจริญสุข เจริญธรรมครับ คุณเช่นนั้น คุณwalaiporn และทุกๆท่าน เป็นพิเศษสำหรับท่านมหาราชันย์

เช่นนั้น เขียน

ถ้า รูป - นาม ไม่แยกจากกัน การภาวนานั้นจะเป็น "วิปัสสนึก" ทันที มิใช่ "วิปัสสนาภาวนา"

รูป ที่เรียกว่า เป็นท่าน "อโศกะ"........... คืออะไร
อาศัยอะไร จึงเกิดรูปนั้น

นาม ที่เรียกขานว่า เป็นท่าน "อโศกะ" ......... คืออะไร
อาศัยอะไร จึงเกิด นามนั้น


อโศกะ ตอบ

อโศกะ เป็นวจีวิญญัติ รูป อาศัย อวิชชา เป็นเหตุเกิด

นามที่เรียกขาน อโศกะ เป็นสมมุติบัญญัติ อาศัยก้อนรูปขันธ์และอุปาทานเกิด

รูป - นาม สำหรับการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ต้องเข้าใจในอีกนัยยะหนึ่งครับ

รูป = สิ่งที่เกิดขึ้นให้ นาม รู้
รูป หมายถึง สิ่งที่เสื่อมสลาย เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เป็น 1 ในขันธ์ 5
รูป เป็นปรมัตถธรรม มีอยู่ 28 อย่าง


นาม = สิ่งที่ไปรู้รูป หมายถึง นามขันธ์ อันประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นาม เป็นปรมัตถ์ธรรม หมายถึง จิต 89 ดวง เจตสิก 51 ดวง และ นิพพาน 1

เวลาปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา รูปที่ปรากฏขึ้นมาให้รู้จะเป็นประสาทรูป คือรูปที่เกิดทางอายตนะทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย มี รูปลักษณะสี แสง เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส

ส่วนรูปอีกกลุ่มหนึ่งนั้น สัมผัสรู้เป็นเวทนาที่จิต คือ มหาภูตรูป 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ

ลักษณะธาตุดิน คือ หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม

ลักษณะของธาตุไฟ คือ ร้อน หนาว เย็น อุ่น

ลักษณะของธาตุลม คือ เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง

ลักษณะของธาตุน้ำ คือ ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุมกันเข้า

สภาวะรูปเหล่านี้จะปรากฏขึ้นเมื่อมีผัสสะของอายตนะทั้ง 6 เป็นเหตุทำให้เกิด เวทนา

เวทนาจะเป็นเหตุให้เกิด ตัณหา อันเป็น สมุทัย ทำให้เกิด ทุกข์ อุปาทาน กัมมะภวะ ชาติ มรณะ ไปตามวงแห่งปฏิจจสมุปบาท

การทำวิปัสสนาภาวนา จะต้องเอา สติ ปัญญา ไปเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา ที่ช่วงต่อ ระหว่าง เวทนา กับ ตัณหา ซึ่งจะเป็นช่องทางหักออกจากวงโซ่แห่งปฏิจจสมุปบาทได้ง่ายที่สุด


ขณะทำวิปัสสนาภาวนา ถ้าสติ ปัญญา สมาธิ มีกำลัง คมกล้า รูป - นาม แยกกันได้ดี
สภาวะธรรมภายใน จะประกอบด้วย

รูป ทางอายตนะทั้ง 6

นาม เวทนา คือความรู้สึกต่างๆ

นามอุปาทาน ว่าเป็น อัตตา สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา

นามสติ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ (สตินทรีย์เจตสิก)

นามปัญญา เห็น ดู อารมณ์ (สัมมาทิฐิ ปัญญินทรีย์เจตสิก)

นามปัญญา สังเกต พิจารณา อารมณ์ (สัมมาสังกัปปะ ปัญญินทรีย์เจตสิก)

นามปัญญา รู้ อารมณ์ (ปัญญินทรีย์เจตสิก)

สติ ปัญญา ระวังที่เวทนา อัตตา เกิดไม่ได้ ยินดี ยินร้ายไม่มี ตัณหาไม่เกิด อุปาทานก็ ดับ ดังนี้


:b8:
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณอโศกะ


ยังคงนำสิ่งที่รู้มาผิด เข้าใจมาผิด
มาแสดงคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไปได้เหนียวแน่นนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณเช่นนั้น


จะรู้เรื่องได้ไหมครับ


ผมมาให้กำลังใจเฉย ๆ ครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 12:55
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นแนวคิดที่ดีเหมือนกันนะครับสำหรับรูปแบบที่นำแสดง แต่เข้าใจไม่ง่ายเลยครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




girl88.gif
girl88.gif [ 34.65 KiB | เปิดดู 3263 ครั้ง ]

รูป คือ สิ่งที่มากระทบอายตนะ

นาม คือ สิ่งที่จิตรู้

ก็แล้วแต่ศัพท์บัญญัตินะ ศึกษามากก็มีความรู้มานำเสนอมาก
ส่วนใครจะเชื่อใคร ล้วนเกิดจากเหตุที่ได้กระทำกันมา
ใครจะมีความรู้อะไรยังไงก็นำเสนอไปเถอะ
ใครที่ไม่เห็นด้วยก็นำเสนอไปเถอะ
ดีออก ความรู้หลากหลายดี :b41:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_1987_resize.JPG
100_1987_resize.JPG [ 97.75 KiB | เปิดดู 3243 ครั้ง ]
tongue tongue สวัสดี มีความสุขและอิ่มเอิบในธรรม ถึงคุณ Walaiporn คุณภยังค์ ท่านมหาราชันย์
อนุโมทนากับจิตเป็นกลางของคุณWalaiporn จากค.ห.ที่อ้างอิงมานี้ และสวัสดีผู้ใฝ่ธรรมทุกท่านครับ

Walaiporn เขียน

อ้างคำพูด:
รูป คือ สิ่งที่มากระทบอายตนะ

นาม คือ สิ่งที่จิตรู้

ก็แล้วแต่ศัพท์บัญญัตินะ ศึกษามากก็มีความรู้มานำเสนอมาก
ส่วนใครจะเชื่อใคร ล้วนเกิดจากเหตุที่ได้กระทำกันมา
ใครจะมีความรู้อะไรยังไงก็นำเสนอไปเถอะ
ใครที่ไม่เห็นด้วยก็นำเสนอไปเถอะ
ดีออก ความรู้หลากหลายดี


คุณภยังค์มาใหม่ อาจจะดูเหมือนว่ายาก ไม่เป็นไรครับ ธรรมมะจากแผ่นภาพ เป็นอีกธรรมทัศนะหนึ่ง ดูไป สังเกตการณ์ไปนะครับ ถ้าเข้าใจแผ่นภาพได้จะง่ายและลัดสั้นมากขึ้นเพราะสามารถมองเห็นภาพรวมและผลสรุปได้ในภาพพๆเดียว ส่วนใดมีประโยชน์ก็คัดเก็บเอาไป ไม่มีประโยชน์ก็ทิ้งไว้เป็นธรรมทัศนะ ว่าความคิดเห็นทางธรรมอย่างนี้ก็มีเหมือนกัน

สำหรับท่านมหาราชันย์ เขียนน้อยแล้ว และเริ่มยอมรับความดื้อของ อโศกะ ท่านจะได้มองดูด้วยความเป็นกลางๆ ด้วยอุเบกขาญาณ กับค.ห. ลักษณะนี้มากขึ้น จะได้เปิดโอกาสให้ได้เห็นความคิดหลากหลายทางธรรมมากขึ้นเป็นธรรมทัศนะ (มีหลายท่านเจอเบรกแรงๆจากท่านมหาราชันย์เลยฝ่อ หายไปจากลานธรรมจักร หรือไม่กล้าแสดงความเห็นมาก ก็มีนะครับ)


ความรักและห่วงใยพระพุทธศาสนาเป็นกุศลและสิ่งที่ดี แต่ถ้าห่วงมากจะเป็นเหมือนการเลี้ยงลูกของพ่อแม่คนไทย ที่คอยประคบประหงมลูก ระวังป้องกัน ห้าม ช่วยทำแทน ไปเสียทุกอย่าง ไม่ยอมให้ลูกมีประสบการณ์จริง ช่วยตัวเอง ด้วยตนเองเสียแต่เล็กๆ เลยกลายเป็นลูกแหง่จนโต ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆที่ดี ผิดกับฝรั่งหรือชาวไทยภูเขา ม้ง แม้ว อะข่า ละหู่ มูเซอร์ เลี้ยงลูก ซึ่งเขาจะฝึกให้ลูกช่วยตัวเอง เผชิญและแก้ไขปัญหาด้วยตนเองแต่เล็กๆ แล้วค่อยๆ พัฒนาความรู้ความสามารถขึ้นมาตามธรรมชาติของเขา ลูกฝรั่ง และชาวไทยภูเขาจึงแข็งแกร่ง ช่วยตัวเองได้ดีโดยธรรมชาติ
:b8:
อุปมาคล้ายพระป่า กับพระบ้าน ในเมืองไทยเรานะครับ ประสบการณ์ของพระป่า เทศน์ของพระป่า จากประสบการณ์จริง น่าฟัง น่าประทับใจ เข้าใจง่าย มีมากมายหลายท่าน บางท่านบางรูปแสดงธรรมดูไม่เข้าตำรา แต่พอนำมาคิดพิจารณาลึกๆ ละเอียดๆ กลัับเป็นธรรมมะชั้นยอด ในรูปแบบ สื่อภาษาง่ายๆ จนคาดไม่ถึง

ดังนั้นจึงอย่าพึ่งด่วนตัดสินอะไรเร็วเกินไป วิเคราห็ดูให้ดี ให้ลึกซึ้งก่อนในทุกเรื่อง อาจมีสิ่งดีๆซ่อนอยู่ ในสิ่งที่ไม่เหมือนในตำราก็ได้นะครับ

เชิญชวนติดตามโครงการธรรมมะจากแผ่นภาพต่อไปอีกนะครับ ยังมีอีกหลายเวอร์ชั่นครับ ค่อยๆทะยอยออกมาครับ

ขอให้มีความสุขและเจริญในธรรมทุกๆท่านครับ



:b27: smiley cool s001 Lips

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3447_resize.JPG
100_3447_resize.JPG [ 40.53 KiB | เปิดดู 3239 ครั้ง ]
จากเมตตาของคุณโคตรภู
:b8:
พระไตรปิฎก เล่มที่ 01

พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เวรัญชกัณฑ์
เรื่องเวรัญชพราหมณ์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์
สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์
ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณะโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล
ประทับอยู่ ณ บริเวณต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้ว
อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
แม้เพราะเหตุนี้ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบ
โลกแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็น
ศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพระ
ผู้มีพระภาคแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด
ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทพ
และมนุษย์ ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็น
ปานนั้น เป็นความดี.
เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
[๒] หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิงเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เวรัญชพราหมณ์นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาค
ว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณะโคดม ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่
ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อที่ข้าพเจ้าทราบมานี้
นั้นเป็นเช่นนั้นจริง อันการที่ท่านพระโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้
ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะนี้นั้น ไม่สมควรเลย.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควร
ลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะว่า ตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญ
บุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดตกไป.
ว. ท่านพระโคดมมีปกติไม่ไยดี.
ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมมีปกติไม่ไยดี
ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะความไยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น ตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีก
ต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมมีปกติไม่ไยดี ดังนี้ชื่อว่า
กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ.
ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้
ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว
ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็น
ธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่
ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมกล่าวการไม่ทำ.
ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวการไม่ทำ
ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการ
ไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวการ
ไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมกล่าวความขาดสูญ.
ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวความขาดสูญ
ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความ
ขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดม
กล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมช่างรังเกียจ.
ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างรังเกียจ ดังนี้
ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่ง
สภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างรังเกียจ
ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมช่างกำจัด.
ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างกำจัด ดังนี้
ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดสภาพ
ที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่างนี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างกำจัด ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมช่างเผาผลาญ.
ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างเผาผลาญ ดังนี้
ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่า
เป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดราก
ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนช่างเผาผลาญ พราหมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งควรเผาผลาญ
ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง
มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างเผาผลาญ
ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมไม่ผุดเกิด.
ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้
ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดราก
ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนไม่ผุดเกิด พราหมณ์ การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ ตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีก
ต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่า

onion s001

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณอโศกะ
ขอบคุณในคำอธิบาย เกี่ยวกับ รูป-นาม เนื่องกันกับ "อโศกะ"

อโศกะ เขียน:
ขณะทำวิปัสสนาภาวนา ถ้าสติ ปัญญา สมาธิ มีกำลัง คมกล้า รูป - นาม แยกกันได้ดี
สภาวะธรรมภายใน จะประกอบด้วย
รูป ทางอายตนะทั้ง 6
นาม เวทนา คือความรู้สึกต่างๆ
นามอุปาทาน ว่าเป็น อัตตา สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา
นามสติ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ (สตินทรีย์เจตสิก)
นามปัญญา เห็น ดู อารมณ์ (สัมมาทิฐิ ปัญญินทรีย์เจตสิก)
นามปัญญา สังเกต พิจารณา อารมณ์ (สัมมาสังกัปปะ ปัญญินทรีย์เจตสิก)
นามปัญญา รู้ อารมณ์ (ปัญญินทรีย์เจตสิก)
สติ ปัญญา ระวังที่เวทนา อัตตา เกิดไม่ได้ ยินดี ยินร้ายไม่มี ตัณหาไม่เกิด อุปาทานก็ ดับ ดังนี้


พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน หรือเปล่าว่า ให้วิปัสสนา เพื่อให้รู้ รูป-นามแยกออกจากกันว่า รูปก็ประการหนึ่ง นามก็ประการหนึ่ง

การเจริญวิปัสสนา ถ้าไม่อาจแยกรูป-นาม ออกจากกันได้ก็ไม่อาจเจริญวิปัสสนา ได้-หรือไม่?

ท่านอาศัยเหตุอะไร จึงเจริญวิปัสสนา
ท่านอาศัยเหตุอย่างไร จึงเจริญอนุปัสสนา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
(1)เวลาปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา รูปที่ปรากฏขึ้นมาให้รู้จะเป็นประสาทรูป คือรูปที่เกิดทางอายตนะทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย มี รูปลักษณะสี แสง เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส
(2)ส่วนรูปอีกกลุ่มหนึ่งนั้น สัมผัสรู้เป็นเวทนาที่จิต คือ มหาภูตรูป 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ

ลักษณะธาตุดิน คือ หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม

ลักษณะของธาตุไฟ คือ ร้อน หนาว เย็น อุ่น

ลักษณะของธาตุลม คือ เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง

ลักษณะของธาตุน้ำ คือ ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุมกันเข้า

สภาวะรูปเหล่านี้จะปรากฏขึ้นเมื่อมีผัสสะของอายตนะทั้ง 6 เป็นเหตุทำให้เกิด เวทนา

ชอบประโยคที่หยิบยกมาครับ ได้ใจความดี เกือบทุกสำนักจะพูดถึงหัวข้อนี้

----ข้อ1 หยิบมาใช้งาน โดยรู้เท่าทัน จะเป็นประโยชน์สูงสุดในการฝึกควบคุมจิต
----ส่วนข้อ2 รวมกันแล้วอยู่หมวดกายสัมผัสหรือร่างกายทั้งหมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
สำหรับท่านมหาราชันย์ เขียนน้อยแล้ว และเริ่มยอมรับความดื้อของ อโศกะ ท่านจะได้มองดูด้วยความเป็นกลางๆ ด้วยอุเบกขาญาณ กับค.ห. ลักษณะนี้มากขึ้น จะได้เปิดโอกาสให้ได้เห็นความคิดหลากหลายทางธรรมมากขึ้นเป็นธรรมทัศนะ (มีหลายท่านเจอเบรกแรงๆจากท่านมหาราชันย์เลยฝ่อ หายไปจากลานธรรมจักร หรือไม่กล้าแสดงความเห็นมาก ก็มีนะครับ)



อโศกะ เขียน:
รูป = สิ่งที่เกิดขึ้นให้ นาม รู้
รูป หมายถึง สิ่งที่เสื่อมสลาย เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เป็น 1 ในขันธ์ 5
รูป เป็นปรมัตถธรรม มีอยู่ 28 อย่าง

นาม = สิ่งที่ไปรู้รูป หมายถึง นามขันธ์ อันประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นาม เป็นปรมัตถ์ธรรม หมายถึง จิต 89 ดวง เจตสิก 51 ดวง และ นิพพาน 1





มหาราชันย์ เขียน:
สวัสดีครับคุณอโศกะ


ยังคงนำสิ่งที่รู้มาผิด เข้าใจมาผิด
มาแสดงคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไปได้เหนียวแน่นนะครับ




อ่านดี ๆ ครับคุณอโศกะ

ผมกล่าวว่าคุณแสดงธรรมผิดครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 00:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:

ใคร..จะทำปัญญา..ให้กล้า..ให้แข็ง..ให้คม..ได้..ผมก็ว่ามันดีนะ

:b32: :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 12 ธ.ค. 2009, 00:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 02:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาลับได้ด้วยวิธีเดียวค่ะ ถือศีล ทำสมาธิ คือการทำจิตให้นิ่งและสงบนั่นแหละค่ั แต่ต้องมีศีล บวกบุญที่สะสมมา มีกิเลสน้อยหน่อยหรือไม่มีกิเลสเลย ยิ่งได้ปัญญาเร็วค่ะ และเมื่อปัญญาโสดาบันได้ ปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆด้วยความเพียรพยายามอันบริสุทธิ์ ปัญญาก็ขยับเป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี เป็นอรหันต์ เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นพระมหาโพธิสัตว์ (ในหลวงเป็นพระมหาโพธิสัตว์แล้วค่ะ) แล้วก็พระนิพพานค่ะ

ปัญญาธรรมนั้นสุดยอดกว่าปัญญามนุษย์ ถ้าให้จุฬาภินันท์ไปแข่งคณิตศาสตร์โอลิมปิค จุฬาภินันท์ก็จะชนะค่ะ ปัญญาทราทำให้นักเรียนเรียนเก่งเป็นแบบนั้น คือ ความรู้ไหลจากหัสเองเลย ไม่ต้องคิดอะไร อยู่ๆก็รู้ก็เข้าใจเองซะเฉยเลย อะไรประมาณนั้นค่ะ

เพียรปฏิบัติค่ะ พยายามอย่าใส่กิเลส อย่าหวังอะไร บริสุทธิ์ใจเข้าไว้ ปัญญาจะมาหาเองในวันนึงค่ะ แต่อย่าไปสนว่าจะมาเมื่อไหร่ ถ้ามาแล้ว เราจะรู้ตัวเองค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 03:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 20:05
โพสต์: 60

แนวปฏิบัติ: พิจารณา......
ชื่อเล่น: ดุ๊กดิ๊กๆ
อายุ: 24
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
ขอขอบพระคุณที่แบ่งปันความรู้ความคิดเห็นกันนะครับ

ผมเองขอปฏิบัติตามคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ท่านทิ้งไว้ให้นะครับ
จะทางใดก็แล้วแต่ ย่อมปฏิบัติโดยตน ผลเกิดที่ตน รับรองผลโดยตน

:b8: :b8: :b8: เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3850_resize_resize.JPG
100_3850_resize_resize.JPG [ 18.71 KiB | เปิดดู 3180 ครั้ง ]
ทานเช่นนั้น เขียน

พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน หรือเปล่าว่า ให้วิปัสสนา เพื่อให้รู้ รูป-นามแยกออกจากกันว่า รูปก็ประการหนึ่ง นามก็ประการหนึ่ง

การเจริญวิปัสสนา ถ้าไม่อาจแยกรูป-นาม ออกจากกันได้ก็ไม่อาจเจริญวิปัสสนา ได้-หรือไม่?

ท่านอาศัยเหตุอะไร จึงเจริญวิปัสสนา
ท่านอาศัยเหตุอย่างไร จึงเจริญอนุปัสสนา

สวัสดี มีความสุข สบายใจครับ ท่านเช่นนั้น คุณอินทรีย์ 5 กบนอกกะลา คุณ Chulapinan & sabye
เป้นพิเศษสำหรับท่านมหาราชันย์ และผู้สนใจใฝ่ในธรรมทุกๆท่าน

ขอบคุณท่านมหาราชันย์มาเตือน กรุณาแก้ไขหน่อยนะครับ เจตสิกมี 52 ดวงครับ ไม่ใช่ 51 ดวง จิต มี 89 / 120 หรือ 121 ดวง รูป 28 นั้นถูกต้องแล้วครับ กับท่านมหาราชันย์ยังมีเรื่องสนทนากันอีกยาวครับ

วันนี้ขอสนทนากับท่านเช่นนั้นต่อก่อนนะครับ จาก ค.ห.ที่อ้างอิงข้างบน

:b27:
อโศกะตอบ

ถาม พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน หรือเปล่าว่า ให้วิปัสสนา เพื่อให้รู้ รูป-นามแยกออกจากกันว่า รูปก็ประการหนึ่ง นามก็ประการหนึ่ง

ตอบ ถูกต้องครับ รูป ก็อย่างหนึ่ง นาม ก็หลายอย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกันเป็นขันธ์ 5

แล้วที่สุดพระพุทธองค์ก็จะตรัสถามสาวกทั้งหลาย เสมอๆว่า

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

รูป นี้เที่ยงหรือไม่ ภิกษุ ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า (อนิจจัง)
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เที่ยงหรือไม่ ภิกษุ ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า (อนิจจัง)

แล้วต่อๆไปพระองค์ก็ตรัสถามในทำนองนี้ว่า

เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นอย่างไร ภิกษุ เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า (ทุกขัง)

ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์นั้น บังคับบัญชาได้หรือไม่ ภิกษุ ไม่ได้พระเจ้าข้า (อนัตตา) ดังนี้เป็นต้น

:b8:
ในปฏิบัติการวิปัสสนาภาวนา เมื่อ รูป - นาม แยก จากกันแล้ว ผู้ปฏิบัติ ก็จะได้เห็นหรือรู้ เหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิด นาม กับ รูป (ปัจจัยยปริคหะญาณ) ต่อจากนั้น ก็จะเห็นความเกิด - ดับ หรือ อนิจจัง ของ รูป - นาม อย่างหยาบๆ (สมสณญาณ) แล้วเห็น ความเกิด - ดับ หรือ อนิจจัง ที่ชัด ละเอียดขึ้น (อุธทัพยญาณ) จนจบอนิจจวิปัสสนาที่ ภังคญาณ จากนั้น ทุกขวิปัสสนา อีก 5 ญาณ ก็จะเกิดต่อตามลำดับขึ้นไปอีก จนถึง อนัตตวิปัสสนา อีก 6 ญาณ ดังนี้เป็นต้น

ถาม การเจริญวิปัสสนา ถ้าไม่อาจแยกรูป-นาม ออกจากกันได้ก็ไม่อาจเจริญวิปัสสนา ได้-หรือไม่?

ตอบ ก่อน รูป - นาม จะแยกกัน วิปัสสนาปัญญาก็ทำงานได้ แต่จะยังไม่เกิดญาณ จะเกิดแต่การชำระนิวรณ์ธรรม เพื่อ ทำให้พร้อมที่จะเกิดญาณ

ตัวอย่าง

เมื่อโยคาวจร ลงมือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เขาจะเริ่มต้นด้วยการ สอบศีล สำรวมศีล (ศีลสังวรณ์) สำรวม กาย วาจา ใจ (อินทรีย์สังวรณ์) จากนั้น บางท่านก็ชำระนิวรณ์ทั้ง 5 ด้วย สมถะภาวนา จนจิตควรแก่งาน หรือบางท่านก็ใช้วิปัสสนาภาวนาชำระนิวรณ์ตรงๆเลยทันที

วิปัสสนาภาวนาจะเริ่มต้นด้วยการที่ ผู้เจริญจะ มนสิการ ตั้งใจ โยนิโส ตั้ง สติ ปัญญา ขึ้นมา นั่ง (หรืออิริยาบถอื่น) เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ กำหนดใจ หมายใจไว้ที่ช่วงต่อระหว่างเวทนากับตัณหา โดยสังเกตรู้ที่ ผัสสะ

ไม่ช้าผัสสะ และนิวรณ์ธรรมก็จะเกิด วิปัสสนาปัญญาจะชำระนิวรณ์ ก่อน จนจิตนิ่ง ได้สมาธิ ความตั้งมั่นถึงระดับ (รู้ชีพจรชัด) รูป - นาม ก็จะแยกจากกัน วิปัสสนาญาณก็จะเริ่มต้นจากตรงนี้ครับ

:b12:
ถาม ท่านอาศัยเหตุอะไร จึงเจริญวิปัสสนา (ภาวนา)

ตอบ อาศัยเหตุ ต้องการหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร ความเวียนว่าย ตาย เกิด และขันธ์ 5 อันเป็นก้อนทุกข์ กองทุกข์นี้

ถาม ท่านอาศัยเหตุอย่างไร จึงเจริญอนุปัสสนา

ตอบ อนุ = ตาม ปัสสนา = ทัศนา = ดู แปลความหมายโดยรวม ตามดู ท่านเช่นนั้นคงหมายถึงตามดู สภาวธรรม หรือปรมัตถธรรม

:b27:
ที่ตามดู ก็ เพื่อให้ รู้ (ภาวนามยปัญญา) ให้รู้ธรรมตามความเป็นจริง ความจริงของสภาวธรรม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สำคัญมากที่ อนัตตา เพราะ อนัตตา เป็นคู่ปรับของ อัตตา หรือ สักกายทิฐิ อันเป็น เป้าหมายแรก (Impact point) ของการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ซึ่ง ต้องหมายไว้ที่ มรรค 1 โสดาปัตติมรรค อันจักทำลาย สักกายทิฐิเป็นอันดับแรก แล้ว วิจิกิจฉา สีลลัพพตปรามาส ก็จะดับตามเป็นผลพลอยได้ ดังนี้


เจริญสติ เจริญปัญญา เจริญสุข เจริญธรรม ทุกท่านนะครับ สาธุ :b8:
Lips onion

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
รูป = สิ่งที่เกิดขึ้นให้ นาม รู้
รูป หมายถึง สิ่งที่เสื่อมสลาย เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เป็น 1 ในขันธ์ 5
รูป เป็นปรมัตถธรรม มีอยู่ 28 อย่าง

นาม = สิ่งที่ไปรู้รูป หมายถึง นามขันธ์ อันประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นาม เป็นปรมัตถ์ธรรม หมายถึง จิต 89 ดวง เจตสิก 51 ดวง และ นิพพาน 1

ขอบคุณท่านมหาราชันย์มาเตือน กรุณาแก้ไขหน่อยนะครับ เจตสิกมี 52 ดวงครับ ไม่ใช่ 51 ดวง จิต มี 89 / 120 หรือ 121 ดวง รูป 28 นั้นถูกต้องแล้วครับ กับท่านมหาราชันย์ยังมีเรื่องสนทนากันอีกยาวครับ




สวัสดีครับคุณอโศกะ


ความรู้เรื่องรูปที่ถูกต้องเป็นอย่างนี้ครับ



[๕๑๔] รูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุทั้งนั้น ไม่มีเหตุทั้งนั้น วิปปยุตจากเหตุทั้งนั้น เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งนั้น เป็นสังขตธรรมทั้งนั้น เป็นรูปธรรมทั้งนั้น เป็นโลกิยธรรมทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของคันถะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของโอฆะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของโยคะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของปรามาสทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอุปาทานทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น เป็นอัพยากตธรรมทั้งนั้น ไม่มีอารมณ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เจตสิกทั้งนั้น วิปปยุจากจิตทั้งนั้น ไม่ใช่วิบากและไม่ใช่ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบากทั้งนั้น ไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมมีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจารทั้งนั้น ไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยปีติทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยสุขทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาทั้งนั้น อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่ประหาณทั้งนั้น ไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ประหาณทั้งนั้น
ไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานทั้งนั้น เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคลทั้งนั้น เป็นปริตตธรรมทั้งนั้น เป็นกามาวจรธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่รูปาวจรธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่อรูปาวจรธรรมทั้งนั้น เป็นปริยาปันนธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่อปริยาปันนธรรมทั้งนั้น เป็นอนิยตธรรมทั้งนั้น เป็นนิยยานิกธรรมทั้งนั้น เป็นปัจจุบันธรรม อันวิญญาณ ๖ พึงรู้ทั้งนั้น ไม่เที่ยงทั้งนั้น อันชราครอบงำแล้วทั้งนั้นสงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑ อย่างนี้.



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร