วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 10:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208623.jpg
m208623.jpg [ 88.82 KiB | เปิดดู 4662 ครั้ง ]
ลิงค์สัมมาทิฏฐิ

viewtopic.php?f=2&t=26922

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


(ต่อไปสัมมาสังกัปปะ)


สัมมาสังกัปปะ


องค์มรรคข้อนี้ มีคำจำกัดความแบบทั่วไปตามคัมภีร์ ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ? เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์

นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ”

(ที.ม.10/299/348 ฯลฯ)


นอกจากนี้ ยังมีคำจำกัดความแบบแยกออกเป็นระดับโลกียะ และระดับโลกุตระ ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ? เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ มี ๒ อย่าง คือ

สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ ซึ่งจัดเป็นฝ่ายบุญ อำนายวิบากแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง

กับสัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะ ไม่มีอาวะเป็นโลกุตระ และเป็นองค์มรรคอย่างหนึ่ง”


“สัมมาสังกัปปะ ที่ยังมีอาสวะ...คือ ? เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์...”

“สัมมาสังกัปปะ ที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ ความตรึก (ตักกะ)

ความนึกคิด (วิตักกะ) ความดำริ (สังกัปป์) ความคิดแน่วแน่ (อัปปนา) ความคิดปักแน่นแฟ้น

(พยัปปนา) ความเอาใจจดจ่อลง วจีสังขาร ของบุคคลผู้มีจิตเป็นอิสระ มีจิตไรอาสวะ

มีอริยมรรคเป็นสมังคี ผู้กำลังเจริญอริยมรรคอยู่...”

(ม.อุ.14/261-3/128 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ธ.ค. 2009, 14:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ในที่นี้ จะทำความเข้าใจกันแต่เพียงคำจำกัดความแบบทั่วไปที่เรียกว่าเป็นขั้นโลกียะเท่านั้น

ตามคำจำกัดความแบบนี้ สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ หรือ ความนึกคิด

ในทางที่ถูกต้อง ตรงข้ามกับความดำริผิดที่เรียกว่า มิจฉาสังกัปปะ ซึ่งมี ๓ อย่างคือ




๑.กามสังกัปป์ หรือ กามวิตก คือ ความดำริที่เกี่ยวข้องกับกาม ความนึกคิดในทางที่จะแสวงหา

หรือหมกมุ่นพัวพันติดข้องอยู่ในสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ หรือสิ่งสนองตัณหาอุปาทานต่างๆ

ความคิดในทางเห็นแก่ตัว เป็นความนึกคิดในฝ่ายราคะ หรือ โลภะ

๒. พยาบาทสังกัปป์ หรือพยาบาทวิตก คือ ความดำริที่ประกอบด้วยความเคียดแค้นชิงชัง ขัดเคือง

ไม่พอใจ คิดเห็นเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ มองคนอื่นเป็นศัตรูผู้มากระทบกระทั่ง เห็นสิ่งทั้งหลายเป็นไปในทาง

ขัดอกขัดใจ เป็นความนึกคิดในฝ่ายโทสะแง่ถูกกระทบ (ตรงข้ามกับเมตตา)

๓. วิหิงสาสังกัปป์ หรือ วิหิงสาวิตก คือ ความดำริในทางที่จะเบียดเบียน ทำร้าย ตัดรอน

และทำลาย อยากไปกระทบกระทั่งรุกรานผู้อื่น อยากทำให้เขาประสบความทุกข์ความเดือดร้อน

เป็นความนึกคิดในฝ่ายโทสะแง่จะไปกระทบ (ตรงข้ามกับกรุณา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ความดำริหรือแนวความคิดแบบนี้ เป็นเรื่องปรกติของคนส่วนมาก เพราะตามธรรมดา เมื่อบุถุชนรับรู้อารมณ์

อย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยการเห็น ได้ยิน ได้สัมผัสเป็นต้นก็ตาม จะเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในสองอย่าง คือ ถ้าถูกใจ ก็ชอบ ติดใจ อยากได้ พัวพัน คล้อยตาม

ถ้าไม่ถูกใจ ก็ไม่ชอบ ขัดใจ ขัดเคือง ผลักแย้ง เป็นปฏิปักษ์ จากนั้น ความดำรินึกคิดต่างๆ ก็จะดำเนินไป

ตามแนวทางหรือตามแรงผลักดันของความชอบและไม่ชอบนั้น

ด้วยเหตุนี้ ความคิดของบุถุชนโดยปรกติ จึงเป็นความคิดเห็นที่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง มีความพอใจ

และไม่พอใจของตนเข้าไปเคลือบแฝงชักจูง ทำให้ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเองล้วนๆ

ความนึกคิดที่ดำเนินไปจากความถูกใจ ชอบใจ เกิดความติดข้อง พัวพัน เอียงเข้าหา ก็กลายเป็นกามวิตก

ส่วนที่ดำเนินไปจากความไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ เกิดความขัดเคือง ชิงชัง เป็นปฏิปักษ์ มองในแง่ร้าย

ก็กลายเป็นพยาบาทวิตก ที่ถึงขนาดพุ่งออกมาเป็นความคิดรุกราน คิดเบียดเบียน ทำลาย ก็กลายเป็น

วิหิงสาวิตก ทำให้เกิดทัศนคติ (หรือเจตนคติ) ต่อสิ่งต่างๆอย่างไม่ถูกต้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาข้อความต่อไปนี้ จะเห็นแนวการปฏิบัติกรรมฐานแบบกำหนดอารมณ์ต่างๆตาม

เป็นจริง หรือตามที่มันเป็นชัดเจน และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้ความคิดที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการ

คือ การรู้จักคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี ได้เช่นกัน



(ต่อ)


ความดำริหรือความนึกคิดที่เอนเอียง ทัศนคติที่บิดเบือนและถูกเคลือบแฝงเช่นนี้เกิดขึ้นก็เพราะขาด

โยนิโสมนสิการแต่ต้น คือ มองสิ่งต่างๆ อย่างผิวเผิน รับรู้อารมณ์เข้ามาทั้งดุ้น โดยขาดสติสัมปชัญญะ

แล้วปล่อยความรู้สึกนึกคิดให้แล่นไปตามความรู้สึก หรือตามเหตุผลที่มีความชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นตัวนำ

ไม่ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบและความคิดสืบสาวสอบค้นเหตุปัจจัย ตามหลักโยนิโสมนสิการ


โดยนัยนี้ มิจฉาทิฐิ คือ ความเข้าใจผิดพลาด ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิด

มิจฉาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด และมีทัศนคติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างผิดพลาดบิดเบือน และมิจฉาสังกัปปะนี้

ก็ส่งผลสะท้อนให้เกิดมิจฉาทิฐิ เข้าใจและมองเห็นสิ่งทั้งหลายอย่างผิดพลาดบิดเบือนต่อไปหรือยิ่งขึ้นไปอีก

องค์ประกอบทั้งสอง คือ มิจฉาทิฐิ และมิจฉาสังกัปปะ จึงส่งเสริมสนับหนุนซึ่งกันและกัน


ในทางตรงข้าม การที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามที่มันเป็นของมันเองได้ จะต้องใช้

โยนิโสมนสิการ ซึ่งหมายความว่า ขณะนั้นความนึกคิด ความดำริต่างๆ จะต้องปลอดโปร่ง เป็นอิสระ

ไม่มีทั้งความชอบใจ ความยึดติด พัวพัน และความไม่ชอบใจ ผลักแย้ง เป็นปฏิปักษ์ต่างๆด้วย

ข้อนี้มีความหมายว่า จะต้องมีสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ และองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ส่งเสริมสนับสนุน

ซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับในฝ่ายมิจฉานั่นเอง


โดยนัยนี้ ด้วยการมีโยนิโสมนสิการ ผู้นั้นก็มีสัมมาทิฐิ คือมองเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง

เมื่อมองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง จึงมีสัมมาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด และตั้งทัศนคติต่อสิ่งเหล่านั้น

อย่างถูกต้อง ไม่เอนเอียงยึดติด หรือผลักแย้ง เป็นปฏิปักษ์

เมื่อมีความดำริ นึกคิดที่เป็นอิสระจากความชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นกลางเช่นนี้ * จึงทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ

ตามความเป็นจริง คือ เสริมสัมมาทิฐิให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น จากนั้นองค์ประกอบทั้งสองก็สนับสนุนกันและกัน

หมุนเวียนต่อไป

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

ขยายความข้างบนที่มี*

*ท่าทีของจิตใจอย่างนี้ พัฒนาขึ้นไปในขั้นสูงจะกลายเป็นอุเบกขา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในการ

ใช้ความคิดอย่างได้ผล หาได้มีความหมายเป็นการนิ่งเฉย ไม่เอาเรื่องเอาราวอย่างที่มักเข้าใจกันไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ธ.ค. 2009, 16:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ในภาวะจิตที่มีโยนิโสมนสิการ จึงมีความดำริซึ่งปลอดโปร่ง เป็นอิสระ

ปราศจากความเอนเอียง ทั้งฝ่ายติดคล้อยเข้ามา และฝ่ายผลักเบือนหนี


ตรงข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ เรียกว่า สัมมาสังกัปปะมี ๓ อย่างเช่นเดียวกัน คือ




๑. เนกขัมมสังกัปป์ หรือเนกขัมมวิตก คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ

ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ

ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง *

จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะ หรือโลภะ


๒. อพยาบาทสังกัปป์ หรือ อพยาบาทวิตก คือ ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง

ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือ เมตตา

ซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข

จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ


๓. อวิหิงสาสังกัปป์ หรือ อวิหิงสาวิตก คือ ความดำริที่ไม่มีการเบียดเบียน การคิดทำร้ายหรือทำลาย

โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้ามกับกรุณา ซึ่งหมายถึงความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะเช่นเดียวกัน


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

ขยายความที่มี * ข้างบน


* เนกขัมมะ = อโลภะ เนกขัมมธาตุ = กุศลธรรมทั้งปวง อพยาบาทธาตุ = เมตตา

อวิหิงสาธาตุ = กรุณา

(อภิ.วิ.35/122/107 วิภงฺค.อ.97/ ปฏิสํ.อ.79)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

เท่าที่กล่าวมา อาจสรุปได้ว่า ตามปกติมนุษย์ปุถุชนเมื่อจะคิดอะไร ก็ย่อมคิดเพื่อสนองตัณหา

ในรูปใดรูปหนึ่ง

ถ้าไม่คิดตามแนวทิฐิ เช่น ค่านิยมเป็นต้น ซึ่งตัณหาอาศัยอวิชชาปรุงแต่งไว้ก่อนแล้ว

ก็จะคิดไปตามอำนาจของตัณหาสดในเวลานั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นไปโดยอาการของความอยากที่ยังเรียกว่า

เป็นตัณหาโดยตรงบ้าง โดยอาการถือตัวเชิดชูตนระวังฐานะของตัวตนที่เรียกว่ามานะบ้าง

ท่านจึงเรียกความคิดของปุถุชนเช่นนี้ว่า ประกอบด้วยอหังการ มมังการ และมานานุสัย

หรือเรียกสั้นๆว่า มีตัณหามานะและทิฏฐิเป็นตัวสานและชักใยอยู่

ความคิดของปุถุชนนั้นจึงอาจเรียกได้ว่า เป็นบริการของจิตที่รับใช้ตัณหา



ลักษณะของความคิดเพื่อสนองตัณหานั้น เป็นไปได้ทั้งในทางบวกและทางลบ

ด้านบวกออกมาในรูปของกามสังกัปป์ คือ คิดเอา คิดปรนเปรอบำเรอตน

ด้านลบออกมาในรูปของพยาบาทสังกัปป์ คือคิดขัด คิดแง่ร้าย คิดเป็นปฏิปักษ์ เห็นเขาเป็นศัตรู

(กลัวเขาจะมาแย่งมาขัด) คิดกระทบกระทั่ง ไม่พอใจ เกลียดชัง

และวิหิงสาสังกัปป์ คือ คิดรุกรานคิดทำลาย


อย่างไรก็ตาม ความคิดสนองตัณหานั้น อาจถูกหักล้างด้วยโยนิโสมนสิการที่มองดูตามสภาวะ*

(* ดูแนว ใน วิภงฺค. อ.117,149 วิสุทธิ.3/103)

ความคิดที่ประกอบกับโยนิโสมนสิการเช่นนี้ ไม่มีกาม ไม่มีพยาบาท ไม่มีวิหิงสา จึงบริสุทธิ์

ตรงตามจริง ไม่เอนเอียงติดข้องหรือปัดเหไปข้างใดข้างหนึ่ง และจึงเป็นความคิดที่มีขอบเขตกว้างขวาง

อาจให้ความหมายของสัมมาสังกัปปะในแง่นี้ได้ว่า จะคิดอะไรก็ได้ ที่มิใช่เป็นการจะเอาจะปรนเปรอตัว

มิใช่มุ่งร้ายหรือหมายข่มเหงรังแกเบียดเบียนใคร นี้เป็นด้านปัญญา เกื้อกูลแก่สัมมาทิฐิโดยตรง


อีกด้านหนึ่ง ความคิดสนองตัณหานั้น อาจถูกหักล้างด้วยโยนิโสมนสิการแบบปลุกเร้ากุศลธรรม

ความคิดประกอบด้วยโยนิโสมนสิการแบบนี้ เป็นความคิดแบบตรงข้ามกับกาม พยาบาท และวิหิงสา

คือ คิดสละ มีเมตตา มีกรุณา เป็นการสร้างเสริมกุศลธรรมจำเพาะอย่าง

สัมมาสังกัปปะแง่นี้ แม้จะเกื้อกูลแก่สัมมาทิฐิ แต่เป็นแง่ที่สัมพันธ์กับศีลโดยตรง

คือนำไปสู่สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ลิงค์โยนิโสมนสิการแบบปลุกเร้ากุศลธรรม

viewtopic.php?f=2&t=18984&p=85891#p85891

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12: :b12:

ซนเรียบร้อยแล้ว ก็มานั่งเรียบร้อยหน้ากระดานต่อ...

หวัดดีค่ะ...อาจารย์...

ไม่ซน...แระ ตั้งใจเรียนดีกว่า...

:b16: :b16: :b16: :b16:

จะอดทนเริ่มตั้งแต่ ก.กา ข.ขา.. ค่ะ...

:b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:


ซนเรียบร้อยแล้ว ก็มานั่งเรียบร้อยหน้ากระดานต่อ...

หวัดดีค่ะ...อาจารย์...

ไม่ซน...แระ ตั้งใจเรียนดีกว่า...

จะอดทนเริ่มตั้งแต่ ก.กา ข.ขา.. ค่ะ...


เรียนเอาจากกายจากใจของตนๆนั่นแหละ เรียนเมื่อไหร่ก็เรียนได้ จะเดิน จะยืน จะนั่ง ฯลฯ

ทำอะไร ที่ไหน เรียนได้ทุกเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก

พุทธศาสนาสอนคนโดยตรง :b20:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ธ.ค. 2009, 19:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เรียนเอาจากกายจากใจของตนๆนั่นแหละ เรียนเมื่อไหร่ก็เรียนได้ จะเดิน จะยืน จะนั่ง ฯลฯ

ทำอะไร ที่ไหน เรียนได้ทุกเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก

พุทธศาสนาสอนคนโดยตรง :b20:


เรียนอันนั้น มันเรียนอยู่แล้วค่ะ... :b12:

แต่เรียนอันนี้ เรียนปรับระดับภาษาด้วย ทบทวนตนด้วย...ไงคะ...

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสัมมาทิฐิ กับสัมมาสังกัปปะอีกอย่างหนึ่ง

คือ เมื่อเทียบกับกิเลสหลักที่เรียกว่าอกุศลมูล ๓ อย่างคือ โลภะ โทสะ และโมหะ แล้วจะเห็นได้ว่า

สัมมาทิฐิ เป็นตัวกำจัดกิเลสต้นตอที่สุด คือ โมหะ

ส่วนสัมมาสังกัปปะ กำจัดกิเลสที่รอง หรือต่อเนื่องออกมา คือ เนกขัมมสังกัปป์ กำจัดราคะ หรือโลภะ

และอพยาบาทสังกัปป์ กับอวิหิงสาสังกัปป์ กำจัดโทสะ จึงเป็นความกลมกลืนต่อเนื่องประสานกันทุกด้าน

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


อย่างไรก็ดี การก้าวหน้ามาในองค์มรรคเพียง ๒ ข้อเท่านั้น ยังนับว่าเป็นขั้นต้นอยู่ การเจริญปัญญา

ยังไม่ถึงขั้นสมบูรณ์เต็มที่ตามจุดหมาย และแม้การปฏิบัติธรรมแต่ละข้อก็มิใช่จะสมบูรณ์ตามขอบเขต

ความหมายของธรรมข้อนั้นๆทันที แต่ต้องคลี่คลายเจริญขึ้นตามลำดับ

ดังนั้น ในที่นี้จึงควรทำความเข้าใจว่า ในสัมมาสังกัปปะ ๓ ข้อนั้น เนกขัมมสังกัปป์ บางทีก็หมายเอา

เพียงขั้นหยาบในรูปสัญลักษณ์คือ การออกบวช หรือปลีกตัวออกไปจากความเป็นอยู่ของผู้ครองเรือน

อพยาบาทสังกัปป์ก็มุ่งเอาการเจริญเมตตาเป็นหลัก และอวิหิงสาสังกัปป์ ก็มุ่งเอาการเจริญกรุณาเป็นสำคัญ

ปัญญาที่เจริญในขั้นนี้ แม้จะเป็นสัมมาทิฐิ มองเห็นตามความเป็นจริง แต่ก็ยังไม่บริบูสุทธิ์

เป็นอิสระรู้แจ้งเห็นแจ้งเต็มที่ จนกว่าจะถึงขั้นมีอุเบกขา ซึ่งอาศัยสมาธิเป็นบาทฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ในกรณีที่มิจฉาสังกัปปะเกิดขึ้น เมื่อจะแก้ไขโดยวิธีการแห่งปัญญา

ก็ต้องไม่ใช้วิธีดึงดัน กลัดกลุ้มหรือฟุ้งซ่านต่อไปโดยไม่มีจุดหมาย

แต่ต้องใช้โยนิโสมนสิการ คือ คิดสืบสาวหาเหตุ และพิจารณาให้เห็นคุณโทษของมัน

เช่น พุทธพจน์ที่ว่า




“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิกาล เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดเกิดขึ้นว่า

ถ้ากระไร เราพึงแยกความดำริออกเป็น ๒ ฝ่าย ดังนี้แล้ว จึงได้แยกกามวิตก พยาบาทวิตก

และวิหิงสาวิตก ออกเป็นฝ่ายหนึ่ง

และแยกเนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก ออกเป็นฝ่ายหนึ่ง”


“เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร มุ่งมั่นอยู่นั่นเอง เกิดมีกามวิตกขึ้น

เราก็รู้ชัดว่า เราเกิดกามวิตกขึ้นแล้ว

ก็แหละ กามวิตกนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง

เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นสองฝ่ายบ้าง

ทำให้ปัญญาดับ จัดเป็นพวกสิ่งบีบคั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน”


“เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนก็ดี กามวิตกนั้น ก็สลายตัวไป

เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นก็ดี...ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียน

ทั้งตนเอง และผู้อื่นสองฝ่าย ก็ดี ว่ามันทำให้ปัญญาดับ จัดเป็นพวกสิ่งบีบคั้น

ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานก็ดี กามวิตกนั้นก็ลายตัว

เราจึงละ จึงบรรเทากามวิตก ที่เกิดขึ้นมาๆ ทำให้หมดสิ้นไปได้ทั้งนั้น”


“เมื่อเราไม่ประมาท…เกิดมีพยาบาทวิตกขึ้น...เกิดมีวิหิงสาวิตกขึ้น เราก็รู้ชัด (ดังกล่าวแล้ว)

จึงละ...จึงบรรเทาพยาบาทวิตก...วิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นมาๆ ทำให้หมดสิ้นไปได้ทั้งนั้น”



“ภิกษุ ยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงความดำริใดๆมาก ใจของเธอก็ยิ่งน้อมไปทางความดำรินั้นๆ

ถ้าภิกษุ ยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย

ทำแต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปทางกามวิตก...ฯลฯ...

ถ้าภิกษุ ยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็ละทิ้งกามวิตกเสีย ทำแต่เนกขัมมวิตกให้มาก

จิตของเธอนั้น ก็น้อมไปทางเนกขัมมวิตก...”


(ม.มู.12/252/232)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00180.gif
00180.gif [ 97.18 KiB | เปิดดู 4537 ครั้ง ]
การปฏิบัติธรรมช่วงแรกตามองค์มรรค ๒ ข้อต้นนี้

สรุปได้ด้วยพุทธพจน์ว่า



“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ อย่าง ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินปฏิปทาอันไม่ผิดพลาด และเป็นอัน

ได้เริ่มก่อต้นกำเนิดของความสิ้นอาสวะแล้ว

ธรรม ๔ อย่างนั้น คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก สัมมาทิฐิ”


(องฺ.จตุกฺก.21/72/99)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2009, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรคในฐานะข้อปฏิบัติหรือทางชีวิตทั้งของบรรพชิตและคฤหัสถ์



“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทา ไม่ว่าของบรรพชิต หรือของคฤหัสถ์

บรรพชิตก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม ปฏิบัติผิดแล้ว เพราะการปฏิบัติผิดนั้นเป็นเหตุ

ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จไม่ได้ ก็มิจฉาปฏิปทาคืออะไร คือ มิจฉาทิฐิ มิจฉาสังกัปปะ

มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ


“เราย่อมสรรเสริญสัมมาปฏิปทา ไม่ว่าของบรรพชิตหรือของคฤหัสถ์

คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ปฏิบัติชอบแล้ว เพราะการปฏิบัติชอบนั้นเป็นเหตุ

ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จได้ ก็สัมมาปฏิปทาคืออะไร คือสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ”

(สํ.ม.19/68/23)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ญายธรรมอันเป็นกุศล จะแปลว่า กุศลธรรมที่เป็นทางรอดก็ได้

ญายะหรือญายธรรม หมายถึงโลกุตรมรรค, สัจธรรม, หรือนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร