วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 14:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 02:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


การอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ตามพระพุทธานุญาต ตลอดไตรมาสถ้วนสามเดือน คือนับตั้งต้นจากวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นต้นมา ครบถ้วน 3 เดือน จนในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ฉะนั้น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จึงเป็นวันปวารณา พึงเข้าใจไว้ว่าถึงแม้ว่าวันนี้จะเป็นวันปวารณาเพื่อออกพรรษาก็จริง แต่พระสงฆ์จะไปแรมคืนที่อื่นในวันนี้ยังไม่ได้ ต้องอยู่ต่อไปในวัดที่ตนอธิษฐานพรรษาไว้นั้น จนตลอดคืนนั้นเสียก่อน ต่อรุ่งขึ้นแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงออกจาริกไปแรมคืนที่อื่นได้ ไม่เช่นนั้นการจำพรรษาจะไม่ครบ 3 เดือน พรรษาขาดด้วยเหตุนี้ วันออกพรรษาจริงๆ คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

“วันปวารณา” หรือวันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเกี่ยวกับพิธีสงฆ์ กล่าวคือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทำปวารณา แทนอุโบสถสังฆกรรม คือตามปกติจะต้องสวดปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ทุกวันอุโบสถ คือสวดเป็นประจำปักษ์หรือทุกกึ่งเดือน แต่เฉพาะวันนี้ไม่ต้องสวดปาติโมกข์ ทรงอนุญาตให้ทำปวารณาแทน

ปวารณานี้เป็นพิธีกรรมของสงฆ์อย่างหนึ่ง เป็นการกล่าวประกาศในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อเปิดโอกาสให้สงฆ์กล่าวตักเตือนกันได้ ในเมื่อเห็นความผิดพลั้งไม่ดีไม่งามของกันและกัน ทั้งพระผู้ใหญ่และพระ ผู้น้อย ต่างก็ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ทั้งนั้น วิธีนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้ามิได้ถือบุคคลเป็นใหญ่ แต่พระองค์ถือธรรม คือ ความถูกความควรเป็นสำคัญ เมื่อเห็นความไม่ดีไม่งามของกันและกันแล้ว ก็อนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทั้งนี้ก็เพื่อความบริสุทธิ์ของกันและกันในหมู่คณะสงฆ์

มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ทำปวารณา คือ สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหารเมืองสาวัตถี มีพระภิกษุพวกหนึ่ง จำนวนหลายรูปด้วยกันจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ประสงค์จะป้องกันความวิวาทไม่ให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน จึงได้ตั้งกติกาสัญญาว่า จะไม่พูดจากัน แม้ใครมีกิจอย่างไรต่างก็ทำกิจตามหน้าที่ของตนโดยจะไม่พูดกันเลย วิธีนี้เรียกว่า “มูลวัตร” คือปฏิบัติเหมือนคนใบ้ ภิกษุเหล่านี้ปฏิบัติอย่างนี้ตลอดพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วก็พากันมาเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลมูลวัตรที่ตนปฎิบัติให้ทราบทุกประการ พระพุทธองค์ทรงตำหนิว่า “ความประพฤติของพวกเธอเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ธรรมดาว่าสัตว์เดียรัจฉานนั้น ถึงจะอยู่ด้วยกันก็ไม่ถามถึงทุกข์สุขของกันและกัน อาการของพวกเธอก็เหมือนฉันนั้น”

แล้วตรัสห้ามภิกษุมิให้ปฏิบัติเช่นนั้นอีกต่อไป ถ้าขืนปฏิบัติปรับโทษเป็นอาบัติทุกกฎ แล้วทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ทำปวารณาแก่กันและกัน คือ ว่ากล่าวติโทษข้อผิดพลาดตามที่ได้เห็นหรือได้ยิน หรือรู้สึกรังเกียจนี้เป็นมูลเหตุที่พระสงฆ์ทำปวารณา

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 15 พ.ย. 2009, 10:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับท่านขงเบ้งด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


สำนักปฏิบัติ ทั้งหลายนะงับ

มักจะสอนให้ปิดวาจา

พระพุทธเจ้า ทรงติเตียนนะงับ

เพราะเป็นวัตรของสัตว์เดรัจฉาน

สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหารเมืองสาวัตถี มีพระภิกษุพวกหนึ่ง จำนวนหลายรูปด้วยกันจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ประสงค์จะป้องกันความวิวาทไม่ให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน จึงได้ตั้งกติกาสัญญาว่า จะไม่พูดจากัน แม้ใครมีกิจอย่างไรต่างก็ทำกิจตามหน้าที่ของตนโดยจะไม่พูดกันเลย วิธีนี้เรียกว่า “มูลวัตร” คือปฏิบัติเหมือนคนใบ้ ภิกษุเหล่านี้ปฏิบัติอย่างนี้ตลอดพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วก็พากันมาเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลมูลวัตรที่ตนปฎิบัติให้ทราบทุกประการ พระพุทธองค์ทรงตำหนิว่า “ความประพฤติของพวกเธอเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ธรรมดาว่าสัตว์เดียรัจฉานนั้น ถึงจะอยู่ด้วยกันก็ไม่ถามถึงทุกข์สุขของกันและกัน อาการของพวกเธอก็เหมือนฉันนั้น”

แล้วตรัสห้ามภิกษุมิให้ปฏิบัติเช่นนั้นอีกต่อไป ถ้าขืนปฏิบัติปรับโทษเป็นอาบัติทุกกฎ


พระพุทธเจ้า

ไม่ทรงสอนให้พูดมาก ทรงชี้โทษ ไว้ 5 ประการ และทรงตรัสสอนให้พูดโดย สัมมาวาจา

อิติ ดั้งนี้

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณขงเบ้ง cool

ต้องดูจุดประสงค์ด้วยนะคะ ตามวัดที่มีกฏกติกาขึ้นเพราะอะไร
การไปปฏิบัติตามวัด คนมีหลายจำพวกนะคะ
มันคนละอย่าง คนละเรื่องกับที่คุณนำมาโพสเลยนะ


ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
สำนักปฏิบัติ ทั้งหลายนะงับ

มักจะสอนให้ปิดวาจา

พระพุทธเจ้า ทรงติเตียนนะงับ

เพราะเป็นวัตรของสัตว์เดรัจฉาน

สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหารเมืองสาวัตถี มีพระภิกษุพวกหนึ่ง จำนวนหลายรูปด้วยกันจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ประสงค์จะป้องกันความวิวาทไม่ให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน จึงได้ตั้งกติกาสัญญาว่า จะไม่พูดจากัน แม้ใครมีกิจอย่างไรต่างก็ทำกิจตามหน้าที่ของตนโดยจะไม่พูดกันเลย วิธีนี้เรียกว่า “มูลวัตร” คือปฏิบัติเหมือนคนใบ้ ภิกษุเหล่านี้ปฏิบัติอย่างนี้ตลอดพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วก็พากันมาเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลมูลวัตรที่ตนปฎิบัติให้ทราบทุกประการ พระพุทธองค์ทรงตำหนิว่า “ความประพฤติของพวกเธอเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ธรรมดาว่าสัตว์เดียรัจฉานนั้น ถึงจะอยู่ด้วยกันก็ไม่ถามถึงทุกข์สุขของกันและกัน อาการของพวกเธอก็เหมือนฉันนั้น”

แล้วตรัสห้ามภิกษุมิให้ปฏิบัติเช่นนั้นอีกต่อไป ถ้าขืนปฏิบัติปรับโทษเป็นอาบัติทุกกฎ


พระพุทธเจ้า

ไม่ทรงสอนให้พูดมาก ทรงชี้โทษ ไว้ 5 ประการ และทรงตรัสสอนให้พูดโดย สัมมาวาจา

อิติ ดั้งนี้



คนละจุดประสงค์นะคะ อ่านให้ละเอียดก่อน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 15 พ.ย. 2009, 16:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ปิดวาจาตอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิคงยกเว้น

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...คุณขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์...อ่านแล้วตีความหมายไม่เหมาะสม...
...เหมารวมไปหมดเท่ากับต่อว่าพระหรือคนอื่นที่เขาไม่ชอบพูดจริงไหม... :b10:

...ตามที่ข้าพเจ้าอ่านข้อความที่ท่านเขียนไว้จากการตั้งกระทู้ของท่าน...
...ข้าพเจ้าตีความแบบนี้...คำสอนท่านสอนว่าการอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์... :b1:
...ให้ดูแลข้อวัตรปฏิบัติของกันและกัน...ใครทำผิดให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้...
...การอยู่ด้วยกันหมู่มาก...และผู้ปฏิบัติใหม่อาจมีข้อผิดพลาดในการปฏิบัติได้...
...เพราะทำผิดต้องรีบบอกกันให้แก้ไขทันที...ไม่ใช่ปิดปากเงียบทำแบบปล่อยปละละเลยกัน...

...การปิดวาจาจำเป็นในทุกสถานที่...เช่นเวลาท่านนั่งทำข้อสอบในห้องสอบอยู่... :b32:
...เขาทำผิดตามข้อวัตรที่พระพุทธเจ้ากำหนดก็หาไม่...ลองพูดสิเขาไล่ท่านออกห้องสอบเลย...
...หรือท่านนอนหลับอยู่ท่านปิดวาจาหรือไม่...เป็นการผิดข้อวัตรหรือไม่พิจารณาให้ถูกต้องด้วยเจ้า...
...ท่านต้องระมัดระวังความเห็นจากการอ่านด้วย...หากพิจารณาเห็นผิดจากความจริง...มันเป็นมิจฉาทิฐิ
...พิจารณาให้ละเอียด...ถ้าไม่แน่ใจว่าตีความแบบนี้ถูกต้องหรือไม่...ควรถามผู้รู้คือครูอาจารย์ก่อนสรุป
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


วรานนท์ เขียน:
:b8: :b8: :b8:

ปิดวาจาตอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิคงยกเว้น

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:




พระพุทธองค์ ทรงแสดงสัมมาวาจาไว้นะงับ

การนั่งสมาธิ ไปคุยกัน ก็เป็นโทษ

เพราะ ฉะนั้น การปิดวาจาในที่เป็นประโยชน์

ถือว่าเป็นสัมมาวาจางับ

เพราะ การพูดมาก ไม่ถูกกาล เป็น เพ้อเจ้อนะงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


มาอธิบาย

จากข้อความข้างบนนะงับ

คนพูดมากมีโทษ ๕ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการเหล่านี้ ในบุคคลผู้พูดมาก คือ
ย่อมพูดปด ย่อมพูดส่อเสียด ย่อมพูดคำหยาบ ย่อมพูดเพ้อเจ้อ สิ้นชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต (ความล่มจมตกต่ำ) นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการเหล่านี้แล ในบุคคผู้พูดมาก


ทรงตรัสสอนให้พูดโดย สัมมาวาจา

การคุยเรื่อง โลก ในการปฏิบัติ พระพุทธเจ้า ทรงถือว่า เป็นเดรัจฉานคาถานะงับ

แล้วการพูดไม่เป็นประโยชน์ ไม่ถูกสถานที่ เรียก ว่า เพ้อเจ้อ

การพูดที่เป็นสัมมาวาจา คือ ไม่พูดเท็จ พูดแต่คำจริง มีประโยชน์ ไพเราะ และถูกกาล
นะงับ

และ ไม่ทรงให้ปิดวาจานะงับ

มีพระภิกษุพวกหนึ่ง จำนวนหลายรูปด้วยกันจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ประสงค์จะป้องกันความวิวาทไม่ให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน จึงได้ตั้งกติกาสัญญาว่า จะไม่พูดจากัน แม้ใครมีกิจอย่างไรต่างก็ทำกิจตามหน้าที่ของตนโดยจะไม่พูดกันเลย วิธีนี้เรียกว่า “มูลวัตร” คือปฏิบัติเหมือนคนใบ้ ภิกษุเหล่านี้ปฏิบัติอย่างนี้ตลอดพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วก็พากันมาเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลมูลวัตรที่ตนปฎิบัติให้ทราบทุกประการ พระพุทธองค์ทรงตำหนิว่า “ความประพฤติของพวกเธอเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ธรรมดาว่าสัตว์เดียรัจฉานนั้น ถึงจะอยู่ด้วยกันก็ไม่ถามถึงทุกข์สุขของกันและกัน อาการของพวกเธอก็เหมือนฉันนั้น”

แล้วตรัสห้ามภิกษุมิให้ปฏิบัติเช่นนั้นอีกต่อไป ถ้าขืนปฏิบัติปรับโทษเป็นอาบัติทุกกฎ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
tongue
...คุณขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์...อ่านแล้วตีความหมายไม่เหมาะสม...
...เหมารวมไปหมดเท่ากับต่อว่าพระหรือคนอื่นที่เขาไม่ชอบพูดจริงไหม... :b10:

...ตามที่ข้าพเจ้าอ่านข้อความที่ท่านเขียนไว้จากการตั้งกระทู้ของท่าน...
...ข้าพเจ้าตีความแบบนี้...คำสอนท่านสอนว่าการอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์... :b1:
...ให้ดูแลข้อวัตรปฏิบัติของกันและกัน...ใครทำผิดให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้...
...การอยู่ด้วยกันหมู่มาก...และผู้ปฏิบัติใหม่อาจมีข้อผิดพลาดในการปฏิบัติได้...
...เพราะทำผิดต้องรีบบอกกันให้แก้ไขทันที...ไม่ใช่ปิดปากเงียบทำแบบปล่อยปละละเลยกัน...

...การปิดวาจาจำเป็นในทุกสถานที่...เช่นเวลาท่านนั่งทำข้อสอบในห้องสอบอยู่... :b32:
...เขาทำผิดตามข้อวัตรที่พระพุทธเจ้ากำหนดก็หาไม่...ลองพูดสิเขาไล่ท่านออกห้องสอบเลย...
...หรือท่านนอนหลับอยู่ท่านปิดวาจาหรือไม่...เป็นการผิดข้อวัตรหรือไม่พิจารณาให้ถูกต้องด้วยเจ้า...
...ท่านต้องระมัดระวังความเห็นจากการอ่านด้วย...หากพิจารณาเห็นผิดจากความจริง...มันเป็นมิจฉาทิฐิ
...พิจารณาให้ละเอียด...ถ้าไม่แน่ใจว่าตีความแบบนี้ถูกต้องหรือไม่...ควรถามผู้รู้คือครูอาจารย์ก่อนสรุป
:b8: :b8: :b8:



มาตอบนะงับ

คุณขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์...อ่านแล้วตีความหมายไม่เหมาะสม...
...เหมารวมไปหมดเท่ากับต่อว่าพระหรือคนอื่นที่เขาไม่ชอบพูดจริงไหม...

ตอบ อันนี้ไม่จริงนะงับ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย แล้วผู้ถามกลับ มีความเห็นว่า เจ้าของกระทู้ ไปเหมารวม พระหรือคนอื่นที่ไม่ชอบพูด อันนี้ผู้ถามควรพิจารณา ตัวเหตุ-ผลให้ดีก่อน นะงับ
ตามที่ข้าพเจ้าอ่านข้อความที่ท่านเขียนไว้จากการตั้งกระทู้ของท่าน...
...ข้าพเจ้าตีความแบบนี้...คำสอนท่านสอนว่าการอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์... :b1:
...ให้ดูแลข้อวัตรปฏิบัติของกันและกัน...ใครทำผิดให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้...
...การอยู่ด้วยกันหมู่มาก...และผู้ปฏิบัติใหม่อาจมีข้อผิดพลาดในการปฏิบัติได้...
...เพราะทำผิดต้องรีบบอกกันให้แก้ไขทันที...ไม่ใช่ปิดปากเงียบทำแบบปล่อยปละละเลยกัน...

อันนี้ยิ่งตีความผิดเลยนะงับ เดี่ยวจะแยก อรรถ พยัญชนะให้ดูนะงับ

1 มีพระภิกษุพวกหนึ่ง จำนวนหลายรูปด้วยกันจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ประสงค์จะป้องกันความวิวาทไม่ให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน

อันนี้ถ้าไปคิดว่าพระใหม่ทำไม่ถูกจึงให้ติเตียน ผิดเนื้อความแล้วนะงับ

มูลเหตุคือการไม่ให้เกิดวาทะ ทะเลาะกันนะงับ


คำถาม

การปิดวาจาจำเป็นในทุกสถานที่...เช่นเวลาท่านนั่งทำข้อสอบในห้องสอบอยู่...
...เขาทำผิดตามข้อวัตรที่พระพุทธเจ้ากำหนดก็หาไม่...ลองพูดสิเขาไล่ท่านออกห้องสอบเลย...
...หรือท่านนอนหลับอยู่ท่านปิดวาจาหรือไม่...เป็นการผิดข้อวัตรหรือไม่พิจารณาให้ถูกต้องด้วยเจ้า...
...ท่านต้องระมัดระวังความเห็นจากการอ่านด้วย...หากพิจารณาเห็นผิดจากความจริง...มันเป็นมิจฉาทิฐิ
...พิจารณาให้ละเอียด...ถ้าไม่แน่ใจว่าตีความแบบนี้ถูกต้องหรือไม่...ควรถามผู้รู้คือครูอาจารย์ก่อนสรุป


ดูจากคำถามที่ว่านะงับ การที่ปิดวาจา ความหมาย คือ พูดมากในเรื่องทางโลก และสำนักต่างๆต้องการสอน สมาธิภาวนา จึงให้ปิดวาจา เพื่อจะได้ภาวนา นี่ละผิดวัตถุ ประสงค์แล้ว ไม่ศึกษา พระพุทธพจน์ว่า
พระพุทธเจ้าทรงสอน สัมมาวาจา แล้วอ้างไปต่างๆนานา ว่าพูดมากนิวรณ์แทรกได้ง่าย เป็นต้น

นี่คือจุดผิด คือ ไม่ชี้คุณโทษ พิจารณาตามเหตุ-ผล และ ไม่รู้ ว่าพระพุทธเจ้าทรงให้ใช้ มรรค 8 เป็นทางเดิน 1 ใน มรรค 8 คือ สัมมาวาจา เป็นทางอันเกษมไปสู่พระนิพพาน

แล้วแบบนี้ จะไปสอนให้พ้นทุกข์อย่างไร สอนผิดกับพระพุทธเจ้า


คำถาม

เขาทำผิดตามข้อวัตรที่พระพุทธเจ้ากำหนดก็หาไม่...ลองพูดสิเขาไล่ท่านออกห้องสอบเลย...
...หรือท่านนอนหลับอยู่ท่านปิดวาจาหรือไม่...เป็นการผิดข้อวัตรหรือไม่พิจารณาให้ถูกต้องด้วยเจ้า

ตอบ แสดงว่า ผู้เขียนประโยคคำถาม ไม่แจ้งในเรื่อง สัมมาวาจา

การพูดไม่ถูกกาล สถานที่ เค้า ไม่เรียกว่า สัมมาวาจา

สัมมาวาจา คือ พูดถูกสถานที่ ถูกกาล

กลับไปอ้างว่า เข้าห้องสอบ เค้าห้ามพูด เป็นมูลวัตร นั้นเห็นผิดแล้ว สัมมาวาจา คือ พูดถูกที่ ถูกกาล

สถานที่เค้าห้ามพูดไปพูด เค้าเรียกกว่า เพ้อเจ้อ นอนหลับพูดไม่ได้อยู่แล้ว กลับยกตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องมา

สรุปเตือนสติ ผู้ถาม

...ท่านต้องระมัดระวังความเห็นจากการอ่านด้วย...หากพิจารณาเห็นผิดจากความจริง...มันเป็นมิจฉาทิฐิ
...พิจารณาให้ละเอียด...ถ้าไม่แน่ใจว่าตีความแบบนี้ถูกต้องหรือไม่...ควรถามผู้รู้คือครูอาจารย์ก่อนสรุป

ถ้าท่านอ่านแล้ว ตีความไปต่างๆนานา ไม่ตรงอรรถ ตรงธรรม ก็ควรถามให้แจ้ง

เพราะ ผู้ถาม ยังไม่แจ้งในสัมมาวาจาเลย โพสไปเลยแสดงมิจฉาทิฏฐิ ออกมา

ผมแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าท่าน ควรจะทำทิฏฐิให้แจ้ง ให้ตรงก่อน และแยกอรรถพยัญชนะให้ถูก

และ สุดท้ายของฝากว่า
อ้างคำพูด:
ควรถามผู้รู้คือครูอาจารย์ก่อนสรุป
ต้องไปอ่านกาลามสูตรให้ดีด้วยนะงับ


อ้างคำพูด:
การปิดวาจาจำเป็นในทุกสถานที่


ความเห็นตรงนี้ ไม่ตรงกับความเป็นจริง เป็นความเห็นผิด เรียก ว่า มิจฉาทิฏฐิ

แสดงว่า ไม่รู้เลยว่าสัมมาวาจาเป็นอย่างไร ก็เขียนตาม ที่อวิชชาสอน ไม่ดูว่าพระพุทธเจ้า สอนอย่างไรบ้างละงับ


ผลสรุปเรื่อง ของการปิดวาจา

พระพุทธเจ้าทรงสอน ให้พูด ให้จริง ไม่พูดเท็จ เป็นประโยชน์ต่อผู้พูด พูดถูกกาล สถานที่ ไม่พูดคำหยาบ พูดแต่คำไพเราะ เป็นสุภาษิต

นี่คือ สัมมาวาจา บางส่วนนะงับ

การพูดไม่ถูกกาล สถานที่ ไม่เป็นประโยชน์ เรียก ว่า พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ ส่อเสียด เท็จ

เป็นส่วนสุดด้านพูดมาก

การไม่พูดเลย ปิดวาจา โดยไม่ยึดเหตุผล ไม่พินิจพิจารณา เลย

เป็นส่วนสุดด้าน มูลวัตร

จบ

อิติ ดั้งนี้

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แก้ไขล่าสุดโดย ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เมื่อ 16 พ.ย. 2009, 21:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...ในภาพรวมข้อความที่ตั้งกระทู้...ท่านสื่อถึงสิ่งใดกันเล่า...ท่านลองอ่านทบทวนดีๆ...
...ข้าพเจ้าก็เข้าใจนะ...พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าไม่ส่งเสริมให้พระทำอะไรที่ตึงเกินไป...
...พระที่ทำเช่นตัวอย่างที่ยกมาในกระทู้จึงไม่เหมาะสมตามเหตุได้เกิดขึ้นไปแล้วนั้น...
...การอยู่ร่วมกันหมู่มากของคนในสังคมต้องพึ่งพาอาศัยกัน...ท่านให้ถามสุข-ทุกข์กันได้...
...ท่านเปรียบเทียบว่าไม่ใช่ทำซื่อบื้อเหมือนวัว...ท่านจึงเรียกว่าทำวัตรเหมือนวัวใช่หรือไม่...
...แต่ท่านลองพิจารณาดูข้อความที่ท่านเขียนข้างล่างนี้ให้มันสอดคล้องกับกระทู้สิ...

อ้างคำพูด:
ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ : เขียน
สำนักปฏิบัติ ทั้งหลายนะงับ

มักจะสอนให้ปิดวาจา

พระพุทธเจ้า ทรงติเตียนนะงับ

เพราะเป็นวัตรของสัตว์เดรัจฉาน


...จึงเป็นที่มาของการตอบกระทู้ของข้าพเจ้า...
อ้างคำพูด:
Rosarin : เขียน
...คุณขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์...อ่านแล้วตีความหมายไม่เหมาะสม...
...เหมารวมไปหมดเท่ากับต่อว่าพระหรือคนอื่นที่เขาไม่ชอบพูดจริงไหม...


...เพียงแต่ข้าพเจ้าไม่ได้ขยายความว่า...สำนักปฏิบัติธรรมทุกที่ล้วนสอนให้ปิดวาจาทั้งนั้น...
...ซึ่งก็คนละความหมายในบทความที่ท่านเสนอมา...ข้าพเจ้าเข้าใจ...
...คงไม่มีวัด/สถานปฏิบัติธรรมใดไม่สอนระเบียบที่อยู่ร่วมกัน
...หรือมีที่ไหนที่ทำเช่นพระในครั้งพุทธกาล..ก็ไม่ทราบ
...ข้าพเจ้าจึงสงสัยว่าท่านนำข้อความที่ว่าข้างต้นมากล่าวตักเตือนไปยังสำนักปฏิบัติธรรม


...การอธิบายของข้าพเจ้าเพียงขยายความให้เห็นภาพ...
ว่าการปิดวาจามีตั้งหลายอย่าง...สำนักปฏิบัติธรรมที่ไหนก็คงไม่ทำแบบที่ท่านนำเสนอ
ถ้าท่านพิจารณาว่าสิ่งที่พยายามสื่อถูกต้องดีแล้ว...เหมาะสมดีแล้ว...ถูกกาลเวลาดีแล้ว...
...และถูกที่ถูกทางดีแล้ว...ก็ตามแต่ใจของท่านเทอญ...
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 20:05
โพสต์: 60

แนวปฏิบัติ: พิจารณา......
ชื่อเล่น: ดุ๊กดิ๊กๆ
อายุ: 24
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกแง่ของหลวงปุ่ทวดครับ

พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย
ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสียพระโพธิสัตว์

:b32: :b32: :b32:
แต่ใช้กับคนบางคนนะครับ
:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร