วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 14:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มรรค ๘
เป็นหลักปฏิบัติธรรมที่เป็นทางสายกลางเพราะเจริญปัญญา ศีล สติ สมาธิ ไปพร้อมๆกันสนับสนุนซึ่งกันและกันไปจนกว่าจะถึงที่หมายปลายทางคือ นิพพาน แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม-
ก.ปัญญามรรค มี ๒ ข้อ คือ

๑.สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง คือเห็นอริสัจ ๔ และเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา ในทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไป เห็น ดู รู้
๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ความคิดถูกต้อง คือคิดออกจากความยินดี ยินร้ายและการเบียดเบียน ทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไป สังเกต พิจารณา

ข. ศีลมรรค มี ๓ ข้อ คือ
๓.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ในทางปฏิบัติคือการพูดแต่เรื่องอนัตตาและวิธีที่จะทำให้เข้าถึงอนัตตาและนิพพาน
๔.สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ คือการงานที่ไม่ผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการเจริญมรรคทั้ง ๘ ทำงานค้นหาอนัตตา ปล่อยวางอัตตาจนกว่าจะเข้าถึงนิพพานได้โดยสมบูรณ์
๕.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คืออาชีพที่ไม่ผิดและไม่สนับสนุนให้ทำผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการทำมาหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดมาทำสัมมากัมมันตะคือเจริญมรรค ๘ เพื่อให้เข้าถึงนิพพานได้โดยเร็ว

ค.สมาธิมรรค มี ๓ ข้อ คือ
๖.สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ แบ่งออกอีกเป็น ๔ ข้อย่อย เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า

สัมมัปปทาน ๔ คือ
๑.บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
๒.บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
๓.กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
. ๔.กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด
๗.สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นเลยทีเดียว ในทางปฏิบัติความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์นับเป็นสัมมาสติ
๘.สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ คือความที่จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง อยู่กับงานพิสูจน์ อนัตตา หรือการเจริญมรรคทั้ง ๘ จนสามารถทำให้จิตนิ่งได้ถึงระดับฌาน ๔ หรือสังขารุเปกขาญาณ





๑.สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง คือความรู้ในเรื่องทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับทุกข์ ความรู้ในทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับความรู้ในไตรลักษณ์ครับ


๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ความคิดที่ถูกต้อง คือความดำหริในการออกจากกาม ความดำหริในความไม่พยาบาท ความดำหริในความไม่เบียดเบียน


๓.สัมมาวาจา การเจรจาชอบ คือนอกจากไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อแล้ว ยังต้องพูดอิงอรรถอิงธรรมคือต้องอบรมจิตด้วยอริยะสัจ 4 ด้วยครับ


๔.สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ คือการอบรมจิตด้วยอริยะสัจ 4 เรียกว่าการกระทำอันเป็นไปเพื่อการไม่ก่อเวร ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เอาของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่เสพน้ำเมาสิ่งเสพติด


๕.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คือการเลี้ยงชีวิตด้วยปีติ สุข อุเบกขาจากกุศลจิตคือมัคคจิตเรียกว่าสัมมาอาชีวะ


๖.สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ คือ
เพียรละอกุศลจิตที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด
เพียรละอกุศลจิตที่เกิดแล้วไม่ให้ตั้งอยู่ได้
เพียรยังโลกุตตระกุศลจิตหรือมัคคจิต 4 ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เพียรยังโลกุตตระกุศลจิตหรือมัคคจิต 4 ที่เกิดแล้วให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์



๗.สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือภิกษุผู้อริยะบุคคลในศาสนานี้
พิจารณาเห็นกายในกายแล้วละความยินดียินร้ายในโลกนี้เสียได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาแล้วละความยินดียินร้ายในโลกนี้เสียได้
พิจารณาเห็นจิตในจิตแล้วละความยินดียินร้ายในโลกนี้เสียได้
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมแล้วละความยินดียินร้ายในโลกนี้เสียได้

การมีสติระลึกนึกถึงการละความยินดียินร้ายในโลกนี้เสียได้ นี้เรียกว่าสัมมาสติ ในศาสนานี้


๘.สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ คือ ภิกษุผู้อริยะบุคคลในศาสนานี้ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติปรากฏไม่เผลอเรอ มีกายสงบระงับไม่กระวนกระวาย มีใจตั้งมั่น ไม่ยินดียินร้ายต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ จิตนั้นเป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร ปีติ สุขและเอกคตารมณ์
ละวิตก วิจาร เข้าสู่ทุติยฌาน มีปีติ สุข และเอกคตารมณ์
ละปีติ เข้าสู่ตติยฌาน มีสุข และเอกคตารมณ์
ละสุขละทุกข์เสียได้ เข้าสู่จตุตถฌาน มีอุเบกขาและเอกคตารมณ์


สัมมาสมาธิคือ กุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ต้องขอบคุณ คุณมหาราชันย์เป็นอย่างมากที่ช่วยอธิบาย ขยายความ ตามบัญญัติที่ได้เรียนรู้มาจากตำรา ดีมากครับ
.......แต่มีข้อความท่อนนี้ที่แสดงให้เห็นชัดว่าคุณยังไม่ได้เอาความรู้จากตำราไปพิสูจน์อย่างจริงจัง ข้อความมีว่า
๑.สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง คือความรู้ในเรื่องทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับทุกข์ ความรู้ในทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับความรู้ในไตรลักษณ์ครับ

......สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้องตามบัญญัติที่ยกมานั้นถูกต้องอยู่ แต่ปฏิบัติการนั้น เห็นถูกต้องที่สำคัญคือ ความเห็นเหตุทุกข์ ซึ่งตามตำราบอกว่าตัณหา ก็ถูกต้อง ตัณหา เกิดจากเวทนา ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ก็ถูกต้อง เวทนา 2 ตัว คือ สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ถ้าเกิดที่กาย โสมนัส โทมนัส และเฉย ถ้าเกิดที่จิต หรือสรุปว่า ความยินดี ยินร้าย เฉยๆ 3 ความรู้สึกนี้ทำให้เกิดตัณหา ความยินดี ยินร้าย นี่ทำให้เกิดตัณหาทั้ง 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหาและวิภวตัณหาตรงๆเลย ส่วนอุเบกขานั้นจะเกิดตัณหาทั้ง 3 ได้เหมือนกันแต่ละเอียดอ่อนมาก

.......งานสำคัญของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาก็คือ เจริญปัญญา (สัมปะฌาโน) และสติ (สติมา) (ในฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ทุกฐานจะนำ้ให้ไปพบกับ ความยินดี ยินร้าย ซึ่งในสติปัฏฐานสูตรนั้นพระพุทธเจ้าทรงเรียกชื่อว่า อภิชฌา และ โทมนัสสัง พระองค์ตรัสว่า ให้ละ อภิชฌาและโทมนัสสัง (วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง)

..........ใครเป็นผู้ยึดแบกไว้ ใครจะเป็นผู้ละ และจะละอย่างไร ปฏิบัติการสำคัญตรงนี้ครับ

ใครเป็นผู้ยึดแบกไว้ ตอบ อวิชชา มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู เป็นผู้ยึดแบกไว้

ใครเจะเป็นผู้ละ ตอบ ปัญญาสัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง ว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่อัตตา ตัวกู ของกู เท่านั้นแหละที่จะเป็นธรรมที่มาทำให้เกิดการปล่อยวางโดยธรรม


...........ทั้งหมดสำคัญตรงนี้นะครับคุณมหาราชันย์ ผมจึงกล่าวว่า สัมมาทิฐิ หรือ สัมมาทิฐิที่เต็มร้อยเปอร์เซนต์แล้ว ก็คือ เห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นและสรุปไว้ตรงยอดสุดของธรรมว่า
................................."สพฺเพธมฺมา อนัตตา"
Onion_L
:b34: ความรู้ในบัญญัติที่ถูกต้องทั้งหมด เป็น สุตตมยปัญญา

:b16: ความคิดพิจารณาหาเหตุผลไปตามหลักทฤษฏี เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง โดยนึกเทียบกับอดีตอารมณ์ อดีตประสบการณ์ หรือ สัญญา เป็น จินตมยปัญญา

:b8: การลงมือพิสูจน์ธรรม หรือการเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8 เป็นภาวนามยปัญญา
บัญญัติ สัญญาทั้งหมดพาเราสู่ปรมัตถ์ มาถึงการทำจริง เมื่อเราเข้าไปเผชิญหน้ากับสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริงๆ ในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ เราจึงจะได้เห็นจริง เห็นถูกต้องโดยสมบูรณ์ ครับ

........ลงมือปฏิบัติจริงๆไปนานๆ แล้วจะพบว่ามีอีกหลายเรื่องที่ลึกละเอียดกว่าสัญญาและบัญญัติที่เราได้เรียนรู้มาครับ :b29:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_5141.JPG
100_5141.JPG [ 58.6 KiB | เปิดดู 4051 ครั้ง ]
tongue อริยสัจ ๔ ไม่นับเนื่องเข้าในโพธิปักขิยธรรมครับ

หมวดธรรมในโพธิปักขิยธรรม ที่จำแนก ได้ ๔ มี ดังนี้

๑. สติปัฏฐาน ๔
๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อิทธิบาท ๔

เมื่อปฏิบัติธรรม ด้วยความเพียร ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ
ในที่สุด โพธิปักขิยธรรมก็จะเกิดขึ้น รวมกันทำหน้าที่ให้รู้แจ้งอริยสัจ ๔

สัมมัปปธาน ๔ มีดังนี้

๑. สังวรปธาน คือ เพียรพยายามระวังยับยั้งอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
๒. ปหานปธาน คือ เพียรพยายามละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน คือ เพียรพยายามทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
๔. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรพยายามรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งมั่น เจริญยิ่งขึ้น


ขอบคุณคุณภูพิงค์เป็นอย่างยิ่งครับ

เรียนทุกๆท่านทราบและแก้ไขให้ถูกต้องตามนี้ด้วยครับ

อริยสัจ 4 ไม่นับเนื่องในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ผมรับรู้มาผิด เลยบอกผิดไปขอโทษทุกท่านครับ
:b34: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
.......งานสำคัญของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาก็คือ เจริญปัญญา (สัมปะฌาโน) และสติ (สติมา) (ในฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ทุกฐานจะนำ้ให้ไปพบกับ ความยินดี ยินร้าย ซึ่งในสติปัฏฐานสูตรนั้นพระพุทธเจ้าทรงเรียกชื่อว่า อภิชฌา และ โทมนัสสัง พระองค์ตรัสว่า ให้ละ อภิชฌาและโทมนัสสัง (วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง)




สวัสดีครับ
พออ่านปุ๊บคุณก็บอกได้เลยว่าผมไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
ขอถามบ้างนะครับ ที่ว่าคุณเป็นผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน นั้นคุณปฏิบัติอย่างไรหรือครับ ?


ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีครับคุณราชันย์
*******ต้องขออภัยนะครับที่ทำให้คุณเข้าใจว่า ผมมองเห็นว่าคุณไม่เคยปฏิบัติธรรม
คนไม่เคยปฏิบัติธรรม จะไม่สามารถวิจารณ์และนำข้อธรรมยกมากล่าวแยกแยะแจกแจงได้มากถึงขนาดนี้
********แต่ที่นำมาท้วงติงนั้นก็คือการสัมผัสปรมัตถธรรม สัจธรรมความจริงที่ปรากฏและดำเนินไปในรูปนาม กายใจ ขันธ์ 5 ก้อนนี้ ถ้าสัมผัสโดยบัญญัติ หรือสมถะภาวนา จะเห็นหรือรู้ออกมาในมุมมองหนึ่ง ถ้าสัมผัสโดยวิปัสสนาภาวนา จะเห็นหรือรู้ออกมาในอีกมุมมองหนึ่ง
********ที่สำคัญคือกลิ่นอายของคำพูดจะมีปรมัตถ์แทรกอยู่เยอะนะครับ นี่เป็นการวิตกวิจารณ์ตามข้อเขียนทั้งหมดที่คุณแสดงไป
********แต่ก็ไม่แน่อีกละนะครับ บางทีคุณอาจลึกซึ้งในธรรมทั้งทฤษฏีและปฏิบัติมามากแล้ว ๆ มีเมตตามาช่วยวิเคราะห์วิจารณ์ธรรม ขยายธรรมเพื่อประโยชน์แก่ ผมและหมู่ชนทั้งหลาย จึงต้องขอกราบขอบพระคุณไว้ในโอกาสนี้ด้วย

********ผมเจริญวิปัสสนาภาวนา คือเจริญมรรค 8 เป็นหลัก โดยมีสติปัฏฐาน 4 เป็นข้อหนึ่งใน 8 ข้อที่เจริญอยู่ แต่อาจไม่เหมือนอย่างที่คุณ และผู้คนจำนวนมากกำลังนิยมทำกันอยู่ขณะนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ห็จะเป็นสติปัฏฐาน 4 ตามแนวทางการสอนของอาจารย์มหาสีสยาดอ หรือหลายคนหลายท่านกำลังเจริญธรรมตามบัญญัติในมหาสติปัฏฐาน 4 ถ้าเป็นการปฏิบัติธรรมตามแนวของเมืองไทยซึ่งได้รับอิทธิพลจากการสอนของครูบาอาจารย์ที่ท่านพ้นทุกข์ไปแล้วหลายท่านหลายองค์เช่นหลวงปู่มั่น และศิษยานุศิษย์องค์สำคัญๆทั้งหลาย ซึ่งใช้พุทธานุสติร่วมกับอานาปานสตินำ แล้วมาเจริญปัญญาแบบธรรมชาติ ต่อยอดขึ้นไป ก็ได้บรรลุธรรมกันเป็นจำนวนมาก

*********สติปัฏฐาน 4 ที่ผมเจริญ ผมใช้ปัจจุบันอารมณ์เป็นหลัก เพราะที่ปัจจุบันอารมณ์นั้นเป็นที่รวมของสติปัฏฐาน 4

*********โดยธรรมชาติเวลาที่เราลงมือเจริญวิปัสสนาภาวนา โดยเอาสติ ปัญญามาเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ เราจะได้พบ เห็นและรู้ความจริงว่า เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้นกับทวารทั้ง 6 ทวารใดทวารหนึ่งแล้ว มันจะก่อให่เกิดเวทนาและอารมณ์ขึ้น ในกายและจิต การรู้อารมณ์ของผูปฏิบัติในแต่ละโอกาสจะไม่เหมือนกัน หรือเป็นหลักตายตัว เพราะตอนมีผัสสะ ถ้าตอนนั้นจิตยังหยาบอยู่ก็จะรู้อาการที่กายอันเป็นของหยาบ แต่ถ้าตอนนั้น จิตกำลังละเอียด ก็อาจรู้ชัดที่ เวทนา จิต หรือ ธรรมมารมณ์ แล้วแต่ระดับความหยาบ ละเอียดของจิต เป็นไปโดยธรรมชาติ ณ ปัจจุบันอารมณ์นั้นๆ

**********ที่สุดของการเจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะพิจารณาจากฐานใด เขาก็จะไปแล้วหรือสิ้นสุดที่ อิชฌาและโทมนัสสังหรือความยินดี ยินร้าย ทั้งสิ้น งานสำคัญคือจะทำอย่างไรจึงจะละอิชฌาและโทมนัสสังหรือความยินดี ยินร้าย ที่เกิดขึ้นในจิต ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผมเคยได้ทราบจะเป็นนึกละ นึกปล่อยวาง ทำใจปล่อยวาง ที่เก่งขึ้นไปกว่านั้นก็อาจเอาอำนาจสมถะมาบัง หรือหยุดความยินดียินร้ายนั้นไว้ ด้วยบริกรรมต่างๆ แต่ที่เก่งมากๆ คือ เจริญปัญญาสังเกตพิจารณาต่อไปจนเห็นอนิจจังชัด แล้วปล่อยวาง เห็นทุกขังชัด แล้วปล่อยวาง หรือเห็นอนัตตาชัด แล้วปล่อยวาง กลุ่มท้ายๆนี้ เข้าช่องทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

**********ผมก็ทำตามนี้และปล่อยวางอารมณ์ได้ตามแนวทางท้ายๆนี้ แต่ของผมเน้นอนัตตา ชัดที่อนัตตาครับ ที่เป็นเช่นนี้เพราะตลอดเวลาการปฏิบัติ ผมสังเกตเห็นอุปาทาน ความเห็นผิดเป็นอัตตา ตัวกู ของกู มันโผล่ขึ้นมาตอบโต้ ยินดี ยินร้ายกับเวทนาแทบทุกครั้งไป เมื่อตอนปฏิบัติใหม่ๆ แต่พอนานๆไป อัตตาหรือกู เขาไม่ค่อยมายุ่ง เขาคงจะผอมไปหมดแรงไปเยอะแล้ว แต่ถ้าเจอกระทบสัมผัสที่แรงๆ อัตตา หรือ กูเขาก็มาอยู่เหมือนกัน แต่ไม่ค้อยบ่อยนักแล้ว

**********หลังๆนี่มักจะเป็นอัตตาตัวน้องที่เขาเรียกว่า มานะทิฐิ ซึ่งยังมีกำลังมากอยู่ มักจะมาตอนถูกสบประมาท หรือมีวาทะ เอาความเห็น (ทิฐิ) มาถูกัน แต่ผมก็ชอบมากเพราะเขาแสดงตัวบ่อยเท่าไร ก็เป็นโอกาสดีที่จะได้ประลองกำลังกัน สู้กัน จนกว่าจะแพ้ ชนะกันไปข้างหนึ่ง อันนี้ก็ใหม่ๆ ก็แพ้เขาบ่อย แต่เดี๋ยวนี้เมื่อเขามา เราจะ ยิ้มและยินดีที่ได้เจอเพื่อจะได้มีงานให้ทำต่อไป จนกว่าจะหมดงานที่จะต้องทำอย่างแท้จริง :b16: Onion_L

*********** ถามไปนิดเดียวแต่ตอบกลับมายาวเป็นวา ต้องขออภัยทุกท่านด้วยนะครับ เสียเวลาจับประเด็นเอาหน่อยนะครับ เห็นอะไรออกนอกธรรม กรุณาชี้แนะด้วยนะครับ ขอบพระตุณมาก สาธุ
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue แก้ไขเพิ่มเติมนิดหนึ่งครับ เพราะพิมพ์ อภิชฌา เป็น อิชฌา ขออภัยครับ

**********ที่สุดของการเจริญสติ ปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะพิจารณาจากฐานใด เขาก็จะไปแล้วหรือสิ้นสุดที่
อภิชฌาและโทมนัสสังหรือความยินดี ยินร้าย ทั้งสิ้น
*********งานสำคัญคือจะทำอย่างไรจึงจะละอภิชฌาและโทมนัสสังหรือความยินดี ยินร้าย ที่เกิดขึ้นในจิต ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผมเคยได้ทราบจะเป็นนึกละ นึกปล่อยวาง ทำใจปล่อยวาง
*********ที่เก่งขึ้นไปกว่านั้นก็อาจเอาอำนาจสมถะมาบัง หรือหยุดความยินดียินร้ายนั้นไว้ ด้วยบริกรรมและกรรมฐานต่างๆ
*********แต่ที่เก่งมากๆ คือ เจริญปัญญาสังเกตพิจารณาต่อไปจนเห็นอนิจจังชัด แล้วปล่อยวาง
เห็นทุกขังชัด แล้วปล่อยวาง หรือเห็นอนัตตาชัด แล้วปล่อยวาง กลุ่มท้ายๆนี้ เข้าช่องทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
********แต่ที่นำมาท้วงติงนั้นก็คือการสัมผัสปรมัตถธรรม สัจธรรมความจริงที่ปรากฏและดำเนินไปในรูปนาม กายใจ ขันธ์ 5 ก้อนนี้ ถ้าสัมผัสโดยบัญญัติ หรือสมถะภาวนา จะเห็นหรือรู้ออกมาในมุมมองหนึ่ง ถ้าสัมผัสโดยวิปัสสนาภาวนา จะเห็นหรือรู้ออกมาในอีกมุมมองหนึ่ง
********ที่สำคัญคือกลิ่นอายของคำพูดจะมีปรมัตถ์แทรกอยู่เยอะนะครับ นี่เป็นการวิตกวิจารณ์ตามข้อเขียนทั้งหมดที่คุณแสดงไป




สวัสดีครับคุณอโศกะ


ขอถามเพิ่มเติมนะครับ

1.ปรมัตถธรรม ตามที่คุณเข้าใจ ปรมัตถธรรมคืออะไรครับ ?
2.สัจจะธรรมความจริงที่ปรากฏแก่ปัญญาในจิตคุณมีกี่ปรพเภทสัจจะครับ ?
3.สัมผัสโดยบัญญัติ หรือสมถะภาวนา ความรู้นี้ นิยามศัพท์นี้คุณเอามาจากไหนครับ ?
4.นิยามศัพท์ว่า สมถะ มีนิรุตติและสภาวะธรรมว่าคือสมถะถูกต้องจริงหรือครับ ?
5.วิปัสสนาภาวนา คืออะไรครับ ?
6.ปฏิบัติอย่างไรจึงเรียกว่ามี วิปัสสนาภาวนา เกิดขึ้นครับ ?
7.คุณกล่าวว่า ...ที่สำคัญคือกลิ่นอายของคำพูดจะมีปรมัตถ์แทรกอยู่เยอะนะครับ ...ความหมายและสภาวะธรรมที่ชื่อ ปรมัตถ์ ที่คุณเข้าใจตอนนี้คุณแน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องดีแล้วชัดเจนดีแล้วหรือครับ ?


ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
*********สติปัฏฐาน 4 ที่ผมเจริญ ผมใช้ปัจจุบันอารมณ์เป็นหลัก เพราะที่ปัจจุบันอารมณ์นั้นเป็นที่รวมของสติปัฏฐาน 4



สวัสดีครับคุณ อโศกะ

ขอถามเพิ่มเติมอีกนะครับ

1.คุณกล่าวว่า ปัจจุบันอารมณ์
คำว่าอารมณ์คืออะไรครับ ?
2.สติปัฏฐาน 4 ที่คุณเจริญ คุณบอกว่าคณใช้ปัจจุบันอารมณ์เป็นหลัก มีอารมณ์ในปัจจุบันนั้นเป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างไรครับ ?
3.การปฏิบัติแบบนี้มาจากที่ไหนครับ ?
4.การปฏิบัติแบบนี้ถูกต้องจริงหรือครับ ?



ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 13:27
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ในมรรคมีองค์แปดนี้ ผมมีความสงสัยบางประการดังนี้
1 การงานชอบ กับ เลี้ยงชีพชอบ ต่างกันอย่างไร
จขกท. อธิบายก็ยังคาบเกี่ยวกันด้วยศีลห้า ผมว่ามรรค เป็นธรรมะที่สำคัญมากๆ ทั้ง2ข้อนี้ต้องมีอะไรที่ต่างกันอย่างชัดเจน เมือไปดูบทสวดมนต์แปล การงานชอบ ขยายไว้ ว่าไม่ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ซึ่งก็อยู่ในศีลห้า อันนี้เข้าใจ แต่เลี้ยงชีวิตชอบ ขยายไว้ว่า ละการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ขอบ อันนี้แหละที่งง
2 ในสติปัฎฐาน4 ส่วนของธรรมาสติซึ่งกระจายออกเป็น
มีสติเห็นนิวรณ์ในนิวรณ์(ขยายมาจากเห็นธรรมในธรรม)
เห็นขันธ์5ในขันธ์5
เห็นอายตนะในอายตนะ
เห็นโพชฌงค์ในโพชฌงค์ งงตรงนี้ครับ
เห็นอริยสัจในอริยสัจ
ที่งง เพราะเราจะมีสติเห็น สติ ธรรมวิจย วิริยะ ปิติ ปัสธิ สมาธิ อุเบกขาได้อย่างไร ...หรือเป็นในขั้นละเอียดระดับพระอริยะแล้วถึงจะเห็นได้

.......รบกวนผู้รู้ครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_2756_resize.JPG
100_2756_resize.JPG [ 28.72 KiB | เปิดดู 3988 ครั้ง ]
cool สวัสดีครับคุณราชันย์
ผมมีงานติดพันเลยมาตอบช้าหน่อย ขออภัยนะครับ
อ้างอิง
ขอถามเพิ่มเติมนะครับ

1.ปรมัตถธรรม ตามที่คุณเข้าใจ ปรมัตถธรรมคืออะไรครับ ?
2.สัจจะธรรมความจริงที่ปรากฏแก่ปัญญาในจิตคุณมีกี่ปรพเภทสัจจะครับ ?
3.สัมผัสโดยบัญญัติ หรือสมถะภาวนา ความรู้นี้ นิยามศัพท์นี้คุณเอามาจากไหนครับ ?
4.นิยามศัพท์ว่า สมถะ มีนิรุตติและสภาวะธรรมว่าคือสมถะถูกต้องจริงหรือครับ ?
5.วิปัสสนาภาวนา คืออะไรครับ ?
6.ปฏิบัติอย่างไรจึงเรียกว่ามี วิปัสสนาภาวนา เกิดขึ้นครับ ?
7. คุณกล่าวว่า ...ที่สำคัญคือกลิ่นอายของคำพูดจะมีปรมัตถ์แทรกอยู่เยอะนะครับ ...ความหมายและสภาวะธรรมที่ชื่อ ปรมัตถ์ ที่คุณเข้าใจตอนนี้คุณแน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องดีแล้วชัดเจนดีแล้วหรือครับ ?

ตอบ
1.ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง ในบัญญัติหลัก มี จิต เจตสิก รูป นิพพาน
........แต่ในปฏิบัติการ ปรมัตถธรรม สัจจ อมตะ อนัตตา นิพพาน เป็นอันเดียวกัน รู้ถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะรู้ทะลุถึงกันได้หมด
........ปรมัตถธรรม ง่ายๆ คือสิ่งที่ตั้งชื่อให้ได้ เรียกว่าปรมัตถบัญญัติ แต่ไม่สามารถอธิบายความหมายได้ ต้องสัมผัสรู้ด้วยใจเจ้าของ ตัวอย่างปรมัตถ หรือสัจจธรรมในชีวิตจริงประจำวัน เช่น หนัก เบา แข็ง อ่อน (ดิน) เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง (ลม) ร้อน หนาว เย็น อุ่น (ไฟ) ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุมกันเข้า )(น้ำ) เปี้ยว หวาน มัน เค็ม (รส) สุข ทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้เป็นต้น


2.สัจจธรรมที่ปรากฏแก่ปัญญา มี บัญญัติสัจจะ กับ ปรมัตถสัจจะ

3.สัมผัสโดยบัญญัติ หรือสมถะภาวนา เอามาจากประสบการณ์จริง เพราะสมถะภาวนาเป็นบัญญัติ ตั้งธงไว้ กำหนดไว้ เวลาวิตก วิจารณ์ จะวิตกวิจารณ์ตามธง หรือบัญญัติที่ตั้งไว้

4.สมถะ มีความหมายว่า สงบรำงับนิวรณ์ 5

5.วิป้สนาภาวนา คือคำสอนสำคัญสุดยอดของพระพุทธเจ้า เป็นชื่อย่อของการเจริญมรรค 8 เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา มีสอนอยู่เฉพาะในพุทธศาสนา มีรายละเอียดที่จะยกมาแสดงในคราวต่อไปครับ

6.ถ้าการปฏิบัตินั้นทำให้เห็นหรือรู้ซึ้งไตรลักษณ์ นั่นคือวิปัสสนาภาวนา รู้อย่างอื่นถือว่านอกทาง

7.ปรมัตถ์ ที่ผมเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว เพราะพิสูจน์ด้วยตัวเองแล้ว และกำลังมีชีวิตอยู่กับการเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา ปรมัตถธรรม อนัตตาธรรม สัจจธรรม ในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จนเห็นว่านี่แหละคือ "หน้าที่ของชาวพุทธ" โดยแท้จริง
Onion_L

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_5142.JPG
100_5142.JPG [ 60.98 KiB | เปิดดู 3979 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณราชันย์
อ้างอิง

สวัสดีครับคุณ อโศกะ
ขอถามเพิ่มเติมอีกนะครับ

1.คุณกล่าวว่า ปัจจุบันอารมณ์
คำว่าอารมณ์คืออะไรครับ ?
2.สติปัฏฐาน 4 ที่คุณเจริญ คุณบอกว่าคณใช้ปัจจุบันอารมณ์เป็นหลัก มีอารมณ์ในปัจจุบันนั้นเป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างไรครับ ?
3.การปฏิบัติแบบนี้มาจากที่ไหนครับ ?
4.การปฏิบัติแบบนี้ถูกต้องจริงหรือครับ ?


ตอบ

1.ปัจจุบันอารมณ์ คืออารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้า ณ บัดเดี๋ยวนี้ สติ เป็นผู้รู้ทัน ปัญญาเป็นผู้ตามมา ดู สังเกต พิจารณา รู้ ตัดสิน แล้วก่อกรรม หรือยุติกรรม

****อารมณ์ คือการเสวยปัจจัยของจิต อันได้แก่ เจตสิกทั้ง 52 ดวงๆใดดวงหนึ่ง เป็นนามธรรม เกิดขึ้นแล้ว ดับไปทันที


2.ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมของสติปัฏฐาน 4 เพราะผู้ปฏิบัติเมื่อเจริญสติ เจริญปัญญา พิจารณาอารมณ์ธรรมแต่ละครั้งนั้นจะมีความหยาบและละเอียดของจิตต่างกัน ถ้าจิตหยาบ ก็จะรู้ได้แค่ฐานกาย หรือ เวทนา
******ถ้าตอนนั้นจิตละเอียด ก็อาจรู้ได้ถึงฐาน จิต และ ธรรม รู้ฐานใหนเป็นปัจจุบันอารมณ์ ก็เริ่มพิจารณาจากฐานนั้น เมื่อจิตละเอียดอ่อนเข้าไปแล้ว ก็จะได้เห็นว่า ไม่ว่าจะรู้เริ่มจากฐานใดก่อน ในที่สุดก็จะแทงตลอดทั้ง 4 ฐาน ทุกครั้ง ทุกการกระทบสัมผัสเสมอ


******ที่สำคัญ ความรู้เข้าไปในทั้ง 4 ฐานนั้น ที่สุดก็จะไปรวมลงที่ ยินดี ยินร้าย หรือ อภิชฌา และ โทมนัสสัง ซึ่งจะต้องเอาออกเสียให้ได้ ด้วย สัมมาทิฐิ วิชชา หรือความเห็นถูกต้อง นี้คือสาระสำคัญอันเป็นจุดมุ่งหมายของสติปัฏฐาน 4

3.การปฏิบัติแบบนี้มาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ในภัตเทกรัตตคาถา โดยพระไตย จากพม่า รูปหนึ่ง นำมาแจกแจง และแนะนำการปฏิบัติ

4.การเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือมรรค 8 นั้น ถูกต้องหรือไม่ เป็นสิ่งที่วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง

แต่พระบรมศาสดาทรงรับรองไว้ว่า "สมฺมา วิหาเรยุง อสุญโญโลโก อรหันเตหิ" แปลให้ถูกต้องตามความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไร คุณราชันย์ลองไปค้นมาตอบดูนะครับว่าจะตรงกันหรือไม่
สาธุ

:b8: กุศลจากธรรมทานนี้ จงเป็นพละปัจจัย ดลให้ ธรรมมะคำสอนอันถูกต้องของพระผู้มีพระภาคเจ้า หลั่งไหลเข้าสู่ดวงใจของมวลหมู่มนุษย์ชาติ ให้เกิดสติ ปัญญา มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงธรรม เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ทันในปัจจุบันชาตินี้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เทอญ smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_4845.JPG
100_4845.JPG [ 4.4 KiB | เปิดดู 3980 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับ คุณคเวสันโต
อ้างอิง

.ในมรรคมีองค์แปดนี้ ผมมีความสงสัยบางประการดังนี้
1 การงานชอบ กับ เลี้ยงชีพชอบ ต่างกันอย่างไร
จขกท. อธิบายก็ยังคาบเกี่ยวกันด้วยศีลห้า ผมว่ามรรค เป็นธรรมะที่สำคัญมากๆ ทั้ง2ข้อนี้ต้องมีอะไรที่ต่างกันอย่างชัดเจน เมือไปดูบทสวดมนต์แปล การงานชอบ ขยายไว้ ว่าไม่ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ซึ่งก็อยู่ในศีลห้า อันนี้เข้าใจ แต่เลี้ยงชีวิตชอบ ขยายไว้ว่า ละการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ขอบ อันนี้แหละที่งง
2 ในสติปัฎฐาน4 ส่วนของธรรมาสติซึ่งกระจายออกเป็น
มีสติเห็นนิวรณ์ในนิวรณ์(ขยายมาจากเห็นธรรมในธรรม)
เห็นขันธ์5ในขันธ์5
เห็นอายตนะในอายตนะ
เห็นโพชฌงค์ในโพชฌงค์ งงตรงนี้ครับ
เห็นอริยสัจในอริยสัจ
ที่งง เพราะเราจะมีสติเห็น สติ ธรรมวิจย วิริยะ ปิติ ปัสธิ สมาธิ อุเบกขาได้อย่างไร ...หรือเป็นในขั้นละเอียดระดับพระอริยะแล้วถึงจะเห็นได้


ตอบ
*******1.การงานชอบ อธิบายแบบพื้นๆให้เข้าใจง่าย คือการงานที่ไม่ผิดศีล 5
แต่ถ้าแปลความหมายในเชิงปฏิบัติแล้วจะคือ การทำการงานเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8 ไปจนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทางโยสมบูรณ์ คืออนุปาทิเสสะนิพพาน


*******อาชีพชอบก็เช่นเดียวกัน พื้นๆ คืออาชีพที่ไม่ล่วงและไม่สนับสนุนให้ผิดศีล 5
แต่ความหมายในเชิงปฏิบัติแล้ว จะหมายถึง กาทำอาชีพอะไรก็ตามที่ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัย 4 มาหล่อเลี้ยงชีวิต อัตตภาพกายใจนี้ ให้มีชีวิตรอด และมีเวลาได้ทำสัมมากัมมันตะ ให้มากที่สุด


****** อย่างพระ ท่านก็บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน อย่างเราท่านทั้งหลายนี้ ก็ต้องทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต ดี งาม เมื่อได้ทรัพย์มาแล้วก็จะได้เอามาแลก ซื้อ เวลาชีวิต วันละ 24 ชั่วโมงนี้ ให้ได้สักวันละ 1 - 2 ชั่วโมง หรือ ปีละ 2 - 3 ครั้ง ไปเข้าปฏิบัติธรรมเข้มข้น กับครูบาอาจารย์ กัลยาณมิตร ให้รู้และปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาได้ดี จนสามารถนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตจริง ในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ให้ได้รู้หน้าที่ของชาวพุทธ ดำรงตนเป็นชาวพุทธที่ดีได้

*******หากทำหน้าที่ชาวพุทธได้ดี ได้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ ไม่ช้าต้องถึงธรรมแน่นอน และควรให้ถึงในชาตินี้แหละครับ จะได้ไม่เสียชาติที่ได้เกิดมาเป็นคน

*******2.สติปัฏฐาน 4 ข้อธัมมานุปัสสนา ลองอ่านคห ที่ตอบคุณราชันย์ หรือจะลองไปเยี่ยม 2 เวบบอร์ดนี้ดูก็ได้นะครับ smiley

http://www.free-webboard.com/home.php?n ... hammachati


http://www.free-webboard.com/home.php?nm=Asoka2552

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
กุศลจากธรรมทานนี้ จงเป็นพละปัจจัย ดลให้ ธรรมมะคำสอนอันถูกต้องของพระผู้มีพระภาคเจ้า หลั่งไหลเข้าสู่ดวงใจของมวลหมู่มนุษย์ชาติ ให้เกิดสติ ปัญญา มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงธรรม เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ทันในปัจจุบันชาตินี้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เทอญ


สวัสดีครับคุณอโศกะ

ถ้ารู้มาผิด เรียนมาผิด เชื่อมาผิด ปฏิบัติผิดแนวทางพระพุทธเจ้า เห็นผลผิดแนวทางพระพุทธเจ้า
แล้วนำคำสอนผิดนั้นมาสอนคนอื่น คนอื่นเรียนผิด คนอื่นรู้ผิด คนอื่นเชื่อผิด ปฏิบัติผิดแนวทางพระพุทธเจ้า เห็นผลผิดแนวทางพระพุทธเจ้า


คุณอโศกะว่าความรู้ที่คุณเอามาเผยแผ่เป็นธรรมทานอยู่อีกไหมครับ?
คุณอโศกะจะได้กุศลผลบุญจากการแสดงธรรมที่ผิดไหมครับ?


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 14 ก.ย. 2009, 16:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


Onion_L เชิญคุณราชันย์ วิเคราะห์ให้ฟัง ทั้งด้วยบัญญัติและด้วยปรมัตถ์ ว่ามีข้อธรรมที่ผมนำมากล่าวตรงไหน น่าจะนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า ผมยินดีน้อมรับคำแนะนำครับ

*********ผู้เจริญธรรมตาม อริยสัจ 4 มรรค 8 และอนัตตา อันมีมาในธัมจักกัปวัตนสูตร อนัตตลักขณสูตร และ ภัทเทกรัตตคาถา จะมีอะไรผิด ตรงไหน กรุณาชี้แนะ ด้วยเหตุและผลด้วยครับ ขอบพระคุณ

*********ในทางกลับกันกรุณาวิเคราะห์ด้วยว่าท่านกำลังยึดอะไรไว้ในใจอยู่จนเกิดเป็น มานะว่า ทิฐิของข้าพเจ้านี้ถูกต้องที่สุด เหนือกว่า ทิฐิใดๆ ครับ
อนุโมทนา สาธุ
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
เชิญคุณราชันย์ วิเคราะห์ให้ฟัง ทั้งด้วยบัญญัติและด้วยปรมัตถ์ ว่ามีข้อธรรมที่ผมนำมากล่าวตรงไหน น่าจะนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า ผมยินดีน้อมรับคำแนะนำครับ



สวัสดีครับคุณอโศกะ

เรื่องธรรมะเป็นเรื่องใหญ่ คงต้องค่อย ๆ สนทนากันไปครับคงไม่อาจทำความเข้าใจให้ตรงกันได้ภายคำตอบเดียว หรือในวันเดียวหรอกนะครับ

หวังว่าผมและคุณจะได้สนทนากันไปเรื่อย ๆ ทีละประเด็นปัญหานะครับ
ท่านรู้อย่างไร ผมรู้อย่างไร
ในเรื่องเดียวกันท่านเข้าใจว่าไง ผมเข้าใจว่าไง มีเหตุมีผลใดมาอ้างอิงมาสนับสนุน
แม้จะยากบ้างง่ายบ้างที่จะทำความเข้าใจให้ตรงกัน

คุณอโศกะคงมีความอดทนที่จะสนทนากับผมได้จริงตามที่กล่าวเอาไว้นะครับ



เริ่มที่การปฏิบัติที่คุณอโศกะบอกผมว่าคุณเป็นคนปฏิบัติ เริ่มที่เรื่องที่คุณอโศกะถนัดก่อนก็แล้วกันครับ

1.ขณะเจริญสมณะธรรมคุณอโศกะมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้างไหมครับ ?
2.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์หรือรู้สึกเป็นสุขครับ ?
3.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นทุกข์เพราะอะไร?
4.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะรู้สึกเป็นสุขเพราะอะไร ?
5.เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นคุณอโศกะจัดการกับทุกขเวทนาอย่างไรครับ ?

ถามแค่นี้ก่อนครับ


เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร