วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ประกอบมัชฌิมาปฏิปทา


หมวดศีล

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ


องค์มรรค ๓ ข้อนี้ เป็นขั้นศีลด้วยกัน จึงรวมมากล่าวไว้พร้อมกัน เมื่อพิจารณาความหมาย

ตามหลักฐานในคัมภีร์ ปรากฏคำจำกัดความทำนองยกตัวอย่าง ดังนี้


๑. “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา เป็นไฉน ? นี้เรียกว่า สัมมาวาจา คือ

๑) มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ

๒) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนางดเว้นจากวาจาส่อเสียด

๓) ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนางดเว้นจากวาจาหยาบคาย

๔) สมฺผปฺปลาปา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ”


๒. “ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ? นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ คือ

๑) ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการตัดรอนชีวิต

๒) อทินฺนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้

๓) กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในการทั้งหลาย”


๓. “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ? นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ คือ

อริยสาวกละมิจฉาอาชีวะ* เสีย หาเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ”

(ที.ม. 10/299/348 ฯลฯ)


(* มิจฉาอาชีวะ ได้แก่ “การโกง (หรือการหลอกลวง) การบีบบังคับขู่เข็ญ”

ม.อุ.14/275/286)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


นอกจากนี้ ยังมีคำจำกัดความแบบแยกเป็นระดับโลกียะและโลกุตรอีกด้วย เฉพาะระดับโลกีย์

มีคำจำกัดความอย่างเดียวกับข้างต้น

ส่วนระดับโลกุตระ มีความหมายดังนี้



๑. สัมมาวาจาที่เป็นโลกุตระ ได้แก่ “ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจากวจีทุจริต

ทั้ง ๔ ของท่านผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ มีอริยมรรคเป็นสมังคี กำลังเจริญอริยมรรคอยู่”

๒. สัมมากัมมันตะที่เป็นโลกุตระ ได้แก่ “ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจากกายทุจริต

ทั้ง ๓ ของท่านผู้มีจิตเป็นอริยะ...”

๓. สัมมาอาชีวะที่เป็นโลกุตระ ได้แก่ “ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจาก

มิจฉาอาชีวะ ของท่านผู้มีจิตเป็นอริยะ...”

(ม.อ.14/267-278/184-186 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ก.ย. 2012, 20:14, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับท่านกรัชกาย

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


จากความหมายหลักอันเป็นประดุจแกนกลางของระบบการฝึกอบรมขั้นศีลธรรมที่เรียกอธิศีลสิกขานี้

พุทธธรรมก็กระจายคำสอนออกไป เป็นข้อปฏิบัติและหลักความประพฤติต่างๆ

ในส่วนรายละเอียด หรือในรูปประยุกต์อย่างกว้างขวางพิสดาร เพื่อให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติทั้งแก่บุคคล

และสังคม เริ่มแต่หลักแสดงแนวทางความประพฤติที่ตรงกันกับในองค์มรรคนี้เอง ซึ่งเรียกว่า กรรมบถ

และหลักความประพฤติพื้นฐานสำหรับทุกคนที่เรียกว่า เบญจศีล เป็นต้น อย่างไรก็ดี คำสอนในรูปประยุกต์

ย่อมกระจายออกไปเป็นรายละเอียดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้เหมาะสมกับบุคคล กาละ เทศะ

และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในการสอนครั้งนั้นๆ


เมื่อกล่าวโดยสรุป สำหรับคำสอนในรูปประยุกต์ ถ้ามิใช่ประยุกต์ในส่วนรายละเอียดให้เหมาะกับบุคคล

กาลเวลา สถานที่ และโอกาสจำเพาะกรณีแล้ว หลักใหญ่สำหรับการประยุกต์ก็คือ สภาพหรือระดับ

การครองชีวิต

โดยนัยนี้ จึงมีศีลหรือข้อบัญญัติ ระบบความประพฤติต่างๆ ที่แยกกันออกไปเป็นศีลสำหรับคฤหัสถ์

และศีลสำหรับบรรพชิต เป็นต้น

ผู้ศึกษาเรื่องศีล จะต้องเข้าใจหลักการ สาระสำคัญ และที่สำคัญยิ่งคือ วัตถุประสงค์ของศีลเหล่านั้น

ทั้งในส่วนรายละเอียดที่ต่างกัน และส่วนรวมสูงสุดที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะชื่อว่ามีความเข้าใจถูกต้อง

ไม่งมงาย ปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาดและได้ผลจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2013, 15:45, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


ในที่นี้ จะแสดงตัวอย่างการกระจายความหมายขององค์ธรรมขั้นศีลเหล่านี้ ออกไปเป็นหลัก

ความประพฤติที่บังเกิดผลในทางปฏิบัติ

หลักความประพฤติที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่างนี้ เป็นหลักที่กระจายความหมายออกไปโดยตรง

มีหัวข้อตรงกับในองค์มรรคทุกข้อ เป็นแต่เรียงลำดับฝ่ายกายกรรม (ตรงกับสัมมากัมมันตะ)

ก่อนฝ่ายวจีกรรม (ตรงกับสัมมาวาจา) และเรียกชื่อว่ากุศลธรรมบถบ้าง สุจริตบ้าง ความสะอาดทางกาย

วาจา (และใจ)บ้าง สมบัติแห่งกัมมันตะบ้าง ฯลฯ มีเรื่องตัวอย่างดังนี้



เมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ เมืองปาวา ในป่ามะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร นายจุนทะมาเฝ้าได้สนทนา

เรื่องโสไจยกรรม (พิธีชำระตนให้บริสุทธิ์)

นายจุนทะทูลว่า เขานับถือบัญญัติพิธีชำระตัวตามแบบของพราหมณ์ชาวปัจจฉาภูมิ ผู้ถือเต้าน้ำ

สวมพวงมาลัย สาหร่าย บูชาไฟ ถือการลงน้ำเป็นวัตร บัญญัติของพราหมณ์พวกนี้มีว่า แต่เช้าตรู่ทุกวัน

เมื่อลุกขึ้นจากที่นอนจะต้องเอามือลูบแผ่นดิน

ถ้าไม่ลูบแผ่นดิน ต้องลูบมูลโคสด หรือลูบหญ้าเขียว หรือบำเรอไฟ หรือยกมือไห้พระอาทิตย์ หรือมิฉะนั้น

ก็ต้องลงน้ำให้ครบ ๓ ครั้งในตอนเย็น อย่างใดอย่างหนึ่ง *

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ธ.ค. 2009, 08:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความข้างบนทีมี *


*พึงสังเกตว่า การถือสีลัพพตปรามาสอย่างเหนียวแน่นแบบนี้ มีแพร่หลายในอินเดียแต่ยุคโบราณก่อนพุทธกาล

จนถึงปัจจุบันก็มิได้ลดน้อยลงเลย

การล้มล้างความเชื่อถือเหล่านี้ เป็นจุดมุ่งที่เด่นชัดที่สุดอย่างหนึ่ง ในการบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้า

เช่นเดียวกับการล้างเรื่องวรรณะ และการดึงคนจากปัญหาทางอภิปรัชญา กลับมาหาปัญหาชีวิตจริง


การถือสีลัพพตปรามาสเหล่านี้ กลับรุนแรงยิ่งขึ้น พร้อมกับการเสื่อมลงของพระพุทธศาสนา และเป็นสาเหตุ

สำคัญอย่างหนึ่งของความเสื่อมนั้นด้วย

น่าจะกล่าวได้ว่า การถือสีลัพพตปรามาสเจริญขึ้นเมื่อใด ในที่ใด

ความเสื่อมแห่งตัวแท้ของพระพุทธศาสนาก็ปรากฏขึ้นเมื่อนั้น ณ ที่นั้น

และน่าจะกล่าวได้อีกด้วยว่า การยึดถือติดแน่นในสีลัพพตปรามาส เป็นสาเหตุสำคัญให้ต้องมี

การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงขึ้น ที่เรียกว่าการปฏิวัติทางสังคม และตัวมันเองต้องสิ้นสุดลงด้วยการ

เปลี่ยนแปลงแบบนี้ ในยุคสมัยต่างๆ ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์อายธรรมของมนุษย์

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

พราหมณ์ เดิมหมายถึงผู้ลอยบาปด้วยการลงอาบในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา

แต่ในพระพุทธศาสนา หมายถึงลอยบาปโดยละเสียด้วยการปฏิบัติตามรรค หรือโดยอุปมาว่า

ลงอาบตัวในธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ธ.ค. 2009, 09:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

พระพุทธเจ้าตรัสว่า บัญญัติเรื่องการชำระตัวให้สะอาดของพวกพราหมณ์นี้ เป็นอย่างหนึ่ง

ส่วนการชำระตัวให้สะอาดในอริยวินัย เป็นอีกอย่างหนึ่ง หาเหมือนกันไม่

แล้วตรัสว่าคนที่ประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่ามีความไม่สะอาดทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ

คนเช่นนี้ ลุกแต่เช้า จะลูบแผ่นดิน หรือจะไม่ลูบ จะลูบโคมัยหรือจะไม่ลูบ จะบูชาไฟ จะไหว้พระอาทิตย์

หรือไม่ทำ ก็ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง เพราะอกุศลกรรมบถเป็นสิ่งทั้งไม่สะอาด ทั้งเป็นตัวการทำไม่สะอาด

แล้วตรัสกุศลกรรมบถ ๑๐ ที่เป็นเครื่องชำระตัวให้สะอาด คือ



ก. เครื่องชำระตัวทางกาย ๓ ได้แก่ การที่บุคคลบางคน

๑. “ละปาณาติบาต เว้นขาดจากการตัดรอนชีวิต วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอายใจ

กอปรด้วยเมตตา ใฝ่ใจช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ปวงสัตว์โลก”

๒.“ละอทินนาทาน เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งที่เขามิได้ให้ ไม่ยึดถือทรัพย์สินอุปกรณ์อย่างใดๆ ของผู้อื่น

ไม่ว่าจะเป็นของที่อยู่ในบ้าน หรือในป่า ซึ่งเขามิได้ให้ อย่างเป็นขโมย”

๓. “ละกามสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่ล่วงละเมิดในสตรี เช่นอย่างผู้ที่

มารดารักษา ผู้ที่บิดารักษา ผู้ที่พี่น้องชายรักษา ผู้ที่พี่น้องหญิงรักษา ผู้ที่ญาติรักษา ผู้ที่ธรรมรักษา

(เช่นกฎหมายคุ้มครอง) หญิงมีสามี หญิงหวงห้ามโดยที่สุดแม้หญิงที่หมั้นแล้ว”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ธ.ค. 2009, 09:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. เครื่องชำระตัวทางวาจา ๔ ได้แก่การที่บุคคลบางคน

๑. “ละมุสาวาท เว้นขาดจากการพูดเท็จ เมื่อยู่ในสภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ท่ามกลางญาติก็ดี

อยู่ท่ามกลางชุมนุมก็ดี อยู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างตัวซักถามเป็นพยานว่า เชิญเถิดท่าน

ท่านรู้สิงใดจงพูดสิ่งนั้น เมื่อไม่รู้ เขาก็กล่าวว่าไม่รู้

เมื่อไม่เห็น ก็กล่าวว่า ไม่เห็น

เมื่อรู้ ก็กล่าวว่า รู้

เมื่อเห็น ก็กล่าวว่า เห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ไม่ว่าเพราะเหตุแห่งตนเอง หรือเพราะเหตุแห่งคนอื่น

หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสใดๆ”


๒. “ละปิสุณาวาจา เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ไม่เป็นคนที่ฟังความข้างนี้แล้วเอาไปบอกข้างโน้น

เพื่อทำลายคนฝ่ายนี้ หรือฟังความข้างโน้น แล้วเอามาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนฝ่ายโน้น

เป็นผู้สมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบสามัคคี ยินดีในสามัคคี

ชอบกล่าวถ้อยคำที่ทำให้คนสามัคคีกัน”


๓. “ละผรุสวาจา เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่ถ้อยคำชนิดที่ไม่มีโทษ รื่นหู น่ารัก จับใจ สุภาพ

เป็นที่พอใจของพหูชน เป็นที่ชื่นชมของพหูชน”


๔. “ละสัมผัปปลาปะ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดเป็นอรรถ พูดเป็นธรรม

พูดเป็นวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีกำหนดขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. เครื่องชำระตัวทางใจ ๓ ได้แก่ อนภิชฌา (ไม่คิดจ้องเอาของคนอื่น) อพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ

เฉพาะ ๓ ข้อนี้ เป็นความหมายที่ขยายจากองค์มรรค ๒ ข้อแรก คือ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ จึงไม่คัด ไว้ในที่นี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2013, 17:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาความเป็นเหตุเป็นผลของพุทธศาสนา

(ต่อ)

“บุคคลผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ถึงตอนเช้าตรู่ ลุกขึ้นจากที่นอน จะมาลูบแผ่นดิน

ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงจะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ฯลฯ

ถึงจะยกมือไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงจะไม่ยกมือไหว้พระอาทิตย์

ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ...เพราะว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เป็นของสะอาดเองด้วย

เป็นตัวการที่ทำให้สะอาดด้วย..”

(องฺ.ทสก.24/165/283 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2013, 17:48, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


ที่ว่าความหมายซึ่งขยายออกไปในรูปประยุกต์ อาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับกรณีนั้น

ขอยกตัวอย่าง เช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลที่ออกบวชแล้ว

นอกจากศีลบางข้อจะเปลี่ยนไป และมีศีลเพิ่มใหม่อีกแล้ว แม้ศีลข้อที่คงเดิมบางข้อ

ก็มีความหมายส่วนที่ขยายออกไปต่างจากเดิม

ขอให้สังเกตข้อเว้นอทินนาทาน และเว้นมุสาวาทต่อไปนี้ เทียบกับความในกุศลกรรมบถข้างต้น



“ละอทินนาทาน เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ ถือเอาแต่ของที่เขาให้

หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่”

“ละมุสาวาท เว้นขาดจากการพูดเท็จ กล่าวแต่คำสัตย์ ธำรงสัจจะ ซื่อตรง เชื่อถือได้

ไม่ลวงโลก”

(ที.สี.9/3-4/5 เป็นต้น)


ข้อสังเกตสำคัญในตอนนี้อย่างหนึ่ง คือ ความหมายท่อนขยายขององค์มรรคขั้นศีลเหล่านี้แต่ละข้อ

ตามปรกติจะแยกได้เป็นข้อละ ๒ ตอน ตอนต้น กล่าวถึงการละเว้นไม่ทำความชั่ว

ตอนหลัง กล่าวถึงการทำความดี ที่ตรงข้ามกับความชั่วที่งดเว้นแล้วนั้น

พูดสั้นๆว่า ตอนต้นใช้คำปฏิเสธ ตอนหลัง ใช้คำส่งเสริม

เรื่องนี้ เป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่ง ของคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่มักใช้คำสอนควบคู่ทั้งคำปฏิเสธ

และคำสนับสนุนไปพร้อมๆกัน ตามหลัก “เว้นชั่ว บำเพ็ญดี”

เมื่อถือการเว้นชั่วเป็นจุดเริ่มต้นแล้ว ก็ขยายความในภาคบำเพ็ญดีออกได้เรื่อยไป ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเท่าที่

ขยายเป็นตัวอย่างในองค์มรรคเหล่านี้เท่านั้น

ตัวอย่างเช่นข้อเว้นอทินนาทาน ในที่นี้ยังไม่ได้ขยายความในภาคบำเพ็ญดีออกเป็นภาคปฏิบัติที่เด่นชัด

แต่ก็ได้มีคำสอนเรื่องทานเป็นหลักธรรมใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งในพระพุทธศาสนาไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหากแล้ว

ดังนี้เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 มิ.ย. 2010, 17:09, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะของศีล หรือหลักความประพฤติเบื้องต้น แบบเทวนิยม กับแบบสภาวนิยม


เคยมีปราชญ์ฝ่ายตะวันตกบางท่าน เขียนข้อความทำนองตำหนิพระพุทธศาสนาไว้ว่า

มีคำสอนมุ่งแต่ในฝ่ายปฏิเสธ (negative) คือ สอนให้ละเว้นความชั่วอย่างนั้นอย่างนี้ฝ่ายเดียว

ไม่ได้สอนย้ำชักจูงเร่งรัดพุทธศาสนิกใช้ขวนขวายทำความดี (positive) ไม่ได้แนะนำว่าเมื่อเว้นชั่วนั้นๆแล้ว จะพึงทำความดีอย่างต่อไป มีคำสอนเป็นสกวิสัย (subjective) เป็นได้เพียงจริยธรรม

แห่งความคิด (an ethic of thoughts) เป็นคำสอนแบบถอนตัวและเฉยเฉื่อย (passive)

ทำให้พุทธศาสนิกชนพอใจแต่เพียงแต่งดเว้นทำความชั่ว คอยระวังเพียงไม่ให้ตนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพัน

กับบาป ไม่เอาใจใสขวนขวายช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยการลงมือกระทำการปลดเปลื้องความทุกข์และสร้าง

เสริมประโยชน์สุขจริงจัง แม้ให้มีเมตตากรุณาก็เพียงโดยตั้งความหวังความปรารถนาดีแผ่ออกด้วยใจ

อย่างเดียว

ท่านผู้นั้น ได้อ้างข้อความจากพระไตรปิฎกสนับสนุนทัศนะของตนที่ว่า คำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นเพียง

ขั้นปฏิเสธ (negative) โดยยกคำจำกัดความองค์มรรคข้อสัมมากัมมันตะข้างต้นกำกับไว้ในข้อเขียน

ของตน (วจนะที่อ้างเป็นของพระสารีบุตร) ว่า

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ? การเว้นปาณาติบาต การเว้นอทินนาทาน

การเว้นกาเมสุมิจฉาจาร นี้แล ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ” *

(คำจำกัดความอย่างเดียวกับข้างต้น-ม.อุ.14/704/454)


* ยังอ้างหลักธรรมข้ออื่นๆอีกเพื่อยืนยันทัศนะของท่าน เช่น หลักกรรม หลัก (โอกาสใน) การเกิดใหม่

การถอนตนหรือหลีกหนีจากเรื่องราวของโลกและชีวิต เป็นต้น

สำหรับหลักกรรมแก้ได้ตามคำที่ชี้แจงแล้วข้างต้น

หลักการเกิดใหม่ที่ว่า ให้โอกาสคนผัดผ่อนไม่เร่งทำความดี (จริยธรรมคริสต์ว่าเกิดครั้งเดียว)นั้น ชี้แจง

ได้ง่ายๆ ว่าพุทธศาสนาถือว่า เกิดเป็นมนุษย์ยากอย่างยิ่ง เทียบว่ายากกว่าการที่เต่าในมหาสมุทรจะโผล่

หัวตรงห่วงอันเดียวที่ลอยคว้างในมหาสมุทร และบาปไม่มีโอกาสแก้ด้วยวิธีล้างหรือสารภาพบาป

ส่วนเรื่องถอนตัวไม่ยุ่งกับกิจการของโลก Prof. Sutton อ้างพุทธพจน์ว่า “Those who love

nothing in this world are rich in joy and free from

pain” ซึ่งมาจากบาลี (ขุ.อุ.25/176/225) ว่า “ตสฺมา หิ เต สุขิโน วีตโสกา เยสํ ปิยํ

นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก”

คำว่า “love” ในที่นี้ตรงกับ “ปิย” หมายถึงสิ่งที่รักด้วยสิเนหะ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความยึดติดส่วนตัว

จึงเป็นเรื่องของผู้มีจิตใจเป็นอิสระ ซึ่งจะทำการต่างๆด้วยเมตตา ไม่มีความยึดติดเอนเอียงที่จะเป็นเหตุก่อ

ความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่นเพราะความเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง


อย่างไรก็ดี การแปลความหมายธรรมต่างๆ ย่อมได้คุณค่าแตกต่างกันไปตามมาตรฐานที่ใช้วัด

คำกล่าวติของ Prof. Sutton นี้ จะทำด้วยเจตนาหรือความเข้าใจผิดถูกอย่างไรก็ตาม

ควรถือได้ว่า เป็นประโยชน์ เพราะอาจใช้เป็นคำเตือนชาวพุทธให้เอาใจใส่ศึกษาและแนะนำชี้แจงแก่กัน

ซึ่งความหมายที่ถูกต้องของหลักธรรมต่างๆ และพึงยอมรับความจริงว่า ความเชื่อถือและความเข้าใจที่แพร่

หลายทั่วไปในสังคมไทยเกี่ยวกับธรรมเหล่านี้ มีลักษณะอาการที่ทำให้มองเห็นอย่างคำตินั้นได้


และยังมีปราชญ์ตะวันตกคนอื่นๆอีกไม่น้อยเข้าใจอย่าง Prof. Sutton


สำหรับผู้ศึกษาเข้าใจความหมายในทางปฏิบัติขององค์มรรคเหล่านี้ ตามที่ชี้แจงมาแล้ว ย่อมเห็นได้ทันทีว่า

หากท่านผู้เขียนคำตินี้วิจารณ์ไว้ด้วยเจตนาดี ข้อเขียนของท่านน่าจะต้องเกิดจากได้อ่าน หรือ รับทราบ

พุทธธรรมมาแต่เพียงข้อปลีกย่อยต่างส่วนต่างตอน ไม่ต่อเนื่องเป็นสาย และเกิดจากการไม่เข้าใจระบบ

แห่งพุทธธรรมเป็นส่วนรวม จากความหมายในทางปฏิบัตินั้น เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า ระบบศีลธรรมของมรรค

ไม่มีลักษณะจำกัดความเป็น negative หรือ passive หรือ subjective หรือเป็นเพียง

an ethic of thoughts

อย่างไรก็ดี นักศึกษาแท้จริง เมื่อได้ศึกษาถึงหลักฐานที่มาตามหลักวิชาจริง โดยรอบคอบ ด้วยจิตใจเที่ยง

ธรรม ไม่เพียงว่าตามๆเขาไป ย่อมวินิจฉัยได้ด้วยตนเอง ว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2013, 18:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

การที่คำจำกัดความขององค์มรรคขั้นศีล ต้องมีรูปลักษณะเป็นคำปฏิเสธเช่นนั้น มีเหตุผลโดยย่อคือ

๑. ศีลในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของพุทธธรรม ย่อมมิใช่เทวโองการ ที่กำหนดให้ศาสนิกประพฤติปฏิบัติอย่างนั้น

บ้าง อย่างนี้บ้าง สุดแต่เทวประสงค์ ด้วยอาศัยศรัทธาลอยๆ แบบภักดีซึ่งไม่จำเป็นต้องรู้เหตุผลเชื่อมโยง

ต่อเนื่องกัน แต่ศีล เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นตามหลักเหตุผลของกฎธรรมชาติ ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องมองเห็นความ

สัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นระบบ แม้จะยังไม่มีปัญญารู้แจ่มแจ้งชัดเจน มีเพียงศรัทธา ศรัทธานั้นก็จะต้องเป็น

อาการวตีศรัทธา ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีพื้นความเข้าใจในเหตุผลเบื้องต้นพอเป็นฐานสำหรับให้เกิดปัญญารู้

แจ่มชัดต่อไป


๒.ในกระบวนการปฏิบัติธรรมหรือการการฝึกอบรมตนนั้น เมื่อมองในแง่ลำดับสิ่งที่จะต้องการทำให้ประณีต

ยิ่งขึ้นไปตามขั้น ก็จะต้องเริ่มด้วย ละเว้นหรือกำจัดความชั่วก่อนแล้วจึงเสริมสร้างความดีให้บริบูรณ์ จนถึง

ความบริสุทธิ์หลุดพ้นในที่สุด เหมือนจะปลูกพืช ต้องชำระดิน กำจัดสิ่งเป็นโทษก่อนแล้วจึงหว่านพืชและบำรุง

รักษาไปจนได้ผลที่หมาย

ในระบบแห่งพุทธธรรมนั้น ศีลเป็นข้อปฏิบัติขั้นเริ่มแรกที่สุด มุ่งไปที่ความประพฤติพื้นฐาน จึงเน้นไปที่

การละเว้นความชั่วต่างๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น

พูดย้ำให้เห็นสิ่งที่ต้องการกำจัดอย่างชัดเจนเสียก่อน แล้วจึงขยายขอบเขตยกระดับความประพฤติให้สูงขึ้นไป

ในด้านความดี ด้วยอาศัยการปฏิบัติในขั้นสมาธิและปัญญาเข้ามาช่วยมากขึ้นๆโดยลำดับ


๓. ในกระบวนการฝึกอบรมของไตรสิกขา ศีลยังมิใช่ข้อปฏิบัติให้ถึงจุดหมายสูงสุดโดยตัวของมันเอง

แต่เป็นวิธีการเพื่อก้าวหน้าไปสู่ความเจริญขั้นต่อไป คือสมาธิ สมาธิจึงเป็นจุดหมายจำเพาะของศีล

โดยนัยนี้คุณค่าในด้านจิตใจของศีล จึงมีความสำคัญมาก คุณคาทางจิตใจในขั้นศีล ก็คือ เจตนาที่จะงดเว้น

หรือการไม่มีความดำริในการที่จะทำความชั่วใดๆ อยู่ในใจ ซึ่งทำให้จิตใจบริสุทธิ์ปลอดโปร่ง ไม่มีความคิด

วุ่นวายขุ่นมัวหรือกังวลใดๆมารบกวน จิตใจจึงสงบทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย เมื่อมีจิตใจสงบเป็นสมาธิแล้ว

ก็เกิดความคล่องตัวในการที่จะใช้ปัญญา คิดหาเหตุผล และหาทางดำเนินการสร้างสรรค์ความดีต่างๆให้ได้ผล

ขั้นต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. พุทธธรรมถือว่า จิตใจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ระบบจริยธรรมจึงต้องประสานต่อเนื่องกันโดยตลอดทั้งด้านจิตใจ

และความประพฤติทางกายวาจาในภายในนอก และถือว่าจิตใจเป็นจุดเริ่มต้น จึงกำหนดที่ตัวเจตนาในใจ

เป็นหลัก เพื่อให้การกระทำความดีต่างๆ เป็นไปด้วยความจริงใจอย่างแน่นอน มิใช่แต่เพียงไม่หลอกลวง

คนอื่นเท่านั้น แต่หมายถึงการไม่หลอกลวงตนเองด้วย เป็นการกำจัดหนทางไม่ให้เกิดปัญหาทางจิต

ในด้านความขัดแย้งของความประพฤติ


๕.องค์มรรคขั้นศีลสอนว่า ความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานที่สุดของบุคคลแต่ละคนก็คือ ความรับผิดชอบต่อตน

เอง ในการที่จะไม่ให้มีความคิดที่จะทำความชั่วด้วยการเบียดเบียนหรือล่วงละเมิดต่อผู้อื่น อยู่ในจิตใจของตน

เลย เมื่อมีความบริสุทธิ์นี้รองรับอยู่เป็นเบื้องต้นแล้ว ความรับผิดชอบนั้นจึงขยายกว้างออกไปถึงขั้นเป็นการ

ธำรงรักษาและเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแห่งคุณธรรมของตน ด้วยการขวนขวายทำความดี บำเพ็ญ

ประโยชน์สุขแก่คนอื่นๆ

พูดสั้นๆว่า มีความรับผิดชอบต่อตนเองในการที่จะละเว้นความชั่ว และรับผิดชอบต่อผู้อื่น ในการที่จะทำความดี

แก่เขา


๖.การกำหนดความหมายของศีลในแง่ละเว้นความชั่ว เป็นการกำหนดข้อปฏิบัติอย่างกว้างขวางที่สุด คือเพ่ง

เล็งไปที่ความชั่ว ย้ำถึงเจตจำนงที่ไม่มีเชื้อแห่งความชั่วเหลืออยู่เลย

ส่วนในฝ่ายความดี เป็นเรื่องที่จะพึงขยายออกไปได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จึงไม่ระบุไว้ และตามความจริง

ความดีก็เป็นเรื่องกว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุด มีรายละเอียดแนวทางและวิธีการยักเยื้องไปได้มากมายตามฐานะและ

โอกาสต่างๆ

ส่วนความชั่วที่จะต้องเว้น เป็นเรื่องแน่นอนตายตัว เช่น ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ ควรละเว้นการพูดเท็จด้วยกัน

ทั้งสองฝ่าย แต่โอกาสและวิธีการที่จะทำความดีที่ปราศจากการพูดเท็จนั้น ต่างกัน การวางหลักกลาง

จึงระบุแต่ฝ่ายเว้นชั่วไว้เป็นเกณฑ์

ส่วนรายละเอียด และวิธีการกระทำในขั้นบำเพ็ญความดีเป็นเรื่องในขั้นประยุกต์ให้เหมาะสมกับฐานะ โอกาส

และสภาพชีวิตของบุคคลต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๗. การปฏิบัติตามองค์มรรคทุกข้อ ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนในการที่จะเข้าถึงจุดหมายของ

พระพุทธศาสนา ดังนั้น องค์มรรคแต่ละข้อจะต้องเป็นหลักกลางๆ ที่ทุกคนปฏิบัติตามได้ ไม่จำกัดด้วยฐานะ

กาลสมัย ท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมจำเพาะอย่างเช่น การเว้นอทินนาทาน เป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้

แต่การให้ทานต้องอาศัยปัจจัยอื่นประกอบ เช่น ตนมีสิ่งที่จะให้ มีผู้ที่จะรับ และเขาควรได้รับ เป็นต้น

ในกรณีที่ไม่อยู่ในฐานะและโอกาส เป็นต้น ที่จะให้ เจตนาที่ปราศจากอทินนาทาน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจ

บริสุทธิ์ เป็นพื้นฐานแก่สมาธิได้แล้ว

แต่ในกรณีที่อยู่ในฐานะและโอกาส เป็นต้น ที่จะให้การไม่ใส่ใจหรือหวงแหนจึงจะเกิดเป็นความเศร้าหมอง

ขุ่นมัวแก่จิตใจ และการให้จึงจะเป็นเครื่องส่งเสริมคุณธรรมของตนให้มากยิ่งขึ้น

โดยนัยนี้ ความหมายหลัก จึงอยู่ในรูปคำปฏิเสธ คือการละเว้นหรือปราศจากความชั่ว

ส่วนความหมายที่ขยายออกไปในฝ่ายทำความดีจึงเป็นเรื่องของการประยุกต์ดังกล่าวแล้ว


๘ .ในการปฏิบัติธรรมนั้น เมื่อพิจารณาในช่วงเวลาอันใดอันหนึ่ง ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมกำลังบำเพ็ญคุณธรรม

อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประเภทใดประเภทหนึ่งอยู่เป็นพิเศษ ในเวลาเช่นนั้น เขาย่อมจะต้องพุ่งความคิด

ความสนใจจำเพาะเจาะจงลงในสิ่งที่ปฏิบัตินั้น

ในกรณีเช่นนี้ ความรับผิดชอบของเขาต่อความประพฤติด้านอื่นๆ ย่อมมีเพียงเป็นส่วนประกอบ คือเพียงไม่ให้

เกิดความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นสำคัญ

ประโยชน์ที่ต้องการจากศีล ในกรณีเช่นนี้ จึงได้แก่การช่วยควบคุมรักษาความประพฤติในด้านอื่นของเขาไว้

ป้องกันไม่ให้เสียหลักพลาดลงไปในความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มีพื้นฐานที่มั่นคง สามารถบำเพ็ญความดี

ที่เป็นเรื่องจำเพาะในขณะนั้นๆได้โดยสมบูรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร