วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คเวสันโต เขียน:
.....ในมรรคมีองค์แปดนี้ ผมมีความสงสัยบางประการดังนี้
1 การงานชอบ กับ เลี้ยงชีพชอบ ต่างกันอย่างไร
จขกท. อธิบายก็ยังคาบเกี่ยวกันด้วยศีลห้า ผมว่ามรรค เป็นธรรมะที่สำคัญมากๆ ทั้ง2ข้อนี้ต้องมีอะไรที่ต่างกันอย่างชัดเจน เมือไปดูบทสวดมนต์แปล การงานชอบ ขยายไว้ ว่าไม่ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ซึ่งก็อยู่ในศีลห้า อันนี้เข้าใจ แต่เลี้ยงชีวิตชอบ ขยายไว้ว่า ละการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ขอบ อันนี้แหละที่งง
2 ในสติปัฎฐาน4 ส่วนของธรรมาสติซึ่งกระจายออกเป็น
มีสติเห็นนิวรณ์ในนิวรณ์(ขยายมาจากเห็นธรรมในธรรม)
เห็นขันธ์5ในขันธ์5
เห็นอายตนะในอายตนะ
เห็นโพชฌงค์ในโพชฌงค์ งงตรงนี้ครับ
เห็นอริยสัจในอริยสัจ
ที่งง เพราะเราจะมีสติเห็น สติ ธรรมวิจย วิริยะ ปิติ ปัสธิ สมาธิ อุเบกขาได้อย่างไร ...หรือเป็นในขั้นละเอียดระดับพระอริยะแล้วถึงจะเห็นได้

.......รบกวนผู้รู้ครับ :b8:


ขอตอบข้อที่ ๒ ก่อนครับ

สติปัฏฐานสูตร หมวดที่ ๔ ธรรมานุปัสสนา วลีที่ว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ขยายความว่า พิจารณาเห็นธรรมใน (บรรดา) ธรรม (ทั้งหลาย)
ไม่ได้หมายความว่า ให้ เห็นนิวรณ์อยู่ในนิวรณ์ หรือ เห็นขันธ์ ๕ อยู่ในขันธ์ ๕

สภาวธรรมทั้งหลายมีอยู่ แต่ให้ตามรู้สภาวธรรม ตามความเป็นจริง ที่ปรากฏชัดอยู่ ณ ปัจจุบัน
เช่น ถ้าขณะนั้นปรากฏกามฉันท์ (ความยินดีพอใจในกาม) ชัด ก็ให้ตามรู้ดังพระพุทธโอวาท ว่า

๑. เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
๒. หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
๓. อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
๔. กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
๕. กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ สามารถปรากฏให้รู้ได้ เมื่อดำเนินตามมรรค คือ เพียรตามรู้กายและจิต หรือรูปนามตามนัยแห่งสติปัฏฐาน
อริยสัจ ๔ เห็นได้ในทำนองเดียวกัน นิโรธที่ปรากฏให้เห็นก่อน คือ ตทังคนิโรธ หมายถึงความดับชั่วคราว ในขณะที่ตัณหาดับเมื่อประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ส่วนสมุจเฉทนิโรธ ปรากฏเมื่อ บรรลุโสดาปัตติมรรคญาณ สกทาคามิมรรคญาณ อนาคามิมรรคญาณ และ อรหัตตมรรคญาณ ตามลำดับ



ต่อไปเป็นคำตอบของคำถามคุณ คเวสันโต ข้อที่ ๑ ครับ

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (คัดมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับสัมมาอาชีวะ)

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาอาซีวะว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมมาอาชีวะว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

มิจฉาอาชีวะ

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุหนา ๑ ลปนา ๑ เนมิตฺตกตา ๑ นิปฺเปสิกตา ๑ ลาเภน ลาภํ นิชิคึสนตา ๑ นี้คือมิจฉาอาชีวะ.


สัมมาอาชีวะ ๒

[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาอาชีวะไว้เป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑.

สัมมาอาชีวะที่เป็นสาสวะ

[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน? คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

สัมมาอาชีวะที่เป็นอนาสวะ

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่เป็นอริยะ เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความงด ๑ ความเว้น ๑ เจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล คือ สัมมาอาชีวะที่เป็นอริยะ เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค.

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะสัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ


ผมคงศัพท์บาลีไว้ ในส่วนของมิจฉาอาชีวะ เพราะคำแปลมิจฉาอาชีวะทั้ง ๕ เป็นภาษาไทย ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นคำสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ผมได้ค้นคว้าเพิ่มเติม พบว่าพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านได้ให้อรรถาธิบายคำเหล่านี้ ไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค อย่างละเอียด ผมพยายามสรุปย่อตามความเข้าใจ มาดังนี้

อาชีวะใด เป็นเหตุให้ต้องทำสิ่งเหล่านี้ แม้ข้อหนึ่งหรือมากกว่า อาชีวะนั้น เป็นมิจฉาอาชีวะ

๑. กุหะนา คือ กล่าวโกหก หรือแสดงกิริยาลวงให้เข้าใจผิด เพื่อให้ได้ตามต้องการ
๒. ลปะนา คือ ล่อหรือชักจูงให้กระทำตามต้องการ ด้วยการชม หรือกล่าวนำ ชี้ชวนให้คล้อยตาม หรือกล่าวให้เกิดความนิยมชมชอบ หรือช่วยทำประโยชน์บางอย่างที่ไม่เหมาะสมแก่ฐานะของตน
๓. เนมิตตกะตา คือ พยายามให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ด้วยการพูดถึงสิ่งนั้น หรือสิ่งที่เกี่ยวข้อง หรือใช้คำเปรียบเปรยเพื่อให้รู้ว่าต้องการสิ่งใด หรือกระทำเป็นนัยให้รู้ว่าต้องการสิ่งใด
๔. นิปเปสิกะตา คือ พูดติเตียน ด่าว่า เสียดสี ยั่วยุ หรือเยาะเย้ยผู้อื่น ต่อหน้า หรือลับหลัง เพื่อให้ได้ตามต้องการ
๕. ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนะตา คือ ให้ทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อหวังล่อเอาทรัพย์ที่ต้องการ ไม่ได้ให้ด้วยใจบริสุทธิ์

นอกจากนี้ ปรากฏหลักฐานตาม อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค มหาจัตตารีสกสูตร อธิบายเพิ่มเติม ดังนี้

“ก็เจตนาที่เป็นกรรมบถ ๗ ประการมีปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งเป็นไปเพราะอาชีวะเป็นเหตุก็เป็นมิจฉาอาชีวะด้วย”

อกุศลกรรมบถ ๑๐ มีดังนี้

๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท ปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม

หมายความว่า การประกอบอาชีพใดๆ เป็นเหตุให้ล่วงอกุศลกรรมบถ ๗ ข้อแรก การประกอบอาชีพนั้น จัดเป็น มิจฉาอาชีวะ

ตัวอย่างมิจฉาอาชีวะ

แพทย์ประกอบอาชีพรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล รับเงินเดือนประจำเป็นค่าตอบแทน
เธอรู้ว่าผู้ป่วยเจ้าประจำคนหนึ่ง เป็นเจ้าของสวนลิ้นจี่ นึกอยากได้กินลิ้นจี่ของผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยมาตรวจตามนัด เธอแกล้งกล่าวทักว่า
"สบายดีไหมคะ ปีนี้ลิ้นจี่ออกผลดก สวนของป้าเป็นอย่างไรคะ รสอร่อยดีหรือเปล่า"
แล้วแอบหวังว่า ผู้ป่วยจะเอาลิ้นจี่มากำนัลให้เธอ
เธอกำลังประกอบมิจฉาอาชีวะ
คือ โลภในสิ่งที่ไม่ควรตามครรลองแห่งอาชีพของตน แล้วเพียรให้ได้มาด้วยวิธีที่ไม่เหมาะไม่ควร
สำคัญอยู่ที่เจตนา ถ้าเธอกล่าวทักด้วยมารยาท โดยไม่มีจุดประสงค์แอบแฝง ไม่เป็นมิจฉาอาชีวะ

มิจฉาอาชีวะ เน้นที่ การหาเลี้ยงชีพเป็นเหตุ ส่วนมิจฉากัมมันตะและมิจฉาวาจา ถือเอาการกระทำและการพูดทั่วไป อาจไม่เกี่ยวข้องกับการหาเลี้ยงชีพก็ได้

หวังว่าข้อเขียนนี้จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่า มิจฉาอาชีวะคืออะไร
เมื่อรู้แล้ว มีสติ เพียรละ งดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ก็จะเกิดสัมมาอาชีวะ

ธรรมะสวัสดีครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 03 พ.ค. 2010, 08:22, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
เชิญคุณราชันย์ วิเคราะห์ให้ฟัง ทั้งด้วยบัญญัติและด้วยปรมัตถ์ ว่ามีข้อธรรมที่ผมนำมากล่าวตรงไหน น่าจะนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า ผมยินดีน้อมรับคำแนะนำครับ

*********ผู้เจริญธรรมตาม อริยสัจ 4 มรรค 8 และอนัตตา อันมีมาในธัมจักกัปวัตนสูตร อนัตตลักขณสูตร และ ภัทเทกรัตตคาถา จะมีอะไรผิด ตรงไหน กรุณาชี้แนะ ด้วยเหตุและผลด้วยครับ ขอบพระคุณ




สวัสดีครับคุณอโศกะ

วันนี้แวะเข้ามาดู แต่คุณยังไม่ตอบก็ขอถามเพิ่มใหม่อีกนะครับ

เริ่มที่การปฏิบัติที่คุณอโศกะบอกผมว่าคุณเป็นคนปฏิบัติ เริ่มที่เรื่องที่คุณอโศกะถนัดก่อนก็แล้วกันครับ


1.ขณะเจริญสมณะธรรมคุณอโศกะมี ทุกขเวทนา เกิดขึ้นบ้างไหมครับ ?
2.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์หรือรู้สึกเป็นสุขครับ ?
3.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์เพราะอะไร ?
4.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นสุขเพราะอะไร ?
5.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะจัดการกับทุกขเวทนาอย่างไรครับ ?



6.ขณะเจริญสมณะธรรมคุณอโศกะมี สุขเวทนา เกิดขึ้นบ้างไหมครับ ?
7.เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์หรือรู้สึกเป็นสุขครับ ?
8.เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์เพราะอะไร ?
9.เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นสุขเพราะอะไร ?
10.เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะจัดการกับสุขเวทนาอย่างไรครับ ?



11.ขณะเจริญสมณะธรรมคุณอโศกะมี อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นบ้างไหมครับ ?
12.เมื่ออทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์หรือรู้สึกเป็นสุขครับ ?
13.เมื่ออทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์เพราะอะไร ?
14.เมื่ออทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นสุขเพราะอะไร ?
15.เมื่ออทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะจัดการกับอทุกขมสุขเวทนาอย่างไรครับ ?




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 01:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




03pongs.jpg
03pongs.jpg [ 36.03 KiB | เปิดดู 3106 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณราชันย์
อ้างอิง

สวัสดีครับคุณอโศกะ

วันนี้แวะเข้ามาดู แต่คุณยังไม่ตอบก็ขอถามเพิ่มใหม่อีกนะครับ

เริ่มที่การปฏิบัติที่คุณอโศกะบอกผมว่าคุณเป็นคนปฏิบัติ เริ่มที่เรื่องที่คุณอโศกะถนัดก่อนก็แล้วกันครับ

1.ขณะเจริญสมณะธรรมคุณอโศกะมี ทุกขเวทนา เกิดขึ้นบ้างไหมครับ ? เกิด
2.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์หรือรู้สึกเป็นสุขครับ ? ใหม่ๆ ทุกข์
3.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์เพราะอะไร ? เพราะยึด มีกู ไปยึด
4.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นสุขเพราะอะไร ? จะได้สาวค้นพบเหตุทุกข์ได้เร็ว
5.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะจัดการกับทุกขเวทนาอย่างไรครับ ? เวทนาอนัตตา


6.ขณะเจริญสมณะธรรมคุณอโศกะมี สุขเวทนา เกิดขึ้นบ้างไหมครับ ? ใหม่ๆ เกิด
7.เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์หรือรู้สึกเป็นสุขครับ ? ใหม่ๆ เป็นสุข
8.เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์เพราะอะไร ? ไม่อยากให้สุขหายไป (วิภวตัณหา)
9.เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นสุขเพราะอะไร ? ยินดี
10.เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะจัดการกับสุขเวทนาอย่างไรครับ ? เวทนาอนัตตา

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณอโศกะ

ผมถามไปทั้งหมด 15 คำถาม คุณตอบมาเพียง 10 คำถาม ส่วนจะถูกต้องหรือไม่ก็ค่อยสนทนากันภายหลัง ตอบมาให้ครบก่อนนะครับ



เจริญในธรรมครับ



..........................................................................................................

“ ปัญญาของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้สัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอยย่อมไม่บริบูรณ์ ”
อนึ่ง ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
ผู้มีกัมมัฏฐานมั่นคงเป็นสหาย
มีจิตไม่ขวนขวาย มีจิตไม่ถูกกำจัด
ละบุญและบาปได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
*********สติปัฏฐาน 4 ที่ผมเจริญ ผมใช้ปัจจุบันอารมณ์เป็นหลัก เพราะที่ปัจจุบันอารมณ์นั้นเป็นที่รวมของสติปัฏฐาน 4

.......งานสำคัญของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาก็คือ เจริญปัญญา (สัมปะฌาโน) และสติ (สติมา) (ในฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ทุกฐานจะนำ้ให้ไปพบกับ ความยินดี ยินร้าย ซึ่งในสติปัฏฐานสูตรนั้นพระพุทธเจ้าทรงเรียกชื่อว่า อภิชฌา และ โทมนัสสัง พระองค์ตรัสว่า ให้ละ อภิชฌาและโทมนัสสัง (วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง)

..........ใครเป็นผู้ยึดแบกไว้ ใครจะเป็นผู้ละ และจะละอย่างไร ปฏิบัติการสำคัญตรงนี้ครับ

ใครเป็นผู้ยึดแบกไว้ ตอบ อวิชชา มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู เป็นผู้ยึดแบกไว้

ใครเจะเป็นผู้ละ ตอบ ปัญญาสัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง ว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่อัตตา ตัวกู ของกู เท่านั้นแหละที่จะเป็นธรรมที่มาทำให้เกิดการปล่อยวางโดยธรรม

...........ทั้งหมดสำคัญตรงนี้นะครับคุณมหาราชันย์ ผมจึงกล่าวว่า สัมมาทิฐิ หรือ สัมมาทิฐิที่เต็มร้อยเปอร์เซนต์แล้ว ก็คือ เห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นและสรุปไว้ตรงยอดสุดของธรรมว่า
................................."สพฺเพธมฺมา อนัตตา"


การแสดงธรรมผิดท่านควรยอมรับความจริงว่าท่านแสดงผิด จะได้ไม่เอายาพิษให้ตัวเองและผู้อื่นนะครับ สิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 โดยอริยสัจ 4 เป็นสัจจะอย่างหนึ่ง โดยไตรลักษณ์ก็เป็นสัจจะอย่างหนึ่ง โดยกาลเวลาก็เป็นสัจจะอย่างหนึ่ง โดยปฏิจจสมุปปบาทก็เป็นสัจจะอย่างหนึ่ง ทำความเข้าใจเรื่องสัจจะให้ดีเสียก่อนครับ

สัจจะที่ถูกต้องโดยอริยสัจ 4 คืออย่างนี้ครับ


[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ


สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ

สัมมาวาจา เป็นไฉน
การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ

สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ

สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ

สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่ เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ

สัมมาสติ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ
จบสัจจบรรพ
จบธัมมานุปัสสนา


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




b16.jpg
b16.jpg [ 48.19 KiB | เปิดดู 3088 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณราชันย์

ตอบต่ออีก 5 ข้อ

11.ขณะเจริญสมณะธรรมคุณอโศกะมี อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นบ้างไหมครับ ? เกิด
12.เมื่ออทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์หรือรู้สึกเป็นสุขครับ ? เฉย
13.เมื่ออทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์เพราะอะไร ? ถ้าจะทุกข์ก็เพราะ ยึด
14.เมื่ออทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นสุขเพราะอะไร ? ก็เพราะยึดเช่นกัน
15.เมื่ออทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะจัดการกับอทุกขมสุขเวทนาอย่างไรครับ ?
เวทนาอนัตตา


ส่วนอีกคห.ถัดมา ผมเห็นคุณราชันย์ไปยกสอนไว้ในหลายกระทู้ อนุโมทนา แต่ทั้งหมดเป็นบัญญัติ มีมาในปิฏก ถูกต้องอยู่แล้ว

แต่ที่นำมาพลิกแพลงปฏิบัติจริง มีอารมณ์และสภาวะจริงๆ เกิดขึ้น มีชื่อเรียกธรรมดาสามัญตาม ตามบัญญัติ ภาษาของ มนุษย์ คนไทยในยุคสมัยนี้ ยังไม่ค่อยจะเห็นคุณพูดบ้างครับ

ผมขอเรียนถามกลับดูสักข้อหนึ่งให้คุณกรุณาเอา มรรค 8 มาแอพพลายด์ใช้กับอารมณ์ธรรมชาติอย่างไร

ตัวอย่าง

*******1.หูกระทบเสียงด่า สติไปรู้ทันตอนที่เกิดอารมณ์์โกรธขึ้นมาแล้วในใจ คุณจะเจริญมรรค 8 ในเคสนี้อย่างไร
*******สติจะ ทำอะไร กับความโกรธ
*******สัมมาทิฐิจะ จะทำทำอะไร
*******สัมมาสังกัปปะ จะทำอะไร
*******ศีลมรรค 3 ข้อ จะทำอะไรอยู่ตอนนั้น
*******สัมมาวายามะ จะทำอะไรอยู่
*******สัมมาสมาธิ จะทำอะไรอยู่

*******อะไรจะมาทำให้อารมณ์โกรธนี้สงบรำงับดับไป

*******ทางที่จะออกไปสู่ มรรค ผล นิพพานอยู่ตรงไหน

*******2.ตากระทบรูปสวย สติไปรู้ทันตอนจิตปรุงแต่งไปกับรูปที่สวยน่ายินดี คุณจะเจริญมรรค 8
ในเคสนี้อย่างไร

*******3.ลิ้นกระทบรสอร่อย สติไปรู้ทันตอนที่จิตยินดีกับความอร่อยไปแล้ว และกำลังจะปรุงเป็นมโนกรรมต่อ ในรสอร่อย คุณจะเจริญมรรค 8 ในเคสนี้อย่างไร

*******4. ฯลฯ ในผัสสะทั้ง 6 คุณจะเจริญมรรค 8 ต่อไปอย่างไร

*******ตอบไว้เลยนะครับ ผู้มาเยือนกระทู้นี้จะได้รับฟังธรรมมะที่ถูกต้องตามตำราจากคุณมหาราชันย์นะครับ
*******พอดีผมมัภาระกิจไปเผยแพร่ธรรมทางภาคตะวันออก กทม.แถวเยาวราช แจ้งวัฒนะ หลัง 12 ตค. จึงจะมีโอกาสมาสนทนาธรรมกันอีกครับ

********ถ้าคุณมหาราชันย์เป็นห่วงว่าผมจะไปเผยแพร่สิ่งที่ผิดๆ เหมือนกับที่เขาเผยแพร่เรื่องจตุคามรามเทพ เผยแพร่วิธีแก้กรรม ที่กำลังฮิตกันอยู่ขณะนี้ จะกรุณาตามไปพบปะ สนทนาธรรมกันตรงๆ สักครั้งหนึ่งก็น่าจะดีนะครับ แถวเมืองทองธานีมีวัดใหญ่อยูวัดเดียวครับ ลองหาดู

********เมื่อปรับทิฐิให้ถูกต้องตามธรรมดีแล้ว จะได้ช่วยกันเป็นกำลังเผยแผ่พระพุทธศานา ที่แท้ ที่ถูกต้อง ไม่ใช่วนเวียนอยู่แต่ศานาประเพณี พิธีกรรม จำเจอยู่อย่างนี้ มาเปิดหู เปิดตา พาผู้คนเข้าถึงพุทธแท้ๆ เพื่อจะได้พากันเดินเข้ามรรคผลนิพพานกันให้เยอะๆนะครับ สาธุ ๆ ๆ

*******สาธุกับคุณมหาราชันย์ที่เป็นห่วงพระศาสนาครับ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




311.jpg
311.jpg [ 55.75 KiB | เปิดดู 3085 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณภูพิงค์
*******ดีใจที่มีนักปราชญ์และกัลยาณมิตรที่รู้สึกว่าจะเป็นผู้รู้จริง ทำได้จริง มาช่วยกัน ทำสัมมาทิฐิที่แท้จริงให้เกิดขึ้นในดวงใจของผู้คน ผมชอบ และอนุโมทนาในข้อเขียนของคุณมากครับ (ตอนนี้ความชอบนั้น ดับ เป็นกลาง จิตสมดุลย์เป็นปกติดีแล้ว ไม่ต้องห่วงนะครับ)


สาธุ อนุโมทนากับทุกกระทู้และความเห็นของคุณ smiley :b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ผมขอเรียนถามกลับดูสักข้อหนึ่งให้คุณกรุณาเอา มรรค 8 มาแอพพลายด์ใช้กับอารมณ์ธรรมชาติอย่างไร


สวัสดีครับ

คำว่าอารมณ์ก็เข้าใจไม่ถูกต้องครับ

มรรค 8 มีไว้ละอารมณ์ครับคุณอโศกะ




อโศกะ เขียน:
ตอบต่ออีก 5 ข้อ


คำตอบที่คุณตอบมาก็ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณได้ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเลยครับ


การปฏิบัติธรรมตามพระพุทธศาสนา ไม่ได้ไปจัดการกับเวทนาตามที่ผมถามหรอกครับ แต่ไปจักการกับกิเลสครับ ถ้าคุณเป็นผู้ปฏิบัติจริง ๆ คุณน่าจะดูคำถามนี้เข้าใจนะครับ ว่ามีนัยยะอย่างไร ?


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 16 ก.ย. 2009, 21:33, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนคุณ อโศกะ ผมตามอ่านแล้วรู้สึกว่าคุณไม่ให้ความสำคัญพื้นฐานของการมีศีลเลยซึ่งเป็นพื้นฐานของจิตที่มีคุณภาพของผู้ปฏิบัติธรรม ธรรมะที่เรียกว่าอินทรีย์สังวรศีล เป็นพื้นฐานของผู้ปฏิบัติไม่ใช่หรือครับ ในเมื่อกระทำตรงนี้แล้ว จะต้องไปตามดู ตามรู้อีกทำไม่ สิ่งที่เราควรทำผมว่าปฏิบัติตามคำสอนหรือพระสูตรเพื่อละกิเลสโดยตรงไม่ต้องพัวพันในขันธ์ 5 อีก เป็นการละสักกายะทิฎฐิโดยตรง เพราะอินทรีย์สังวรศีล หมายถึงการเป็นปกติในชีวิตประจำวันอยู่แล้วละครับ

-----------------------------------------

เรามีหน้าที่เปลี่ยนคุณภาพจิต ให้เป็นกุศล หรือ โลกุตระกุศล เพราะ เป็นการทำเหตุเพื่อสร้างผลของสิ่งนั้น ตามหลักอริยะสัจจ์ ครับ ไม่ใช่ตามหลักไตรลักษณ์หรอกครับ :b16: :b16:
:b4:

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0011.jpg
0011.jpg [ 20.34 KiB | เปิดดู 3047 ครั้ง ]
อโศกะ เขียน:
ตอบ
1.ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง ในบัญญัติหลัก มี จิต เจตสิก รูป นิพพาน
........แต่ในปฏิบัติการ ปรมัตถธรรม สัจจ อมตะ อนัตตา นิพพาน เป็นอันเดียวกัน รู้ถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะรู้ทะลุถึงกันได้หมด
........ปรมัตถธรรม ง่ายๆ คือสิ่งที่ตั้งชื่อให้ได้ เรียกว่าปรมัตถบัญญัติ แต่ไม่สามารถอธิบายความหมายได้ ต้องสัมผัสรู้ด้วยใจเจ้าของ ตัวอย่างปรมัตถ หรือสัจจธรรมในชีวิตจริงประจำวัน เช่น หนัก เบา แข็ง อ่อน (ดิน) เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง (ลม) ร้อน หนาว เย็น อุ่น (ไฟ) ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุมกันเข้า )(น้ำ) เ*ยว หวาน มัน เค็ม (รส) สุข ทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้เป็นต้น

2.สัจจธรรมที่ปรากฏแก่ปัญญา มี บัญญัติสัจจะ กับ ปรมัตถสัจจะ

3.สัมผัสโดยบัญญัติ หรือสมถะภาวนา เอามาจากประสบการณ์จริง เพราะสมถะภาวนาเป็นบัญญัติ ตั้งธงไว้ กำหนดไว้ เวลาวิตก วิจารณ์ จะวิตกวิจารณ์ตามธง หรือบัญญัติที่ตั้งไว้

4.สมถะ มีความหมายว่า สงบรำงับนิวรณ์ 5

5.วิป้สนาภาวนา คือคำสอนสำคัญสุดยอดของพระพุทธเจ้า เป็นชื่อย่อของการเจริญมรรค 8 เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา มีสอนอยู่เฉพาะในพุทธศาสนา มีรายละเอียดที่จะยกมาแสดงในคราวต่อไปครับ

6.ถ้าการปฏิบัตินั้นทำให้เห็นหรือรู้ซึ้งไตรลักษณ์ นั่นคือวิปัสสนาภาวนา รู้อย่างอื่นถือว่านอกทาง

7.ปรมัตถ์ ที่ผมเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว เพราะพิสูจน์ด้วยตัวเองแล้ว และกำลังมีชีวิตอยู่กับการเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา ปรมัตถธรรม อนัตตาธรรม สัจจธรรม ในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จนเห็นว่านี่แหละคือ "หน้าที่ของชาวพุทธ" โดยแท้จริง



1.ปรมัตถธรรม ที่ถูกต้องคือโลกุตตระธรรมครับ ได้แก่ อริยะมัคค 4 อริยะผล 4 และนิพพานครับ เรียกว่า ปรมัตถธรรม
ส่วนจิต เจตสิก รูป และนิพพาน คือเรื่องราวที่เราศึกษาและปฏิบัติกันในพระพุทธศาสนาครับ
( ส่วนการนิยามคำศัพท์ว่าปรมัตถธรรม คือจิต เจตสิก รูป และนิพพาน นิยามโดยพระชาวศรีลังกา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 900 ครับ )

2.สัจจธรรม ที่เกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม มี 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่สัจจะโดยอริยะสัจ 4 ,สัจจะโดยปฏิจจสมุปบาท ,สัจจะโดยไตรลักษณ์ และสัจจะโดยกาลเวลาครับ

3.สมถะ ต้องยึดนิยามจากพระไตรปิฎกครับ

4.สมถะคือ ความตั้งมั่นแห่งจิต หรือสมาธิในจิต และเป็นสัมมาสมาธิ
[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น

5.วิปัสสนาคือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ
[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.

6.วิปัสสนา คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
จิตกามาวจรกุศล มีวิปัสสนาเพราะละบาปอกุศลธรรมที่หยาบได้
รูปาวจรกุศลจิต มีวิปัสสนาเพราะละกามสัญญาและนิวรณ์ 5 ได้
อรูปาวจรกุศลจิต มีวิปัสสนาเพราะละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้
โลกุตตระกุศลจิต หรืออริยมัคคจิต 4 มีวิปัสสนาเพราะละกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ ได้

7.การเข้าใจเรื่องปรมัตถธรรม คุณเข้าใจไม่ถูกต้องครับ และปัจจุขณะคุณก็เข้าใจไม่ถูกต้องครับ เขาไม่ได้ให้เจริญปัจจุบันอารมณ์หรอกครับเขาให้เจริญวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต 4 เป็นปัจจุบันขณะครับ จึงจะได้บรรลุอริยะผล 4 ในอนาคตครับ


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha2.gif
buddha2.gif [ 15.7 KiB | เปิดดู 3005 ครั้ง ]
b13.jpg
b13.jpg [ 48.9 KiB | เปิดดู 3004 ครั้ง ]
kati11.jpg
kati11.jpg [ 24.86 KiB | เปิดดู 3004 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณโคตรภู

ขอบคุณที่เข้ามาชี้แนะ ต้องขออภัยที่ผมไม่ได้เน้นเรื่องศีลจนเห็นชัด ศีลนั้นก็สำคัญ เพราะในมรรค 8 นั้นพระพุทธองค์ได้ทรงยกศีลมรรคทั้ง 3 ข้อ เป็นกลุ่มมรรคอันดับที่ 2 รองลงมาจากปัญญามรรค โดยมีสมาธิมรรคหนุนท้ายเป็นกลุ่มที่ 3

ผมเคยสนทนาและถามผู้ที่กำลังฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่ว่า

ปัจจุบันขณะที่คุณกำลังนั่งปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น ศีลของคุณบกพร่องไปกี่ข้อ ทั้งศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 หรือศีล 227 ข้อ เขาตอบผมว่า ไม่ผิดแม้แต่ข้อเดียว

ผมถามเขาอีกว่า เคยได้ยินประวัติขององคุลีมาล กับสันตติอำมาตย์ไหมครับว่า

ท่านองคุลีมาลวางดาบที่เปื้อนเลือดลงกราบฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใช้ปัญญาน้อมพิจารณาตามธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ณ ปัจจุบันขณะนั้น ท่านก็ได้บรรลุธรรมเป็นโสดาบันในที่นั้น และปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เจริญสติ เจริญปัญญาค้นคว้าหาความจริงในกายใจต่ออีกไม่กี่วันก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

ท่านสันตติอำมาตย์พบพระพุทธเจ้าขณะที่กำลังเมาหล้าแอ๋ ผิดศีลข้อที่ 5 อยู่ เห็นพระพุทธเจ้าแล้วตกตลึงสร่างเมา เข้ากราบรับฟังข้อธรรมจากพระองค์ ก็ได้บรรลุธรรม จนเป็นอรหันต์

ชีวิตที่ได้โอกาสเกิดมาเป็นคนในชาตินี้ ถ้าอดีตชาติที่ผ่านมามีศีล 5 ไม่บริสุทธิ์ คงไม่มีโอกาสได้เกิดมาเป็นคนในชาตินี้แน่ จึงมีแต่ว่าในชาติปัจจุบันนี้ มีโอกาสดีได้พบกัลยาณมิตร บอกชี้ทาางสว่างไสว เกิดปัญญาสัมมาทิฐิเห็นถูกต้องขึ้นมา มีปัญญาสัมมาสังกัปปะ คิด สังเกตพิจารณาเข้าไปในกายและจิตจนละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู สักกายทิฐิดับตาย วิจิกิจฉาขาดสลาย ปิดประตูอบายได้ทันในปัจจุบันชาตินี้

ทิฐิเป็นสัมมาเสียตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว ศีล สติ สมาธิ ก็จักเป็นสัมมาตามมาโดยพลันทันที มิพักต้องเหนื่อยไปขอจากพระ แต่ละได้ในจิตใจของตนเอง ดำรงความเป็นปกติอยู่โดยธรรมชาติ ดังนี้ครับ

อย่าวิตกกับศีลเสียจนเจริญสติ ปัญญาทันทีไม่ได้ ถ้าฐานศีล 5 ไม่ดี จะไม่มีโอกาสได้มาสนทนาธรรมกันอย่างนี้แน่ๆครับ

ขอความเจริญปัญญา ศีล สมาธิ จงบังเกิดมีแก่ทุกๆท่าน ตามนัยแห่งมรรคมีองค์แปดนั้นเทอญ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




p2255.jpg
p2255.jpg [ 30.09 KiB | เปิดดู 3002 ครั้ง ]
ee221.jpg
ee221.jpg [ 78.43 KiB | เปิดดู 3001 ครั้ง ]
100_5881_resize.JPG
100_5881_resize.JPG [ 93.49 KiB | เปิดดู 2999 ครั้ง ]
cool cool tongue อนุโมทนากับความรู้ยิ่งของคุณมหาราชันย์ ขอให้คุณได้รับประโยชน์จากข้อธรรมที่ค้นคว้ามาด้วยดีนี้ จนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงธรรมเข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ได้ทันในปัจจุบันชาตินี้

ส่วนคำถามภาคปฏิบัติ ที่ผมถามไว้แต่คุณยังไม่ได้ตอบ จะลองตอบดูก็ได้ หรือไม่ตอบก็ได้ ไม่เป็นไรนะครับ

ถ้าลืมคำถามจะลองกรุณาอธิบายให้ทราบพอเข้าใจสักหน่อยว่า


ถ้าคุณได้ยินเสียงด่ากระทบหู ปฏิกิริยาอะไรบ้างจะเกิดขึ้นใน กาย และจิต แล้วคุณจะเอาหลักทฤษฎีธรรมมะที่เรียนรู้มา มาทำอย่างไรกับการกระทบสัมผัสทางหูนี้ มาเป็นประโยชน์ สาวสืบค้นเข้าไปจนพบสมุทัย คือเหตุทุกข์ในจิตของคุณได้ อธิบายแบบชาวบ้านธรรมดาๆ ไม่ต้องยกพระสูตรมาประกอบนะครับ จะได้เข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้ ถ้าเปี่ยมล้นด้วยเหตุผลทางธรรมชาติ ผมจะน้อมรับมาลองฝึกหัดปฏิบัติดูครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูง smiley :b53:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ถ้าคุณได้ยินเสียงด่ากระทบหู ปฏิกิริยาอะไรบ้างจะเกิดขึ้นใน กาย และจิต แล้วคุณจะเอาหลักทฤษฎีธรรมมะที่เรียนรู้มา มาทำอย่างไรกับการกระทบสัมผัสทางหูนี้ มาเป็นประโยชน์ สาวสืบค้นเข้าไปจนพบสมุทัย คือเหตุทุกข์ในจิตของคุณได้ อธิบายแบบชาวบ้านธรรมดาๆ ไม่ต้องยกพระสูตรมาประกอบนะครับ จะได้เข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้ ถ้าเปี่ยมล้นด้วยเหตุผลทางธรรมชาติ ผมจะน้อมรับมาลองฝึกหัดปฏิบัติดูครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูง



ผมอาจมีหรือไม่มีปฏิกิรรยาก็ได้ครับ ผู้มีปัญญาอบรมตนเองไว้ดีแล้วไม่ใช่ได้ยินแล้วต้องมีปฏิกริยาต่อเสียงด่าเสมอไปครับ การมีปฏิกิริยาต่อเสียงด่าเป็นเรื่องของคนไม่มีการศึกษา ไม่ได้อบรมตนครับ

ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ
ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
พึงเข้าไปตัดความตรึก
และตัดธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ




บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ในกาลทุกเมื่อ
มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว
ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้ว
ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา
ล่วงรูปสัญโญชน์ได้
มีภพเป็นที่เพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว
ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก ฯ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
ผมอาจมีหรือไม่มีปฏิกิรรยาก็ได้ครับ ผู้มีปัญญาอบรมตนเองไว้ดีแล้วไม่ใช่ได้ยินแล้วต้องมีปฏิกริยาต่อเสียงด่าเสมอไปครับ


ของจริงต้องมีปฏิกริยาสิครับ

แต่ถ้าเป็นธาตุรู้ ต้องมีปฏิกริยาเสมอ
ตั้งแต่จิตคนธรรมดาไปจนถึงจิตพระอรหันต์ ต้องมีปฏิกริยาเสมอ

ถ้าไม่มีปฏิกริยา มีกรณีเดียวคือ จิตต้องเป็นวัตถุธาตุชนิดหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม แม้แต่วัตถุธาตุในโลกนี้ ก็มีปฏิกริยาต่อกันอยู่เสมอ
ไม่มีสิ่งใดอยู่คงที่คงเดิมตลอดเวลา




มหาราชันย์ เขียน:
การมีปฏิกิริยาต่อเสียงด่าเป็นเรื่องของคนไม่มีการศึกษา ไม่ได้อบรมตนครับ


อุ้ย จะรู้ตัวไหมเนียะ
ว่าคุณก็กลายเป้นคนไม่มีการศึกษา และไม่ได้อบรมตน
ไปเรียบร้อยหลังจากพูดคำนี้ออกนาล่ะครับ

คนมีการศึกษาและอบรมตนดีแล้ว ใครด่าอย่างไร
เขาจะไม่พูดออกมาเลยครับ ย้ำคำว่า "...ไม่พูดออกมาเลย"

เขาเรียกว่า กระทบ แต่ไม่กระเทือน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ปัญญาวรรค อภิสมยกถา

....เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด บุคคลนี้นั้นย่อมละได้ซึ่งกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน

[๖๙๙] คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีต ความว่าบุคคลย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตหรือ

ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไปทำกิเลสที่ดับไปแล้วให้ดับไป ทำกิเลสที่ปราศไปแล้วให้ปราศไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่

คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคต ความว่า บุคคลย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอนาคตหาได้ไม่

คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบัน ความว่า บุคคลย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบันหรือ
ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัดเคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละโมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือผิดก็ละทิฐิได้ผู้ถึงความฟุ้งซ่านก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีกิเลสเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาวซึ่งเป็นคู่กันกำลังเป็นไปมรรคภาวนาอันมีความหม่นหมองด้วยกิเลสนั้น ก็มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็นปัจจุบัน หาได้ไม่ ฯ

[๗๐๐] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มีการทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี ฯ

หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่ธรรมาภิสมัยมีอยู่

เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย

ฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลยที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วยประการฉะนี้

เพราะเหตุแห่งความเป็นไป เพราะเหตุแห่งสังขารเป็นนิมิต เพราะเหตุแห่งกรรมกรรมเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมแล้วจึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับด้วยประการฉะนี้

มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่ธรรมาภิสมัยมีอยู่ ด้วยประการฉะนี้แลฯ


มหาราขันย์ เขียน:
ผมอาจมีหรือไม่มีปฏิกิริยาก็ได้ครับ ผู้มีปัญญาอบรมตนเองไว้ดีแล้วไม่ใช่ได้ยินแล้วต้องมีปฏิกริยาต่อเสียงด่า เสมอไปครับ การมีปฏิกิริยาต่อเสียงด่าเป็นเรื่องของคนไม่มีการศึกษา ไม่ได้อบรมตนครับ


ผู้มีปัญญาอบรมจิตไว้ดีแล้ว จะมี หรือไม่มีปฏิกิริยาก็ได้ ด้วยความสามารถ และคุณภาพแห่งการตัดตรึกวิตกที่ได้อบรมด้วยมรรคภาวนานั้น

แต่ไม่ใช่มาทำการละกิเลสด้วยขณะที่ ไปรู้ว่าเป็น"เสียง"ที่ปรากฏ ว่าเป็น "เสียงด่า"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร