วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ใน อัฏฐสาลินี "อตีตติกะ" อธิบาย "อดีตธรรม"
กล่าวถึง "ลักษณะ" ของ ธรรมที่เป็นอดีต...ที่ล่วงไปแล้ว.


มีข้อความว่า


คำว่า

"ล่วงไปแล้ว"

คือ

ล่วงไปแล้ว ๓ ขณะ.!


๑. อุปาทขณะ คือ ขณะที่เกิด.

๒. ฐิติขณะ คือ ขณะที่ตั้งอยู่

๓. ภังคขณะ คือ ขณะที่ดับ.


.


จิต ขณะหนึ่ง ๆ มีอายุสั้นมาก

คือ

เพียงเกิดขึ้น...ตั้งอยู่...ดับไป.!


.


จิต ทุกขณะ

มี "อนุขณะ" ๓ ขณะ.!


คือ

อุปาทขณะ.

เป็นขณะที่ จิตเกิดขึ้น.

ซึ่ง

ไม่ใช่ขณะที่ จิตตั้งอยู่.

ไม่ใช่ขณะที่ จิตดับไปแล้ว.


.


ฐิติขณะ.

เป็นขณะที่ จิตตั้งอยู่.!

ซึ่ง

ไม่ใช่ขณะที่ จิตเกิดขึ้น.

ไม่ใช่ขณะที่ จิตดับไปแล้ว.


.


ภังคขณะ.

เป็นขณะที่ จิตดับไปแล้ว.

ซึ่ง

ไม่ใช่ขณะที่ จิตเกิดขึ้น.

ไม่ใช่ขณะที่ จิตตั้งอยู่.


.


ขณะที่ จิต เกิดขึ้น.....ตั้งอยู่.


ขณะนั้น.!

ยังไม่ชื่อว่า เป็นอดีต สำหรับ ฐิติขณะ.!

แต่ เป็นอดีต สำหรับ อุปาทขณะ.!


.


เมื่อศึกษาต่อไป "เรื่องรูปธรรม"

จะเข้าใจได้ ว่า

รูป ที่เกิดขึ้น โดยกรรมเป็นสมุฏฐาน

เรียกว่า

"กัมมชรูป"


.


กัมมชรูป เกิดขึ้น พร้อมกับ ทุกอนุขณะ ของจิต.!


หมายความว่า


กัมมชรูป เกิดพร้อม อุปาทขณะ ของจิต.

กัมมชรูป เกิดพร้อม ฐิติขณะ ของจิต.

กัมมชรูป เกิดพร้อม ภังคขณะของจิต.


แต่

กัมมชรูป ไม่เกิดก่อน "จุติจิต" ๑๖ ขณะ.!


.


ฉะนั้น

รูป ที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน คือ กัมมชรูป นั้น

ต้องดับไปหมด....พร้อมกับ การดับไป ของจุติจิต.!

ซึ่ง หมายความว่า

ขณะนั้น

คือ การสิ้นสุดความเป็นบุคคล ในชาตินั้น ๆ


(บุคคล ในที่นี้ หมายถึง ขันธ์ ทั้ง ๕

คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

ในภูมิที่มีขันธ์ ครบทั้ง ๕ ขันธ์.)


.


รูป ที่เกิด โดยจิตเป็นสมุฏฐาน

เรียกว่า

"จิตตชรูป"


จิตตชรูป เกิดพร้อมกับ อุปาทขณะ ของจิต.

(คือ ขณะที่จิตเกิดขึ้น)


แต่

จิตตชรูป

ไม่เกิดพร้อมกับ ปฏิสนธิจิต.!


.


จิตตชรูป

ไม่เกิดพร้อมกับ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ประเภท.!


.


จิตตชรูป

ไม่เกิดพร้อมกับ อรูปาวจรวิบากจิต ๔ ประเภท.!


.


จิตตชรูป

ไม่เกิดพร้อมกับ "จุติจิตของพระอรหันต์.!


.


รูป ที่เกิด โดยอุตุเป็นสมุฏฐาน.

(อุตุ คือ ธาตุไฟ ที่เหมาะสม)

เรียกว่า

"อุตุชรูป"


อุตุชรูป เกิดพร้อมกับ ฐิติขณะ ของอุตุชรูป.

(คือ ขณะที่รูปนั้น ๆ ตั้งอยู่)


.


รูป ที่เกิด โดยอาหารเป็นสมุฏฐาน.

เรียกว่า

"อาหารชรูป"

ซึ่ง

เกิดพร้อมกับฐิติขณะ ของ โอชารูป

โอชารูป ซึ่งอยู่ที่อาหารเป็นคำ ๆ ที่บริโภคเข้าไป.

และ

อาหารชรูป

เกิดในฐิติขณะที่โอชารูปในอาหารนั้น...ได้ซึมซาบแล้ว.!








การสร้างเหตุที่ดี เพื่อผลที่ดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ควรเริ่มด้วยการศึกษา

พระธรรม เพราะพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้

สิ่งทั้งปวงนั้น ทรงชี้สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ควรพูด สิ่งที่ควรคิด สิ่งที่ประกอบด้วย

ประโยชน์และสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ สิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษ ทางที่ควร

ดำเนินและทางที่ไม่ควรดำเนิน สิ่งที่ควรเว้นและไม่ควรเว้น เป็นต้น คือพระธรรม

ที่ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น ผู้ที่ศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามย่อมประสบ

ความสุขตามฐานะที่สมควร สูงสุดคือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง รองลงมาคือบรรลุเป็น

พระอนาคามีไม่ต้องกลับมาสู่กามโลกนี้อีกเลย จะปรินิพพานในพรหมโลก รองลงมา

อีกก็คือบรรลุเป็นพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบัน ปิดประตูอบายได้แล้ว เป็นผู้แน่นอน

ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า หรือถ้าไม่ถึงความเป็นอริยในปัจจุบันย่อมมีสุคติเป็นที่ไปเบื้อง

หน้าสรุปคือเหตุที่ดีควรเริ่มจากการศึกษาพระธรรมคำสอน



พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

สัลเลขสูตร

[๑๐๕] ดูก่อนจุนทะ แม้จิตตุปบาทในกุศลธรรมทั้งหลาย

เราตถาคตยังกล่าวว่า มีอุปการะมาก

จะกล่าวไปไยในการจัดแจงด้วยกายด้วยวาจาเล่า

เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ เธอทั้งหลายควรให้จิตเกิดขึ้นว่า

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน

ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.............

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

บทว่า เหตุ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของบทว่า การณะ. ก็การณะ

ชื่อว่า เหตุ เพราะอรรถว่า มีผลเกิดขึ้น คือเป็นไปด้วยเหตุนั้น.

ชื่อว่า ปัจจัย เพราะอรรถว่าผลย่อมอาศัยธรรมนั้นเกิดและเป็นไป.

ชื่อว่า นิทาน เพราะอรรถว่า ย่อมมอบให้ซึ่งผลของตน ดุจ

แสดงว่า เชิญท่านทั้งหลายถือเอาสิ่งนั้นเถิด

เหตุที่ดี ย่อมให้ผลที่ดี

เพียงแต่....เหตุที่ดีนั้น เป็นประโยชน์ในโลกนี้เท่านั้น

หรือเป็นประโยชน์ทั้งในโลกนี้ และ โลกหน้า.!


เพราะว่า

เหตุที่ดี ซึ่งเป็น กุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา คือ ความเข้าใจพระธรรม.

และการเจริญกุศลทุกประการ (บารมี ๑๐)

ที่จะสะสมไปในจิต และ เป็นปัจจัย ให้พ้นทุกข์ คือ พระนิพพาน เมื่อ เหตุ สมควรแก่ผล

ซึ่งเป็น "จิรกาลภาวนา"

เพราะต้องค่อย ๆ สะสม ความเข้าใจพระธรรมไป ทีละเล็ก ทีละน้อย.
ความจริงคือ สติเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจของใคร

เกิดเพราะมีปัจจัย และขณะที่กำลังมีความโกรธ กำลังมีมานะ กำลังมีทิฏฐิ

ขณะนั้นเป็นอกุศลจิต ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย การที่จะมีสติสมบูรณ์ต้องอบรม

เจริญสติปัฏฐานจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์เป็นผู้ที่สมบูรณืด้วยสติ

เพราะท่านดับอกุศลธรรมได้ทั้งหมดแล้ว บุคคลทั่วไปหลงลืมสติเพราะมีอกุศลจิต

เกิดขึ้น ผู้ที่ไม่มีอกุศลจิตเกิดขึ้นชื่อว่ามีสติอยู่ตลอด ไม่หลงลืมสติ

เมื่อมีเหตุปัจจัย ความหวังก็เกิดขึ้นหรือจะไม่หวังก็ตามก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรม แต่

ที่สำคัญคือต้องเริ่มจากเหตุที่ถูกคือความเห็นถูก การจะบรรลุธรรม ต้องเริ่มจากความ

เข้าใจถูก จะหวังหรือไม่หวังก็ตามหากเหตุถูกคือเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีใน

ขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา โดยเริ่มจากการฟังให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าธรรมคืออะไร

จะหวังหรือไม่หวังก็บรรลุธรรมเพราะเหตุถูก แต่หากเข้าใจผิด เข้าใจหนทางผิด จะหวัง

หรือไม่หวังก็ตามก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ จึงต้องกลับมาที่เหตุ คือความเข้าใจถูกเป็น

สิ่งสำคัญที่สุด ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่แสดงว่าหวังหรือไม่หวัง หากเหตุผิดก็ไม่

สามารถบรรลุธรรม สาธุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒-หน้าที่ 103

[๔๑๑] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการนมสด แสวงหา

นมสด จึงเที่ยวเสาะหานมสด แต่รีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน ถ้าแม้ทำความ

หวังแล้วรีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด ถ้าแม้ทำ

ความไม่หวังแล้วรีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด ถ้า

แม้ ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วรีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่

สามารถจะได้นมสด ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วรีดเอาจาก

เขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ

เพราะเขาไม่สามารถจะได้นมสดโดยวิธีไม่แยบคาย ฉันใด ดูก่อนภูมิชะ ฉันนั้น

เหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิผิด ฯลฯ มีสมาธิผิด

(เข้าใจหนทางผิด)ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถ

จะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะ

บรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขา

ก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติ

พรหมจรรย์เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะ

เขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย.

การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน

ย่อมเป็นโอกาสที่ดี และหาได้ยากอย่างยิ่ง และที่สำคัญ ถ้าหากว่าไม่ได้ฟัง ไม่ได้-

ศึกษาเลย การที่จะละกิเลส หรือ สามารถออกจากสังสารวัฏฏ์ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ดังนั้น ค่อย ๆ ฟัง ค่อย ๆ ศึกษาไป สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ เข้าใจตามกำลัง

ปัญญาของตนเอง และเป็นที่แน่นอนว่าบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่โดยเฉพาะตัณหา และ

อวิชชา ยังต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอย่างแน่นอน แต่...สำหรับผู้ที่มีการ

สะสมปัญญา ถึงแม้ว่าจะเกิดบ่อย ๆ ก็เพื่อได้มรรค แล้ว ไม่เกิดอีกนั่นเอง

คำว่า บรรพ หมายถึง หัวข้อ หรือ หมวด

อานาปานบรรพ หัวข้อเกี่ยวกับอานาปาน

อิริยาบถบรรพ หัวข้อเกี่ยวกับอิริยาบถ

สัมปชัญญบรรพ หัวข้อเกี่ยวกับสัมปชัญ

คำว่า มีความมั่นคงในกรรม ก็คือเมื่อได้ประสบ ได้รับสิ่งใดทุกขณะในชีวิตประจำวัน ก็

เข้าใจว่าเพราะกรรมของตนที่เคยทำไว้ ไม่หวั่นไหว ไม่โกรธ ไม่โทษสิ่งอื่น ไม่โทษ

บุคคลอื่น เพราะเราเคยทำเหตุอย่างนี้ไว้จึงได้รับผลอย่างนี้ แต่เราต้องทำดีที่สุด

มิได้หมายความว่าไม่ทำอะไร อ้างกรรมอย่างเดียวก็ไม่ถูกต้อง

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง

ซึ่งจะมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมี

มิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.



ในสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฐิปรมานิ นี้ มีวิเคราะห์ว่า มิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง

ของโทษเหล่านั้น เหตุนั้น โทษเหล่านั้น ชื่อว่า มิจฺฉาทิฏฐิ ปรมานิ โทษ

ทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง. อธิบายว่า อนันตริยกรรม ๕ ชื่อว่ากรรม

มีโทษมาก. มิจฉาทิฏฐิเท่านั้น ชื่อว่ามีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม ๕ แม้เหล่า

นั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะอนันตริยกรรม ๕ นั้นมีเขตกำหนด.

ด้วยว่า ท่านกล่าวอนันตริยกรรม ๔ อย่างว่า ให้เกิดในนรก. แม้สังฆเภทก็เป็น

กรรมตั้งอยู่ในนรกชั่วกัปเท่านั้น. อนันตริยกรรมเหล่านั้นมีเขตกำหนดที่สุด ก็ยัง

ปรากฏ ด้วยประการอย่างนี้. ส่วนนิยตมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดอันดิ่ง ไม่มี

เขตกำหนด เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นรากเหง้าของวัฏฏะ. การออกไปจาก

ภพ ย่อมไม่มีสำหรับคนผู้ประกอบด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐินั้น . ชนเหล่าใด เชื่อฟัง

ถ้อยคำของคนผู้ประกอบด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐินั้น แม้ชนเหล่านั้นก็ย่อมปฏิบัติผิด.

อนึ่ง ทั้งสวรรค์ ทั้งมรรค ย่อมไม่มีแก่คนผู้ประกอบด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐินั้น ใน

คราวกัปพินาศ เมื่อมหาชนพากันเกิดในพรหมโลก บุคคลผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ

ไม่เกิดในพรหมโลกนั้น (แต่กลับ) เกิดที่หลังจักรวาล. ถามว่า ก็หลังจักรวาลไฟ

ไม่ไหม้หรือ. ตอบว่า ไหม้. บางอาจารย์กล่าวว่า ก็เมื่อหลังจักรวาลแม้ถูกไฟ

ไหม้อยู่ คนผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐินี้ ก็ถูกไฟไหม้อยู่ในโอกาสแห่งหนึ่งในอากาศ.

ตามหลักพระวินัยเรื่อง สัตตาหกรณียะ ในช่วงจำพรรษา ทรงอนุญาตให้พระภิกษุ

ไปค้างแรมที่อาวาสอื่นได้ แต่ต้องกลับมาอาวาสเดิมภายในเจ็ดวัน การเดินทางไป

ค้างแรมในอาวาสอื่นได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควร เช่น ไปในกิจของสงฆ์ เพื่อนสหธรรมิก

ป่วยหรือกระสันจะสึก หรือมีญาติโยมนิมนต์ไปแสดงธรรมหรือไปรับไทยธรรม

หรือพ่อแม่ป่วย เป็นต้น ทรงอนุญาตให้ไปค้างแรมในอาวาสอื่นได้ แต่ในกรณีที่

ท่านถามมา ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะเข้าข่ายเหตุอันควรที่ทรงอนุญาตไว้ ถ้าไปเรียน

พระธรรมวินัยที่กำลังเสื่อมสูญเพราะไม่มีใครสืบทอดยังพอได้ แต่การไปเรียนวิชา

การทางโลกทั่วๆไป ก็ขัดกับพระวินัยแล้ว คือไม่สมควรเรียน เป็นอาบัติ ไม่ต้องพูด

ถึงการไปค้างแรมเพื่อเรียนหนังสือทางโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร