วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธัมมัตถสังคหะคืออะไร

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๑๒๐๐๙ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎกท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษา พระอภิธรรมอยู่ที่สานักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราธบุรี ประเทศลังกา จนมีความแตกฉานและได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง ต่อมาท่านได้รับอาราธนาจากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายกให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้งมากนั้นให้สั้นและง่ายเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและ

จดจา ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต พระอนุรุทธาจารย์ได้อาศัยพระอภิธรรมปิฎกทั้ง ๗ คัมภีร์ มาเป็นหลักในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปฏิสัมภิทัปปัตตะ = ผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทา ๔ คือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจธรรมะอย่างแตกฉาน สามารถแยกแยะและขยายความได้อย่างละเอียดลึกซึ้น มีปฏิภาณไหวพริบ มีโวหารและวาทะที่จะทาให้ผู้อื่นรู้ตาม เข้าใจตามได้โดยง่าย ๗ ฉฬภิญญะ = ผู้มีอภิญญา ๖ อันได้แก่ ๑ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ๒ .มีหูทิพย์ ๓. ทายใจผู้อื่นได้ ๔.ระลึกชาติได้ ๕. มีตาทิพย์ ๖. สามารถทาลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป ๘ เตวิชชะ = ผู้ที่ได้วิชชา ๓ ได้แก่ ๑. ระลึกชาติได้ ๒. รู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ ๓. มีปัญญาที่ทาอาสวะกิเลสให้สิ้นไป ๙ หลักฐานบางแห่งระบุว่า ประมาณปี พ.ศ. ๑๕๐๐

อภิธัมมัตถสังคหะ แยกออกเป็น อภิ+ธัมมะ+อัตถะ+สัง+คหะ อภิ = อันประเสริฐยิ่ง ธัมมะ = สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน อัตถะ = เนื้อความ สัง = โดยย่อ

คหะ = รวบรวม

อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของ พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว พระอภิธรรม แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙ ตอน) แต่ละปริจเฉทมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหวิภาค

แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต ประเภทของจิต ทั้งโดยย่อและโดย พิสดาร ทาให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต

ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค

แสดงเรื่องเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเพื่อปรุงแต่งจิต มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ แบ่งเป็น เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ทุกประเภท เจตสิกฝ่ายกุศล และเจตสิกฝ่ายอกุศล

ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค

แสดงการนาจิตและเจตสิกมาสัมพันธ์กับธรรม ๖ หมวด ได้แก่ ความ รู้สึกของจิต (เวทนา) เหตุแห่งความดีความชั่ว (เหตุ) หน้าที่ของจิต (กิจ) ทางรับรู้ของจิต (ทวาร) สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์) และที่ตั้งที่อาศัยของจิต (วัตถุ)

ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

แสดงวิถีจิต อันได้แก่กระบวนการทางานของจิตที่เกิดทางตา ทาง หู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อได้ศึกษาปริจเฉทนี้แล้วจะทาให้ รู้กระบวนการทางานของจิตทุกประเภท บุญบาปไม่ได้เกิดที่ไหน เกิดที่วิถี จิตนี้เอง ก่อนที่จะเกิดจิตบุญหรือจิตบาป มีจิตขณะหนึ่งเกิดก่อน คอยเปิด ประตูให้เกิดจิตบุญหรือจิตบาป จิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับการวางใจอย่างแยบ คาย (โยนิโสมนสิการ) หรือการวางใจอย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) หากเราได้เข้าใจก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันมิให้จิตบาปเกิดขึ้นได้

ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

แสดงถึงการทางานของจิตขณะใกล้ตาย ขณะตาย (จุติ) และขณะ เกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงเหตุแห่งการตาย การเกิดของสัตว์ในภพภูมิต่างๆ โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ (มนุษยภูมิเป็นเพียง ๑ ใน ๓๑ ภูมิ) ขณะเวลาใกล้จะตายภาวะจิตเป็นอย่างไร ควรวางใจอย่างไรจึงจะไปเกิดในภพภูมิที่ดี พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดทันที มิใช่ ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้อง

เร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่ และยังได้อธิบาย เรื่องของกรรม ลาดับแห่งการให้ผลของกรรมไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอีกด้วย

ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค และนิพพาน

เมื่อได้ศึกษาทาความเข้าใจเรื่องจิต และเจตสิก อันเป็นนามธรรม มาแล้ว ในปริจเฉทที่ ๖ นี้พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงองค์ประกอบที่สาคัญ อีกอย่างหนึ่งของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นั่นก็คือเรื่องของรูป ร่างกาย (รูปธรรม) โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็นรูปต่างๆ ได้ ๒๘ ชนิด และอธิบายถึงสมุฏฐาน (เหตุ) ในการเกิดรูปต่างๆ ไว้อย่างละเอียดพิสดาร

ในตอนท้ายได้กล่าวถึงเรื่องพระนิพพานว่ามีสภาวะอย่างไร อันจะ ทาให้เข้าใจเรื่องของพระนิพพานได้อย่างถูกต้องชัดเจน

ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

เมื่อได้ศึกษาปรมัตถธรรม ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มาจากปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๖ แล้ว ในปริจเฉทนี้จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ซึ่งให้ผลเป็นความสุข และธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ ในสภาวะความเป็นจริงแล้วกุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต (จิตบาป) จะเกิดสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรมของแต่ละบุคคล คนเราทั่วไปมักไม่เข้าใจและไม่รู้จักกับกุศลและอกุศลเหล่านี้ จึงทาให้ชีวิตตกอยู่ในวัฏฏทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น ในปริจเฉทที่ ๗ นี้ได้แสดงธรรมที่ควรรู้ที่สาคัญๆ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์ที่ถูกอุปาทานยึดมั่นอย่างเหนียว

แน่น), อายตนะ ๑๒ (สิ่งเชื่อมต่อเพื่อให้รู้อารมณ์), ธาตุ ๑๘ (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพ ของตน), อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ) และโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อกูลการตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘

ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้ ท่านได้แสดงเรื่องปฏิจจสมุปบาท (เหตุและผลที่ทาให้มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์) และปัจจัยสนับสนุน ๒๔ ปัจจัย ในตอนท้ายยังได้แสดงความหมายของบัญญัติธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นจริงตามสมมุติ (สมมุติสัจจะหรือสมมุติโวหาร) ตามกติกาของชาวโลก

ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทาสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทา สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถ ทาลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรม ฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า จิต+เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตต่างก็มีการเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป - เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป ต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกาลัง แก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังสงสัยอยู่พอดี ว่าพระอภิธัมมัต... คืออะไร

แล้วก็เพราะอย่างนี้ซินะ จึงมีคนเอาใจความเรื่อง สมถะ ไปโจมตีการทำสมาธิ ทั้งที่เข้าใจสมถะแบบงูๆ ปลาๆ พอเจอคนที่เข้าถึงสมถะจริงๆ เลยโดนไล่ต้อน จนไปไม่เป็นเลย...

ซึ่งนักวิปัสสนาขั้นเบบี้ ก็ควรพิจารณาให้ดีเสียหน่อย (ซึ่งก็คงยาก เพราะดันไปวิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน) ว่าสมถะที่ว่านั้น มันเป็นเช่นใดกันแน่ ซึ่งก็คงยากอีก เพราะสภาวะฌาณ คือหนึ่งในคำถามอจินไตย ดังนั้นจึงควรลองปฏิบัติสมถะให้ถึงฌาณ 4 ก่อน จากนั้นค่อยมาโจมตีสมถะ ก็ยังไม่สาย...

แต่เชื่อเถอะ ถ้าไปถึงระดับนั้น จะไม่มาโจมตีหรอก เพราะรู้ในความหมายจริงๆ ว่า สมถะที่ว่าไม่ใช่ทางหลุดพ้นนั้น เป็นเช่นไร ความแตกต่างมันก็แค่ทางเดิน 2 สายเท่านั้น และเป็นทางเดินที่ใกล้กันมาก (แม้จะมีจุดมุ่งหมายที่ต่างกันก็ตาม)
และเรายังไม่เห็นพระภิกษุสงฆ์ระดับเกจิท่านใด เขาโจมตีสมาธิเลยนะ มีแต่พวกเบบี๋เท่านั้นแหล่ะ ที่เที่ยวออกมาประกาศตน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน

เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทำสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

เพราะผลของการทา สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถ ทำลายกิเลสได้

ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น




นี่คือ
ปัญหา ที่คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล มักจะกล่าวจำกัดความหมายของคำว่าสมถะ ในความหมายแบบเดียวกับสมถะแบบของอาฬารดาบส-อุทกดาบส เปี๊ยบเลย....


ต่างกับ
สมถะในระดับพระไตรปิฎก ที่เป็น ธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชาคู่กับวิปัสสนา(วิชชาภาคิยะ คือ สมถะและวิปัสสนา ประกอบกันเป็นอริยมรรคนำไปสู่วิชชา) ซึ่งเป็น"สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้"
และ พระพุทธองค์ท่านไม่ได้นำเอาสมถะที่เป็นวิชชาของฤาษีนอกพระศาสนาใดๆ มาวางคู่กับ วิปัสสนา หรอก




ลองพิจารณาแยกทีล่ะประเด็น น่ะครับ


อ้างคำพูด:
เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทาสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา



เป็นความจริงที่ ความสงบ และ อภิญญา ไม่ใช่จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

แต่
สมาธิภาวนาที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้ มีผลได้เพียง ความสงบ และ อภิญญา เท่านั้นจริงๆหรือ???



ลอง พิจารณาเปรียบเทียบ กับ พระพุทธพจน์ดั้งเดิม
ในเรื่อง สมาธิภาวนา๔ประเภท

๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑



สมาธิภาวนา ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน จึงไม่ใช่มีเพียง ความสงบ(ข้อ๑) และ อภิญญา(ข้อ๒) เท่านั้น

แต่ สมาธิภาวนา ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน นั้น ครอบคลุมไปถึง สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ(ข้อ๓) และ เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ(ข้อ๔ หรือ อริยะสัมมาสมาธิ นั่นเอง)



นี่คือ ความไม่ลงกัน ระหว่างพุทธพจน์ดั้งเดิม กับ คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล!!!

ซึ่ง ทำให้เกิดข้อขัดแย้งในเรื่อง สมถะ-วิปัสสนา อย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ระหว่าง ผู้ที่ถือพระพุทธพจน์เป็นหนึ่ง กับ ผู้ที่ถือตามคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลเป็นหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะผลของการทำ สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถ ทำลายกิเลสได้


ก็มีส่วนถูกอยู่...บางส่วน
คือ ถ้าเป็นสมถะแบบของอาฬารดาบส-อุทกดาบส ก็จะเป็นดังนั้น คือ จบลงที่ข่มกิเลสชั่วคราวเท่านั้น


แต่ ถ้าเป็นสมาธิภาวนา แบบที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ล่ะ...จะจบลงที่ข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น จริงหรือ???



ลองอ่าน ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง อานาปานสติสมาธิภาวนา ดูดีๆ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ



ถ้า เจริญสมาธิภาวนาตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ก็เป็นที่แน่นอนว่า จะส่งผลให้ วิชชา(สัมมาญาณะ) และ วิมุติ(สัมมาวิมุติ) บริบูรณ์


การที่วิชชาและวิมุติบริบูรณ์ จะไปเรียกว่า เป็นเพียงการข่มกิเลสไว้ชั่วคราวได้ด้วยหรือ???


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น



ก็ อย่าไปเจริญสมถะแบบของพระฤาษีนอกพระศาสนา(ไม่อยู่ในแนวทางแห่งอริยมรรค) ในลักษณะเช่นนั้น สิครับ

การไปยกเอาสมถะแบบของพระฤาษีนอกพระศาสนามาเป็นประเด็น
แล้ว สรุปเอาดื้อๆว่า สมถะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นวิชชาภาคิยะคู่กับวิปัสสนานั้น ก็คือ สมถะอย่างเดียวกับของพระฤาษีนอกพระศาสนา ....เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ




ให้ เจริญ สมถะ-วิปัสสนาในแนวทางแห่งอริยมรรค
แบบที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เมื่อเจริญอริยมรรคย่อมเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนา สิครับ



เจริญสมถะ-วิปัสสนา แบบพระสูตรนี้ครับ

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร