วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 12:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 4130 ครั้ง ]
(พุทธธรรมหน้า 824)



สัมมาสมาธิ

สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคข้อสุดท้าย และเป็นข้อที่มีเนื้อหาสำหรับศึกษามาก เพราะเป็นเรื่องของการฝึก

อบรมจิตในขั้นลึกซึ้ง เป็นเรื่องละเอียดประณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิต

อันเป็นของละเอียด และในแง่การปฏิบัติที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน เป็นจุดบรรจบหรือเป็นสนามรวม

ของการปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมาย


สมาธิ แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด

คำจำกัดความของสมาธิที่พบเสมอ คือ “จิตตัสเสกัคคตา”

หรือ เรียกสั้นๆว่า เอกัคคตา ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

คือ การที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป


คัมภีร์รุ่นอรรถกถา ระบุความหมายจำกัดลงไปอีกว่า สมาธิ คือภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียวของกุศลจิต

และไขความออกไปว่า หมายถึงการดำรงจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์หนึ่งเดียว อย่างเรียบสม่ำเสมอ

และด้วยดี *


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห.บนที่มี *)

(* วิสุทธิ.1/105 นิทฺ.อ.2/99 ปฏิสํ.อ.19; ในอกุศลจิต เอกัคคตา หรือสมาธิก็เกิดได้

ดังที่ อภิ.สํ.34/275-337/108-127 แสดงการที่เอกัคคตา สมาธินทรีย์ และมิจฉาสมาธิ

ประกอบร่วมอยู่ในจิตที่เป็นอกศุล และอรรถกถาได้ยกตัวอย่าง เช่น คนที่มีจิตแน่วแน่ในขณะเอาศัสตราฟาดฟัน

ลงที่ร่างกายของสัตว์ไม่ให้ผิดพลาด

ในเวลาตั้งใจลักของเขาและในเวลาประพฤติกาเมสุมิจฉาจารเป็นต้น



อย่างไรก็ตาม เอกัคคตาในฝ่ายอกุศลนี้มีกำลังน้อย อ่อนแอ ไม่เข้มแข็งทนทานเหมือนในฝ่ายกุศล

เปรียบดังเอาน้ำราดในที่แห้งฝุ่นฟุ้ง ฝุ่นสงบลงชั่วเวลาสั้น ไม่นานที่ก็จะแห้งมีฝุ่นขึ้นตามเดิม

(ดู สงฺคณี.อ.243,380,385)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสมาธิ ตามคำจำกัดความในพระสูตรทั่วไป เจาะจงว่าได้แก่สมาธิตามแนวฌาน ๔ ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ซึ่งมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข

เกิดแต่วิเวก อยู่

๒. บรรลุทุติยฌาน ซึ่งมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีภาวะใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและสุข เกิดแต่สมาธิ อยู่

๓. เพราะปีติจางไป เธอจึงมีอุเบกขาอยู่ มีสติสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย

บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า “เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข”

๔. เพราะละสุขและทุกข์ และเพราะโสมนัสดับหายไปก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่




(ที.ม.10/299/349 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความนี้ น่าจะถือว่าเป็นการแสดงความหมายแบบเต็มกระบวน

ดังจะเห็นว่า บางแห่งท่านกล่าวถึง จิตตัสเสกัคคตา นั่นเองว่า เป็นสมาธินทรีย์

ดังความบาลีว่า


“ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือสมาธิ เป็นไฉน ? คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

กำหนดเอาภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์แล้ว* ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต นี้เรียกว่า อินทรีย์คือสมาธิ”



สํ.ม.19/874/264; 868/262

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

* อรรถกถาว่า ภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์ หมายถึงเอานิพพานเป็นอารมณ์ – สํ.อ.3/337

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนคำจำกัดความในคัมภีร์อภิธรรม ว่าดังนี้



“สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ? ความตั้งมั่นอยู่แห่งจิต ความตั้งแน่วแน่แห่งจิต ความมั่นลงไปแห่งจิต

ความไม่ส่ายไป ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่มีใจไม่ซัดส่าย ความสงบ (สมถะ) สมาธินทรีย์

สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด

นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ”



(อภิ.วิ.35/183/140; 589/322)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าโดยสาระสำคัญ สมาธิที่ใช้ถูกทาง เพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย

ตามเป็นจริง

มิใช่เพื่อผลในทางสนองความอยากของตัวตน เช่นอวดฤทธิ์ อวดความสามารถเป็นต้นนั่นเอง เป็นสัมมาสมาธิ*

ดังหลักการที่ท่านแสดงไว้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเจริญวิปัสสนาได้ โดยใช้สมาธิเพียงขั้นต้นๆ

ที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ คือสมาธิที่ใช้ประกอบกับวิปัสสนา หรือเพื่อสร้างปัญญาที่รู้แจ้ง

อันเป็นสมาธิในระดับระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิเท่านั้น ** (ปฏิสํ.อ.150)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


* สังเกตความหมายที่อรรถกถา (เช่น สงฺคณี.อ.244) แสดงไว้อีกแห่งหนึ่งว่า สัมมาสมาธิ

ได้แก่ ยาถาวสมาธิ สมาธิที่แท้หรือสมาธิที่ตรงตามสภาวะ

นิยยานิกสมาธิ สมาธิที่นำออกจากวัฏฏะ คือนำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์หรือสู่ความเป็นอิสระ

กุศลสมาธิ สมาธิที่เป็นกุศล



** พึงสังเกตว่า คำว่า สมาธิ ที่ใช้หมายถึงวิปัสสนาก็มีบ้าง โดยเฉพาะที่ใช้ในสมาธิ ๓ คือ

สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ (ที.ปา.11/228/231 ฯลฯ)

อย่างไรก็ตาม พึงถือความหมายเช่นนี้ว่า เป็นกรณียกเว้น ซึ่งตามปกติไม่ต้องคำนึงถึงเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ระดับของสมาธิ

ในชั้นอรรถกา- (นิทฺ.อ.1/158 ฯลฯ) ท่านจัดแยกสมาธิออกเป็น ๓ ระดับ คือ

๑. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ (momentary concentration) เป็นสมาธิขั้นต้น

ซึ่งคนทั่วไปอาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่การงานในชีวิตประจำวันให้ได้ผลดี และจะใช้เป็นจุดตั้งต้น

ในการเจริญวิปัสสนาก็ได้

๒. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียดๆ หรือสมาธิจวนจะแน่วแน่ (access concentration)

เป็นสมาธิขั้นระงับนิวรณ์ได้ ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะแห่งฌาน หรือ สมาธิในบุพภาคแห่งอัปปนาสมาธิ

๓. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่ หรือสมาธิที่แนบสนิท (attainment concentration)

เป็นสมาธิระดับสูงสุด ซึ่งมีในฌานทั้งหลาย ถือว่าเป็นผลสำเร็จที่ต้องการของการเจริญสมาธิ


สมาธิอย่างที่สองและสาม มีกล่าวถึงบ่อยๆ ในคำอธิบายเกี่ยวกับการเจริญกรรมฐาน และมีที่กำหนด

ค่อนข้างชัดเจน คือ อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นโดยละนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้


ถ้ามองในแง่การกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ก็เป็นช่วงที่เกิดปฏิภาคนิมิต –

(ภาพที่มองเห็นในใจของสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งประณีตลึกซึ้งเลยจากขั้นที่เป็นภาพติดตา

ไปอีกขั้นหนึ่ง เป็นของเกิดจากสัญญาบริสุทธิ์ปราศจากสีปราศจากมลทิน

สามารถนึกขยายหรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา) (วิสุทธิ.1/107,160,175,187 ฯลฯ)

เป็นสมาธิจวนเจียนจะแน่แน่โดยสมบูรณ์ ใกล้จะถึงฌาน เมื่อชำนิชำนาญคุ้นดีแล้ว

ก็จะแน่วแน่กลายเป็นอัปปนาสมาธิ * เป็นองค์แห่งฌานต่อไป


แต่สมาธิอย่างแรก คือ ขณิกสมาธิ ดูเหมือนจะไม่มีเครื่องกำหนดหมายที่ชัดเจน

จึงน่าจะพิจารณาพอให้เห็นเค้ารูปว่าแค่ไหนเพียงไร



:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


* ในอุปจารสมาธิ นิวรณ์ถูกละได้แล้ว องค์ฌานก็เริ่มเกิด คล้ายกับอัปปนาสมาธิ

มีข้อแตกต่างเพียงว่า องค์ฌานยังไม่มีกำลังพอ ได้นิมิตพักหนึ่งก็ตกภวังค์พักหนึ่ง ขึ้นๆตกๆ

เหมือนเด็กตั้งไข่ เขาพยุงลุกก็คอยล้ม



ส่วนในอัปปนาสมาธิ องค์ฌานทั้งหลายมีกำลังดีแล้ว จิตตัดภวังค์แล้วคราวเดียว ก็ตั้งอยู่ได้ทั้งคืน

ทั้งวัน เหมือนผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ลุกจากที่นั่งแล้วก็ยืนเดินทำงานได้ทั้งวัน –ดู วิสุทธิ.1/160, 187

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 พ.ย. 2009, 18:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เพื่อความต่อเนื่องซ้ำอีกที)


สมาธิอย่างแรก คือ ขณิกสมาธิ ดูเหมือนจะไม่มีเครื่องกำหนดหมายที่ชัดเจน

จึงน่าจะพิจารณาพอให้เห็นเค้ารูปว่า แค่ไหน เพียงไร



คัมภีร์ปรมัตถมัญชุสา (วิสุทธิ.ฎีกา.2/142,300) กล่าวว่า มูลสมาธิ และบริกรรมสมาธิ

ที่กล่าวถึงในคัมภีร์วิสุทธิมรรค-(วิสุทธิ.2/127,245) เป็นขณิกสมาธิ


(มูลสมาธิ สมาธิขั้นมูล สมาธิเบื้องต้น หรือสมาธิต้นเค้า

บริกรรมสมาธิ สมาธิขั้นตระเตรียม หรือ เริ่มลงมือ)

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

มูลสมาธิ ที่ว่าเป็นขณิกสมาธินั้น ท่านยกตัวอย่างจากบาลีมาแสดง ดังนี้


๑. “เพราะฉะนั้นแล ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักเป็นจิตที่ตั้งมั่น

ดำรงแน่วเป็นอย่างดีภายใน และธรรมทั้งหลายที่ชั่วร้ายเป็นอกุศล จักไม่เกาะกุมจิตตั้งอยู่ได้

ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล


๒.เมื่อใดแล จิตของเธอ เป็นจิตที่ตั้งมั่น ดำรงแน่วเป็นอย่างดีแล้ว ในภายใน และธรรมทั้งหลาย

ที่ชั่วร้ายเป็นอกุศล จักไม่เกาะกุมจิตตั้งอยู่ได้

เมื่อนั้น ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยาน

ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสมจัดเจน ทำให้สำเร็จได้เป็นอย่างดี

ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล


๓. เมื่อใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอได้เจริญ ได้กระทำให้มากอย่างนี้แล้ว

เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ อันมีทั้งวิตกทั้งวิจารบ้าง อันไม่มีทั้งวิตกมีแต่วิจารบ้าง

อันไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง อันมีปีติบ้าง อันไม่มีปีติบ้าง อันประกอบด้วยความฉ่ำชื่นบ้าง

อันประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง ฯลฯ “

องฺ.อฏฺฐก.23/160/309

สันนิฏฐานว่า พระสูตรนี้เป็นที่มาแห่งหนึ่งของฌาน ๕ แบบอภิธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอธิบายว่า

อาการที่จิตพอแค่มีอารมณ์หนึ่งเดียวลงได้ โดยภาวะที่เป็นตัวของตัวเองอยู่ภายใน

ตามความข้อ ๑. ที่ว่าจิตตั้งมั่น ดำรงแน่วเป็นอย่างดีในภายใน

บาปอกุศลธรรมไม่อาจครอบงำได้ ภาวะจิตขั้นนี้แหละเป็นมูลสมาธิ

ความต่อไปในข้อที่ ๒. เป็นขั้นเจริญ คือ พัฒนามูลสมาธินั้นให้มั่นคงอยู่ตัวยิ่งขึ้น

ด้วยวิธีเจริญเมตตา

ท่านเปรียบมูลสมาธิ เหมือนกับไฟที่เกิดขึ้นจากการสีไม้สีไฟ หรือ ตีเหล็กไฟ

ส่วนการพัฒนามูลสมาธินั้นด้วยการเจริญเมตตา เป็นต้น ก็เหมือนกับเอาเชื้อไฟมาต่อ

ให้ไฟนั้นลุกไหม้ต่อไปได้อีก

ส่วนข้อ ๓. เป็นขั้นทำให้มูลสมาธิหรือ ขณิกสมาธินั้น เจริญขึ้นไปจนกลายเป็นอัปปนาสมาธิ

(ผ่านอุปจารสมาธิ) ในขั้นฌาน ด้วยวิธีกำหนดอารมณ์อื่นๆ เช่น กสิณ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างอื่นอีกเช่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงการบำเพ็ญเพียรของพระองค์เองว่า


๑. “ภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่

มีเนกขัมมวิตก...อพยาบาทวิตก..อวิหิงสาวิตก เกิดขึ้น เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า

เนกขัมมวิตก...อพยาบาทวิตก..อวิหิงสาวิตก นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็แล วิตกชนิดนั้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น

ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ช่วยเพิ่มพูนปัญญา ไม่ส่งเสริมความคับแค้น

เป็นไปเพื่อนิพพาน

ถึงหากเราจะเฝ้าตรึกเฝ้าตรองวิตกชนิดนั้นตลอดทั้งคืน เราก็มองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้น จากวิตกชนิดนั้นเลย

ถึงหากเราจะเฝ้าตรึกเฝ้าตรองวิตกชนิดนั้นตลอดทั้งวัน....ตลอดทั้งคืนและทั้งวัน

เราก็มองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้น จากวิตกชนิดนั้นเลย

ก็แต่ว่า เมื่อเราเฝ้าตรึกตรองอยู่เนิ่นนานเกินไป ร่างกายก็จะเหน็ดเหนื่อย

เมื่อกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็จะฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล จึงดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้อยู่ตัวสงบ ทำให้มีอารมณ์หนึ่งเดียว ตั้งมั่นไว้

ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะหมายใจว่า จิตของเรา อย่าได้ฟุ้งซ่านไปเลยดังนี้...


๒. ภิกษุทั้งหลาย ความเพียร เราก็ได้เร่งระดมแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติกำกับอยู่ไม่เลือนหาย

กายก็ผ่อนคลายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตก็ตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว


๓. ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

บรรลุแล้วซึ่งปฐมฌาน...” *


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


* ม.มู. 12/252-3/234-6; ความในข้อ ๒ และ ๓ มาในที่อื่นๆด้วย เช่น ม.มู. 12/47/38;

คำว่า ตั้งมั่น หรือ เป็นสมาธิ ตามรูปศัพท์จะแปลว่า ทรงตัวเรียบก็ได้ คือ คล้ายกับแปลว่า

เดินแน่วสม่ำเสมอ เหมือนคนใจแน่วแน่เดินเรียบบนเส้นลวด ซึ่งขึงในที่สูง

คำว่า กระสับกระส่าย จะแปลว่า ไม่เครียดก็ได้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอธิบายว่า

ข้อความในข้อ ๑. ว่า “ดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้อยู่ตัวสงบ ทำให้มีอารมณ์หนึ่งเดียวตั้งมั่น” ก็ดี

ข้อความในข้อ ๒. ว่า “จิตก็ตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว” ก็ดี

แสดงถึงมูลสมาธิ (คือ ขณิกสมาธิ) อันมีมาก่อนหน้าที่จะเกิดอัปปนาสมาธิในขั้นฌาน ตามความในข้อที่ ๓.


ส่วนบริกรรมสมาธิ ก็มีตัวอย่าง เช่น

ผู้ที่ฝึกทิพโสต ออกจากฌานแล้ว เอาจิตกำหนดเสียงต่างๆ ตั้งแต่เสียงที่ดังมากแต่ไกล เช่น เสือสิงห์

คำราม เสียงรถบรรทุก หรือเสียงแตรรถ เป็นต้น

แล้วกำหนดเสียงที่เบาผ่อนลงมา เช่น เสียงกลอง เสียงระฆัง เสียงดนตรี เสียงสวดมนต์

เสียงคนคุยกัน เสียงนก เสียงลม เสียงจิ้งจก เสียงใบไม้ เป็นต้น ตามลำดับ

เสียงที่คนจิตใจปกติพอได้ยิน

แต่คนที่มีบริกรรมสมาธิ หรือขณิกสมาธินี้ได้ยิน จะดังชัดเจนกว่าเป็นอันมาก

เรื่องขณิกสมาธิ พึงพิจารณาทำความเข้าใจตามนัยที่กล่าวมานี้


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


คัมภีร์บางแห่ง กล่าวถึง วิปัสสนาสมาธิ เพิ่มเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง แทรกอยู่ระหว่างขณิกสมาธิ

กับ อุปจารสมาธิ (เช่น ปฏิสํ.อ.150) พึงทราบว่าวิปัสสนาสมาธินั้น ก็คือ ขณิกสมาธิที่นำไปใช้

ในการเจริญวิปัสสนานั่นเอง และมีความประณีตยิ่งขึ้นไปเพราะการปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




DSC01694.jpg
DSC01694.jpg [ 44.92 KiB | เปิดดู 3959 ครั้ง ]
หัวข้อกระทู้นี้เชื่อมต่อ "สิ่งที่ไม่ใช่สมาธิ" ลิงค์นี้


viewtopic.php?f=2&t=19055


สิ่งที่ไม่ใช่สมาธิ


สิ่งที่ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย

จึงจะเกิดสมาธิ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้

สิ่งเหล่านี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่านิวรณ์


นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง

แปลเอาความตามหลักวิชาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิต

สิ่งที่ขัดขวางความดีงามของจิต

สิ่งที่ทอนกำลังปัญญา

หรือแสดงความหมายให้เป็นวิชาการยิ่งขึ้นว่า สิ่งที่กั้นจิต ไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม

ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรือ อกุศลธรรม ที่ทำจิตให้เศร้าหมอง และ ทำปัญญา

ให้อ่อนกำหลัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 พ.ย. 2009, 20:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร