วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




b22.jpg
b22.jpg [ 44.46 KiB | เปิดดู 3627 ครั้ง ]
smiley ********งานและหน้าที่ของชาวพุทธ
ละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตาตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู
ทุกวัน เวลา นาฑี วินาฑี ที่ระลึกได้และมีโอกาส


:b1: ****หัวใจวิปัสสนาภาวนา
ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา
ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ มิยอมถอย ถ้าสู้ได้
ทนได้ ไม่ตะบอย กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ


.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
555
นี่คุณบอกว่าผม "กด" เหรอเนียะ
จะสอนให้ดูนะ

ตัวคุณต่างหาก ที่กด กดมิดเลยล่ะ มิดจริง
ภาษานักปฏิบัติเขาเรียกว่าพวก "หินทับหญ้า"

ผมนี่ เขาเรียกว่าพวก "ระเบิด" เป็นพวกหินกระแทกหญ้า
อย่ามาบอกผมเลิกกดสิ ผมนี่พวกต้องกด

คุณน่ะพวกต้อง"อย่ากด"

ไปถามครูบาอาจารย์ดูสิ
หรือไม่มี?



สวัสดีครับคุณชาติสยาม


จากคำตอบที่คุณตอบผมมาอีกในวันนี้ ทำให้ผมมั่นใจได้ว่าคุณพูดอะไร กล่าวอะไรปากไม่ตรงกับใจเสมอ
คุณบอกว่า...

ชาติสยาม เขียน:
แต่ เอ่อ ตอนตบท้ายนี่นะ ไม่ได้ผลหรอก
ผมน่ะ "ชัคกี้...แค้นฝังหุ่น" รู้จักมั่งไหมล่ะน่ะ


คุณเป็นกัลยาณมิตรของผมคุณก็แกล้งปฏิเสธว่าไม่ใช่เสียงั้นแหละ
ปากบอกไม่ ๆๆ แต่ใจเป็นห่วงเอื้ออาทรผมตลอดเวลา
ใจคุณชาติสยามจะคอยห่วงคอยติง กลัวผมจะแสดงธรรมผิดพลาด
หมั่นเตือนให้ผมคอยแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ
ในเว็ปนี้มีแต่คุณชาติสยามเท่านั้นที่คอยห่วงใยผมเป็นพิเศษ ตั้งแต่เริ่มเข้ามาในเว็ปแห่งนี้


ขอบคุณมากนะครับ


ทำไมผมจึงมั่นใจว่าคุณเป็นห่วงเป็นใยผมนะหรือครับ
เพราะธรรมดาคนเราถ้าโกรธเกลียดใครสักคนหนึ่ง เขาจะไม่ดูดำดูดีกับคู่แค้นคนนั้น พูดด้วยก็ไม่พูดด้วย หน้าเขาก็ไม่มองกัน นี่เป็นเรื่องจริงในโลกใบนี้


แต่นี่คุณชาติสยามกลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม คอยติติงตักเตือนในการแสดงธรรมของผมบ่อย ๆ ตามกำลังสติปัญญาเท่าที่มีจดหมดสิ้น แสดงถึงว่าคุณชาติสยามมีน้ำใจต่อผมมาก

ขอบคุณมากนะครับ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 12 ต.ค. 2009, 21:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ปากของคุณไม่ตรงกับใจ


ชาติสยาม เขียน:
ทีนี้ยังภูมิใจอยู่ไหมล่ะ


ส่วนคุณสองคนน่ะ ต้นทุนมันเยอะ
อะไรต่อมิอะไรมันค้ำคออยู่

ส่วนผมน่ะ ต้นทุนมันน้อย ผมมันเลว ปากไม่ดี ไม่มีอะไรจะเสีย
เลยสบายตัว



คุณชาติสยามบอกไม่มีอะไรจะเสีย
แต่คุณชาติสยามเป็นสมาชิกระดับ 13 ของเว็ปแห่งนี้ ถ้าคุณเลวจริงการแบ่งชั้นของเว็ปนี้ก็ไร้ความหมาย
แต่คุณชาติสยามได้รับเกียรติเป็นผู้ดูแลเว็ปบอร์ดจาก Admin ถ้าคุณเลวจริงปัญญาของ Admin จะเป็นอย่างไร เกียรติของ Admin อยู่ที่ไหน?

อ้างคำพูด:
ผู้ดูแลบอร์ด: ชาติสยาม, natdanai, อมิตาพุทธ, คนไร้สาระ, tanaphomcinta, ผู้ช่วยดูแลบอร์ด


คุณชาติสยามมีเพื่อนในเว็ปบอร์ดแห่งนี้มากมาย ๆ แต่คุณชาติสยามกลับกล่าวว่า...

ชาติสยาม เขียน:
ส่วนผมน่ะ ต้นทุนมันน้อย ผมมันเลว ปากไม่ดี ไม่มีอะไรจะเสีย
เลยสบายตัว


สำนักครูบาอาจารย์ที่คุณสัทธาเขาจะรู้สึกอย่างไร ?
Admin ที่เลือกคุณชาติสยามมาเป็นผู้ดูแลบอร์ดเขาจะรู้สึกอย่างไร ?
เพื่อน ๆ คุณชาติสยามที่คบกับคุณเขาจะรู้สึกอย่างไร ?
สมาชิกเว็ปนี้ที่เข้ามาอ่าน เข้ามาถามเข้ามาตอบเขาจะรู้สึกอย่างไร ?
สมาชิกเว็ปนี้ที่เข้ามาอ่าน เข้ามาถามเข้ามาตอบเขาจะมองและรู้สึกต่อสำนักครูบาอาจารย์ที่คุณสัทธาเป็นสำนักประเภทไหน ?
สมาชิกเว็ปนี้ที่เข้ามาอ่าน เข้ามาถามเข้ามาตอบเขาจะมองและรู้สึกต่อ Admin และเพื่อน ๆ ของคุณคุณชาติสยามว่าคนอย่างไร เป็นคนประเภทไหนกันแน่



คุณไม่มีอะไรที่จะเสียจริงหรือครับ ??



ผมต่างหากที่ไม่มีอะไรจะเสีย เพราะผมไม่ได้เป็นบุคคลสำคัญในเว็ปนี้หรือสำนักใด ๆ


มหาราชันย์ เขียน:
คุณชาติสยามจะเชื่อที่ผมตอบหรือไม่ ไม่มีผลอะไรกับผมครับ
ผมได้ให้ความเป็นกัลยาณมิตรและเมตตาธรรมกับคุณชาติสยามแล้วครับ



วลีนี้ผมกล่าวถูกต้องไหมครับ คุณบอกว่าแค้นผม แต่ผมยังหวังดีกับคุณอยู่เสมอ ให้ความเป็นกัลยาณมิตรและเมตตาธรรมกับคุณชาติสยาม ถ้าผมใจร้ายใจดำผมคงไม่สนทนากับคุณอีก
ในทางกลับกันถ้าคุณใจร้ายใจดำกับผมคุณชาติสยามคงไม่มาสนทนากับผมอีก


ผมจึงกล่าวว่าคุณชาติสยามนั้นปากไม่ตรงกับใจจริง ๆ เชื่อผมเถอะนะครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิง.... อโศกะ
สวัสดีครับคุณโคตรภู

ขอบคุณที่เข้ามาชี้แนะ ต้องขออภัยที่ผมไม่ได้เน้นเรื่องศีลจนเห็นชัด ศีลนั้นก็สำคัญ เพราะในมรรค 8 นั้นพระพุทธองค์ได้ทรงยกศีลมรรคทั้ง 3 ข้อ เป็นกลุ่มมรรคอันดับที่ 2 รองลงมาจากปัญญามรรค โดยมีสมาธิมรรคหนุนท้ายเป็นกลุ่มที่ 3

ผมเคยสนทนาและถามผู้ที่กำลังฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่ว่า

ปัจจุบันขณะที่คุณกำลังนั่งปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น ศีลของคุณบกพร่องไปกี่ข้อ ทั้งศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 หรือศีล 227 ข้อ เขาตอบผมว่า ไม่ผิดแม้แต่ข้อเดียว


สวัสดีครับคุณอโศกะ ขอโทษครับที่เข้ามาขัดจังหวะท่านมหาราชันย์กับท่านชาติสยาม เพียงแต่จะบอกท่านอโศกะ ตามที่ข้อความที่ท่านแสดงมานี้ กับอีกหลายประเด็นที่ท่านแสดงมาในตอนท้ายๆ มันเหมือนกับท่านเดินบนสะพานข้ามคลองดีๆ เกือบถึงปลายทางแล้วก็ตกลงไปในคลองว่ายกลับไปปีนขึ้นบันไดต้นคลองใหม่อย่างงั้นแหละครับ

ขณะที่นั่งวิปัสสนาภาวนา ถ้าเป็นตามนี้ ศีลข้อไหนก็ไม่ผิดหรอกครับ แต่ถ้าเหมารวมหมายถึงผู้ปฏิบัติธรรมแล้วไม่ว่าจะเป็นฆาราวาส หรือพระสงฆ์ อินทรีย์สังวร จำเป็นมากครับ เพราะถ้าไม่มีตรงนี้ ไม่ต้องพูดเรื่องศีลหรอกครับ ไม่เหลือ ทั้งศีลเล็ก ศีลกลาง มหาศีล

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

อินทรียสังวร
[๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ
เช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.


ท่านอโศกะ ก็แสดงมาว่า ศีลมรรค เป็นบาทรอง ปัญญามรรค กับ สมาธิมรรค ซึ่งทั้ง 3 มีความสำคัญเท่ากัน ทำงานสนับสนุนซึ่งกันแหละกัน ซึ่งพิจารณาแล้วตรงกับที่ท่านมหาราชันย์ได้แสดง สุตมยญาณ ไว้ในกระทู้ 26016 ชัดเจนครับ ว่าปัญญาเบื้องแรกมาจากการจดจำ ไตร่ตรอง พิจารณา ผมว่ามันชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าไม่มีสัญญาที่ถูกต้องปัญญาที่ถูกต้องก็ไม่มีด้วย เช่น ญาณที่ ๒ สีลมยญาน ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล] เช่นเดียวกันถ้าเราจดจำวิธีในการสำรวมอินทรีย์อย่างดี รวมทั้งมนสิการไว้ในใจตลอดเวลาและปฏิบัติสามารถกระทำได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา ปัญญาตรงนี้เกิด จัดเป็นปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณ[ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ กระทู้ 26059] ที่สำคัญจัดเป็นโลกุตระกุศลด้วยนะครับ และเป็นการสร้างเหตุของโลกุตระตลอดเวลา ผลคือ โลกุกตระกุศลจิต ผลคือ มัคค4 ผล 4 ด้วย เช่นกัน

นอกจากนี้ในบทต่อมาของของพระไตรปิฎก ที่อ้างมานี้ ผมขอยกบทท้ายมาเลยนะครับ
สติสัมปชัญญะ
[๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ......
สันโดษ
[๑๒๔] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ? .........
[๑๒๕] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอัน
เป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท
มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ
พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ละอุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว
เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
วิจิกิจฉาได้.
อุปมานิวรณ์
[๑๒๖] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน...............
รูปฌาน ๔
[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
จะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยาง
ซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


สามัญผล หมายถึงประโยชน์ที่จะได้จากการดำรงเพศเป็นสมณะ หรือบำเพ็ญสมณธรรม

นอกจากนี้ยังกล่าวไว้ชัดเจนว่า ถ้ากระทำตามนี้ ผลที่ได้คือ วิชชา8 ได้แก่ วิปัสสนาญาณ(๑๓๑), มโนมยิทธิญาณ[๑๓๒], อิทธิวิธญาณ[๑๓๓], ทิพยโสตญาณ[๑๓๔], เจโตปริยญาณ[๑๓๕],ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ[๑๓๖], จุตูปปาตญาณ[๑๓๗], อาสวักขยญาณ[๑๓๘]


การที่เรากลัวว่าจะกลายเป็นหินทับหญ้าไปหรือเปล่า ท่านอโศกะ ลองพิจารณาดูด้วยนะครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


แก้ไขล่าสุดโดย โคตรภู เมื่อ 13 ต.ค. 2009, 01:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตกลงคุณมหาราชันย์ ชม หรือ ด่า ล่ะครับเนียะ
ผมทำอารมณ์ไม่ถูก :b23: :b23:

ปล. อยากจะบอกว่าระดับ 13 อะไรนี่นะ
เขานับตามจำนวนโพสต์จ๊ะ

เมื่อก่อนนี้เขาใช้คำว่า "บัว"
มีบัวผุด บัวผลิ บัวตูม บัวบาน บัวแก้ว บัวทอง
ยิ่งโพสต์มาก บัวก้ยิ่งงอกงาม

ผมนี่ ด่าคนตั้งแต่บัวผุด ด่าจนบาน บานอ้าซ่าเลย

แต่คนท้วงมากว่า บัวแก้วบัวบาน ทำไมปากไม่ดี
ใช้สัญลักษณ์บัวคงไม่เหมาะมั๊ง เลยกลายมาเป็น "ระดับ"

แต่แหม ถ้าสังเกตุนิดนึงนะ
พอมาถึงจุดที่โพสต์มากๆเข้า มันจะกลายเป็นคนไร้ระดับนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




821067.JPG
821067.JPG [ 70.36 KiB | เปิดดู 3543 ครั้ง ]
tongue อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับการมาย้ำเรื่องศีลของคุณโคตรภู
ขอความกรุณาช่วยอธิบายต่ออีกหน่อยเกี่ยวกับเรื่องการบรรลุธรรมของท่านองคุลีมาล และสันตติอำมาตย์ด้วยครับ เป็นธรรมทานนะครับ

*******ผมไม่เน้นเรื่องศีลมาก ทั้งๆที่รู้ว่าศีลก็จำเป็น เพราะประสงค์จะให้ผู้คน มาลงมือปฏิบัติทันทีโดยมิกังวลเรื่องศีลจนเกินไป เพราะจากประสบการณ์จริงผมได้พบผู้คนจำนวนมาก มีวิตกกังวลเรื่องศีลมากเสียจนหมดโอกาสลงมือปฏิบัติธรรมครับ

*******บาปอกุศลเก่าๆที่เราเคยทำ เพียรละ ในสัมมัปทานหรือสัมมาวายามะข้อที่ 1 นั้นหมายถึงศีลในอดีตของทุกๆคนที่อาจจะด่างพร้อย พระพุทธเจ้าท่านทรงฉลาดสอนให้ศิษย์อย่าได้กังวลกับศีลในอดีต อันเป็นเหตุให้ใจเศร้าหมอง ลงมือภาวนาไม่ได้ พระองค์ทรงสอนศิษย์ให้ยอมรับความจริงของศีลที่ผิดมาเก่าก่อน แล้วตั้งใจใหม่ที่จะไม่ทำผิดศีลอีก ตามสัมมัปทานข้อที่ 2 แล้วไปเจริญกุศลรักษาเก่า เพื่อจะได้มีกำลังใจไปเจริญกุศลใหม่คือ มรรค 4 มรรคให้เกิดขึ้นในจิต :b17:

*******ประพฤติศีลแค่ศีล 5 ให้ดี จนกว่าจะมีโอกาสได้ลงนั่งทำวิปัสสนาภาวนา เมื่อใดได้นั่งเจริญวิปัสสนาภาวนาแล้ว ศีลในใจณปัจจุบันขณะที่ปฏิบัติภาวนานั้น ศีลแม้ทั้ง 227 ข้อก็ไม่ผิด

เอวัง smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




f10.jpg
f10.jpg [ 18.11 KiB | เปิดดู 3541 ครั้ง ]
tongue chefin เขียน
เมื่อไม่มีเหตุปัจจัย อยู่โดยปกติจะใส่เบรคเพื่อประโยชน์อันใดคะ? ถ้าไม่มีการตรึกตรอง
การที่จะแยกแยะดี-ชั่วได้ ชนผู้นั้นต้องมีศีล มีกุศลจิตก่อน จึงสามารถแยกแยะดี-ชั่วได้ :b44:
เมื่อรู้ว่าสิ่งใดเป็น สมุหทัย เป็นเหตุแห่งทุกข์
เช่น ถูก ค่อนแคะ ส่อเสียด ด่าว่า จากผู้ไม่หวังดีคนใด คนหนึ่ง
ก็เมื่อ มีกุศลจิต ที่รู้ว่า สิ่งใดเป็นเหตุแห่งทุกข์ จึงดับที่เหตุแห่งทุกข์
เมื่อรู้ว่า กิเลส เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง :b20:

อโศกะ ตอบ
เหตุ*** คือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู ย่อมมีอยู่เสมอในจิตของปุถุชน รู้ ก็มี กู ไม่รู้ ก็มี กู
ปัจจัย *** คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์ ธาตุ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 เขาก็มีอยู่ทำงานอยู่เสมอ
เพราะจิตเพลิดเพลินยึดติดอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่ จึงไม่รู้ ไม่เห็นความจริงเหล่านี้
ถ้าหากสติ ปัญญา อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ ไม่เพลิดเพลินยึดติดอยู่กับอารมณ์ใดๆ เขาย่อมจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในกายจิตอยู่ตลอดเวลา


การแยกแยะ ดี ชั่ว เป็นงานของปัญญา การรู้ทัน ระลึกได้ ไม่ลืม เป็นงานของสติ สติเป็นแค่เบรก ไม่แยกแยะดีชั่ว

เสียงแคะไค้ ส่อเสียด ด่าว่า ไม่ใช่เหตุทุกข์ เป็นเพียงปัจจัย เหตุทุกข์คือความเห็นผิดว่าเขาด่า "กู" อัตตา หรือ กูนั่นแหละคือต้นเหตุแห่งทุกข์ จะดับสมุทัย เหตุทุกข์ ต้องฆ่า กู ให้ตาย

หลักฐานสำคัญที่ว่าต้องฆ่ากู ให้ตายเสียก่อนนั้นคือ
คุณสมบัติของโสดาปัตติมรรคคือ ทำลาย สักกายะทิฐิ แล้ว วิจิกิจฉา ศีลัพพัตปรามาสจึงจะตายตาม โสดาปัตติผลก็จะเกิดมาตามให้ได้เสวย
:b53: Onion_L

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเพิ่มให้นิดนึงนะ

คำว่า"ตัวกู"นี่นะครับ

สิ่งที่เป้น "ของกู" มีสองประเภท
คือ"รูปเป็นของกู " และ "นามเป็นของกู"

คำว่ารูปเป้นของกู ถ้าหยาบๆคร่าวๆ ก็เช่น บ้านของกุ รถของกู เสื้อผ้าของกู
แต่ถ้าจะพูดในมันเฉพาะลงไปที่คำว่า "สักกายทิฐิ" นี่นะครับ
สิ่งที่เป้นของกุคือ ขันธ์นั่นแหละ กายเรานั่นแหละ ที่ว่าเป็นของกู
ไม่เชื่อลองหยิกเนื้อตัวเองดู ที่เจ็บน่ะ เรานั่นแหละ ไม่ใช่ใคร

สักกายทิฐิ คือการที่เราแจ่มแจ้งในความจริง ยอมรับความจริงว่า
ขันธ์หรือกายเรานี้มัน "ไม่ใช่ของกูเลย"
แล้วไม่ใช่คิดเอานะ มันแยกกันจริงๆ แต่มันอยู่ด้วยกัน
หยิกก้ยังเจ็บนะ แต่ไม่ใช่"กู"เจ็บ (อธิบายดีที่สุดได้เท่านี้)
ไม่ใช่ว่า"ไม่ใช่เรา" แล้วหยิกไม่เจ็บ มันก้ทำงานเป้นปกตินี่แหละ

ส่วนนาม ที่ว่า "นามเป็นของกู" อันนี้มันสังโยชน์ลำดับอื่นๆ
ระดับกลางๆ ก็เป้นนามที่ยังเกี่ยวข้องกับกาย (ขันธ์)
ระดับท้ายๆ ก็เป้นนามล้วนๆ


สรุปว่า คำว่าอัตตา มันแตกออกมาเป้น 10 สังโยชน์
"ของกู" มันมีตั้ง 10 อย่าง


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 13 ต.ค. 2009, 15:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 17:04
โพสต์: 11

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มหาราชันย์ เขียน:
การมีปฏิกิริยาต่อเสียงด่าเป็นเรื่องของคนไม่มีการศึกษา ไม่ได้อบรมตนครับ


พอดีพึ่งสมัครเข้ามาและเห็นคำว่าอบรมตน ซึ่งคำนี้เป็นภาษาธรรม
หมายถึง ผู้มีความเพียร มีความบากบั่น มิได้มีความหมายในทางดูหมิ่นแต่อย่างใด
..คำนี้เป็นภาษาของนักพรต..


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส

ว่าด้วยการอบรมตน
[๙๑๙] คำว่า อบรมตนอยู่ ในคำว่า เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ ความว่า ปรารภความเพียร มีความเพียรแรงกล้า มีความบากบั่น…


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ผมไม่เน้นเรื่องศีลมาก ทั้งๆที่รู้ว่าศีลก็จำเป็น เพราะประสงค์จะให้ผู้คน มาลงมือปฏิบัติทันทีโดยมิกังวลเรื่องศีลจนเกินไป เพราะจากประสบการณ์จริงผมได้พบผู้คนจำนวนมาก มีวิตกกังวลเรื่องศีลมากเสียจนหมดโอกาสลงมือปฏิบัติธรรมครับ


อโศกะ เขียน:
*******บาปอกุศลเก่าๆที่เราเคยทำ เพียรละ ในสัมมัปทานหรือสัมมาวายามะข้อที่ 1 นั้นหมายถึงศีลในอดีตของทุกๆคนที่อาจจะด่างพร้อย พระพุทธเจ้าท่านทรงฉลาดสอนให้ศิษย์อย่าได้กังวลกับศีลในอดีต อันเป็นเหตุให้ใจเศร้าหมอง ลงมือภาวนาไม่ได้ พระองค์ทรงสอนศิษย์ให้ยอมรับความจริงของศีลที่ผิดมาเก่าก่อน แล้วตั้งใจใหม่ที่จะไม่ทำผิดศีลอีก ตามสัมมัปทานข้อที่ 2 แล้วไปเจริญกุศลรักษาเก่า เพื่อจะได้มีกำลังใจไปเจริญกุศลใหม่คือ มรรค 4 มรรคให้เกิดขึ้นในจิต


อโศกะ เขียน:
*******ประพฤติศีลแค่ศีล 5 ให้ดี จนกว่าจะมีโอกาสได้ลงนั่งทำวิปัสสนาภาวนา เมื่อใดได้นั่งเจริญวิปัสสนาภาวนาแล้ว ศีลในใจณปัจจุบันขณะที่ปฏิบัติภาวนานั้น ศีลแม้ทั้ง 227 ข้อก็ไม่ผิด


อโศกะ เขียน:
ขอความกรุณาช่วยอธิบายต่ออีกหน่อยเกี่ยวกับเรื่องการบรรลุธรรมของท่านองคุลีมาล และสันตติอำมาตย์ด้วยครับ เป็นธรรมทานนะครับ


ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรนะครับ ขออนุโมทนากับกุศลเจตนากับการเผยแผ่ธรรมของท่านนะครับ จากที่ยกมานี้ ผมก็ไม่รู้ว่าท่านลืมอะไรไปหรือเปล่าในการเผยแผ่ธรรมเกี่ยวกับเรื่องของศีล กว่าที่คนเราจะมีโอกาสลงนั่งทำสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม วันหนึ่งๆ จะมีโอกาสได้ซักกี่ชั่วโมง อันนี้ท่านก็ทราบ พระพุทธองค์ก็ทรงทราบ ท่านอโศกะบอกว่าเวลาขณะนั้นศีลบริสุทธิ์เอง ผมก็ไม่โต้แย้ง แต่จุดประสงค์ที่ผมเสนอให้ท่านมอง เพื่อพิจารณา ท่านก็มองไม่ออก ลองกลับไปทบทวนอีกสักครั้งครับ และยังคงถามผมมาอีกในเรื่องของท่านองคุลีมาล และสันตติอำมาตย์ ตรงนี้ท่านก็พยายามบอกเป็นนัยว่าทำผิดศีลก็ยังบรรลุเป็นอรหัตน์ได้ ผมก็ไม่โต้แย้งท่านอีก แต่มันยืนยันผมว่าท่านก็ไม่เข้าใจในมุมองที่ผมเสนอแนะให้ท่านพิจารณาอีก

นอกจากนี้ท่านก็เสนอสัมมัปปฐาน 4 กำกับมาในการเพียร ย้ำว่าเป็นการเพียรซึ่งก็คือการปฏิบัติ ตรงนี้ผมก็เห็นด้วย

แต่สิ่งที่ผมพยายามเสนอมุมมองให้ท่านพิจารณา ก็คือ อินทรีย์สังวร ครับ

โคตรภู เขียน:
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

อินทรียสังวร
[๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ
เช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.


สำหรับผู้บำเพ็ญสมณธรรม ไม่ว่าจะเป็นอุบาสก อุบาสิกา พระสงฆ์ หรือเรียกตัวเองว่าผู้ปฏิบัติธรรม ต้องมีสิ่งนี้ครับ

โคตรภู เขียน:
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
[๑๒๕] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอัน
เป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท
มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ
พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ละอุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว
เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
วิจิกิจฉาได้.


จะเห็นว่า มันแยกจากกันนะครับ แต่อินทรีย์สังวร คือการปฏิบัติที่จะทำให้เราไม่ต้องไปวิตกกังวลกับศีลไงครับ

สำหรับพระเถระทั้งสองท่าน ผมว่าท่านอโศกะ ก็คงทราบแล้วเป็นอย่างดีก็ไม่เป็นไรครับ ผมจะเสนอในมุมมองที่ท่านอโศกะต้องเพื่อเป็นธรรมทานหรือแลกเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกันด้วยความเป็นกัลยาณมิตรครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


แก้ไขล่าสุดโดย โคตรภู เมื่อ 14 ต.ค. 2009, 16:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_4479_resize.JPG
100_4479_resize.JPG [ 80.99 KiB | เปิดดู 3435 ครั้ง ]
tongue
อนุโมทนาสาธุกับความปารถนาดีของคุณโคตรภู น้อมรับใส่ใจครับ
:b8: smiley :b1: :b12: :b16: :b27: :b4: :b17:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2009, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




21245_0047.JPG
21245_0047.JPG [ 40.96 KiB | เปิดดู 3405 ครั้ง ]
tongue ขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนาหรือเจริญมรรค 8 หรือเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 อยู่นั้น ธรรมทั้งหมดจะเป็นสมังคี ปัญญา ศีล วิริยะ สมาธิ หรือโพธิปักขิยธรรม จะมารวมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อนำไปสู่ความเกิด มรรค อันได้แก่โสดาปัตติมรรคเป็นต้น
ขณะใช้ชีวิตประจำวันทำมาหากินไปตามปกติ ผู้ที่เป็นชาวพุทธแท้จริง สำเหนียกและรู้หน้าที่ของชาวพุทธอย่างแท้จริง เขาจะทำหน้าที่ของชาวพุทธไปด้วยในชีวิตประจำวัน
:b8:
งานและหน้าที่ของชาวพุทธคือ

ละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา
ตัวกู ของกู

พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู
ทุกวัน เวลา นาฑี วินาฑี ที่ระลึกได้
และมีโอกาส


ชาวพุทธ จึงเจริญ สติและปัญญา อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ มีสัมมาสังกัปปะ คือสังเกต พิจารณาอันเป็นเงื่อนไขสำคัญของวิปัสสนาภาวนาอยู่อยู่ตลอดเวลา สัมมาทิฐิ จึงเกิดตามมาตลอดเวลาเช่นกัน

ชาวพุทธจึงเป็นผู้มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวร อยู่โดยปกติวิสัย เป้นธรรมชาติวิสัยของชาวพุทธอยู่ดังนี้
วิปัสสนาภาวนาจึงเจริญอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของชาวพุทธ ศีลสังวรและอินทรีย์สังวร จึงไม่เป็นเรื่องที่ยากและหนักหนาพิเศษอะไรสำหรับชาวพุทธ smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




a_sim.bmp
a_sim.bmp [ 170.98 KiB | เปิดดู 3389 ครั้ง ]
tongue ใกล้ปีใหม่แล้ว ขอนำมงคลสูตรมาฝากไว้ ในกระทู้ปีกธรรม สู่มิตรสหายในธรรมทุกท่านให้อยู่สุขสบาย เจริญไปในมงคล ทั้ง 38 ประการตามลำดับ ทุกท่านทุกคนเทอญ สาธุ :b8:
cheesy

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




L065.JPG
L065.JPG [ 83.46 KiB | เปิดดู 3385 ครั้ง ]
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ
[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไป
เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากัน
คิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล
พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า
การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควร
บูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑
ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้
ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่
ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุง
มารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่
อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑
การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑
ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะ
ทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การ
กระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอัน
โลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้า-
โศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยใน
ข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็น
อุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ

อุปัฑฒสูตร
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะชื่อสักระ ในแคว้น
สักกะของชาวศากยะทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์
เทียวนะ พระเจ้าข้า.
[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่างได้
กล่าวอย่างนั้น ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ดูกร
อานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
[๖] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรอานนท์ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา ... สัมมากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ ...
สัมมาสติ ... สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกร
อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
[๗] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจาก
ชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มี
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มี
มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล.

โพธิปักขิยธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม 37 เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี 37 ประการคือ
• สติปัฏฐาน 4
• สัมมัปปธาน 4
• อิทธิบาท 4
• อินทรีย์ 5
• พละ 5
• โพชฌงค์ 7
• มรรคมีองค์ 8
:b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 16:06
โพสต์: 52

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากนั่งอ่านนานๆจังแต่ยังไม่ได้ทานข้าวกลางวันเลยครับ คือว่าขอเรียนถามปัญหานึงที่ยังไม่เข้าใจได้รึเปล่าครับ คือ ผมไม่เข้าใจว่าอุเบกขาเวทนากับอุเบกขาสัมโพฌชงค์ต่างกันยังไงอ่ะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron