วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 08:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


พ ร ะ นิ พ น ธ์ เ พื่ อ ค ว า ม ส วั ส ดี แ ห่ ง ชี วิ ต
แ ล ะ พ ร ะ ค ติ ธ ร ร ม เ พื่ อ เ ป็ น แ ส ง ส่ อ ง ใ จ



ที่มา... http://www.sangthum-songjai.net/board/v ... ?f=38&t=96

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระคติธรรม

อันความดีนั้น ย่อมเป็นอาภรณ์ เป็นอิสริยยศของคนดี เพราะคนดีย่อมเห็นว่า ความดีนี้แหละเป็นยศอันยิ่งใหญ่ และย่อมพอใจประดับความดีเป็นอาภรณ์ กล่าวได้ว่า “ความดีนั้นเป็นอิสริยาภรณ์ของคนดี”.

ความดีนั้นเกิดจาก กรรมที่ดี ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า “คนเป็นคนดีก็เพระกรรม เป็นคนถ่อยก็เพราะกรรม” ฉะนั้น เมื่อละเลิกกรรมทำไม่ดี ทำกรรมที่ดีที่ชอบ...ก็ได้เป็นคนดีแล้ว.
แต่คนที่ทำกรรมชั่วผิด แม้จะได้รับบัญญัติว่าดีอย่างไร ก็หาชื่อว่าเป็นคนดีไม่ ผู้ที่รู้และค้านเป็นคนแรกก็คือตนเองนั่นเอง เว้นไว้แต่จะมีตาใจบอดด้วยความหลงตนไปอย่างยิ่งนั่นแหละจึงจะไม่รู้ความดี ที่จะให้สำเร็จการชนะนั้น ก็ต้องใช้ปัญญาค้นหา คือวิธีชนะที่จะไม่ต้องเบียดเบียนใคร เป็นความดีชั้นตรี ถ้าเป็นการชนะชนิดที่เกื้อกูลเขา ทำให้เขากลับเป็นคนดี ก็นับว่าเป็นความดีชั้นโท ส่วนความดีชั้นเอกก็คือ “ความดีที่ชนะความชั่วของตนเอง”.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำนำในการจัดพิมพ์

“ตน แลเป็นที่รักอย่างยิ่ง” พุทธศาสนสุภาษิตนี้ เตือนให้ระลึกรู้ว่าต้องรักษาตนให้จงดี ให้เป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง. ผู้ที่สามารถรักษากายวาจาใจของตนให้ดีได้นั้น คือผู้ที่รักตนอย่างยิ่ง เพราะความรักตนอย่างยิ่งจึงทำให้ประพฤติปฏิบัติตนไม่ใช่ผู้ที่จะทำให้ตน สวัสดีได้.

ผู้ใดสามารถรักษาจิตใจ รักษาวาจา รักษาการกระทำให้เป็นไปเพื่อไม่เป็นการให้ทุกข์ให้ร้อนแก่ผู้อื่น ไม่เรียกว่าเป็นการกระทำเพื่อผู้อื่น ไม่เรียกว่าเป็นการถือผู้อื่นว่าเป็นที่รักของตนแต่เป็นการทำเพื่อตนเอง เป็นการถือว่าตนเป็นที่รักของตนอย่างยิ่ง บัณฑิตผู้มีปัญญาทั้งหลาย จึงเพียรมุ่งในการรักษาตนให้สมกับเป็นผู้มีตนอันเป็นที่รักอย่างยิ่ง.

“ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน”พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เล่มนี้ พระองค์ท่านได้เมตตาอนุญาตให้ธรรมสภาจัดพิมพ์ โดยรวบรวมและจัดหมวดหมู่จากพระนิพนธ์ “แสงส่องใจ” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและสรรเสริญว่า “อ่านง่ายและธรรมทานให้กับผู้เข้าเฝ้าตามโอกาสต่าง ๆ กัน.

การจัด พิมพ์หนังสือชุด “พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ครั้งนี้ ธรรมสภาได้แยกหมวดหมู่จัดพิมพ์เป็น ๕ เล่ม ดังนี้

๑. พระนิพนธ์ เรื่อง ธรรมเพื่อความสวัสดี
๒. พระนิพนธ์ เรื่อง ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน
๓. พระนิพนธ์ เรื่อง ทุกชีวิตมีเวลาอันจำกัด
๔. พระนิพนธ์ เรื่อง อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม
๕. พระนิพนธ์ เรื่อง รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก

หนังสือ ชุดนี้ ธรรมสภาจัดพิมพ์ถวายแด่พระองค์ท่าน จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม และเพื่อเผยแพร่แก่ท่านสาธุชน ผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย สำหรับพระภิกษุ สามเณร ห้องสมุดหรือวัดทั่วไป ธรรมสภาขอปวารณายินดีถวายเป็นธรรมทานด้วยความยินดี

บุญกุศลอันเกิด จากการจัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ ขอน้อมถวายแด่ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ในวโรกาสมหามงคลเจริญพระชนมายุ ๘๖ พรรษา ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดอภิบาลรักษาพระองค์ท่านให้มีพระชนทายุยืนนานและสถิตเป็นตราประทีปแห่ง คุณธรรม ส่องสว่างในดวงจิตของเหล่าพุทธศาสนิกชนสืบไปชั่วกาลนาน

ด้วยความสุจริต หวังดี
ธรรมสภาปรารถนาให้โลกพบกับความสงบสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สารบัญ
ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน

๑. จิตของบัณฑิต ย่อมไม่หวั่นไหว
๒. ปัญญามีคุณประดุจแสงสว่าง
๓. ตนแลเป็นที่รักยิ่งของตน
๔. ตนเป็นที่พึ่งของตน
๕. ธรรมอันเป็นกำลัง
๖. อำนาจที่ยิ่งใหญ๋ของใจ
๗. อย่าตกเป็นทาสของกิเลส
๘. พึงรักษาใจให้ห่างไกลกิเลส
๙. อำนาจแห่งความยึดมั่นของจิต
๑๐. พึงสละออกด้วยการให้
๑๑. การวางตนให้งดงามตามฐานะ


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 21 ก.ย. 2009, 14:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๑. จิตของบัณฑิต ย่อมไม่หวั่นไหว

O บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญ

พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า “ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น”พระพุทธองค์ทรงเปรียบบัณฑิตดังภูเขาหินแท่งทึบ เหตุด้วยบัณฑิตไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ นั่นคือทรงแสดงว่าบัณฑิตมีคุณลักษณะของภูเขา คือ มีความหนักแน่น ความแข็งแกร่ง ความผนึกติดกับพื้นฐานใหญ่มั่นคง คือ ความดี ความมีสติปัญญา

“บัณฑิต” ในพระพุทธศาสนา หายถึง คนดีมีปัญญา ผู้เป็นคนดี มีปัญญาเพียงพอย่อมรู้ธรรม ย่อมเชื่อมั่นในกรรม ย่อมไม่หวั่นไหว เมื่อมีผู้เจรจาส่งเสริมเพื่อให้สูงขึ้นย่อมรู้ว่า “กรรม” คือ “การกระทำ” ความประพฤติปฏิบัติของตนเองเท่านั้นที่จะเหยียบย่ำตนให้ต่ำลงได้ หรือส่งเสริมตนให้สูงขึ้นได้ ผู้ใดอื่นหาทำได้ไม่ นินทาก็ตาม สรรเสริญก็ตาม ไม่อาจทำได้ ทั้งเพื่อให้คนต่ำลงหรือสูงขึ้น สำหรับบัณฑิต นินทาและสรรเสริญจึงย่อมทำให้เกิดเมตตาในผู้นินทา และกตัญญูรู้น้ำใจผู้สรรเสริญเพียงเท่านั้น มิได้ทำให้หวั่นไหวแต่อย่างใด

O บัณฑิตเป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม


จิตใดที่เป็นจิตของบัณฑิต คือ ผู้มีปัญญาในธรรม ผู้ได้ศึกษาธรรมได้ปฏิบัติธรรม ได้รับผลแห่งธรรมปฏิบัติ มีสมบัติที่เป็นธรรม คือ “ธรรมสมบัติ”จิตนั้นมีคุณลักษณะเปรียบได้ดั่งภูเขาหินแท่งทึบ ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมอันผู้อยู่ในโลกจะต้องพบเป็นธรรมดา เพราะเป็นสิ่งมีประจำโลกทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว คือ ทั้งลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ ผู้มีใจเป็นบัณฑิต เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งบัณฑิต แม้ต้องเผชิญโลกธรรมทั้ง 8 นี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว ย่อมมีใจตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

O ความหวั่นไหว เป็นความผิดปกติแห่งจิตทั้งสิ้น


อันความหวั่นไหวแห่งจิตนั้น เกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะเพียงเมื่อประสบโลกธรรมฝ่ายชั่ว การประสบโลกธรรมฝ่ายดีก็ทำให้จิตหวั่นไหวได้ ความหวั่นไหวแห่งจิต หมายถึง ความที่จิตกระเพื่อมผิดจากปกติ กระเพื่อมด้วยความเสียใจหรือกระเพื่อมด้วยความดีใจ เป็นความหวั่นไหวแห่งจิตทั้งสิ้น เป็นความผิดปกติแห่งจิตทั้งสิ้น และความผิดปกติแห่งจิตนั้น แม้จะเป็นไปในทางรื่นเริงยินดี ผู้มีปัญญาในธรรม ก็ไม่ถือเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา ผู้เสียสติหัวเราะ หรือผู้เสียสติร้องไห้ ก็คือผู้เสียสตินั่นเอง

O จิตของบัณฑิต หนักแน่นดั่งภูเขาหินแท่งทึบ


ความดีใจเพราะได้ประสบโลกธรรมฝ่ายดี หรือความเสียใจเพราะได้ประสบโลกธรรมฝ่ายชั่ว บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมไม่เห็นว่า เป็นความปกติแห่งจิต ย่อมเห็นเป็นความผิดปกติแห่งจิตทั้งสิ้น บัณฑิตผู้มีปัญญา ย่อมมีจิตสงบตั้งมั่นอยู่ในความเป็นปกติเสมอ ดั่งภูเขาหินแท่งทึบตั้งอยู่มั่นคงเป็นปกติ ไม่สั่นสะเทือน แม้ในความกระทบกระแทกรุนแรงไม่ว่างเว้นแห่งลมพายุใหญ่

O ปัญญาเป็นรากฐานของความสงบแห่งจิต


ความสงบตั้งมั่นเป็นปกติแห่งจิต มิได้เกิดจากอะไรอื่น แต่เกิดจากปัญญา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ปัญญาที่หยั่งรู้ความจริงโดยแท้เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

O อบรมปัญญา เพื่อความสงบตั้งมั่นแห่งจิต

การอบรมปัญญา คือ การใช้ปัญญาให้อย่างยิ่งเสมอ จึงเป็นความจำเป็นสำหรับผู้ต้องการความสงบตั้งมั่นแห่งจิต การอบรมปัญญา ก็เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูต้นไม้เล็กต้นไม้น้อยที่ปลูกอยู่แล้ว มีอยู่แล้ว ให้เจริญเติบโต ต้นหมากรากไม้ต้องการปุ๋ยต้องการน้ำ ปัญญาต้องการสัญญา ความจำได้หมายรู้ ต้องการสติความระลึกได้ถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูดของตนและของคนทั้งหลาย ที่ได้พูดได้ทำได้ยินได้ฟังมาแล้วแม้นานได้ และต้องการความสม่ำเสมอ

O สัญญาความจำที่ดีงาม นำไปสู่ความสงบแห่งใจ

สัญญาความจำ ต้องเป็นความจำสิ่งที่เป็นปัญญา และเป็นเหตุแห่งปัญญา เช่น คำสอนในพระพุทธศาสนา อันเป็นสิ่งที่เป็นพระปัญญาในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสอนล้วนแต่ความดีงามเป็นปัญญาที่จะนำไปสู่ความสุขสงบ บริสุทธิ์แห่งจิตใจ

O สัญญาความจำต้องประกอบพร้อมด้วยสติ


สัญญา คือ ความจำ เป็นอนัตตา คือ ไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ ปรารถนาให้จำไว้ก็ไม่จำ ปรารถนาให้ลืมก็ไม่ลืม ปรารถนาไม่ให้จำก็จำ ปรารถนาไม่ให้ลืมก็ลืม และความจำที่เป็นสัญญา ก็เป็นความจำตรงไปตรงมาทั้งชิ้นทั้งเรื่อง ดังนั้นสัญญาจึงต้องประกอบพร้อมด้วยสติ เพราะสติเป็นความระลึกได้ที่ประกอบพร้อมด้วยเหตุและผล สติไม่ได้เป็นความจำแบบสัญญา

O “สัญญา” กับ “สติ” ต่างกันอย่างยิ่ง


ความจำ คือ สัญญานั้น แม้จะตั้งใจรักษาไว้ก็อาจรักษาไว้ไม่ได้ ต้องลืม แต่สติความระลึกได้นั้น เมื่อตั้งสติไว้ รู้เรื่องพร้อมกับรู้เหตุรู้ผล ก็จะมีสติอยู่ได้ เหตุการณ์ทั้งหลายที่ประสบพบผ่านแม้นาน เมื่อสติระลึกได้ ก็จะระลึกได้พร้อมทั้งเหตุทั้งผลทั้งปวง สัญญาความจำกับสติความระลึกได้ มีความแตกต่างกันที่สำคัญอย่างยิ่ง ในเรื่องเดียวกัน สัญญาอาจเป็นคุณ แต่ก็อาจเป็นโทษ ส่วนสติเป็นคุณไม่เป็นโทษ ความพยายามมีสติระลึกรู้ จึงเป็นความถูกต้อง และเป็นไปได้ยิ่งกว่าพยายามจดจำด้วยสัญญา

ความจำ อันเป็นสัญญานั้นมีผิด เพราะมีลืม และมีโทษเพราะไม่ประกอบพร้อมด้วยเหตุผลความรู้ถูกรู้ผิด โทษของสัญญา คือ ความไม่สงบแห่งจิต แตกต่างกับความไม่ลืมมีสติระลึกได้ ซึ่งประกอบพร้อมด้วยเหตุผล ความรู้ถูกรู้ผิดอันเป็นปัญญา และปัญญานั้นไม่มีโทษ มีแต่คุณ มีแต่นำไปสู่ความสงบแห่งทุกข์ ความสงบแห่งจิต และจิตยิ่งสงบเพียงใด ยิ่งตั้งมั่นเพียงใด ปัญญายิ่งสว่างรุ่งโรจน์มีพลังเพียงนั้น

O คุณที่สำคัญของปัญญา

คุณที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งของปัญญา คือ ความเข้าใจในโลกธรรม ความเข้าใจในชีวิต ว่าเมื่อเกิดอยู่ในโลกก็ต้องพบโลกธรรมทั้ง 8 และโลกธรรมนั้นก็เช่นเดียวกับสิ่งทั้งปวง ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา สรรเสริญและนินทา ก็เป็นโลกธรรม ย่อมต้องพบด้วยกันทุกคน พระพุทธเจ้ายังทรงพบ และย่อมเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาเช่นกัน บัณฑิต คือ ผู้มีปัญญา เมื่อประสบนินทาและสรรเสริญ จึงมีจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

O ความหวั่นไหวแห่งจิต
ย่อมเป็นโทษอย่างยิ่ง เมื่อเกิดแก่ผู้ใด


ในขอบเขตแคบ ๆ สรรเสริญ นินทา หมายถึงเพียงที่เกี่ยวกับตนเอง แต่กว้างออกไป สรรเสริญ นินทา หมายถึง ที่เกี่ยวกับผู้อื่นทั้งปวง ที่ตนไปได้ยินได้ฟังได้รู้ได้เห็นด้วย ไม่ว่านินทาสรรเสริญจะเกี่ยวกับใคร บัณฑิตได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟัง ย่อมไม่หวั่นไหว จิตตั้งมั่นสงบเป็นปกติอยู่

อันความหวั่นไหวของจิต ไม่เพียงเป็นโทษแก่จิต ทำให้จิตไม่ตั้งอยู่ในความสุขสงบเท่านั้น แต่ยังเป็นโทษส่งออกปรากฏ เป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา อีกด้วย เพราะใจที่หวั่นไหวด้วยนินทาสรรเสริญ ย่อมทำให้คิดให้พูดให้ทำไปตามอำนาจความหวั่นไหว ปรากฏเป็นความลืมตัว ความก้าวร้าว แข็งกระด้าง ความโศกเศร้า ขาดสติ ความอ่อนแอ ความขาดเหตุผล ความเชื่อง่ายหูเบา เป็นต้น อันลักษณะเช่นนี้ปรากฏในผู้ใด ผู้นั้นย่อมไม่เป็นที่สรรเสริญโดยควร

O ผู้มีปัญญา พึงตามรักษาจิตไม่ให้หวั่นไหว


บัณฑิต ผู้มีปัญญาเข้าใจในเรื่องของโลกธรรม รู้คุณของจิตที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม รู้โทษของจิตที่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม จึงอบรมสติอบรมปัญญา ตามรักษาจิตทุกเวลาให้ทัน ให้พ้น ให้ไกลจากความหวั่นไหวด้วยโลกธรรม ทั้งฝ่ายดี และ ฝ่ายชั่ว ตั้งมั่นเป็นสุขสงบอยู่

O หลักธรรมสู่ความเป็นบัณฑิตทางพุทธศาสนา


ทาง ไปสู่ความเป็นบัณฑิตในพระพุทธศาสนานั้นมีอยู่แล้ว คือ ทางที่พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านไปแล้ว และทรงพระมหากรุณาแสดงไว้ในพระธรรมคำสอนทั้งปวง ยากง่ายสูงต่ำตามอัธยาศัย หัวใจพระพุทธศาสนา 3 ประการ ที่โปรดประทานเป็นหลักประกาศพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ในวันมาฆบูชานั้น เพียงพอสำหรับความเป็นบัณฑิตในพระพุทธศาสนา การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม และการชำระจิตให้ผ่องใส เป็นทางปฏิบัติที่เพียงพอสำหรับความเป็นบัณฑิตในพระพุทธศาสนา

บัณฑิต หมายถึง ผู้มีปัญญา ผู้เป็นปราชญ์ บัณฑิตในพระพุทธศาสนา หรือในทางธรรม มิได้มีความตรงกับคำว่า บัณฑิตที่ใช้ในทางโลก ที่หมายถึงผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ขณะที่บัณฑิตทางโลกหมายถึงผู้มีความรู้ในวิชาการทางโลก มีวิชาทางโลกเป็นสมบัติของตน บัณฑิตทางธรรม หมายถึง ผู้มีความรู้ในทางธรรมและปฏิบัติธรรม มีธรรมเป็นสมบัติของตนมิใช่สักแต่เพียงรู้ธรรมด้วยการศึกษาจดจำข้อธรรมทั้ง หลายไว้ขึ้นใจเท่านั้น พูดได้สอนได้เท่านั้น แต่ต้องปฏิบัติธรรมด้วยให้มีธรรมเป็นสมบัติของตนด้วย

O สมบัติของบัณฑิต คือ ธรรมสมบัติ

การศึกษาธรรม แม้จะรอบรู้กว้างขวางเพียงไร ท่องจำขึ้นใจไว้ได้มากมายเพียงไหน ถ้าไม่ปฏิบัติธรรมให้เกิดขึ้นในตน ธรรมนั้นก็ยังหาใช่เป็นสมบัติของตนไม่ เช่นเดียวกับความรู้วิชาการทางโลก ที่ผู้อ่านหนังสือมากมายโดยไม่เข้าใจเรื่องราว ที่เปรียบว่าอ่านเหมือนนกแก้วนกขุนทอง หัดพูด ความรู้หรือวิชาการในหนังสือที่อ่านนั้น ก็หาใช่สมบัติของผู้อื่นนั้นไม่ อันสมบัติของบัณฑิต ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นสมบัติของผู้ใดแล้ว ก็จะเป็นของผู้นั้นตลอดไป ไม่มีผู้อาจช่วงชิงไปได้ ผู้ใดมีความรู้ความเข้าใจใช้ประโยชน์ได้จริงในวิชาการทางโลกแล้ว วิชาการนั้นก็จะเป็นสมบัติของผู้นั้นตลอดไป

O ผู้มีสมบัติของบัณฑิต มีจิตใจสงบเย็นเป็นสุข


ผู้ ใดมีความรู้ความเข้าใจความปฏิบัติได้จริงทางธรรม ธรรมนั้นก็จะเป็นสมบัติของผู้นั้นตลอดไปไม่มีผู้อื่นใดจะมาทำให้หมดสิ้นไป ได้ ผู้เป็นเจ้าของเองก็ไม่อาจทำให้หมดไปได้ กาลเวลาก็หาอาจทำให้หมดไปได้ แม้จะมีเวลาลืมเลือนไปบ้าง แต่การทบทวนก็จะทำให้กลับฟื้นคืนจำได้จนกระทั่งข้ามภพข้ามชาติแล้ว ความรู้อันเป็นสมบัติของผู้ใดก็จะยังเป็นสมบัติของผู้นั้นอยู่ พึงรู้ได้เชื่อได้จากความรู้ความสามารถและจิตใจของผู้คนทั้งหลายในชาตินี้ภพ นี้ ที่มีแตกต่างกันอยู่

ธรรมข้อเดียวกัน วิชาการเดียวกัน เริ่มศึกษาพร้อมกัน คนหนึ่งเข้าใจง่าย เข้าใจได้เร็ว และเข้าใจได้ถูกต้องชัดเจน ปฏิบัติได้ มีจิตใจสงบเย็นเป็นสุข แต่อีกคนหนึ่งเข้าใจได้ยาก เจ้าใจได้ช้าปฏิบัติได้ช้า หรือปฏิบัติไม่ได้ เข้าใจไม่ได้เลย มีจิตใจเร่าร้อนนี้เป็นเพราะเหตุใด ก็เพราะในคนสองคนนั้น คนหนึ่งมีวิชาธรรมะเป็นสมบัติอยู่แล้ว ด้วยการศึกษาเรียนรู้ เข้าใจแล ปฏิบัติมาแล้ว อาจจะในอดีตที่ใกล้หรือไกลก็ตาม เมื่อมาได้รับการทบทวนใหม่ในวิชานั้น ในธรรมะนั้น ความรู้ความเข้าใจที่ได้ศึกษาอบรมมีเป็นสมบัติอยู่ก่อนแล้ว ที่ถูกกาลเวลาทับปิดไว้ ก็จะถูกเปิดออก ปรากฏขึ้นแจ่มชัดเป็นลำดับ

O ความเป็นบัณฑิตในธรรม ย่อมประจักษ์แก่ตนเอง


แม้ จะมีความรู้มีธรรมที่ปฏิบัติศึกษามาก่อนแล้วในอดีตกาล แต่ถ้าไม่ได้รับการรื้อฟื้นทบทวนทำใหม่เลยในปัจจุบันชาติความรู้ความสามารถ ที่อบรมมาในกาลก่อน ก็จะถูกกาลเวลาปิดไว้เฉกเช่นกับมีสมบัติแม้มากมาย แต่ปกปิดไว้ สมบัตินั้นก็ย่อมไม่ปรากฏ มีก็เหมือนไม่มี ต้องเพิกเครื่องปกปิดนั้นออกเพื่อจะรวมสมบัติใหม่เข้าไว้ด้วย เพิกเครื่องปกปิดออกสมบัติเก่าจึงจะปรากฏ สมบัติใหม่จึงจะรวมเข้าเป็นส่วนเพิ่มพูนสมบัติเก่านั้น

วิทยาการทั้ง หลายและธรรมปฏิบัติก็เช่นกัน ไม่มีผู้ใดล่วงรู้สมบัติธรรม อันเป็นสมบัติเดิมของตน ที่สะสมไว้ว่ามีมากน้อยเพียงไร เพราะถูกกาลเวลาปกปิดไว้ ต้องศึกษาปฏิบัติในปัจจุบัน จึงจะเป็นการเปิดสมบัติเก่าให้เห็นได้ เพื่อรวมสมบัติใหม่เข้าไว้ด้วยกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว แม้เป็นสมบัติของบัณฑิต คือ เป็นธรรมสมบัติ ก็จะปรากฏความเป็นบัณฑิตในธรรม ที่แม้อาจไม่ประจักษ์แก่ผู้อื่นไป แต่ย่อมประจักษ์แก่ใจตนเองแน่นอน


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๒. ปัญญามีคุณประดุจแสงสว่าง

O “ปัญญา” มีอยู่ทั่วทุกตัวคน


ทุกคนมีปัญญา แม้จะมากน้อยไม่เสมอกัน ทุกคนไม่ควรลืมความจริงนี้ ไม่ควรประมาทในการคิดการพูดการทำที่เกี่ยวกับทุกคน นั่นคือไม่ควรเป็นคนเชื่อง่าย หูเบา ซึ่งจะตามมาด้วยการทำตามความเชื่อ ดังนี้ ไม่เป็นการคิดการพูดการทำด้วยปัญญา เป็นการประมาทปัญญา ทั้งปัญญาตน เพราะไม่นำปัญญาตน มาใช้ประกอบความคิดการพูดการทำ เป็นการประมาททั้งปัญญาผู้อื่น เพราะไม่ใช้ปัญญาตนพิจารณาปัญญาผู้อื่นให้รอบคอบ

O ปัญญาที่สมบูรณ์ มีคุณเป็นความสว่าง

ปัญญา เป็นคุณลักษณะ เป็นลักษณะที่ดี มีคุณเป็นความสว่างความสมบูรณ์ของปัญญาคือ สัมมาปัญญาเท่านั้น ไม่มีมิจฉาปัญญา สัมมาปัญญา คือ ปัญญาชอบ ปัญญาก็หมายถึงปัญญาชอบเช่นกัน ผู้มีเล่ห์เหลี่ยม ใช้เล่ห์เหลี่ยม ไม่ใช่ผู้มีปัญญา ใช้เล่ห์เหลี่ยมไม่เรียกว่าใช้ปัญญา

O ผู้มีปัญญาน้อย เป็นผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมมาก


ผู้ มีปัญญาน้อย เป็นผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมมาก เพราะผู้มีปัญญาน้อยเป็นผู้อยู่ในความมืดมากกว่าอยู่ในความสว่าง จึงไม่เห็นถูกต้องสมควร ว่าการใช้เล่ห์เหลี่ยมไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ไม่ใช่วิธีของคนดีมีปัญญา “การใช้เล่ห์เหลี่ยม” เป็นการประมาทปัญญา เป็นหนทางแห่งความตาย อาจทั้งด้วยสิ้นชีวิตและด้วยสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ

O ผู้มีปัญญามาก รังเกียจการใช้เล่ห์เหลี่ยม

ผู้มีปัญญามาก เป็นผู้ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยม เพราะผู้ปัญญามากไม่จำเป็นต้องใช้เล่ห์เหลี่ยมอันเป็นกลโกง เป็นความไม่สุจริต ผู้มีปัญญาสามารถใช้ปัญญาแก้ไขจัดการเรื่องราวทั้งหลายให้เป็นไปได้อย่างถูก ต้องด้วยดี ผู้มีปัญญารังเกียจเล่ห์เหลี่ยม ไม่ยินดีที่จะใช้เล่ห์เหลี่ยม แต่รู้จักเล่ห์เหลี่ยม เพราะปัญญาเป็นแสงสว่าง ย่อมนำให้รู้ ให้เห็นให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้ชัดเจน มากน้อยตามความมากน้อยของปัญญา

O ผู้ไม่เห็นความสำคัญของปัญญา
จึงไม่ปรารถนาปัญญา และไม่อบรมปัญญา


ผู้ใดชอบใช้เล่ห์เหลี่ยมอันเป็นความไม่ดี ไม่ชอบ ใช้ปัญญาอันเป็นความดี พึงรู้ได้ว่า ผู้นั้นเป็นผู้ประมาทปัญญา ไม่เห็นความสำคัญของปัญญา จึงไม่ปรารถนาจะมีปัญญา ไม่อบรมปัญญาทั้งยังประมาทปัญญาตน ไม่เห็นความสำคัญของปัญญาที่ตนมีอยู่ จึงไม่พยายามนำปัญญานั้นออกใช้ และประมาทปัญญาผู้อื่น ไม่คิดว่าผู้อื่นมีปัญญาพอจะรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ ของตน ความประมาทนี้ ล้วนเป็นทางแห่งความตายทั้งสิ้น เพราะการใช้เล่ห์เหลี่ยมนั้นย่อมีผู้มีปัญญารู้ทัน ๆ ย่อมรังเกียจผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยม จึงย่อมต้องตายจากชื่อเสียงเกียรติยศนั้นแน่นอน

O ปัญญาในการเอาชนะกิเลส

ปัญญา ที่ไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง คือ ปัญญาในการเอาชนะกิเลส หนีไกลจากกิเลส ไม่ให้กิเลสชนะ การชนะกิเลสได้ครั้งหนึ่ง ก็คือ การก้าวไกลจากกิเลสได้ช่วงหนึ่ง ถ้าเอาชนะกิเลสได้หลายครั้งติดกัน ก็จะก้าวไกลจากกิเลสได้หลายช่วง จะไกลกิเลสได้เป็นอันมาก และแม้เอาชนะกิเลสได้ทุกครั้ง ก็จะก้าวไกลกิเลสได้ตลอดไป

O ถ้าไม่ใช่ปัญญาให้ดี เมื่อนั้นก็จะพ่ายแพ้แก่กิเลส

กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้นมีฤทธิ์ร้ายแรงมาก ดังนั้นเมื่อใดประมาทปัญญา คือไม่ใช้ปัญญาให้ดี เมื่อนั้นก็จะพ่ายแพ้แก่กิเลส ไม่อาจเอาชนะกิเลสได้ ไม่อาจก้าวไกลจากกิเลสได้ ประมาทปัญญาเพียงไร พ่ายแพ้แก่กิเลสเพียงนั้น จะอยู่ใกล้กิเลสเพียงนั้น กิเลสจะให้โทษแก่จิตใจรุนแรงเพียงนั้น ความประมาทปัญญาที่สำคัญยิ่ง คือ ความคิดว่าไม่อาจเอาชนะกิเลสได้ ไม่อาจก้าวไกลจากกิเลสได้ เมื่อจะโลภก็ต้องโลภ เมื่อจะโกรธก็ต้องโกรธ เมื่อจะหลงก็ต้องหลง

O ผู้มีปัญญา ย่อมมีสติรู้ทันกิเลสทั้งปวง


เมื่อความโลภเกิดขึ้น แม้มีสติรู้ว่าความโลภเกิดแล้ว ผู้ประมาทปัญญาอย่างยิ่ง ย่อมไม่ใช้ปัญญาพยายามเอาชนะความโลภ ย่อมยอมโดยดีให้ความโลภเป็นฝ่ายชนะประชิดติดใจอยู่ ใจจึงไม่อาจไกลจากกิเลสได้ตามสมควร เมื่อความโลภเกิดขึ้น ผู้ไม่ประมาทปัญญาย่อมมีสติเกิดทัน ย่อมใช้ปัญญาเต็มที่ หนีไกลจากความโลภอันเป็นเครื่องเศร้าหมอง

O ผู้มีปัญญารู้ว่ากิเลสทั้งปวงเป็นเครื่องเศร้าหมอง


ผู้มีปัญญาทุกคนรู้ว่า ทั้งความโลภ ทั้งความโกรธ ทั้งความหลง เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมอง และทุคนมีปัญญา ทุคนจึงรู้เช่นนี้ แต่เมื่อรู้แล้ว ผู้ไม่ประมาทปัญญาเท่านั้นที่จะใช้ปัญญาคิดว่า สิ่งใดเป็นความเศร้าหมอง ไม่ควรเข้าใกล้สิ่งนั้น ไม่ควรให้สิ่งนั้นเข้าใกล้ ควรหลีกหนีให้สุดความสามารถเสมอ ถือพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง ทรงหนีกิเลสได้ไกลแล้วจริง

O พระผู้ทรงห่างไกลจากกิเลสแล้วจริง

พระ พุทธเจ้าทรงได้รับถวายพระนามว่าอรหันต์ ซึ่งหมายความว่า ทรงเป็นผู้ไกลกิเลสแล้วจริง พระพุทธสาวกทั้งหลายที่ได้รับ ถวายนามว่า พระอรหันต์ ก็เป็นผู้ไกลกิเลสแล้วจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นที่เทิดทูนศรัทธาอย่างยิ่งจริงก็เพราะความทรงเป็นผู้ไกลกิเลสแล้ว จริง พระอรหันตสาวกเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา ก็เพราะความเป็นผู้ไกลกิเลสแล้วจริง ความไกลกิเลสจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผู้ไม่ประมาทปัญญาพึงอบรมปัญญาเต็มความสามารถ เพื่อได้เป็นผู้ไกลกิเลสได้มากเป็นลำดับไป จนถึงได้เป็นผู้ไกลกิเลสจริงในวันหนึ่ง

O ปัญญาที่ประกอบด้วยศรัทธาต่อพระพุทธองค์
ทำให้ไกลจากกิเลสได้จริง พ้นทุกข์ได้จริง


กิเลส คือความโลภนั้น ผู้ไม่ประมาทปัญญาย่อมบิดเบือนความรู้ความเข้าใจของตนให้ผิดจากความถูกต้อง คือ รู้แก่ใจว่า ความโลภเป็นความไม่ดี แต่บิดเบือนความรู้นั้นที่ว่า ความรู้สึกอยากได้ที่เกิดขึ้นในใจตนไม่ใช่ความโลภ จึงไม่ใช่เป็นความไม่ดี เมื่อบิดเบือนความจริงเสียเช่นนี้ ก็เท่ากับประมาทปัญญา ไม่ใช้ปัญญาหลีกให้พ้นความโลภแม้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ย่อมตายเพราะความประมาทปัญญาเช่นนี้

ดังมีตัวอย่างปรากฏอยู่ไม่ว่าง เว้น การคดโกงปล้นจี้ลักขโมยล้วนเกิดแต่ความโลภ และความโลภนี้เกิดจากความประมาทปัญญา ที่ทำให้สิ้นชีวิตติดคุกติดตะรางบ้าง เป็นทั้งความตายอย่างสิ้นชีวิต ทั้งความตายอย่างสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ ผู้ประมาทปัญญาพยายามบิดเบือนความโลภ ว่าไม่เป็นความโลภ แต่มิใช่ว่าจะสามารถบิดเบือนโทษของความโลภให้เป็นคุณของความไม่โลภได้ไม่ ความโลภต้องให้โทษ ความไม่โลภต้องให้คุณ แน่นอนเสมอไป

O ผู้มีปัญญา ยอมรับความโลภเป็นความโลภ
ย่อมไม่ได้รับโทษของความโลภนั้น


ผู้ ไม่ประมาทปัญญา ย่อมรับความโลภเป็นความโลภ ย่อมไม่ได้รับโทษของความโลภ เพราะเมื่อยอมรับว่าเป็นความโลภ ก็ย่อมรู้ว่ามีโทษ จึงเป็นธรรมดาย่อมใช้ปัญญาหลีกไกลความโลภ เพื่อให้ไกลจากโทษของความโลภนั้น ไม่ต้องร้อน ไม่ต้องถูกเผาผลาญเพราะโทษนั้น


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๓. ตนแลเป็นที่รักยิ่งของตน

O ตนแลเป็นคติของตน


ที่มักกล่าวว่า คนนั้นพาไปดี คนนี้พาไปไม่ดีนั้นไม่ถูก ไม่มีผู้ใดจะพาใครไปไหนได้นอกจากเจ้าตัวจะเป็นผู้พาตัวเองไป ผู้อื่นเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น ถ้าตัวเองไม่พาตัวเองไปดีแล้ว ก็ไม่มีผู้อื่นใดจะสามารถนำตนไปดีได้อย่างแน่นอน เช่น มีผู้ชวนให้ทำบุญทำกุศล ถ้าตัวเองไม่ยอมเห็นด้วย ก็จะไม่ทำบุญทำกุศล ต้องตัวเองยอมเห็นด้วยจึงจะทำ ไม่ว่าเรื่องใดทั้งนั้น ถ้าตัวเองไม่เห็นดีเห็นงามตามไปด้วย แล้ว ก็ไม่มีผู้ใดจะมานำไปได้ ท่านจึงว่า “ตนเป็นคติของตน”

O จงลืมตาดูให้เห็นแสงประทีปแห่งธรรม
แล้วดำเนินไปตามทางแสงแห่งพระธรรม

ถ้า ชอบจะพาตนไปสู่ที่ดี ที่สว่าง ไม่ใช่ที่ชั่ว ที่มืด ก็ต้องรู้ว่า ผู้นำคือตนเองนั้น จะต้องรู้ลู่ทางไปสู่ที่ดีที่สว่างให้ถนัดชัดแจ้ง ไม่เช่นนั้นก็จะพาไปไม่ถูก นั่นคือต้องรู้ว่า ทำอย่างไรจะไปสู่ที่ดีที่สว่างได้ ไม่หลงไปสู่ที่ชั่วที่มืด พระพุทธศาสนาชี้ทางดีทางสว่างไว้อย่างละเอียดลออหมดแล้ว ดีน้อย ดีมาก สว่างน้อย สว่างมาก มีชี้ไว้ชัดเจนในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงตามประทีปไว้แล้ว เราต้องอย่าปิดตา แต่จงลืมตาดูให้เห็นแสงประทีปนั้น เห็นทางที่มีแสงประทีปนั้นส่องอยู่ แล้วดำเนินไปตามทางที่สว่าง เพื่อให้ไม่ประสบพบภยันตรายที่แอบแฝงอยู่ในความมืด

พึงสังเกตว่า ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่แสงประทีปที่พระพุทธองค์ทรงจุดตามไว้ให้เท่านั้น แต่ต้องอยู่ที่ตนเองของทุกคนด้วย ถ้าพากันปิดตาแล้วก็เดินไป ก็ย่อมจะไปสู่ที่มืด ไปสู่ที่ชั่ว มีอันตรายร้อยแปดประการได้ แต่ถ้าพากันลืมตาขึ้นดูให้เห็น แล้วก็เดินไปตามทางที่สว่าง ก็ย่อมจะไปสู่ที่สว่าง ไปสู่ที่ดีได้ นี่แหละที่ท่านกล่าวว่า “ตนเป็นคติของตน” คือ เป็นทางไปของตน

O พึงรักษาวิธีเดินให้จงดี จักได้เดินอย่างถูกทาง


ไม่มีผู้ใดอยากมีหนทางชีวิตที่มืด มีแต่อยากมีหนทางชีวิตที่สว่างด้วยกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นก็ต้องอบรมตนให้รู้จักทางให้ดี ทางมืดก็ให้รู้ ทางสว่างก็ให้รู้ ไปสู่ที่มืดก็ให้รู้ ไปสู่ที่สว่างก็ให้รู้ จะรู้ได้ถูกต้องก็ด้วยอาศัยการศึกษาพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอนไว้ เมื่อรู้แล้วก็พึงศึกษาวิธีเดินทางให้จงดี เดินทางสว่างท่านเดินกันอย่างไร ต้องศึกษาให้ดี เดินอย่างไรจึงจะเป็นเดินทางมืด และขึ้นชื่อว่าทางมืดแล้ว ต้องมีอันตรายแอบแฝงอยู่อย่างไม่ต้องสงสัย จึงไม่ควรเสี่ยงเดินส่งเดชไป อบรมใจให้ดี ให้ตาใจสว่างจะได้เดินถูกทาง สามารถทำตนให้เป็นคติของตนได้

O ตนแลเป็นที่รักยิ่งของตน


“ตนแลเป็นที่รักยิ่ง” พุทธศาสนสุภาษิตนี้ เตือนให้ระลึกรู้ว่าต้องรักษาตนให้จงดี ให้เป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงไม่ใช่ได้รับโทษที่แฝงมาในรูปของ ประโยชน์ อันประโยชน์ที่ปิดบังเร้นโทษไว้ภายในนั้นมีเป็นอันมาก แม้ไม่พิจารณาให้รอบคอบแล้วยากจะแลเห็น จะเห็นแต่ประโยชน์เพียงผิวเผิน และแม้จะได้รับประโยชน์ ก็จะได้เพียงเล็กน้อยชั่วครู่ชั่วยาม หลังจากนั้นก็จะได้รับโทษเป็นอันมาก ทำเช่นนี้กล่าวได้ว่า ทำไปอย่างไม่คำนึงให้ถูกต้องว่า ตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่ง

ผู้ที่เห็น ว่าตนเป็นที่รักอย่างยิ่ง มักจะมุ่งแสวงหาลาภยศให้แก่ตน คิดว่า เมื่อตนมีลาภมียศ ก็เท่ากับตนมีคุณสมบัติสมกับตนเป็นที่รักอย่างยิ่ง ถ้าเป็นลาภยศที่สุจริต ได้มาอย่างเหมาะสม ถูกต้องตามเหตุผล ก็เป็นการถูกต้องที่จะมอบให้กับผู้เป็นที่รักอย่างยิ่ง คือตนนี้แล ถ้าแสวงหาลาภยศอย่างไม่สุจริต ไม่เหมาะสม เพื่อมอบให้แก่ตน ด้วยคิดว่า เป็นการแสดงความรักตน เช่นนี้ไม่ถูก เป็นการไม่รักตน เป็นการไม่ถือว่าตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่ง

รักตนต้องถนอมห่วงใยรักษา รักตนอย่างยิ่งต้องถนอมห่วงใย รักษาอย่างยิ่ง อย่าว่าแต่ความสกปรกมากมายเป็นความเสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างมากเลย แม้ความมัวหมองเพียงเล็กน้อย ผู้ที่รักตน มีตนเป็นที่รักอย่างยิ่งก็ไม่พึงทำ ยิ่งกว่านั้น ผู้มีตนเป็นที่รักอย่างถูกต้องแท้จริง ยังไม่เพียงรักษาแต่ชื่อเสียงเกียรติยศ อันเป็นความงามภายนอกเท่านั้น ยังเป็นการรักษาจิตใจอันเป็นสมบัติภายในให้งามล้ำค่าอย่างยิ่งอีกด้วย

O มุ่งรักษาตนให้มีค่า สมกับมีตนเป็นที่รักอย่างยิ่ง

ผู้ มีปัญญาอย่างยิ่งทั้งหลาย ที่ท่านพยายามอบรมปัญญาที่ถูกที่ชอบ เพื่อให้ปัญญานั้นชำระล้างความสกปรกเศร้าหมองของใจออกให้หมดสิ้น ก็เพราะท่านเห็นว่า ตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่งความโลภ ความโกรธ ความหลง ล้วนเป็นเครื่องเพิ่มความสกปรกเศร้าหมองของจิต เมื่อรู้จริงว่าตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่ง ก็ต้องพยายามชำระล้างความสกปรกนั้น เพื่อให้ลดน้อยจากจิตใจ จนถึงให้หมดไปในที่สุด

ที่ท่านสอนให้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เพราะท่านมุ่งให้รักษาตนให้มีค่า สมกับมีตนเป็นที่รักอย่างยิ่ง ผู้ใดไม่รู้สึกว่าตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่ง ก็อาจจะไม่ต้องปฏิบัติตามที่ท่านสอนไว้นี้ แต่ถ้าผู้ใดคิดว่าตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่ง ก็พึงปฏิบัติละโลภ โกรธ หลง ตามที่ท่านสอนเว้เถิด

O ความรักผู้อื่นเสมอด้วยตนไม่มี

“ความรักผู้อื่นเสมอด้วยตนไม่มี” นี้เป็นพุทธศาสนาสุภาษิตมีความหมายว่า ทุกคนล้วนมีตนเป็นที่รักที่สุดด้วยกันทั้งนั้น เรารักตัวเราที่สุด ผู้อื่นก็รักตัวเขาที่สุด จะคิดจะพูดจะทำอะไรทั้งนั้น ต้องไม่ลืมนึกถึงพุทธศาสนาสุภาษิตบทนี้ นึกให้ฝังมั่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจได้เพียงไร ก็จะยิ่งดีเพียงนั้น เรารักตัวเรา คนอื่นทุกคนก็รักตัวเขา เราไม่อยากให้ใครทำอะไรตัวเรา คนอื่นทุกคนก็ไม่อยากให้เราทำเช่นนั้นแก่ตัวเขาเหมือนกัน เราอยากให้ใครทำดีกับตัวเราอย่างไร คนอื่นทุกคนก็อยากให้เราทำดีกับตัวเขาอย่างนั้น

ผู้ใดสามารถรักษาจิต ใจ รักษาวาจา รักษาการกระทำให้เป็นไปเพื่อไม่เป็นการให้ทุกข์ให้ร้อนแก่ผู้อื่นนั้น ไม่เรียกว่าเป็นการทำเพื่อผู้อื่น แต่เป็นการทำเพื่อตนเอง เป็นการถือว่าตนเป็นที่รักของตนอย่างยิ่ง ไม่มีความรักอื่นเสมอด้วยความรักตน

O การที่ไม่รักผู้อื่น เป็นการทำให้ตนเองต่ำ

ผู้ที่สามารถรักษากายวาจาใจของตนให้ดีได้นั้น คือ ผู้ที่รักตนอย่างยิ่ง เพราะความรักตนอย่างยิ่งจึงทำให้ประพฤติปฏิบัติดี เพื่อให้ตนเป็นคนดี ผู้ที่ถือเอาการได้มาด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่เลือกสุจริตทุจริต ไม่ใช่ผู้รักตน ผู้ที่มีกิริยาวาจาหยาบคายก้าวร้าว ทิ่มแทงหลอกลวง ไม่ใช่ผู้รักตน ไม่ใช่ผู้ที่จะทำให้ตนสวัสดีได้ ตรงกันข้าม การทำเช่นนั้นเป็นการไม่รักตน แม้จะคิดว่าเป็นการที่ทำเพราะไม่รักผู้อื่นก็ตาม แต่ความจริงแท้เป็นการไม่รักตน เป็นการทำให้ตนต่ำทราม

เมื่อจะคิด ชั่วพูดชั่วทำชั่วเมื่อใด ขอให้นึกถึงตนเอง นำว่าตนเป็นที่รัก ไม่ควรทำลายตนเหมือนตนเป็นที่รังเกียจเกลียดชังอย่างยิ่ง จนถึงควรต้องทำลายเสีย การคิดชั่วพูดชั่วทำชั่ว คือ การทำลายตนอย่างแน่แท้

O การทำความเดือดร้อน
ให้เกิดแก่คนใด สัตว์ใด เป็นบาปทั้งสิ้น


บาป นั้น ส่วนหนึ่งเข้าใจกันว่า หมายถึง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเขาเท่านั้น แต่ที่จริงมีความหมายกว้างไกลกว่านั้น การทำความเดือดร้อนให้เกิดแก่คนใด สัตว์ใด เป็นบาปทั้งสิ้น เป็นสิ่งไม่ควรทำทั้งสิ้น เพราะเมื่อทำแล้วย่อมเป็นไปตามพุทธศาสนสุภาษิตว่า “คนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง” เมื่อจะทำบาป ไม่ว่าบาปมากบาปน้อยก็ตาม บาปมากก็คือ การฆ่าเขา บาปน้อยก็คือการทำให้เขาเดือดร้อนทรมานด้วยประการต่าง ๆ หรือทำให้เขาเสื่อเสียชื่อเสียง ทำให้เขาเจ็บช้ำน้ำใจ ดังนี้เป็นต้น

เมื่อจะทำบาปดังกล่าว แม้เป็นเพียงก่อนลงมือทำ เพียงคิดจะทำ ดำริจะทำ ขอให้ดูใจของคน ดูให้เห็นว่ามีความผ่องใส หรือว่ามีความขุ่นมัว มีความเย็นหรือว่ามีความร้อน ขอให้ดู แล้วจะเห็น จะเห็นแน่นอนว่า ใจเป็นเช่นไร เป็นความเศร้าหมองไม่ใช่หรือ เป็นความร้อนไม่ใช่หรือ พอใจจะให้ใจเป็นเช่นนั้นหรือ ถ้าพอใจเช่นนั้นจงทำลาปกรรมนั้นเถิด ถ้าไม่พอใจ จงอย่าทำบาปกรรมนั้นเลย

O กรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลเพียงทางใจ
ความเศร้าหมองก็จะเกิดแก่ตนเองทันที


กรรม คือ การกระทำ ทั้งกรรมดี คือ กุศลกรรม และกรรมชั่ว คือ อกุศลกรรมหรือบาปกรรม ไม่เพียงถึงต้องลงมือกระทำทางกาย แม้เพียงคิดดำริก็เป็นกรรมแล้ว เป็นกรรมทางใจ หรือที่เรียกว่า มโนกรรม พูดออกมาก็เป็นกรรมทางวาจา หรือเรียกว่า วจีกรรม เมื่อลงมือกระทำจึงเป็นกรรมทางกาย หรือที่เรียกว่า กายกรรม เป็นกายกรรมเมื่อไร ก็เป็นกรรมที่สมบูรณ์พร้อมเมื่อนั้น ให้ผลเต็มพร้อม ดีก็ดีพร้อม ให้ผลชั่วก็ชั่วพร้อม แต่แม้ว่าจะเริ่มก่อกรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลเพียงทางใจ ความเศร้าหมองก็จะเกิดแก่ตนเองทันที เป็นความร้อนด้วยเจตนาบ้าง เป็นความเศร้าหมองขุ่นมัวด้วยเจตนาบ้าง เป็นความสลดสังเวชหวาดกลัวที่จะต้องกระทำบ้าง เหล่านี้รวมเป็นความเศร้าหมองแก่ตนเองทั้งสิ้น

การทำบาป เหมือนการนำน้ำโสโครกน้ำสกปรกมาทาตน ตนย่อมโสโครกย่อมสกปรก ย่อมเศร้าหมอง การไม่ทำบาปก็เปรียบเหมือนการไม่นำน้ำโสโครกมาทาตน ตนย่อมหมดจดจากความโสโครกความสกปรก บางทีการทำบาปเหมือนได้ผลดี เช่น การลักขโมยคดโกง เหมือนมีผลดี เพราะเป็นทางให้ได้มาอย่างน้อยก็ได้ทรัพย์สินเงินทองทันตาทันใจ ขโมยเขาทันทีได้เงินทันที ถ้าไม่ถูกจับได้เสียก่อนอย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาพอควรย่อมเห็นความเศร้าหมองของใจก่อนทำการขโมย ในขณะขโมย และหลังขโมยแล้ว แม้จะยินดีที่ได้รับทรัพย์สินเงินทอง แต่ก็มีความเศร้าหมองหวาดระแวงโทษที่จะได้รับ ส่วนผู้ไม่ได้คิดลักขโมยหรีอคิดโกงใคร เป็นต้น อันเป็นบาป ย่อมไม่มีความเศร้าหมอง หวาดระแวง หวั่นกลัวอาญาอย่างแน่นอน

O ผู้มีความสุจริต จะพบความผ่องใส ไม่เศร้าหมอง


ผู้มีความสุจริต คิดสุจริต พูดสุจริต ทำสุจริต แม้จะเพียงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ชั่วเวลาใดเวลาหนึ่ง แล้วลองพิจารณาใจตนเองตลอดเวลานั้น จะพลความผ่องใส ไม่เศร้าหมอง เพราะไม่ต้องรับรู้ความจริง ว่าตนกำลังคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี อันเป็นบาป ความเศร้าหมองของผู้ทำบาปนั้น ไม่มีเพียงภายในใจเท่านั้น มีทั้งภายนอกด้วย ความรู้เห็นของผู้อื่นย่อมเป็นเหตุให้ผู้อื่นเห็นความสกปรกเศร้าหมองของผู้ ทำบาป ความหมดจดของผู้ทำบาปก็เช่นกัน ไม่มีเพียงภายในใจเท่านั้น มีทั้งภายนอกด้วย ความรู้เห็นของผู้อื่นย่อมเป็นเหตุให้ผู้อื่นเห็นความหมดจดของผู้ไม่ทำบาป ด้วย จึงความพิจารณาให้ดี ว่า จะความทำตนให้เศร้าหมองหรือให้หมดจด

O คนเห็นแก่ประโยชน์ตน คือ คนเห็นแก่ตัว


พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งมีความว่า “มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด” คนไม่สะอาด คือ คนมีความมัวหมอง คนเห็นแก่ประโยชน์ตน คือ คนเห็นแก่ตัว สิ่งที่จะทำให้คนหรือมนุษย์มัวหมอง คือ กิเลส เพราะกิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมอง กิเลสเครื่องเศร้าหมองมีอยู่ในผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นเศร้าหมอง ทำให้มัวหมอง คือ ไม่สะอาดนั่นเอง ผู้มีกิเลสเปรอะเปื้อน จะเป็นคนสะอาดได้อย่างไร เหมือนเสื้อผ้าที่เปรอะเปื้อน ก็ต้องไม่ใช่ผ้าสะอาด ผ้าที่สะอาดต้องไม่ใช่ผ้าที่เปรอะเปื้อน ผู้ปรารถนาจะเป็นคนสะอาดหมดจดสวยงาม มีหนทางเดียว ที่จะช่วยให้เป็นไปได้ คือ ต้องพยายามไกลจากความโลภ ความโกรธ ความหลง คือ ต้องพยายามจนถึงไกลได้จริงในวันหนึ่ง เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงทำได้แล้ว และพระอรหันตสาวกทั้งหลายท่านทำได้แล้ว

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๔. ตนเป็นที่พึ่งของตน

O ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้


ผู้มีปัญญา เห็นค่าของตนที่ฝึกแล้ว ย่อมยินดีที่จะเผชิญความยาก ความยากแม้มากมายเพียงไรก็ตาม ย่อมให้ผลเป็นความมีค่าแห่งจิตใจตน เป็นความมีค่าแห่งตนเอง เป็นผลที่คุ้มกับความยากลำบาก ที่ต้องต่อสู้เพื่อให้การฝึกตนเป็นไปด้วยดี มีผลสำเร็จสมดังความมุ่งมาดปรารถนา “บัณฑิตหรือคนดีมีปัญญา ย่อมกล้า ย่อมพร้อม ที่จะรับความยากทั้งหลาย เพียงเพื่อได้มีโอกาสฝึกตน”

O ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นแสงสว่างของชีวิต

ผู้เป็นคนดี ย่อมสามารถนำตนไปสู่ความดีงามต่าง ๆ ได้ นำตนไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้ และสามารถนำผู้อื่นไปสู่ความดีงามต่าง ๆ ได้ นำผู้อื่นไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้ด้วย ท่านจึงกล่าวว่า “ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นแสงสว่าง เป็นเครื่องส่องทาง เป็นเครื่องนำชีวิต เป็นเครื่องยังชีวิตให้สว่าง” ถ้าต้องการเป็นแสงสว่างทั้งของคนเองและของผู้อื่น ก็ต้องฝึกตนให้เป็นคนดี หนีให้ไกลจากความโลภโกรธหลงให้มากที่สุด

O กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองของชีวิต


กิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเครื่องเศร้าหมอง มีอยู่ที่ใด ย่อมทำให้ที่นั้นเศร้าหมอง มีอยู่ใกล้ผู้ใดย่อมทำให้ผู้นั้นเศร้าหมอง เปรียบดังฝุ่นละออง จับต้องเข้าที่ใดสิ่งใด ย่อมทำที่นั้นสิ่งนั้นให้หมองมัว กิเลสจึงเป็นสิ่งที่ความหลีกให้ไกล

O กิเลสจะปกคลุมจิตใจที่ไม่ได้รับการระวังรักษา


กระจก หน้าต่าง ประตู หรือกระจกเงา เป็นต้น ที่ใสสะอาดอยู่เดิม แต่ไม่ได้รับการเช็คถูกนานเข้า ฝุ่นละอองที่มีอยู่ทั่วไป แม้ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า จับมากขึ้นตามวันเวลาที่ล่วงไป ย่อมทำให้กระจกหน้าต่าง ประตู หรือกระจกเงา เป็นต้นนั้นมีความสกปรกขุ่นมัวปกคลุมมากขึ้น จนปิดบังสภาพใสสะอาดเดิมได้ ฉันใด กิเลสที่มีอยู่ทั่วไปทุกคนทุกแห่ง แม้ไม่อาจแลเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็จะปกคลุมจิตใจที่ไม่ได้รับการระวังรักษา ทำให้สภาพที่ใสบริสุทธิ์ประภัสสรของจิตเดิมไม่อาจปรากฏได้ ฉันนั้น นึกภาพกระจกที่ฝุ่นจับหนา แล้วก็นึกถึงใจที่ไม่พยายามหนีให้ไกลจากกิเลส นี้เป็นเช่นเดียวกัน

O จิตที่ปกคลุมอยู่ด้วยกิเลส
ย่อมเป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน


จิตที่ความใสสะอาดบริสุทธิ์ประภัสสร ไม่อาจปรากฏได้เลย คือ จิตของผู้ที่ยังเกลือกใกล้กับกิเลสมากหลาย กิเลสยังปกคลุมหุ้มห่อจิตอยู่แน่นหนามาก มากทั้งโลภะ มากทั้งโทสะ มากทั้งโมหะ ผู้มีจิตเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุแห่งความเดือดร้อนนานาประการ ทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น รวมเรียกได้ว่าแก่โลก จิตเช่นนั้นจึงเป็นที่รักเกียจ “โลก” มิได้มีความหมายเพียงดาวดวงหนึ่งในจักรวาล แต่โลก หมายถึง ทุกคน ทุกสัตว์ คือ หมายถึง เรา หมายถึง เขา นั่นเอง เราเดือดร้อน เขาเดือดร้อน นั่นก็กล่าวได้ว่าโลกเดือดร้อน จึงอย่าแยกเรา แยกเขา พึงถือเป็นโลกด้วยกัน กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมอง ความเศร้าหมองไม่ทำให้ผู้ใดมีความสุข ทำให้มีความทุกข์ความร้อนเท่านั้น มีความร้อนยังมีอยู่ทั่วโลกทุกวันนี้ ก็เพราะคนยังยอมให้กิเลสครอบงำจิตใจอยู่อย่างหนาแน่น ความทุกข์ความร้อนที่เกิดแก่โลกให้รู้ให้เห็นประจักษ์อยู่ คือ กระจกส่องให้เห็นความหนาแน่นของกิเลส ที่เข้าห้อมล้อมจิตใจผู้คนทั้งหลาย

O ความทุกข์ ความร้อน ตั้งต้นที่ใจของตนเอง

การ จะทำความทุกข์ความร้อนให้บรรเทาเบาบาง ห่างจากโลกไป จึงอยู่ที่ต้องทำใจตนเองของแต่ละคน ให้มีกิเลสเข้าครอบคลุมน้อยที่สุด บางเบาที่สุด ผู้ที่มีกิเลสครอบคลุมใจมาก ก่อนความร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นมาก เป็นที่เข้าใจกันว่า ผู้นั้นเป็นคนไม่ดี แม้ตัวเองจะคิดว่าตนเป็นคนดี แต่ความจริงหาเป็นคนดีไม่ คนมีกิเลสห่อหุ้มใจมาก จะเป็นคนดีไม่ได้ พึงสำนึกในความจริงข้อนี้ และรู้จักตนเองให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ปรับปรุงตนเองให้เป็นคนดีให้ได้ ไม่มีใครของคนไม่ดี ไม่มีใครปรารถนาจะเป็นคนไม่ดี เพียงแต่ไม่ทุกคนที่มีความเห็นชอบ จึงไม่ทุกคนที่จะรู้ตัวว่าตนเป็นคนไม่ดี ทั้ง ๆ ที่ก่อความเดือดร้อนให้แก่โลกอยู่ ด้วยถูกกิเลสครอบงำชักจูงไป

O ทุกคนต้องมีที่พึ่ง
การมีคนดีเป็นมิตร จึงจำเป็นอย่างยิ่ง


คน ดีหรือไม่ดี มีความเหมือนกันอยู่ประการหนึ่ง คือ ชอบคนอื่นที่ดี จึงชอบจะเลี้ยงดูบุตรหลานให้เป็นคนดี ให้คบคนดี มีสังคมที่ดี และตนเองก็ภูมิใจที่จะมีคนดีเป็นมิตรสหาย ภูมิใจที่จะได้อยู่ในสังคมคนดี โดยที่จะลืมความจริงที่สำคัญไปคือ คนดีนั้นย่อมไม่ปรารถนาจะมีคนไม่ดีอยู่ร่วม คนดีย่อมหลีกเลี่ยงคนไม่ดี เพราะคนดีย่อมรู้ว่า คนไม่ดี...ย่อมนำให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนวุ่นวายต่าง ๆ นานา

ดังนั้น แม้ปรารถนาจะมีสังคมที่ดี จึงต้องอบรมตนเองให้เป็นคนดี ให้กิเลสอยู่ใกล้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ คนไม่ดีเป็นคนให้ความทุกข์ความร้อน คนไม่ดีจึงเป็นที่พึ่งของใครไม่ได้ คนดีเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งได้ ทุกคนจำเป็นต้องมีที่พึ่งในเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง การมีคนดีเป็นมิตร จึงจำเป็นอย่างยิ่ง

O ตนแลเป็นที่พึ่งของตน คือ ทำตนให้เป็นคนดี


ผู้ที่จะยอมเป็นที่พึ่งของผู้ใดผู่หนึ่ง คือจะให้ผู้ใดพึ่ง จะต้องเห็นสมควร นั่นก็คือจะต้องเห็นว่าผู้ที่ตนจะให้พึ่ง ให้ความช่วยเหลือนั้น มีความเหมาะสมที่จะได้รับความช่วยเหลือในเรื่องใดหรือไม่ ถ้าไม่เห็นความสมควรก็คงไม่ช่วย นี้คือที่พุทธศาสนสุภาษิตกล่าวว่า “ตนและเป็นที่พึ่งของตน” ผู้มีปัญญาเห็นความหมายของพุทธสุภาษิตนี้ จึงตั้งใจทำตนให้เป็นที่พึ่งของตน คือ ทำตนให้เป็นคนดีนั่นแหละเป็นประการสำคัญ

O คนดีเป็นผู้ที่ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้


คนดีนั้นท่านกล่าวว่า เป็นผู้ที่ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ นี่มิใช่เรื่องอภินิหาร ถ้อยคำที่ฟังแล้วเหมือนเป็นเรื่องของอภินิหารนั้น ความจริงมีความหมายธรรมดา แต่ความหมายนั้นแอบแฝงอยู่เบื้องหลังเท่านั้น ผู้ที่ตกน้ำไม่ไหล คือ น้ำไม่พัดพาไปถึงให้ได้รับอันตราย ก็ไม่ได้หมายความว่า น้ำหยุดไหล แต่หมายความว่ามีผู้ช่วยนำขึ้นให้พ้นน้ำได้ ผู้ที่ตกไฟไม่ไหม้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ไฟไม่ไหม้เนื้อหนังร่างกายจริง ๆ แต่หมายความว่ามีผู้ช่วยให้พ้นจากไฟ หรือช่วยดับไฟให้ ตนจึงพ้นจากภัยอันเกิดจากไฟนั้น ความหมายที่แท้จริงของตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ก็คือถึงคราวตกทุกข์ได้ยาก มีอันตราย ก็จะมีผู้ช่วย หรือมีเหตุการณ์มาทำให้สวัสดีได้

O ต้องทำตนให้เป็นที่พึ่งของตน ก่อนจะหวังพึ่งผู้อื่น

ผู้ที่มีความดีเพียงพอจะเป็นที่พึ่งของตนเองได้ ย่อมสามารถมีผู้อื่นเป็นที่พึ่งได้ ผู้ไม่มีผู้อื่นเป็นที่พึ่ง คือ ผู้ที่ไม่มีความดีเพียงพอที่ผู้อื่นจะแลเห็นความดีนั้น ไม่แลเห็นความสมควรที่จะพึงให้ความช่วยเหลือ เมื่อผู้ไม่มีความดีเพียงพอนั้น ได้รับความเดือดร้อนด้วยเรื่องใดก็ย่อมไม่มีผู้ยินดีช่วยเหลือ ถ้าอย่างหนักแม้ถึงตาย ก็ย่อมขาดผู้ยื่นมือเข้าช่วย เปรียบดังตกน้ำก็ไหล ตกไฟก็ไหม้ หมายความว่า เมื่อมีอันตรายก็ไม่มีผู้ช่วย ดังนั้นจึงต้องทำตนเป็นเป็นที่พึ่งของตน ก่อนที่จะหวังพึ่งผู้อื่น ไม่ว่าในเรื่องใดทั้งสิ้น

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๕. ธรรมอันเป็นกำลัง

O ธรรมอันเป็นกำลัง 5 ประการ


พุทธภาษิตหรือธรรมะทั้งปวง ที่ประพุทธเจ้าทรงแสดงสอนมีความหมายหลายระดับ ตั้งแต่ระดับตื้นมีคุณในระดับนั้น ถึงระดับลึกซึ้ง เป็นคุณอย่างยิ่ง ยังให้พ้นความพ้นทุกข์ได้เป็นลำดับ ตั้งแต่ทุกข์น้อย ทุกข์ใหญ่ จนถึงความพ้นทุกข์ได้สิ้นเชิงจริง สำคัญที่ผู้มีบุญได้สดับรับฟังแล้ว จะต้องใคร่ครวญพิจารณาอย่างประณีตรอบคอบ ประกอบพร้อมด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อันเป็นกำลัง 5 ผู้มีธรรมอันเป็นกำลังทั้ง 5 ประการนี้ ย่อมสามารถเข้าถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ทรงสอนเพื่อให้มีผู้รู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ทรงสอนมีเหตุที่มีผู้อาจครองตามให้เห็นจริงได้ และทรงสอนเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์ควรแก่ความปฏิบัติ

O ศรัทธา : ความเชื่อ ความเลื่อมใสในธรรม

ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความเลื่อมใสในธรรมเป็นกำลัง 5 ประการ
ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่นในประพุทธเจ้า ว่าทรงตรัสรู้ คือ ทรงรู้แจ้งในทุกสิ่ง ทรงรู้แจ้งโลก ไม่มีผิดแม้แต่น้อยในสิ่งที่ทรงตรัสรู้ สิ่งใดที่รับสั่ง สิ่งใดทีทรงแสดงสอน สิ่งทั้งปวงนั้นล้ว เป็นสัจจะ ล้วนเป็นความจริง ล้วนเป็นความถูกต้อง

O วิริยะ : ความเพียรบากบั่นในธรรม


วิริยะ คือ ความเพียรความบากบั่นในธรรมเป็นกำลัง 5 ประการ
วิริยะ คือ ความบากบั่นพากเพียรพยายามศึกษา ใคร่ครวญตรึกตรอง ทำความเข้าใจปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสอนให้ได้ผลสำเร็จ

O สติ : ความระลึกได้ในสิ่งที่ทำ คำที่พูด

สติ คือ ความระลึกได้ถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นาน ในธรรม เป็นกำลัง 5 ประการ
สติ คือ ความระลึกได้ถึงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ และความระลึกได้ถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูดของตน และของผู้อื่นทั้งนั้น ที่เคยได้พูดได้ทำได้ยินได้ฟังได้รับรู้ อันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประกอบความคิดของตนให้เกิดปัญญา หนึ่งในธรรมเป็นกำลัง 5 ประการ

O สติเปรียบดั่งหางเสือควบคุมเรือชีวิต


ผู้ขยันอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทขยันแล้วก่อให้เกิดความสำเร็จ ความเจริญ และประเภทขยันแล้วก่อให้เกิดความล้มเหลว ความเสื่อม ผู้ขยันจึงต้องมีสติ สติเป็นตัวสำคัญ ท่านเปรียบสติเป็นหางเสือเรือที่จะควบคุมเรือชีวิตให้ดำเนินไปอย่างสวัสดี แม้จะมีมรสุมชีวิตหนักบ้างเบาบ้างผ่านเข้ามาตามแรงแห่งกรรมของตน

O สติเป็นความระลึกได้ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต


ผู้มีสติ คือ ผู้มีความระลึกได้ถึงเหตุถึงผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ประสบพบผ่าน เกี่ยวกับเรื่องที่ได้ยินได้ฟังได้รู้ได้เห็น เกี่ยวกับสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานในอดีต มีสติระลึกได้ถึงเหตุถึงผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กำลังประสบพบผ่าน เกี่ยวกับเรื่องราวที่กำลังได้ยินได้ฟังได้รู้ได้เห็นเกี่ยวกับสิ่งที่กำลัง ทำคำกำลังพูดในปัจจุบัน มีสติระลึกได้ถึงเหตุถึงผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะต้องประสบพบผ่าน เกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องได้ยินได้ฟังได้รู้ได้เห็น เกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องทำคำที่จะต้องพูดในอนาคต สติเป็นความระลึกได้ทั้งสามกาล

O ความมีสติทั้งปวงที่เกิดขึ้น
เป็นเหตุแห่งความรอบคอบ ใคร่ครวญ

ความมีสติระลึกได้ในเหตุในผลในเรื่องทั้งปวง ที่เกิดขึ้น ที่ประสบพบผ่าน และที่พูดที่ทำด้วยตนเอง ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ย่อมเป็นเหตุให้รอบคอบใคร่ครวญก่อนที่จะพูดจะฟังจะทำการทั้งปวง เพราะสติความระลึกได้ ย่อมจักทำให้ระลึกได้ว่า การพูดการทำสิ่งใดเป็นคุณหรือเป็นโทษอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการพูดการทำของตนเอง หรือการพูดการทำของผู้อื่นใดที่ตนประสบพบผ่านก็ตาม ความมีสติระลึกได้ จะทำให้เว้นจากการพูดการทำสิ่งที่เป็นโทษ จะพูดจะทำแต่สิ่งที่เป็นคุณ เป็นการไม่ทำให้ความไม่ดีเกิดซ้ำรอย เป็นการทำให้ความดีเกิดเนือง ๆ

ความมีสติระลึกได้จะทำให้เว้นการการพูดการทำสิ่งที่เป็นโทษ ไม่เป็นประโยชน์ จะพูดจะทำแต่สิ่งที่เป็นคุณเป็นประโยชน์ สติความระลึกได้เช่นนี้มีคุณนัก เปรียบได้ทั้งหางเสือเรือคอยบังคับเรือชีวิตให้สวัสดี และเป็นได้ทั้งครูผู้อบรมสั่งสอนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักพาล รู้จักบัณฑิต คือ รู้จักคนชั่วคนดี

O คนมีสติ ทำให้มีธรรมของคนดีบริบูรณ์


สติความระลึกได้จักยังสัปปุริสธรรม ธรรมของคนดีให้มีบริบูรณ์ทั้งความรู้จักเหตุ ความรู้จักผล ความรู้จักตน ความรู้จักประมาณ ความรู้จักกาล ความรู้จักประชุมชน ความรู้จักบุคคล ความมีสติระลึกอยู่ในเหตุผลทุกกาลเวลา ทั้งเหตุทั้งผลในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต คือ ความมีสัปปุริสธรรม ธรรมของคนดี จักเป็นเหตุให้มีการงานสะอาด เพราะผู้มีสตินั้น ก่อนจะทำการใด จักใคร่ครวญด้วยดี เว้นการเป็นโทษ ทำแต่การเป็นคุณ และมีสติเตือนตนอยู่เสมอให้สำรวมทั้งกายวาจาใจในความดีงาม ความสงบเรียบร้อย และถูกต้อง จึงอาจกล่าวได้ว่า ความมีสติจะทำให้เป็นผู้อยู่ในธรรม ไม่อยู่ในความประมาทอันเป็นทางแห่งความตาย

O สมาธิ : ความตั้งจิตมั่น


สมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่น ในธรรมเป็นกำลัง 5 ประการ
สมาธิ คือ ความสำรวมใจมั่นคงในศรัทธา ในวิริยะ ในสติ คือ มีใจเชื่อมั่นคงจริงในพระพุทธเจ้า ผู้ทรงตรัสรู้จริงแล้ว มีใจตั้งมั่นจริงที่จะพากเพียรศึกษา ปฏิบัติพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มีใจมั่นแน่วแน่สำรวมสติรู้สึกตัวอยู่เสมอ ในการคิดในการพูดในการทำ รวมทั้งในการดูในการฟังเพื่อสามารถระลึกได้ทุกเวลา ถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้ว...แม้นาน ทั้งของตน ทั้งของผู้อื่น พร้อมระลึกได้ถึงเหตุถึงผลของการพูดกรทำนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระลึกได้ทุกเวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ อันจักนำมาซึ่งปัญยานั่นเอง

O ปัญญา : ความรอบรู้


ปัญญา คือ ความรอบรู้ ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิดในธรรมเป็นกำลัง 5 ประการ
ปัญญา คือ ความคิดใคร่ครวญข้อธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอนเป็นการใช้ปัญญาพิจารณาพระ ปัญญาของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดปัญญาเป็นความรู้ความเข้าใจจริงของตน มิใช่เป็นพระปัญญาของพระพุทธเจ้าที่ตนจดจำไว้

ผู้ใดเพียงรับฟังมาและจดจำไว้ ซึ่งความรู้จริงของผู้อื่น แต่มิได้รู้จริงด้วยในเรื่องใด ผู้นั้นยังไม่มีปัญญาในเรื่องนั้น


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๖. อำนาจยิ่งใหญ่ของใจ

O "ความพอ" เป็นเรื่องของใจ


ความคิดอย่างหนึ่ง ที่สมควรฝึกให้เกิดขึ้นเป็นประจำ คือ ความคิดว่า “พอ” คิดให้ “รู้จักพอ” ผู้รู้จักพอจะเป็นผู้ที่มีความสบายใจ ส่วนผู้ไม่รู้จักพอจะเป็นผู้ร้อนเร่า แสวงหาไม่หยุดยั้ง ความไม่รู้จักพอมีอยู่ใต้แม้ในผู้เป็นใหญ่เป็นโต มั่งมีมหาศาล และความรู้จักพอก็มีได้แม้ในผู้ที่ยากจนต่ำต้อย ทั้งนี้เพราะความพอเป็นเรื่องของใจที่ไม่เกี่ยวกับฐานะภายนอก คนรวยที่ไม่รู้จักพอ ก็เป็นคนจนอยู่ตลอดเวลา คนที่รู้จักพอ...ก็เป็นคนมั่งมีอยู่ตลอดเวลา

O การยกระดับใจให้มั่งมีนั้นทำได้ทุกคน


การยกฐานะจากยากจนให้มั่งมีนั้น ทำได้ไม่ง่าย บางคนตลอดชาตินี้อาจทำไม่สำเร็จ แต่การยกระดับใจให้มั่งมีนั้น ทำได้ทุกคน แม้มีความมุ่งมั่นจะทำจริง คนรู้จักพอไม่ใช้คนเกียจคร้าน และคนเกียจคร้านก็ไม่ใช่คนรู้จักพอ ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง แล้วอบรมตนเองให้ไม่เป็นคนเกียจคร้าน แต่ให้เป็นคนรู้จักพอ

เมื่อรู้สึกไม่สบายใจ ให้รีบระงับเสียทันที อย่าชักช้า ตั้งสติให้ได้ในทันที รวมใจไม่ให้ความคิดวุ่นวายไปสู่เรื่องอันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ความไม่สบาย ใจ อย่าอ้อยอิ่งลังเลว่าควรจะต้องคิดอย่างนั้นก่อน ควรจะต้องคิดอย่างนี้ก่อน ทั้ง ๆ ที่ความไม่สบายใจหรือความร้อนเริ่มกรุ่นขึ้นในใจแล้ว ถ้าต้องการความสบายใจ ก็ต้องเชื่อว่าไม่มีความคิดใดทั้งสิ้นที่จำเป็นต้องคิดก่อนทำใจให้รวมอยู่ ไม่ให้วุ่นวายไปในความคิดใด ๆ ทั้งนั้น ต้องเชื่อว่าต้องรวมใจไว้ให้ได้ ในจุดนี้ไม่มีเรื่องอันเป็นเหตุแห่งความร้อนเกี่ยวข้อง

O การจะทำให้ความยากลำบากคลี่คลาย
ต้องกระทำเมื่อจิตใจสงบเยือกเย็นแล้วเท่านั้น


ที่ท่านสอนให้ท่องพุทโธก็ตาม ให้ดูลมหายใจเข้าออกก็ตาม นั่นคือ การสอนเพื่อให้ใจไม่วุ่นวายซัดส่ายไปหาเรื่องร้อน เป็นวิธีที่จะให้ผลแท้จริงแน่นอน ไม่ว่าจะเผชิญกับความยากลำบากกายใจอย่างใดทั้งสิ้น ให้มั่นใจว่าการจะทำให้ความยากลำบากนั้นคลี่คลาย จะต้องกระทำเมื่อมีจิตใจสงบเยือกเย็นแล้วเท่านั้น ใจที่เร่าร้อน ขุ่นมัว ไม่อาจคิดนึกตรึกตรองให้เห็นความปลอดโปร่งได้ ไม่อาจช่วยให้ร้ายกลายเป็นดีได้

O ใจที่สงบ เยือกเย็น มีสติปัญญาเข็มแข็งมาก


อย่าคิดว่าเป็นความงมงาย เป็นการเสียเวลา ที่จะปฏิบัติสิ่งที่เรียกกันว่า “ธรรม” ในขณะที่กำลังมีปัญหาประจำวันวุ่นวาย ขอให้เชื่อว่า ยิ่งมีปัญหาชีวิตมากมายหนักหนาเพียงไร ยิ่งจำเป็นต้องทำจิตใจให้สงบเยือกเย็นเพียงนั้น พยายามฝืนใจไม่นึกถึงปัญหายุ่งยากทั้งหลายเสียชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เพื่อเตรียมกำลังไว้ต่อสู้แก้ไข กำลังนั้นคือ อำนาจที่เข้มแข็งบริบูรณ์ด้วยปัญญาของใจที่สงบ ใจที่สงบ มีพลังเข้มแข็ง และเข้มแข็งทั้งสติปัญญา ใจที่สงบจะทำให้มีสติปัญญามากและแจ่มใส ไม่ขุ่นมัว

ความ แจ่มใสนี้เปรียบเหมือนแสงสว่าง ที่สามารถส่องให้เห็นความควรไม่ควร คือ ควรปฏิบัติอย่างไร ไม่ควรปฏิบัติอย่างไร ใจที่สงบก็จะรู้ชัดถูกต้อง ตรงกันข้ามกับใจที่วุ่นวายไม่แจ่มใส ซึ่งเปรียบเหมือนความมืด ย่อมไม่สามารถช่วยให้เห็นความถูกต้อง ความควรไม่ควรได้ มีแต่จะพาให้ผิดพลาดเท่านั้น

O หมั่นพิจารณาให้เห็นโทษของความโลภ


ความ โลภ ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นได้เลย วัตถุสิ่งของเงินทองทั้งหลายที่ได้จากความโลภนั้น ดูเผิน ๆ เหมือนเป็นการยกฐานะ เพิ่มความมั่นคง แต่ลึกลงไปเป็นการทำลายมากกว่า สิ่งที่ได้รับจากความโลภ มักจะเป็นสิ่งไม่สมควร มักจะเป็นการได้จากความต้องการเสียของผู้อื่น ผู้อื่นทั้งหลายที่ต้องเสียนั่นแหละจะเป็นเหตุทำลาย ความไม่ไว้วางใจของคนทั้งหลาย จะเป็นเครื่องทำลายอย่างยิ่ง จะเป็นเหตุให้อะไรร้าย ๆ ตามมา เมื่อถึงเวลา อะไรร้าย ๆ นั้นก็จะทำลายผู้มีความโลภจนเกินการ เมื่อเวลานั้นมาถึงก็จะสายเกินไป จนไม่มีผู้ใดจะช่วยได้ ฉะนั้นก็ควรหมั่นพิจารณาให้เห็นโทษของกิเลส คือ ความโลภเสีย ตั้งแต่ยังไม่สายเกินไป

O นับถือพระพุทธเจ้า ต้องนับถือให้ถึงใจ


ถ้า ความโลภเป็นความดี พระพุทธเจ้าก็จักไม่ทรงสอนให้ละความโลภ และพระองค์เองก็จะไม่ทรงพากเพียรปฏิบัติละความโลภ จนเป็นที่ปรากฏประจักษ์ว่าทรงละความโลภได้อย่างหมดจดสิ้นเชิง เป็นแบบอย่างที่บริสุทธิ์ สูงส่ง ยั่งยืนอยู่ตลอดมาจนทุกวันนี้ แม้ว่าจะได้ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้วกว่าสองพันห้าร้อยปี เราเป็นพุทธสาสนิก นับถือพระพุทธเจ้า อย่าให้สักแต่ว่านับถือเพียงที่ปาก ต้องนับถือให้ถึงใจ การนับถือให้ถึงใจนั้นต้องหมายความว่า ทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างไรต้องตั้งใจทำตามให้เต็มสติปัญญาความสามารถ

ที่สวดกันว่า...
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ...ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ...ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ...ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
หมายถึง จะปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ อย่างจริงจัง

O เมื่อมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
และปฏิบัติตาม จะได้รับความสุขสวัสดีอย่างยิ่ง


พระ พุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนให้สวดมนต์เพื่อขอร้องวิงวอน ให้ทรงบันดาลให้เกิดความสุขสวัสดีโดยเจ้าตัวเองไม่ปฏิบัติดี ความหมายในบทสวดมีอยู่บริบูรณ์ ที่ผู้สวดจะได้รับผลเป็นความสุขความเจริญรุ่งเรืองถ้าปฏิบัติตาม แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามความหมายของบทสวดมนต์ หรือเช่นไม่ปฏิบัติตามที่สวดว่า ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ก็จะไม่ได้รับผลอันเลิศที่ควรได้รับเลย ฉะนั้นจึงควรปฏิบัติให้ได้ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง คือ ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติ ปฏิบัติตามพระธรรมที่ทรงสั่งสอน และปฏิบัติตามพระสงฆ์สาวกที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างไว้เถิด จะได้รับความสุขสวัสดีอย่างยิ่งตลอดไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม

O ความเห็นถูกไม่ตลอด ทำให้เกิดกิเลส


“ไม่มีผู้ใดเลยที่เห็นว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความดี”

ทุกคนเห็นว่าไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น นับว่าเป็นความเห็นถูก แต่เพราะเห็นถูกไม่ตลอด จึงเกิดปัญหาในเรื่องกิเลสสามกองนี้ขึ้น ที่ว่าเห็นถูกไม่ตลอดก็คือ แทบทุกคนไปเห็นว่าคนอื่นโลภ โกรธ หลง ไม่ดี แต่ไม่เห็นด้วยว่าตนเองโลภ โกรธ หลง ก็ไม่ดีเช่นกัน กลับเห็นผิดไปเสียว่า ความโลภ โกรธ หลง ที่เกิดขึ้นในใจคนนั้น ไม่มีอะไรไม่ดี นี่คือความเห็นถูกไม่ตลอด ไปยกเว้นที่ว่าดีที่ตนเอง เมื่อเห็นผู้อื่นที่โลภ โกรธ หลง น่ารังเกียจเพียงใด ให้เห็นว่าตนเองที่มีความโลภ โกรธ หลง นั้นน่ารังเกียจยิ่งกว่า แล้วพยายามทำตนให้พ้นจากความน่ารังเกียจนั้นให้เต็มสติปัญญาความสามารถ จะเรียกได้ว่า เป็นผู้มีปัญญา ไม่ปล่อยตนให้ตกอยู่ใต้ความสกปรกของความโลภ โกรธ หลง

O เมื่อเห็นคนโลภ คนโกรธ คนหลง
นับเป็นโอกาสอันงาม ที่จะนำมาพิจารณาตนเอง


โอกาส ที่จะได้เห็นคนโลภ คนโกรธ คนหลง มีอยู่ทุกเวลานาที เรียกได้ว่าโอกาสที่จะดูตนเองให้เห็นโทษเห็นผิดของตนเองนั้น มีอยู่มากมายทุกเวลานาทีเช่นเดียวกัน สำคัญที่ว่าจะต้องไม่ละเลยปล่อยโอกาสอันงามนั้นให้พ้นไป อย่าลืมนึกถึงตนเองด้วยทุกครั้งไปที่พบเห็นคนโลภ คนโกรธ คนหลง การแก้ความวุ่นวายทั้งหลายนั้น ที่ถูกแท้จะให้ผลจริง ต้องต่างคนต่างพร้อมใจกันแก้ที่ตัวเองเท่านั้น พร้อมใจกันและแก้ที่ตัวเองเท่านั้นที่จะให้ผลสำเร็จได้จริง

O อำนาจที่ยิ่งใหญ่ของใจ

ไม่มีอำนาจของบุคคลอื่นใด ที่จะสามารถบังคับบัญชาให้ใครหันเข้าแก้ไขตนเองได้ นอกจากอำนาจใจของเจ้าตัวเองเท่านั้นที่จะบังคับตัวเอง ทั้งยังจะต้องเป็นอำนาจใจที่เกิดจากปัญญาความเห็นถูกด้วย จึงจะสามารถนำให้หันเข้าแก้ไขตนเอง ควรพยายามทำความเชื่อให้แน่นอนมั่นคงเสียก่อน ว่าการแก้ที่ตนเองนั้นสำคัญที่สุด ต้องกระทำกันทุกคน ผลดีของส่วนรวมของชาติ ของโลกจึงจะเกิดขึ้นได้ ทุกคน ขอให้เริ่มแก้ที่ตัวเองก่อน แก้ให้ใจวุ่นวายเร่าร้อนด้วยอำนาจของกิเลสมีโลภ โกรธ หลง ให้กลับเป็นใจที่สงบเย็นบางเบาจากกิเลส คือ โลภ โกรธ หลง

ที่เคยโลก มาก...ก็ให้ลดลงเสียบ้าง ที่เคยโกรธแรง...ก็ให้โกรธเบาบางลง ที่เคยหลงจัด...ก็ให้พยายามใช้สติปัญญาให้ถูกตามความจริงให้มากกว่าเดิม ตนเองเป็นผู้สงบเย็นก่อน ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดความสงบเย็นกว้างขวางออกไปได้อย่างไม่ต้องลังเลสงสัย

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๗. อย่าตกเป็นทาสของกิเลส

O ความดี เป็นเหตุให้ชื่อสกุลดำรงอยู่อย่างชื่นชม
ความชั่ว เป็นเหตุให้ชื่อสกุลดำรงอยู่อย่างดูถูก


พระพุทธเจ้าทรงเป็นพยานยืนยันความจริงที่ว่า ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ พระพุทธสรีระ คือ ร่างกายของพระพุทธเจ้าย่อยยับไปนานนักแล้ว นับเป็นเวลากว่าสองพันปี แต่ชื่อและสกุลของพระองค์ท่านหาได้ย่อยยับไปด้วยไม่ ยังดำรงอยู่อย่างมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้ พระนามของพระพุทธองค์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางแต่เป็นที่รู้จักอย่าง เทิดทูนบูชาศรัทธาเลื่อมใสอย่างสูงส่ง

ทำให้น่าคิดว่า ชื่อและสกุลที่ไม่ย่อยยับนั้น แตกต่างกันเป็นสองลักษณะกว้าง ๆ คือ ลักษณะหนึ่ง ดำรงอยู่อย่างเป็นที่ดูหมิ่น ดูแคลน อีกลักษณะหนึ่ง ดำรงอยู่อย่างเป็นที่ชื่นชม ยกย่อง สรรเสริญ ความแตกต่างนั้น ทุกคนน่าจะเข้าใจว่าเป็นเพราะเหตุสำคัญ คือ ความดี กับ ความชั่ว

ความดี จะเป็นเหตุให้ชื่อและสกุลดำรงอยู่อย่างเป็นที่ชื่นชม ยกย่อง สรรเสริญ
ความชั่ว จะเป็นเหตุให้ชื่อและสกุลดำรงอยู่อย่างเป็นที่ดูหมิ่น ดูแคลน รังเกียจเหยียดหยาม

O ความไม่รอบคอบในการจัดการกับกิเลส

น่าจะกล่าวได้ว่าทุกคนรักชื่อรักสกุลของตน แต่ความไม่รอบคอบในการจัดการกับกิเลส ทำให้คนเป็นอันมากทำลายชื่อ ทำลายสกุลของตนเอง ทำให้ชื่อให้สกุลของตนดำรงอยู่อย่างย่อยยับ ถ้าชื่อและสกุลจะย่อยยับไปเสียพร้อมกับร่างกาย ก็ย่อมจะดีกว่า คือ ถ้าตัวตาย ร่างกายเปื่อยเน่าสลายไป ชื่อและสกุลก็สลายไปพร้อมกัน ก็จะไม่มีอะไรน่ากังวลห่วงใยนัก

แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น ร่างกายย่อยยับแล้ว ไม่มีเหลืออยู่แล้ว แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ ยังเหลืออยู่ ผู้ร่วมสกุลผู้อยู่หลังยังมีอยู่ ยังร่วมรับรู้เกี่ยวกับชื่อและสกุลของเราอยู่ จนเป็นเหตุให้ชื่อและสกุลที่ดำรงอยู่เป็นที่รังเกียจเหยียดหยาม นำความอับอายขายหน้า ความเสื่อมเสีย มาสู่ผู้ร่วมสกุลทั้งหลายที่ร่างกายยังไม่ย่อยยับ

O อย่าตกเป็นทาสของกิเลส

จงรอบคอบในการปฏิบัติจัดการกับกิเลสทั้งปวง ที่มีอยู่ในใจตนอย่าตกเป็นทางของกิเลส เมื่อยังไม่สามารถหนีไกลกิเลสได้พ้นจริง ก็ต้องเข้มแข็งประณีตในการปฏิบัติทุกอย่างให้ฉลาดเหนือกิเลส ให้กิเลสอยู่ใต้เราไม่ใช่ให้เราอยู่ได้กิเลส

O ตราบใดที่กิเลสยังไม่ไกลจากจิตสิ้นเชิง
ตราบนั้น...ยังไม่ควรหยุดขับไล่กิเลส


แต่ที่ถูกต้องที่สุด ควรปฏิบัติที่สุดก็คือ พยายามขับไล่กิเลสออกพ้นใจให้เต็มสติปัญญาความสามารถ โลภก็ตาม โกรธก็ตาม หลงก็ตาม ต้องพยายามขจัดไปให้พ้นจิตใจให้ได้ หมั่นสำรวจตรวจดูใจตนว่า สามารถทำได้ผลเพียงใดในแต่ละวัน แล้วไม่นอนใจไม่พอใจว่า ทำได้ผลเพียงพอแล้ว ตราบใดที่กิเลส ยังไม่ไกลจากจิตใจสิ้นเชิง ตราบนั้นยังไม่ควรหยุดขับไล่กิเลส

O ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะของใคร
เกิดจากใครอื่น นอกจากเจ้าตัวเอง


โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง รงมีพระพุทธดำรัสเช่นนี้ เป็นสัจจะความจริงเช่นนี้ ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะของใคร เกิดจากใครอื่น นอกจากเจ้าตัวเอง ไม่ว่าจะมากน้อยหนักเบา โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเองทั้งสิ้น และที่จะเกิดได้ก็ด้วยอาศัยสื่อ คือ ความคิดปรุง ปรุงคิดอันเกิดจากอวิชชาความรู้ไม่ถูก รู้ไม่จริง

O ความคิดที่ไม่มีอวิชชาตัณหาเป็นพลังประกอบ
จะไม่ทำให้เกิดโลภะ โทสะ และโมหะได้เลย


ความโลภ โกรธ หลง ของผู้ใด จะเกิดก็เพราะความคิดปรุงของผู้นั้น ความคิดปรุงที่มีอวิชชาตัณหาเป็นพลังสำคัญที่ส่งเสริม จึงจะทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดได้ ความคิดปรุงที่ไม่มีอวิชชาตัณหาเป็นพลังประกอบ จะไม่ทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือโลภะ โทสะ โมหะ เกิด

ดังนั้น ความคิดปรุงจึงมีสองอย่าง อย่างหนึ่งประกอบด้วยกิเลส อย่างหนึ่งไม่ประกอบด้วยกิเลส และแม้จะมีกิเลสเป็นพื้นอยู่ที่จิตใจ แต่ถ้าไม่มีความคิดปรุงมากระตุ้นให้ปรากฏตัวแล้ว กิเลสก็จะสงบตัวอยู่เหมือนไม่มี ความคิดปรุงอันประกอบด้วยกิเลส ที่ทำให้โลภะ โทสะ โมหะ แสดงตัว ก็เป็นโลภะ โทสะ โมหะที่ใจตัวเอง ไม่ใช่โลภะ โทสะ โมหะของใครอื่น จึงเป็นความจริง เป็นสัจจะที่ควรพยายามให้รู้ ให้เห็น ตามที่พระพุทธเจ้ารับสั่งว่า โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง

O โลภะ โทสะ โมหะ ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว
ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น


พระพุทธเจ้ารับสั่งไว้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น พระพุทธดำรัสนี้ชี้ชัดว่า ทรงกล่าวถึงกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะว่าเป็นความชั่ว มีอยู่ที่ใจทำให้ใจชั่ว มีอยู่ที่ใจผู้ใด ทำให้ผู้นั้นมีใจชั่ว ดังพระพุทธดำรัส และขุยไผ่นั่นก็เกิดจากต้นไผ่เอง ทำให้ต้นไผ่ต้องตายเอง ทรงเปรียบกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ กับขุยไผ่ ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ กิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ มีอยู่ที่ใจผู้ใด ย่อมฆ่าผู้นั้น ทำให้ผู้นั้นเป็นผู้ตายทั้งเป็น คือ ถูกฆ่าทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่

พระพุทธพจน์ หรือ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เปรียบได้ดังวิชาความรู้ที่ต้องศึกษาและสอบให้ผ่าน ไม่เช่นนั้นก็จะบรรลุผลไม่ได้ ผู้มุ่งมาบริหารจิตจึงต้องหมั่นยกสัจจะที่ตรัสสั่งสอนไว้ขึ้นพิจารณา เหมือนท่องบ่นวิชาทั่วไปทั้งหลาย จนเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจของตนเอง เป็นผลที่ตนเองได้รับ ได้เสวยตามควรแก่ความพากเพียรศึกษาปฏิบัติ จนเป็นความรู้ความเข้าใจจริง

O พระพุทธองค์ ผู้มีมหากรุณาอย่างหาที่เปรียบมิได้

พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย นับว่าเป็นผู้มีบุญ เป็นผู้ได้เปรียบเพราะมีพระพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ คือ ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรู้แจ้งทุกสิ่งทุกอย่าง และทรงรู้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่ทรงรู้ผิดอันเป็นอวิชชา พระพุทธเจ้าไม่ทรงเพียงรู้แจ้งโลกอย่างถูกแท้เท่านั้น แต่ทรงมีพระมหากรุณาอย่างหาที่เปรียบมิได้ต่อโลก มิใช่ต่อผู้หนึ่งผู้ใดเท่านั้นด้วย ดังนั้นจึงทรงแสดงความรู้ที่ทรงตรัสรู้อย่างเปิดเผยไม่ปกปิด เพื่อให้ผู้ยอมเชื่อฟังได้รับประโยชน์ นำไปปฏิบัติพาตนให้ดำเนินไปตามทางที่ทรงดำเนินถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง แล้ว

O วิธีบริหารจิตโดยตรง ให้ห่างไกลจากกิเลส

อันความคิดและสติปัญญาของบุถุชนเรา แตกต่างจากของพระพุทธเจ้าอย่างหาคำมาอธิบายให้ถูกไม่ได้ ดังนั้นจึงมีความตรงกันข้ามอยู่ในแทบทุกเรื่อง ที่เป็นความตรัสรู้ และที่เป็นความคิดเห็นของเราบุถุชนทั้งหลาย เป็นต้น ในความสุขและความทุกข์ที่เราเข้าใจว่าเป็นสุขก็ทรงแสดงว่าเป็นทุกข์ ที่เราเข้าใจว่า น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจ ก็ทรงแสดงว่าไม่น่าใคร่ไม่น่าปรารถนาพอใจ และที่เราเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่จะนำให้เกิดความสุข ก็ทรงแสดงว่าเป็นสิ่งที่จะนำให้เกิดความทุกข์ ดังนี้เป็นต้น

จึงสมควรที่จะใช้วิธีบริหารจิตโดยตรง คือ โดยยอมเชื่อว่า ไม่ว่าในเรื่องใดสิ่งใดทั้งนั้น ถ้าความคิดความเห็นของเราผิดจากของพระพุทธเจ้าแล้ว เราเป็นฝ่ายผิด ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง ตามของพระพุทธเจ้าให้เต็มสติปัญญาความสามารถ

O การดำรงชีวิตของคน เปรียบได้กับการเดินทาง

เปรียบ ชีวิตก็เหมือนทาง การดำรงชีวิตอยู่ของแต่ละคนเป็นเปรียบดังการเดินทางนั่นเอง แตกต่างกันเพียงว่าบางคนเดินอยู่บนทางที่สว่าง บางคนเดินอยู่บนทางที่มืด พระพุทธองค์ทรงประกาศว่า ทรงชูประทีปขึ้นส่องทาง ก็แสดงว่าทางของพระพุทธองค์เป็นทางที่สว่าง คือ ตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ชัดแจ้งว่า เป็นทางที่ถูกแท้ อันจักนำไปถึงจุดมุ่งหมายได้ได้สวัสดี ไม่พาไปตกหลุมตกเหวหรือเป็นเหยื่อของสัตว์ร้ายเสียก่อน

O กิเลสเปรียบเหมือนสัตว์ร้าย
หรือห้วงเหวที่มีอยู่เต็มทางแห่งชีวิตของทุกคน


ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น เปรียบได้กับสัตว์ร้าย หรือห้วงเหลวที่มีอยู่เต็มทางแห่งชีวิตของทุกคน ถ้าเราเดินไปตามทางที่มีประทีปส่องสว่าง คือ ทางที่มีคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ประกาศบอกอยู่ตลอดเวลานั่นคือ สัตว์ร้ายให้หลีกเลี่ยงด้วยการทำเช่นนั้นเช่นนี้ หรือนั่นคือเหว ให้หลีก ให้พ้นด้วยการเลี่ยงไปทางนั้นทางนี้ เหล่านี้เป็นต้น

เมื่อเลือกเดิน ทางของพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกว่ามีศรัทธาในพระพุทธเจ้า จึงควรใช้ศรัทธาให้ถูกต้องเต็มกำลังความสามารถอย่าท้อแท้ ลังเล ทรงสอนให้หลีกเลี่ยงอะไรควรตั้งใจปฏิบัติตาม ทรงสอนให้ทำอย่างไร ควรตั้งใจทำอย่างนั้น ที่แน่นอนที่สุดคือ ทรงสอนให้ไม่ทำบาป ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ให้ทำบุญทำกุศล ทำคุณงามความดีทุกอย่าง และให้ทำใจให้ผ่องใส คือ ไม่ให้ขุ่นมัวมืดมิดด้วยอำนาจของกิเลส คือ โลภ โกรธ หลง เมื่อมุ่งมาบริหารจิต ก็ต้องถือว่าเดินอยู่บนทางที่ทรงชูประทีปให้เห็นแสงสว่างชัดเจน เป็นแสงส่องทาง หรือแสงส่องใจ นั่นเอง

O ถ้าต้องการมีความสุข ต้องกำจัดกิเลสของตนเอง

ความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากกิเลส โลภะหรือราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ถ้าต้องการมีความสุข ก็ต้องกำจัดกิเลส กิเลสของตัวเอง กิเลสที่ใจตนเอง ไม่ใช่ไปตั้งหน้าจะกำจัดกิเลสของผู้อื่น เรื่องการกำจัดกิเลสนั้น จะได้ผลก็ต่อเมื่อเป็นการกำจัดกิเลสตนเอง คือ กิเลสของผู้ใด ผู้นั้นต้องกำจัด จะได้ผลยากมากหรือไม่ได้ผลเลย ถ้ามุ่งไปกำจัดกิเลสผู้อื่น เรื่องนี้สำคัญ ควรรำลึกไว้และปฏิบัติให้ถูก กำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลงที่ใจตน จึงจะเกิดผล กำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง ของผู้อื่นได้ผลยาก และอาจไม่ได้ผลเลย

ผู้มีปัญญาจึงมุ่งดู กิเลสของตน และกำจัดกิเลสของตนเท่านั้น ผู้ใดมุ่งกำจัดกิเลสของตนได้เพียงไหน จักมีความสุขเพียงนั้น นี้เป็นความจริงแท้

O เมื่อเห็นกิเลสในใจตน
ก็จะเห็นความสุขความทุกข์ในใจตนเองได้ด้วย


พึงเพ่งดูใจตนเอง ให้เห็นกิเลสที่ใจตนเอง ขณะเดียวกันจะสามารถเห็นความสุขความทุกข์ในใจตนเองได้ด้วย สำคัญอยู่ที่ว่าต้องใช้สติปัญญาให้ดี ให้ถูก ให้เห็นหน้าตาของกิเลสที่ใจตนให้ได้ อย่าเห็นกิเลสที่ใจตน แล้วหลงเข้าใจผิดว่าเป็นกิเลสของผู้อื่น มุ่งไปแก้ที่ผู้อื่น เช่นนี้จักไม่มีวันได้พบความสุข เพราะจักไม่มีเวลาที่กิเลสที่ใจตนถูกกำจัดให้ลดน้อยลง ความทุกข์จึงย่อมไม่หมดไป เพราะความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากกิเลส

O บันไดขั้นต้นของการทำกิเลสหใหมดจด
คือการไม่ทำบาปทั้งปวง และทำกุศลให้ถึงพร้อม


กล่าวได้แน่นอนว่า ไม่มีทางใดจะพาให้ถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้ นอกจากทางที่ดำเนินไปสู่ความหมดจดผ่องแผ้วของจิตใจเท่านั้น หมดจกจากอะไร แม้มีปัญหานี้ขึ้นก็ตอบได้ว่า หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง บันไดขั้นต้นของการทำกิเลสให้หมดจดก็คือ การไม่ทำบาปทั้งปวงและทำกุศลให้ถึงพร้อมนั่นเอง

O จิตผ่องใสพ้นจากกิเลสสิ้นเชิงเมื่อไร
ก็แสดงว่าพ้นทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง เมื่อนั้น


บันไดขั้นสุดท้าย คือ การชำระจิตใจให้ผ่องใส จิตใจผ่องใสเมื่อไร ก็แสดงว่าไกลจากกิเลสแล้วเมื่อนั้น จิตผ่องใสน้อยก็แสดงว่ากิเลสไกลจากจิตน้อย จิตผ่องใสมากก็แสดงว่ากิเลสไกลจากจิตแล้วสิ้นเชิง จิตผ่องใสพ้นจากกิเลสสิ้นเชิงเมื่อไร ก็แสดงว่าพ้นทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิงเมื่อนั้น นี่แหละพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า หาผู้ใดเล่าเปรียบเหมือน

O เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น จิตใจยิ่งมืดมัว

อัน ความโกรธเป็นความมืด มีคำเปรียบว่าโกรธจนหน้ามืด หน้ามืดหรือตามืดก็หมายความว่า แลไม่เห็น หรือเห็นไม่ชัด เห็นไม่ถูกต้องตามเป็นจริง ตามืดหรือตาบอดไม่ดีอย่างไร ความมืดที่เกิดจากความโกรธไม่ดียิ่งไปกว่านั้นอย่างประมาณไม่ได้ ความมืดที่เกิดจากความโกรธจะปรากฏครอบคลุมใจก่อให้เกิดความทุกข์ เหมือนผู้ที่เคยตาดีแล้วกลับตาบอด จะต้องเป็นทุกข์หนักยิ่งกว่าผู้ที่ตาบอดแต่กำเนิด

O พิจารณาจิตใจให้รอบคอบให้เห็นจริง
ขณะที่ความโกรธยังไม่เกิด และขณะที่เกิดขึ้น


จึงควรพิจารณาให้รอบคอบ ให้เห็นจริง ว่าเมื่อความโกรธยังไม่เกิด กับเมื่อความโกรธเกิดขึ้น ใจของตนแตกต่างกันอย่างไร เมื่อความโกรธเกิดขึ้น ใจตนมืดมัวจริงหรือไม่ ความมืดมัวของใจนั้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความโง่หรือความไม่มีปัญญาของใจ ความโกรธรุนแรงเพียงไร ความมืดของใจก็จะมากเพียงนั้น มืดสนิทเพียงนั้น ขาดปัญญาเพียงนั้น

ที่ว่าขาดปัญญานั้นก็เช่นเมื่อความโกรธเกิดขึ้นรุนแรง ใจมืดสนิท ปัญญาดับ เห็นอะไรก็จะไม่ถูก รู้อะไรก็จะไม่ถูก ความเห็นไม่ถูกรู้ไม่ถูกนี้แหละ จะนำให้เกิดความผิดพลาดอีกมากมายหลายอย่าง เป็นความผิดพลาดที่มักจะกล่าวกันว่าไม่น่าทำ หรือทำโง่ ๆ นั่นเอง

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๘. พึงรักษาใจให้ห่างไกลจากกิเลส

O แสงสว่างแห่งปัญญา
ดุจปราการห้อมล้อมรักษาใจ


พระพุทธเจ้า ทรงสอนให้รักษาใจให้ไกลจากกิเลส ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าแล้วจะควรเชื่อใครยิ่งกว่า กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มีอยู่เต็มโลก ทุกเวลานาที ทุกยุคทุกสมัย เพราะกิเลสเป็นสิ่งที่ฆ่าไม่ตาย ทำลายไม่ได้ แม้กิเลสเป็นสิ่งที่ฆ่าตายทำลายได้ พระพุทธเจ้าผู้ทรงยิ่งทุกอย่าง และทรงยิ่งด้วยพระกรุณาคุณ ย่อมจะทรงฆ่าทรงทำลายกิเลสให้หมดสิ้นแล้ว กิเลสย่อมไม่พ้นพระองค์ และอยู่หลงเหลือทำความร้อนความเศร้าหมองให้แก่โลกจนทุกวันนี้ แสงแห่งปัญญา เป็นอำนาจวิเศษที่เปรียบประดุจประการห้อมล้อมรักษาใจไว้ให้ไกลจากกิเลสได้ ไกลจากความร้อนของกิเลสได้ ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่ยิ่งคือ สิ้นเชิง

O วางใจให้ถูกที่...กิเลสเข้าไม่ถึงสัมผัสไม่ได้

กิเลสจะมีอยู่ท่วมท้นทันโลกเพียงไหน ก็จะเข้าใกล้ใจที่วางไว้ถูกที่ถูกทางไม่ได้ เปรียบเช่นจะวางอาหารในที่เต็มไปด้วยมดก็ย่อมทำได้ ด้วยการเลือกวางในที่มีน้ำหล่อล้อมไว้ มดเข้าไม่ถึง จะห้อมล้อมอยู่ได้แก้แต่นอกเขตน้ำ อาหารหาเสียหายไม่ ใจนี้ก็เปรียบเช่นเดียวกัน การรู้จักใช้ปัญญา เป็นอุบายวิธีวางใจให้ถูกที่ ในท่ามกลางกิเลสมากมายจึงสำคัญนัก วางใจไว้ให้ถูกที่แล้ว ความโลภก็ตาม ความโกรธก็ตาม ความหลงก็ตาม จะเข้าไม่ถึงใจสัมผัสไม่ได้

O ใจจักผ่องใสเมื่อห่างไกลจากความมืดของกิเลส

อาหารบางอย่างมดไม่ขึ้น วางไว้ไม่มีน้ำหล่อ มดก็ไม่ขึ้น นั่นไม่หมายความว่า ไม่มีมดในบริเวณนั้น มดนั้นมีอยู่ทุกแห่ง เพียงแต่ว่าจะปรากฏตัวออกมาให้เห็นมากน้อยเพียงไรหรือไม่เท่านั้น อาหารบางอย่างมดขึ้น บางอย่างมดไม่ขึ้น เหตุผลมีว่า เพราะอาหารบางอย่างมีกลิ่น ส่งกลิ่นออกไปนำมด มดไม่ได้เข้ามาเอง มดเข้ามาขึ้นอาหารเพราะถูกกลิ่นอาหารนั่นเองนำเข้ามา เมื่อเปรียบกิเลสเหมือนมด มดไม่ขึ้นอาหารที่ไม่ส่งกลิ่นออกไปชักนำฉันใด กิเลสก็ไม่ได้เข้าห้อมล้อมปกคลุมใจที่ไม่ส่งออกไปชักนำฉันนั้น

ความคิดปรุงแต่ง เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส คือ การส่งใจออกไปชักนำกิเลสเข้ามาห้อมล้อมจิตใจ เหมือนอาหารที่ปรุงแต่งด้วยกลิ่นของความหวานออกไปชักนำมดมารุมขึ้นอาหาร หยุดความคิดปรุงแต่งเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส กิเลสแม้มีอยู่เต็มโลก ก็ไม่เข้ามาห้อมล้อมใจ ใจย่อมผ่องใส สว่าง ห่างไกลความร้อนความมือของกิเลส

O เมื่อพบความผิดปกติแห่งใจ ต้องวางใจให้ถูกที่

ปกติเจ้าของใจจะประมาทอยู่เสมอ ไม่นึกถึงความโลภ ความโกรธ ความหลง ว่ามีอยู่จริง และมีเต็มไปในทุกที่ทุกเวลา หาว่างเว้น เจ้าของใจที่เป็นบุถุชนประมาทเช่นนี้ด้วยกันทั้งนั้น แต่เมื่อได้รับพระมหากรุณาจากพระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระปัญญาคุณ แม้เป็นบุถุชนยังไม่สิ้นกิเลส ก็พึงตั้งใจให้จงดี รับพระมหากรุณาให้ได้ ดังที่ทรงสอนไว้ให้ไกลกิเลส ให้ไกลความแผดเผาร้อนแรงแห่งกิเลส

เมื่อใดรู้สึกถึงความผิดปกติแห่งใจ เป็นความร้อน เป็นความกระวนกระวาย กระสับกระส่าย หรือวุ่นวายฟุ้งไปไม่สงบเป็นปกติ เมื่อนั้นให้รู้ว่าได้วางใจลงไปผิดที่แล้ว เช่นเดียวกับวางอาหารผิดที ไม่มีเครื่องป้องกัน ไม่มีน้ำหล่อกันมด เจ้าของอาหารจักย้ายที่อาหารเมื่อเห็นมดมาขึ้นฉันใด เจ้าของใจก็ถึงย้ายที่วางใจ คือ เปลี่ยนความคิดเมื่อเห็นอารมณ์ที่ไม่เป็นปกติฉันนั้น

O วิธียกใจย้ายที่ให้ไกลจากกิเลส

การย้ายที่วางอาหารหนีมด ทำได้ด้วยการหยิบยกเคลื่อนย้ายอาหารไปจากที่เดิม หรือหาเครื่องมากันหาน้ำมาหล่อ การย้ายที่วางใจหนีกิเลสก็ทำได้ด้วยการยกใจจากอารมณ์หนึ่งที่เศร้าหมองด้วย กิเลส ให้ไกลจากกิเลส สงบความร้อนรนกระวนกระวายฟุ้งซ่าน ก็คือ วิธีการยกเอาคำใดคำหนึ่งที่จะไม่นำใจไปสู่อารมณ์เศร้าหมองขึ้นภาวนา เช่น พุทโธ ภาวนาพุทโธ พุทโธ เช่นนี้ เป็นการยกใจย้ายที่ให้ไกลกิเลสได้ แม้เพียงชั่วระยะที่ตั้งใจภาวนาอยู่ แต่แม้ทำบ่อย ๆ ทำเสมอก็เป็นการทำใจให้คุ้นเคยกับความเป็นปกติ ความสงบคือ ความสุขที่แท้นั่นเอง

O เมื่อจิตสงบ ความผิดปกติแห่งจิตจะไม่เกิด


อันความคุ้นเคยนี้สำคัญเป็นอันมาก เมื่อคุ้นเคยกับความสงบ ความไม่สงบเกิดขึ้นเมื่อไร จะรู้ได้เมื่อนั้น ไม่เนินช้า และเมื่อรู้แล้วย่อมไม่ปรารถนาความไม่สงบ ย่อมปรารถนาจะได้ความสงบคืนมา ย่อมปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงทางปฏิบัติประทานไว้ เป็นทางที่ถูก ที่ตรง ที่ให้ผลแน่นอนตามควรแก่การปฏิบัติ และเมื่อความสงบแห่งจิตแห่งใจมีมากเพียงไร ปัญญาย่อมยิ่งขึ้นเพียงนั้น และปัญญานี้ที่จะเปลี่ยนความเป็นปกติ หรือความสงบแห่งใจเพียงชั่วระยะ เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ให้เป็นความปกติ ความสงบตลอดกาล ความผิดปกติหรือความไม่สงบจะไม่กลับมาอีกเลย

O รักษาใจ ให้ห่างไกลจากกิเลส

ปัญญายิ่งของคนทั้งหลายนั้น เกิดแต่พระปัญญาของพระพุทธเจ้าโดยแท้ ทรงแสดงพระปัญญาไว้ให้สามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาตาม โดยอาศัยปัญญาของตนเองเป็นกำลังสำคัญ พระปัญญาของพระพุทธเจ้าเป็นจริงอยู่แล้ว เหมือนวัตถุที่มีจริงอยู่ ปัญญาของตนเองที่จะพิจารณาตามพระปัญญาของพระพุทธองค์เหมือนดวงตา ปัญญาของผู้ใดมีเพียงพอจะเห็นตามรู้ตามพระปัญญาของพระพุทธเจ้าได้ ก็ย่อมจะรู้จะเห็นได้เช่นเดียวกับพระปัญญา ดวงตาของผู้ใดไม่มืดบอด หรือไม่ฝ้ามัว พอจะเห็นวัตถุได้ ก็ย่อมจะเห็นวัตถุที่มีจริงได้เป็นธรรมดา

ควรวางใจไว้ให้ถูกที่ ให้ไกลจากกิเลส ให้มีความเป็นปกติ มีความสงบ ย้ายที่วางใจทันทีเมื่อเห็นความไม่ปกติในอารมณ์ ไม่ว่าจะด้วยความโลภ หรือความโกรธ หรือความหลง ไม่รับไว้ทั้งสิ้น ให้ใจคุ้นเคยอยู่แต่กับความสงบ ความเป็นปกติ อันจะนำให้ปัญญามีกำลัง มีความสว่าง เมื่อปัญญามีกำลัง มีความสว่าง หยิบยกพระปัญญาของพระพุทธเจ้าขึ้นส่องทางไปสู่ความไกลกิเลส ก็จะสามารถทำได้สัมฤทธิ์ผล

O ความไม่มีกิเลสปกคลุมใจ เป็นความน่ารื่นรมย์

พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด คือ บ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์” พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเป็นผู้ไกลกิเลส ไกลจากความโลภ ความโกรธ ความหลง พุทธภาษิตนี้จึงมุ่งแสดงว่า ความไกลกิเลสหรือความไม่มีกิเลสปกคลุมใจ เป็นความน่ารื่นรมย์ ราคะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ หรือความโลภ โกรธ หลง เป็นกิเลส เป็นความเศร้าหมอง เป็นเครื่องยังให้เกิดความเศร้าหมอง อยู่ชิดใกล้จิตใจผู้ใด ย่อมยังให้จิตใจผู้นั้นเศร้าหมอง ดังนี้เป็นไปเช่นเหตุผลธรรมดา สุคนธชาติของหอม ที่มีความหอมอยู่ในตัว เมื่อมีอยู่ชิดใกล้ผู้ใด ย่อมยังผู้นั้นให้มีความหอมแห่งกลิ่นสุคนธชาตินั้นด้วย

ในทางตรงกัน ข้าม ของเน่าเหม็น ที่มีความเหม็นเน่าอยู่ในตัว เมื่อมีเกลือใกล้ผู้ใดอยู่ ย่อมยังผู้นั้นให้มีความเหม็นเน่าแห่งกลิ่นเน่าเหม็นนั้นด้วย ยิ่งกว่านั้นผู้มีความหอมแห่งกลิ่น ผู้มีความหอมแห่งกลิ่นสุคนธชาติ แม้เข้าชิดใกล้ผู้ใด หมู่คณะใด ย่อมยังผู้นั้นหมู่คณะนั้นให้ได้รับความหอมแห่งกลิ่นสุคนธชาตินั้นด้วย ผู้มีความเหม็นเน่าแห่งกลิ่นเน่าเหม็น แม้เข้าชิดใกล้ผู้ใดหมู่คณะใด ย่อมยังผู้นั้น หมู่คณะนั้นได้รับความเหม็นเน่าแห่งกลิ่นเน่าเหม็นนั้นด้วย

O ความคบบัณฑิต เป็นมงคลอย่างยิ่ง

พระพุทธเจ้าทรงแสดงมงคลประการหนึ่ง คือ ความไม่คบพาล ความคบบัณฑิต กิเลส โลภ โกรธ หลง คือ พาลที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้คบ ความไกลกิเลส โลภ โกรธ หลง คือ บัณฑิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คบ เพื่อความเป็นมงคล เพื่อความรื่นรมย์ของตน และเพื่อยังผู้อื่นให้รื่นรมย์ มากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับความใกล้ไกลกิเลสเพียงไหน

O ความหลง ทำให้มองไม่เห็นโทษของกิเลส


ส่วนมากความทุกข์ที่เกิดจากอำนาจของกิเลส ถูกปิดบังเสียด้วย ความหลง คือ ความหลงเห็นทุกข์เป็นสุข ความหลงทำให้ส่วนมากพากันไม่เห็นโทษของกิเลส พากันปล่อยตัวให้ตกอยู่ในความทุกข์ เพิ่มพูนความทุกข์ให้ยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มพูนกิเลสห่อหุ้มใจให้ยิ่งขึ้น ความทุกข์ความร้อนอันเป็นผลของกิเลสจึงเพิ่มมากขึ้นทุกที จนมีเสียงบ่นทุกคนแห่งว่า โลกมีแต่ความวุ่นวายเดือดร้อนเพราะเต็มไปด้วยคนร้าย

O ความดับกิเลส เป็นความดับจากทุกข์ทั้งหลาย

แม้โลกจะมีความวุ่นวายเดือดร้อนมากมาย เพราะเต็มไปด้วยคนร้าย แต่นั่นเป็นความทุกข์ความร้อนภายนอกที่จะเป็นความทุกข์ความร้อนภายในใจด้วย สำหรับผู้ยังไม่หมดจดจากกิเลสทั้งปวง แต่จะเป็นเพียงความทุกข์ความร้อนภายนอกเท่านั้นสำหรับผู้หมดจดแล้วจากกิเลส ทั้งปวง คือ เป็นความทุกข์ความร้อนที่ท่านผู้หมดจดแล้วจากกิเลส ท่านรู้ท่านเห็นว่ามีอยู่เท่านั้น แม้ท่านจะเมตตาแก้ไขจัดแจงให้เรียบร้อยด้วยอาการภายนอก มิได้ทอดทิ้ง แต่ก็มิได้เข้าถึงจิตใจท่าน มิได้ทำให้จิตใจของท่านเป็นทุกข์เดือดร้อนไปด้วย ท่านรู้ท่านเห็นความวุ่นความร้อนภายนอก แต่ภายในของท่าน คือ ความสงบเย็น ความเป็นปกติ นี่คือที่กล่าวว่า เป็นความดับจากทุกข์ทั้งหลาย

O ผู้ปรารถนาจะพ้นจากทุกข์
พึงพยายามไม่ปล่อยใจไปอยู่วงล้อมของกิเลส


แม้ไม่ปรารถนาจะเป็นทุกข์เพราะความวุ่นวายรอบกาย ก็พึงพยายามให้เต็มสติปัญญาความสามารถ ไม่ปล่อยใจเข้าไปอยู่ในวงล้อมของกิเลส แทนที่จะไปเสียเวลาเสียกำลังความคิดไป ตั้งหน้าจัดการกับกิเลสผู้อื่น ก็ให้ตั้งหน้าจัดการกับใจของตนเอง ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับกิเลส ทำได้เพียงไรก็จะเหมือนสามารถแก้ไขคนอื่นทั้งหลายให้กลายเป็นคนดีได้ทั้งโลก เพราะใจเราจะไม่เร่าร้อนเพราะผู้ใดเลย จะเหมือนคนทั้งโลกไม่ได้ก่อกรรมทำร้ายให้เราต้องกระกระเทือนใจเลย

O ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต

พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า “โลกอันจิตย่อมนำไป” โลกเล็ก ๆ ก็คือ ตัวเราของทุกคน จิตที่นำโลกเล็ก ๆ ไปก็คือ จิตของตัวเราทุกคน จิตของผู้ใดก็นำโลก คือ ตัวของผู้นั้นไป ไปไหนก็ได้ ไปดี ไปชั่ว ไปสุข ไปทุกข์ ไปสูง ไปต่ำ ทุกคนหรือทุกโลกเล็ก ๆ สามารถไปได้ทั้งนั้นถ้าจิตนำไป

จิตดีก็นำไปดี จิตชั่วก็นำไปชั่ว จิตสุขก็นำไปสุข จิตทุกข์ก็นำไปทุกข์ จิตสูงก็นำไปสูง จิตต่ำก็นำไปต่ำ จึงมีพุทธภาษิตกล่าวไว้แปลความว่า “เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้” การฝึกจิตเป็นความดี จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ จงตามรักษาจิตของตน พึงรักษาจิตของตนเหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต” เป็นต้น

O ความสงบ นำพาให้จิตเป็นสุข

ถ้าทำใจให้ผ่องใสเป็นสุขสงบได้ ปัญญาย่อมเกิดได้ในใจนั้น ย่อมยังให้รู้ได้ว่าควรคิดควรพูดควรทำอย่างไร เพื่อความเจริญรุ่งเรือง ความร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเรือนตน ของบ้านบ้านเมืองตน เลยไกลไปถึงเพื่อโลกที่ตนอาศัยอยู่นี้ ความสงบของจิตใจแต่ละคนนั้นแหละเป็นความสำคัญ ความรู้การควรไม่ควรจะเกิดได้ปัญญาจะมากมี ความยากจะไม่ปรากฏ

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๙. อำนาจแห่งความยึดมั่นของจิต

O ความผูกพันของจิต


สมัยพุทธกาล มีเรื่องของพระภิกษุรูปหนึ่ง มีจิตห่วงผ้าสบงจีวรที่เพิ่งได้มาใหม่ ซักตากไว้บนราว มรณภาพไปขณะผ้านั้นยังไม่แห้ง จิตที่ผูกพันในผ้าสบงจีวรนั้น ทำให้ไปเกิดเป็นตัวเล็นเล็ก ๆ เกาติดอยู่กับผ้า

พระภิกษุอีกรูปหนึ่ง เห็นผ้าสบงจีวรนั้นไม่มีเจ้าของแล้ว ก็จะนำไปใช้ พระพุทธองค์ทรงทราบ ได้ทรงมีพระพุทธดำรัสด้ามตรัสให้รอ เพราะพระภิกษุรูปนั้นจะสิ้นภพสิ้นชาติของการเป็นเล็นในเวลาเพียงไม่กี่วัน ถ้าไปนำสบงจีวรนั้นไปขณะยังเป็นเล็นอยู่ ก็จะโกรธแค้น จะไม่ได้ไปเสวยผลแห่งกุศลกรรมที่ได้ประกอบกระทำไว้เป็นอันมาก นี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ทรงรับรองว่าอำนาจจิตจะทำให้มนุษย์ไปเป็นสัตว์ได้

O กรรม...น่ากลัวยิ่งนัก พึงหนีให้พ้นอำนาจกรรม

เทวดามาเกิดเป็นมนุษย์ได้ มนุษย์ไปเกิดเป็นเทวดาได้ เทวดามาเกิดเป็นสัตว์ได้ สัตว์เกิดเป็นเทวดาได้ มนุษย์เกิดเป็นสัตว์ได้ และสัตว์ก็กลับเกิดเป็นมนุษย์ อำนาจอันยิ่งใหญ่ของกรรมเท่านั้น ที่ตกแต่งชีวิตให้เป็นไปได้อย่างไม่น่าเชื่อถึงเพียงนี้ กรรมจึงน่ากลัวจริง ๆ น่าหนีให้พ้นอำนาจกรรมจริง ๆ ทั้งกรรมในอดีตและกรรมในปัจจุบัน

O ชนกกรรม : กรรมอันเป็นเหตุนำให้เกิด

กรรม อันเป็นเหตุนำให้เกิด คือ ชนกกรรม เป็นกรรมสุดท้ายก่อนชีวิตจะขาดจากภพภูมินี้ กรรมสุดท้ายหรือเรื่องสุดท้ายที่จิตผูกพันคิดถึงอยู่คือ ชนกกรรมอันนำไปเกิด นึกถึงความดีเป็นบุญเป็นกุศล ในขณะก่อนจะดับจิต จิตก็จะไปสู่สุคติ นำกายไปสุคติด้วย นึกถึงความไม่ดีเป็นบาปเป็นอกุศล ในขณะก่อนจะดับจิต จิตก็จะไปสู่ทุคติ นำกายไปทุคติด้วย

จิตที่ใกล้จะ แตกดับนั้น ปกติเป็นจิตที่อ่อนมาก ไม่มีกำลังที่จะต้านทานใด ๆ ทั้งนั้น คุ้นเคยกับความรู้สึกใดเกี่ยวกับเรื่องใด ความรู้สึกนั้นเกี่ยวกับเรื่องนั้น ก็จะเข้าครอบงำจิต มีอำนาจเหนือจิต ทำให้จิตเมื่อใกล้ดับ ผูกพันอยู่กับความรู้สึกนั้น เกี่ยวกับเรื่องนั้น เมื่อจิตดับ คือ ออกจากร่าง ก็จากไปพร้อมกับความรู้สึกนั้น นำไปก่อเกิดกายที่ควรแก่สภาพจิตทุกประการ

ผู้ที่หวงสมบัติ กลัวจะมีผู้มานำไป ก่อนจะดับจิตมีใจผูกเฝ้าสมบัติอย่างหวงแหน เมื่อดับจิตก็เคยมีที่ไปเกิดเป็นงู เฝ้าอยู่ที่สมบัตินั้น ผู้ใดเข้าไปใกล้ก็จะแสดงตัวให้เป็นเป็นงูใหญ่

เช่นที่เล่ากันถึง เรื่องที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ว่า ข้าราชการผู้หนึ่งมีพระพุทธรูปที่หวงแหนมากอยู่องค์หนึ่ง เมื่อละโลกนี้ไป สหายไปเยี่ยมศพ ได้ขอดูพระองค์นั้น ขณะกำลังดูอยู่ก็มีงูตัวหนึ่งมาจากไหนไม่ปรากฏ มาแผ่แม่เบี้ยอยู่ใกล้ ๆ ผู้มาขอดูไหวทันเข้าใจทันทีว่าเจ้าของได้เฝ้าพระอยู่ด้วยความหวงแหน จึงพูดกับงูดัง ๆ ว่า ไม่ได้คิดจะนำพระไปไหน เพียงมาขอดูเท่านั้นอย่าเป็นห่วง เพียงเท่านั้น งูก็เลื้อยห่างหายไป

นี้เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงเมื่อไม่นานมานี้ ที่เชื่อกันว่าผู้ที่หวงสมบัติมาก ๆ ตายไปในขณะที่จิตผูกพันเช่นนี้ ต้องไปเกิดเป็นงู ต้องเฝ้าสมบัติ ไม่ได้ไปเสวยผลของกรรมดีใด ๆ ที่ไดกระทำไว้ จนกว่าใจจะปล่อยวาง ละความยึดถือความหวงแหนสมบัตินั้น ๆ

O อำนาจแห่งความยึดมั่นของจิต

ด้วย ผู้ใหญ่ผู้มีสัมมาทิฐิ สัมมาปัญญา แต่ไหนแต่ไรมาท่านเชื่อในเรื่องอำนาจความยึดมั่นของจิต ท่านจึงสอนลูกหลานไว้ว่า ก่อนจะหลับไปให้ภาวนาพุทโธ นึกถึงพระพุทธเจ้า และให้ตั้งใจปรารถนาว่า เมื่อจากโลกนี้ไปเมื่อใดก็ตาม ขอให้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ทันที ให้ได้พบพระพุทธศาสนา ท่านสอนกันให้ตั้งใจเช่นนี้ก่อนจะหลับไป

และท่านสอนว่า ถ้าการหลับครั้งนั้น จะไม่ได้กลับตื่นขึ้นมาอีกก็จะได้ไปดี เป็นดังแรงปรารถนา การได้เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนานั้น เป็นมงคลสูงสุดของชีวิต ผู้มีสัมมาทิฐิจึงตั้งจิตปรารถนาอย่างจริจัง

O การตั้งจิตอธิษฐานที่ถูกต้อง ควรทำอย่างยิ่ง

ผู้อธิษฐานจิตปรารถนากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนานั้น คือ ผู้รับรองความสำคัญของชีวิตนี้ ที่แม้น้อยนักว่า ชีวิตนี้เท่านั้นที่จะนำไปสู่ความสวัสดีมีสุขได้อย่างแท้จริง เพราะชีวิตนี้เท่านั้นที่พร้อมสำหรับการบำเพ็ญบุญกุศลทุกประการ จะทำดีเพียงไรก็ทำได้ในชีวิตนี้ ทำดีสูงสุดจนเกิดผลสูงสุดคือ การปฏิบัติได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน พ้นทุกข์สิ้นเชิง ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ก็ทำได้ในชีวิตนี้ หรือทำดีเพียงเพื่อได้สวรรค์พ้นนรก ก็ทำได้ในชีวิตนี้ การตั้งจิตอธิษฐานไม่ให้หลงไปภพภูมิอื่นหลังละโลกนี้ไปแล้ว แต่ให้กลับมาสู่ภพภูมิมนุษย์โดยเร็ว ได้พบพระพุทธศาสนา จึงเป็นความถูกต้องพึงทำอย่างยิ่ง

แม้ไม่ต้องการมีความทุกข์ในภพชาติ ข้างหน้า ก็ต้องทำใจให้ไม่มีความทุกข์ตั้งแต่ในภพชาติปัจจุบันนี้ ไม่ปรารถนาอะไร ไม่ปรารถนาเป็นอย่างไรในชาติหน้า ก็ต้องทำใจ คือ ทำใจไม่ได้เกาะเกี่ยวข้องอยู่กับอะไรทั้งนั้น กับอย่างนั้น ตั้งแต่ในปัจจุบัติชาติ จึงจะสมปรารถนา ไม่เช่นนั้นก็จะสมปรารถนาไม่ได้

O เลือกชีวิตในภพชาติใหม่ ได้ในปัจจุบันชาติ

การจะทำใจให้เป็นสุข ปราศจากทุกข์แม้พอสมควรขณะใกล้จะดับจิต คือ การเลือกชีวิตในภพชาติใหม่ให้มีความสุขปราศจากความทุกข์ได้พอสมควร แต่การจะสามารถทำใจให้เป็นเช่นไรในเวลาใกล้จะดับจิตนั้น ก็มิใช่จะทำได้ทันทีโดยมิได้มีความคุ้นเคยกับความรู้สึกเช่นนั้นมาก่อน ความคุ้นเคยกับความรู้สึกอย่างใด คือ มีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ๆ เช่น การท่องพุทโธไว้ในใจเสมอ นั่นคือความคุ้นเคยกับพุทโธ

O ความคุ้นเคยกับสิ่งดีมีมงคลสำคัญอย่างยิ่ง

ความคุ้นเคยกับบุคคลใดที่เคยให้ความเมตตาอุปการะช่วยเหลือจะทำให้ใจนึกถึงบุคคล นั้นได้โดยอัตโนมัติเมื่อถึงคราวคับขัน ความคุ้นเคยกับความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งก็เช่นกัน อบรมไว้ให้คุ้นเคยกับความรู้สึกใด เช่นคุ้นเคยกับอารมณ์มีพระพุทโธ หรือคุ้นเคยกับการท่องพุทโธ เมื่อถึงเวลาคับขัน ใจจะไม่ไปยึดมั่นเกาะเกี่ยวกับอะไรอื่นที่ไม่คุ้นเคย แต่จะไปเกาะอยู่กับพระพุทโธ ที่เป็นยอดของสิริมงคลทั้งปวง ย่อมได้รับสิริมงคลนั้น อันจักนำให้พ้นพาลภัยใหญ่น้อย ความคุ้นเคยกับสิ่งดีมีมงคล จึงเป็นความสำคัญยิ่ง

ทุกคนผ่านชีวิตในอดีตชาติมาแล้วเป็นอันมาก นับภพชาติไม่ถ้วน มีความคุ้นเคยกับเรื่องราวหรืออารมณ์ต่าง ๆ มาแล้วมากมาย

คุ้นเคยกับเรื่องราวหรืออารมณ์ใดมาก ใจยึดมั่นผูกพันข้อติดอยู่กับเรื่องใดอารมณ์ใดมากมาแต่อดีตชาติ ผลของความยึดมั่นผูกพันนั้นจะนำมาสู่ภพชาติปัจจุบัน ดูภพชาติของตนในปัจจุบันก็พอจะเข้าใจว่าอดีตนั้น ตนผูกพันกับเรื่องใดอารมณ์ใดมามากดีหรือว่าไม่ดี

O ใจที่ผูกพัน และความคุ้นเคยกับการกระทำ


ผู้ที่มีใจผูกพันอยู่กับ “การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทำทานการกุศล” มามากในอดีตชาติ ก็จะรู้ได้จากปัจจุบันชาติ คือ ปัจจุบันชาติจะสมบูรณ์พูนสุขด้วยทรัพย์สินเงินทอง

ผู้ที่มีใจผูกพัน อยู่กับ “การเอื้ออาทรดูแลรักษา ให้ข้าวปลาอาหารยากรักษาไข้และเงินทองเพื่อผู้เจ็บไข้ได้ป่วย” มามากในอดีตชาติไม่เบียดเบียนชีวิตร่างกายผู้อื่นสัตว์อื่น ก็จะรู้ได้ในปัจจุบันชาติ คือ ปัจจุบันชาติจะสมบูรณ์แข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วย มีพลานามัยดี อันนับเป็นลาภอย่างยิ่ง

ผู้มีใจผูกพันอยู่กับ “การระวังรักษากาย วาจา ใจ ของตน” ให้สุภาพอ่อนน้อมต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อม ยกย่อง ไม่ล่วงเกิดดูหมิ่น ผูกพันเช่นนี้มามากในอดีตชาติ ก็จะได้รู้จากปัจจุบันชาติ คือ ปัจจุบันชาติจะเป็นผู้อยู่ในตระกูสูง อันผู้อยู่ในตระกูลสูงย่อมเป็นผู้ได้รับความเคารพอ่อนน้อมยกย่อง ไม่ถูกล่วงเกิน ดูหมิ่น เป็นไปเช่นเดียวกับที่ตนเองได้ปฏิบัติไว้ต่อผู้อื่นเป็นอันมากในอดีตชาติ

ผู้ที่มีใจผูกพันอยู่กับ “การช่วยประคับประคอง รักษาชีวิตผู้อื่นสัตว์อื่น” มามากในอดีตชาติ ไม่เบียดเบียนตัดรอนทำลายชีวิตผู้อื่น ก็จะได้รู้ได้จากปัจจุบันชาติ คือ ปัจจุบันชาติจะเป็นผู้มีอายุยืน ไม่ถูกตัดรอนเบียดเบียนทำลายด้วยเหตุใดทั้งสิ้น ไม่ให้ต้องเป็นผู้มีชีวิตน้อยมีชีวิตสั้น

ผู้ที่มีใจผูกพันอยู่กับ “การรักษากายวาจาใจอยู่ในศีลบริสุทธิ์” มามากในอดีตชาติ มีจิตใจผ่องใสไม่เศร้าหมอง ก็จะรู้ได้จากปัจจุบันชาติ คือ ปัจจุบันชาติจะเป็นผู้มีผิวพรรณงดงาม หน้าตาผ่องใส เป็นที่เจริญตาเจริญใจผู้พบเห็นทั้งหลาย

ผู้ที่มีใจผูกพันอยู่กับ “การปฏิบัติธรรม” มามากในอดีตชาติก็จะรู้ได้จากปัจจุบันชาติ คือ ปัจจุบันชาติจะเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ศึกษาและปฏิบัติธรรมเข้าใจง่าย เจริญดีในธรรม

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๑๐. พึงสละออกด้วยการให้

O การสละบริจาคที่ประกอบด้วยปัญญา


การสละบริจาคที่จะทำให้ไกลจากความโลภ ต้องเป็นการสละบริจาคที่ประกอบด้วยปัญญา มิใช่ประกอบด้วยความประมาทปัญญา

การสละบริจาคที่ประกอบด้วยประมาทปัญญา เป็นไปด้วยความมุ่งหมายให้เกิดชื่อเสียงหน้าตา ส่วนการสละบริจาคที่ประกอบด้วยความไม่ประมาทปัญญา เป็นไปด้วยมุ่งไกลจากความโลภ เปรียบดังการถูกไล่จับ มุ่งให้การสละออกเป็นกำลังพาให้หนีไกลพ้นจากการถูกความโลภจับ

O การสละบริจาคต้องมุ่งเพื่อเอาชนะความโลภ

การสละบริจาคนั้น แม้จำเป็นต้องทำใจให้ประกอบด้วยความไม่ประมาทปัญญา คือ ต้องทำใจให้มุ่งเป็นการเอาชนะความโลภ แต่เป็นความจำเป็นต้องทำใจเช่นนี้ในระยะเริ่มแรกเท่านั้น เพราะระยะเริ่มแรกของการสละบริจาค เป็นระยะที่จิตใจยังมีความเสียดายหวงแหนเป็นธรรมดา เมื่อสละบริจาคจนคุ้นเคยกับจิตใจ ใจอิ่มเอิบยินดีกับการสละบริจาคแล้ว ความไม่ประมาทปัญญาก็จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจเป็นอัตโนมัติ ไม่ต้องมีการพยายามทำใจให้ประกอบด้วยความไม่ประมาทปัญญา

O ก่อนการสละบริจาคสิ่งใด
ต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยปัญญา


ก่อนจะสละบริจาคสิ่งใด เพื่อผู้ใด เมื่อใด เมื่อนั้นผู้มีปัญญาไม่ประมาท จะพิจารณาด้วยเหตุผลและด้วยเมตตา แม้เมื่อเริ่มปรารภการสละบริจาค ใจจะปฏิเสธด้วยความรู้สึกหวงแหนเสียดาย ความรู้สึกนั้นจะคลี่คลายเบาบางถึงหมดสิ้นได้ ถ้าใช้ปัญญาประกอบด้วยเมตตา ทบทวนใคร่ครวญให้ได้เห็นความกระจ่างแจ้งประจักษ์ใจในความสมควรสละบริจาค ให้เห็นคุณค่าที่จะได้รับอันยิ่งกว่าสิ่งที่จะสละไป นั้นคือความไกลจากกิเลสคือ ความโลภ เป็นความไกลความสกปรกเศร้าหมอง ที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง

ปัญญา คือ เหตุผลที่พึงยกขึ้นส่งเสริมจิตใจ ให้สามารถสละบริจาคได้นั้นมีหลายระดับ เช่นนึกถึงความมีเพียงพอจะสละได้ของตน สิ่งที่จะสละได้ของตน สิ่งที่จะสละบริจาคนั้นไม่จำเป็นแก่ตน แต่จำเป็นแก่ผู้จะได้รับบริจาค

O ผู้สละบริจาคเสวยผลทั้งชาตินี้และเมื่อละชาตินี้แล้ว


การสละบริจาคเป็นบุญ โดยเฉพาะสละสิ่งซึ่งอยากได้ ผลของการสละบริจาคจึงเป็นบุญเช่นกัน เพราะผลย่อมตรงต่อเหตุ เหตุดี...ผลดี เหตุชั่ว...ผลชั่ว ทำอย่างใดย่อมได้อย่างนั้น ผลของการสละบริจาคนั้น ผุ้รับจะได้เพียงในชาตินี้ แต่ผู้บริจาคจะเสวยผลทั้งในชาตินี้และเมื่อละชาตินี้ไปแล้ว

O พระพุทธองค์ทรงสอนให้ปฏิบัติทั้งทาน ศีล ภาวนา

พระ พุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติพร้อม ทั้งทาน ศีล ภาวนา ทานและจาคะการสละบริจาคมีผลที่ยิ่งใหญ่ คือ สามารถยังให้หนีไกลจากกิเลสกองโลภได้เป็นลำดับ ตามกำลังของการสละที่สำคัญที่สุดคือ การสละความปรารถนาทั้งปวง

O สละออกได้เท่าใด ก็ไกลจากความโลภเพียงนั้น

ความสละความโลภ สามารถยังความเย็นให้เกิดแก่จิตใจได้เป็นอันมาก เพราะความโลภเป็นความร้อน ใจไกลจากความโลภเพียงไร ใจก็จะเย็นได้เพียงนั้น

ความโลภเป็นความร้อน...จริงแน่
ความสละบริจาคเป็นทางพาให้ไกลจากความร้อนของความโลภ...จริงแน่
ไม่เช่นนั้น พระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงสอนให้สละบริจาคเพื่อไกลจากความโลภ

O พึงสละออกด้วยการให้

พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ แปลความว่า...
“พึงนำ (สมบัติ) ออกด้วยการให้, วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอันนำออกดีแล้ว, วัตถุที่ให้แล้วย่อมมีสุขเป็นผล, ส่วนวัตถุที่ยังไม่ได้ให้ ก็ไม่เป็นอย่างนั้น”

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๑๑. การวางตนให้งดงามตามฐานะ

O การวางตนให้งดงามตามฐานะ


“การรู้จักตน” เป็นความสำคัญประการหนึ่งในสัปปุริสธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง และการรู้จักตนอย่างถูกต้องนั้น ก็มิใช่ว่าเป็นร่างกาย การประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง ไม่งดงามทั้งหลายส่วนใหญ่เกิดจากความไม่รู้จักตนให้ถูกต้อง

อันความ เป็นตนตามสมมติสัจจะนั้น จำเป็นต้องรู้จักและจำเป็นต้องรักษาให้ถูกให้ควร ฐานะของตนเป็นอย่างไร หน้าที่ของตนมีอย่างไร ต้องรู้ จึงจะเป็นการรู้จักตน และเมื่อรู้แล้วก็ต้องทำให้ถูกตามฐานะและหน้าที่ นี้ไม่ได้หมายความว่าถ้ามีฐานะสูง ตามสมมติสัจจะ จะต้องถือตัวดูถูกดูหมิ่นผู้มีฐานะทัดเทียม

การทำตนให้ถูกตามฐานะ หมายถึง การวางตนให้งดงาม สมตามฐานะ เรื่องของสมมตินั้นจำเป็นต้องรักษาในภายนอก ภายใน คือ จิตใจไม่เกี่ยวข้อง จิตใจเป็นคนละเรื่อง เป็นเรื่องตรงกันข้าม ไม่ต้องกังวลที่จะทำใจให้รู้จักตนอย่างมีมานะ คือ เห็นว่าตนสูงกว่าเขา ต่ำกว่าเขา หรือเสมอกับเขา มานะเช่นนั้นเป็นคนละเรื่องกับความรู้จักตน

อันความรู้จักตนจะทำให้สามารถรักษาขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีไว้ได้ ในขณะที่ความไม่รู้จักตนจะทำลายให้สิ้นไปทีละน้อย โดยเฉพาะขนบธรรมเนียมไทยนั้น งดงาม ประณีต จึงต้องการความประณีตในการรักษาให้ดำรงอยู่ตลอดไปด้วย

ฐานะผู้ใหญ่ ก็ต้องปฏิบัติอย่างผู้ใหญ่ ฐานะผู้น้อยก็ต้องปฏิบัติเป็นผู้น้อย ไม่ลดต่ำผิดฐานะ ไม่ก้ำเกินผิดฐานะ เช่นนี้จึงจะงดงาม หน้าที่ของตนก็สำคัญ ต้องทำหน้าที่เต็มสติปัญญาความสามารถ ไม่อ่อนแอพ่ายแพ้ด้วยอำนาจความรัก ความโกรธ ความหลง ความกลัว

O ถ้าไม่รู้จักสิ่งควรรู้จักทั้งปวง
ก็เหมือนไม่รู้จักตนนั่นเอง

ทุก ยุคทุกสมัย “สัปปุริสธรรม” เป็นธรรมสำคัญ การอบรมสัปปุริสธรรมไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย ทุกคนสามารถอบรมตนให้มีสัปปุริสธรรมได้ เพิ่มความประณีตละเอียดลออในการใช้ปัญญาพบเห็นอะไรหมั่นใคร่ครวญให้จงดี ได้ยินได้ฟังอะไร มองให้เห็นต้นตอของเรื่องที่ได้ยินได้ฟังนั้น รู้ประมาณในการเชื่อ รู้จักกาลเวลาควรพูดควรทำหรือไม่ควรอย่างไร

ถ้า ไม่รู้จักสิ่งที่ควรรู้จักทั้งปวง คือ ไม่รู้จักเหตุ ไม่รู้จักผล ไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่รู้จักประชุมชน ไม่รู้จักบุคคลก็เหมือนไม่รู้จักตนนั่นเอง ไม่รู้ว่าตนมีหน้าที่สำคัญ คือ การอบรมตนให้เป็นคนดีมีปัญญา ให้สามารถช่วยตนเองได้ และช่วยส่วนรวมได้ด้วย และที่สำคัญยิ่งนักก็คือ ต้องมีสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบประกอบกับปัญญา ในการคิด การพูด การดู การฟัง ทั้งปวง อย่าสักแต่ว่าหลงตามกันไป แม้ส่วนมาคิด พูด ทำอย่างไร ก็อย่าตามไป ต้องใช้ปัญญาในการคิด การพูด การดู การฟัง ให้มีปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัย โดยอาศัยสัปปุริสธรรมประกอบด้วยทุกประการ

O จิตเศร้าหมอง คือ จิตที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยกิเลส

จิต เศร้าหมอง มิได้หมายความเพียงว่าเป็นจิตที่หดหู่ด้วยความเศร้าโศกเสียใจเท่านั้น แต่จิตเศร้าหมอง หมายถึง จิตที่ไม่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว คือ เศร้าหมองด้วยกิเลส จิตมีกิเลสมากก็เศร้าหมองมาก จิตมีกิเลสน้อย ก็เศร้าหมองน้อย

คนหลงตนเป็นคนมีโมหะ มีความรู้สึกที่ไม่ถูกไม่ชอบไม่ควรในตนเอง คนหลงตนจะมีความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ที่มีความดี ความสามารถ ความวิเศษเหนือใครทั้งหลายเกินความจริง ซึ่งเป็นความรู้สึกในตนที่ไม่ถูกไม่ชอบไม่ควร

เมื่อมีความรู้สึกนี้ อันเป็นโมหะ ความหลง โลภะ และโทสะ ก็จักเกิดตามมาได้โดยไม่ยาก เมื่อหลงตนว่าวิเศษเหนือคนทั้งหลาย ความโลภเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งอันควรแก่ความดี ความวิเศษของตนย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ความโกรธด้วยไม่ต้องการให้ความดี ความวิเศษนั้นถูกเปรียบหรือถูกลบล้างย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

O เมื่อมีความรู้สึกหลงคน
โมหะ โลภะ และโทสะ จะเกิดตามมาโดยไม่ยาก


คนหลงคนเป็นคนมีโมหะ มีความรู้สึกที่ไม่ชอบไม่ควรในคนทั้งหลาย คนหลงคนจะมีความรู้สึกว่าคนนั้นคนนี้ที่ตนหลง มีความสำคัญมีความดีความวิเศษเหนือคนอื่นเกินความจริง เป็นความรู้สึกในคนคนนั้นที่ไม่ถูกไม่ชอบไม่ควร เมื่อมีความรู้สึกนี้อันเป็นโมหะ โลภะ และโทสะ ก็จักเกิดตามมาได้โดยไม่ยาก

เมื่อ หลงคนใดคนหนึ่งว่ามีความสำคัญความดีความวิเศษเหนือคนอื่น ความรู้สึกมุ่งหวังเกี่ยวกับคนใดคนหนึ่งนั้นเป็นโลภะ และเมื่อมีความหวังก็ต้องมีได้ทั้งความสมหวังและความผิดหวังเป็นธรรมดา ความรู้สึกผิดหวังนั้นเป็นโทสะ

O เมื่อหลงอำนาจของคนว่ายิ่งใหญ่
เหนืออำนาจทั้งหลาย ความรู้สึกนี้เป็นโลภะ


คนหลงอำนาจ เป็นคนมีโมหะ มีความรู้สึกที่ไม่ถูกไม่ชอบไม่ควรในอำนาจที่ตนมี คนหลงอำนาจจะมีความรู้สึกว่าอำนาจที่ตนมีอยู่นั้นยิ่งใหญ่เหนืออำนาจทั้ง หลายเกินความจริง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ไม่ชอบไม่ถูกไม่ควร เมื่อมีความรู้สึกนี้อันเป็นโมหะ โลภะ และโทสะ ก็จักเกิดตามมาได้โดยไม่ยาก

เมื่อหลงอำนาจของตนว่ายิ่งใหญ่เหนืออำนาจทั้งหลาย ย่อมเกิดความเหิมเห่อทะเยอทะยานในการใช้อำนาจนั้นให้เกิดผล เสริมอำนาจของตนให้ยิ่งขึ้น ความรู้สึกนี้จัดเป็นโลภะ และแม้ไม่เป็นไปดังความเหิมเห่อทะเยอทะยาน ความผิดหวังจักเป็นโทสะ

O ผู้มีโมหะหลงตนมาก จะเป็นผู้ขาดความอ่อนน้อม
แม้ต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง

ผู้มีโมหะมาก คือ ความหลงมาก มีความรู้สึกไม่ถูกไม่ชอบไม่ควรมากในคน ในคน ในอำนาจ ย่อมปฏิบัติผิดได้มาก ก่อทุกข์โทษภัยให้เกิดได้มาก ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งแก่ส่วนตนและส่วนรวม ทั้งแก่ส่วนน้อยและส่วนใหญ่ รวมถึงแก่ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามสถาบันสำคัญของไทยเรา

ผู้มีโมหะมาก หลงตนมาก จัดเป็นพวกมีกิเลสมาก จิตเศร้าหมองมาก จะเป็นผู้ขาดความอ่อนน้อม แม้ต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง

O ผู้รู้จักอ่อนน้อมต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อม
เมื่อละโลกนี้ไป จักไปสู่สุคติ คือ เกิดในตระกูลสูง


บุคคลเหล่านี้ เมื่อละโลกนี้ไปในขณะที่ยังมิได้ละกิเลส คือ โมหะ ให้น้อยลง จิตย่อมเศร้าหมอง ย่อมไปสู่ทุคติ ทุคติของผู้หลงตนจนไม่มีความอ่อนน้อมต่อผุ้ควรได้รับความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง คือ จักเกิดในตระกูลต่ำ

ตรงกันข้ามกับผู้รู้จักอ่อนน้อมต่อผู้ควรได้ รับความอ่อนน้อมที่จะไปสู่สุคติ คือ จักเกิดในตระกูลที่สูง ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อม เป็นกรรมไม่ดี การเกิดในตระกูลที่ต่ำ เป็นผลของกรรมไม่ดี เป็นผลที่ตรงตามเหตุแท้จริง เพราะเกิดในตระกูลที่ต่ำ ปกติย่อมไม่ได้รับความอ่อนน้อมจากคนทั้งหลาย ส่วนผู้ที่เกิดในตระกูลที่สูง ปกติย่อมได้รับความอ่อนน้อม ความอ่อนน้อมที่ผู้เกิดในตระกูลสูงมีปกติได้รับนั้น เป็นผลที่เกิดจากเหตุอันเป็นกรรมดี คือ ความอ่อนน้อม

O “ใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
พึงให้ความสนใจดูแลรักษาใจของตนอย่างยิ่ง


“ใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุด มีฤทธิ์มีอำนาจที่สุด ความสุขความทุกข์ ความดีความชั่ว ความเย็นความร้อน ความสงบความวุ่นวาย เกิดจากใจทั้งสิ้น

ผู้ มุ่งบริหารจิตควรคำนึงถึงความจริงนี้ให้อย่างยิ่ง ควรให้ความสนใจดูแลรักษาใจของตนให้อย่างยิ่ง เพื่อจะได้สามารถพาตนให้พ้นความทุกข์ได้มีความสุข พ้นความชั่วได้มีความดี พ้นความร้อนได้มีความเย็น พ้นความวุ่นได้มีความสงบ

สิ่งอื่นทั้งหลาย เหตุการณ์ทั้งหลาย ที่จะทำให้เกิดสุขเกิดทุกข์ เป็นต้น ไม่เป็นไปตามอำนาจความปรารถนาต้องการของผู้ใดทั้งสิ้น จะเกิดก็เกิด จะเป็นไปก็เป็นไป ความจริงนี้ทุกคนประสบพบผ่านอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าเสมอมา แต่หาได้พยายามทำให้เป็นความรู้ความเข้าใจจริง คือ ไม่ทำให้เกิดเป็นปัญญารู้จริง เมื่อไม่เกิดเป็นปัญญารู้จริงก็ไม่เกิดผล ไม่เป็นคุณ ไม่เป็นประโยชน์แก่จิตใจ ไม่อาจจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้

O ความสุขอย่างยิ่งของเราทุกคน อยู่ที่ใจดวงนี้

ใจเป็นสิ่งบังคับได้ด้วยการฝึก สามารถฝึกให้อยู่ในอำนาจได้
ใจนั้นฝึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น
ฝึกให้เป็นใจที่ดี...ก็จะเป็นใจที่ดี
ฝึกให้เป็นใจที่ร้าย...ก็จะเป็นใจที่ร้าย
ฝึกให้เป็นใจที่สงบเย็น...ก็จะเป็นใจที่สงบ
ฝึกให้เป็นใจที่สว่างด้วยปัญญา...ก็จะเป็นใจที่สว่างด้วยปัญญา
ฝึกให้เป็นใจที่มืดด้วยไม่มีปัญญา...ก็จะเป็นใจที่มืดด้วยไม่มีปัญญา
“ใจฝึกได้บังคับได้ ถ้าตั้งใจฝึกให้จริง”
ความ สุขอย่างยิ่งของเราทุกคน ไม่ได้อยู่ที่อะไรอื่นทั้งสิ้น แต่อยู่ที่ใจดวงนี้เท่านั้น พึงทำความเข้าใจให้ถูก หนทางดำเนินไปสู่การทำใจให้เป็นสุขนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ชัดแจ้งหลายอย่าง สามารถเลือกให้เหมาะกับจริตนิสัยของตนได้

O พระพรมศาสดา ทรงเป็นผู้นำทางไปสู่ความสว่าง
รุ่งเรืองร่มเย็นเป็นสุขอย่างแท้จริง

พุทธ ศาสนิกชนผู้นับถือพุทธศาสนานั้น มีบุญเป็นพิเศษ เพราะพระบรมศาสดาไม่มีผู้เสมอเหมือน ทรงเป็นผู้นำทางไปสู่ความสว่างรุ่งเรือร่มเย็นเป็นสุขอย่างแท้จริง จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนานั้นรุ่งเรืองสูงสุด ไม่มีจุดหมายปลายทางใดเปรียบได้ เมื่อเกิดมาพบพระพุทธศาสนาเช่นนี้แล้ว ควรถือเอาประโยชน์ให้เต็มสติปัญญาความสามารถ โดยยึดหลัก คือ ใจเป็นสำคัญ ทำประโยชน์เพิ่มพูนให้ใจให้สม่ำเสมอ จนสามารถทำใจให้เป็นใจที่เต็มสมบูรณ์ ไม่มีช่องว่างสำหรับความไม่สวย ไม่งาม ความเป็นมลทินเศร้าหมองทั้งหลาย

O การฝึกใจหรือรักษาใจ ให้มีค่ามีคุณประโยชน์
ด้วยมุ่งเหตุผลเป็นสำคัญ


ธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้มากมายเหลือประมาณ เพราะทรงมุ่งให้เหมาะกับแต่ละจริตนิสัยของผู้คนทั้งปวง ที่มีแตกต่างกันมากมายนัก ขอให้ศึกษาแม้เพียงเท่าที่ถูกกับจริตนิสัยตน แล้วพยายามปฏิบัติให้ได้ผล ที่สำคัญ คือ ต้องพยายามจำว่าทรงสอนให้ทำอย่างไร ไม่ให้ทำอย่างไร แล้วตั้งใจปฏิบัติตามโดยอย่ามีข้อแม้เข้าข้างตนเอง อย่าตีความในพระธรรมคำสอนตามความพอใจของตนเอง

พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ เลิศแล้วด้วยพระปัญญาคุณ ทรงมีเหตุผลในทุกถ้อยคำที่ทรงแสดงไว้เป็นพระธรรม เหตุผลนี้คือ ปัญญา เหตุผลคือ ความสำคัญ คือ แสงสว่างที่อาจช่วยให้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง บรรลุถึงจุดหมายอย่างสวัสดี

การฝึกใจหรือรักษาใจให้เป็นใจที่มีค่ามีคุณประโยชน์ ต้องมุ่งเหตุผลเป็นสำคัญ มีเหตุผลก็คือมีปัญญา มีปัญญาก็คือมีความสว่าง ทำให้ไม่ดำเนินไปสู่ความไม่สวัสดีทั้งหลาย

O “รักษาไว้ทั้งตนทั้งผู้อื่น”

ทุกคนในโลก...
ต่างต้องถ้อยทีต้องพึ่งพาอาศัยกัน
ในทางใดทางหนึ่งทั้งนั้น
จึงความปฎิบัติตนในทางที่จะชื่อว่า...
“รักษาไว้ทั้งตนทั้งผู้อื่น”
คือ ด้วยวิธีที่แต่ละคนตั้งใจปฏิบัติกรณียะ
คือ กิจของตน ควรทำตามหน้าที่เป็นต้นให้ดี
และด้วยความน้ำใจที่อดทน
ไม่คิดเบียดเบียนใคร
มีจิตเมตตา มีเอ็นดู อนุเคราะห์
เมื่อตั้งใจปฏิบัติกรณียะ กอปรด้วยมีน้ำใจดังกล่าว
ก็ชื่อว่า...
“รักษาทั้งตน ทั้งผู้อื่น” เป็นผู้รักษาไว้ได้ทั้งหมด

พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


<<< จบ <<<

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร