วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 08:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน

ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะ สงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก

ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของบุคคลอื่น

ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลาดังนี้ ฯ


(พุทธดำรัส)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 16:00
โพสต์: 19

ชื่อเล่น: แองจี้
อายุ: 25

 ข้อมูลส่วนตัว


:b33: การระงับความโกรธนั้นอยากเหลือเกิน ในเวลาที่เรารู้สึกไม่พอใจ หรือใครมาทำให้เราโกรธ มันก็มักจะลืมไปเสมอว่าเราควรไม่โกรธ ขอบคุณ จขกท มากค่ะ จะพยายามปฏิบัตตามที่พระพุทธเจ้าได้สอนค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อโกรธ ลองดับความโกรธง่ายๆ โดยพิจารณาในใจว่า ความโกรธนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น คงอยู่ แล้วก็ดับไป แบบนี้นะครับ ง่ายๆ ไม่มีอะไรพิศดาร ลองดูได้ ไม่มีอะไรเสียหาย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b22: กว่าจะดับไป แทบแย่... :b19:
:b8: สาธุค่ะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 21:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หากดูความโกรธไม่เที่ยง..จนมันดับไป..หากทำอย่างนี้..ดับโกรธ..แล้ว..เจ้าโกรธยังจะสามารถเกิดอีก..ได้มัย..

ถ้า..ยังสามารถเกิดได้อีก..แปลว่า..ที่ดูไปเมื่อกี้นี้..ไม่ได้ปหาน..เหตุแห่งความโกรธได้จริง ๆ ..

ดังนั้น..การดูจนมันดับ..ไปเฉย ๆ ควรทำหรือไม่ควรทำ.. (ปล. สำหรับผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์นะครับ..ส่วนคนที่ต้องการอย่างอื่น..ข้อนี้ก็ไม่ต้องวินิจฉัย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนการมันง่ายๆ นะครับ เหมือนการเบี่ยงแบนความสนใจ แต่น่าแปลกใจว่า เมื่อเกิดเวทนา พอเรามีสติหันมาพิจารณาเวทนาว่าไม่เที่ยงเกิดดับ เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่น่ายึดถือ ถ้าโกรธมาก ก็อาจจะต้องพิจารณาหลายๆ รอบ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือปัญญาเจตสิกเกิดขึ้นมาชนโทสะเจตสิก เพราะนั้น หากทำบ่อยๆ ทำทุกวัน ทำจนเป็นนิสัย เมื่อโกรธก็วิปัสสนาทันที ปัญญาจะสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยความแคล่วคล่องว่องไว กลายเป็นปัญญาที่มีความกล้าแข็งขึ้นมาได้

ถ้าจะดูจนมันดับไปเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร อย่างนี้ก็อาจจะระงับความโกรธได้เป็นครั้งๆ ไป แต่ไม่ได้ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้

เมื่อปัญญาแข็งแรงการเกิดของปัญญาก็เป็นไปด้วยความแคล่วคล่องว่องไว ทันทีที่โกรธปัญญาก็ผุดขึ้นมาเองได้ เหมือนการฝึกยิมนาสติก ฝึกพิมพ์ดีด ฝึกดนตรี ฯ เพราะฉะนั้น การฝึกดับความโกรธด้วยเวทนานุสติวิปัสสนาง่ายๆ แบบนี้ต้องฝึก ต้องทำให้มาก เจริญให้มาก จึงจะได้ปัญญาที่เรียกว่าปัญญินทรีย์

ที่น่าแปลกใจมากที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อฝึกไปจนถึงจุดหนึ่งแล้ว มันไม่เสื่อม

หากจะต้องการขุดถอนนิสัยโกรธจริงๆ ก็ต้องไปว่ากันที่สาเหตุทางธรรมที่ทำให้เกิดการโกรธ; โทสเจตสิกนั้นจะไม่เกิดขึ้นประกอบกับอารมณ์ทันที โทสเจตสิก จะต้องเกิดกับโมหะ ดังนั้น โทสเจตสิก จึงมีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ ดังนั้นหากเราลดโมหะลงไปได้บ้าง โทสะก็จะลดลงตาม

ปัญญาเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ
อโลภเจตสิก ก็มี อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ
อโทสเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ และ อโมหเหตุ

เวทนาทั้งหมดนั้นเกิดการอกุศลเจตสิกเกิดขึ้นมาเพื่อพิจารณาอารมณ์ ดังนั้น หากเราสามารถทำให้ปัญญาเกิดขี้นมาประกอบกับจิตทุกดวงที่เกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์ได้ เปรียบปัญญาเหมือนรอยผีเท้าที่เดินตามชวนจิต เวทนาทั้งหลายก็จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นกับเราได้เลย


อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย อโทสะ คือ ความไม่คิดประทุษร้าย ไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท จะทำอะไรก็มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอใช้ปัญญาในการ ประกอบการตัดสินใจต่างๆ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา ความสงสาร อโกธะ ความไม่โกรธ อพยาบาท ความไม่ปองร้ายผู้อื่น อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ตีติกขาขันติ ความอดทนต่อความเจ็บใจ เป็นต้น

อโมหะ ความไม่หลง อโมหะ คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคงใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล เมื่อมีอโมหะเกิดขึ้นกับตัวแล้ว โลภะ โทสะ และโมหะ ก็มิอาจเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษารับฟังมาก วิมังสา หมั่นตรึกตรองพิจารณา สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โยนิโสมนสิการ การรู้จักตรึดตรองให้รู้จักดีชั่ว ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น

ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา ตรัสอธิบายไว้ว่าเป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาที่รู้ทั่วถึงความเกิดความดับ ปัญญาที่ให้ถึง รู้เกิดดับหรือว่าปัญญาคือรู้ทั่วถึงเกิดดับ อันเป็นอริยะคือที่ประเสริฐอันเป็นปัญญาที่เจาะแทงกิเลส ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้โดยชอบ


การที่เวทนาจะเกิดได้หรือไม่เมื่อเราเจริญปัญญาได้ในระดับหนึ่ง; ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแก่กล้าของปัญญินทรีย์ของผู้นั้น ในระดับแรกๆ ปัญญินทรีย์ยังอ่อน ก็ต้องมีเวทนาเกิดขึ้นได้บ้างเป็นธรรมดา แต่เมื่อเทียบกับคนปกติที่ไม่ได้เจริญปัญญาแบบนี้แล้ว ก็ถือว่ามีความโกรธน้อยกว่ามาก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 28 ส.ค. 2009, 21:32, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 03:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
กระบวนการมันง่ายๆ นะครับ เหมือนการเบี่ยงแบนความสนใจ แต่น่าแปลกใจว่า เมื่อเกิดเวทนา พอเรามีสติหันมาพิจารณาเวทนาว่าไม่เที่ยงเกิดดับ เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่น่ายึดถือ ถ้าโกรธมาก ก็อาจจะต้องพิจารณาหลายๆ รอบ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือปัญญาเจตสิกเกิดขึ้นมาชนโทสะเจตสิก เพราะนั้น หากทำบ่อยๆ ทำทุกวัน ทำจนเป็นนิสัย เมื่อโกรธก็วิปัสสนาทันที ปัญญาจะสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยความแคล่วคล่องว่องไว กลายเป็นปัญญาที่มีความกล้าแข็งขึ้นมาได้

ถ้าจะดูจนมันดับไปเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร อย่างนี้ก็อาจจะระงับความโกรธได้เป็นครั้งๆ ไป แต่ไม่ได้ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้


ทำไมไม่ดูว่า..เหตุใดมันจึงโกรธ..ละ..หาต้นเหตุของมันซิครับ

มัวไปดูว่า..มันไม่เที่ยง..เกิดดับเป็นทุกข์..เป็นสิ่งไม่น่ายึดถือ..ผมว่านี้คือการเบี่ยงเบนความสนใจ..อย่างคุณว่าจริง ๆ นั้นแหละ..เป็นสมถะกดข่ม..ไม่ได้เป็นวิปัสสนาปัญญาแก้ที่เหตุแห่งทุกข์..เพราะคุณหาเหตุของการเกิด..โกรธ..ไม่พบเลย..แล้วจะไปปหาน..โกรธ..ที่ตรงไหน..

ที่รู้ทัน..แล้ว..ไม่โกรธ..นั้น..เป็นการกดข่ม..ดี ๆ นี้เอง


อ้างคำพูด:
หากจะต้องการขุดถอนนิสัยโกรธจริงๆ ก็ต้องไปว่ากันที่สาเหตุทางธรรมที่ทำให้เกิดการโกรธ; โทสเจตสิกนั้นจะไม่เกิดขึ้นประกอบกับอารมณ์ทันที โทสเจตสิก จะต้องเกิดกับโมหะ ดังนั้น โทสเจตสิก จึงมีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ ดังนั้นหากเราลดโมหะลงไปได้บ้าง โทสะก็จะลดลงตาม


แล้ว..อะไร..คือ..โมหเหตุ..ละครับ..เหตุของโมหะ..นะ

แล้ว..ลดโมหะ..ต้องทำอย่างไร..

แค่..ลูบ ๆ คลำ ๆเจ้าตัวโมหะ..โทสะ..มันไม่สะดุ้ง..หรอกครับ

เอาเนื้อ ๆ อย่างที่คุณรู้..แล้วนำไปปฎิบัติ..ได้เลย..อะไรทำนองนั้นนะ..ครับ..

อ้างคำพูด:
ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา ตรัสอธิบายไว้ว่าเป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาที่รู้ทั่วถึงความเกิดความดับ ปัญญาที่ให้ถึง รู้เกิดดับหรือว่าปัญญาคือรู้ทั่วถึงเกิดดับ อันเป็นอริยะคือที่ประเสริฐอันเป็นปัญญาที่เจาะแทงกิเลส ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้โดยชอบ[/size]


นี้ก็เช่นเดียวกัน..อยากให้สวยทั้งรูป..จูบก็หอม..พร้อมกันไปด้วยน่าจะได้ประโยชน์..มากกว่านะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 04:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกธัง ฆัตตะวา สุขัง เสติ
ฆ่าความโกรธได้มีความสุข


กิเลสที่ควรฆ่ามันอยู่ที่ไหน
อยู่ที่ตัวเรานั่นแหละสำคัญนักหนา
เราดูตัวเรามีอะไรแล้วฆ่ามันเสีย
ฆ่าความโลภ ฆ่าความโกรธ ฆ่าความหลง
แล้วเราสบายเพราะฉะนั้นเราเราอย่าไปโกรธคน
แต่เราโกรธสิ่งที่ทำให้ไม่เป็นคน
สิ่งที่ทำคนไม่ให้เป็นคนคืออะไร?..........
ก็คือกิเลส ๓ ตัวนั่นแหละ ตัวโลภะ โทสะ โมหะ
นี่แหละตัวร้าย เป็นตัวที่เราเห็นหน้ามันแล้วต้องเล่นงานมันเลยทีเดียว
อย่าปล่อยให้มันมาโจมตีเรา
อย่าให้มันมาเป็นนายเหนือเรา

ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ............... tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ตรัสว่า ทุกไม่ได้เกิดที่อื่นที่ใด นอกจาก เกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดับทุกข์ที่เหตุ ก็คือ เมื่อทุกข์เกิดขึ้นที่ตา ก็ดับที่ดา เกิดที่หูดับที่หู เกิดที่ลิ้นดับที่ลิ้น เกิดที่กายดับที่กาย เกิดที่ใจดับที่ใจ นอกจากนั้นไม่มีทุกข์

ทุกข์คืออะไร ทุกข์คือการปรุ่งแต่ง ประกอบด้วย ความพอใจ ไม่พอใจ ความหลง ความโลภก็คือพอใจ ความโกรธก็คือไม่พอใจ ตามไม่ทันก็คือหลง

อะไรคือการปรุงแต่งที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง พระพุทธองค์ตรัสว่าเกิดจากความไม่รู้ ก็คือ อวิชชา

แสดงโดยย่อคือ; เพราะอวิชชา ทำให้ ผสะ -> อารมณ์ -> เวทนา = ทุกข์

แล้วจะเอาอะไรมาดับทุกข์ พระพุทธองค์ตรัสว่า ต้องเอาปัญญามาดับทุกข์ แล้วปัญญาแบบใหนที่จะสามารถเอามาดับทุกข์ได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ปัญญาที่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริงของธรรมชาติและชีวิต จึงจะเอามาดับทุกข์ได้

ความเป็นจริงของธรรมชาติและชีวิต ที่เป็นที่สุดของความจริง ก็คือ อินิจจัง ทุกขัง อนัตตา และกฎของเหตุปัจจัย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป วัตถุก็เกิดจากเหตุปัจจัยมารวมกันชั่วคราว เมื่อพร้อมด้วยเหตุปัจจัยที่ต้องแตกสลายก็ต้องแตกสลาย ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดไป

พระพุทธองค์ตัสว่า ไม่มีอะไรบังเอิญ สิ่งที่เกิดปัจจุบันเกิดจากเหตุอดีตทั้งสิ้น ปัจจุบันก็จะสร้างอนาคต ในพุทธศาสนาจึงไม่มีอะไรที่บังเอิญ หรือเกิดขึ้นมาลอยๆ

การเจริญปัญญาทำอย่างไร
viewtopic.php?f=7&t=25301
viewtopic.php?f=7&t=25277

ลองนำไปปฏิบัติดู ง่ายๆ ไม่มีอะไรยาก ไม่ได้ผลกลับมาต่อว่าได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คนตาย..ยังมี..ตา หู จมูก ลิ้น กาย..ครบอยู่ใช่มัย

ถ้าภรรยาผู้ตาย..ควงแฟนใหม่มางานศพ..ไม่เห็นโกรธ..คนตายก็มีลูกกะตาอยู่..ทำไมไม่เห็น..ลูกกะตาเห็น..หรือว่าอะไรเห็น
ศพอยู่หลายวัน..ก็มีกลิ่น..คนตายจมูกก็มี..ทำไมไม่เหม็นตัวเอง..จมูกได้กลิ่น..หรือว่าอะไรได้กลิ่น

วันเผา..เขาเอากายไปเผาด้วยไฟ..ทำไมมันไม่ร้อง..กายรู้ร้อน..หรือว่าอะไรที่รู้ร้อน

แล้วคนตายขาดอะไร..ทำไม..มีตาก็ยังไม่เห็น..มีจมูกก็ยังไม่ได้กลิ่น..มีกายก็ยังไม่รู้ร้อนหนาว..เส้นประสาทก็ยังมีอยู่ไม่ใช่หรือ..ไม่ใช่เพราะคนตายขาด..ใจ..หรือ..ขาดจิต..หรือ

ดังนั้น..ทุกข์..มิใช่เกิดที่ใจ..ดอกหรือ..

เพราะจิตใจ..มันแล่นไปรับ..แล่นไปยึด..ด้วยความหลงผิด..คิดว่า..ที่ทำไปทั้งหมด..จะนำความสุข..มาให้..

การจะดับทุกข์..ก็ต้องดับที่ใจ..สอนใจมิให้หลงผิด..ให้ใจมีวิชชารู้จริงในอริยะสัจสี่..วิชชาที่เกิดจาก..ศีล..สมาธิ..ปัญญา..ด้วยพระธรรมที่ทรงกล่าวใว้ชอบแล้ว

อย่างนั้น..ที่ท่าน จขกท..ว่า..

พระพุทธเจ้าตรัสว่า..ทุกข์เกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ...ทุกข์เกิดที่ตาดับที่ตา..ทุกข์เกิดที่หูดับที่หู..ทุกข์เกิดที่ลิ้นดับที่ลิ้น..ทุกข์เกิดที่ใจดับที่ใจ..

ยังต้องพิจารณา..ให้แหยบคาย..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นความเห็นที่น่าสนใจมากครับ :b6:

ที่นำมาแสดงเป็นการปฏิบัติเฉพาะของมนุษย์ มีรูปขันธ์ครบ ขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ปกติคนพิการไม่สามารถสร้างปัญญามาพิจารณาอินทรีย์ได้ครบทั้ง ๖ ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้

คำว่าใจนี่หมายรวมถึง สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์เข้าด้วยกัน ถือเป็นศูนย์กลางของชีวิต สัตว์ที่ไม่มีรูปขันธ์แล้ว หรือที่เรียกว่าอมนุษย์ ก็มีวิญญาณขันธ์ในการรับรู้ เกิดเวทนาได้ คนตายไปแล้ว หรือกายแตก ใจมันก็แยกออกมาจากกาย ไม่ได้อยู่รวมกัน ไม่ได้ทำงานร่วมกัน

เอาเป็นว่าใจเป็นตัวที่ทุกข์ ต้นเหตุของทุกข์นั้นเข้ามาทางอินทรี ๖ หรือทางวิญาณขันธ์ การดับทุกข์นั้นคือเอาปัญญาไปดักไว้ที่ทางเข้า :b1:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์ ถือเอาสิ่งที่เป็น
ประโยชน์แล้ว กลับปฏิบัติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ ทำ
ปาณาติบาตด้วยกายและวาจา ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์ ผู้
มัวเมาเพราะความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตร
และสหาย ย่อมเว้นคนโกรธเสียห่างไกล คนผู้โกรธย่อมไม่
รู้จักความเจริญ ทำจิตให้กำเริบ ภัยที่เกิดมาจากภายในนั้น
คนผู้โกรธย่อมไม่รู้สึก คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ ไม่เห็นธรรม
ความโกรธย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมี
ในขณะนั้น คนผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้
ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือน
ถูกไฟไหม้ คนผู้โกรธย่อมแสดงความเก้อยากก่อน เหมือน
ไฟแสดงควันก่อน ในกาลใด ความโกรธเกิดขึ้น คนย่อม
โกรธ ในกาลนั้น คนนั้นไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ และไม่
มีความเคารพ คนที่ถูกความโกรธครอบงำย่อมไม่มีความ
สว่างแม้แต่น้อยเลย กรรมใดยังห่างไกลจากธรรม อันให้
เกิดความเดือดร้อน เราจักบอกกรรมเหล่านั้น เธอทั้งหลาย
จงฟังธรรมนั้นไปตามลำดับ คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดา
ของตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่าปุถุชนก็ได้ ลูกที่
มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตาดูโลกนี้ ลูกเช่นนั้นกิเลสหยาบช้า
โกรธขึ้นมาย่อมฆ่าแม้มารดานั้นผู้ให้ชีวิตความเป็นอยู่ได้ จริง
อยู่ สัตว์เหล่านั้นมีตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เพราะตนเป็น
ที่รักอย่างยิ่ง คนโกรธหมกมุ่นในรูปต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเอง
ได้เพราะเหตุต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเองด้วยดาบบ้าง กินยาพิษ
บ้าง เอาเชือกผูกคอตายบ้าง โดดเขาตายบ้าง คนเหล่านั้น
เมื่อกระทำกรรมอันมีแต่ความเสื่อมและทำลายตนก็ไม่รู้สึก
ความเสื่อมเกิดแต่ความโกรธ ตามที่กล่าวมานี้ เป็นบ่วงของ
มัจจุราช มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย บุคคลผู้มักโกรธ มีการฝึกตน
คือมีปัญญา ความเพียรและสัมมาทิฐิ พึงตัดความโกรธนั้น
ขาดได้ บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรมแต่ละอย่างเสียให้ขาด พึง
ศึกษาในธรรมเหมือนอย่างนั้น เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า
ขอความเป็นผู้เก้อยากอย่าได้มีแก่เราทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
เป็นผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ ปราศจาก
ความโลภ ไม่มีความริษยา ฝึกฝนตนแล้ว ละความโกรธได้
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 00:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เป็นความเห็นที่น่าสนใจมากครับ :b6:

เอาเป็นว่าใจเป็นตัวที่ทุกข์ ต้นเหตุของทุกข์นั้นเข้ามาทางอินทรี ๖ หรือทางวิญาณขันธ์ การดับทุกข์นั้นคือเอาปัญญาไปดักไว้ที่ทางเข้า :b1:


อันนี้..เห็นด้วยครับ

จะเอาปัญญา ไปดักที่ทางเข้าก็ได้..(รู้ทันเวทนา ดับตันหา)

หรือ..จะไปดักที่ทางออก ก็ได้ (รู้ให้ทัน อุปาทาน..ดับภพ)


อ้างคำพูด:
ที่นำมาแสดงเป็นการปฏิบัติเฉพาะของมนุษย์ มีรูปขันธ์ครบ ขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ปกติคนพิการไม่สามารถสร้างปัญญามาพิจารณาอินทรีย์ได้ครบทั้ง ๖ ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้


อันนี้..ไม่เห็นด้วย..ครับ..

คนพิการทางร่างกาย..แต่ก็ยังมีขันธ์ 5 ครบนะครับ..รู้ธรรมเห็นธรรมได้ครับ
ส่วนที่พิการทางสมอง..อันนี้ไม่ทราบ

อ้างคำพูด:
คำว่าใจนี่หมายรวมถึง สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์เข้าด้วยกัน ถือเป็นศูนย์กลางของชีวิต สัตว์ที่ไม่มีรูปขันธ์แล้ว หรือที่เรียกว่าอมนุษย์ ก็มีวิญญาณขันธ์ในการรับรู้ เกิดเวทนาได้ คนตายไปแล้ว หรือกายแตก ใจมันก็แยกออกมาจากกาย ไม่ได้อยู่รวมกัน ไม่ได้ทำงานร่วมกัน


จะว่าอย่างนั้นก็ได้..

แต่จะให้ละเอียดลงไปอีก..เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ..ขันธ์เหล่านี้ก็ยังไม่ใช่ใจเรา จริง ๆ ซะทีเดียว..

หรือแม้แต่..เปรต อสุรกาย สัตว์นรก..ก็มีขันธ์ 5 ครบ..เพียงแต่รูปของเขาเหล่านี้..ไม่ได้หยาบ(ที่เน่าได้)อย่างมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน..เท่านั้น

( ทันทีที่ จิต..แยกจากขันธ์ คือตาย..จิตจะสร้างรูปใหม่ทันที..ที่คนทั่วไปเรียกว่า วิญญาณ..แล้วจิตก็อยู่ในรูปหรือที่เข้าใจว่าเป็นวิญญาณนั้น..รูปใหม่ที่สร้างจะมีลักษณะเช่นเดียวกับตอนเป็นคน..แม้กระทั้งเสื้อผ้า..เพราะจิตมีอุปาทาน..ในขันธ์หรือร่างคนก่อนตายนั้นเอง )

เมื่อใดที่..เราเห็นจริงว่า..รูป..เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ..ขันธ์เหล่านี้..ไม่ใช่เรา..จึงจะรู้ได้ว่า..ใจเราที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้..เป็นอย่างไร

หรือเพียงแต่..เริ่มคลาย..ความถือมั่นในขันธ์..ได้เท่าไร..ก็จะเริ่มรู้ใจ..จริง..ได้มากเท่านั้น

การจะละจากความยึดมั่นถื่อมั่นได้..ก็ด้วยปัญญาจากการภาวนา อันมีทาน มีศีล เป็นบาทเป็นฐาน

ขอให้เจริญในธรรม ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 19:22
โพสต์: 12

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อก่อนเป็นคนโกรธง่าย ขี้โมโห เวลาโกรธจะลืมตัวไปหมด ใช้ถ้อยคำที่หยาบคายนึกอะไรได้ก็

จะพูดออกมา พยายามหาถ้อยคำที่อีกฝ่ายจะเจ็บปวดออกมาว่ากล่าว :b33:

เดี๋ยวนี้เป็นเพื่อนกะมันค่ะ พอโกรธปั้บจะรู้ตัว เราก็นั่งดูอาการโกรธที่เกิดขึ้นในใจเราไป โหทีแรกๆ

มันน่ากลัวนะคะ ในใจมันเต้นตึบๆๆๆ โครมๆ ดิ้นรนทุรนทุรายจะออกมาแผลงฤทธ์ ปากขยับแล้วขยับ

อีก คำพูดพรั่งพรูมารอที่ริมฝีปาก กล้ามเนื้อเขม็งตึง ดวงตาแข็งกร้าว ถ้าเราเผลอตัวนึกว่ามันคือ

เรา อารมณ์นี้คือเรา ก็จะหล่อหลอมรวมตัวไปกะมันด้วย แต่ทุกวันนี้ ได้แต่มองมันแล้วขำๆค่ะ

ดูอาการที่เกิดขึ้น เหมือนผีร้ายที่ถูกกักขังไว้ภายใน เมื่อเราไม่ปล่อยมัน ไม่ยอมให้มันสิง มันก็ดิ้น

รนทุรนทุรายซักพัก ก็อ่อนแรง แล้วจากไป

ช่วงฝึกดูมันนี่ชอบมากเลยนะคะ เพราะเป็นช่วงที่เรารู้ว่า เราสามารถแยก สติ ออกจากอารมณ์ แล้ว

นั่งดูมันแบบรู้เท่าทัน เห็นตลอด เหมือนนั่งดูหนังดูละครเเลยค่ะ ความโกรธนี่ถือเป็นครูของเราเลยนะ

ทุกวันนี้ครูคนนี้ไม่ค่อยยอมมาเยี่ยมลูกศิษย์อีกเลย แต่บางทีมาแบบแอบมา แป้บๆนึงช่วงที่เรา

เผลอ แอบชกหมัดนึงแล้วก็หนีไปประจำ 555 เลยต้องไปหาครูคนอื่นมาฝึกอีก อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ได้อ่านเหตุและผลของความโกรธ จากคุณกบนอกกะลา และคุณSupareak Mulpong
แล้ว :b31: :b31: :b31: :b31: :b31: ต้องหมั่นเพียรให้ตัวเองหาย
:b33: :b33: :b33: :b33:
tongue เก่งจริง...ๆค่ะ tongue

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร