วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความรู้เรื่อง "สัมมาสติ"กับ "สติ" แตกต่างกันอย่างไร และต่อด้วย "สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" แตกต่างกันอย่างไร

เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ และสัมมาสติ มีในกุศลจิตเท่านั้น สติ และสัมมาสติในจิตชนิดใดก็จะเหมือนกันในจิตชนิดนั้น ในจิตที่ต่างกัน สติ และสัมมาสติจะมีสภาวะธรรมที่แตกต่างกันครับ

สติ และสัมมาสติมี 4 สภาวะธรรม
ได้แก่
สติ และสัมมาสติใน กามาวจรกุศลจิต และกามาวจรกุศลวิบากจิต
สติ และสัมมาสติใน รูปาวจรกุศลจิต และรูปาวจรกุศลวิบากจิต
สติ และสัมมาสติใน อรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลวิบากจิต
สติ และสัมมาสติใน โลกุตตระกุศลจิต และโลกุตตระกุศลวิบากจิต เป็นสติ และสัมมาสติ ที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรคครับ


ไม่มีสติ และสัมมาสติ ในอกุศลจิตครับ




"สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" ในจิตชนิดเดียวกัน สภาวะธรรมจะเหมือนกันครับ
"สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" ในจิตต่างชนิดกันจะแตกต่างกันครับ


"สมาธิ" มี 5 สภาวะธรรม แต่ "สัมมาสมาธิ" มี 4 สภาวะธรรมในกุศลจิตเท่านั้น

1."สมาธิ" ในอกุศลจิต เรียกว่า มิจฉาสมาธิครับ ไม่มีสัมมาสมาธิในอกุศลจิต


2."สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" ใน กามาวจรกุศลจิต และกามาวจรกุศลวิบากจิต
3."สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" ใน รูปาวจรกุศลจิต และรูปาวจรกุศลวิบากจิต
4."สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" ใน อรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลวิบากจิต
5."สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" ใน โลกุตตระกุศลจิต และโลกุตตระกุศลวิบากจิต เป็น"สัมมาสมาธิ" กับ "สมาธิ" ที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรคครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ คือ เป็นเจตสิกที่ทำหน้าที่ระลึกถึงความทรงจำ

สติ แปลว่า ความระลึกเฉพาะ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม หรือแปลง่ายๆ ว่า เป็นตัวดึงสัญญาออกมารายงานให้ใจรับทราบ

สติที่ระลึกเรื่องทั่วไป (สญฺญากายา) คือจำรูปได้ จำเสียงได้ จำกลิ่นได้ จำรสได้ จำสัมผัสได้ จำความคิดได้ ก็เป็นสติธรรมดา ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป ตอบสนองต่ออารมณ์ทั้ง ๖ เมื่อมีวิญญานเกิดขึ้นมาเพื่อรับรู้อารมณ์ คือ รับรู้เฉยๆ ยังไม่มีการปรุงแต่ง เห้นคน รู้ว่าเป็นคน ได้ยินเสียงนกรู้ว่าเป็นเสียงนก ฯลฯ

หลังจากรับรู้ และใจรู้แล้วว่า สิ่งที่รู้เห็นคืออะไร ต่อมาจิตจะคิดปรุงแต่ง โดยสติจะลากเอาสัญญามารับอารมณ์ต่ออีก เพื่อคิดปรุงแต่ง

สติที่เป็นสัมมาสติ คือระลึกถึง สติปัฏฐาน, พุทธานุสสติ, ธรรมานุสสติ, สังฆานุสสติ, สีลานุสสติ, จาคานุสสติ, เทวตานุสสติ, อานาปานัสสติ, มรณานุสสติ, กายคตาสติ และอุปสมานุสสติ

เรียกได้หลายอย่าง คือ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ และเอกายนมรรค

ส่วนประกอบสำคัญของ สัมมา ก็คือ ปัญญาเจตสิก

สติ ที่แปลว่า รู้ตัว มาจากคำเต็มว่า สติสัมปชัญญะ แต่โดยทั่วไป จะเรียกว่า สติเฉยๆ เป็นเพียงการกำหนดรู้อริยาบท ไม่หลงลืม

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 29 มิ.ย. 2011, 11:56, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




b8.jpg
b8.jpg [ 49.99 KiB | เปิดดู 18650 ครั้ง ]
tongue นมัสการครับ
สติ = รู้ทันอารมณ์ รู้ตัว ระลึกได้ ไม่ลืม

สัมมาสติ = รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ รู้อยู่ในสติปัฏฐานทั้ง 4 ระลึกรู้อยู่แต่การเจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน

สมาธิ = ความตั้งมั่นของจิต

สัมมาสมาธิ = ความตั้งมั่นของจิตอยู่กับงานเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8 ความตั้งมั่นอยู่กับการเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา
smiley :b8: :b27:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา อุบาสก อโศกะ

อนุโมทนาคำตอบของอุบาสกอโศกะ อยากให้ช่วยวิเคราะห์ต่อด้วยว่า
องค์ธรรมของ สติ มีอะไร เหมือนสติปัฏฐานไหม (วิริยะ สัมปชัญญะ สติ) ทำหน้าที่อย่างไร
ความสัมพันธ์ของข้อธรรมสองข้อนี้เป็นอย่างไร

และ องค์ธรรมของ สมาธิ สัมมาสมาธิ มีหรือไม่ เหมือนหรือแตกต่างกัน และทำหน้าที่อย่างไร

ความสัมพันธ์ของข้อธรรมสองข้อนี้เป็นอย่างไร


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


แก้ไขล่าสุดโดย พระอาจารย์แสนปราชญ์ เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 19:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอาจารย์แสนปราชญ์ เขียน:
ขอความรู้เรื่อง "สัมมาสติ"กับ "สติ" แตกต่างกันอย่างไร และต่อด้วย "สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" แตกต่างกันอย่างไร

เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์




สติ ถ้ากล่าวโดยทั่วๆไปหมายถึงสติที่มีกับบุคคลทั่วๆไป

สัมมาสติ เกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน 4

สมาธิ คือ สมาธิทั่วๆไป ที่จะเกิดขึ้นตอนไหนๆก็ได้ เพียงเอาจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน 4

นำมากล่าวโดยสภาวะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา อุบาสก อโศกะ และ อุบาสิกา walaiporn

อนุโมทนาคำตอบของอุบาสกและอุบาสิกา ทั้สอง อยากให้ช่วยวิเคราะห์ต่อด้วยว่า
องค์ธรรมของ สติ มีอะไร เหมือนสติปัฏฐานไหม (วิริยะ สัมปชัญญะ สติ) ทำหน้าที่อย่างไร
ความสัมพันธ์ของข้อธรรมสองข้อนี้เป็นอย่างไร

และ องค์ธรรมของ สมาธิ สัมมาสมาธิ มีหรือไม่ เหมือนหรือแตกต่างกัน และทำหน้าที่อย่างไร

ความสัมพันธ์ของข้อธรรมสองข้อนี้เป็นอย่างไร

(รวมทั้งท่านอื่นด้วยที่ต้องการวิเคราะห์ข้อธรรมนี้ร่วมกัน)


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




kragiao_field3.jpg
kragiao_field3.jpg [ 87.85 KiB | เปิดดู 18601 ครั้ง ]
tongue นมัสการครับ
อ้างอิง องค์ธรรมของ สติ มีอะไร เหมือนสติปัฏฐานไหม (วิริยะ สัมปชัญญะ สติ) ทำหน้าที่อย่างไร
ความสัมพันธ์ของข้อธรรมสองข้อนี้เป็นอย่างไร

และ องค์ธรรมของ สมาธิ สัมมาสมาธิ มีหรือไม่ เหมือนหรือแตกต่างกัน และทำหน้าที่อย่างไร

ความสัมพันธ์ของข้อธรรมสองข้อนี้เป็นอย่างไร


ตอบ องค์ธรรม คุณสมบัติ หรือหน้าที่ของสติ คือ

รู้ทัน (ปัจจุบันอารมณ์)

ระลึกได้ (ถ้าอารมณ์นั้นเคยเกิดและบันทึกไว้ในสัญญา)

ไม่ลืม (เก็บอารมณ์นั้นไว้ในสัญญา)

แล้วส่งงานต่อให้ปัญญา สัมมาทิฐิ ดู เห็น รู้ ปัญญา สัมมาสังกัปปะ สังเกต พิจารณา

เพราะมีปัญญา สังเกต พิจารณา อยู่ จึงส่งให้สติรู้ทัน การเกิดขึ้น และดับไป ของอารมณ์ เป็นปัจจุบันอยู่ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา

องค์ธรรมหรือหน้าที่ของสัมมาสมาธิ คือหนุนให้สติ ปัญญา รู้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ รู้อยู่กับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ อัตตา ต่อเนื่องกันไปได้นานๆ จนกว่า มรรค ผล นิพพานจักเกิดขึ้นมา หรือจะกล่าวว่าตั้งมั่นอยู่กับการเจริญวิปัสสนาภาวนา

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา อุบาสก อโศกะ

อนุโมทนาคำตอบของอุบาสกอโศกะ เป็นประโยชน์มาก แต่อยากให้อธิบายขยายความต่อ ดังนี้
๑) ที่อ้างอิงองค์ธรรมของสติมีในพระไตรปิฎกไหม อยู่เล่มไหน
๒) จากคำตอบ องค์ธรรม คุณสมบัติ หรือหน้าที่ของสติ คือ

รู้ทัน (ปัจจุบันอารมณ์)

ระลึกได้ (ถ้าอารมณ์นั้นเคยเกิดและบันทึกไว้ในสัญญา)

ไม่ลืม (เก็บอารมณ์นั้นไว้ในสัญญา)

แล้วส่งงานต่อให้ปัญญา สัมมาทิฐิ ดู เห็น รู้ ปัญญา สัมมาสังกัปปะ สังเกต พิจารณา

เพราะมีปัญญา สังเกต พิจารณา อยู่ จึงส่งให้สติรู้ทัน การเกิดขึ้น และดับไป ของอารมณ์ เป็นปัจจุบันอยู่ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา
ถามว่า สติ ทำหน้าที่ส่งต่อให้ปัญญาเสมอไปหรือไม่ หรือไม่ได้ส่งให้ปัญญาก็มี


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องบอกให้ชาวบ้านเขารู้ด้วยเหรอจ๊ะ ว่านำมากล่าวโดยสภาวะ

บอกว่าเอามาจากสภาแวะ หรือเอามาจากการคิดเรื่อยเปื่อยเฉื่อยแฉะก็ได้นี่นา

รึกลัวว่าชวบ้านเขาจะไม่รู้ หรือไม่เชื่อ รึไงจ๊ะ


ถ้าบัวจะกางตำราตอบ ก็จะตอบว่า

สติ คือ กิริยาของจิต ที่แสดงอาการ ระลึก ต่อสภาวะธรรม
สัมปชัญญะ คือกิริยาของจิต ที่แสดงอาการแห่งความรู้ทั่วถึงทั่วพร้อมต่อสิ่งที่ระลึก


สติปัฏฐาน4 คือระบบปฏิบัติ ที่ต้องอาศัย สติสัมปชัญญะ มาทำการระลึกเพื่อ
เรียนรู้ต่อ ฐานทั้ง4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม โดยการทำหน้าที่ระลึกรู้
ต่อกายเวทนาจิตธรรม จะไม่ใช่แค่อาศัยเพียง สติ สัมปชัญญะ เท่านั้นในการทำหน้าที่เพื่อ
สร้างความรู้แจ้งต่อ กายเวทนาจิตธรรมให้เกิดขึ้นได้

แต่ต้องเปลี่ยนลักษณะของการระลึกรู้ ให้เป็นการระลึกด้วยอาการของการเพ่งศึกษา
เพ่งค้นคว้า เพ่งพิจารณา ต่อสภาวะที่ปรากฏ ต้องเติมสมาธิ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
มาช่วยในการ ศึกษาค้นคว้า ต่อกายเวทนาจิตธรรม

ถ้าการระลึกรู้ต่อกายเวทนาจิตธรรม ปราศจากทิศทางในการค้นคว้า พิจารณา
สังเกตุ เรียนรู้ และทบทวนโดยแยบคาย ต่อสภาวะธรรมทั้ง4ฐาน

การเจริญสติ อย่างนั้นก็จะเป็นเพียงการเจริญ สติสัมปชัญญะธรรมดา
มีผลในทางสมถะ และทางควบคุมปกติภาวะของจิตในปัจจุบันขณะได้เท่านั้น

การเจริญสติปัฏฐาน4 จะต้องส่งผลให้ทราบว่า ธรรมชาติของขันธ์5เป็นอย่างไร
ทำงานอย่างไร เกิดอย่างไรดับอย่างไร ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาอย่างไร

ทำให้รู้ได้ว่า ตัณหา ทำให้ขันธ์5 สืบต่อเกิดตายได้อย่างไร
นิพพานอันเป็นที่ดับสนิทของขันธ์5 เป็นอย่างไร

เมื่อสติปัฏฐาน4 สมบูรณ์ ปัญญาเครื่องตรัสรู้ก็จะสมบูรณ์ กลายเป็นผู้รู้แจ้งโลก
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา และวิมุติทันที

แต่ถ้าเป็นแค่การเจริญสติสัมปชัญญะ ตามรู้ดูเฉยๆ ไม่ต้องเรียนรู้ ไม่ต้อง
ไปขบคิด ไม่ต้องพิจารณาเรียนรู้ต่อสิ่งที่เป็นอยู่เฉพาะหน้า

ญาณทัสสนะอะไรมันก็ไม่เกิด นอกจากความสงบที่กดข่มด้วยสติ สัมปชัญญะ





ส่วนสมาธิ ก็มีสมาธิ 2ระดับคือ โลกียสมาธิ และโลกุตรสมาธิ

สมาธิในระดับฌาณ4 คือสัมมาสมาธิ
แต่ถ้าเป็น ฌาณ4 ที่มีมรรคอีก7องค์เป็นบริวาร ก็เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิ

การจะสร้างมรรคให้มีขึ้นเป็นขึ้น ในชั้นแรก ต้องอาศัยสมาธิชั้นโลกียะ
ซึ่งฌาณ4 คือสมาธิที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นเครื่องมือสร้างมรรคให้มีขึ้นเป็นขึ้น

ถ้าสมาธิต่ำไปกว่านั้น หรือสูงไปกว่านั้น จะไม่มีพลังไม่มีความพอดีพอเหมาะต่อการหลอมรวม
ความสมังคีของมรรคทั้ง8ให้เกิดขึ้นจนถึงระดับหนุนส่งให้จิตหลุดพ้นได้

ฌาณที่4 จึงจัดเป็นสัมมาสมาธิ เมื่อใดก็ตามองค์ประกอบของการภาวนาจะถึงจุด
แห่งความหลุดพ้นเกิดขึ้น องค์ประกอบของกระแสจิตในขณะนั้น ต้องก่อรูปของสมาธิ
ขึ้นมาถึงฌาณ4 พลังความสมบูรณ์ของอริยมรรคที่แท้จริงจึงเกิดขึ้น จิตจึงจะหลุดพ้น
เป็นเจโตวิมุติได้

และเมื่อ หลุดพ้นไปแล้ว สมาธิที่ทรงอยู่ก็จะเป็น อริยสัมมาสมาธิ ทันที
ถึงจะเป็นฌาณ4 ก็เป็นฌาณ4 ที่เป็นอริยะ ไม่มีกำเริบ และมีบริวาร7ประการ

ผมกางตำราตอบตามนี้ คิดบ้าง จับนั่นประสมนี่บ้างตามมีตามเกิด
ขอร่วมบันเทิงธรรมกับพระคุณเจ้าด้วยแต่เพียงเท่านี้ครับ

:b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
ต้องบอกให้ชาวบ้านเขารู้ด้วยเหรอจ๊ะ ว่านำมากล่าวโดยสภาวะ

บอกว่าเอามาจากสภาแวะ หรือเอามาจากการคิดเรื่อยเปื่อยเฉื่อยแฉะก็ได้นี่นา

รึกลัวว่าชวบ้านเขาจะไม่รู้ หรือไม่เชื่อ รึไงจ๊ะ


ถ้าบัวจะกางตำราตอบ ก็จะตอบว่า

สติ คือ กิริยาของจิต ที่แสดงอาการ ระลึก ต่อสภาวะธรรม
สัมปชัญญะ คือกิริยาของจิต ที่แสดงอาการแห่งความรู้ทั่วถึงทั่วพร้อมต่อสิ่งที่ระลึก


สติปัฏฐาน4 คือระบบปฏิบัติ ที่ต้องอาศัย สติสัมปชัญญะ มาทำการระลึกเพื่อ
เรียนรู้ต่อ ฐานทั้ง4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม โดยการทำหน้าที่ระลึกรู้
ต่อกายเวทนาจิตธรรม จะไม่ใช่แค่อาศัยเพียง สติ สัมปชัญญะ เท่านั้นในการทำหน้าที่เพื่อ
สร้างความรู้แจ้งต่อ กายเวทนาจิตธรรมให้เกิดขึ้นได้

แต่ต้องเปลี่ยนลักษณะของการระลึกรู้ ให้เป็นการระลึกด้วยอาการของการเพ่งศึกษา
เพ่งค้นคว้า เพ่งพิจารณา ต่อสภาวะที่ปรากฏ ต้องเติมสมาธิ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
มาช่วยในการ ศึกษาค้นคว้า ต่อกายเวทนาจิตธรรม

ถ้าการระลึกรู้ต่อกายเวทนาจิตธรรม ปราศจากทิศทางในการค้นคว้า พิจารณา
สังเกตุ เรียนรู้ และทบทวนโดยแยบคาย ต่อสภาวะธรรมทั้ง4ฐาน

การเจริญสติ อย่างนั้นก็จะเป็นเพียงการเจริญ สติสัมปชัญญะธรรมดา
มีผลในทางสมถะ และทางควบคุมปกติภาวะของจิตในปัจจุบันขณะได้เท่านั้น

การเจริญสติปัฏฐาน4 จะต้องส่งผลให้ทราบว่า ธรรมชาติของขันธ์5เป็นอย่างไร
ทำงานอย่างไร เกิดอย่างไรดับอย่างไร ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาอย่างไร

ทำให้รู้ได้ว่า ตัณหา ทำให้ขันธ์5 สืบต่อเกิดตายได้อย่างไร
นิพพานอันเป็นที่ดับสนิทของขันธ์5 เป็นอย่างไร

เมื่อสติปัฏฐาน4 สมบูรณ์ ปัญญาเครื่องตรัสรู้ก็จะสมบูรณ์ กลายเป็นผู้รู้แจ้งโลก
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา และวิมุติทันที

แต่ถ้าเป็นแค่การเจริญสติสัมปชัญญะ ตามรู้ดูเฉยๆ ไม่ต้องเรียนรู้ ไม่ต้อง
ไปขบคิด ไม่ต้องพิจารณาเรียนรู้ต่อสิ่งที่เป็นอยู่เฉพาะหน้า

ญาณทัสสนะอะไรมันก็ไม่เกิด นอกจากความสงบที่กดข่มด้วยสติ สัมปชัญญะ





ส่วนสมาธิ ก็มีสมาธิ 2ระดับคือ โลกียสมาธิ และโลกุตรสมาธิ

สมาธิในระดับฌาณ4 คือสัมมาสมาธิ
แต่ถ้าเป็น ฌาณ4 ที่มีมรรคอีก7องค์เป็นบริวาร ก็เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิ

การจะสร้างมรรคให้มีขึ้นเป็นขึ้น ในชั้นแรก ต้องอาศัยสมาธิชั้นโลกียะ
ซึ่งฌาณ4 คือสมาธิที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นเครื่องมือสร้างมรรคให้มีขึ้นเป็นขึ้น

ถ้าสมาธิต่ำไปกว่านั้น หรือสูงไปกว่านั้น จะไม่มีพลังไม่มีความพอดีพอเหมาะต่อการหลอมรวม
ความสมังคีของมรรคทั้ง8ให้เกิดขึ้นจนถึงระดับหนุนส่งให้จิตหลุดพ้นได้

ฌาณที่4 จึงจัดเป็นสัมมาสมาธิ เมื่อใดก็ตามองค์ประกอบของการภาวนาจะถึงจุด
แห่งความหลุดพ้นเกิดขึ้น องค์ประกอบของกระแสจิตในขณะนั้น ต้องก่อรูปของสมาธิ
ขึ้นมาถึงฌาณ4 พลังความสมบูรณ์ของอริยมรรคที่แท้จริงจึงเกิดขึ้น จิตจึงจะหลุดพ้น
เป็นเจโตวิมุติได้

และเมื่อ หลุดพ้นไปแล้ว สมาธิที่ทรงอยู่ก็จะเป็น อริยสัมมาสมาธิ ทันที
ถึงจะเป็นฌาณ4 ก็เป็นฌาณ4 ที่เป็นอริยะ ไม่มีกำเริบ และมีบริวาร7ประการ

ผมกางตำราตอบตามนี้ คิดบ้าง จับนั่นประสมนี่บ้างตามมีตามเกิด
ขอร่วมบันเทิงธรรมกับพระคุณเจ้าด้วยแต่เพียงเท่านี้ครับ

:b20: :b20: :b20:





การจะกล่าววาจาใดๆ ผู้กล่าวย่อมรู้ดีว่ากล่าวมานั้นกล่าวโดยความรู้สึกเช่นใด
จะกางตำราตอบ หรือ จะตอบแบบไหนๆ ก็ล้วนแต่เอากิเลสของตัวเองมาตอบทั้งนั้น
สุดแต่ว่ากิเลสนั้นที่นำมาตอบมีที่อ้างอิงหรือไม่ รู้แค่ไหนก็ตีความได้แค่ไหน
ถึงแม้จะอ่านมาจากตำราเล่มเดียวกันก็ตาม
อยากจะตอบก็เชิญตอบ ไม่มีป้ายหวงห้ามแต่อย่างใด


แต่ควรจะมีสัมมาวาจา ไม่ใช่มาประชดประชันคนอื่นๆเขา
มันได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาไหม ไม่มีได้เลย มันมีแต่เสียกับเสีย
มีแต่สร้างเหตุใหม่อันเป็นอกุศลจิตให้เกิดขึ้นในจิตตัวเองยังไม่พอ
ยังสร้างเหตุใหม่ที่เป็นอกุศลกรรมกับคนอื่นๆเขา ซึ่งส่งเป็นผลไปรอที่อนาคตแล้ว

อ้อ!!! ... แล้วการที่กล่าวว่าใครเชื่อใคร หรือใครไม่เชื่อใครนั้น
ควรรู้ไปถึงเหตุและผลด้วย ไม่ใช่มากล่าวตามอารมณ์ของตัวเอง
ใครเชื่อใคร ใครไม่เชื่อใคร ล้วนมีแต่เหตุเกิดมาก่อนทั้งสิ้น ผลจึงแสดงเช่นนั้น
ไม่ใช่จู่ๆจะมาจับยัดเยียดให้คนโน้นคนนี้มาเชื่อในคำกล่าวของตัวเอง
ผู้ปฏิบัติพึงเพ่งโทษตัวเองเนืองๆ ไม่ใช่มาเพ่งโทษผู้อื่นๆเนืองๆ
จิตมันจะสะสมแต่อกุศลจิต ของเน่าๆไปเอามันไว้ทำไม
มีแต่ก่อภพก่อชาติไม่รู้จักจบจักสิ้น




พหุ ปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน

น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต

โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ

น ภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ


คนที่ได้แต่ท่องจำตำราได้มาก

แต่มัวประมาท ไม่ปฏิบัติตามคำสอน

ย่อมไม่ได้รับผลที่ควรจะได้จากการบวช

เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา


อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน

ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี

ราคญจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ

สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต

อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา

ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ



คนที่ท่องจำตำราได้น้อย แต่ประพฤติตามธรรม

ละราคะ โทสะ โมหะได้

รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น

ไม่ยึดมั่นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

เขาย่อมได้รับผลของการบวช.


พหุมฺปิ เจ สหิตํ๒- ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญสส โหติ.
อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ.



“หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมี
ประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว
ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้, เขาย่อมไม่
เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล๓- เหมือนคนเลี้ยงโค
นับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มี
ส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น, หากว่า นรชนกล่าว
พระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย
(แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ไซร้, เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ มี
จิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ
ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล”

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 22:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ คือ การระลึกรู้ต่อสภาวะธรรม

สัมมาสติ คือ การระลึกรู้สึกตัวทั่วถึงพร้อมในกายในจิต
ตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม

มิจฉาสติ คือ การระลึกรู้นอกกายและจิต ไม่เป็นไปตามแนวอริยมรรค
และตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม อันเป็นทางสายเอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยว่า สติปัฏฐาน4 จะตบะแตก และกำลังรู้ดูตบะแตกเฉยๆโดยไม่ไปแทรกแซงการแตกของตบะ

และรู้สึก ว่าสติปัฏฐาน4 แนวดูเฉยๆเนี่ย จะแยกแยะไม่ออก ว่าเขาสีเสียด
หรือสะกิดบอก หรือชอบบอกแต่ชาวบ้านเขาอย่างเดียว แต่ไม่ชอบให้ชาวบ้านเขาบอก
จ๊ะ ถ้าชอบบอกเขาอย่างเดียวข้างเดียวเขาเรียกล้นนะจ๊ะ

ผมจะบอกตอกย้ำให้ตบะแตกอีกสักรอบ ว่าจริงแล้ว การดูจิตดูสภาวะอะไรก็ตามแต่
ถ้าเป็นการกระทำในใจของพระอริยเจ้าชั้นสูง ที่สามารถทำลายอาสวะได้แล้ว

การดำรงอยู่ในการกระทำในใจต่อสภาวะทั้งปวงที่ปรากฏเฉพาะหน้า ก็จะเป็นลักษณะดูเฉยๆ
ดูแล้วก็ปล่อยมันตามธรรมชาติ ไม่ดึงไม่ผลัก ดูพร้อมด้วยความเข้าใจโดยไม่ต้องพิจารณา
ไม่มีพฤติของการมั่นหมาย และไม่มีพฤติของการปล่อยวางอุปาทานใดๆจากสิ่งทั้งปวงอีก

เพราะจิตที่รู้ชอบ และสิ้นอุปาทานไปแล้ว ย่อมไม่ได้ยึดถือในทุกสรรพสิ่งอยู่ในทีแล้ว
ดังนั้นจิตจึงไม่ต้องปล่อยวางอะไรกันอีก เพียงแต่อาจต้องมีการกำจัด หรือปรับสมดุล
ของจิตของกายบ้าง ยามที่มีพฤติของจิตประเภทที่เป็นความไม่สบายผ่านเข้ามา
แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยวางอะไร เป็นแต่เพียงการจัดการต่อกิริยาของขันธ์ที่ยังไม่เย็นสนิทเท่านั้นเอง

ดังนั้นการเจริญสติแบบที่ไม่มีการศึกษาต่อตัวสภาวะ แท้จริงแล้วเป็นอุบายวิธีที่อริยเจ้าชั้นสูง
ใช้เป็นเครื่องอยู่ ใช้เป็นปกติภาวะต่อทุกสัมผัส โดยไม่ได้มีมุ่งหมายเพื่อใช้รู้ทันอะไร
มิใช่เพื่อรู้อะไร และมิใช่เพื่อละอะไร แต่เพราะจิตมันเกิดความรู้แจ้งต่อสภาวะตามที่เป็น
จริงมาก่อน จิตจึงทรงตัวอยู่โดยอาการเหมือนสักแต่ว่าของมันเองตามธรรมชาติ และเป็น
ธรรมชาติแท้ๆ ไม่ต้องเจตนาไม่ต้องบังคับ และไ่ม่มีความมั่นหมายใดๆไปแทรกแซงผสม
โดยมิต้องจริงจังนักต่อทุกการรับรู้ จิตมันจะรู้จักจัดรู้จักทำของมันเอง และมันทำเหมือน
ไม่ได้ทำ

แต่บุคคลทั่วไป หากนำเทคนิคชนิดเดียวกับที่อริยเจ้าทั้งหลายใช้กระทำในใจ
เขาก็สามารถทำได้ เลียนแบบได้ แต่จะไม่สร้างความรู้ใดๆให้เกิดขึ้นได้ เพราะวิธีนี้
ไม่ใช่ระบบการสร้างความรู้ใดๆ แต่เป็นระบบที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลของสภาวะเท่านั้น

หากคนทั่วไปที่มีความเพียร และขยันอดทน ในการต่อเนื่อง ในการวางจิตให้ว่าง
ไม่มั่นหมายต่อ สิ่งทั้งปวงในทุกสภาวะที่ผ่านเข้ามาในวิถีจิต พลังความต่อเนื่อง
ระลึกอย่างต่อเนื่อง จะสร้างสมาธิให้เกิดอย่างเด่นชัด และทำให้จิตเรียบเงียบ
จนคำพูดของจิตหยุดเงียบ แม้ลืมตาอยู่ก็จะไม่มีคลองแห่งคำพูดทำหน้าที่ไปพร้อมกับการรับรู้

สภาพที่จิตถึงจุดหนึ่งจะหยุดปรุงได้ แต่จะหยุดได้เพียงแค่ช่วงที่มีการทรงความต่อเนื่องของสติ
เอาไว้ และจะกลับมาสู่การปรุงตามปกติอีกเมื่อเลิกกระทำในใจ

การหยุดปรุงแบบนี้ จึงเป็นแค่เพียง ความระงับสังขารแบบชิมลอง หรือพ้นสมมุติบัญญัติ
แบบชิมลอง ที่เกิดจากการเจริญสติด้วยอาการปล่อยวางอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ถอนทำลาย
หรือสร้างความรู้แจ้งในอริยสัจจ์ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือปฏิจจสมุปบาทให้เกิดขึ้นได้

แต่ความหลุดพ้นโดยแท้จริง ของผู้มีเจโตวิมุติโดยแท้จริงเพราะสิ้นตัณหา
จิตจะทรงอยู่ อย่างเป็นปกติ ในความระงับ ดับปฏิฆสัญญา และรูปสัญญาอย่างเป็น
ธรรมชาติ ทุกเวลานาที ความที่จิตมีความทรงอยู่ด้วยความระงับอย่างละเอียด
ลมหายใจของท่านจึงทรงอยู่โดยความละเอียดไปพร้อมด้วยในทุกเวลา

และสภาวะที่เพิกถอนสมมุติของจิต ก็ทรงอยู่เป็นปกติ ไม่ต้องเข้าต้องออก ไม่ต้อง
ควบคุม ไม่ต้องเจตนาเพื่อกระทำในใจให้มันเกิดขึ้นอีก เพราะมันทรงตัวของมันอยู่แล้ว

และผม อยากจะโอ้อวดบอกคุณว่า ไอ้สภาวะดับสมมุติ ผมก็ผ่านมาแล้วหลายรูปแบบ
ทั้งจากที่เกิดจากสมาธิ ทั้งจากที่ข่มจิตให้อ่อนเต็มที่ ทั้งจากการอาศัยแต่สมาธิเล็กน้อย
แต่เน้นสติอย่างต่อเนื่องในการปล่อยทุกการระลึกรู้ และทั้งจากการกลั้นหายใจ แล้วปรับ
กระแสจิตให้คลายให้ปล่อย และแม้แต่ใช้อุบายในใจที่จะไม่มั่นหมายว่าอะไรเป็นตัวเรา

อะไรผ่านเข้ามาก็รู้พร้อมทำในใจไม่ใช่เราไปทุกเรื่อง ต่อเนื่องให้ถึงขนาดจิตก็ว่างในระดับ
หยุดปรุง ถ้อยคำบัญญัติ

ทุกสภาพที่ผมกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดแล้วก็ไม่ทรงอยู่ ดับได้แต่ก็กลับกำเริบ ที่สำคัญที่สุดคือ
มีพระคุณเจ้าบางท่าน ไปถึงสภาพแบบนี้กันมาก ด้วยอุบายจากสมาธิ และการข่มกาย
ข่มจิต เมื่อถึงจุดที่จิตหยุดปรุงได้ ภายหลังจากสภาวะคลายตัวคืนสู่ปกติเดิมของตน
ก็จะเข้าใจว่าตนได้รู้แจ้งต่อนิพพานแล้ว ถึงสภาพพ้นสมมุติแล้ว แล้วก็คิดว่าจบกิจ
แล้วนำเอาสิ่งที่ท่านเข้าถึงมาบอกมาสอน

พระประเภทนี้จะไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับนิพพานเลย นอกจากรู้ว่าไม่มีคำจะพูด
และไม่มีสภาพของความดับสมมุติบัญญติทรงตัวอยู่เป็นปกติ มีแต่ประสบการณ์การดับ
ได้ชั่วขณะแล้วก็คิดเอาเองว่าจบกิจแล้ว ถึงแล้ว

ผมจะยกตัวอย่างพระที่มีอาการของการทรงอยู่ในความดับอย่างเป็นปกติทุกเวลานาทีก็มี
เช่น หลวงปู่บุดดา ท่านก็หลุดพ้นแล้วประกาศความดับที่ทรงอยู่ทุกเวลา

และก็มีหลายครูบา ที่แค่มีสมาธิ แล้วเจอความดับเพียงชั่วขณะแต่สำคัญว่า จบแล้ว

สรุปว่า สภาพที่จิต หลุดพ้น จะมีความปกติคงที่ในการทรงอยู่บนความระงับสังขาร
แต่ทุกระบบปฏิบัติ มากมาย ก็สามารถทำให้จิตได้รู้จักความหยุดปรุงชั่วขณะได้

ดังนั้น สำนักปฏิบัติจึงมีมาก แนวทางการปฏิบัติจึงหลากหลาย
สำนักนั้นก็ว่าของฉันใช่ สำนักนี้ก็ว่าแบบนี้ใช่ เพราพวกเขาก็รู้จักไอ้ที่หยุดปรุงชั่วขณะ
นี้เหมือนๆกัน


คุณช่างขยันตามบอกว่าผมดีแต่เป็นพวกใบลานเปล่า
แค่ผมเป็นพวกดีแต่ตำรา หรือพวกผ่านอะไรมาบ้างคุณก็ยังแยกไม่ออก
อย่างนี้แล้ว คุณจะยังมาวิพากวิจารณ์อะไร..........เฮ้อ เด็กน้อยจริงๆ

ส่วนตัวคุณหนะ ก็มีบ้างที่บางโอกาสจิตมันฟรุค เข้าไปดับสมมุติ
คุณจึงเมาอยู่กับสติแบบเดิมๆของคุณ เพราะคุณคิดว่าใช่แน่แล้ว

แต่จริงแล้วหากคุณไม่หลอกตัวเอง คุณจะพบว่า อะไรๆของคุณมันไม่ได้ลดลงเลย

เพียงแต่คุณเพิ่มตัวสติเข้ามาดู และก็ดูๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ดูจนเป็นเต่าไปหมดชาติ
โดยไม่ต้องไปแทรกแซง ไม่ต้องไปจัดการ ไม่ต้องไปศึกษา ไม่ต้องไปสนใจ
แล้วอริยสัจจมันจะโผล่มาตอนไหนหละ

การปฏิบัติหนะ ถ้าหากยังไม่หลุดพ้นก็ต้องดู อย่างศึกษาไปก่อน
ต่อมาเมื่อหลุดพ้นแล้ว การดูอย่างไม่แทรกแซงมันจะเป็นเอง

เออ..........แล้วนี่ผมจะกำลังสาธยาย ให้พวกหูหนวกตาบอด รึเปล่าเนี่ย

:b6: :b6: :b6:


แก้ไขล่าสุดโดย บัวศกล เมื่อ 18 ต.ค. 2009, 05:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



คับแค้นใจมากมาย :b16:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:

ผมกางตำราตอบตามนี้ คิดบ้าง จับนั่นประสมนี่บ้างตามมีตามเกิด
ขอร่วมบันเทิงธรรมกับพระคุณเจ้าด้วยแต่เพียงเท่านี้ครับ

:b20: :b20: :b20:


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร