วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
ผมมีโอกาสได้ถกและสนทนาธรรมกับนักปฏิบัติรุ่นเยาว์กลุ่มหนึ่ง เขาอยากจะจำโพธิปักขิยธรรม 37 ประการให้ได้ แว้ปหนึ่งในช่วงสนทนาผมได้ค้นพบ ระหัสลับเพื่อไปไขเอากุญแจแห่ง โพธิปักขิยธรรม 37 ประการระหัสลับนั้นมีดังนี้ครับ

34251718 ต้องอ่านว่า "สามสี่ สองห้า หนึ่งเจ็ด หนึ่งแปด" ครับ

34 คือ อริยสัจ4 สติปัฏฐาน 4 อิทธิบาท 4

25 คือ อินทรีย์ 5 พละ 5

17 คือ โภชงค์ 7

18 คือ มรรคมีองค์ 8
smiley

ภาคขยายจะนำมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปครับ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


แก้ไขล่าสุดโดย TU เมื่อ 29 ส.ค. 2009, 16:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 03:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ


ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความประกอบโดยแท้
ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดิน เพราะความไม่ประกอบ
บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนี้แล้ว
พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญาเพียงดังแผ่นดิน จะเจริญขึ้นได้



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


cool วันนี้มาฟังภาคขยายโพธิปักขิยธรรม แบบจำง่ายต่อนะครับ

เมื่อได้KEY CODE 34 25 17 18 และหัวข้อแล้ว วันี้เรามาดูภาคขยายที่ 1 กันนะครับ

อริยสัจ 4
******1.ทุกข คือ ความทนอยู่ไม่ได้ ในที่นี้คือขันธทุกข์ทั้งหมด เป็นตัว "ผลทุกข์"
******2.สมุทัย คือ "เหตุทุกข์" กล่าวในอริยสัจว่า ตัณหา แต่ต้องค้นคว้าวิเคราะห์ลงไปให้ลึกกว่านี้
******3.นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หมายถึง นิพพาน ความหมดสิ้นกิเลสและความเวียนว่ายตายเกิด
*************เป็นตัว "ผลสุข"
******4.มรรค คือ วิธีทำให้ถึงความดับทุกข์ มีองค์ 8 เป็นตัว "เหตุสุข" ต้องแยกอธิบายต่างหาก
สติปัฏฐาน 4
+++++1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นกายในกาย
+++++2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นเวททนาในเวทนา
+++++3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นจิตในจิต
+++++4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อิทธิบาท 4
...........1.ฉันทะ ความพอใจ รักใคร่ ในสิ่งนั้นๆ
...........2.วิริยะ ความเพียรพยายามที่จะทำสิ่งนั้นๆให้สำเร็จ
...........3.จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นเรื่องนั้นไม่ทอดทิ้งธุระ
...........4.วิมังสา ความใคร่ครวญ สังเกต พิจารณา หาเหตุหาผลในเรื่องนั้นๆ

แล้วมาฟังตอนต่อไปนะครับ สาธุ tongue

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


cool วันนี้เรามาฟังต่อเรื่องของ สองห้า 2 - 5
Onion_L
อินทรีย์ 5 กับ พละ 5
มีองค์ธรรมที่เหมือนกันซึ่งเรียงลำดับตามขั้นตอนของสภาวะธรรม เป็น
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

:b20:
อินทรีย์ 5 ความเป็นใหญ่ทั้ง 5
@@@@@1.ศรัทธินทรีย์ มีความศรัทธาเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง
@@@@@2.วิริยินทรีย์ มีความเพียรเป็นอย่างยิ่ง
@@@@@3.สตินทรีย์ มีความระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์หรือสติปัฏฐาน 4 ได้ดียิ่ง
@@@@@4.สมาธินทรีย์ มีสมาธิอันยิ่ง คือฌาณ 4 สังขารุเปกขาญาน หรือสัมมาสมาธิ
@@@@@5.ปัญญินทรีย์ มีปัญญาอันยิ่ง คือสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะละเอียดคมกล้า

:b11:
พละ 5 พลัง ขุมกำลังทั้ง 5
$$$$$$$$1.ศรัทธาพละ กำลัง ที่ได้จากแรงศรัทธา
$$$$$$$$2.วิริยะพละ กำลังที่ได้จากแรงความเพียร
$$$$$$$$3.สติพละ กำลังแห่งสติ
$$$$$$$$4.สมาธิพละ กำลังที่ได้จากสมาธิ
$$$$$$$$5.ปัญญาพละ กำลังที่ได้จากปัญญา

:b29:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue วันนี้ต่อโพธิปักขิยธรรม 37 หรือปีกธรรมพานำบินเข้าสู่นิพพาน หมวด
หนึ่งเจ็ด ๑ ๗ ครับ
โภชฌงค์ ๗
๑.สติสัมโภชฌงค์ สติ ความระลึกรู้อยู่กับสติปัฏฐานทั้ง 4 และปัจจุบันอารมณ์
๒.ธัมมวิจัยสัมโภชฌงค์ การพิจารณา ใคร่ครวญ แยกแยะ แจกแจงธรรม
๓.วิริยสัมโภชฌงค์ ความเพียรในสัมมัปทาน 4 หรือสัมมาวายามะ
๔.ปีติสัมโภชฌงค์ ความอิ่มเอิบซาบซ่านกาย ใจ
๕.ปัสสัทธิสัมโภชฌงค์ ความเบากาย เบาใจ
๖.สมาธิสัมโภชฌงค์ ความตั้งมั่นของจิต
๗.อุเบกขาสัมโภชฌงค์ ความวางเฉยหยุดความปรุงแต่ง

smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อริยสัจ 4
******1.ทุกข คือ ความทนอยู่ไม่ได้ ในที่นี้คือขันธทุกข์ทั้งหมด เป็นตัว "ผลทุกข์"
******2.สมุทัย คือ "เหตุทุกข์" กล่าวในอริยสัจว่า ตัณหา แต่ต้องค้นคว้าวิเคราะห์ลงไปให้ลึกกว่านี้
******3.นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หมายถึง นิพพาน ความหมดสิ้นกิเลสและความเวียนว่ายตายเกิด
*************เป็นตัว "ผลสุข"
******4.มรรค คือ วิธีทำให้ถึงความดับทุกข์ มีองค์ 8 เป็นตัว "เหตุสุข" ต้องแยกอธิบายต่างหาก




สวัสดีครับ ขอร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์นะครับ
1.ทุกข์อริยะสัจ คืออุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์ คนละอย่างกับความทุกข์ที่เป็นทุกขังในไตรลักษณ์
2.สมุทัยอริยะสัจ คือ อกุศลมูลเป็นเหตุปัจจัยของตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งมวล
3.ทุกขนิโรธอริยะสัจ คือการละอกุศลมูล ดับอกุศลมูล ละตัณหา ความดับตัณหา เป็นความดับทุกข์
4.ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทาอริยะสัจ คือ มรรคมีองค์ 8 เป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติปัฏฐาน 4
+++++1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นกายในกาย
+++++2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นเวททนาในเวทนา
+++++3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นจิตในจิต
+++++4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม




สติปัฏฐาน 4
1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เจริญฌานเป็นโลกุตตระเพื่อละความยินดียินร้ายในโลกเสียได้
2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เจริญฌานเป็นโลกุตตระเพื่อละความยินดียินร้ายในโลกเสียได้
3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เจริญฌานเป็นโลกุตตระเพื่อละความยินดียินร้ายในโลกเสียได้
4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เจริญฌานเป็นโลกุตตระเพื่อละความยินดียินร้ายในโลกเสียได้


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อิทธิบาท 4
...........1.ฉันทะ ความพอใจ รักใคร่ ในสิ่งนั้นๆ
...........2.วิริยะ ความเพียรพยายามที่จะทำสิ่งนั้นๆให้สำเร็จ
...........3.จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นเรื่องนั้นไม่ทอดทิ้งธุระ
...........4.วิมังสา ความใคร่ครวญ สังเกต พิจารณา หาเหตุหาผลในเรื่องนั้นๆ




อิทธิบาท 4
1.ฉันทะ ในอริยะมัคคจิตและอริยะผลจิต เกิดร่วมเกิดพร้อมในอริยะมัคคจิตและอริยะผลจิตเสมอ
2.วิริยะ ในอริยะมัคคจิตและอริยะผลจิต เกิดร่วมเกิดพร้อมในอริยะมัคคจิตและอริยะผลจิตเสมอ
3.จิตตะ ในอริยะมัคคจิตและอริยะผลจิต เกิดร่วมเกิดพร้อมในอริยะมัคคจิตและอริยะผลจิตเสมอ
4.วิมังสา ในอริยะมัคคจิตและอริยะผลจิต เกิดร่วมเกิดพร้อมในอริยะมัคคจิตและอริยะผลจิตเสมอ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อินทรีย์ 5 ความเป็นใหญ่ทั้ง 5
@@@@@1.ศรัทธินทรีย์ มีความศรัทธาเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง
@@@@@2.วิริยินทรีย์ มีความเพียรเป็นอย่างยิ่ง
@@@@@3.สตินทรีย์ มีความระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์หรือสติปัฏฐาน 4 ได้ดียิ่ง
@@@@@4.สมาธินทรีย์ มีสมาธิอันยิ่ง คือฌาณ 4 สังขารุเปกขาญาน หรือสัมมาสมาธิ
@@@@@5.ปัญญินทรีย์ มีปัญญาอันยิ่ง คือสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะละเอียดคมกล้า




ในการปฏิบัติธรรมจริง ๆ มีอินทรีย์ 9 เกิดขึ้นจึงจะบรรลุธรรมครับ
1.สัทธินทรีย์ เชื่อถือในอริยะธรรม
2. วิริยินทรีย์ เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
3. สตินทรีย์ เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
4. สมาธินทรีย์ เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
5. ปัญญินทรีย์ ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยช์
6. มนินทรีย์ จิตหรือวิญญาณขันธ์ที่หลุดพ้นด้วยองค์ฌานหรือองค์ธรรม
7. โสมนัสสินทรีย์ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
8. ชีวิตินทรีย์ ชีวิตของนามธรรม
9. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ปัญญาเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งทำลายกิเลสสังโยชน์ที่ไม่เคยทำลายได้ เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ

หรืออัญญินทรีย์ ปัญญาในการทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นละเอียดยิ่งขึ้นทำลายกิเลสได้มากขึ้น อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว

หรืออัญญาตาวินทรีย์ ภาวะที่รู้ละเอียดหมดจดสิ้นสุดการตรัสรู้ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พละ 5 พลัง ขุมกำลังทั้ง 5
$$$$$$$$1.ศรัทธาพละ กำลัง ที่ได้จากแรงศรัทธา
$$$$$$$$2.วิริยะพละ กำลังที่ได้จากแรงความเพียร
$$$$$$$$3.สติพละ กำลังแห่งสติ
$$$$$$$$4.สมาธิพละ กำลังที่ได้จากสมาธิ
$$$$$$$$5.ปัญญาพละ กำลังที่ได้จากปัญญา



ในการปฏิบัติธรรมมีพละ 7 ประการเกิดขึ้นครับ

1.สัทธาพละ ความเลื่อมใสยิ่งในอริยะมัคคและอริยะผล
2.วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
3. สติพละ สติ สตินทรีย์ กำลังคือสติ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
4. สมาธิพละ สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
5. ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
6.หิริพละ กิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย
7. โอตตัปปพละ ความเกรงกลัวต่อบาป กิริยาที่ไม่ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โภชฌงค์ ๗
๑.สติสัมโภชฌงค์ สติ ความระลึกรู้อยู่กับสติปัฏฐานทั้ง 4 และปัจจุบันอารมณ์
๒.ธัมมวิจัยสัมโภชฌงค์ การพิจารณา ใคร่ครวญ แยกแยะ แจกแจงธรรม
๓.วิริยสัมโภชฌงค์ ความเพียรในสัมมัปทาน 4 หรือสัมมาวายามะ
๔.ปีติสัมโภชฌงค์ ความอิ่มเอิบซาบซ่านกาย ใจ
๕.ปัสสัทธิสัมโภชฌงค์ ความเบากาย เบาใจ
๖.สมาธิสัมโภชฌงค์ ความตั้งมั่นของจิต
๗.อุเบกขาสัมโภชฌงค์ ความวางเฉยหยุดความปรุงแต่ง





โภชฌงค์ ๗ เพื่อการบรรลุธรรม
๑.สติสัมโภชฌงค์ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
๒.ธัมมวิจัยสัมโภชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
๓.วิริยสัมโภชฌงค์ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
๔.ปีติสัมโภชฌงค์ ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความปีติอย่างโลดโผน ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์
๕.ปัสสัทธิสัมโภชฌงค์ การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
๖.สมาธิสัมโภชฌงค์ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
๗.อุเบกขาสัมโภชฌงค์ ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย



การปฏิบัติธรรมด้วยโพชฌงค์ ๗

ในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีในสมัยนั้น



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 06 ก.ย. 2009, 22:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_5140.JPG
100_5140.JPG [ 49.67 KiB | เปิดดู 7444 ครั้ง ]
tongue หนึ่งแปด ๑ ๘
Onion_L มรรค ๘
เป็นหลักปฏิบัติธรรมที่เป็นทางสายกลางเพราะเจริญปัญญา ศีล สติ สมาธิ ไปพร้อมๆกันสนับสนุนซึ่งกันและกันไปจนกว่าจะถึงที่หมายปลายทางคือ นิพพาน แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม-
ก.ปัญญามรรค มี ๒ ข้อ คือ

๑.สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง คือเห็นอริสัจ ๔ และเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา ในทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไป เห็น ดู รู้
๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ความคิดถูกต้อง คือคิดออกจากความยินดี ยินร้ายและการเบียดเบียน ทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไป สังเกต พิจารณา

ข. ศีลมรรค มี ๓ ข้อ คือ
๓.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ในทางปฏิบัติคือการพูดแต่เรื่องอนัตตาและวิธีที่จะทำให้เข้าถึงอนัตตาและนิพพาน
๔.สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ คือการงานที่ไม่ผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการเจริญมรรคทั้ง ๘ ทำงานค้นหาอนัตตา ปล่อยวางอัตตาจนกว่าจะเข้าถึงนิพพานได้โดยสมบูรณ์
๕.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คืออาชีพที่ไม่ผิดและไม่สนับสนุนให้ทำผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการทำมาหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดมาทำสัมมากัมมันตะคือเจริญมรรค ๘ เพื่อให้เข้าถึงนิพพานได้โดยเร็ว

ค.สมาธิมรรค มี ๓ ข้อ คือ
๖.สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ แบ่งออกอีกเป็น ๔ ข้อย่อย เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า

สัมมัปปทาน ๔ คือ
๑.บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
๒.บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
๓.กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
. ๔.กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด
๗.สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นเลยทีเดียว ในทางปฏิบัติความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์นับเป็นสัมมาสติ
๘.สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ คือความที่จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง อยู่กับงานพิสูจน์ อนัตตา หรือการเจริญมรรคทั้ง ๘ จนสามารถทำให้จิตนิ่งได้ถึงระดับฌาน ๔ หรือสังขารุเปกขาญาณ :b39:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ ๔ ไม่นับเนื่องเข้าในโพธิปักขิยธรรมครับ

หมวดธรรมในโพธิปักขิยธรรม ที่จำแนก ได้ ๔ มี ดังนี้

๑. สติปัฏฐาน ๔
๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อิทธิบาท ๔

เมื่อปฏิบัติธรรม ด้วยความเพียร ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ
ในที่สุด โพธิปักขิยธรรมก็จะเกิดขึ้น รวมกันทำหน้าที่ให้รู้แจ้งอริยสัจ ๔

สัมมัปปธาน ๔ มีดังนี้

๑. สังวรปธาน คือ เพียรพยายามระวังยับยั้งอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
๒. ปหานปธาน คือ เพียรพยายามละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน คือ เพียรพยายามทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
๔. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรพยายามรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งมั่น เจริญยิ่งขึ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 23:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 01:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Lips อื้มมมมมมมมมม!!! กำลังทำความเข้าใจอยู่อ่ะคะ...อ่านแล้วดีมากเลยค่ะถึงจะงงบ้างก็เถอะ แต่ก็ได้ความรู้ออกไปนะคะ...( สงสัยตัวเองปัญญายังไม่เย๊อะง่ะเลยยังไม่ค่อยเข้าใจในภาษาบางประโยค แฮ่ะๆๆๆๆๆๆ... :b12: :b12: :b12: )

:b9: :b9: :b9: นู๋เอค่ะ...

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 21:53
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร