วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 12:01
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อารมณ์อรูปฌานสมถะภาวนา ต่างและคล้ายคลึงกับ อารมณ์อรูปฌานวิปัสสนาภาวนา อย่างไร?

ข้อต่างคือ (ผมขอยกเฉพาะอารมณ์ที่ผมติดพอใจอยู่นะครับ)

อารมณ์อรูปฌานสมถะภาวนา (ติดแช่)

เป็นอารมณ์ที่ไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนาม ถือความว่าง ถือความไม่มีอะไรเลย เป็นสำคัญ

เมื่อทำได้แล้วก็จะพอใจ ติดแช่อยู่ในอารมณ์อรูปฌานที่ตนได้ เพราะในอรูปฌานที่๓ เหมือนนิพพานมาก(แต่ไม่ใช่)

เพราะคิดว่าคงไม่มีอะไรที่เลิศยิ่งกว่านี้แล้ว.

ส่วนอารมณ์อรูปฌานวิปัสสนาภาวนา (เดินปัญญา)

เป็นอารมณ์ที่เหมือนกันกับอรูปฌานสมถะ แต่ในอรูปวิปัสสนานี้เน้นการรู้แจ้งเห็นจริงของไตรลักษณ์

เพียงรู้ว่า มีความไม่มีอะไร แล้วก็วาง

อารมณ์จะเป็นอย่างนี้ครับ "พอเห็นสภาวะที่ไม่มีอะไรเลย แล้วก็รู้ทันสภาวะนั้น พอรู้ทันสภาวะนั้น จิตก็คลายออกจากสภาวะนั้น แล้วก็วิ่งเข้าไปเกาะที่สภาวะนั้นอีก พอรู้ทัน ก็คลาย

แล้วก็วิ่งเข้าไปเกาะอีก รู้ทัน ก็คลาย แล้วก็วิ่งไปเกาะอีก"
(ถือว่าเดินตามทางสติปัฏฐาน 4 เป๊ะเลยครับ รู้จิต รู้ธรรมไงครับ)

พอดูและเห็นได้บ่อยๆ ก็จะเห็นไตรลักษณ์ (แต่เป็นการเห็นไตรลักษณ์ที่ลึกและคมกว่าชั้นอื่น)

พอเห็นไตรลักษณ์ได้บ่อยและถี่ ก็จะค่อยๆคลายออกหรือวางจากอรูปได้อย่างถาวรครับ (เมื่อไม่ยึดอะไรเลยก็พ้นทุกข์ครับ)

อารมณ์ของอรูปวิปัสสนาก็เป็นเหมือนการรู้อารมณ์ รู้สภาวะทั่วไปนี่แหละครับ แต่ในอรูปเป็นอารมณ์หรือเป็นสภาวะที่ละเอียดที่สุด.

ซึ่งเป็นอารมณ์ ที่ไม่ยึดของหยาบและปานกลางแล้วทั้งสิ้น.

ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปแล้ว เจริญวิปัสสนาญาณ

ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ

เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก

วิปัสสนาญาณ ๙

๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ

๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ

๓. ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว

๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร

๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย

๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย

๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร

๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร

๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ

ส่วนคล้ายคลึงคือ เป็นอารมณ์ที่ไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนาม และก็เพื่อพ้นทุกข์เหมือนกัน เห็นไหมครับคล้ายกันเหมือนเป็นคู่แฝดเลย

เห็นไหมครับ พอสุดท้ายของการพิจารณาก็คือ อนุโลมเพื่อระลึกรู้อริยสัจ
ก็คือเพื่อรู้แจ้งเพื่อความพ้นทุกข์เหมือนกัน

พวกที่บำเพ็ญถึงอรูปก็คือผู้ที่คิดว่าหากบำเพ็ญจนได้อรูปฌานแล้วก็จะพ้นทุกข์
เหลือแต่ความไม่มีอะไรเลย (นิพพานของปลอม)

เพียงแต่ผู้ที่มาถึงจุดนี้ (ถึงอรูป) ปัญญาเขายังไม่เต็มรอบ ยังไม่พอ ที่จะตัดอวิชชา เขาจึงมาติดอยู่แค่นี้

เพราะอย่างที่ผมบอกนั่นแหละครับว่า "อารมณ์ในอรูปชั้นนี้มันเหมือนิพพานจริงๆ (แต่ไม่ใช่)

(เป็นนิพพานปลอม) เขาเหล่านั้นจึงโดนกิเลส (อวิชชา) หลอกให้ติดอยู่แค่นี้.


"จนพระพุทธเจ้าผู้เปี่ยมด้วยปัญญาพระองค์ทรงค้นพบทางที่พ้นทุกข์จริงๆ ให้พวกเราได้เดินตามไงครับ"

ถือว่าเรามีบุญมากที่ได้ เกิดมาแล้วได้พบ คำสอนของพระพุทธองค์อยู่.

แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดคือ ต้องปฏิบัติตามและเดินตามรอยพระพุทธองค์ แล้วเราก็จะพบนิพพานของจริง.

.....................................................
รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 16 พ.ย. 2009, 13:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 01:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเข้าใจว่ารูปฌาน และ อรูปฌานเป็นสมถะ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ

สมถะนั้นมีในจิต 5 ประเภทครับ
ซึ่งสมถะมีความแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 5 สภาวะธรรมครับ
1.สมถะในอกุศลจิต คือสมถะชนิดมิจฉาสมาธิครับ เป็นสมถะที่ประกอบด้วยราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะครับ
2.สมถะในกามาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้
3.สมถะในรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา
4.สมถะในอรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบไปด้วยอรูปสัญญา
5.สมถะในโลกุตตระกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ของโลกุตตระกุศลจิต



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต



ฌานสูตร
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสานัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตาเธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ


ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติและฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 12:01
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

การเข้าใจว่ารูปฌาน และ อรูปฌานเป็นสมถะ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ จาก มหาราชันต์


ผมจะไม่ขอโต้เถียงกับคุณมหาราชันต์แล้วกันนะครับ cool

ก็ขอขอบคุณมากครับที่เข้ามาคอมเม้น :b17:

Lips หากใครที่เป็นผู้ที่ทำฌานได้ด้วยและศึกษาปริยัติด้วยจะเข้าใจครับว่า

ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา

อยู่ที่ผู้นำไปใช้ว่าจะฉลาดในการใช้หรือเปล่า

ในธรรมที่คุณมหาราชันต์ยกขึ้นมานั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ถูกแล้ว

แต่ท่านลองดูดีๆนะครับ พระพุทธองค์จะทรงตรัสว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

"อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติและฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ"

นี่คือไม่ว่าท่านจะได้ปฐมฌานหรือฌานไหนก็ตาม แล้วพิจารณาฌานที่ได้ น้อมเข้าสู่ไตรลักษณ์
เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงเห็นแจ้ง(ส่วนนี้คือการเดินฌานที่เป็นวิปััสสนา)

การที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ผู้ฉลาด" ก็หมายถึง ผู้ที่เข้าฌานแล้วท่านนำฌานไปเดินปัญญา
(คือเดินวิปัสสนานั่นเอง)

หากผู้ใดนำฌานไปเดินปัญญา ท่านเหล่านั้นพึงกล่าวได้โดยชอบ คือกล่าวได้ถูกต้อง

ธรรมที่ท่านยกมานี้พระพุทธองค์ทรงหมายถึง "ผู้ที่ใช้ฌานได้อย่างฉลาดและถูกต้องครับ"


ท่านต้องพิจารณาธรรมให้ถี่ถ้วนนะครับ ก่อนนำขึ้นมากล่าวกับผู้อื่น

นี่คือสิ่งที่คุณเริ่มหัวข้อ
การเข้าใจว่ารูปฌาน และ อรูปฌานเป็นสมถะ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ

หากท่านทำฌานได้และศึกษาปริยัติมาถูกแล้ว

ท่านจะเข้าใจเลยว่า "ฌานนั้นมีทั้งส่วนที่เป็นสมถะ และวิปััสสนาจริงๆครับ"

ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงอุบัติ

ก็มีพวกฤาษีที่เขาทำฌานได้ตั้งเยอะแยะ ถึงอรูปฌานที่๔ก็มีมาก นี่แหละคือฌานที่เป็นสมถะครับ

บุคคลเหล่านี้ได้ฌานแล้วไม่เดินปัญญาในฌาน แต่ติดอยู่ในฌาน จนงองแงม

อีกประเภทหนึ่งคือท่านที่ได้ฌานแล้วท่านนำฌานมาพิจารณาเดินปัญญาเพื่อความพ้นทุกข์

ตามที่พระพุทะองค์ทรงสอนไว้ นี่แหละคือฌานที่เป็นวิปัสสนาครับ

หากผมใช้คำที่ไม่เหมาะสม หรือกล่าวแรงเกินไป

ต้องขอให้คุณมหาราชันต์อโหสิกรรมให้กับผมด้วยนะครับ

เพราะผมเอาของจริงมาพูดจริงๆครับ

ขอโทษครับ._/!_ _/!_ _/!_

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 12:01
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ผมขอขอบคุณ เอรากอนมาก

หลังจากที่ผมอ่านข้อความของคุณแล้ว

ปีติได้พุ่งขึ้นมาแรงมาก ซาบซ่านทั่วจิต

ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ขอบคุณจากจิตจริงๆครับ


ผมจะขอยุติการคุยเรื่องฌานไว้เพียงเท่านี้

คงจะเป็นเหตุผลเดียวกับคุณบัวศกล

ขอยุติโดยเด็ดขาดครับ.


ขอบคุณ คุณเอรากอนอีกครั้งครับ

สาธุครับ...ขออนุโมทนาในบุญกุศลที่คุณเอรากอนไ้ด้บำเพ็ญมาด้วยนะครับ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับคุณวันชัยด้วยครับ

ใครจะไปรู้ว่าเวลาอ่านพุทธพจน์
แต่เดิมเราไปสนใจแต่คำศัพท์ คำสำคัญอะไรต่างๆ

เมื่อถึงจุดหนึ่ง คำสำคัญที่สุด
กลับกลายเป็นคำเชื่อม คำขยาย คำที่ไม่น่าจะสำคัญ
คำที่เรามองเผินๆว่าเป็นสำนวน แต่แท้จริงเป็น keyword ที่สำคัญมากๆ

ทำให้ทึ่งทั้งผู้พูด (พระพุทธเจ้า) และผู้แปลเป็นไทย
ว่าคงจะต้องถึงทั้งอรรถ ทั้งธรรมจริงๆ ถึงจะถ่ายทอดออกมาได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
สาธุกับคุณวันชัยด้วยครับ

ใครจะไปรู้ว่าเวลาอ่านพุทธพจน์

เมื่อถึงจุดหนึ่ง คำสำคัญที่สุด
กลับกลายเป็นคำเชื่อม คำขยาย คำที่ไม่น่าจะสำคัญ
คำที่เรามองเผินๆว่าเป็นสำนวน แต่แท้จริงเป็น keyword ที่สำคัญมากๆ



อย่าง keyword สไตล์ พี่ มะ-หย๋าม ชั่ยป่าว

อิ อิ... :b12: :b12:

กำลังนั่งกิน มะขาม คลุก อดนึกถึงพี่ มะ-หย๋าม ไม่ได้..

:b13: :b13: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 17 พ.ย. 2009, 16:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ปเรสสูตร
[๔๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ ๓ ประการ เรื่องราวจึงเป็นไปได้

เหตุ ๓ ประการเป็นไฉน คือ

ผู้แสดงธรรมรู้แจ้งอรรถด้วย รู้แจ้งธรรมด้วย ๑

ผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถด้วย รู้แจ้งธรรมด้วย ๑

ผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้งสองฝ่าย รู้แจ้งอรรถด้วย รู้แจ้งธรรมด้วย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ ๓ ประการนี้แล เรื่องราวจึงเป็นไปได้ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันชัย(อยุธยา) เขียน:
ผมจะไม่ขอโต้เถียงกับคุณมหาราชันต์แล้วกันนะครับ

ก็ขอขอบคุณมากครับที่เข้ามาคอมเม้น

หากใครที่เป็นผู้ที่ทำฌานได้ด้วยและศึกษาปริยัติด้วยจะเข้าใจครับว่า

ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา



วันชัย(อยุธยา) เขียน:
อารมณ์อรูปฌานสมถะภาวนา ต่างและคล้ายคลึงกับ อารมณ์อรูปฌานวิปัสสนาภาวนา อย่างไร?

ข้อต่างคือ (ผมขอยกเฉพาะอารมณ์ที่ผมติดพอใจอยู่นะครับ)

อารมณ์อรูปฌานสมถะภาวนา (ติดแช่)

เป็นอารมณ์ที่ไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนาม ถือความว่าง ถือความไม่มีอะไรเลย เป็นสำคัญ

เมื่อทำได้แล้วก็จะพอใจ ติดแช่อยู่ในอารมณ์อรูปฌานที่ตนได้ เพราะในอรูปฌานที่๓ เหมือนนิพพานมาก(แต่ไม่ใช่)

เพราะคิดว่าคงไม่มีอะไรที่เลิศยิ่งกว่านี้แล้ว.

ส่วนอารมณ์อรูปฌานวิปัสสนาภาวนา (เดินปัญญา)

เป็นอารมณ์ที่เหมือนกันกับอรูปฌานสมถะ แต่ในอรูปวิปัสสนานี้เน้นการรู้แจ้งเห็นจริงของไตรลักษณ์

เพียงรู้ว่า มีความไม่มีอะไร แล้วก็วาง

อารมณ์จะเป็นอย่างนี้ครับ "พอเห็นสภาวะที่ไม่มีอะไรเลย แล้วก็รู้ทันสภาวะนั้น พอรู้ทันสภาวะนั้น จิตก็คลายออกจากสภาวะนั้น แล้วก็วิ่งเข้าไปเกาะที่สภาวะนั้นอีก พอรู้ทัน ก็คลาย

แล้วก็วิ่งเข้าไปเกาะอีก รู้ทัน ก็คลาย แล้วก็วิ่งไปเกาะอีก"
(ถือว่าเดินตามทางสติปัฏฐาน 4 เป๊ะเลยครับ รู้จิต รู้ธรรมไงครับ)

พอดูและเห็นได้บ่อยๆ ก็จะเห็นไตรลักษณ์ (แต่เป็นการเห็นไตรลักษณ์ที่ลึกและคมกว่าชั้นอื่น)

พอเห็นไตรลักษณ์ได้บ่อยและถี่ ก็จะค่อยๆคลายออกหรือวางจากอรูปได้อย่างถาวรครับ (เมื่อไม่ยึดอะไรเลยก็พ้นทุกข์ครับ)

อารมณ์ของอรูปวิปัสสนาก็เป็นเหมือนการรู้อารมณ์ รู้สภาวะทั่วไปนี่แหละครับ แต่ในอรูปเป็นอารมณ์หรือเป็นสภาวะที่ละเอียดที่สุด.

ซึ่งเป็นอารมณ์ ที่ไม่ยึดของหยาบและปานกลางแล้วทั้งสิ้น.

ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปแล้ว เจริญวิปัสสนาญาณ

ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ





รูปฌานเราเรียกว่ารูปฌาน
อรูปฌานเราเรียกว่า อรูปฌานครับ
ไม่เรียกรูปฌานและอรูปฌานว่าสมถะครับ

เพราะคุณเข้ามาแสดงธรรม ดังนั้นคุณต้องนำสิ่งที่ถูกต้องมาแสดงครับ

ที่ถูกต้องคือคุณ"วันชัย(อยุธยา)"ต้องกล่าวว่า องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนา เกิดร่วมเกิดพร้อมในกุศลจิตเสมอครับ ไม่มีการแยกจากกัน


ผมจึงกล่าวว่า



มหาราชันย์ เขียน:
การเข้าใจว่ารูปฌาน และ อรูปฌานเป็นสมถะ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ



เพราะองค์ธรรมที่เกิดขึ้นในจิตไม่ใช่เกิดแล้วจะทำลายสังโยชน์ 10 ได้หมดสิ้นทันทีครับ จิตมีวิปัสสนาแต่ไม่ได้ละสังโยชน์เลยสักอย่างเดียวก็มีครับ ผมจึงกล่าวว่า

มหาราชันย์ เขียน:
การเข้าใจว่ารูปฌาน และ อรูปฌานเป็นสมถะ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ




วิปัสสนามีในกุศลจิตทุกดวงครับ
องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนาไม่มีในอกุศลจิตครับ
องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนา จึงมี 4 สภาวะธรรมครับ

1.วิปัสสนาในกามาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ทำหน้าที่ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้

2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.1.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในปฐมฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในทุติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละวิตก ละวิจารได้
2.3.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในตติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร และละปีติได้
2.4.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน (ที่ใช้คำว่าจตุตถฌานเพราะมีอุเบกขาและเอกคตารมณ์เหมือนในจตุตถฌานครับ) ที่ประกอบด้วย อรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้
3.1.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.2.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย วิญญานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากิญจัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.4.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละอากิญจัญญายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

4.วิปัสสนาใน โลกุตตระกุศลจิตหรืออริยมัคคจิต 4 คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และในอรหัตตมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ ได้

4.1.วิปัสสนาใน โสดาปัตติมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา และละสีลพตปรามาสได้

4.2.วิปัสสนาใน สกทาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส และทำลายกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้

4.3.วิปัสสนาใน อนาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะและพยาบาทได้หมดสิ้น

4.4.วิปัสสนาใน อรหัตตมัคคมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะละพยาบาท ละรูปราคะ ละอรูปราคะ ละมานะ ละอุทธัจจะ และละอวิชชาได้หมดสิ้น

องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาในกุศลจิต คือกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต เหล่านี้ เกิดร่วมเกิดพร้อมไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 12:01
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครรู้บ้างว่าทำไมมีร่มไม้ เข้าไปนั่งแล้ว แต่ไม่รู้สึกเย็น onion

ทำไมน้อ........ onion

กฏหมายข้อเดียวกัน... wink

แต่ทนายคนละคน...(อะไรน้อ?) Onion_L

แล้วใครเป็นผู้พิพากษาน้อ.......... smiley

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
อย่าง keyword สไตล์ พี่ มะ-หย๋าม ชั่ยป่าว

อิ อิ... :b12: :b12:

กำลังนั่งกิน มะขาม คลุก อดนึกถึงพี่ มะ-หย๋าม ไม่ได้..

:b13: :b13: :b13:


เหมือนจะตลกนะเนียะ :b5:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
เอรากอน เขียน:
อย่าง keyword สไตล์ พี่ มะ-หย๋าม ชั่ยป่าว

อิ อิ... :b12: :b12:

กำลังนั่งกิน มะขาม คลุก อดนึกถึงพี่ มะ-หย๋าม ไม่ได้..

:b13: :b13: :b13:


เหมือนจะตลกนะเนียะ :b5:


หยอก...หน่ะคะ อาหย๋าม sad

จิ้ง หยอกแรงไปเหร๋อคะ ... ขอ...โตดดด... sad

ไม่...ซน...แระ... tongue


ไม่อยากเห็นอาหย๋ามต้องถือ ม้าย...เรียว อีกคน... :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 17 พ.ย. 2009, 18:24, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วันชัย(อยุธยา) เขียน:
ใครรู้บ้างว่าทำไมมีร่มไม้ เข้าไปนั่งแล้ว แต่ไม่รู้สึกเย็น onion

ทำไมน้อ........ onion

กฏหมายข้อเดียวกัน... wink

แต่ทนายคนละคน...(อะไรน้อ?) Onion_L

แล้วใครเป็นผู้พิพากษาน้อ.......... smiley

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b8: :b8: :b8: :b8:



มาแสดงมุมมองหนออ ... cool

ไม่ยึดติด อยู่ที่ไหนก็เย็นใจ

ความคิดคะไงพิพากษา .... ถูกผิดย่อมว่าไปตามความคิดและการยึดติดของแต่ละคน

เมื่อคิดจะสนทนาก็ต้องยอมที่จะยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นๆ :b12:

ใครเชื่อใคร นั่นคือเขาเคยสร้างเหตุมาร่วมกัน

เมื่อไม่เคยสร้างเหตุมาร่วมกัน จึงไม่มาเชื่อกัน






.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 พ.ย. 2009, 18:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 12:01
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอมาทำความเข้าใจกับคุณมหาราชันต์เพื่อที่ทั้งท่านและผมจะได้เข้าใจกันครับ :b8:

ก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรดีครับ

เพราะงงกับคำทักท้วงเหมือนกันครับ ว่าเป็นเช่นไร

คือไม่ใช่ว่า ความเห็นที่ผมเขียนไปนั้นจะถูกนะครับ smiley

แต่ผม "งง" ในคำท้วงมากกว่าครับ :b10:

คือความรู้สึกนะครับ

เหมือนกับว่าคุณมหาราชันต์ "พูดคนละเรื่องกับที่ผมพูดน่ะครับ" :b10:

เอ้..หรือว่าคนละเรื่องเดียวกัน :b12:

ทำให้ผมงงมาก

คืองงแบบ งง งง น่ะครับ :b10: :b10: :b10:

อ้างจาก คุณมหาราชันต์นะครับ

รูปฌานเราเรียกว่ารูปฌาน
อรูปฌานเราเรียกว่า อรูปฌานครับ
ไม่เรียกรูปฌานและอรูปฌานว่าสมถะครับ


เพราะคุณเข้ามาแสดงธรรม ดังนั้นคุณต้องนำสิ่งที่ถูกต้องมาแสดงครับ


จุดแรกผมก็งงแล้วครับว่าคุณมหาราชันต์ ตีความหมายที่ผมเขียนว่าอย่างไรนะครับ

ในเรื่องที่เกี่ยวกับรูปฌาน และเรื่องที่เกี่ยวอรูปฌานนั้น

ผมหมายถึงว่า ในส่วนของรูปฌานและส่วนของอรูปฌานนั้น มันมีส่วนที่เป็นทั้งสมถะ คือพวกฤาษีที่เขาเล่นฌาน

และอีกส่วนหนึ่งคือส่วนที่เป็นวิปัสสนาคือ ผู้ที่ได้ฌานแล้ว นำฌานไปเดินปัญญา

นี่คือสิ่งที่ผมหมายถึงครับ้


ที่ถูกต้องคือคุณ"วันชัย(อยุธยา)"ต้องกล่าวว่า องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนา เกิดร่วมเกิดพร้อมในกุศลจิตเสมอครับ ไม่มีการแยกจากกัน"


ท่านดูจุดนี้ดีๆนะครับว่า ท่านกล่าวถูกหรือเปล่า ท่านบอกว่า "องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาเกิดร่วมเกิดพร้อมในกุศลจิตเสมอครับ ไม่มีการแยกจากกัน"


ในส่วนนี้ผมขอแย้งนิดเดียวนะครับว่า องค์ธรรมที่ชื่อสมถะสามารถเกิดร่วมกับกุศลจิตก็ได้

และสามารถเกิดร่วมกับอกุศลจิตก็ได้

ลองดูพวกที่เล่นของได้ครับ พวกที่เล่นไสยศาสตร์ คนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เล่นสมถะมาทั้งสิ้น

คือเล่นสมาธิ(มิจฉาสมาธิ ) นี่คือสมถะที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต

(ในส่วนนี้หากผิดพลาดประการใดช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ขอบคุณครับ)


ส่วนองค์ธรรมที่ชื่อสมถะที่เกิดร่วมกับกุศลจิตนั้น ก็คือ เขาทำสมถะเพื่อความสงบ เพื่อเป็นเครื่องอยู่

เพื่อให้ดูสภาวะชัด

แต่องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนานั้นเกิดร่วมกับกุศลจิตทั้งสิ้นจริงๆครับ.่้่



มหาราชันย์ เขียน:
การเข้าใจว่ารูปฌาน และ อรูปฌานเป็นสมถะ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ


ส่วนตรงจุดนี้ ผมไม่ได้กล่าวว่ารูปฌานและอรูปฌานจะเป็นสมถะเพียงอย่างเดียว

แต่รูปฌานและอรูปฌาน สามารถเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาครับ(ผมรับประกัน)


อ้างจากคุณมหาราชันต์ครับ

เพราะ องค์ธรรมที่เกิดขึ้นในจิตไม่ใช่เกิดแล้วจะทำลายสังโยชน์ 10 ได้หมดสิ้นทันทีครับ จิตมีวิปัสสนาแต่ไม่ได้ละสังโยชน์เลยสักอย่างเดียวก็มีครับ ผมจึงกล่าวว่า
การเข้าใจว่ารูปฌาน และ อรูปฌานเป็นสมถะ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ



ในส่วนนี้ผมก็เห็นด้วยเต็มร้อยเลยครับ ว่า"องค์ธรรมที่เกิดขึ้นในจิตไม่ใช่เกิดแล้วจะทำลายสังโยชน์ 10
ได้หมดสิ้นทันทีครับ จิตมีวิปัสสนาแต่ไม่ได้ละสังโยชน์เลยสักอย่างเดียวก็มี"

สิ่งที่คุณพูดมาถูกต้องจริงๆครับ

เพราะผมก็ไม่ได้กล่าวไว้ว่าองค์ธรรมที่เกิดขึ้นในจิตแล้ว
จะทำลายสังโยชน์ 10 ได้หมดสิ้นทันที. จุดนี้ผมก็ไม่ได้กล่าวไว้


หากลองอ่านที่ผมเขียนไว้ให้กระจ่าง

จะเข้าใจจุดประสงค์หรือความหมายที่แท้จริงครับ

ว่าเนื้อความที่เขียนนั้นหมายถึงและหมายความว่าอะไร


สิ่งที่ท่านกับผมไม่เข้าใจกัน :b14: :b10:

ก็เพราะเราไม่เข้าใจความหมายและจุดประสงค์ของทั้ง2ฝ่ายมากกว่าครับ :b12: :b12:

ขออโหสิกรรรมด้วยนะครับ ผมค่อนข้างเป็นคนตรง

หากใช้คำที่ไม่เหมาะสมต้องขอประทานโทษ ท่านมหาราชันต์เป็นอย่างสูงครับ :b8: :b8: :b8:

สาธุครับที่ได้มาแลกเปลี่ยมุมมองครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย วันชัย(อยุธยา) เมื่อ 18 พ.ย. 2009, 10:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันชัย(อยุธยา) เขียน:
อ้างจาก คุณมหาราชันต์นะครับ

รูปฌานเราเรียกว่ารูปฌาน
อรูปฌานเราเรียกว่า อรูปฌานครับ
ไม่เรียกรูปฌานเราเรียกว่ารูปฌาน
อรูปฌานเราเรียกว่า อรูปฌานครับ
ไม่เรียกรูปฌานและอรูปฌานว่าสมถะครับ



ข้อความนี้ไม่ใช่ของผมที่กล่าวไว้ครับ

ผมกล่าวไว้อย่างนี้ครับ



มหาราชันย์ เขียน:
รูปฌานเราเรียกว่ารูปฌาน
อรูปฌานเราเรียกว่า อรูปฌานครับ
ไม่เรียกรูปฌานและอรูปฌานว่าสมถะครับ



วันชัย(อยุธยา) เขียน:
ในส่วนนี้ผมขอแย้งนิดเดียวนะครับว่า องค์ธรรมที่ชื่อสมถะสามารถเกิดร่วมกับกุศลจิตก็ได้

และสามารถเกิดร่วมกับอกุศลจิตก็ได้

ลองดูพวกที่เล่นของได้ครับ พวกที่เล่นไสยศาสตร์ คนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เล่นสมถะมาทั้งสิ้น

คือเล่นสมาธิ(มิจฉาสมาธิ ) นี่คือสมถะที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต

(ในส่วนนี้หากผิดพลาดประการใดช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ขอบคุณครับ)


ผมตอบแล้วครับ

มหาราชันย์ เขียน:
สมถะนั้นมีในจิต 5 ประเภทครับ
ซึ่งสมถะมีความแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 5 สภาวะธรรมครับ
1.สมถะในอกุศลจิต คือสมถะชนิดมิจฉาสมาธิครับ เป็นสมถะที่ประกอบด้วยราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะครับ
2.สมถะในกามาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้
3.สมถะในรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา
4.สมถะในอรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบไปด้วยอรูปสัญญา
5.สมถะในโลกุตตระกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ของโลกุตตระกุศลจิต



รูปฌาน และอรูปฌาน เป็นชื่อของจิตครับ
สมถะและวิปัสสนาเป็นองค์ประกอบในจิตของจิตรูปฌาน และอรูปฌานเหล่านั้น

แต่คุณเรียกชื่อจิตรูปฌาน และอรูปฌานว่าเป็นสมถะครับ
ผมท้วงติงคุณตรงนี้ว่าเข้าใจผิด เรียกชื่อผิดครับ

ผมจึงกล่าวว่า


มหาราชันย์ เขียน:
รูปฌานเราเรียกว่ารูปฌาน
อรูปฌานเราเรียกว่า อรูปฌานครับ
ไม่เรียกรูปฌานและอรูปฌานว่าสมถะครับ



หวังว่าคุณคงพอจะเข้าใจนะครับ



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร