วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0011.jpg
0011.jpg [ 20.34 KiB | เปิดดู 7239 ครั้ง ]
มัคคภาวนาในพระพุทธศาสนา มีบทพระธรรมเทศนาหลัก ๆ ได้แก่

1.เจริญมรรคเป็นโลกุตตระ
2.เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตตระ
3.เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตตระ
4.เจริญอิทธิบาทเป็นโลกุตตระ
5.เจริญอินทรีย์เป็นโลกุตตระ
6.เจริญพละเป็นโลกุตตระ
7.เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตตระ
8.เจริญสัจจะเป็นโลกุตตระ
9.เจริญสมถะเป็นโลกุตตระ
10.เจริญธรรมเป็นโลกุตตระ
11.เจริญขันธ์เป็นโลกุตตระ
12.เจริญอายตนะเป็นโลกุตตระ
13.เจริญธาตุเป็นโลกุตตระ
14.เจริญอาหารเป็นโลกุตตระ
15.เจริญผัสสะเป็นโลกุตตระ
16.เจริญเวทนาเป็นโลกุตตระ
17.เจริญสัญญาเป็นโลกุตตระ
18.เจริญเจตนาเป็นโลกุตตระ
19.เจริญจิตเป็นโลกุตตระ


บุคคลจะบรรลุธรรมด้วยธรรมบทใดขึ้นอยู่กับอินทรีย์ 8 และอุปนิสัยของผู้นั้นว่าได้อบรมบุญบารมีมาอย่างไร



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




008.jpg
008.jpg [ 3.79 KiB | เปิดดู 7181 ครั้ง ]
พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่

ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่านำออก
นำออกจากอะไร ??
นำออกจากโลกียะ นำออกจากวัฏฏะ

สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า นำออกจากอวิชชา
สัมมาสังกัปปะ ชื่อว่า นำออกจากเครื่องกังวล
สัมมาวาจา ชื่อว่า นำออกจากความตรึกและความรำคาญ
สัมมากัมมันตะ ชื่อว่า นำออกจากบาปเวร
สัมมาอาชีวะ ชื่อว่า นำออกจากทุจริต
สัมมาวายามะ ชื่อว่า นำออกจากอกุศลและโลกียะกุศล
สัมมาสติ ชื่อว่า นำออกจากความหลงในขันธ์ 5
สัมมาสมาธิ ชื่อว่า นำออกจากกามและ อกุศลธรรมทั้งหลาย


เจริญในธรรมครับ



.....................................................................................................

เรายังมองไม่เห็นความสวัสดี
จักมีแก่สัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญาและความเพียร
นอกจากความสำรวมอินทรีย์
และความสละวางทุกสิ่งทุกอย่าง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อ คิดใคร่ครวญ ด้วยไตรลักษณ์
ย่อมไม่ประจักษ์ ในไตรลักษณ์
โลกียภาวนา ย่อมปรากฏ

เมื่อคิดใคร่ครวญ ด้วยอริยสัจจ์
่ไตรลักษณ์ ย่อมประจักษ์
มรรคภาวนา ย่อมปรากฏ

การเจริญจิตปฏิบัติสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นการเจริญสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมในความสละลง เพื่อละ เพื่อบรรเทาอาสวะอันคับแค้นทั้งหลายให้เหือดแห้งไป

อ้างคำพูด:
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 17:07
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เมื่อ คิดใคร่ครวญ ด้วยไตรลักษณ์
ย่อมไม่ประจักษ์ ในไตรลักษณ์
โลกียภาวนา ย่อมปรากฏ

เมื่อคิดใคร่ครวญ ด้วยอริยสัจจ์
่ไตรลักษณ์ ย่อมประจักษ์
มรรคภาวนา ย่อมปรากฏ



ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าจะเป็นการรบกวนคุณรึเปล่า ถ้าผมจะขอให้คุณช่วยขยายความเพิ่มเติมในคำกล่าวของคุณ...
เพราะผมยังเบาปัญญาเหลือเกินในการตีความนัยในคำกล่าว...ที่คุณพยายามจะสื่อ น่ะครับ...
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า
เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น



พระโยคาวจรย่อมเจริญสติปัฏฐานอันเป็นที่ตั้งของโลกุตตระฌานดังนี้


[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


[เห็นกายในกาย]
[๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


[เห็นเวทนาในเวทนา]
ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


[เห็นจิตในจิต]
ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


[เห็นธรรมในธรรม]
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 01:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ม่านหมอก เขียน:
ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าจะเป็นการรบกวนคุณรึเปล่า ถ้าผมจะขอให้คุณช่วยขยายความเพิ่มเติมในคำกล่าวของคุณ...
เพราะผมยังเบาปัญญาเหลือเกินในการตีความนัยในคำกล่าว...ที่คุณพยายามจะสื่อ น่ะครับ...


สวัสดีครับ คุณม่านหมอก ยินดีได้สนทนากันครับ

เอาเป็นว่า มาแลกเปลี่ยนธรรมทัสสนะ กันดีกว่าครับ อย่าบอกว่า เบาปัญญาเลย เพราะเราทั้งหลายก็ยังเป็นผู้มีอวิชชาครอบงำอยู่เช่นเดียวกันครับ

อ้างคำพูด:
เมื่อ คิดใคร่ครวญ ด้วยไตรลักษณ์
ย่อมไม่ประจักษ์ ในไตรลักษณ์
โลกียภาวนา ย่อมปรากฏ

เมื่อคิดใคร่ครวญ ด้วยอริยสัจจ์
่ไตรลักษณ์ ย่อมประจักษ์
มรรคภาวนา ย่อมปรากฏ

การ เจริญจิตปฏิบัติสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นการเจริญสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมในความสละลง เพื่อละ เพื่อบรรเทาอาสวะอันคับแค้นทั้งหลายให้เหือดแห้งไป


สิ่งที่ เช่นนั้น แสดงมา ไม่ได้หมายความว่า โลกียภาวนา เป็นสิ่งไม่ดีหรือเป็นอกุศลนะครับ คุณม่านหมอกเข้าใจตามนี้นะครับ หากแต่ว่า โลกียภาวนา ก็ยังมีรูปนามเป็นอารมณ์ ถึงแม้ว่าจะนำเอารูปนามนั้นมาพิจารณาเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ก็ยังไม่ประจักษ์ในไตรลักษณ์ คือยังไม่เห็นเหตุ แท้จริงของไตรลักษณ์ ซึ่งในที่สุดก็ยังไม่อาจพ้นจากทิฐิสังโยชน์ ครับ หากตายไปในขณะนี้ ก็ได้สุคติภพครับ เช่นเป็นเทวดา บ้าง กลับมาเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นพรหมบ้าง ครับ

เพราะไตรลักษณ์ ไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
และตัณหา ก็มีเหตุปัจจัย
เมื่อสังขตธรรมทั้งหลาย ต่างมีเหตุปัจจัย
เพราะเหตุปัจจัยที่แปรเปลี่ยน หรือเพราะความดับแห่งเหตุปัจจัย
ผล หรือวิบากก็แปรเปลี่ยน หรือดับไปตามเหตุปัจจัย
ไตรลักษณ์ ย่อมประจักษ์ด้วยเหตุปัจจัย
มรรคภาวนา ย่อมปรากฏ เพื่อละกิเลสตัณหา ละสังโยชน์ และกำจัดอนุสัยกิเลส เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความแปรเปลี่ยน หรือ ความเกิดดับแห่งเหตุปัจจัย ก็ไม่อาจที่จะทำเหตุใหม่ได้เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ครับ ธรรมทั้งหลายก็เป็นไปตามปฏิจสมุปาทครับ ไม่อาจไปกำหนดตามความต้องการของเราได้ครับ

คร่าวๆ สั้นๆ ประมาณนี้ คงทำความเข้าใจให้กับท่านไ้ด้ไม๊ครับ เราละตัณหาได้ แต่ไม่อาจละไตรลักษณ์ได้

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 01:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้นนี่ยัง "แสดงธรรมอันมั่วซั่ว" อยู่เหมือนเคย
ไม่กลัวนรกเหรอครับ


จาก...
เช่นนั้น เขียน:
เมื่อ คิดใคร่ครวญ ด้วยไตรลักษณ์
ย่อมไม่ประจักษ์ ในไตรลักษณ์
โลกียภาวนา ย่อมปรากฏ

เมื่อคิดใคร่ครวญ ด้วยอริยสัจจ์
่ไตรลักษณ์ ย่อมประจักษ์
มรรคภาวนา ย่อมปรากฏ




... มรรคประสาอะไร มรรคใครสั่งใครสอน
ถามว่า ..
1. เวลามรรคมันประชุมกัน มันประชุมในจิตแบบไหนครับ
2 . จิตประเภทไหน ที่เห็นไตรลักษณ์
แล้วจิตเช่นว่านั้นยังมีความตรึกนึกคิด หรือที่คุณใช้คำว่า "คิดใคร่ครวญ" หรือ
จิตที่ยังตรึกนึกได้ มันมีมรรคประชุมกันได้ด้วยเหรอครับ
จิตที่ยังตรึกนึกได้ มันมีคุณภาพพอที่จะที่จะเข้าใจอริยสัจเหรอครับ

คิดใครครวญไตรลักษณ์ ผมก้คิดได้ ใครก็คิดได้
คนคิดได้ดี ได้ลึกซึ่ง ถ่ายทอดได้ไพเราะกว่าคุณ ผมเห็นกลาดเกลื่อน
ถามว่ามันถอดถอนกิเลสตรงไหน
พูดได้น้ำไหลไปดับก็เสร็จกิเลสกิ๊กก๊อกอยู่ดี



เช่นนั้น เขียน:
สิ่งที่ เช่นนั้น แสดงมา ไม่ได้หมายความว่า โลกียภาวนา เป็นสิ่งไม่ดีหรือเป็นอกุศลนะครับ คุณม่านหมอกเข้าใจตามนี้นะครับ หากแต่ว่า โลกียภาวนา ก็ยังมีรูปนามเป็นอารมณ์ ถึงแม้ว่าจะนำเอารูปนามนั้นมาพิจารณาเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ก็ยังไม่ประจักษ์ในไตรลักษณ์ คือยังไม่เห็นเหตุ แท้จริงของไตรลักษณ์ ซึ่งในที่สุดก็ยังไม่อาจพ้นจากทิฐิสังโยชน์ ครับ หากตายไปในขณะนี้ ก็ได้สุคติภพครับ เช่นเป็นเทวดา บ้าง กลับมาเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นพรหมบ้าง ครับ


ถามนิดเถอะครับ
การภาวนาที่ไม่รู้รูป ไม่รู้นาม ไม่เอารูป หรือนามเป้นอารมณ์
มันเป็นการภาวนาที่ใครสอนเหรอครับ
ถ้าพระพุทธเจ้าสอนช่วยยกมาแสดงนิดได้ไหมครับ
ว่าตรงไหนที่ท่านบอกว่าภาวนาแล้วไม่ให้รู้รูปรู้นาม


ให้กรรมฐานคน เป็นงานปราณีต
คนถามทางตรง ทางเอก อย่าเที่ยวมาชี้ให้เข้าไปเขาวงกตสิครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 12:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 17:07
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโทษนะครับ คุณเช่นนั้น เพราะผมแท้ ๆ เชียวที่ทำให้คุณต้องมาขยายความ
จนเหมือนจะเป็นการเปิดช่องทางให้คุณ ผึ้งน้อย ชาติสยาม ได้ตั้งข้อซักถามขึ้นอีก

และผมจะรู้สึกผิดมากขึ้นอีก ถ้ากระทู้นี้จะ hot จนอาจจะต้องถูกปิดขึ้นมาอีก
ใจเย็น ๆ กันก่อนนะครับ
ผมพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของคุณเช่นนั้น และของคุณชาติสยามด้วยครับ
และจริง ๆ ก็อยากให้คุณมหาราชันย์ มาร่วมด้วยช่วยชี้แนะด้วย และท่านอื่น ๆ ด้วย..ซึ่งผมยังไม่คุ้นเคยชื่อมากนัก
เพราะผมไม่เคยยึดติดว่าความเห็นเดิม ๆ ของผมนั้น มันแน่แล้ว ถูกต้องแล้ว... ถ้าเจอความเห็นที่สมเหตุสมผลกว่า ผมก็ยินถอนสิ่งเก่า ๆ ออก ...เท่านั้นครับ...
ผมยังโง่มากนัก และก็เปิดใจที่จะรับความเมตตาจากเพื่อน ๆ อยู่ จะถูกหรือผิด มิได้คาดหวัง
มันเป็นเรื่องที่ผมจะต้องนำมากรองและพิจารณาเอง... ผมชอบรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นครับ
เพราะมันช่วยขยายมุมมองให้กับผมได้ตลอด การไม่ปิดกัน มันทำให้ผมมีความเข้าใจ
และรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้ปฏิบัติธรรมมากขึ้น

โปรดใจเย็นกับผมสักนิดเถอะครับ... คุณผึ้งน้อย
ผมมาตามหาสิ่งที่ถูกเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาธรรม
ถ้าคุณมีความเห็นเช่นไร และขัดแย้งกับคุณเช่นนั้นเช่นไร ก็ชี้แจงเถอะครับ
ชี้แจงให้ผมได้มีทางเลือกในการพิจารณา และชี้แจงให้ทุกคนที่ติดตามได้มีทางเลือกในการพิจารณา

เมื่อจะเสวนาธรรมแล้ว ก็เสวนาด้วยใจที่เป็นธรรม จะถูกหรือผิด เมื่อเราได้มอบธรรมด้วยใจแล้ว
หนทางที่ถูกย่อมประจักษ์แก่ผู้ทัศนาเอง

:b8:

เปลี่ยนคุณเป็นผีเสื้อได้รึเปล่า เพราะรูปผึ้งในนี้ไม่มี :b41: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย ม่านหมอก เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 14:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 17:07
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
....
คร่าวๆ สั้นๆ ประมาณนี้ คงทำความเข้าใจให้กับท่านไ้ด้ไม๊ครับ เราละตัณหาได้ แต่ไม่อาจละไตรลักษณ์ได้

ขอบคุณครับ ที่ขยายความ
ผมเข้าใจแล้ว เวลาที่ผมเห็นคุณเขียนสั้น ๆ อย่างมีเลศนัย ผมจะขยันตามติดไปให้คุณขยายความ

สั้นกับยาว เหมือนหรือต่าง นั้นสอดคล้อง
ภาษา แต่ละคนใช้ เหมือนหรือต่าง แต่เมื่อผมพิจารณาตามที่คุณกล่าวแล้ว :b8: ครับ

อ้างคำพูด:
การภาวนาที่ไม่รู้รูป ไม่รู้นาม ไม่เอารูป หรือนามเป้นอารมณ์ เป็นการภาวนาด้วยหลักใด เพราะอะไร และเมื่อภาวนาโดยไม่ยึดติดรูป นาม คุณประโยชน์ที่ได้คืออะไร

ตรงนี้เป็นคำถามของคุณชาติสยามส่วนหนึ่ง และผมก็สนใจด้วยครับ แต่ขอเปลี่ยนคำถามไปสักนิดนะครับ
มีอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่คุณยกมานี้แน่ ๆ เลยใช่รึเปล่าครับ

อ้างคำพูด:
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ


พอดีผมไม่ค่อยถนัดภาษาในพระธรรมครับ แต่เห็นคำว่า สุญญ นี่น่าจะเกี่ยวกับ การทำสมาธิโดย
มีความว่างเป็นอารมณ์ ขอโทษนะครับ ถ้าผมจะตีความหมายคำ และใช้คำพูดที่ผิดเพี้ยนไป
เพราะผมไม่ถนัดศัทพ์ทางธรรมจริง ๆ ครับ ถ้าเห็นผิดไปเช่นไร ขอกัลยานมิตรชี้แนะด้วยครับ

:b38:


แก้ไขล่าสุดโดย ม่านหมอก เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 14:48, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 17:07
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:

11.เจริญขันธ์เป็นโลกุตตระ
12.เจริญอายตนะเป็นโลกุตตระ
13.เจริญธาตุเป็นโลกุตตระ
14.เจริญอาหารเป็นโลกุตตระ
15.เจริญผัสสะเป็นโลกุตตระ
16.เจริญเวทนาเป็นโลกุตตระ
17.เจริญสัญญาเป็นโลกุตตระ


เจริญในธรรมครับ


พอจะขยายความ ในส่วนนี้ได้รึเปล่าครับ...

จริง ๆ ผม สนใจข้อนี้เป็นพิเศษครับ

17.เจริญสัญญาเป็นโลกุตตระ

:b8:

:b12:


แก้ไขล่าสุดโดย ม่านหมอก เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 18:19, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่านำออก ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่าการตั้งมั่น ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร....



สวัสดีครับคุณม่านหมอก คงต้องใช้เวลานิดหนึ่งนะครับ
ผมจะค่อย ๆ ทยอยนำมาแสดงทีละเรื่อง ๆ เป็นลำดับ ๆ ไปนะครับ

วันนี้แสดงเรื่องสัมมัปปธาน 4 ก่อนนะครับ

[๔๘๓] สัมมัปปธาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
๒. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
๔. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว



[เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น]

[๔๘๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ
นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียรเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น



[เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว]
[๔๙๐] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ
นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียรเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว




[เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น]
[๔๙๒] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียรเพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น




[เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม]
[๔๙๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียรเพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว





[๕๐๑] ในบทเหล่านั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน




เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 19:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่

ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่านำออก



ขอเพิ่มเติมเรื่องมรรค ๘ อีกครั้งครับ


อัฏฐังคิกวาร
[๕๙๑] มรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา
๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ
๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ
๘. สัมมาสมาธิ
ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘

เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 20:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณม่านหมอก คุณชาติสยาม

อ้างคำพูด:
การภาวนาที่ไม่รู้รูป ไม่รู้นาม ไม่เอารูป หรือนามเป้นอารมณ์ เป็นการภาวนาด้วยหลักใด เพราะอะไร และเมื่อภาวนาโดยไม่ยึดติดรูป นาม คุณประโยชน์ที่ได้คืออะไร


คงจะเกิดความเข้าใจผิด นิดหน่อยครับ เกี่ยวกับ คำว่า "ภาวนา" ซึ่งเรามักจะใช้ปนไปกับคำว่า คำภาวนา
ซึ่งหมายถึงอารมณ์กรรมฐาน คำถามจึงเกิดขี้นมาได้ว่า "เป็นการภาวนาด้วยหลักใด" และ "เมื่อภาวนาโดยไม่ยึดติดรูป นาม คุณประโยชน์คืออะไร" ซึ่งเป็นคำถามที่ ไม่สอดคล้องกับความหมายของ "ภาวนา" ที่ เช่นนั้น เข้าใจ

ทำความเข้าใจกันก่อนครับ ว่า "ภาวนา" ที่เช่นนั้นเข้าใจ และคุณม่านหมอก คุณชาติสยาม เข้าใจให้ถูกต้องตรงกันเสียก่อน มิฉะนั้น ก็จะสนทนากันคนละความหมายกัน

ภาวนา หมายถึง การเสพ การทำให้มาก การเจริญ ยกตัวอย่างในปฏิสัมภิทามรรค ประกอบครับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๖๘] ภาวนา ๒ คือโลกิยภาวนา ๑ โลกุตรภาวนา ๑

ภาวนา ๓ คือการเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล ๑ การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล ๑ การ
เจริญ
กุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก [โลกุตรกุศล] ๑...

...[๗๐] เอกรสาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถ
แห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อ
เจริญสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
... เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียว
กันด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์
ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ...
[๗๓] ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิด
ในภาวนานั้น
อย่างไร ฯ
เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนกขัมมะ
ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกัน
แห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น เมื่อพระโยคาวจรละพยาบาท ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดด้วยสามารถความไม่พยาบาท ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละถีนมิทธะ
ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาโลกสัญญา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละ
อุทธัจจะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ล่วงกัน
และกัน ... เมื่อละวิจิกิจฉา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถการกำหนดธรรม
ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอวิชชา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถแห่งญาณ
ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=559&Z=720&pagebreak=0

มรรคภาวนา ก็คือการเจริญมรรค ทำจิตให้สำเร็จเป็นมรรคจิต จิตเป็นโลกกุตตระ และธรรมทั้งหลายที่ในขณะเจริญมรรคภาวนานั้นก็ต้องไม่ล่วงเกินกันและกัน ครับ จึงชื่อว่า เจริญมรรค หรือเป็นมรรคภาวนา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 23:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า
เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่านำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่าการตั้งมั่น ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วย
อรรถว่าการทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่าการสำเร็จ




[๕๑๘] อิทธิบาท ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร




[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร]

[๕๑๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร ??

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร]

[๕๒๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร ??

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร




[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร]

[๕๒๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร ??

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธารสังขาร




[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร]

[๕๒๘] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร ??

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร





คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท


เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร