วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00005.jpg
00005.jpg [ 103.73 KiB | เปิดดู 16339 ครั้ง ]
นิทานของชาวไทลื้อ

ครั้งหนึ่งมีพญาช้างและพญาเสือท้าแข่งฤทธิกัน โดยมีข้อสัญญากันว่า...
ถ้าฝ่ายเสือชนะการแข่งขัน เสือ ก็จะพาบริวารมากินช้างเสีย
และถ้าหากว่าช้างชนะก็จะเอาพวกบริวารมาแทงเสือให้ตายหมด

เมื่อแข่งกันแล้วปรากฏว่าช้างเป็นฝ่ายแพ้เสือ
เสือจึงบอกให้ช้างอยู่กับที่เพื่อที่จะไปตามบริวารมากินช้าง
พอดีขณะนั้นมีพญากระต่ายมาพบช้างเข้าจึงได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ จากช้าง
เกิดความสงสารช้าง เป็นอันมาก พญากระต่ายจึงบอกให้พญาช้างว่า
ตนเองจะช่วยให้พญาช้างรอดชีวิตจากการเป็นเหยื่ออาหาร ของพญาเสือและบริวาร

พญากระต่ายจึงให้ช้างไปเอาไม้หนังก่อแดงมาให้ เมื่อพญาช้างเอาหนังไม้ก่อแดงมาแล้ว
พญากระต่ายจึงบอกให้พญาช้างหนีไปเสีย เมื่อช้างไปแล้วพญาเสือก็มาถึงและไม่เห็นพญาช้าง
แต่เห็นพญากระต่าย ก็ถามพญากระต่ายว่าพญาช้างไปไหนเสีย
พญากระต่ายก็บอกว่าตนเองได้กินพญาช้าง หมดแล้วแต่ยังไม่อิ่ม อยากกินเนื้อสัตว์อื่น ๆ อีก
พญาเสือได้ยินดังนั้นก็มีความตกใจมาก จึงวิ่งหนีไปพร้อมทั้งบริวารคนละทิศละทาง
พญากระต่ายนั้นก็ วิ่งไล่ตามไป จนกระทั่งจับได้พญาเสือซึ่งได้หนีมาถึงฝั่งน้ำแห่งหนึ่ง
พญาเสือก็ร้องขอชีวิต พญากระต่าย จึงแกล้งบอกพญาเสือว่า
ตนเองนั้นมีเครื่องไทยทานที่จะนำไปฝั่งตรงกันข้าม ถ้าพญาเสือเอาไปได้
ตนเองก็จะไว้ชีวิต พญาเสือก็รับคำ กระต่ายจึงเอาหญ้าคามาผูกหลังเสือ
เสร็จแล้วก็เอาไฟจุด พญาเสือนั้นก็ ตกใจจึงกระโดดลงไปในแม่น้ำ
พญากระต่ายเห็นดังนั้น จึงสั่งพญาสัตว์ป่าทั้งหลาย ลงไปช่วยเอาพญาเสือขึ้นมาจากแม่น้ำให้ได้
ถ้าไม่ได้ก็จะฆ่าให้ตายทั้งหมด พญากบกับพญาเขียดจึงกระโดดงมลงไปช่วยก่อน
แต่ก็ไม่สามารถช่วยได้ จึง ร้องขึ้นว่า อ็อบ ๆ แอ็บ ๆ

ตั้งแต่ นั้นมา พญากระต่ายก็สั่งพญาอึ่งอ่างลงไปช่วยอีก พญาอึ่งอ่างก็กระโดด ลงไปช่วยแต่ก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงร้องว่า "ลึกบ่ใช่ตื้น ๆ" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ส่วนกวาง เมื่อกระโดดลงไปช่วยเสือก็เกิดสำลักน้ำ จึงร้องขึ้นว่า "กั๊ด ๆ" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ส่วนสุดท้ายนั้น พญากระต่ายก็สั่งให้พญาแมวลงไปอีก
เมื่อพญาแมวก็โดดลงไปก็เกิดหนาวมากจึงร้องว่า "หนาว หนาว ๆ" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เสือกับช้าง มาพบกัน เสือพูดกับช้างว่าเจ้าก็ร้องเสียงดังมาก เรามาแข่งกันร้องส่งเสียงดังดู
ถ้า หากชาวบ้านตัดสินว่าเสือร้องดังกว่า เสือก็จะกินช้างแต่หากช้างร้องดังกว่าช้างก็จะกินเสือ
แล้วเสือจึง ให้ช้างร้องก่อน ช้างจึงบอกว่าเสือชนะช้าง ช้างจึงยอมเป็นอาหารของเสือ
เสือจึงบอกว่าให้รออยู่ที่นั่น จะไปหาเพื่อนมาช่วยกิน เพราะว่ากินผู้เดียวไม่หมด

บังเอิญกระต่ายตัวหนึ่งมาพบช้าง จึงถามช้างว่า อยู่ที่นี่ทำไม ช้างบอกว่าเสือให้รอที่นี่
เพราะร้อง เสียงดังสู้ไม่ได้ กระต่ายถามว่าช้างกลัวตายไหม ช้างตอบว่ากลัวตาย
กระต่ายบอกว่าอย่างนั้นก็จะช่วย ไม่ให้ตาย กระต่ายให้ช้างไปขอข้าวที่ตำคลุกกับงา
จากชาวบ้านมา เมื่อได้มาแล้วกระต่ายจึงวางแผนให้ ช้างทำเป็นนอนตายนิ่งเงียบ
แล้วเอาข้าวคลุกงามาติดไว้ที่หัวช้างและตามตัว อีกไม่นานเสือก็มาก็เห็น
กระต่ายกำลังกินข้าวคลุกงาอยู่ก็นึกว่ากระต่ายกำลังกินช้าง จึงเกิดความกลัว
จึงได้วิ่งหนี กระต่ายจึงให้ ช้างวิ่งไปในหมู่บ้าน ส่วนกระต่ายจึงวิ่งไปตามทางเล็ก ๆ
เสือนึกได้และรู้ทันกระต่ายภายหลังก็โกรธ กระต่ายเป็นอันมาก

ส่วนกระต่ายนั้นก็ไปพบกองขี้ควาย จึงเอาหนามเสียบกับขี้ควายไว้แล้วนั่งเฝ้าอยู่
เสือก็ตามมาทัน จึงถามกระต่ายว่า เจ้าใช่ไหมที่เป็นตัวการที่ช่วยช้าง กระต่ายบอกว่า
ไม่ใช่มันหรอก เพราะมันกำลังนั่ง เฝ้าเก้าอี้วิเศษของปู่ตนอยู่ตั้งนานแล้ว
เก้าอี้นี้ถ้านั่งแล้วจะเห็นอาหารทุกอย่างว่าอยู่ที่ไหน เสือก็จึงอยาก นั่ง จะนั่งบ้าง
จึงขอร้องกระต่าย กระต่ายว่าจะขอไปถามปู่ก่อน พอกระต่ายกลับมาก็พูดว่า
ปู่บอกว่าถ้า เสือจะนั่งก็ให้กระแทกนั่งลงแรง ๆ แล้วกระต่ายก็วิ่งไปที่อื่น
ไปพบกับต้นไม้ต้นหนึ่งซึ่งมีรังผึ้งอยู่ริมทาง ฝ่ายเสือจึงกระแทกนั่งนั่งลงอย่างแรง
จึงถูกหนามเสียบก้น

เสือโกรธมากที่โดนกระต่ายหลอก จึงออกตามกระต่ายจนพบแล้วถามว่า
กระต่ายใช่ไหมที่หลอกให้ นั่งเก้าอี้หนาม กระต่ายตอบว่าไม่ใช่ตนหรอก
เพราะกระต่ายมิใช่มีตัวเดียว และว่าตนนั่งเฝ้าฆ้องวิเศษ ของปู่นานแล้ว
ฆ้องนี้ถ้าผู้ใดตีแล้วก็จะเห็นอาหารทุกอย่าง เสือคิดนึกว่าเป็นฆ้องวิเศษจริง
ก็ขอตีฆ้องนั้น กระต่ายก็ตกลงโดยบอกว่าให้ตีแรง ๆ แล้วมันก็วิ่งหนีเข้าป่าไป
เสือจึงตีรังผึ้งนั้นเต็มแรง ผึ้งจึงต่อยเอา จนบวมไปทั้งตัว เสือจึงรู้ว่าเสียรู้กระต่ายอีก
จึงโกรธมากและตามกระต่ายไปอีก

เสือไปพบกระต่ายที่บ่อน้ำแห้ง เห็นกระต่ายลงไปนั่งอยู่ในบ่อเสือก็ถามว่า
กระต่ายใช่ไหมที่โกหกมัน ถึง ๒ ครั้งแล้ว
กระต่ายบอกว่าไม่ใช่ เพราะกระต่ายไม่ใช่มีตนเพียงตัวเดียวในป่านั้น
แล้วก็บอกเสือว่า ฟ้าจะถล่มทับหัวเสือ ถ้าหากเสือไม่ลงมาในบ่อ
เสือจึงมองดูฟ้าเห็นเมฆดำลอยจึงกลัวก็กระโดดลงบ่อน้ำ แห้งนั้น
กระต่ายจึงกระโดดขึ้นหลังเสือแล้วกระโดดออกจากบ่อ
แล้วไปบอกชาวบ้านให้มาฆ่าเสือ

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 28 ก.ย. 2009, 19:58, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ข้างขึ้น ข้างแรม

จันทร์เต็มดวงในคืนเดือนหงาย หรือจันทร์ครึ่งเสี้ยวในคืนข้างแรม ยามค่ำคืนมืดมิดแหงนมองท้องฟ้ามองเห็นพระจันทร์ ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของโลกเราเห็นพระจันทร์ได้เหมือนกัน อดีตโลกยังไม่มีการสื่อสารไร้พรมแดน มนุษย์อุปโลกน์ให้พระจันทร์และดวงดาวช่วยเป็นสื่อกลางนำความรู้สึกห่วงหาคิด ถึงฝากไปถึงคนไกล เพราะเชื่อด้วยว่าคนที่คิดถึงนั้นจ้องมองจันทร์เหมือนกัน

ในอดีตมนุษย์ มิอาจรู้ได้ว่าบนดวงจันทร์เป็นอย่างไร ได้แต่จินตนาการว่าพระจันทร์สวยงาม สังเกตจากแสงสีเหลืองนวลที่ส่องมายังผิวโลก เชื่อว่าบนดวงจันทร์เป็นแดนของเจ้าชาย เจ้าหญิง เป็นดาวศักดิ์สิทธ์ขอพรให้สัมฤทธิผล

จนกระทั่งเมื่อ 389 ปีก่อน เมื่อกาลิเลโอใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นส่องดวงจันทร์ เขาเห็นว่าดวงจันทร์มีผิวขรุขระ เห็นภูเขาเป็นทิวยาว และเห็นอุกกาบาตจำนวนมาก กระจัดกระจายอยู่บนผิวหน้าของดวงจันทร์

ต่อมาอีก 400 ปี วงการดาราศาสตร์ก็ได้ค้นพบอีกว่าดวงจันทร์มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 3,475 กิโลเมตร คือยาวประมาณ 1 ใน 4 ของโลก ต่อมาปี พ.ศ. 2512 สหรัฐส่งยานอวกาศไปสำรวจ นีล อาร์มสตรอง เป็นนักบินอวกาศคนแรกที่เหยียบพื้นดวงจันทร์ ทำให้มีความชัดเจนเพิ่มขึ้นว่าพระจันทร์ขรุขระ ไม่สวยงามตามตำนาน อีกทั้งยังเป็นดินแดนที่ปลอดสิ่งมีชีวิต มีวงโคจรอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางโดยเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร

การได้ไปเยือนดวงจันทร์ของมนุษย์ แล้วนำข้อมูลมาหักล้างกับความเชื่อของคนโบราณที่มีมานานนับพันปี มิได้ส่งผลใดๆ ต่อความเชื่อเรื่องของดวงจันทร์ให้เลือนหายไป ผู้คนทั่วโลกยังเล่าขานและสืบสานประเพณีบูชาพระจันทร์กันต่อไป

เรื่องราวของศรัทธาดวง จันทร์ก้องโลกต้องยกให้ชาวจีน เพราะมีพิธีไหว้พระจันทร์กันอย่างเอิกเกริก เป็นประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งของชาวจีนที่มีมาแต่โบราณนับร้อยๆ ปี วันไหว้พระจันทร์จะตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 ของจีน เป็นวันกลางเดือนของเดือนกลางฤดูใบไม้ร่วง

เพราะฤดูนี้พระจันทร์แจ่มงามที่สุด อากาศอบอุ่นสบาย ฤดูใบไม้ผลิตอนต้นฤดูหนาวท้ายฤดูฝนมาก ฤดูร้อนฝนชุกเมฆมาก ฤดูหนาวแม้ฟ้าใสแต่อากาศหนาวมาก หลายถิ่นมีหิมะตกจึงไม่เหมาะที่จะไหว้พระจันทร์

ชาวจีนเชื่อ ว่าพระจันทร์เป็นผู้หญิงจึงนิยมไหว้ด้วยขนมหวาน ตามตำนานกล่าวไว้ว่าการไหว้พระจันทร์เป็นการไหว้เพื่อรำลึกถึงองค์ไท้อิม เนี้ย เทพผู้ให้ความสุขสงบแก่สรรพสิ่งในโลก และถือว่าเป็นเทพที่มีพระสิริโฉมงดงามที่สุดองค์หนึ่ง ซึ่งจะเสด็จมาโปรดสัตว์โลกในคืนพระจันทร์เต็มดวงของเดือน 8 การสักการะจึงมักเป็นของเสี่ยงทายเพื่อขอให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนและ ครอบครัว

นอกจากนี้วันไหว้พระจันทร์ยังเกี่ยว กับประวัติศาสาตร์จีน ตอนที่ "จูง่วนเจียง" ผู้นำชาวจีนสมัยนั้นได้นัดแนะชาวจีนขึ้นต่อต้านกษัตริย์ชาติมองโกลที่ยึด ครองจีนอยู่ โดยให้แต่ละครอบครัวจัดทำอาวุธ และเอกสารนัดหมายแอบซ่อนไว้ในหรือใต้ขนมโก๋ หรือขนมเปี๊ยะที่มีขนาดใหญ่ โดยแกล้งทำเป็นธรรมเนียมแลกเปลี่ยนขนมระหว่างญาติเพื่อตบตาชาวมองโกล

สมัยก่อนมี กฎหมายห้ามชาวจีนตีเหล็กทำอาวุธ และให้มีมีดใช้ 5 ครอบครัวต่อหนึ่งเล่ม ซึ่งในหนังสือก็ได้นัดให้ทุกครอบครัวจัดงานไหว้พระจันทร์ด้วยการประดับประดา ตกแต่งโต๊ะไหว้ให้สวยงามโดยพร้อมเพรียงกัน และถือเป็นวันดีเดย์ในการยึดอำนาจคืน เมื่อสำเร็จ จูง่วนเจียง ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ นามว่า "พระเจ้าไท้โจวเกาอ่วงตี้"

ในอดีตประเพณีวันไหว้พระจันทร์จะเป็นวันที่สาวๆ หนุ่มๆ ชาวจีนจะได้มีโอกาสออกมาพบปะกันด้วย ทำให้หลายคู่ได้แต่งงานกันเพราะประเพณีนี้

นอกจากนี้ความเชื่ออีก อย่างในวันไหว้พระจันทร์ซึ่งเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงมีความหมายถึงความ กลมเกลียว จึงเป็นเสมือนวันนัดหมายรวมญาติมิตรอีกวันหนึ่ง ปัจจุบันชาวจีนได้ถือเอาวันนี้เป็นวันแห่งครอบครัวที่ร่วมกันชิมขนม จิบน้ำชาภายใต้แสงจันทร์

คนไทยกับพระจันทร์มัก ผูกโยงกันทางโหราศาสตร์ว่าเป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทยพระจันทร์ถูกสร้างขึ้นมาจากเทวธิดา(นางฟ้า) 15 องค์ บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวลแล้วเสกให้เป็นพระจันทร์ มีสีวรกายขาวนวล มีม้าเป็นพาหนะ พระจันทร์สถิตอยู่ทางทิศตะวันออก

ทางพุทธศาสนาเมื่อ วันพระจันทร์เต็มดวง ก็ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ เช่น วันวิสาขบูชา มาฆบูชา เป็นต้น นอกจากนี้ ตัวเลขกำลัง 15 ยังสัมพันธ์กับการนับวันเวลาของวันเวลาข้างขึ้นข้างแรม ซึ่งมี 2 ช่วง สอดคล้องกับคนที่เกิดวันจันทร์เวลาข้างขึ้น จะมีความสุข ใจเย็นกว่าคนเกิดข้างแรม เพราะข้างขึ้นน้ำมากจะเย็น ดังนั้นคนเกิดวันจันทร์ เลขประจำตัวที่เหมาะคือ 15 และเลข 2 พร้อมกับมีน้ำอยู่ใกล้ชิด จะส่งเสริมให้ชีวิตดีขึ้น

ประเพณีเกี่ยวกับพระจันทร์เหมือน กับคนญี่ปุ่น เกิดขึ้นในเดือนกันยายนใกล้เคียงกับชาวจีนประมาณกลางเดือน ช่วงนี้พระจันทร์จะเต็มดวง เรียกว่า "Chushu no meigetsu" ชาวญี่ปุ่นจะพากันชื่นชมความงามของดวงจันทร์ในคืนพระจันทร์เต็มดวงที่เรียก ว่า "โอซูคิมิ" ซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณและช่วงนี้เชื่อว่าจะเป็นช่วงที่พระจันทร์สวยสุดในรอบ ปี ประเพณีการชมพระจันทร์คือการถวายขนมไหว้พระจันทร์ ดอกซึซึกิ องุ่น เกาลัด และผลไม้ตามฤดูกาล

ผู้คนในเอเชียสืบสาน ประเพณีเกี่ยวกับพระจันทร์มาหลายร้อยปี จะเห็นได้ว่าแต่ละประเพณีในแต่ละประเทศเจือแฝงไว้ด้วยความสามัคคีกลมเกลียว ให้ผู้คนได้มาพบปะพูดคุย อันเป็นคุณความดีที่เห็นชัดจากพระจันทร์ในวันแสงสวยกว่าปกติ

ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมสัมพันธ์ กับดวงจันทร์, ตำนานนิทานปรัมปราหลายพื้นที่ อาทิ ชาวไทยใหญ่เชื่อว่าพระจันทร์คือกระต่ายตัวน้อยที่คลุมด้วยเงินอยู่ในเรือน แก้ว มีหน้าต่าง 15 บาน กระต่ายจะเปิดหน้าต่างทีละบานจนครบเดือนก็จะสว่างไปทั่ว เป็นปรากฏการณ์ข้างขึ้น และจะต้องปิดหน้าต่างทีละบานจึงเป็นข้างแรม

ส่วนชาวญี่ปุ่นมี เรื่องเล่าในนิทานพื้นบ้านของชาวไอนุ ประเทศญี่ปุ่นเชื่อว่าพระอาทิตย์กับพระจันทร์นั้นเป็นสามี-ภรรยากัน พระอาทิตย์นั้นเป็นเพศชายมีเสื้อผ้าดีใส่จึงมีแสงสว่างในตัว ส่วนพระจันทร์เป็นภรรยาจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวและดำเท่านั้น และเมื่อพระจันทร์สวมใส่เสื้อสีขาวจะเป็นข้างขึ้นและสีดำจะเป็นข้างแรม

ขณะที่ชาวอียิปต์เชื่อ ว่า ทุกคืนเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์จะต้องเดินทางผ่านโลกของคนตาย ระหว่างทางจะมีงูมาคอยดักทำร้าย ถ้าเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ถูกงูกินก็จะไม่มีกลางวัน ดังนั้นทุกคืนเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์จะแปลงร่างเป็นแมวคอยจับงู

ชาวอินเดียเชื่อ ว่ากลางวันกลางคืนขึ้นอยู่กับการกระทำของพระพรหม ซึ่งเป็นเทพเจ้ามีดอกบัวเป็นตัวแทน เวลาที่พระพรหมตื่นนอนจะเป็นเวลากลางวัน เวลาพระพรหมหลับจะเป็นตอนกลางคืน และความมืดจะปกคลุมโลก

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 20:40, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับคุณป่าอ้อด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณค่ะ...คุณป่าอ้อ

น่ารักทั้งรูปภาพ เรื่องราว อ่านแล้วนึกถึงตอนเป็นเด็กเด็กอีกครั้ง
นำมาฝากกันอีกนะคะ


:b48: ณ แห่งนี้มีธรรมะและกัลยาณมิตร :b48:

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 01:47
โพสต์: 178

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


รำลึก ภิกขุ ปัญญานันทะ
วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)

ได้ไปเยือนวัดอุโมงค์เมื่อ 22 พฤษภาคม 2550
เนื่องจากได้อ่านพบเรื่องราวการบูรณะภาพจิตกรรมฝาผนังภายในอุโมงค์ของวัด อุโมงค์ในหนังสือท่องเที่ยวฉบับหนึ่ง จากปากทางเข้าที่ถนนสุเทพซึ่งแสนจะแคบและเป็นชุมชนที่หนาแน่นมาก เนื่องจากอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ยิ่งเข้าใกล้บริเวณวัดต้นไม้เขียวร่มรื่นก็ปกคลุมอยู่ทั่วไป ความอึกทึกจากภายนอกไม่สามารถเข้ามารบกวนความสงบภายในวัดแห่งนี้ได้เลย เมื่อเริ่มเดินสำรวจไปทั่ววัดเราจะพบกับบรรยากาศผสมผสานของสวนโมกขพลารามและ วัดชลประทานรังสฤษฏ์ ซึ่งมาทราบภายหลังว่าหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุเคยจำพรรษาอยู่ที่นี่นานถึง 11 พรรษา (พ.ศ. 2492-2502) โดยท่านไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ 13 เมษายน 2492 ด้วยการปาฐกถาธรรม โดยสร้างโรงมุงใบตองตึงขึ้นในที่ของชาวบ้าน เทศน์ทุกวันอาทิตย์และวันพระ ออกเทศน์ตามหมู่บ้านโดยรถยนต์ติดเครื่องขยายเสียง และเขียนเรื่องลงหนังสือพิมพ์ชาวเหนือ จนมีชื่อในเชียงใหม่ในนาม "ภิกขุ ปัญญานันทะ"

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดอุโมงค์ - พระเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ที่พระเจ้ากือนาทรงโปรดให้บูรณะขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปสักการะได้ หลักศิลาจารึกการบูรณะซ่อมแซมวัดอุโมงค์ ที่คณะพุทธนิคมได้จัดทำขึ้นตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโมงค์ เสาหินอโศกจำลอง ตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโมงค์ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่บริเวณหน้าอุโมงค์แสดงเศียรพระพุทธรูปที่ชำรุด โรงภาพปริศนาธรรมเป็นสถานที่แสดงภาพที่แฝกคำสอนทางพุทธศาสนา มีประชาชนให้ความสนใจเข้าชมจำนวนมาก หอสมุดธรรมโฆษ ชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์และให้บริการยืมเทปธรรมะ ชั้นล่างทำเป็นห้องสมุดบริการแก่ประชาชนทั่วไป เปิดทุกวันยกเว้นวันพระ และวันหยุดประจำปี สระน้ำภายในวัดอุโมงค์มีสัตว์ เช่น ปลา เต๋า นก และสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือ ภาพจิตรกรรมในอุโมงค์ ซึ่งมีความเก่าแก่และมีคุณค่าทางด้านศิลปะประวัติศาสตร์มาก

ด้วยในวันนี้เป็นวันแรกของการบำเพ็ญกุศลศพหลวงพ่อปัญญานันทภิขุ เรื่องราวของวัดอุโมงค์จึงกลับขึ้นมาสู่ความทรงจำอีกครั้งหนึ่ง

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) หรือ วัดอุโมงค์เถรจันทร์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ทางทิศใต้ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในซอยหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” เป็นชื่อเรียกวัดเก่าแก่ที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงสร้างขึ้น เพื่อถวายพระ มหาเถรจันทร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกพำนักจำพรรษาในวัดแห่งนี้ “วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม” เป็นชื่อใหม่ที่ "ภิกขุ ปัญญานันทะ" ประธาน สงฆ์วัดอุโมงค์ ในช่วง พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2509 ตั้งขึ้นเพื่อเรียกสถาปนาป่าผืนใหญ่ที่ปกคลุมวัดร้างโบราณ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ เป็นที่อยู่ของภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้แสวงหาความสงบ รวมเอาวัดไผ่ 11 กอ (วัดเวฬุกัฏฐาราม) และวัดอีก 4 วัด ที่อยู่ใกล้ๆ เอาไว้ ด้วย เป็นอาณาบริเวณวัดอุโมงค์ที่รู้จักกันทุกวันนี้

ประวัติวัดอุโมงค์ มีหลักฐานทางด้านตำนานไม่ค่อยชัดเจนนัก จึงต้องใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในการศึกษาค้นคว้าประวัติ ศาสตร์วัดอุโมงค์ด้วย ประวัติวัดอุโมงค์ตามตำนานปัญหาเถรจันทร์ ซึ่งตามธรรมเนียมไทยในกษัตริย์ไทยสมัยโบราณที่จะขึ้นครองราชสมบัติ จะต้องสร้างบ้านเมือง พระราชวัง รวมทั้งวัดประจำรัชการ เพื่อเป็นการแสดงว่ากษัตริย์มีความสนใจด้านการเมือง การปกครอง รวมทั้งทำนุบำรุงศาสนา และมีความสนใจในด้านศาสนา

ตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์ พระเจ้ามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายได้ทรงสร้างอาณาจักรล้านนาร่วมกับพระสหาย 2 พระองค์ คือ พระเจ้ารามคำแหงมหาราช เจ้าผู้ครองนครสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง เจ้าผู้ครองนครพะเยา มาสร้างเมืองที่เวียงเหล็ก (บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) และได้ตั้งนามเมืองใหม่ว่า "เมืองนพบุรี ศรีนครพิงค์ เชียงใหม่"

หลัง จากที่พระองค์ทรงสร้างเมืองและพระราชวังเสร็จแล้วพระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธ ศาสนาทรงสร้างวัด เช่น วัดเชียงมั่น วัดเก้าถ้าน และวัดไผ่ 11 กอ (วัดเวฬุกัฎฐาราม) เป็นต้น วัดเวฬุกัฎฐาราม (วัดไผ่ 11กอ) เป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่อให้พระสงฆ์จากลังกามาจำพรรษา และสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการนำพุทธศาสนาจากลังกามาเผยแผ่ในอาณาจักร ล้านนาเป็นครั้งแรกด้วย โดยพระองค์โปรดให้พระมหากัสสปะ เป็นผู้วางแผนผังวัดออกเป็นสัดส่วน โดยจัดเป็นเขตพุทธวาส (สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เช่น เจดีย์ อุโบสถ) และสังฆาวาส พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นในวัดไผ่ 11 กอ เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ (มีขนาดเล็กกว่าพระเจดีย์องค์ปัจจุบันในวัดอุโมงค์) เมื่อวัดถูกสร้างเรียบร้อยแล้วพระองค์โปรดให้เฉลิมฉลองและตั้งชื่อว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) และพระองค์ทรงนิมนต์คณะสงฆ์ลังกามาจำพรรษา และเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนา พระสงฆ์ในวัดเวฬุกัฏฐารามเป็นที่ศรัทธาและเลื่อมใสของกษัตริย์พระบรมวงศานุ วงศ์รวมทั้งประชาชน เนื่องจากพระสงฆ์จากลังกาที่มาจำพรรษาในวัดนี้มีความรู้ในธรรมวินัยดี มีความสามารถมากในการแสดงธรรม และมีความประพฤติที่เคร่งครัดในระเบียบวินัยมากกว่าพระสงฆ์อื่น ๆ

หลัง จากพระเจ้ามังรายสวรรคต พุทธศาสนาในอาณาจักรก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากเกิดการแย่งชิงราชสมบัติในเชื้อพระวงศ์ ครั้นถึงรัชสมัยพระเจ้าผายู พุทธศาสนาในล้านนาก็เจริญขึ้นอีกครั้ง พระองค์ทรงทำนุบำรุงศาสนาและเลื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอันมาก

หลัง จากพระเจ้าผายูสวรรคตแล้ว ได้อันเชิญเจ้าท้าวกือนา จากเมืองเชียงแสน มาราชาภิเษกเป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 ของราชวงศ์มังราย ทรงพระนามว่า "พระเจ้ากือนาธรรมิกราช" พระองค์ทรงทำนุบำรุงศาสนาและโปรดให้บูรณะวัดเวฬุกัฏฐาราม โดยโปรดให้ซ่อมแซมองค์พระเจดีย์องค์เดิม โดยให้พอกปูนซ่อมแซมพระเจดีย์แต่ให้มีทรวดทรงของพระเจดีย์องค์เดิมอยู่ เมื่อซ่อมแซมพระเจดีย์เสร็จ ทรงโปรดให้สร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของพระเจดีย์ มีทางเดินภายในอุโมงค์ 4 ช่อง แต่ละช่องมีทางเดินติดต่อกันได้ และผนังภายในอุโมงค์มีการเจาะช่องสำหรับจุดประทีปให้สว่างเป็นระยะ

ตามตำนานเถรจันทร์ อุโมงค์นี้สร้างไว้เพื่อทำวิปัสสนาสำหรับพระเถระจันทร์ที่พญากือนาทรงโปรด
แต่จิตรกรรมฝาผนังในอุโมงค์นี้คาดว่าสร้างหลังพญากือนา

งาน จิตรกรรมฝาผนังกลุ่มที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ในช่วง ๕๐๐-๗๐๐ ปีในประเทศไทยมีอยู่ไม่เกิน ๑๐ ชิ้น ส่วนใหญ่พบที่อยุธยา สุโขทัย ลพบุรี ราชบุรี และพบในล้านนาก็มีเพียงชิ้นเดียวคือที่วัดอุโมงค์ จึงเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีความสำคัญมาก ลวดลายต่างๆ บนจิตรกรรมน่าจะได้มาจากเครื่องถ้วยจีน ลายผ้าและเครื่องเขิน โดยหลักฐานที่มีในปัจจุบันคือ เครื่องถ้วยจีนที่มีลายดอกไม้และนกของจีน ซึ่งพบในเชียงใหม่และลำพูนนั้นมีลวดลายตรงกันกับลวดลายในจิตรกรรมวัดอุโมงค์ ตัวอย่างเช่น ลายนกยูงนั้นได้มาจากเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นต้น

สาเหตุ ที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงโปรดให้สร้างอุโมงค์ขึ้น เนื่องจากพระองค์ทรงเลื่อมใสพระสงฆ์ล้านนารูปหนึ่งมาก ที่มีนามว่า "พระมหาเถรจันทร์" หรือ "ท่านเถรจันทร์" พระมหาเถรจันทร์" ได้บวชเป็นสามเณรในหมู่บ้านที่เกิด พออายุได้ 17 ปี ก็ได้เข้าไปอยู่ในเมืองเชียงใหม่และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในเมืองเชียงใหม่ เมื่อมีอายุประมาณ 20 ปี ท่านได้ขึ้นไปพำนักบนดอยสุเทพ และได้พบกับนางเทพธิดาองค์หนึ่ง ซึ่งมีรูปโฉมงดงามมาก และถามท่านว่า เหตุใดท่านจึงสวดมนต์อยู่ที่นี่ ท่านก็ตอบว่า เราใคร่มีปัญญารู้ธรรม นางจึงถามต่อไปว่า หากท่านได้สติปัญญาสามารถเรียนธรรมดังกล่าวนั้นแล้ว ท่านจะลาสิกขาไปหรือไม่ เมื่อท่านตอบว่าไม่สิกขา นางจึงมอบสิ่งหนึ่งถวาย เมื่อท่านเถรจันทร์รับของสิ่งนั้นจากนางเทพธิดา แต่เผลอจับปลายนิ้วมือของนาง นางจึงสาปท่านว่า "ท่านจงหาสติไม่ได้แล" เมื่อท่านเถรจันทร์กลับมาอยู่ในหมู่บ้านที่ท่านอาศัยอยู่ จึงได้ศึกษาพระคัมภีร์พุทธศาสนาจนแตกฉาน และมีชื่อเสียงอย่างแพร่หลาย แต่ท่านมักขาดสติในการกระทำสิ่งต่างๆ และชอบเร่ร่อนอาศัยอยู่ในป่า พระเจ้ากือนาธรรมิกราชจึงมีพระประสงค์ให้พระมหาเถรจันทร์ หรือ ท่านเถรจันทร์ พำนักเป็นหลักแหล่ง พระองค์จึงเชิญพระมหาเถรจันทร์มาพำนักและจำวัดอยู่ในวัดอุโมงค์ที่พระองค์ ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระเถรจันทร์ วัดนี้จึงได้ชื่อว่าวัดอุโมงค์เถรจันทร์ เรียกตามชื่อของพระมหาเถรจันทร์

ลวดลายที่คัดลอกออกมาได้จากอุโมงค์นั้นมีลักษณะคล้ายลวดลายประดับผนัง (Wallpaper)
ซึ่งมีภาพเป็นลวดลายซ้ำๆ กันตลอดช่วงของอุโมงค์
แม้หลังคาของบันไดก็เต็มไปด้วยร่องรอยของลวดลายสวยๆ
ภาพเขียนสีเลือนลาง แต่ก็บ่งบอกได้ถึงความงดงามเมื่ออดีต
ภาพจิตรกรรมนกสลับดอกโบตั๋น
ภาพจิตรกรรมดอกบัวสลับลายเมฆ
แม้หลังคาของบันไดก็เต็มไปด้วยร่องรอยของลวดลายสวยๆ
ภายในอุโมงค์มีภาพจิตรกรรมอยู่บริเวณเพดานโค้ง เป็นลวดลายจิตรกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีนและพม่า สีที่ปรากฏในงานจิตรกรรมเป็นสีแดงชาด เป็นจิตรกรรมที่มีความงดงามและประณีตมาก

วัดอุโมงค์เถรจันทร์ถูกทิ้งให้รกร้างในสมัยใดไม่มีหลักฐานแน่ชัดจนกระทั่งใน พ.ศ.2491 เป็น ต้นมา นายชื่นสิโรรสกับมิตรสหายได้พากันมาแผ้วถางป่า และบูรณะซ่อมแซมกำแพงที่หักพัก ก่อนที่นายชื่นและพวกจะเข้ามาแผ้วถางป่า สถานที่แห่งนี้ถูกทิ้งให้รกร้างมีต้นไม้ปกคลุมจำนวนมากที่พื้นอุโมงค์มีดิน และทรายจับหนาราว 80-100 ซ.ม. ในครั้งนั้นการจะเข้าไปในอุโมงค์ก็ต้องก้มคลานเข้าไป ในระหว่างที่ทำการบูรณปฏิสังขรณ์อุโมงค์ในคราวนั้นได้ขุดทรายและดินที่ทับ ถมอยู่ในอุโมงค์ออกโดยไม่มีใครทราบมาก่อนว่าบนผนังอุโมงค์มีภาพเขียนอยู่จึง ได้ทำให้ภาพเขียนส่วนหนึ่งของอุโมงค์ถูกขูดลบออกไปด้วย

โรงภาพปริศนาธรรม...เข้าได้ทั้งชายหญิง
บริเวณด้านนอกของโรงภาพปริศนาธรรมมีภาพแกะสลักหินเกี่ยวกับประวัติประพุทธเจ้าวางเรียงรายอยู่มากมาย

หิน สลักแบบภราหุต - ภาพมหาภิเนษกรมน์ (ออกผนวช) - ภาพซ้ายแสดงภาพเจ้าชายสิตธัตถะด้วยดวงไฟ 2 ดวงอยู่บนหลังม้า มีฉัตรกั้นข้างบน มีการโรยดอกไม้ที่พื้นเพื่อไม่ให้เกิดเสียงจากกีบม้า ภาพขวาแสดงถึงตอนท้ายเของรื่อง พระบาทคู่ด้านขวาของภาพคือจุดหมายปลายทางที่เสด็จลงจากหลังม้า

หิน สลักแบบอมราวดี สมัยอันธระ พ.ศ.400-700 - ภาพกษัตริย์โกลียะนครได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อมาถึงพระนครพระราชินีทรงปลาบปลื้มจนสิ้นสติยืนทรงตัวไม่ได้นต้องเกาะ ผู้อื่น (ด้านขวามือ) ครั้นหายแล้วก็รับพวงมาลาไปเพื่อทำการบูชา (ด้านซ้ายมือ) แล้วทำการบูชาด้วยท่าต่างๆ ตามแบบของถิ่นนั้น (ภาพด้านล่าง) แสดงให้เห็นว่าพระราชินีองค์เดียวถูกแสดงในภาพเดียวด้วยท่าทางต่างๆ 6-7 ท่า

"โครงการ ย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์" คือ โครงการที่ดำเนินการคัดลอกภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโมงค์ วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มีความสำคัญในฐานะเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังศิลปะล้านนา ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 หรือราว 500 ปีมาแล้ว อันเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังศิลปะล้านนาที่เก่าแก่ที่สุดในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 1839-2101) ที่เหลือเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันอันเป็นผลงานศิลปะในยุครุ่งเรืองของแคว้น ล้านนา แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับอาณาจักรเพื่อนบ้านคือจีนในสมัยราชวงศ์หมิง และพม่าในสมัยพุกาม

นิทรรศการภายในวัด
ข้อมูลจาก "โครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์"
ค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์ (สวนพุทธรรม)

.....................................................
"เกิดมาก็เพราะกรรม...ดับไปก็หมดกรรม"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงมะตูม เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 02:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ประวัติการลอยกระทง

การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม
เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอก
ของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทง
หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที
ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ไปปรากฏอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับ
พุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดใน
นาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงทรง
ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะ บูชา

การลอยกระทงที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ยังมีอีก 2 เรื่อง คือ

1. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ และ

2. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธองค์ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก

ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี
เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลากลางคืนด้วยม้ากัณฐกะ
พร้อมนายฉันทะมหาดเล็กผู้ตามเสด็จ ครั้นรุ่งอรุณก็ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที เจ้าชายทรงขับม้ากัณฐกะ
กระโจนข้ามแม่น้ำไปโดยสวัสดี
เมื่อทรงทราบว่าพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จลงประทับเหนือหาดทราขาวสะอาด
ตรัสให้นายฉันทะนำเครื่องประดับและม้ากัณฐกะกลับพระนคร ทรงตั้งพระทัยปรารภจะบรรพชา
โดยเปล่งวาจา "สาธุ โข ปพฺพชฺชา" แล้ว จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวา
ทรงพระขรรค์ตัดพระเมาลี แล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับพระเมาลีไว้
และนำไปบรรจุยังพระจุฬามณีเจดียสถานในเทวโลก

พระจุฬามณีตามปกติมีเทวดาเหาะมาบูชาเป็นประจำ แม้พระศรีอริยเมตไตรยเทวโพธิสัตว์
ซึ่งในอนาคต จะมาจุติบนโลก และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งก็ยังเสด็จมาไหว้
การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี จึงถือเป็นการไหว้บูชาพระศรีอริยไตรยด้วย

ตำนานการลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช จนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว
หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง
จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา
ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์
เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น
มี บันไดทอง บันไดเงิน บันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร
บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง
บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ
บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ

ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้
เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ
การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้
จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ
เป็นประเพณีเดียวกับ การตักบาตรเทโว รับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์

การลอยกระทงเพื่อบูชาพระนารายณ์บรรทมสินธุ์
ยังมีพิธีการลอยกระทงตามคติพราหมณ์อีกเรื่องหนึ่ง
ซึ่งกระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ที่บรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
นิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 หรือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12
เป็น 2 ระยะ ที่จะกระทำการในกำหนดใดก็ได้ตามสมควร

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 28 ก.ย. 2009, 19:57, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




r1_8.gif
r1_8.gif [ 17.85 KiB | เปิดดู 16070 ครั้ง ]
อนุโมทนาค่ะ คุณป่าอ้อ

นิทานสนุกดีค่ะ

นิทานไทลื้อที่โพสต์เป็นเรื่องแรก คุณป่าอ้อนำมาจากไหนคะ tongue

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 17:56, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
อนุโมทนาค่ะ คุณป่าอ้อ นิทานสนุกดีค่ะ

นิทานไทลื้อที่โพสต์เป็นเรื่องแรก คุณป่าอ้อนำมาจากไหนคะ tongue


"Google"....จ๊ะ smiley

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ต้นเหตุเกี่ยวกับวันลอยกระทง
เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นนิทานชาวบ้าน กล่าวถึง

ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม

เมื่อครั้งดึกดำบรรพ์ มีกาเผือกสองตัวผัวเมียทำรังอยู่บนต้นไม้ในป่าหิมพานต์ใกล้ฝั่งแม่น้ำ

วัน หนึ่งกาตัวผู้ออกไปหากินแล้วหลงทางกลับรังไม่ได้ปล่อยให้นางกาตัวเมียซึ่งกก ไข่อยู่ 5 ฟอง
รอด้วยความกระวนกระวายใจ จนมีพายุใหญ่พัดรังกระจัดกระจาย ฟองไข่ตกลงน้ำ

แม่กาถูกลมพัดไปทางอื่น เมื่อแม่กาย้อนกลับมาที่รังไม่พบฟองไข่ จึงร้องไห้จนขาดใจตาย
ไปเกิดเป็น ท้าวพกาพรหม อยู่ในพรหมโลก ฟองไข่ทั้ง 5 นั้นลอยน้ำไปในสถานที่ต่าง ๆ

บรรดา แม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ มาพบเข้า จีงนำไปรักษาไว้ตัวละ 1 ฟอง

ครั้นถึงกำหนดฟักกลับกลายเป็นมนุษย์ ทั้งหมดไม่มีฟองไหนเกิดมาเป็นลูกกาตามชาติกำเนิดเลย

กุมารทั้ง 5 ต่างเห็นโทษภัยในการเป็นฆราวาส และเห็นอานิสงส์ในการบรรพชา
จึงลา มารดาเลี้ยง ไปบวชเป็นฤาษี

ต่อมาฤาษีทั้ง 5 ได้มีโอกาสพบปะกันและถามถึงนามวงศ์และมารดาของกันและกัน
จึงทราบว่าเป็น พี่น้องกัน ฤาษีทั้ง 5 มีนามดังนี้

คนแรก ชื่อ กกุสันโธ (วงศ์ไก่) คนที่สอง ชื่อ โกนาคมโน (วงศ์นาค)
คนที่สาม ชื่อ กัสสโป (วงศ์เต่า) คนที่สี่ ชื่อ โคตโม (วงศ์โค)
คนที่ห้า ชื่อ เมตเตยโย (วงศ์ราชสีห์)

ต่างตั้งจิตอธิษฐานว่าถ้าต่อไปจะได้ไปเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ขอให้ร้อนไปถึงมารดา
ด้วยแรงอธิษฐาน ท้าวพกาพรหมจึงเสด็จมาจาก เทวโลกจำแลงองค์เป็นกาเผือก
แล้วเล่าเรื่องราวแต่หนหลังให้ฟัง พร้อมบอกว่าถ้าคิด ถึงมารดา
เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 11 เดือน 12
ให้เอาด้ายดิบ ผูกไม้ตีนกา ปักธูปเทียนบูชาลอยกระทงในแม่น้ำ
ทำอย่างนี้เรียกว่า คิดถึงมารดา แล้วท้าวพกาพรหมก็ลากลับไป

ตั้งแต่นั้นมาจึงมีการลอยกระทงเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม
และเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที
ส่วนฤาษี ทั้ง 5 ต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คือ

ฤาษีองค์แรก ชื่อ กกุสันโธ ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกกุสันโธ

ฤาษีองค์ที่สอง ชื่อ โกนาคมโน ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโกนาคมน์

ฤาษีองค์ที่สาม ชื่อ กัสสโป ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกัสสปะ

ฤาษีองค์ที่สี่ ชื่อ โคตโม ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสมณโคดม

ฤาษีองค์ที่ห้า ชื่อ เมตเตยโย ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย

พระพุทธเจ้า 3 พระองค์แรก ได้มาบังเกิดบนโลกแล้วในอดีตกาล
พระพุทธเจ้าองค์ที่ 4 คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 คือ พระพุทธเจ้าที่จะมาบังเกิดบนโลกในอนาคตกาล คือ พระศรีอาริยเมตไตรย

ตำนานการลอยกระทง กับพระพุทธเจ้า กล่าวคือ
ก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์
ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส
(ข้าวกวน/หุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว
ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ
ด้วยแรงสัตยาธิษฐานและบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล
แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล

พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า

"บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว"

ครั้นแล้ว หลังจากพระพุทธองค์ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทพยดาทั้งหลายและพระยานาค
ก็พากันไปเข้าเฝ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ประทับรอยพระบาทไว้ บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม

ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม
และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำเพื่อไปนมัสการรอยพระ พุทธบาทเป็นประจำเสมอมา
และต่อๆมาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทงตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า
พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ
พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐานประทับรอยพระบาท
ไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลายจึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์
ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา
โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป

การลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตต์
เป็นพระเพณีของชาวเหนือและชาวพม่า พระอุปคุตต์เป็นพระอรหันต์เถระหลังสมัยพุทธกาล
โดยมีตำนานความเป็นมาดังนี้ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ได้โปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์และพุทธวิหารขั้นทั่วชมพูทวีป มหาวิหารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ
"อโศการาม" ซึ่งตั้งอยู่ในเขตแคว้นมคธ หลังจากที่สร้างพระสถูปเจดีย์ถึง 84,000 องค์สำเร็จแล้ว
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระราชประสงค์ จะนำพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไปบรรจุในพระสถูปต่าง ๆ และบรรจุในพระมหาสถูปองค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นใหม่มีความสูงประมาณครึ่งโยชน์ และประดับประดาดว้ยแก้วต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้ปาฏลีบุตร
อีกทั้งต้องการให้มีการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน
แต่ด้วยเกรงว่าพญามารจะมาทำลายพิธีฉลอง มีเพียงพระอุปคุตต์ ที่ไปจำศีลอยู่ในสะดือทะเลเพียงท่านเดียวเท่านั้น ที่จะสามารถปราบพญามารได้ เมื่อพระอุปคุตต์ปราบพญามารจนสำนึกตัว หันมายืดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แล้ว พระอุปคุตต์จึงลงไปจำศีลอยู่ในสะดือทะเล ตามเดิม

พระอุปคุตต์นี้ไทยเรียกว่า พระบัวเข็ม
ชาวไทยเหนือหรือชาวอีสานและชาวพม่านับถือพระอุปคุตต์มาก
ชาวพม่าไม่ว่าจะมีงานอะไร ต้องนิมนต์พระอุปคุตต์มาเข้าพิธีด้วยเสมอ
ไทยเราใช้บูชาในพิธีขอฝนหรือพิธีมงคล ฯลฯ
การลอยกนะทงนี้ จึงเชื่อว่าเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ขณะนี้ยังคงบำเพ็ญญาณสมาบัติที่ก้นสะดือทะเล

คำบูชากล่าวก่อนลอยกระทง
อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง
อะภิปูชะยามิอะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัง ปูชา มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ
สุขายะ สังวัตตะตุ

(จะกล่าวเฉพาะคำแปลก็ได้ ไม่ต้องตรงทุกคำก็ได้ ขอเพียงในใจจริงเข้าใจเจตนาว่าทำอะไรเพื่ออะไร)

ข้าพเจ้าขอน้อมบูชา รอยพระพุทธบาท ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ
หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทา โน้น ด้วยประทีปนี้ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทนี้
จงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้า ตลอดกาลนานเทอญ.

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 28 ก.ย. 2009, 19:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ตำนาน"บุญบั้งไฟ"

ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงบุญบั้งไฟเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสานนิยมทำกันใน เดือน 6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาพญาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง
ถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี

ตำนานบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์ มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย

ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
1. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์
2. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว
3. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้

บุญเลิศ สดสุชาติ กล่าวถึงการทำบั้งไฟว่า มีตำนานเล่าถึงเมืองธีตานครของท้าวพญาขอมเกิดแล้งหนัก ท่านจึงป่าวประกาศให้เมืองต่างๆ ทำบั้งไฟมาแข่งกันของใครขึ้นสูงสุดจะเป็นผู้ชนะได้อภิเษกสมรสกับ นางไอ่ ผู้เป็นพระราชธิดา ผลการแข่งขันจุดบั้งไฟปรากฏว่าท้าวผาแดงเป็นผู้ชนะเลิศ เมื่อพญาขอมสิ้นพระชนม์ ท้าวผาแดงได้ครองเมือง สืบต่อมาด้วยความสงบสุขร่มรื่น กล่าวถึงท้าวภาคีบุตรพญานาค เคยเป็นคู่ครองของนางไอ่ในชาติปางก่อน ยังมีอาวรณ์ถึงนางจึงได้แปลงกายเป็นกระรอกเผือกมาให้นางไอ่เห็นก็อยากได้ กระรอกนั้นเป็นกำลัง นางได้สั่งบริวารให้ช่วยกันจับ บังเอิญบริวารยิงธนูถูกกระรอกเผือกถึงแก่ความตาย ก่อนตายท้าวภาคีได้อธิษฐานให้ร่างกายของตนใหญ่โต แม้คนจะเชือดเพื่อไปกินมากมายอย่างไรก็อย่าได้หมด ใครที่กินเนื้อตนจงถึงแก่ชีวิต พร้อมกันทั้งแผ่นดินถล่ม เมืองธีตานครถึงแก่จมหายไปกลายเป็นหนองหาน ท้าวผาแดงและนางไอ่พยายามขี่ม้าหนี แต่ไม่รอดได้เสียชีวิตในคราวนี้ด้วย จากผลแห่งกรรมดีที่สร้างไว้ ท้าวผาแดงได้ไปจุติเป็นเทพเจ้า ชื่อว่าพญาแถน ดังนั้นการทำบุญบั้งไฟก็เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน

มูลเหตุการทำบั้งไฟดังนี้ พญาแถนเป็นเทพยดา ผู้มีหน้าที่ควบคุมฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล หากทำการเซ่นบวงสรวงให้พญาแถนพอใจ ท่านก็จะอนุเคราะห์ให้การทำนาปีนั้นได้ผลสมบูรณ์ ตลอดจนบันดาลให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหมู่บ้านใดทำบุญบั้งไฟติดต่อกันมาถึงสามปี ข้าวปลาอาหารในหมู่บ้านนั้นจะบริบูรณ์มิได้ขาด

พระยาอนุมานราชธน เขียนเล่าไว้ในเรื่อง “อัคนีกรีฑา” ว่า
ด้วยวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ของไทยว่า เรื่องบ้องไฟนี้โบราณเรียกว่า กรวดหรือจรวด
เป็นการเล่นไฟของชาวบ้าน โดยอ้างถึงหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมื่อพุทธศักราช 1835 ว่า “เมืองสุโขทัยนี้มีสีปากประตู หลวงเทียรญ่อมคนเสียดคนเข้าดูท่านเผาเทียนเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก”
เป็นหลักฐานว่า การเล่นไฟประดิษฐ์จรวด กรวด หรือบ้องไฟ รวมทั้งพลุ ตะไล และไฟพะเนียงได้รู้จัก และทำเล่นกันมานานเกือบ 700 ปีแล้ว เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน ผู้คนเบียดเสียดกันเข้ามาดูแทบว่ากรุงสุโขทัยแตก

ส่วนงานประเพณีบั้งไฟ เมืองยโสธรได้มีมานานแล้ว โดยมีหลักฐานว่า
มีมาก่อนที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จะขึ้นไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล
คือ เรื่องของกบฏผีบุญ หรือกบฏชาวนา กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงห้ามการเล่นบั้งไฟ

จุดประสงค์ของการทำบุญบั้งไฟ มีหลายอย่าง เช่น

1. การบูชาคุณของพระพุทธเจ้า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ขอน้ำฝน เชื่อมความสมัครสมานสามัคคีแสดงการละเล่นการบูชาคุณของพระเจ้า ชาวอีสานส่วนมากนับถือพระพุทธสาสนา เมื่อถึงเทศกาลเดือน 6 ซึ่งเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ชาวอีสานจะจัดดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาพระพุทธรูป การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน

2. การสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เนื่องจากการทำบุญบั้งไฟ มีการบวชพระและบวชเณรในครั้งนี้ด้วย จึงถือว่าเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา

3. การขอฝน การทำนาไม่ว่าจะเป็นภาคใดก็ต้องอาศัยน้ำฝน ชาวอีสานก็เช่นกันเนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้จึงมีความเชื่อ เดียวกันกับสิ่งเหนือธรรมชาติ จากตำนานเรื่องเล่าของชาวอีสานเชื่อว่า มีเทพบุตรชื่อ โสกาลเทพบุตร มีหน้าที่บันดาลน้ำฝนให้ตกลงมา จึงทำบุญบั้งไฟขอน้ำจากเทพบุตรองค์นั้น

4. การเชื่อมความสามัคคี คนในบ้านเมืองหนึ่งที่แตกต่างกันมาอยู่รวมกัน ถ้ามิได้ทำกิจกรรมร่วมกันก็จะมีฐานะต่างคนต่างอยู่เมื่อบ้านเมืองเกิดความ ยุ่งยากจะขาดกำลังคนแก้ไข ดังนั้นเมื่อทำบุญบั้งไฟก็จะเปิดโอกาสให้คนทั้งหลายได้มาร่วมแรงร่วมใจกัน ประกอบกิจกรรมสร้างความสามัคคี ให้เกิดขึ้น

5. การแสดงการละเล่น เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนมาแสดงการละเล่น คนเราเมื่อได้เล่นได้กินร่วมกัน จะเกิดความรักใคร่ใยดีต่อกัน การเล่นบางอย่างจะสุภาพเรียบร้อย บางอย่างหยาบโลน แต่ก็ไม่ถือสาหาความ ถือเป็นการเล่นเท่านั้น

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 28 ก.ย. 2009, 21:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พญานาคตามตำนานในพระพุทธศาสนา

ตาม ตำนาน พญานาค มีอยู่ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว ดังเช่น หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ "มุจลินท์" ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อ "มุจลินท์" เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นมานพมายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า

ความ เชื่อดังกล่าวทำให้ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา

พญา นาค...สะพาน (สายรุ้ง) ที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ โลกศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อที่ว่า พญานาค กับ รุ้ง เป็นอันเดียวกัน ก็คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์นั่นเอง

นาคเทพ บรรพบุรุษของชาวสุวรรณภูมิ

บริเวณที่เกิดบั้งไฟพญานาคในปัจจุบันนั้นเชื่อกันว่าเป็นเมืองบาดาลของ พญาสุทโธนาคราช ส่วนปรากฏการณ์เกิดบั้งไฟในแง่ของตำนานก็คงเป็นงานบุญบั้งไฟของเหล่าพญานาค ตระกูลสุทโธนาคราชหรือนางไอ่คำที่ยังอยู่ใต้บาดาลจุดขึ้นเพื่อบูชาพระสัมมา สัมพุทธเจ้าอันเป็นการแสดงพุทธบารมีที่เหนือพลังธรรมชาติจนพลวัตบางประการ ใต้บาดาลเคลื่อนตัวเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคปรากฏการณ์นี้เกิดจากระนาบของ มิติเวลาที่ทาบทับกันทำให้เกิดการเชื่อต่อภพภูมิปรากฏในพุทธศาสนาเรียก ปรากฏการณ์นี้ว่า "พระเจ้าเปิดโลก"บั้งไฟพญานาคดังกล่าวจึงเป็นเรื่องราวพิศวงที่ท้าทายวิทยา ศาสตร์ซึ่งยังไม่มีใครอาจหาญพิสูจน์ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคว่าคืออะไรได้ อย่างแท้จริงสักรายและคงเป็นปัจจัตตังในหมู่นักปฏิบัติธรรมที่ทรงสมาธิจิตจน เกิดทิพยอำนาจอาจรู้และสัมผัสพลวัตดังกล่าวได้ถึงปาฏิหาริย์แห่งพระพุทธ ศาสนาที่เหนือกว่าเทคโนโลยีล้ำยุคของปัจจุบัน

ความเชื่อเรื่องพญานาคในพุทธศาสนามีด้วยกันหลายตำนาน แต่ที่พุทธศาสนิกชนทราบกันดีก็คือพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ก็จะมีเรื่องราว ของพญานาคเกี่ยวข้องเสมอ และพระสมณโคดมกว่าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมีมาหลายร้อยชาติ กล่าวคือต้องเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน และพระองค์ก็เคยเสวยพระชาติเป็นพญานาค ๓ ชาติ และก็ยังมีพญานาคผู้ที่มีจิตเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาคอยอุปฐากพระพุทธองค์ อยู่เนืองๆ หรือพญานาคที่มีมิจฉาทิฐิ ที่พระพุทธเจ้าทรงปราบให้คลายความเห็นผิดลง

ดังจารึกในพุทธประวัติ นาคตามคติพุทธนั้น ไม่เชิงเป็นเทวดาอาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงอมนุษย์หรือกึ่งเทพกึ่งสัตว์ แต่พราหมณ์จะถือว่าเป็นเทวดาแท้ๆ เช่นพญาอนันตนาคราชที่พระอิศวรสร้างขึ้นจากสายสังวาลก็ถือว่าเป็นเทวดา อาศัยอยู่เมืองบาดาลซึ่งก็ไม่ได้หมายถึงน้ำ แต่เป็นเมืองที่อยู่ใต้โลกมนุษย์ลงไปอีกชั้นหนึ่ง ส่วนไทยเราเชื่อว่าพญานาคอาศัยอยู่ในน้ำ ก็คือบาดาลไม่ว่าจะเป็นหนองน้ำ แม่น้ำ หรือมหาสมุทรก็ถือว่าเป็นบาดาลทั้งสิ้น นอกจากจะเรียกบาดาลแล้วก็ยังเรียกว่า นาคโลกหรือนาคพิภพอีกด้วย

ในสังขปาลชาดก พรรณนาถึงนาคพิภพว่าพื้นเป็นทรายรัตน ๗ แลเงินทองและแก้วมณีนานาประการ อันหญ้า ฝุ่น ผงหามีไม่ อาณาบริเวณงามราวกะแก้วไพฑูรย์ มีสระโบกขรณี ดาดาษไปด้วยกมลอุบลมีพรรณเป็นเอนก มีน้ำอันใส มีสีอันเขียว สวนมะม่วงน่ารื่นรมย์ดีมีใน ๔ ทิศ และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ได้แยกชนิดของพญานาคไว้อย่างละเอียดถึง ๑,๐๒๔ ชนิด หนังสือปรมัตถโชติกะมหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ ๕ จัดหมวดหมู่พญานาคไว้ดังนี้…..

พญานาคมี ๔ ประเภท คือ

๑.กฏฐมุข เป็นพญานาคมีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้วผู้นั้นจะแข็งไปทั้งตัว แขนจะงอเข้าและยืดออกไม่ได้

๒.ปูติมุข เป็นพญานาคมีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้ว รอยแผลที่ถูกกัดจะเน่าและมีน้ำเหลืองไหล

๓.อัคคิมุข เป็นพญานาคมีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้ว จะมีอาการร้อนไปทั้งตัว รอยแผลจะเป็นรอยริ้ว คล้ายถูกไฟไหม้

๔.สัตถมุข เป็นพญานาคมีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้ว จะเหมือนกับถูกฟ้าผ่า

และยังมีการจำแนกวิธีทำอันตรายต่างกันออกไปถึง ๔ วิธี
ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า พญานาคที่มีฤทธิ์มากอาจจะเนรมิตกายให้เป็นคนได้ ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นคนได้แต่จะยังคงลักษณะอาการ ๕ อย่างที่มีประจำตัวอยู่เสมอ ไม่สามารถทำให้หายไปได้
ลักษณะที่ว่านี้ คือ
๑. ในขณะปฏิสนธิ ต้องปรากฏรูปร่างสัณฐานเป็นพญานาค
๒. ขณะลอกคราบ ต้องปรากฏรูปร่างสัณฐานเป็นพญานาค
๓. ขณะเสพเมถุนอยู่กับนาคด้วยกัน ต้องปรากฏรูปร่างสัณฐานเป็นพญานาค
๔. ขณะนอนหลับโดยปราศจากสติ ต้องปรากฏรูปร่างสัณฐานเป็นพญานาค
๕. ขณะตาย ต้องปรากฏรูปร่างสัณฐานเป็นพญานาค

ศัตรูที่เหล่านาคทั้งหลายต่างหวั่นเกรงก็คือพญาครุฑ แต่มีพญานาคที่ครุฑไม่อาจจับเอาไปกินได้
มี ๗ จำพวก
๑. นาคที่มีกำเนิดประณีตกว่าครุฑ
๒. กัมพลัสตรนาคราช
๓. ธตรัฐนาคราช
๔. นาคที่อยู่ในสีทันดรสมุทรทั้ง ๗
๕.นาคอันอยู่ในแผ่นดิน
๖. นาคอันอยู่ในภูเขา
๗. นาคอันอยู่ในวิมาน

ทั้งหมดนี้คือพญานาคตามหลักคติพุทธศาสนา ซึ่งผู้เขียนได้ยกมาแค่บางส่วนเท่านั้น ถ้าจะกล่าวกันโดยทั้งหมดแล้วคุยกันสามวันก็ไม่จบสำหรับเรื่องราวพญานาค และในปัจจุบันก็เกิดแนวคิดที่ว่าพญานาคนั้นมีจริงหรือไม่ จริงๆ แล้วพญานาคจะมีตัวตนจริงหรือไม่ ? ก็ยังไม่มีผู้ใดหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ แต่ถ้าตามความเข้าใจของผู้เขียนเองแล้วถ้าพญานาคมีจริงก็คงจะไม่ได้มีรูป ร่างแปลกพิศดารเหมือนกับนาคที่อยู่ตามขั้นบันไดของวัดต่างๆ ที่หลายๆ ท่านเห็นกัน แต่น่าจะเป็นเพียงงูใหญ่ที่สามารถแผ่แม่เบี้ยได้อาจจะมีหงอนบ้างแต่ก็คงไม่ ใหญ่อะไรมากนัก ซึ่งเรื่องงูหรือนาคนั้นเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ส่งผลให้เพิ่มบทบาทความสำคัญมากขึ้น จนทำให้มีผู้จินตนาการให้มีรูปร่างและขนาดแปลกประหลาดขึ้นตามลำดับ กระทั่งพญานาคในความคิดหลายๆ คนกลายเป็นเพียงสัตว์ที่มีเฉพาะในนิทานเรื่องเล่าเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่แต่ละบุคคลจะใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ พญานาคจึงคงเป็นเรื่องลึกลับที่รอการค้นหาคำตอบต่อไป

จากตำนานเรื่องราวพญานาคที่มักปรากฏในดินเเดนสุวรรณภูมินี้เองก็เป็นเหตุ ให้มีการสร้างรูปเคารพของพญานาคออกในลักษณะต่างๆกันตามความเชื่อถือขึ้นว่า ภูมิภาคใดจะมีคติไปแบบไหน มีผู้พยายามแสดงตัวเป็นผู้รอบรู้จัดระเบียบเครื่องรางที่เกี่ยวกับเรื่องนาค นี้อย่างเป็นหมวดหมู่ เเสดงทัศนะต่างๆกันออกไป ถูกบ้างผิดบ้างก็ว่ากันไปและก็มักอ้างเอาความเห็นของตนนั้นถูกต้องเสียเป็น ส่วนใหญ่ ซึ่งคงไม่อาจสรุปสาระอะไรได้มากนักคงเป็นมติของแต่ละคนว่าศึกษามาอย่างไร มากกว่า อย่างคุณกิติ วัฒนะมหาตม์ก็เป็นผู้หนึ่งที่พยายามจัดเรื่องราวของเครื่องรางรูปสัตว์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ซึ่งดูน่าสนใจดีโดยแสดงทัศนะเรื่องเครื่องรางที่เกี่ยวกับ พญานาคแบ่งออกเป็น
- นาคเกี้ยว
- นาคอารักขาทั่วไป
- นาคอารักขาสถานที่
- นาคเฝ้าทรัพย์

ตำนานพญานาค
นาค หรือ พญานาค งูใหญ่มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และนาคยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล

นาคเป็นเทพเจ้าแห่งท้องน้ำ บางแห่งก็ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งฟ้า
ตำนาน ความเชื่อเรืองพญานาคมีความเก่าแก่มาก ดูท่าว่าจะเก่ากว่าพุทธศาสนาอีกด้วย สืบค้นได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากอินเดียใต้ ด้วยเหตุจากภูมิประเทศทางอินเดียใต้เป็นป่าเขาจึงทำให้มีงูอยู่ชุกชุม และด้วยเหตุที่งูนั้นลักษณะทางกายภาพคือมีพิษร้ายแรง งูจึงเป็นสัตว์ที่มนุษย์ให้การนับถือว่ามีอำนาจ ชาวอินเดียใต้จึงนับถืองู

เป็น สัตว์เทวะชนิดหนึ่งในเทพนิยายและตำนานพื้นบ้าน บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีความเชื่อเรื่องพญานาคแพร่หลายในภูมิภาคต่างๆ ทั่วทวีปเอเชีย โดยเรียกชื่อต่างๆ กัน

ต้น กำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะอยู่ที่อินเดีย ด้วยมีนิยายหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ ซึ่งถือเป็นปรปักษ์ของพญาครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้าย รอยของงูขนาดใหญ่ และเมื่อไปเล่นน้ำในแม่น้ำโขงควรยกมือไหว้เพื่อเป็นการสักการะสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์

ลักษณะของ พญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี7สี และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช(อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียณสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในนำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม

ความเชื่อเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณสมบัติ

พญา นาค หรือ งูใหญ่มีหงอน ในตำนานของฝรั่ง หรือชาวตะวันตก ถือว่าเป็นตัวแทนของกิเลส ความชั่วร้าย ตรงข้ามกับชาวตะวันออก ที่ถือว่า งูใหญ่ พญานาค มังกร เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พลังอำนาจ ชาวฮินดูถือว่า พญานาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่างๆ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณ์ ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ 1 ตัว แปลว่า น้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา ถ้าปีไหน นาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อย ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์ เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อยเพราะนาคกลืนน้ำไว้

พญา นาค งูใหญ่ มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และ บันไดสายรุ้งสู่จักรวาล เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ จากการจำศีล บำเพ็ญภาวนา ศรัทธาในพุทธศาสนา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เราจะพบเห็น เป็นรูปปั้นหน้าโบสถ์ ตามวัดต่างๆบันไดขึ้นสู่วัดในพุทธศาสนา ภาพเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับศาสนาพุทธอีกมากมาย

พญานาค เป็นสัตว์มหัศจรรย์ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ พญานาค มีอิทธิฤทธิ์ และมีชีวิตใกล้กับคน พญานาค สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น

พญา นาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 อย่างนี้ จะต้องปรากฏเป็นงูใหญ่เช่นเดิม คือ ขณะเกิด ขณะลอกคราบ ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับ โดยไม่มีสติ และที่สำคัญ ตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม

พญา นาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง ตะขาบ คางคก มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน

พญา นาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อนๆ กัน ชั้นสูงๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์

พญา นาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วผสมพันธุ์กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลก จนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขั้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้นๆ

จะ เห็นว่า พญานาค หรือ งูใหญ่ นั้นมีความเป็นมาและถิ่นที่อยู่เป็นสัดส่วนในภพหนึ่งต่างหาก จะมีเป็นบางครั้งที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ พญานาค เป็นทั้งเอกลักษณ์ของความดี และความไม่ดี

ความเชื่อเกี่ยวพันกับชีวิต น้ำ ธรรมชาติ
จะ ได้ยินอยู่เสมอว่า ปีนี้นาคให้น้ำเท่าไร กี่ตัว ฝนฟ้าดี หรือไม่ดี นาคให้น้ำสร้างความอุดมสมบูรณ์แก่สรรพชีวิต ทั้งปวง พญานาค ที่อาศัยอยู่ในสวรรค์ใต้น้ำ ตามคติฮินดู พญาอนันตนาคราช แท่นบรรทมของพระนารายณ์ ที่นับถือเป็นเทพเจ้า พญานาค เปรียบได้กับท้องน้ำทั้งหลายในจักรวาล นาคมีอิทธิฤทธิ์บันดาลให้ฝนตกหรือไม่ตกก็ได้ ตลอดจนสามารถแปลงกายเป็นเมฆฝนได้ พญานาค...เป็นที่มาของแม่น้ำต่างๆ อันหมายถึงผู้รักษาพลังแห่งชีวิตทั้งหลาย

ตาม ความเชื่อของชาวพุทธ เทวดาแห่งน้ำ คือ วรุณและสาคร ที่ต่างก็เป็นจอมแห่งนาคราช นอกจากที่เกี่ยวข้องกับน้ำบนโลกแล้ว นาคยังเกี่ยวข้องกับน้ำในสวรรค์อีกด้วย คนโบราณเชื่อว่า สายรุ้ง กับ นาค เป็นอันเดียวกัน ที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ข้างหนึ่งของรุ้งจะดูดน้ำจากพื้นโลก ขึ้นไปข้างบน เมื่อถึงจุดที่สูงสุดก็จะปล่อยน้ำลงมาเป็นฝนที่มีลำตัวของนาคเป็นท่อส่ง

ใน ตำนานสิงหนวัติ กล่าวว่า เมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติอพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้างคูเมือง 4 ด้าน เป็น เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมาเมื่อยกทัพปราบเมืองอื่นได้ และรวมดินแดนเข้าด้วยกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนาคราช

ที่ เห็นได้ชัดก็คือ ที่ปราสาทพนมรุ้ง จะมีคูเมืองที่เป็นสระน้ำ 4 ด้าน รอบปราสาทและมี พญานาค อยู่ด้วย ตามความเชื่อของคนสมัยโบราณ นาคจะมีความหมายเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากน้ำ เช่น การสร้างศาสนสถานไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ นาคที่ราวบันได จึงมี พญานาค ซึ่งตามความเป็นจริง (ความเชื่อ) การสร้างต้องสร้างกลางน้ำ เพื่อให้ดูเหมือนว่าศาสนสถานนั้นลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ก็ไม่ต้องสร้างจริงๆ เพียงแต่มีสัญลักษณ์ พญานาค ไว้ เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น

แม้เกี่ยวกับชีวิต มนุษย์ ก็จะมีอยู่ในราศีเกิด เช่นของคนนักษัตรปีมะโรง ที่มีความหมายถึง ความยิ่งใหญ่และพลังอำนาจ ที่มี พญานาค เป็นสัญลักษณ์

นาคให้น้ำ
พญา นาค เป็นสัญลักษณ์แห่งธาตุน้ำ "นาคให้น้ำ" เป็นเกณฑ์ที่ชาวบ้านรู้และเข้าใจดี ที่ใช้วัดในแต่ละปี จำนวนนาคให้น้ำมีไม่เกิน 7 ตัว ถ้าปีไหนอุดมสมบูรณ์มีน้ำมากเรียกว่า "นาคให้น้ำ 1 ตัว" แต่หากปีไหนแห้งแล้งเรียกว่าปีนั้น "มีนาคให้น้ำ 7 ตัว" จะวัดกลับกันกับจำนวนนาค ก็คือที่น้ำหายไป เกิดความแห้งแล้งนั้นก็เพราะ พญานาคเกี่ยงกันให้น้ำ แต่ละตัวจึงกลืนน้ำไว้ในท้องไม่ยอมพ่นน้ำลงมา

เกี่ยวข้องกับคนไทย
เรามักจะเห็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับนาคได้เสมอ ในงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และหัตถกรรม นาคเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะตามอาคารวัดต่างๆ หลังคาอาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถานบันศาสนสถาน ตามคตินิยมที่ว่า นาคยิ่งใหญ่คู่ควรกับสถาบันอันสูงส่ง เช่น นาคสะดุ้ง ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได นาคลำยอง ที่ทำเป็นป้านลมหลังคาโบสถ์ ที่ต่อเชื่อมกับนาคสะดุ้ง นาคเบือน นาคจำลอง และนาคทันต์ คันทวยรูปพญานาค

พญานาคกับสัญลักษณ์ของวิชาแพทย์
พญา นาค หมายถึง วิชาแพทย์ ที่พระวิศวามิตร์เล่าไว้ในบ่อเกิดรามเกียรติ์ว่า เทวดาและอสูรต้องการเป็นอมตะ จึงทำพิธีกวนเกษียรสมุทร โดยใช้เขามนทรคีรีเป็นไม้กวน นำพญาวาสุกรี (พญานาค) เป็นเชือก เป็นผลให้เกิดประถมแพทย์ “ ธันวันตะรี ” ผู้ชำนาญในอายุรเวท

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 28 ก.ย. 2009, 20:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือที่มีชื่อเป็นทางการว่า ศาลเจ้าเล่งจูเกียง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ปัตตานีมาตั้งแต่โบราณ ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู อำเภอเมือง ปัตตานี ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันทรงความศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี เดิมศาลเจ้านี้มีชื่อเรียกว่า "ศาลเจ้าซูก๋ง" ตามหลักฐานที่จารึกอยู่ในศาลเจ้า ปรากฏว่า ตั้งขึ้นเมื่อวันชัยมงคล ปีบวนเละที่ ๒ ศักราชราชวงศ์เหม็ง ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๑๑๗ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา แม้ศาลเจ้านี้จะตั้งมาเก่าแก่นับได้หลายศตวรรษ แต่ด้วยบุญญาภินิหารของเจ้าแม่หลิมกอเหนี่ยว ศาลเจ้านี้จึงมีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นที่ศรัทธาของสาธุชนเสมอมามิได้ขาด

ส่วน ตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว นั้นมีบันทึกไว้ในหลายๆแหล่ง มีเรื่องราวที่เหมือนๆกันแต่อาจมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่แตกต่างกันไปบ้าง ตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่บันทึกไว้ในหนังสือ “เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ปัตตานี” จัดพิมพ์โดยมูลนิธิเทพปูชนียสถาน ระบุว่า เจ้าแม่เกิดในตระกูล “ลิ้ม” มีชื่อว่า “กอเหนี่ยว” พำนักอยู่ในมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน เป็นน้องสาวของ “ลิ้มเต้าเคียน” หรือ “ลิ้มโต๊ะเคี่ยม”

เมื่อยังเป็นเด็ก สองพี่น้องได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะแขนงต่างๆ จนแตกฉาน ฝ่ายพี่ชายเมื่อโตขึ้นก็ได้เข้ารับราชการ สร้างผลงานปราบโจรสลัดญี่ปุ่นจนได้รับการแต่งตั้งเป็น “ขุนพลเซ็กกีกวง” คุมกองทัพเรือ แต่ต่อมาเขาถูกใส่ร้ายว่าสบคบกับโจรสลัด จนทางการออกประกาศจับ จึงได้ตีฝ่าวงล้อมของทหารหลวง หนีออกทะเลไปยังเกาะไต้หวัน

ลิ้มโต๊ะเคี่ยม เห็นว่าทัพหลวงยังคงติดตามโจมตี ประกอบกับถูกโจรสลัดรังควาญอยู่ตลอด จึงเดินทางต่อไปทางเกาะลูซอน (ฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน) แล้วเข้าไปยังเวียดนาม แต่บางตำนานเล่าว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเข้าไปอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และภายหลังจึงได้ย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองปัตตานี ที่ปัตตานี ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ได้ภรรยาเป็นชาวปัตตานีและเข้ารีตเป็นมุสลิมตามภรรยา

ฝ่าย ลิ้มกอเหนี่ยว ผู้เป็นน้องสาว เมื่อเห็นว่าพี่ชายขาดการติดต่อ ไม่ได้ส่งข่าวคราวเป็นเวลานาน จนมารดาซึ่งอยู่ในวัยชราล้มป่วยเป็นประจำ ด้วยความกตัญญูจึงอาสาออกเดินทางไปตามพี่ชายให้กลับมาเยี่ยมบ้าน

ในวันเดินทาง ลิ้มกอเหนี่ยวได้เข้าไปร่ำลามารดา และลั่นสัจจวาจาไว้ว่า “หากแม้นพี่ชายไม่ยอมกลับมาหามารดาแล้วไซร้ ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไป”

ลิ้มกอเหนี่ยว กับญาตินำเรือออกทะเลเป็นเวลาหลายเดือน กระทั่งเข้าเขตเมืองปัตตานี ก็ได้จอดทอดสมอไว้ริมฝั่ง ลิ้มกอเหนี่ยว เดินเข้าไปในเมืองและพูดคุยกับชาวบ้านจนได้ความว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยม พี่ชายยังมีชีวิตอยู่ และได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่อยู่ที่นี่ จึงได้เข้าไปหาและชวนพี่ชายให้กลับไปยังบ้านเกิด แต่ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ไตร่ตรองดูแล้วเห็นว่าหากกลับไปตอนนี้จะสร้างความลำบากให้แก่ตน เนื่องจากยังติดประกาศจับของทางการ ขณะที่ความเป็นอยู่ทางนี้ก็มีความสมบูรณ์ดีอยู่ จึงตัดสินใจกล่าวกับน้องสาวว่า

“ตนหาใช่เนรคุณทอดทิ้งมารดาและน้องสาวไม่ แต่เหตุที่ทางการจีนกล่าวโทษว่าสบคบกับโจรสลัด สร้างความอัปยศจนต้องพลัดพรากมาอยู่ที่นี่ ตนอยู่ทางนี้ก็มีภารกิจมากมาย อีกทั้งได้รับปากกับเจ้าเมืองว่าจะก่อสร้างมัสยิดให้ (มัสยิดกรือเซะ) จึงไม่สามารถกลับไปในขณะนี้ได้”

ลิ้มกอเหนี่ยวเมื่อได้ยินดังนั้น ก็คิดว่าจะหาโอกาสอ้วนวอนพี่ชายให้กลับไปให้จงได้ จึงขอพำนักอยู่ในปัตตานีต่อ

ในขณะนั้นเจ้าเมืองตานีกำลังก่อสร้างมัสยิดเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจโดยมอบให้ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นนายช่างออกแบบและก่อสร้าง ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้อุทิศกายและใจให้กับงานที่ได้รับมอบหมาย ยิ่งทำให้ลิ้มกอเหนี่ยวเกิดความโกรธและน้อยใจในตัวพี่ชาย พยายามอ้อนวอนพี่ชายให้เห็นแก่มารดาก็ไม่สำเร็จ จึงได้สาบแช่งไว้ว่า “แม้พี่ชายจะมีความสามารถในการก่อสร้างเพียงใดก็ตาม แต่ขอให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ” และแอบไปผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ด้านข้างมัสยิดที่กำลังก่อสร้าง

ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเมื่อสูญเสียน้องสาวก็เสียใจมาก จึงจัดการศพตามประเพณีอย่างสมเกียรติ พร้อมกับสร้างฮวงซุ้ยขึ้นที่ “หมู่บ้านกรือเซะ” แล้วทำการก่อสร้างมัสยิดต่อไปจนเกือบเสร็จอยู่ในขั้นก่อสร้างโดมหลังคา วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ฟ้าผ่าลงมายังโดมที่กำลังสร้างจนเสียหายหมดทั้งๆที่ไม่มีวี่แววพายุฝนแต่ อย่างใด ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงทำการก่อสร้างโดมหลังคาใหม่ แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นอีก คือเกิดฟ้าผ่าลงมายังยอดโดมอีกครั้ง ทำให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมนึกถึงคำสาบแช่งของลิ้มกอเหนี่ยวขึ้นได้ จึงเกิดความท้อใจเลิกล้มการก่อสร้างมัสยิดเพราะคิดว่าคำสาบแช่งของน้องสาวมี ความศักดิ์สิทธิ์

เล่ากันว่า ลิ้มก่อเหนี่ยว ได้สำแดงความศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและผู้สัญจรไปมาในแถบ นั้นเสมอ จนเป็นที่เลืองลือไปทั่ว เป็นเหตุให้ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาได้นำกิ่งต้นมะม่วงหิมพานต์ที่นางใช้ ผูกคอตายมาแกะสลักเป็นรูปบูชาไว้สักการะและสร้างศาลให้เป็นที่ประดิษฐานรูป บูชา พร้อมกับขนานนามว่า “ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว”

ปรากฏว่าเมื่อตั้งศาลแล้ว ก็มีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้กันมากมาย ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปบนบานให้เจ้าแม่ช่วย บ้างก็กราบไหว้ขอให้ทำมาค้าขายเจริญ แล้วก็บังเกิดผลตามความปรารถนาแทบทุกคน ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเลื่องลือไปยังเมืองต่างๆ

ต่อมา พระจีนคณานุรักษ์ (ตันจูล่าย ต้นสกุล “คณานุรักษ์”) เห็นว่าศาลเจ้าแม่ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ไม่สะดวกในการประกอบพิธี จึงทำการบูรณะศาลเจ้าซูก๋ง บนถนนอาเนาะรู ในตัวเมืองปัตตานี และได้อัญเชิญองค์เจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวมาประดิษฐาน ภายหลังมีชื่อว่า “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” (ศาลเทพเจ้าแห่งความเมตตา) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” มากระทั่งทุกวันนี้

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 20:24, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

"ตำนาน..ไหว้พระจันทร์"

เรื่องราวของนางในพระจันทร์ ให้แก่เราๆ ที่เฝ้ามองความงามของดวงจันทร์ที่ทอแสงสาดส่องทำให้พื้นโลกได้เรืองรองไป ด้วยแสงเหลืองนวล เรื่องราวของนางในพระจันทร์ เป็นเหมือนนิทานที่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ซึ่งมี หลาย Version และนี่คือหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อสมัยที่โลกยังคง มีดวงอาทิตย์ สิบดวงล้อมรอบผลัด เปลี่ยนหมุนเวียน ให้แสงสว่างและความร้อน พื้นพิภพเต็มไปด้วยจอม ยุทธ์ และผู้กล้า ผู้คน อาศัยอยู่กันอย่างสงบสุขจน ทำให้เป็นที่อิจฉาของเหล่าเซียนเทวดา และพวก เขาก็มีรู้สึกว่าผู้คนเริ่มไม่ให้ความเคารพนับถือ จึงพากันฉุดรั้ง ดวงอาทิตย์ทั้งสิบดวงให้สาดส่อง แสงอันแรงกล้าลงมายังพื้นโลกพร้อมกัน ทำให้โลก ร้อนระอุและเผาไหม้เป็นไฟ เพื่อหวังที่จะให้ผู้คน ขอร้องและกลับมาเกรงกลัวเหล่าเซียนอีกครั้ง แต่แผนการก็ต้องล้มเหลวเมื่อมีชายหนุ่มนักแม่นธน ูนาม ฮัวหยี่ อาสาที่จะช่วยเหลือโดยยิงธนูเพื่อดับ ดวงอาทิตย์และฮัวหยี่ก็ทำได้สำเร็โดยยิงดวง อาทิตย์ไปเก้าดวง เหลือดวงที่สิบไว้เพียงดวงเดียว เพื่อยังคงส่งแสงสว่างให้แก่โลก ทำให้พื้นพิภพ กลับมาสงบสุขอีกครั้งผู้คนต่างร่ำร้องสรรเสริญ ฮัวหยี่ว่าเป็นวีรบุรุษและแต่งตั้งให้เขาเป็นฮ่องเต้ แต่ก็โชคร้ายเหลือเกินอาทิตย์ดวงที่เก้าที่ เขายิงตก เป็นราชบุตรขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้ พระจักรพรรดิ์ แห่งสวรรค์ ซึ่งทรงกริ้วและเสียพระทัยกับการ สูญเสียราชบุตรสุดรักไป จึงสั่งให้นางกำนัลแห่งสวรรค์ นาม ฉางอี นำยาพิษไปให้ ฮัวหยี่ โดยให้หลอกว่าเป็นยา อายุวัฒนะหากกินก็จะทำให้สามารถมีชีวิตที่เป็นนิรันดร์ ฉางอีได้รับคำสั่ง จึงนำยาไปมอบให้แก่ ฮัวหยี่ แต่เมื่อนาง เห็นหน้าชายหนุ่มก็เกิดความรักและเห็นใจ

ฮัวหยี่ก็เช่นกันเมื่อได้เห็นความงามของ ฉางอีก็เกิด ความรักขึ้น แต่นางฉางอีก็คงส่งมอบยา ให้แก่ฮัวหยี่ตามคำสั่งที่ได้รับมาหากแต่บอกว่ายานี้ จะยัง ไม่สามารถกินได้จนถึง วันที่ 15 ค่ำเดือนแปด ด้วยความหวังว่านางอาจจะสามารถหาวิธีที่ทำ ให้เง็กเซียน ฮ่องเต้ทรงเปลี่ยนพระทัย หรือหาวิธีช่วย ชีวิตชายคนรักได้ นางใช้ชีวิตอยู่กับ ฮัวหยี่ถึง 7 วัน จนเมื่อถึงวันที่ 15 ค่ำตามที่นางได้กล่าวไว้กับ ฮัวหยี่ นางก็ยังคงไม่สามารถคิดหาวิธีช่วย ชีวิตฮัวหยี่ได้ ดังนั้น ในคืนวันที่ 15 ค่ำเดือนแปดก่อนที่ฮัวหยี่จะ ไว้ทันกินยาพิษ นางจึงตัดสินใจ ชิงกินยาพิษเม็ดนั้น แทนสามีสุดรัก แต่ยากลับไม่ได้ทำให้นางตาย ชั่วอึดใจนางก็รู้สึกว่าตัวของนางเบาและเริ่มล่อง ลอยขึ้นสู่ฟากฟ้าเบื้องบน ลอยสูงจนไปถึงดวงจันทร์ ด้วยความตื่นตระหนกนางเริ่มที่จะหายใจไม่ออก และเริ่มไอ ซึ่งทำให้ยาหลุดออกมาจากลำคอ ของนาง ด้วยนางนั้นไม่สามารถบินได้อีกนาง จึงไม่สามารถลอยกลับลงมายังโลกได้อีก นางจึงต้องใช้ชีวิตอยู่ในพระจันทร์นั้นเอง

ตำนานนี้เป็นที่เล่าขานต่อๆ กันมาและนี่คือ เหตุผลว่าทำไมชาวจีนจึงนับถือนางในพระจันทร์ กราบไหว้เพื่อให้ความดี ความงามของนางได้สาด ส่องลงมายังโลกมนุษย์ ให้เกิดความสงบสุขไป ทั่วหล้า ทำให้มนุษย์ที่เป็นหญิงได้มีรูปโฉมที่ งดงามเช่นนาง และขอให้ความดีงาม ของนางปกปักรักษา คุ้มครอง โลกมนุษย์ต่อไปจ๊ะ

นอกจากนี้ยังมีเรื่อง " ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์ " ซึ่งปรากฎเป็นครั้งแรกในยุคต้นของสมัยจั้นกว๋อ ( สมัยสงครามระหว่างรัฐ ) เล่าเรื่องราวของฉังเอ๋อที่ได้กินยาอายุวัฒนะของเจ้าแม่ซีหวังหมู่ แล้วไปเป็นเทวีแห่งดวงจันทร์ เมื่อถึงสมัยราชวงศ์สุยและถัง เนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นมีความนิยมที่จะชื่นชมดวงจันทร์ว่าสวยและดูน่ารัก ใคร่ ดังนั้นทัศนะที่มีต่อฉังเอ๋อผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ว่าเป็นผู้ที่อ่อน หวาน สวยงาม ฉลาด มีจิตใจดีงาม มีความสามารถในการร้องรำ เป็นต้น มีตำนานอีกเรื่องที่เล่าถึงเทวีแห่งดวงจันทร์ว่า สมัยโบราณนานมาแล้ว โลกเรานี้มิได้มีดวงอาทิตย์เพียงแค่ดวงเดียวเท่านั้น แต่มีถึงสิบดวง นำมาซึ่งภัยพิบัติแต่โลกมนุษย์ ทำให้โลกร้อนระบุเป็นเพลิง ส่วนที่เป็นน้ำก็เหือดแห้งไป ภูเขาถล่มแผ่นดินแยก ต้นไม้ใบหญ้าแห้งกรอบ ผู้คนไม่มีที่จะไปหลบซ่อนอาศัย ในช่วงนี้เองได้ปรากฎวีรบุรุษคนหนึ่งชื่อ" โฮ่วอี้ " เป็นผู้ที่มีฝีมือในการยิงธนูได้อย่างมหัศจรรย์มาก เขาได้ยิงธนูขึ้นสู่ฟ้า เพียงดอกเดียวก็ยิงถูกดวงอาทิตย์ตกลงมาถึงเก้าดวง เหลืออยู่เพียงแค่ดวงเดียว ถือเป็นการขจัดทุกเข็ญให้กับบรรดาประชาชน ผู้คนจึงพากันยกย่องให้เขาเป็นกษัตริย์

แต่ทว่า พอเขาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ เขาก็ลุ่มหลงในสุราและนารี ฆ่าฟันผู้คนตามอำเภอใจ กลายเป็นทรราช ราษฎรล้วนแต่โกรธแค้นและชิงชังเขาเป็นที่สุด โฮ่วอี้รู้ตัวว่าตัวเองคงจะอยู่เป็นสุขเช่นนี้ไปได้อีกไม่นาน จึงเดินทางไปที่ภูเขาคุนหลุน ( คุนลุ้น ) เพื่อขอยาอายุวัฒนะจากเจ้าแม่หวังหมู่มากิน แต่ฉังเอ๋อ ภรรยาของเขากลัวว่าถ้าสามีของเธอมีอายุยืนนานโดยไม่มีวันตายเช่นนี้ ก็จะเข่นฆ่าราษฎรต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นเธอเลยตัดสินใจกินยาอายุวัฒนะนั้นเสียเอง แต่พอกินเข้าไป ในฉับพลันทันใด ร่างของเธอก็เบาแล้วก็ลอยขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ ยังมีนิทานอีกเรื่องเล่าว่า ศิษย์ของโฮ่วอี้ชื่อ" เฝิงเหมิ่ง " อิจฉาฝีมือการยิงธนูของโฮ่วอี้มาก คอยคิดแต่จะสังหารโฮ่วอี้ อยู่มาวันหนึ่ง เฝิงเหมิ่งถือโอกาสตอนที่โฮ่วอี้ออกไปล่าสัตว์บังคับให้ฉังเอ๋อ ภรรยาของโฮ่วอี้มอบยาอายุวัฒนะให้แก่ตนเอง แต่ฉังเอ๋อไม่ยอม โดยกินยาอายุวัฒนะที่มีอยู่ทั้งหมดลงท้องไป ผลก็คือ ร่างของเธอเบา และลอยขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ในที่สุด นับแต่นั้นมา บนดวงจันทร์ก็ปรากฎนางฟ้าผู้งดงามและจิตใจดีเช่นฉังเอ๋อนี้

รูปภาพ

เนื่องจากตำนานเรื่องต่างๆที่เล่าขานเกี่ยวกับ ดวงจันทร์ทั้งหลายนี้ ดังนั้นนับแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา ผู้คนก็จะมีประเพณีการชมและบูชาดวงจันทร์ จักรพรรดิถือความนิยมในการบูชาพระอาทิตย์ในฤดูใบไม้ผลิ และบูชาพระจันทร์ในฤดูใบไม้ร่วง พวกราษฎรก็มีประเพณีการบูชาพระจันทร์ในฤดูใบไม้ร่วงด้วยเช่นกัน ในการบูชาพระจันทร์นั้น ตามปกติพิธีจะเริ่มหลังจากที่ดวงจันทร์ขึ้นแล้ว บางท้องที่สิ่งที่นำมาบูชาดวงจันทร์ได้แก่ขนมไหว้พระจันทร์ ผลไม้ ถั่ว ดอกหงอนไก่ หัวไชเท้า รากบัว เป็นต้น ในขณะที่ทำการบูชาดวงจันทร์นั้น เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ธาตุหยิน ก็มักจะให้ผู้หญิงไหว้ก่อน แล้วถึงให้ผู้ชายไหว้ และก็ยังถึงกับมีความนิยมที่ว่าผู้ชายจะไม่ไหว้พระจันทร์อีกด้วย หลังจากไหว้พระจันทร์เสร็จแล้ว คนในครอบครัวก็จะร่วมกันดื่มสุราแห่งความกลมเกลียว และกินข้าวชมจันทร์ วันนี้ผู้หญิงที่กลับบ้านแม่ไปเยี่ยมญาติก็ยังต้องกลับบ้านมาเพื่อความกลม เกลียว

ในฐานะที่ขนมไหว้พระจันทร์เป็นสิ่งของสำคัญใน การบูชาดวงจันทร์ หลังจากการบูชาจบลง คนทั้งบ้านก็จะแบ่งกันกิน เนื่องจากขนมไหว้พระจันทร์เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความกลมเกลียว สะท้อนให้เห็นความหวังอันงดงามของผู้คนที่มีต่อชีวิตในอนาคตของพวกตน ดังนั้นบางที่ก็จะเรียก ขนมไหว้พระจันทร์ว่า " ขนมแห่งความกลมเกลียว "

ตามที่เล่าขานสืบต่อกันมานั้น ขนมไหว้พระจันทร์ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ครั้นถึงราชวงศ์ซ่ง ( ซ้อง ) ก็ยิ่งเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ขนมไหว้พระจันทร์นั้นไม่เพียงแต่เป็นขนมที่สืบทอดกันมาโดยถือว่าเป็นผลิตผล จากสี่ฤดูกาลเท่านั้น ในด้านการทำ รสชาติก็ยังแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่นที่ด้วย เช่นขนมไหว้พระจันทร์แบบซูโจว ขนมไหว้พระจันทร์แบบกว่างตง ( กวางตุ้ง ) ขนมไหว้พระจันทร์แบบเป่ยจิง ( ปักกิ่ง ) ขนมไหว้พระจันทร์แบบหนิงโป ขนมไหว้พระจันทร์แบบเฉาซาน ( แต้จิ๋ว- ซัวเถา ) ขนมไหว้พระจันทร์แบบหยุนหนาน ( ยูนนาน ) แม้แต่ในท้องถิ่นเดียวกัน ก็ยังมีการทำไส้ขนมที่ต่างกัน ลวดลายขนผิวขนมก็ต่างกัน และก็เรียกชื่อต่างกันไป เช่น ไส้ผลไม้ ไส้ถั่วแดง ไส้ลูกบัว ไส้แฮม ไส้ไข่เค็ม เป็นต้น

รูปภาพ

ระหว่างนั่งกินขนมไหว้พระ จันทร์แสนอร่อยนะ คุณๆ รู้หรือเปล่าว่า นอกจากประเทศไทยแล้ว ประเทศอื่นๆทั่วโลกที่มีชนชาวจีนไปตั้งถิ่นฐาน เขาก็จะปฏิบัติเช่นเดียวกัน คือทุกปีในวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปด ชาวจีนจะ ตั้งโต๊ะจัดของสักการะบูชาพระจันทร์ เพื่อเป็น การขอพรให้กับครอบครัวและให้กับชีวิตของตนเอง ของแต่ละอย่างบนโต๊ะก็จะมีความหมาย ต่างๆ กันไป หากวิธีการจัดโต๊ะของแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสิ่งของที่หา ได้และผลไม้ในประเทศที่มี ซึ่งโดยปรกติก็จะไม่ฟันธงกำหนดตายตัว หากแต่ผลไม้ที่ใช้ก็จะเน้นให้เป็นผลกลมเพื่อ ความกลมกลึงของชีวิตและหมายถึงความกลมของพระจันทร์

แต่ที่จะขาดไม่ได้เลยคือขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งจะเป็นขนมอบใส่ไส้ผลไม้กวนหรือถั่วแดงกวน เม็ดบัว และไข่เค็มเฉพาะไข่แดง สิ่งของอย่างอื่นๆ บนโต๊ะก็จะประกอบไปด้วยสิ่งละอันพันละน้อย ที่มีความ หมายแตกต่างกันไปอย่างเข่น ขนมอี้ ซึ่งเป็นแป้งลูกกลมๆสีแดงสดใสใส่ในน้ำเชื่อมหวาน ซึ่งเปรียบเหมือนชีวิตที่หวานสดชื่น

ขนมโก๋ ที่เป็นแป้งหวานสีขาว รูปทรงต่างๆ ลวดลายสวยงามเพื่อเป็นการขอผิว พรรณที่ขาวสวย ผลไม้ต่างๆ 5 ชนิดที่มีผลกลม เหมือนพรที่ขอเพื่อให้ชีวิตสุขสดชื่นรวมไปถึง ชีวิต ครอบครัวที่มีความสุขความสามัคคี ในบ้านเจดีย์น้ำตาล เป็นตัวแทนของ ปราสาทแห่งสวรรค์ถั่วหวานขนมหวาน เคลือบน้ำตาล ขนมเปี๊ยที่มีอักษรมงคล ประทับสีแดงอยู่กลางขนม ของประดับอื่นๆ ก็จะมีกระดาษรูปเซียน 8 องค์ คำกลอนต่างๆ ในกระดาษสีแดงสดใส เทียนดอกใหญ่ สีแดงที่เขียนคำขอพรไว้ กิ่งหลิว ดอกไม้สีสัน สดสวยอ้อยต้นโตเพื่อนำมาทำ เป็นซุ้มประตู โคมไฟลวดลายงามตา การตั้งโต๊ะจะต้องตั้งให้เรียบร้อยก่อน พระจันทร์จะลอยสูงเกินขอบฟ้า และเก็บก่อนที่ พระจันทร์จะเลยหัวไปหรือเมื่อเทียนดอก ใหญ่ดับลง หันโต๊ะไปทางทิศตะวันออก

โดยเริ่มด้วยซุ้มประตูที่ทำจากต้นอ้อยผูกโคมไฟ ไว้กับต้นอ้อย ให้สวยงามวางกระถางธูป เทียนไว้ด้าน หน้าสุด ดอกไม้วางไว้สองข้าง ขนมอี้ใส่ถ้วยแล้วแต่ พื้นที่บนโต๊ะจะอำนวย 5 - 8 ถ้วยก็ได้วางถัดมา แล้วนำ เจดีย์น้ำตาลวางไว้สองข้างถัดจาก ขนมอี้ ขนมเปี๊ยใส่ จานจัดไว้ถัดมา ใต้เจดีย์อาจนำคำกลอนในกระดาษ แดงมาวางก็ได้ผลไม้ 5 ชนิดจัดวางตาม ความ สวยงาม ต่อด้วยขนมไหว้พระจันทร์ที่จัดเป็น เรียงชั้นๆ ขนมโก๋ และขนมหวานเคลือบน้ำตาลต่างๆ รอบโต๊ะวางประดับประดาด้วยกระดาษลวดลาย ต่างๆ ที่มี อย่างไรก็ดีการจัดตั้งโต๊ะนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แล้วแต่ใครมีวิธีการที่ ต่างกันไปเน้นความสวยงามเป็น หลักดังนั้น ใครคิดว่าจัดอย่างไรจึงสวยที่สุดก็ให้จะจัด กันตามนั้น

รูปภาพ

พิธีเซ่นไหว้พระจันทร์นั้น ตามบันทึกโบราณ โจวหลี่ ระบุว่า
จีนเริ่มเซ่นไหว้พระจันทร์เมื่อสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งที่มาของพิธีในเทศกาลนี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับ ตำนานความฝันของกษัตริย์ ถังหมิงหวง เสด็จประพาสพระราชวังบนดวงจันทร์ เรื่องเล่ามีอยู่ว่า ในกลางดึกของคืนเดือนเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 กษัตริย์ถังหมิงหวงบรรทมหลับไปแล้วทรงพระสุบินว่า พระองค์ลอยขึ้นไปเที่ยวชมพระราชวังบนดวงจันทร์ และได้พบเทพธิดาบนดวงจันทร์กำลังร่ายรำอยู่อย่างงดงาม ในฝันนั้น พระองค์ทรงเพลิดเพลินและเกษมสำราญเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเมื่อตื่นพระบรรทมและทรงโปรดให้ฝันนั้นเป็นความจริง จึงมีรับสั่งให้นางสนมแต่งตัวและร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาในฝัน ตั้งแต่ นั้นมาทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 พระองค์ก็รับสั่งให้จัดเครื่องเซ่นไหว้พระจันทร์ และทอดพระเนตรความงามของพระจันทร์ไปพร้อมกับการร่ายรำของนางสนม

ประเพณีปฏิบัติเช่นนี้ ภายหลังได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ และเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับ เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลไหว้ขนมจ้าง (ขนมบ๊ะจ่าง)

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 02:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
ตำนาน และที่มา แหวนแต่งงาน

ตาม ตำนานและประวัติศาสตร์ที่มีมาช้านาน ต่างเชื่อกันว่าการสวมแหวนที่นิ้วนางจะทำให้แหวนนั้นดลอำนาจของความรักผ่าน สู่หัวใจของผู้สวมใส่ได้และแหวนแต่งงานก็เปรียบเสมือนตัวแทนคำสัญญาความรัก และความมั่นคง เป็นเครื่องประดับติดตัวชิ้นเดียวที่มีคุณค่าผูกพันจิตใจกับหญิงสาวแต่ก่อน คู่หนุ่มสาวจะใช้เถาวัลย์ตามธรรมชาตินำมาผูกติดกับนิ้วเพื่อแสดงถึงความรัก จนกลายเป็นประเพณีของชาวโรมันและชาวอังกฤษที่จะนำโลหะที่มีค่าที่สุดของแต่ ละยุคสมัยมาใช้สวมให้กับเจ้าสาว

ซึ่ง แรกเริ่มเดิมทีตั้งแต่สมัยโบราณแหวนหมั้นที่ใช้กันของคู่บ่าวสาวนั้นทำมาจาก เหล็กธรรมดา ตามตำนานเชื่อว่าแหวนเหล่านี้เกิดจากเทพเจ้าโพรเมธูส(Prometheus) ตีเหล็กขึ้นมาเป็นแหวนให้กับเหล่ามนุษย์ที่ไม่มีรักต่อมาแหวนที่ชาวโรมันให้ กันนั้น ก็กลายเป็นทองคำทรงกลม ซึ่งแสดงถึงวัฏจักรแห่งชีวิตและความเป็นนิรันดร์อีกทั้งเป็นการปฏิญาณต่อ สาธารณชนว่าสัญญาสมรสของคู่บ่าวสาวจะได้รับการปฏิบัติและถนอมไว้ตราบนานเท่า นาน

ตราบจนปัจจุบัน ด้วยคุณค่าความงานอมตะ ทำให้แหวนทองคำเป็นสัญลักษณ์ของประเพณีการแต่งงานที่ทรงความมหัศจรรย์คงอยู่ กับเจ้าสาวตลอดกาล จนถึงศตวรรษที่ 15 แหวนอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นคงและซื่อสัตย์ โดยใช้อัญมณีที่แกร่งที่สุดนั่นก็คือ “เพชร”

เพชรถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย คุณค่าของเพชรในยุคสมัยนั้น มิใช่แค่ความงดงามจากภายนอก แต่เป็นเพราะความวิเศษแห่งอาคมขลังซึ่งเชื่อกันว่าเพชรสามารถป้องกันภัยจาก อสรพิษ, ไฟ, ยาพิษ, ความป่วยไข้, การโจรกรรม ตลอดจนพลังแห่งความเลวร้ายทั้งปวง

ดังนั้นคำว่า Diamond นี้ จึงมีรากศัพท์มาจากคำว่า Adamas ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่าไม่อาจเอาชนะได้กลายเป็นสัญลักษณ์สากลแห่งรักที่ยั่งยืน ตำนานของเพชรจึงได้เริ่มต้นและเล่าขานตกทอดกันนับแต่บัดนั้นมา

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 20:12, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2009, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 01:47
โพสต์: 178

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตำนานสู่สถานที่ อุสา - บารส

อุสา – บารส : จากนิทานพื้นบ้านสู่ตำนานสถานที่
ครั้งหนึ่ง มีเมืองใหญ่ตั้งอยู่บริเวณแถบภูพระบาทมีชื่อว่า “เมืองพาน” และมีท้าวกงพานเป็นเจ้าเมือง (บางฉบับเรียกว่า พระยาพาน) ต่อมาพระองค์ได้ไปขอนางอุสา (เป็นผู้เกิดมาจากดอกบัวบนเทือกเขาและพระฤาษีจันทาผู้เป็นอาจารย์ของท้าวกง พาน ได้นำมาเลี้ยงไว้)มาเป็นราชธิดา นางอุสาเป็นผู้มีความงามเป็นเลิศและกลิ่นกายหอมกรุ่น

เมื่อเติบใหญ่ได้มีเจ้าชายหลายเมืองมาสู่ขอแต่ท้าวกงพานก็ไม่ยินยอมยกให้ผู้ ใด และด้วยความหวงแหนจึงได้สร้างตำหนักเป็นหอสูงไว้บนภูเขาเพื่อให้นางอุสาอยู่ อาศัยขณะเรียนวิชากับฤาษีจันทาผู้เป็นอาจารย์
รูปภาพ
วันหนึ่งนางอุสาไปเล่นน้ำที่ลำธารใกล้ตำหนัก นางได้เก็บดอกไม้มาร้อยเป็นมาลัยรูปหงส์ และลอยน้ำไปพร้อมเสี่ยงทายหาคู่ พวงมาลัยรูปหงส์ได้ลอยไปจนถึงเมืองปะโคเวียงงัวที่มีท้าวบารสเป็นโอรสของ เจ้าเมืองท้าวบารสเก็บพวงมาลัยได้จึงออกตามหาเจ้าของจนถึงเขตเมืองพาน
รูปภาพ
ท้าวบารสและบริวารได้ขี่ม้าจนถึงหินก้อนหนึ่งม้าก็ไม่ยอมเดินทางต่อ พระองค์จึงหยุดพักม้าไว้ ส่วนบริวารก็แยกไปผูกม้าที่หินอีกก้อนหนึ่ง ท้าวบารสได้เดินเที่ยวป่าพบนางอุสาที่กำลังอาบน้ำอยู่และรู้ว่าเป็นเจ้าของ พวงมาลัย ทั้งคู่เกิดความรักและลักลอบได้เสียกัน โดยที่ท้าวกงพานไม่ทราบ

(ตำนานบางฉบับได้เล่าเหตุการณ์ตอนนี้ว่า ท้าวบารสได้เข้าป่าล่าสัตว์และทำพิธีกรรมบวงสรวงพระไทร พระไทรจึงอุ้มไปสมสู่กับนางอุสาไปเจ็ดคืน แล้วอุ้มกลับไปไว้ที่เดิม เมื่อนางอุสาตื่นไม่พบท้าวบารสก็คร่ำครวญหานางวิสัญญะวิเศษ ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงจึงได้วาดภาพเหล่ากษัตริย์ทั้งหลายให้ดูจนรู้ว่าเป็นท้าว บารส นางอุสาจึงส่งสาส์นรักไปถึงท้าวบารส เมื่อท้าวบารสทราบก็เดินทางมาพบและแอบอยู่ในตำหนักกับนางอุสา)

ต่อมาท้าวกงพานทราบเรื่องท้าวบารสมาอยู่กับธิดา ก็ทรงพิโรธจะประหารท้าวบารสเสียแต่เสนาอำมาตย์ห้ามไว้เนื่องจากเกรงฤทธิ์เดช พระราชธิดาของท้าวบารสผู้ครองเมืองปะโค ท้าวกงพานจึงคิดอุบายให้แข่งขันสร้างวัดในหนึ่งวันให้แล้วเสร็จ โดยเริ่มนับตั้งแต่เช้าจนดาวประกายพรึก (ดาวเพ็ก) ขึ้น ผู้ใดสร้างไม่เสร็จต้องถูกตัดเศียร ซึ่งท้าวกงพานได้เกณฑ์ไพร่พลจำนวนมากมาสร้างวัดที่เมืองกงพาน (วัดพ่อตา) ส่วนท้าวบารสมีบริวารเพียงเล็กน้อยที่มาด้วยจึงสร้างได้ช้ากว่า พี่เลี้ยงนางอุสาจึงคิดหาวิธีช่วยโดยให้ท้าวบารสนำโคมไฟไปแขวนบนยอดไม้ใหญ่ ในเวลาดึก ฝ่ายพวกเมืองพานมองเห็นคิดว่าดาวขึ้นจึงหยุดสร้างวัด ส่วนท้าวบารสก็ได้เร่งสร้างวัดของตนจนแล้วเสร็จ เมื่อเป็นดังนี้ท้าวกงพานจึงเป็นฝ่ายแพ้และถูกตัดเศียรสิ้นชีพไป
รูปภาพ
ต่อมาท้าวบารสได้พานางอุสากลับเมืองปะโค แต่เนื่องจากท้าวบารสมีชายาอยู่แล้ว จึงถูกชายาเหล่านั้นกลั่นแกล้ง โดยไปสมคบกับโหราจารย์ให้ทำนายว่า ท้าวบารสมีเคราะห์ต้องออกเดินป่าเพียงผู้เดียวเป็นเวลาหนึ่งปีจึงจะพ้น เคราะห์ ท้าวบารสก็ออกเดินป่าทิ้งนางอุสาไว้ที่เมืองปะโค นางอุสาถูกทำร้ายและกลั่นแกล้ง จึงหนีกลับไปเมืองพานและล้มเจ็บด้วยตรอมใจ

เมื่อท้าวบารสกลับถึงเมืองและทราบข่าวนี้ก็เดินทางไปยังเมืองพาน แต่พบว่านางอุสาสิ้นใจแล้วจึงฝังศพนางไว้ที่หินก้อนหนึ่ง ส่วนพระองค์เองก็ตรอมใจตายตามกันไป เหล่าบริวารจึงฝังศพท้าวบารสเอาไว้เคียงข้างกับศพนางอุสา

รูปภาพ

.....................................................
"เกิดมาก็เพราะกรรม...ดับไปก็หมดกรรม"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงมะตูม เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 01:06, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร