วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 09:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือ สังขาร ในขันธ์ 5 กับ
สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท

อันเดียวกัน หรือต่างกัน ทำงานต่างกันอย่างไรครับ

ผมคิดไม่ออก พิจารณาไม่ได้น่ะครับ ช่วยทีครับ ขอบคุณมากครับ

:b13: :b8:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เดี๋ยวก็มีคนมาตอบค่ะ .. ของดีรอนานนิดนึงนะคะ :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 23:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ช้าย..เน้อะ..คุณWalaiporn..เดียวก็มีคนมาตอบ..อิ..อิ..อิ..ยังรู้ไม่จริง..ก็เลยขี้เกียจตอบนะครับ..

แต่ถ้าอยากดูแบบ..ยังไม่รู้จริง..ละก้อ..จะมาขยันตอบให้..อิ..อิ..อิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


cool

มาดูๆ
พี่สาวผมโพสต์ไว้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18013


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 23:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ..คุณชาติฯ..แม้ไม่ใช่คนถาม..แต่ก็ยังไม่เต็มกิเลส..คือความอยาก..เลย..ทำงัยดี?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ผมจะลองตอบตามความเข้าใจ ส่วนตัวนะครับ
หากไม่ครบถ้วนหรือมีอะไรขาดๆเกินๆ ก็ขอเชิญท่านผู้รู้ท่านอื่นมาท้วงติง


สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท ก็คือระบบของ นามรูป ครับ

กายสังขาร..........คือลมหายใจที่ปรุงแต่งกาย ทำให้รูปขันธ์ มีการทำงาน
ลมหายใจนี้จึงทำให้มี รูปขันธ์ ถ้าไม่มีลมหายใจปรุงแต่งกาย คนก็ตาย
หรือเป็นรูปที่ตาย ทุกคนที่ยังมีชีวิตจะยังมีกายสังขาร แม้แต่ผู้ที่ได้ฌาณ4
ถึงแม้กายสังขารจะระงับ จนรู้สึกถึงการไม่มีลมหายใจผ่านปลายจมูก แต่ลมละเอียดในกาย
ก็ยังมีอยู่ และยังคงหล่อเลี้ยงการทำงานของระบบประสาทอยู่ แต่เป็นลมที่มีอยู่ในปริมาณ
น้อย และทำงานอย่างแผ่วเบา ผู้เข้าฌาณ จึงยังมีลมหายใจปรุงแต่งกายอยู่
เพียงแต่ลมนั้นระงับลงอย่างประณีต จนรู้สึกเหมือนลมดับ แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ลมดับ
แต่เป็นลมระงับ

วจีสังขาร.........คือวิตก วิจารณ์ ซึ่งก็คือ กิริยาของจิตที่ ปรุงแต่ง ความคิด คำพูด
บัญญัติออกมา ส่วนนี้ สนับสนุนทั้งส่วน สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
ยามที่ปรุงแต่ง ถ้อยคำอันเป็นสัญญาวิตกออกมาพร้อมกับผัสสะ ก่อให้เกิดเป็นความจำได้
โดยมีถ้อยคำสัญญาในใจผุดขึ้นพร้อมทันทีที่สัมผัส สัญญาวิตกนี้ก็อยู่ในรูปของสัญญาขันธ์

แต่ถ้ามีสัญญาวิตกเกิดขึ้นแล้ว และมีวิจารณ์ลงไปด้วย ตรงนี้ วจีสังขาร ก็จะทำหน้าที่
เป็น สังขารขันธ์ เพราะเมื่อมีวิตกวิจารณ์ นั่นหมายถึงจิต กำลังทำหน้าที่ คิด
อาจจะคิดอยู่ในกรอบของ กุศล อกุศล หรือไม่จัดเป็นทั้งกุศลและอกุศล แต่ก็คือ
ความคิด ที่ทำหน้าที่เป็น สังขารขันธ์

จิตสังขาร คือ สัญญา เวทนา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ซึ่งองค์ธรรม
เหล่านี้ ก็คือ เจตสิกล้วนๆ หรือ นามขันธ์ล้วนๆ

เรื่องจิตสังขารเป็นเรื่องละเอียดอ่อนขึ้นอีก คือองค์ธรรมได้แก่ สัญญาเวทนาเจตนาผัสสะ
มนสิการ สามารถที่จะมองว่าเป็นองค์ธรรมที่อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งแยกกันไม่ได้ขาดจากกันไม่ได้
และสามารถที่จะมองอย่างแยกแยะออกจากกันก็ได้

โดยตัวสภาพ มันจะแยกจากกันไม่ได้ แต่ถ้ามานั่งมองด้วยปัญญาแล้วแยกด้วยปัญญา
ก็จะแยกได้ด้วยการขบคิดพิจารณา

เช่นโดยตัวสภาพที่เป้นจริงของมัน เมื่อใดมีสัญญา เมื่อนั้นก็มีเวทนาอยู่ด้วย
เมื่อมีสัญญาเวทนาก่อเกิดขึ้น นั่นหมายถึง เจตนา ผัสสะ มนสิการก็ได้เิกิดขึ้นพร้อมแล้ว

เพราะสัญญาเวทนาจะเกิดได้ต้องมีผัสสะ ผัสสะจะเกิดได้ต้องมีเจตนา
เมื่อมีเจตนา จึงมีผัสสะ เมื่อมีผัสสะจึงมี สัญญาเวทนา เมื่อมีสัญญาเวทนา
สัญญาเวทนา ก็จะกลายเป็น อารมณ์สำหรับเป็นที่ตั้งใจ อยู่ภายในใจ เรียกมนสิการ

ในชั่วพฤติของจิตที่เกิดดับรวดเร็วและเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อตาถึงรูป เจตนาทำให้จิต
น้อมไปในรูป เมื่อน้อมไป ก็เกิดการกระทบสัมผัส เมื่อผัสสะ ก็เกิด สัญญาเวทนา
และสัญญาเวทนา ก็ตั้งอยู่เป็นอารมณ์ธรรมในภายในทันทีเรียกมนสิการ

บางครั้งกระบวนการสัมผัส สัญญาก็ทำหน้าที่นำหน้าเวทนา จึงจำได้พร้อมกับรู้สึก
บางครั้งการสัมผัส เวทนาก็ทำหน้าที่ก่อนสัญญา จึงรู้สึกก่อนแล้วจำได้


หากจะมานั่งแยกในส่วน ของจิตสังขาร ให้เห็นเป็นการทำงานของขันธ์
โดยมากก็จะแยกกันอย่างนี้ว่า
สัญญา คือ สัญญาขันธ์
เวทนา คือเวทนาขันธ์
เจตนา คือ สังขารขันธ์

บางกรณีอาจมีการตีความ คำว่ามนสิการ คือการกระทำไว้ในใจ
การกำหนดไว้ในใจ ว่าคือกิริยาการคิด ก็จะเรียกส่วนนี้ว่า คือสังขารขันธ์ด้วย
โดยถือเอา เจตนาผัสสะมนสิการ เป็นองค์ของสังขารขันธ์


จึงพอจะสรุปได้ว่า สังขาร3 ในปฏิจจสมุปบาท ได้แก่
กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ก็คือ ระบบของนามรูปนั่นเอง

กายสังขาร ทำให้เกิด รูปขันธ์ วจีสังขาร ก็คือการทำงานของจิตที่ปรุงแต่งถ้อยคำ
อันเป็นสัญญาและสมมุติบัญญัติออกมา ซึ่งวจีสังขาร และจิตสังขาร ทำให้เกิด
สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ และสังขารขันธ์ขึ้นมา

ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เพราะมีสังขาร3 จึงมีวิญญาณขันธ์หรือวิญญาณ6
เพราะว่าสังขาร3 ทำให้นามรูปมีการก่อตัวขึ้น

เมื่อนามรูปก่อตัวขึ้น วิญญาณ6 จึงมีนามรูปเป็นที่ตั้งอาศัย
ดังที่พระองค์แสดงเรื่องการเกิดของขันธ์5 เอาไว้ว่า วิญญาณขันธ์ จะมีได้
เพราะ มีนามรูป เมื่อมีนามรูป ก็จะมีวิญญาณเกิดขึ้นพร้อมกับนามรูปนั้นด้วยทันที
โดยไม่สามารถแยกขาดจากกันได้

ธรรมชาติ ของขันธ์5 วิญญาณขันธ์ จะมีได้ เพราะมีนามรูป

และ เพราะมีกายสังขาร จึงมีรูปขันธ์ เพราะถ้าไม่มีลมปรุงแต่งกายรูปนี้ก็ไม่ทำงาน
เพราะมี วจีสังขาร จิตสังขาร จึงมี สัญญาขัน์ เวทนาขันธ์ สังขารขัน์
ซึ่งก็คือ นามขันธ์

ถ้าปราศจากสังขาร3 นามรูปก็ก่อตัวไม่ได้ เมื่อนามรูปก่อตัวไม่ได้ วิญญาณก็ไม่มี
นามรูป สำหรับอาศัยเป็นอารมณ์ในการ ก่อตัวขึ้นมาได้ เพราะวิญญาณจะเกิดได้ต้องมี
อารมณ์ และนามรูปก็คืออารมณ์ของวิญญาณ ถ้าไม่มีนามรูป วิญญาณก็ไม่มี

และถ้าไม่มีสังขาร นามรูปก็ไม่เกิด

สรุปอีกครั้งว่า สังขารขันธ์ และสังขาร3 ในปฏิจจสมุปบาท
บางส่วน คือตัวเดียวกัน

ผมคิดว่าคงยากไปบ้างสำหรับการทำความเข้าใจ หากท่านใดมีคำแนะนำ
ท้วงติงก็ขอเชิญครับ ขอบคุณครับ


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คือ สังขาร ในขันธ์ 5 กับ
สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท

อันเดียวกัน หรือต่างกัน ทำงานต่างกันอย่างไรครับ



อันเดียวกัน แต่การอธิบายต่างกัน พิจารณาดู ครับ =>


การอธิบายสังขารในแนวขันธ์ ๕ ท่านแสดงตัวสภาวะให้เห็นว่า ชีวิตมีองค์ประกอบอะไร มากกว่าจะแสดงกระบวนธรรมที่กำลังดำเนินอยู่ว่า ชีวิตเป็นไปอย่างไร
ดังนั้น คำอธิบายเรื่องสังขาร ในขันธ์ ๕ ตามปกติจึงพูดถึงแต่ในแง่เครื่องแต่งคุณภาพ
ของจิต หรือ เครื่องปรุงของจิต ว่ามีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น


ส่วนการอธิบายสังขารในแง่กระบวนการปรุงแต่ง ซึ่งเป็นขั้นออกโรงแสดง ท่านแยกไปกล่าว
ในหลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ชีวิตเป็นไปอย่างไร

ดังนั้น ในหลักปฏิจจสมุปบาท ความหมายของสังขาร จึงมีรูปร่างแบบปฏิบัติการ คือ
จำแนกออกเป็น
กายสังขาร - การปรุงแต่งแสดงเจตน์จำนงออกทางกาย หรือ เจตนาที่แปรุงแต่ง
การกระทำทางกาย

วจีสังขาร - การปรุงแต่งแสดงเจตน์จำนงออกทางวาจา หรือ เจตนาที่แปรุงแต่ง
การกระทำทางวาจา

และ

จิตตสังขาร - การปรุงแต่งแสดงเจตน์จำนงออกทางใจ หรือ เจตนาที่แปรุงแต่ง
การกระทำทางใจ


ต่างจากคำอธิบายแนวขันธ์ ๕ ซึ่งจำแนกสังขารเป็นองค์ธรรม เครื่องปรุงแต่งต่างๆ มี
ศรัทธา สติ เมตตา กรุณา ปัญญา โลภะ โทสะ เจตนา สมาธิ เป็นต้น

ถ้าจะเปรียบเทียบกับเรื่องรถ คำอธิบายสังขารแนวขันธ์ ๕ ก็เหมือนรถที่ตั้งแสดงให้ดูส่วนประกอบต่างๆ
อยู่กับที่

ส่วนคำอธิบายสังขารในแนวปฏิจจสมุปบาท เป็นเหมือนอธิบายเรื่องรถที่เดินเครื่องออกแล่นใช้งานจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูตัวอย่างคำอธิบายสังขารแนวขันธ์ ๕


สังขาร (Mental Formation หรือ Volitional Activities) ได้แก่ องค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มี เจตนา เป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือ ชั่ว หรือ เป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ
และการแสดงออก ทางกายวาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของ กรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา * ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น

เรียกรวมอย่างง่ายๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือ เครื่องปรุงของ กรรม



ตัวอย่างอธิบาย สังขาร ในแนวปฏิจจสมุปบาท (พอเห็นเค้า)



สังขาร ( Volitional Activities) = ความคิดปรุงแต่ง
ความจงใจ มุ่งหมาย ตัดสินใจ และการที่จะแสดงเจตนาออกเป็นการกระทำ

การจัดสรรกระบวนความคิด และมองหาอารมณ์มาสนองความคิด โดยสอดคล้องกับพื้นนิสัย
ความถนัด ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ และทัศนะคติ เป็นต้นของตน ตามที่ได้
สั่งสมไว้
การปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งความคิด หรือ ปรุงแต่งกรรม ด้วยเครื่องปรุง คือ คุณสมบัติต่างๆ
ที่เป็นความเคยชิน หรือได้สั่งสมไว้



เพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้น พึงศึกษาสังขารในขันธ์ ๕ กับสังขารในไตรลักษณ์ลิงค์นี้ช่วยด้วย

viewtopic.php?f=2&t=18670

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติ ของขันธ์5 วิญญาณขันธ์ จะมีได้ เพราะมีนามรูป

ส่วนอื่นอ่านแล้วพอเข้าใจบ้างตามกำลังสติปัญญาครับ :b13:

แต่ที่ตัวหนังสือสีแดงนั้น

ถ้าไม่มีรูปละครับ มีแต่นาม เช่นในขณะที่อยู่ในสมาธิ ละกายเสียแล้ว

วิญญาณยังคงมีอยู่นี่ครับ ถึงแม้ไม่มีรูป หรือผมเข้าใจผิดหรือเปล่าครับ :b13:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมอธิบายตามความเข้าใจส่วนตัวนะครับ คุณ moddam
ส่วนจะผิดหรือจะถูกนั้น ให้คุณอย่าเพิ่ง มาคิดว่าตามผม หรือเชื่อผม
ผมแค่เพิ่มแง่มุมการตีความซึ่งผมเข้าใจอย่างนี้ หากมีท่านอื่นเขาเข้าใจอย่างอื่น
ก็จะได้มี สักหลายๆแง่ ให้คุณมอง


คำว่าสังขาร ในปฏิจจสมุปบาท ถ้าว่ากันตามคำตรัสจากพระโอษถ์โดยตรงของ
พระพุทธเจ้า ท่านให้ความหมายไว้ว่า

กายสังขาร คือลมปรุงแต่งกาย
วจีสังขาร คือ วิตก วิจารณ์
จิตสังขาร คือ สัญญา เวทนา เจตนา ผัสสะ มนสิการ

ความเข้าใจของผม ถ้าไม่มีลมหายใจปรุงแต่งกาย กายก็ดับ
ถ้าไม่มี วจีสังขาร ความคิดก็ดับ
ถ้าไม่มี จิตตสังขาร สัญญา เวทนาก็ดับ

ถ้ารูปดับ ความคิดดับ ความจำดับ ความรู้สึกดับ
วิญญาณรู้ ก็จะไม่มี อารมณ์เป็นที่ตั้ง ดังนั้น วิญญาณก็จะดับพร้อมไปด้วย

ที่คุณว่า ถ้า รูปดับ แล้วเหลือแต่นาม วิญญาณยังจะคงมีอยู่อันนี้ย่อมถูกต้อง

ลองสังเกตุตัวรู้ให้ดี จะพบว่า ตัวรู้ จะมีได้ ก็เมื่อมีสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น
ถ้าปราศจากสิ่งถูกรู้ ตัวรู้ก็จะไม่มี เช่น

เมื่อคิด ก็มีรู้คิด เมื่อรู้สึก ก็มีรู้รู้สึก เมื่อมีจำ ก็มีรู้ต่อความจำ
เมื่อรูปทางตาทำหน้าที่ ก็รู้ทางตา เสียงมาทางหู ก็รู้ทางหู
เมื่อความรู้สึกของร่างกายเกิด ก็รู้ความรู้สึกของกาย

วิญญาณรู้ เกิดโดยอาศัยรูปขันธ์ ได้5 ทางคือ ตาหูจมูกลิ้นกาย
และอาศัย กิริยาของทุกเจตสิก ในภายในเป็นที่อาศัย

อย่างคนเข้าฌาณ ถึงระดับหนึ่ง ความระงับของลม ทำให้จิตตัดขาดจาก
ตาหูจมูกลิ้นกาย วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่ที่ รูป แต่จะไปตั้งอยู่ที่เจตสิก
ของมันเอง ซึ่งก็คืออารมณ์ธรรมภายในใจล้วนๆ เช่นหากจิตยังหยาบ
มันก็ยังมีความคิดเป็นที่ตั้ง

สมาธิสูงขึ้น วิตกวิจารดับ ความคิดก็ดับ เมื่อไม่มีความคิด
ตัวรู้ก็จะตั้งอยู่กับองค์ธรรมอื่นที่ยังเหลือคือ สัญญา เวทนา

สมาธิสูงไปอีก สัญญาก็เริ่มเหลือน้อยลง ตัวรู้ก็ยังคงอยู่
โดยตั้งอาศัยบนสัญญาที่เหลือน้อยนั้น

จนถึงที่สุดของสมาธิ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา เวทนา
เจตนา ผัสสะ มนสิการ ก็ถึงความดับลง ระงับลงโดยสนิท

จิตในขณะนี้ จึงไม่มีทั้ง ตาหูจมูกลิ้นกาย ของรูปขันธ์เป็นที่ตั้ง
ไม่มีความคิด จาก วิตกวิจารณ์ มาเป็นที่ตั้ง
ไม่มีสัญญา เวทนา เจตนาผัสสมนสิการ ซึ่งก็คือจิตสังขารเหลืออยู่สำหรับเป็นที่ตั้ง

เมื่อไม่มีรูปเพราะลมระงับ
ไม่มีความคิด เพราะ วิตกวิจารณ์ระงับ
ไม่มี สัญญา เวทนา เพราะจิตสังขารระงับ

ภาวะนี้จึงคือ สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ ความระงับโดยสนิทของสังขาร3
เป็นทั้งความดับของนามรูป และเป็นความดับของวิญญาณ6 และเป็นนิพพานดิบ

เมื่อมีรูป วิญญาณก็ยังอาศัยรูปเป็นที่เกิดได้
ถ้าไม่มีรูป มันก็มาอาศัย ความคิด เป็นที่ตั้งอยู่ได้
ถ้าไม่มีความคิด มันก็มาอาศัยสัญญา เวทนา เป็นที่ตั้งได้

ถ้าไม่มี ทั้งรูป คือกายแตกดับ ประสาทดับ สิ้นลมลงไป
ถ้าจิตยังมี สัญญา เวทนา มีความคิด อยู่ วิญญาณขันธ์ก็ยังจะคงอยู่
โดยอาศัยอาการของนามที่เหลือเป็นที่ตั้ง โดยไม่ต้องอาศัยรูปขันธ์อีก
เช่น โอปาติกะ ทั้งหลาย ที่สังขารทั้ง3 ดับลงไม่สนิท

เมื่อคนตาย กายสังขารจะดับไป แต่ หากยังไม่สิ้นอุปาทาน
จิตสังขาร และวจีสังขาร ก็จะยังไม่ดับไปและคงอยู่เช่นเมื่อยังไม่ตาย
เรียกการตายอย่างนี้ว่า ตายไม่สนิท สังขารดับไม่สนิท ยังคงความเป็น
คงความเป็นภพเอาไว้อยู่ เพราะผู้ที่จะสนิทได้มีเพียง ผู้ที่ปรินิพพานเท่านั้น

เมื่อสังขารทั้ง3 ยังมีส่วนเหลืออยู่ วิญญาณก็จะอาศัยส่วนที่เหลือนั้น
เป็นที่เกิด และหล่อเลี้ยงตัวมันเอาไว้ ไม่ให้ดับสนิทไป


สรุปว่า ถ้ายังมีสังขาร แม้เพียงอย่างใดอย่างเดียว วิญญาณก็ยังคงอยู่

ถ้าสังขารทั้ง3 ดับสนิท วิญญาณก็ดับ และนั่นก็คือนิพพานทันที

ในภาวะที่สังขาร3ดับ วิญญาณ6ดับ ภาวะอันเดียวกันนี้ ก็คือสภาพ
ความดับลงของนามรูปด้วยในที่เดียวกัน


ผมรู้สึกไม่สามารถอธิบายได้อย่างใจ รู้สึกว่ายาก และขอให้ท่าน
ที่รับทราบข้อมูล โปรดเข้าใจด้วยว่า นี่เป็นแค่การตีความตามความคิดส่วนตัวของผม
ท่านอย่าเพิ่งมาเชื่อตามผม ผมแค่เข้าใจของผมอย่างนี้ ก็เท่านี้เองครับ

ขออภัยด้วยครับถ้ามันวกไปวนมามากไปหน่อย และอาจจะแหกคอกไปบ้าง

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากครับ คุณบัวศกล

tongue ผมยังไม่แจ้งเท่าไหร่ แต่ก็ตามสติปัญญาของตัวเองแหละครับ

โมทนาด้วยนะครับ ที่จริงก็ไม่คิดว่าจะตอบยาวขนาดนี้

แต่ก็กำลังพิจารณาอยู่ครับ :b13:

และขอบคุณพี่ทุกคนครับ จะพยายามศึกษาและปฏิบัติไปด้วย พยายามเอาใจไปเห็นกระบวนการของปฏิจจสมุปบาท น่าจะทำให้เห็นชัดกว่านี้ครับ

ขอบคุณครับ :b8:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 08:25
โพสต์: 19

อายุ: 0
ที่อยู่: เชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: ขณะที่ ทำสมาธิอยู่ ก็มีรูป(รูปมีทั้งภายใน ทั้งภายนอก) เน้อ ถึงแม้อยู่ในฌาน

:b8: :b8: :b8: อนุโมทนา ทุกท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ กับคุณ 190 ครับ

หากยังมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะทรงอยู่ในสมาธิชั้นไหน
ก็ยังคงเหลือรูปอยู่ แม้แต่สัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ยังเหลือรูปอยู่

ตัวรู้จึงยังคงมีอยู่ ในสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะรูปที่ยังไม่สิ้นลม
ระบบกายก็ยังทำหน้าที่อยู่ วิญญาณรู้จึงยังคงอยู่บนรูปเป็นด่านสุดท้าย
มีแต่การปรินิพพานเท่านั้น ปัจจัยสุดท้ายคือรูปจึงจะดับไป ภาวะนั้นจึงเป็น
การดับไม่เหลือโดยแท้จริงได้ ตรงนี้จึงเป็นนิพพานสุก คือนิพพานที่สมบูรณ์

หากยังมีชีวิต จะกระทำได้ปราณีตที่สุด ก็คือ ทำให้วจีสังขาร และจิตสังขาร
ดับไป แต่ทำให้กายสังขาร ได้แค่ระงับ ไม่สามารถดับลมได้
ดังนั้นรูปจึงยังมีอยู่ เป็นด่านสุดท้ายของการตั้งอยู่ของวิญญาณรู้
เพราะวิญญาณรู้ยังคงมีอยู่ จึงทำให้บุคลที่ ดับสัญญาเวทนาได้ สามารถรู้
ทั่วถึงต่อสภาพที่เข้าถึง

แต่วิญญาณรู้็ที่เหลือตั้งอยู่บนรูปนี้ เป็นวิญญาณรู้ที่ไม่ทำหน้าที่เป็นเจตสิกทั้งปวง
มันมีอยู่เหมือนเป็นแค่เงาของรูป เป็นรู้ที่หยุดพฤติของมันเองทั้งหมด หยุดปฏิกิริยาทั้งปวง
จากสิ่งทั้งปวง และจากตัวมันเอง ภาวะที่สามารถระงับสังขาร3ได้ ในขณะยังมีชีวิต
จึงสามารถสัมผัสถึง ต่อนิพพานสภาพได้เพียง นิพพานดิบ ซึ่งก็คือนิพพานดิบ
ที่บุคคล สามารถถึงได้ โดยยังมีตัวรู้ แต่เป็นตัวรู้ที่ไม่มีการปรุงแต่ง และไม่มีคลองแห่ง
กิริยาทั้งปวง เป็นรู้ที่ทรงอยู่บนความดับ ความหยุด ความระงับ บนการเพิกถอน
ถ้อยคำ และเจตนาของจิต เหมือนจิตที่กำลังพ้นจากการเป็นจิต


ความรู้ที่อาจดูแปลกๆไปบ้าง ผมก็เอามาจากพระรูปหนึ่งที่ผมรู้จัก
อาจเติมแต่งคำพูดให้ดูเหมือนจริงไปบ้าง ก็โปรดอภัย

เพราะผมมันเจ้าสำบัดสำนวน

ท่าน190 นี่ดูท่า จะไม่ธรรมดา

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม (สายเกิด)
เพราะ มี อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขาร
เพราะ มี สังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะ มี วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป
เพราะ มี นาม-รูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะ มี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะ มี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะ มี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะ มี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะ มี อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะ มี ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะ มี ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ปฏิโลม (สายดับ)
เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ
เพราะ นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
เพราะ ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
เพราะ ชาติ ดับ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

***********************************************
ปฏิจจสมุปบาท (สายเกิดอกุศลธรรม)
เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร เพราะมี สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ เพราะมี วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นาม-รูป เพราะมี นาม-รูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัยจึงมี การแสวงหา เพราะมี การแสวงหา เป็นปัจจัยจึงมี ลาภ เพราะมี ลาภ เป็นปัจจัยจึงมี การตกลงใจ เพราะ มี การตกลงใจ เป็นปัจจัยจึงมี การรักใคร่พึงใจ เพราะมี การรักใคร่พึงใจ เป็นปัจจัยจึงมี การพะวง เพราะมีการพะวง เป็นปัจจัยจึงมี ความยึดถือ เพราะมี ความยึดถือ เป็นปัจจัยจึงมี ความตระหนี่ เพราะมี ความตระหนี่ เป็นปัจจัยจึงมี การป้องกัน เพราะมี การป้องกัน เป็นปัจจัยจึงมี เรื่องในการป้องกันขึ้น อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้แล
อธิบายศัพท์
อวิชชา คือ ความไม่รู้ มี 8 อย่าง ดั้งนี้ ไม่รู้ในอริยสัจ 4 ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งใน อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต และ ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรม
สังขาร คือ ตัวปรุงแต่งให้เกิด = เจตนา 29 (อกุศลเจตสิก 12 มหากุศลเจตสิก 8 มหัคคตจิต 9 ) อสังขารมี 1 คือ มรรค 8
วิญญาณ คือ เกิดในปฏิสนธิกาล = ปฏิสนธิจิต 19 ( สันตีรณ 2 มหากุศลวิบาก 8 มหัคคต 9 )
ทุคติบุคคล = อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก 1 = อบายภูมิ 4
อเหตุกบุคคล = อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก 1 = มนุษย์ และ เทวดาชั้นต่ำ
ทวิเหตุกบุคคล = มหาวิบากญาณวิปปยุตต 4 = มนุษย์ และ เทวดาไม่มีปัญญา
ติเหตุกบุคคล = มหาวิบากญาณสัมปยุตต 4 = มนุษย์ และ เทวดามีปัญญา
รูปาวจรวิบาก 5 = รูปพรหมในรูปภูมิ
อรูปาวจรวิบาก 4 = รูปพรหมในรูปภูมิ
เกิดในปวัตติกาล = โลกียวิบากจิต 32 ( อเหตุกวิบาก 15 มหาวิบาก 8 มหัคคตวิบาก 9 )
อเหตุกวิบาก 15 คือ อกุสลวิบาก 7 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ
กุสลวิบาก 7 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ ( อุ และ โสม )
มหาวิบากจิต 8 = ภวังคจิต
รูปาวจรวิบาก 5 = อเหตุกกุสลวิบาก 5 = ตา หู สัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ ภวังคจิต
รูปาวจรวิบาก 4 = ภวังคจิต
เกิดเฉพาะปวัตติกาล 13 ดวง ทวิปัญจวิญญาณ 10 สัมปฏิฉันนะ 2 โสม.สันตีรณะ 1
นาม-รูป หมายถึง มหาภูตรูป คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
และ นาม มีลักษณะน้อมนำไปสู่อารมณ์ = โลกียวิบากจิต 32 รูป มีลักษณะแตกดับสลาย = กัมมชรูป
สฬายตนะ คือ อายตนะทั้ง6อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ เป็นเครื่องต่อบ่อเกิดแห่ง จิต เจตสิก วิถีจิต = โลกียวิบากจิต 32
จักขุสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี จักขวายตนะ
โสตสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี โสตายตนะ
ฆานสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ฆานายตนะ
ชิวหาสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ชิวหายตนะ
กายสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี กายายตนะ
มโนสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี มนายตนะ
ผัสสะ คือ การกระทบ เป็นที่ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์ ผัสสะเจตสิก = โลกียวิบากจิต 32 เป็นที่ธรรมทั้ง 3 ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน
จักขุสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี จักขุปสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ
โสตสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี โสตปสาท สัททารมณ์ โสตวิญญาณ
ฆานสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ฆานปสาท คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ
ชิวหาสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ชิวหาปสาท รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ
กายสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี กายปสาท โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ
มโนสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ภวังคจิต ธัมมารมณ์ มโนวิญญาณ
เวทนา คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ = เวทนาเจตสิก = โลกียวิบากจิต 32 เวทนาเป็นปัจจุบันธรรมของผัสสะ ได้แก่ เวทนา 6
จักขุสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด จักขุสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
โสตสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด โสตสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
ฆานสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด ฆานสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
กายสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด กายสัมผัสสชาเวทนา = อิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ = สุขเวทนา อนิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ = ทุกขเวทนา
มโนสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด มโนสัมผัสสชาเวทนา อิฏฐารมณ์ = โสมนัสเวทนา อนิฏฐารมณ์ = โทมนัสเวทนา มัชฌัตตารมณ์ = อุเบกขาเวทนา
ตัณหา คือ กามตัณหา คือ เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ 6 ที่เกี่ยวกับกามคุณ ภวตัณหา คือ ความยินดีติดใจในภพ มีความเห็นว่าเที่ยง เป็น สัสสตทิฏฐิ วิภวตัณหา คือ เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ 6 มีความเห็นว่าเป็นสูญ เป็น อุจเฉกทิฏฐิ ตรงกันข้ามกับกามตัญหา
อุปาทาน คือ เป็นธรรมชาติที่ติดใจยึดมั่นในอารมณ์ เป็นปัจจุบันธรรมของ ตัณหา ได้แก่ อุปาทาน 4
กามุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง 6 = โลภเจตสิก
ทิฏฐุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในการเห็นผิด = ทิฏฐิเจตสิก
สิลพัตตุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด = สีลัพพตทิฏฐิ
อัตตวาทุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนเป็นเราเป็นของเรา = สักกายทิฏฐิ
ภพ คือ ที่อยู่ของหมู่สัตว์ เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นกรรม เป็นปัจจุบันธรรมของ อุปาทาน ได้แก่ ภพ 2 กัมมภพ = เจตนา 29 การทำบาป บำเพ็ญบุญ มีความเป็นกรรม อุปปัตติภพ โลกียวิบากวิญญาณ 32 มีความเป็นผลของกรรม ( ชาติ ) แบ่งเป็น 3 กามภพ ได้แก่ กามภูมิ 11 อันมี อบายภูมิ 4 มนุสภูมิ 1 เทวภูมิ 6 รูปภพ ได้แก่ รูปภูมิ 16 คือ รูปพรหม 16 ชั้น อรูปภพ ได้แก่ อรูปภูมิ 4 คือ อรูปพรหม 4 ภพ 3 โดย ขันธ์ 3 ปัญจโวการภพ ได้แก่ ภพที่มีขันธ์ 5 คือ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 15 จตุโวการภพ ได้แก่ ภพที่มีขันธ์ 4 คือ อรูปภูมิ 4 เอกโวการภพ ได้แก่ ภพที่มีขันธ์เดียว คือ อสัญญสัตตภูมิ 1 ภพ 3 แบ่งโดยสัญญา 3 สัญญีภพ คือ สัตว์ที่มีนามขันธ์ ได้แก่ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 15 อรูปภูมิ 3 อสัญญีภพ คือ สัตว์ที่ไม่มีนามขันธ์ ได้แก่ อสัญญสัตตภูมิ เนวสัญญีนาสัญญีภพ คือ สัตว์ที่มีนามขันธ์ก็ไม่ใช่สัตว์ที่ไม่มีนามขันธ์ก็ไม่ใช่ ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
ชาติ คือ ความเกิด เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นผลกรรม เป็นธรรมชาติที่ทำให้สังขารธรรมปรากฏ เป็นการเกิดครั้งแรกในภพนั้นๆ อุปาทานขณะ เป็นปัจจุบันธรรมของ ภพ ได้แก่ ชาติ 3 คือ ปฎิสนธิชาติ = ปฏิสนธิจิต 19 เจตสิก 35 และ กัมมชรูป ที่ปรากฏในปฎิสนธิกาล สันตติชาติ = การสืบของ จิต เจตสิก รูป ทั้งหมด ในปวัตติกาล ขณิกชาติ = การเกิดขึ้นขณะหนึ่งๆของ จิต เจตสิก มี 3 อนุขณะรูปมี 51 อนุขณะ
ชรา คือ ความแก่ เป็นความเก่าแก่เสื่อมโทรมของวิบากนามขันธ์ 4 และ กัมชรูป = ฐิติขณะ
อัปปฏิจฉันนชรา เป็นความชราที่เปิดเผยเห็นด้วยนัตย์ตา ได้แก่ รูปชรา...ปากฎชรา
ปฏิจฉันนชรา เป็นความชราที่ปดปิดไม่เปิดเผย ได้แก่ นามชรา...อปากฎชรา
มรณะ คือ ความตาย เป็นอาการที่ดับไปของวิบากนามขันธ์ 4 และ กัมชรูป = ภังคขณะ
รูปมรณะ คือ ความดับไปของรูป = ภังคขณะ ได้แก่ สมมติมรณะ คนตาย
นามมรณะ คือ ความดับไปของนามขันธ์ 4 = ภังคขณะ ได้แก่ การดับของ จิต เจตสิก
ชรา และ มรณะ เป็นปัจจุบันธรรมของ ชาติ โสกะ คือ ความโศกเศร้า
ปริเทวะ คือ ความร่ำไห้คร่ำครวญ
ทุกข์ คือ ความทุกข์กาย
โทมนัส คือ ความทุกข์ใจ
อุปายาส คือ ความคับแค้นใจ

***********************************************

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 23:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อได้ดูสายปฏิจจฯ แล้ว..มาดูสายนิยาย..บ้างเป็นงัย..อิ..อิ..

เพราะ..โรงงานสร้างนวัตกรรมใหม่..ซึ่งมีแค่วิศวกร 4 นาย แต่มีนายToyota เป็นวิศวกร.ที่สร้างอะไรก็ไม่รู้ได้สำเร็จ..เรียกอะไรก็ไม่รู้นั้นว่า...(โอ้ว)..Toyota

เพราะ..อวิชชา..ที่รู้สึก..รู้จำ..รู้คิด.. รู้อภิชฌา มีความคิดคือสังขารเป็นเจตนา ปรารถนา อะไรก็ไม่รู้..พอได้อะไรก็ไม่รู้..จากความคิด..เรียกอะไรก็ไม่รู้นั้นว่า..สังขาร..นี้คือ..สังขาร ใน ปัจจยาการ .เป็น ชื่อสมมุติของรูป

เมื่อ..โรงงานได้ส่ง..เหล่าวิศวกรทั้ง 4 ขึ้นไปอยู่ใน.. .Toyota.. บังคับไปไหนต่อไหนได้..แล้วเรียกเจ้าอะไรก็ไม่รู้นี้ว่า..รถ..โดยมีตัวนาย Toyota เป็น 1 ใน 4 ของคนบังคับรถ

เมื่อ..อวิชชา..ปรารถนา..ให้สิ่งที่ได้..อยู่ในบังคับบัญชา..จึงไปควบคุม..สิ่งนั้น..(รูป) ..ด้วยตัวเอง..ด้วยความรู้สึก..รู้จำ..รู้คิด.. รู้อภิชฌา.( นาม อันมี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) .. นี้คือ..สังขาร ในขันธ์ 5 เป็น..อาการ 1 ใน 4 ของ นาม

เล่านิยายนี้มันดีอย่างนี้แหละ..ผิดได้..ไม่เป็นโทษ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร