วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 18:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2009, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 640

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกตัวอย่างการบรรลุธรรมอันลือลั่นของพระอินทร์ ซึ่งมาเข้าเฝ้าสดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า เรื่องนี้มีมาในสักกปัญหสูตร อันหมายถึงปัญหาที่ท่านท้าวสักกะหรือพระอินทร์ลง มากราบทูลถามพระพุทธเจ้าถึงในโลกมนุษย์ หากคุณศึกษาเนื้อความดังต่อไปนี้ให้ดี ก็จะเห็น ตัวอย่างการบรรลุมรรคผลอันเกิดจากการพิจารณาธรรมที่ไม่ยากจนเกินไป และเมื่อเข้าใจแล้วก็ย่อมทราบชัดว่าการบรรลุมรรคผลเป็นของสากล ไม่จำเพาะว่าต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น ขอเพียงมีดวงจิต เป็นกุศล สามารถเข้าใจภาษาธรรมะ จะเป็นเทวดาอินทร์พรหมไหนๆก็มีสิทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้น


ครั้งนั้นพระพุทธองค์ท่านประทับอยู่ในถ้ำชื่ออินทสาละ พระอินทร์รวมทั้งเหล่าเทวดาอัน เป็นเทพบริวารได้มาเข้าเฝ้า พระอินทร์กล่าวสรรเสริญคุณแห่งพระพุทธศาสนาว่าทำให้เทวดามี สหายใหม่มากขึ้น ส่วนสัตว์ในอบายภูมิได้เพื่อนน้อยลง อีกทั้งพระอินทร์ได้เห็นตัวอย่างการบรรลุ ธรรมในหมู่เทพด้วยกัน จึงมากราบทูลขอพุทธานุญาต ถามธรรมเพื่อความบรรลุถึงเช่นนั้นบ้าง


พระพุทธองค์ทรงอนุญาตและตรัสรับรองว่าจะตอบปัญหาของพระอินทร์ให้หายสงสัยถึง ที่สุด เนื่องจากเล็งเห็นว่าท้าวสักกะเป็นบัณฑิต จะถามอะไรย่อมประกอบด้วยประโยชน์ กับทั้งมี ความสามารถเข้าใจเนื้อความธรรมะได้รวดเร็วฉับพลัน ฉะนั้นพระองค์จะไม่เปลืองแรงเปล่ากับการตอบคำถามเป็นแน่


ครั้งนั้นความสงสัยอย่างที่สุดของพระอินทร์ท่าน คืออยากทราบว่าอะไรเป็นเครื่องมัดใจสัตว์ ทั้งหลายให้ต้องผูกเวรกัน ทั้งที่บางพวกไม่อยากมีเวร ก็ไม่แคล้วต้องถูกเบียดเบียน ต้องตอบโต้ ต้องก่อเวรกับผู้รุกราน ต่อให้เป็นเทวดา หรือกระทั่งเป็นพระอินทร์ผู้ยิ่งใหญ่ในดาวดึงส์ ยังถูกเหล่า อสูรราวีเข้าจนได้


ในการตอบเพื่อให้มรรคให้ผลแก่ผู้ควรบรรลุ พระพุทธเจ้าทรงเลือกที่จะไม่ให้คำตอบโยงไป เกี่ยวพันกับอดีตกรรมหนหลังที่เทวดาและอสูรเคยผูกเวรกันมา ทว่าจำกัดขอบเขตอยู่ในเหตุผลของจิต และคำตอบแบบยิงเข้าเป้าโดยตรงของพระพุทธองค์ก็คือ…


ดูกรจอมเทพ เหล่าเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ต่างก็มีความริษยาและความ ตระหนี่เป็นเครื่องผูกใจไว้ แม้เหล่าชนจำนวนมากปรารถนาความเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท แม้กระนั้นพวกเขาก็ยังต้องเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่


คำตรัสของพระพุทธองค์หมายความว่า พวกเราตกอยู่ในจักรวาลแห่งการเบียดเบียน ถูก จองจำพันธนาการอยู่ด้วยสายโซ่คือความริษยาและความตระหนี่ ต่อให้ไม่อยากมีเวรก็ต้องมีเวร ต่อ ให้ไม่อยากมีศัตรูก็ต้องมีศัตรู เราไม่ทำเขาเขาก็มาทำเราอยู่วันยังค่ำ ยากที่จะหลีกเลี่ยงไปได้ตลอด รอดฝั่ง


ดังกล่าวแล้วว่าพระอินทร์เป็นผู้มีปัญญามาก เพียงฟังเท่านั้นท่านก็เบี่ยงเบนความสนใจจาก เวรนอกตัว มาเป็นเหตุแห่งเวรอันเป็นของภายใน นั่นคือความริษยาและความตระหนี่ทันที ซึ่งในขั้น นี้ผู้มีปัญญาใกล้ถึงธรรมทั้งหลายต่างก็เหมือนกัน คือตัดความสนใจนอกตัว เอาสติเข้ามาตั้งที่ภายใน รู้อยู่กับเรื่องของใจตน


เมื่อเกิดสติรู้อยู่ที่จิตอันเป็นของจริงในตนแล้ว พระอินทร์ก็ทูลถามต่อ…

ข้าแต่พระสุคต ด้วยคำตอบของพระองค์ทำให้ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยเรื่องต้นเหตุแห่งภัยเวรแล้ว แต่กระนั้นก็ยังสงสัยอยู่ ว่าความริษยาและความตระหนี่มีอะไรเป็น ต้นเหตุให้เกิดขึ้น ข้าพระองค์ใคร่ที่จะทราบว่าเมื่ออะไรมี ความริษยาและความตระหนี่จึงมี และเมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี?


พระอินทร์ไม่ได้ถามอย่างคนช่างซักหรือสักแต่อยากรู้อยากเห็น เพราะท่านถามเจาะเอา แก่นสารอันเป็นที่สุดด้วย นั่นคือ ‘เมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี’ อันนี้ถือเป็น คำถามที่ลึกซึ้งสุดยอดของศาสนาพุทธเรา ซึ่งกล่าวถึงเหตุแห่งการมีทุกข์ และเหตุแห่งการดับทุกข์ ผู้รู้ทางศาสนาย่อมทราบดีว่าคำถามนี้ของพระอินทร์เริ่มเข้าข่ายอริยสัจจ์ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการถามเอาความรู้แจ้งในระดับอริยะแล้ว

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า…

ดูกรจอมเทพ ความริษยาและความตระหนี่ มีวัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่ รักเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น เมื่อวัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักมีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่จึงมี เมื่อวัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี


พระอินทร์ย่อมเห็นแจ้งตามจริงตามพุทธพจน์ทันที ว่าเมื่อปราศจากเครื่องยึดให้จิตรักใคร่ใจย่อมว่างจากความริษยาและความตระหนี่ แต่กระนั้นก็ยังไม่ถึงที่สุดของความสงสัย พระอินทร์จึง ทูลถามต่อไป…


ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รัก มีอะไรเป็นต้นเหตุ ให้เกิดขึ้น ข้าพระองค์ใคร่ที่จะทราบว่าเมื่ออะไรมี วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักจึง มี และเมื่ออะไรไม่มี วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี?

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า

ดูกรจอมเทพ วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักนั้น มีความพอใจเป็นต้นเหตุ ให้เกิดขึ้น เมื่อความพอใจมี วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่อความพอใจไม่มี วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี


บัดนั้นพระอินทร์เห็นเข้ามาที่จิตอีกครั้ง เห็นว่าบุคคลหรือวัตถุภายนอกย่อมไม่อาจเป็นที่รักได้เลย หากขาดตัวแปรสำคัญตัวเดียวคือ ‘ความพอใจ’ หากขาดความพอใจเสียแล้ว ทั้งโลกย่อมไม่มีสิ่งใดควรยึดมั่นว่าน่ารักหรือน่าชังอีกต่อไป

พระอินทร์ยังมีคำถามต่อ…

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความพอใจมีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น ข้าพระองค์ใคร่ที่จะ ทราบว่าเมื่ออะไรมี ความพอใจจึงมี และเมื่ออะไรไม่มี ความพอใจจึงไม่มี?


พระพุทธองค์ตรัสตอบ

ดูกรจอมเทพ ความพอใจมีความตรึกเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น เมื่อความตรึกมี ความ พอใจจึงมี เมื่อความตรึกไม่มี ความพอใจจึงไม่มี

นี่คือคำตอบที่ชัดเจน เรียบง่าย และตรงไปตรงมายิ่ง คนเราถ้าไม่ตรึกนึกถึงสิ่งใด ความพอใจหรือความไม่พอใจเกี่ยวกับสิ่งนั้นย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย ขอให้พิจารณาดูว่าถ้าคุณผ่านไปเห็นหรือมีอะไรผ่านมาให้ได้ยิน แต่คุณไม่ยินยลสนใจ ไม่ใส่ใจตรึกนึกเปรียบเทียบให้เห็นข้อดีข้อเสียต่างๆ คุณย่อมไม่รู้สึกรู้สา แม้เห็นอยู่ว่าสวยงามหรือชวนชัง แต่ทุกอย่างก็สักแต่ผ่านมาแล้วผ่านไป โดยไม่มีใจคุณติดตามไปด้วย


แต่ธรรมดาคนเราเมื่อพบเห็นหรือได้ยินอะไร ก็มักเอากลับมานึกถึง เอากลับมาคิดต่อ แล้วก็เกิดอาการตอกย้ำ ตัดสินยิ่งๆขึ้นว่านั่นน่าพอใจ นั่นน่าจับต้อง นั่นน่าได้มาไว้เป็นสมบัติ นี่แหละ พระพุทธองค์จึงตรัสว่าเพราะความตรึกนึกเป็นเหตุ จึงมีความพอใจเกิดขึ้นได้


พระอินทร์ทูลถามต่อ…

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความตรึกมีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น ข้าพระองค์ใคร่ที่จะ ทราบว่าเมื่ออะไรมี ความตรึกจึงมี และเมื่ออะไรไม่มี ความตรึกจึงไม่มี?

คราวนี้พระพุทธองค์ตรัสตอบมาถึงระดับพ้นวิสัยที่จะเข้าใจด้วยมุมมองของการมีตัวตน (ลองอ่านช้าๆจะไม่ยากเกินเข้าใจนะครับ)


ดูกรจอมเทพ ส่วนหนึ่งของความตรึกมาจากความสำคัญมั่นหมาย อันประกอบด้วยความทะยานอยาก ความถือตัว และความเห็นผิด ความสำคัญมั่นหมายนั่นแหละเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น เมื่อความสำคัญมั่นหมายมี ความตรึกจึงมี เมื่อความสำคัญมั่นหมายไม่มี ความตรึกจึงไม่มี


ความสำคัญมั่นหมายคืออาการที่จิตทรงจำ ตลอดจนหมายรู้ได้ว่าอะไรคืออะไร หน้าตาแบบ ไหนเป็นของคนรัก หน้าตาแบบไหนเป็นของศัตรู และหน้าตาแบบไหนเป็นตัวคุณเอง หาก ปราศจากอาการสำคัญมั่นหมายอันประกอบไปด้วยความทะยานอยาก ความถือตัว และความเห็นผิดเสียแล้ว คุณจะไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ไม่มีข้างคนรัก ไม่มีข้างศัตรูเลย ทุกคนเป็นพวกเดียวกัน คือ เป็นเหยื่อของความไม่รู้ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น


เมื่อ ‘รู้สึกชัด’ เข้ามาในภายใน เห็นว่าจิตนี้ มีองค์ประกอบส่วนหนึ่งเป็นความสำคัญมั่น หมาย หรือความจำได้หมายรู้ ก็เท่ากับคุณเห็นแบบแยกส่วน ว่าความจำได้หมายรู้เป็นแค่อะไรชิ้นหนึ่ง เป็นต่างหากจากจิต เป็นต่างหากจากตัวตน และถ้าตั้งความเห็นไว้ถูกต้อง ว่าความจำได้ หมายรู้เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เกิดขึ้นด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง แล้วต้องสาบสูญไปสู่ความเป็นอื่น คุณก็จะไม่เห็นตัวคุณอยู่ในความจำ และไม่เห็นความจำโดย ความเป็นตัวคุณแต่อย่างใดเลย


มาต่อกันเรื่องพระอินทร์ พอฟังคำตอบถึงตรงนี้ ‘ตัวสำคัญมั่นหมาย’ ก็ปรากฏต่อจิตของ ท่านแล้ว คือท่านเห็นความสำคัญมั่นหมายเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่ง อันนำมาซึ่งความตรึก ความพอใจ แล้วเป็นเหตุให้เกิดสิ่งที่รัก สิ่งที่เป็นต้นตอแห่งความริษยาและความตระหนี่ ดังนั้นท่านจึงทูล ถามพระพุทธเจ้าต่ออย่างจะเอาคำตอบสำคัญสุดยอด คือ…


ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงได้ชื่อว่าทำเหตุอันควรที่จะให้ถึง ความดับในส่วนของความสำคัญมั่นหมาย อันประกอบด้วยความทะยานอยาก ความถือตัว และความเห็นผิด?

คำตอบสำหรับคำถามนี้ พระพุทธองค์ตรัสโดยถือหลักว่าจะต้องปฏิบัติได้จริงสำหรับเทวดา เหล่าเทวดาประสบกับสัมผัสดีๆอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจะหาเครื่องพิจารณาให้จิตถอนจากความ ทะยานอยาก ความถือตัว และความเห็นผิด จึงต้องว่ากันด้วยเรื่องความดีใจและความเสียใจกันเป็น หลัก เพราะแม้ในโลกสวรรค์ที่อุดมด้วยทิพยสภาพอันแสนประณีตไร้ที่ติ ก็อาจเป็นทางมาแห่งโสมนัสและโทมนัสได้


พระพุทธองค์จึงอาศัยโอกาสแคบๆนี้เป็นช่องชี้ทางสว่างให้พระอินทร์ คือ…

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพจะกล่าวถึงโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือโสมนัสที่ควรเสพก็มี โสมนัสที่ไม่ควรเสพก็มี โทมนัสก็แยกเป็น ๒ คือโทมนัสที่ควรเสพก็มี โทมนัสที่ไม่ควรเสพก็ มี และอุเบกขาก็แยกเป็น ๒ คืออุเบกขาที่ควรเสพก็มี อุเบกขาที่ไม่ควรเสพก็มี โสมนัส โทมนัส และอุเบกขาใดทำให้กุศลเจริญขึ้น กับทั้งปราศจากความตรึก ความ ตรอง อย่างนั้นควรเสพ แต่ถ้าทำให้อกุศลเจริญ อย่างนั้นไม่ควรเสพ


ได้ฟังอย่างนี้ สำหรับพระอินทร์ก็โดนใจเต็มๆ เพราะท่านเพิ่งมีประสบการณ์อันทำให้ระลึก ได้ถึงการเสพโสมนัสควบคู่ไปกับโทมนัสมาสดๆร้อนๆ กล่าวคือเหล่าพรรคพวกเทวดาของท่านเพิ่ง รบกับเหล่าอสูร ซึ่งเมื่อพระอินทร์เป็นฝ่ายชนะ ก็ย่อมมีความโสมนัสยินดี


ความโสมนัสยินดีอันเกิดจากชัยชนะต่ออริราชศัตรูนั้น เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ก็ย่อม เห็นชัด ว่าเป็นโสมนัสที่ประกอบไปด้วยทางมาแห่งอาชญา ประกอบไปด้วยทางมาแห่งศาตรา ไม่ เป็นไปเพื่อความแหนงหน่ายคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์อันเกิดจากการรู้แจ้งมรรคผล
นิพพาน


ส่วนการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัสอันเกิดจากการได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ไม่เป็นทางมาแห่งอาชญา ไม่เป็นทางมาแห่งศาตรา แต่เป็นไปเพื่อความแหนงหน่ายคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับทุกข์อันเกิดจากการรู้แจ้งมรรคผลนิพพาน

ระหว่างฟังเทศนาธรรมไขปัญหาอยู่นั้นเอง พระอินทร์ก็บรรลุธรรม (กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า บรรลุมรรคผล หรือได้ดวงตาเห็นธรรม รู้จักพระนิพพานเป็นวาระแรก) ดังความตามพระสูตรที่ว่า…


ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพ เพราะเห็นแจ้งว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งเหล่านั้นทั้งมวลล้วนมีความดับลงเป็นธรรมดา


การสืบเหตุสืบผลของความมีความเป็นทั้งหลายตามลำดับนั้น เปรียบเสมือนการปอกกาบใบของต้นกล้วยออกทีละชั้นจนไม่เหลืออะไร ไม่พบแก่นอันเป็นสุดท้ายนอกจากความว่างเปล่า และ ณ ที่ที่พบความว่างเปล่าจากตัวตนนั้นเอง ความรู้สึกในตัวตนย่อมหายไป


กล่าวโดยสรุปอีกครั้ง เทวดาบรรลุมรรคผลได้นะครับ แต่ตามอัตภาพอันเป็นอัครมหาสุขแล้ว ท่านจะไม่มีโอกาสเจริญสติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ เหมือนมนุษย์โลก พวกท่านไม่มีกายอันเต็มไป ด้วยอึฉี่และตับไตไส้พุงโสโครก ตั้งอยู่อย่างอุดมโรค เป็นรังโรคที่รอวันแตกดับ มีแต่กายทิพย์อัน หอมหวนนุ่มนิ่ม กับสภาพแวดล้อมน่ารื่นรมย์สุดประมาณ การจะพิจารณาให้เกิดความแหนงหน่าย


จึงยาก แต่ก็มีโอกาสอันแคบอยู่ คือพิจารณาเห็นสายโซ่แห่งเหตุผลของการมีการเป็น หรือเห็นเข้า มาในจิต ในอารมณ์ของตนเป็นขณะๆ ว่าเกิดแล้วต้องดับไปทั้งหมด กระทั่งจบลงที่การรู้แจ้งว่ากาย ทิพย์ใจทิพย์นั้น หาใช่ตัวตนของใครไม่

http://dungtrin.com/mag/?3.prepare


:b42: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14326

.....................................................
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าธรรมชาติของจิตนั้นไหลลงต่ำ
จะขึ้นสูงต้องออกแรงทวนกระแส
เพราะฉะนั้นให้ถามตัวเองว่าเราคิดดีได้เป็นปกติหรือยัง
ถ้ายัง ก็ยอมรับตรงๆ ว่ายัง..
อย่าหลอกตัวเองว่าดีแล้ว
เพราะผลเสียหายไม่ใช่ใครอื่น นอกจากตัวเราเองที่ยังหลงวน
ไม่รู้ตัวว่าขาดเสบียงเพื่อความพร้อมตาย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2009, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2009, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สุดยอดเลยค่ะ...

:b8: :b8: อนุโมทนาค่ะ :b8: :b8:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร