วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมบูชาด้วยเศียรเกล้า

pic21.jpg
pic21.jpg [ 31.86 KiB | เปิดดู 7331 ครั้ง ]
2005-07-26-113249.jpg
2005-07-26-113249.jpg [ 2.46 KiB | เปิดดู 7324 ครั้ง ]
buddha003~1.jpg
buddha003~1.jpg [ 20.91 KiB | เปิดดู 7321 ครั้ง ]
GetAttachment.jpg
GetAttachment.jpg [ 4.12 KiB | เปิดดู 7314 ครั้ง ]
Sunset.jpg
Sunset.jpg [ 69.52 KiB | เปิดดู 7132 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:
ถาม มีผู้กล่าวว่า การทำบุญแล้วควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ไม่ทราบว่า คำว่า เจ้ากรรมนายเวร หมายถึงอะไร การทำสมาธิแล้วจะอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรด้วยได้หรือไม่ อย่างไร
สุ. รู้สึกว่าใช้คำว่า เจ้ากรรมนายเวรกันมาก และกลัวเหลือเกินว่า ถ้าไม่อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรจะไม่พ้นจากเคราะห์กรรมต่างๆ มีท่านผู้ใดเตยทำและเคยคิดอย่างนี้บ้างไหม ตวามจริงนั้นเมื่อทำบุญแล้วควรอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่สามารถรู้และอนุโมทนาได้ แต่คำว่าเจ้ากรรมนายเวรดูจะเป็นคำคล้องจองของคำว่า กรรมเวร และ เจ้านาย ที่ว่ามีเจ้ากรรมนายเวรนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว ใครทำให้ท่านปฏิสนธิในชาตินี้ อะไรทำให้แต่ละบุคคลเกิดในภพนี้ในภูมินี้ เจ้ากรรมนายเวรเป็นผู้ทำหรือ หรือว่าเป็นกรรมของแต่ละท่านที่ได้กระทำแล้ว กรรมหนึ่งเป็นปัจจัยทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดในภูมินี้ เพราะฉะนั้นไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นเจ้ากรรมของใคร เพราะว่าแต่ละท่านมีกรรมเป็นของตน แม้แต่ปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นจิตขณะแรกที่เกิดในภูมินี้ ก็เป็นผลของกรรมหนึ่งที่ได้กระทำแล้วในอดีตของท่านเอง ไม่ใช่มีเจ้ากรรมทำให้ท่านปฏิสนธิ ข้อความในอังคุตตนิกาย ทสกนิบาต ธัมมปริยายสูตร ข้อ 193 พระผู้มีพระภาคฯตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับคำพระผู้มีพระภาคฯแล้ว พระผู้มีพระภาคฯ ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนเป็นไฉน ดูกรภิกษุ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้องและมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมไว้เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
เพราะฉะนั้น จึงไม่มีใครเป็นเจ้ากรรมนายเวรของใคร หรือว่าท่านผู้ใดเข้าใจเรื่องเจ้ากรรมนายเวรว่าอย่างไร มีใครเคยอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรบ้าง
ช. ผมเพียงแต่ยกมือว่าเคยกระทำเช่นนั้น แต่ผมไม่มีความรู้เรื่องเจ้ากรรมนายเวร
สุ. ขณะที่อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรนั้น ไม่รู้ว่ามีเจ้ากรรมนายเวรหรือไม่ ใช่ไหม
ช. เป็นคติความเชื่อที่เชื่อว่า เรากระทำอะไรให้ใครเขาไม่พอใจเดือดร้อน อย่างไรก็แล้วแต่ เราก็ขอให้ต่างฝ่ายต่างมีอโหสิกรรมต่อกัน อันนั้นเป็นความเชื่อว่าถ้าเราแผ่ส่วนกุศลไป แผ่เมตตาไป เชื่อว่าย่อมเป็นการกระทำที่ดี และอย่างน้อยที่สุดก็ทำให้เราสบายใจ เพราะเชื่ออย่างนี้จึงทำอย่างนี้ และเชื่อต่อไปโดยไม่ได้ศึกษาว่า พระผู้มีพระภาคฯ อาจจะตรัสไว้ที่ไหน คิดว่าเป็นคติทางพุทธศาสนา
สุ. แต่ไม่เคยเห็นเจ้ากรรมนายเวร ใช่ไหม
ช. ที่เป็นตัวเป็นตนก็มี พ่อแม่ของผม ผมก็ถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวร ท่านมีบุญคุณกับผม ผมก็อุทิศให้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ อุทิศให้ทุกครั้งไป
สุ. ถ้าอย่างนั้น ในความหมายนี้คงหมายถึงผู้ที่มีกรรมต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็ชื่อว่า เจ้ากรรมนายเวร
ไม่ทราบว่าความจริงจะเป็นอย่างไรสำหรับคนอื่น สำหรับกระผม กระผมถือว่าใครก็แล้วแต่กระทำกรรมต่อกัน เราก็อยากอุทิศให้
สุ. นั่นเป็นเรื่องอุทิศส่วนกุศล เป็นเรื่องของการเจริญเมตตา แต่นี่เป็นเรื่องการเข้าใจเรื่องเจ้ากรรมนายเวร คือไม่ทราบว่าแต่ละท่านมีความคิดความเข้าใจเรื่องของเจ้ากรรมนายเวรอย่างไร เพราะรู้สึกว่าจะเป็นธรรมเนียมในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร
ช. กระผมก็เป็นคนธรรมดาๆ ที่ไม่ได้ศึกษา มีความเชื่อว่า ถ้าเรากระทำความไม่ดีอะไรกับใครไว้ ก่อความไม่พออกพอใจแก่ใครไว้ ก็คิดว่ากรรมนั้นอาจเกิดสนองแก่เราได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็คิดว่า ถ้าเราอโหสิกรรมต่อกันเสียก็คงจะดี อันนี้เป็นความเชื่อ นอกจากนั้นคอยไปพบใครไม่ทราบบอกว่า เวลาเจ็บป่วย พระภิกษุท่านบอกว่ามีสาเหตุหลายอย่าง จำได้ว่ามีพยาธิ มีอุตุ มีกรรม และมีข้อหนึ่งว่าเป็นเรื่องของกรรมที่เราทำอะไรไปในชาติก่อน อาจจะทำให้ผู้ถูกกระทำนั้นมาทวงบุญทวงคุณ หรือว่าทวงกรรมที่เราไปทำเขา ด้วยเหตุนั้นผมก็เชื่อเช่นนั้น เวลาทำบุญทำกุศลอะไรก็แล้วแต่ ก็อุทิศส่วนกุศลไปให้ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆก็ไม่ลืมที่จะใส่บาตรกรวดนํ้าให้ผู้ที่อาจจะเป็นเจ้ากรรมนายเวร ถ้ามีอะไรต่อกันก็ขออโหสิแก่กัน ทำอย่างนั้นด้วยความเชื่อ ผมไม่ทราบว่าถูกต้องตามคติหรือพระธรรมของพระผู้มีพระภาคฯหรือเปล่า
สุ. ขอให้พิจารณาโดยละเอียดถึงเรื่องการอุทิศส่วนกุศลและการอบรมเจริญเมตตา สำหรับการอุทิศส่วนกุศลนั้นเมื่อได้ทำกุศลแล้ว ก็สามารถจะอุทิศให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ได้ ที่สามารถจะล่วงรู้ เพื่อเขาจะได้เกิดกุศลจิตอนุโมทนา ไม่ว่าจะเป็นผู้ยังมีชีวิตอยู่หรือว่าเป็นผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่สำหรับความเข้าใจเรื่องเจ้ากรรมนายเวรนี้ ขอให้พิจารณาจริงๆว่า แต่ละท่านมีกรรมเป็นของตน เพราะฉะนั้น จึงไม่มีเจ้ากรรมนายเวร ไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะดลบันดาลทุกข์สุขให้กับท่าน เพราะว่าทุกข์สุขของแต่ละท่านนั้นย่อมต้องเป็นผลของการกระทำคือกรรมของท่านเอง ส่วนการอุทิศส่วนกุศลขณะนั้นผู้อุทิศต้องมีเมตตาจิต จึงสามารถจะอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละบุคคลนั้นได้ ถ้าขาดเมตตาจิตในบุคคลใดก็จะไม่อุทิศส่วนกุศลให้บุคคลนั้น เพราะฉะนั้นการอุทิศส่วนกุศลจึงเป็นการเจริญเมตตา คือต้องมีความเมตตาจึงสามารถจะอุทิศส่วนกุศลในขณะนั้นได้ ถ้าคิดถึงเจ้ากรรมนายเวรที่มองไม่เห็น กับคิดถึงบุคคลที่ท่านกำลังไม่พอใจ แทนที่จะคอยโอกาสมีเมตตาอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรที่ไม่เห็นหน้าและไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่กับคนซึ่งท่านกำลังเห็นและไม่พอใจนั้น อาจจะเคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรได้ไหม ซึ่งความจริงเจ้ากรรมนายเวรไม่มี ทุกท่านมีกรรมเป็นของๆตน แต่ถ้าคิดถึงกรรมที่ตนได้เคยทำต่อบุคคลอื่น แล้วเรียกบุคคลที่ท่านกระทำด้วยว่าเป็นเจ้ากรรมของท่าน แล้วใคร่ที่จะเห็นเขามีความสุข ให้พ้นจากความผูกโกรธขณะนั้น ก็ควรเมตตาบุคคลที่ท่านเห็น แทนที่จะไปอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรที่มองไม่เห็น นี่ก็เป็นสิ่งที่ควรจะพิจารณา ส่วนการเจริญเมตตานั้นก็เจริญได้ต่อคนที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น การเจริญเมตตาต่อคนที่ล่วงลับไปแล้วไม่มีประโยชน์ ไม่เกิดผล เพราะฉะนั้น ควรพิจารณาตามความเป็นจริงว่าบุคคลที่สิ้นชีวิตแล้วนั้น สูญสิ้นสภาพของการเป็นบุคคลซึ่งเคยเกี่ยวข้อง เคยมีความสัมพันธ์ เคยชอบหรือเคยชังต่อกันก็จบสิ้นไปแล้ว ฉะนั้น การที่สามารถมีเมตตาต่อบุคคลซึ่งเป็นที่ไม่รักได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นผู้ที่อบรมเจริญเมตตาจริงๆ มีกำลังของเมตตาที่สามารถจะเจริญได้แม้บุคคลซึ่งไม่เป็นที่รักก็เมตตาได้ แต่ถ้าบุคคลนั้นสูญสิ้นการเป็นบุคคลนั้นแล้ว จะมีเมตตาต่อบุคคลนั้นทั้งๆที่ท่านเองก็รู้ว่าไม่มีบุคคลนั้นอีกต่อไป ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น ความคิดเรื่องเจ้ากรรมนายเวรก็ฉันนั้น ในเมื่อกรรมได้กระทำไปแล้ว และกรรมนั้นก็เป็นของท่านเอง และบุคคลที่ท่านกระทำกรรมในชาติไหนๆก็ตาม ในปัจจุบันชาตินี้จะเป็นใคร ถ้ากล่าวลอยๆว่าเจ้ากรรมนายเวร โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ก็ย่อมเป็นโมฆะ เพราะไม่รู้ว่าเป็นใครที่ไหน แต่ถ้าระลึกได้ว่า ควรจะมีเมตตา ควรอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลทั้งหลายผู้สามารถล่วงรู้ได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นใคร ท่านก็สามารถจะเจริญเมตตาโดยอุทิศส่วนกุศลให้ แม้คนซึ่งไม่เป็นที่รัก จะดีกว่าการไปอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร โดยไม่ทราบว่าชาติไหนท่านได้ทำกรรมอะไรกับบุคคลใด จึงจะเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่าน
เพราะว่า แม้กรรมในชาติก่อนๆ ก็ยังนึกไม่ออก ไม่สามารถจะล่วงรู้ได้ว่า ในชาติก่อนๆได้กระทำกรรมอะไร จึงมีเจ้ากรรมนายเวร และเป็นเจ้ากรรมนายเวรในชาติไหนก็ไม่รู้ และถ้าเป็นในชาตินี้ ใครเป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่านบ้าง และเจ้ากรรมนายเวรซึ่งท่านได้กระทำกรรมต่อบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือว่าล่วงลับไปแล้ว ถ้าล่วงลับไปแล้ว ก็อุทิศส่วนกุศลให้บุคคลนั้นได้ แต่ไม่ใช่โดยฐานะซึ่งเป็นเจ้ากรรมนายเวรลอยๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นใคร และเป็นเจ้ากรรมนายเวรในชาติไหน
สภาพธรรมะนั้นต้องไตร่ตรองพิจารณาเหตุผลจริงๆ เพราะถ้าไม่พิจารณาเหตุผลก็อาจจะกระทำไปโดยไม่เข้าใจว่าเป็นกุศลจริงๆหรือไม่ เพราะเพียงแต่การกล่าวอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร โดยไม่รู้ว่าเจ้ากรรมนายเวรเป็นใครนั้น โดยมากมักจะกลัวเจ้ากรรมนายเวรเพราะคิดว่า เจ้ากรรมนายเวรจะทำให้ชีวิตของท่านลำบากเดือดร้อน แทนที่จะเข้าใจให้ถูกต้องว่า อกุศลกรรมที่ท่านได้กระทำแล้วซึ่งเกิดเพราะกิเลสเป็นเหตุให้วิบากคือผลของกรรมนั้นๆเกิดขึ้นกับท่านเอง เมื่อท่านยังมีอกุศลกรรม ยังมีกิเลสซึ่งเป็นต้นเหตุให้ทำอกุศลกรรม อกุศลกรรมที่เกิดขึ้นย่อมให้ผล คือทำให้เกิดวิบากซึ่งเป็นผลของกรรมนั้นได้ในภายหลัง เพราะฉะนั้น จึงควรเห็นโทษของกิเลสและอกุศลกรรมมากกว่ากลัวที่จะไม่อุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร
ท. อย่างพวกที่ผูกพยาบาทกัน ถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันหรือไม่
สุ. โดยสถานไหน
ท. มีธรรมบทเรื่องนางยักษิณี มีการผูกเวรกันมาหลายชาติ
สุ. เมื่อผูกเวรกันแล้ว หนทางที่จะหมดเวรได้นั้น คืออย่างไร
ท. เรื่องที่จะหมดเวรก็คือว่า ตอนสุดท้ายนางยักษิณีจะไปจับลูกของผู้หญิงคนที่ผูกเวร เพื่อนำไปเป็นอาหาร ผู้หญิงนั้นวิ่งเข้าไปในวัด เอาลูกไปวางไว้ที่พระบาทของพระพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าได้เรียกนางยักษิณีพร้อมด้วยผู้หญิงคนนั้น และทรงโปรดแสดงเทศนาจนคนทั้งสองเลิกผูกเวรกัน
สุ. เพราะฉะนั้น ที่จะหมดเวรกันได้นั้น คืออย่างไร
ท. คงจะเป็นเพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้น
สุ. คือไม่จองเวร ไม่โกรธกันต่อไปขณะใด ขณะนั้นก็หมดเวรต่อกัน คือกุศลจิตเกิดทั้งสองฝ่าย
ท. ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งทำบุญ และมีเจตนาดีที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับผลบุญที่ตนกระทำด้วย ฝ่ายนั้นอาจจะเลิกคิดพยาบาทเป็นไปได้ไหม
สุ. ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อได้ทำกุศลแล้วก็อยากให้ผู้อื่นเกิดกุศลด้วย จึงบอกให้ผู้นั้นรู้ในกุศลนั้น เพื่อเขาจะได้อนุโมทนา แต่ถ้าพูดถึงเจ้ากรรมนายเวรหลังจากที่เราทำกุศลแล้ว จะรู้ได้อย่างไร
ท. เมื่ออุทิศส่วนกุศลให้คนที่โกรธกัน โดยบอกว่าไปทำบุญมา ขอให้ท่านได้รับผลบุญด้วย
สุ. บอกให้เขารู้เพื่อที่เขาจะได้อนุโมทนา แต่ไม่ใช่อย่างที่คิดว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรตั้งแต่ครั้งไหนก็ไม่รู้ กรรมอะไรก็ไม่รู้ แล้วยังไปกลัวอีกว่าที่อุทิศส่วนกุศลให้ เพื่อเขาจะได่ไม่มาทำให้เราเดือดร้อน ดูเหมือนกับว่าเขาสามารถจะดลบันดาลทั้งๆที่เราเป็นผู้กระทำกรรม เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของเราเอง ไม่ใช่คนอื่นสามารถสามารถกระทำกรรมให้เราได้
ท. คิดว่าเป็นอย่างนั้น
สุ. ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็อย่าผูกโกรธ แต่ไม่ต้องไปคิดถึงกรรมในอดีตที่ผ่านมา แล้วไม่รู้ว่ากรรมอะไร เจ้ากรรมนายเวรอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ถ้าไม่ชอบใครก็คิดเสียว่าคนนั้นเป็นเจ้ากรรมนายเวร อย่างที่เราเคยคิดก็แล้วกัน จะได้ไม่โกรธเขา แทนที่จะต้องไปนั่งอุทิศส่วนกุศลให้ ก็เกิดเมตตาในบุคคลนั้นทันที
ท. เรื่องการแผ่เมตตามีคนเป็นจำนวนมากแผ่ไปไม่เฉพาะแต่เพื่อนฝูง ญาติมิตรเท่านั้น แต่แผ่ให้แก่โอปปาติกะทั้งหลายด้วย
สุ. เมื่อทำกุศลแล้วก็ควรอุทิศส่วนกุศลที่กระทำแล้วให้ผู้ที่สามารถล่วงรู้ เพื่อเขาจะได้เกิดกุศลจิตอนุโมทนา แต่ไม่ใช่คิดว่าโอปปาติกะนั้นเป็นเจ้ากรรมนายเวร คืออยากให้เข้าใจคำว่า เจ้ากรรมนายเวร ให้ถูกต้อง ทุกคนมีกรรมเป็นของของตนเอง เมื่อได้กระทำกรรมต่อใครไว้ และอยากจะให้หมดกรรมนั้น ก็ควรเกิดกุศลจิตแทนการผูกโกรธ
ท. อยากทราบว่า ตามที่ยกข้อความในธรรมบทขึ้นมานั้น คือ กุลสตรีซึ่งในอดีตชาติเป็นภรรยาหลวงและภรรยาน้อย ภรรยาหลวงได้ทำให้ภรรยาน้อยแท้งลูกถึง 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 ถึงสิ้นชีวิต ภรรยาน้อยจะเป็นเจ้ากรรมนายเวรหรือไม่
สุ. ที่ใช้คำว่า เจ้ากรรมนายเวร หมายความว่าอย่างไร
ท. เมื่อภรรยาน้อยตายไปแล้ว ผูกอาฆาตว่าถ้าเกิดมาในชาติใดๆ จะขอกินลูกภรรยาหลวงทุกชาติ
สุ. แล้วเป็นเจ้ากรรมนายเวรอย่างไร
ท. เพราะยังไม่เข้าใจ จึงเรียนถามอาจารย์ว่าเป็นหรือไม่
สุ. ไม่ใช่เป็นเจ้ากรรมนายเวรแต่เป็นความผูกโกรธ ทุกท่านในขณะนี้อาจจะมีภัย หรืออาจจะมีศัตรูจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดในชาติปัจจุบันนี้ จะกล่าวว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันในอดีต หรือว่าจะเกิดมามีความผูกโกรธกันในปัจจุบันชาติ แต่บุคคลนั้นก็ไม่สามารถจะทำอันตรายบุคคลใดได้ ถ้ากรรมของบุคคลที่ถูกกระทำนั้นไม่ถึงกาลที่จะให้ผล แต่ถ้าเป็นผู้มีกุศลสั่งสมมาดีพร้อมทั้งคติสมบัติ กาลสมบัติ อุปธิสมบัติ
ปโยคสมบัติ แม้ว่าบุคคลอื่นจะโกรธหรือผูกโกรธอย่างไรก็ตาม ย่อมไม่สามารถจะทำอันตรายได้ เพราะแต่ละท่านมีกรรมเป็นของตน เมื่ออกุศลกรรมเป็นเหตุก็ทำให้เกิดกุศลวิบากจิต ฉะนั้นบุคคลอื่นจึงทำร้ายใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น แต่บุคคลที่โกรธท่านก็อาจจะยังโกรธ จากวันเป็นเดือนเป็นปี จากชาตินี้ไปถึงชาติหน้าก็ได้ เป็นเรื่องของบุคคลซึ่งผูกโกรธเอง แต่ไม่ใช่ว่าบุคคลที่ผูกโกรธจะเป็นเจ้ากรรมที่สามารถจะดลบันดาลอะไรให้ เพียงแต่ว่าเมื่ออกุศลกรรมของท่านพร้อมที่จะทำให้เกิดอกุศลวิบากเมื่อใด เมื่อนั้นก็เป็นโอกาสที่อกุศลวิบากจะเกิดขึ้น เป็นผลของอกุศลกรรมของท่านเอง
ท. เรื่องของกรรมที่กล่าวมานั้นถูกต้อง
แต่สำหรับรายนี้เมื่อเขาผูกโกรธแล้ว ผูกอาฆาตแล้ว ไปเกิดในชาติต่อไป และเกิดเป็นแมวในบ้านนั้น หลังจากภรรยาหลวงตายไปเกิดเป็นไก่ในบ้านนั้นก็เหมือนกัน เวลาไก่ออกไข่แมวจะกินทุกที เพราะฉะนั้น จะว่าเป็นกรรมของไก่ หรือเป็นการกระทำของแมว
สุ. ถ้าไม่มีกรรมเป็นของตน บุคคลอื่นจะทำอันตรายได้หรือไม่
ท. ในที่นี้เป็นการกระทำของแมว ไม่ใช่การกระทำของไก่
สุ. ถ้าบุคคลนั้นไม่มีกรรมเป็นของตนเอง แมวนั้นจะทำร้ายได้ไหม
ท. จะเป็นการกระทำกรรมในอดีตชาติที่เป็นภรรยาหลวง แล้วให้ยาเขากินจนแท้งลูก กรรมนั้นหรือไม่
สุ. นอกจากพระผู้มีพระภาคฯแล้ว บุคคลอื่นไม่สามารถจะพยากรณ์เรื่องของกรรมได้เลย ถ้าใครกล้าที่จะพยากรณ์กรรมว่าขณะนี้ท่านผู้นี้กำลังได้รับผลของกรรมนั้นในชาตินั้นๆ ก็ต้องเป็นที่น่าประหลาดมหัศจรรย์ว่าบุคคลนั้นสามารถล่วงรู้ได้อย่างไร ในเมื่อไม่ใช่ทศพลญาณ อย่างพระญาณของพระผู้มีพระภาคฯ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องที่บุคคลอื่นสามารถรู้ได้ แต่ข้อสำคัญนั้นคือ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
นี่คือกรรมของตัวเอง เพราะฉะนั้น เรื่องเจ้ากรรมนายเวรอย่าเข้าใจผิด คิดว่าคนอื่นเป็นเจ้ากรรมนายเวรจริงๆ ซึ่งสามารถจะทำให้ท่านได้รับความทุกข์ต่างๆ แต่เป็นเพราะกรรมของท่านเองที่ได้กระทำไว้แล้วเป็นเหตุให้ได้รับผลของกรรมนั้นๆ
ท. ยิ่งฟังยิ่งงง เกรงว่าจะเป็นเรื่องของถ้อยคำหรือภาษาเท่านั้นหรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ความเข้าใจซึ่งครงกันคือว่า ให้มีอันเป็นไปอย่างนั้นเกิดขึ้น แต่ท่านอาจารย์เรียกว่าเป็นกรรมของเราเอง ไม่ใช่มีเจ้ากรรมนายเวร แต่ที่เชื่อๆกันคือกรรมของเราเองที่ไปฆ่าเขา ชาติต่อไปเขาก็มาฆ่าเรา แต่ทางภาษาเราถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวร คือเราไปกระทำใครเขาไว้ แต่ไม่ใช่หมายความว่า จะเป็นกรรมมาจากคนอื่น เป็นเพราะกรรมของเราเอง รวมทั้งพระโมคคัลลานะ ตอนสุดท้ายก็สิ้นชีวิตเพราะกรรม
สุ. ทุกท่านเป็นผู้ที่มีกรรมเป็นของๆตนเอง ในปัจจุบันชาตินี้จำได้ไหมว่า ได้กระทำกรรมอะไร หรือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรของใครบ้าง
ท. บางทีก็จำได้ ไปทำอะไรให้ใครเจ็บชํ้านํ้าใจ เคยมีและก็ขออโหสิกรรมไปแล้ว
สุ. เมื่อคนนั้นสิ้นชีวิตไป แล้วเกิดเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ยังจะถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรคนเก่าอยู่อีกหรือไม่
ท. เรื่องนี้ไม่รู้
สุ. แต่ละคนไม่ได้มีกรรมกรรมเดียว ได้กระทำกรรมกันมาแล้วมาก เคยฆ่าสัตว์มาแล้ว สัตว์ที่ถูกฆ่านั้นเป็นเจ้ากรรมนายเวรหรือเปล่า และสัตว์จะจำได้ไหมว่าเคยถูกใครฆ่า เช่น ไก่ตัวหนึ่งถูกฆ่าตายแล้วไปเกิดใหม่เป็นมนุษย์ ไก่ตัวนั้นยังจะจำได้ไหมว่าเขาเคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่าน
ท. คงจำไม่ได้แน่นอน
สุ. จำไม่ได้ทั้งนั้น คือคนที่กระทำกรรมก็จำไม่ได้ว่าได้กระทำกรรมต่อบุคคลนี้ เพราะว่าตัวเองก็ไปเกิดใหม่ เพราะฉะนั้น ก็ลืมไปแล้วว่าชาติก่อนได้เคยกระทำกรรมอะไรไว้กับใคร จะเป็นเจ้ากรรมนายเวรของใครก็จำไม่ได้อีก เพราะว่าจำเรื่องของชาติก่อนไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เรื่องเจ้ากรรมนายเวรก็เป็นเรื่องของความคิดเท่านั้น ต่างคนต่างก็เป็นเจ้ากรรมนายเวรของกันและกันทั้งนั้น
โดยลักษณะดังกล่าวข้างต้นในสังสารวัฏ
ท. ใช่ เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะเราไม่สามารถจะมีญาณหยั่งรู้อย่างพระผู้มีพระภาคฯ
สุ. ควรพิจารณาอย่างไรเรื่องเจ้ากรรมนายเวร เช่น ไก่ที่ถูกฆ่าไปตัวหนึ่ง ไก่ตัวนั้นไปเกิดใหม่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเจ้ากรรมนายเวรของใครในชาติก่อน แม้เราเองในชาตินี้ก็ไม่รู้ว่าเราเคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรของใครในชาติก่อน เพราะฉะนั้น ใครที่กำลังอุทิศส่วนกุศลให้เรา ซึ่งอาจจะเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเขาในชาติก่อนเราก็ไม่รู้อีก เพราะว่าในชาตินี้เราจำชาติก่อนไม่ได้เลย ชาตินี้ถ้าใครได้ทำอกุศลกรรมกับเรา ถ้าจะคิดว่าเขาเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรา เราก็จำไม่ได้ว่าเขาเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเราเมื่อไหร่ เขาเองก็จำเรื่องกรรมที่ทำต่อกันไม่ได้ ต่างคนต่างก็จำกรรมที่เคยกระทำในชาติก่อนๆไม่ได้ทั้งนั้น แล้วจะเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันอย่างไร
ท. กระผมจึงว่าน่าจะเป็นเรื่องของภาษาตามความเข้าใจของกระผม กระผมคิดว่าเราจำไม่ได้ว่าไปทำอะไรใครไว้ แต่มีความเชื่อว่าเราคงเคยกระทำอะไรไว้ และเดี๋ยวนี้เรามีจิตที่บริสุทธิ์คิดว่าจะอุทิศส่วนกุศลให้ใครก็แล้วแต่ที่ว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวร
สุ. ท่านที่นั่งอยู่ในห้องนี้ เคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่านผู้ถามหรือไม่
ผู้ฟัง เรื่องนี้ตอบแทนได้เลยว่าไม่มีใครรู้ใครทั้งสิ้น
สุ. แต่ก็อุทิศส่วนกุศลให้ทุกวัน และเขาก็ไม่รู้เลยว่าท่านอุทิศส่วนกุศลให้ เพราะเขาจำชาติก่อนไม่ได้ ขณะที่อยู่ในชาตินี้ พบใครก็ไม่รู้ว่าเคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรต่อกันหรือไม่ เพราะฉะนั้นแทนที่จะนึกว่าเคยเป็นเจ้ากรรมนายเวร แทนที่จะมีเวรโดยการผูกโกรธต่อกันและกัน ก็ควรมีเมตตาต่อกันทันที จึงหมดเวรได้ ไม่ใช่ต้องไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร โดยไม่รู้ว่าผู้ที่กำลังนั่งอยู่ในที่นี้อาจจะเป็นเจ้ากรรมนายเวรก็ได้ ทั้งๆที่อุทิศส่วนกุศลให้ก็ยังไม่รู้ว่าใครอุทิศส่วนกุศลให้บ้าง
ย. ถ้ามีคนเขาอิสสาริษยาเรา เราจะทำอย่างไรจึงจะให้เขาเข้าใจว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นผิด ถ้าเราทำบุญทำกุศลแล้วบอกให้เขาทราบ เพื่อให้เขาอนุโมทนาด้วย แต่เมื่อคิดว่าเขามีจิตริษยาจึงไม่บอกให้เขาทราบ และจะมีวิธีใดที่จะบอกเขาได้
สุ. รู้ได้อย่างไรว่าเขาอิสสาริษยา
ย. จากเหตุการณ์ประมวลมาหลายๆอย่าง ซึ่งคนอื่นคงไม่รู้ แต่เราสามารถรู้ได้
สุ. ใจของคนอื่น ใครจะสามารถแก้ไขได้ ถ้าไม่ใช่ตัวเขาเอง
ย. สมมติว่าเราทำบุญแล้วจะให้เขาอนุโมทนาด้วย เราจะบอกเขาว่าอย่างไรดี
สุ. ข้อสำคัญที่สุดคือ ผู้มีอกุศลจิตเป็นผู้ที่รู้ตัวเองว่ามีอกุศลจิตหรือไม่ ไม่ว่าใครทั้งนั้นที่กำลังมีอกุศลจิต รู้ตัวเองหรือไม่ว่าตนเองกำลังมีอกุศลจิต หรือคิดว่าคนอื่นทั้งนั้นที่อิสสาริษยา นี่เป็นสิ่งต้องพิจารณา แทนที่จะพิจารณาว่าคนอื่นริษยา ควรพิจารณาจิตของตนเองดีกว่า ว่าจิตของเราในขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล
ย. ก็ต้องเป็นอกุศลแน่
สุ. เพราะฉะนั้น แทนที่จะไปมุ่งหวังเกินเลย ไปแก้ไขคนอื่น ก็ขอให้ทุกคนได้พิจารณาจิตของตนเอง ผู้ใดเป็นผู้ฉลาดย่อมแก้ไขจิตของตนเองด้วยการพิจารณาจิตของตนเองว่าขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล เพราะว่าบางคนอาจมุ่งคิดจะแก้ไขบุคคลอื่นที่ริษยา แต่ความจริงนั้นควรพิจารณาจิตของตนเองก่อนว่าขณะที่คิดว่าเขาริษยา จิตของเราเองเป็นอกุศลหรือกุศล
ถ้าจะกล่าวถึงจิตของผู้ที่อุทิศส่วนกุศลก็เป็นกุศลจิต เป็นกุศลกรรมของบุคคลที่อุทิศกุศลนั้น และผู้ที่รู้และอนุโมทนาก็เป็นกุศลจิตเป็นกุศลกรรมของผู้ที่อนุโมทนาเอง
อย่าลืมว่าถ้าจะคิดถึงเจ้ากรรมนายเวรก็คือ คิดถึงบุคคลที่กำลังมองเห็นอยู่นี้เอง โดยไม่ทราบว่าเคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันในชาติไหน ถ้าจะคิดว่าในสังสารวัฏอาจจะเตยเป็นเจ้ากรรมนายเวรในชาติหนึ่งชาติใด ก็มีเมตตาต่อผู้ที่กำลังพบเห็นทันที แทนที่จะรอโอกาสเมื่อไปทำบุญแล้วจึงอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน และมองไม่เห็น

สาธุขอเผยแพร่ธรรมนี้แด่กัลยาณมิตรทุกท่านแล
สาธุข้าพเจ้าขออนุโมทนาครูอาจารย์ผู้แสดงธรรมนี้แล

สาธุ เทพบุตร :b42: :b42:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง


แก้ไขล่าสุดโดย ภัทร์ไพบูลย์ เมื่อ 28 ก.ค. 2009, 20:05, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เจ้ากรรมนายเวรคือใคร

เจ้ากรรม กรรมคือการกระทำ เจ้ากรรมก็คือเจ้าของการกระทำ

นาย คนที่เป็นนาย เวร คือ ผูกพยาบาทอาฆาตพญาเวรกัน หรือคนที่ผูกใจเจ็บต่อกัน

เจ้ากรรม สร้างเหตุอย่างไร ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ย่อมรับผลตามที่ได้กระทำไว้

นายเวร คนที่ผูกโกรธพยาบาทต่อคนที่เคยกระทำต่อตัวเอง

กรรมหรือการกระทำระงับหรือไปแก้ไขในอดีตไม่ได้ แต่ในปัจจุบันสามารถแก้ไขได้

คือให้หมั่นสร้างแต่เหตุดี ผลในอนาคตย่อมดีอย่างแน่นอน

เวร ย่อมระงับได้ด้วยการไม่จองเวรซึ่งกันและกัน ตรงนี้แก้ได้โดยการขออโหสิกรรมต่อกัน

เวรนั้นย่อมจบลงไปทั้งสองฝ่าย ส่วนผลของกรรมหรือการกระทำไม่จบ เพราะใครกระทำไว้อย่างไร

ถึงแม้อีกฝ่ายจะอโหสิกรรมให้แล้วก็ตาม แต่กรรมนั้นยังส่งผลและทำงานอย่างซื่อสัตย์

ฉะนั้นควรหมั่นเจริญสติปัฏฐาน 4 เพราะสร้างสติ สัมปชัญญะให้เข้มแข็ง

จะได้เห็นตามความเป็นจริงได้ ภพชาติจะได้สั้นลง :b16:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุอนุโมทนาด้วยความเคารพธรรมนี้ด้วยจิตที่นอบน้อมท่านผู้เจริญในธรรม

เทพบุตร :b8: :b8:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง


แก้ไขล่าสุดโดย ภัทร์ไพบูลย์ เมื่อ 26 ก.ค. 2009, 20:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นักว่าตั้งชื่อกระทู้แล้วเล่นคำ ว่า "ยานเวร"
กะจะมาฮาเสียหน่อยนึง

ที่ไหนได้ ชื่อกระทู้สะกดผิดจ๊ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่านกัลญาณมิตร ชาติสยามครับ ผิดพลาดในการพิมพ์ไวไปนิดหนึ่งขอบคุณในการชี้แนะ


ท่านกัลญาณมิตรจงเจริญในธรรมเถิด


สาธุ

เทพบุตร :b8:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้ากรรมนายเวรใช่ตัวเราเองป๊ะพี่ครับ

:b13:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมคือการกระทำ หมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาคือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกไปตาย เป็นกรรม ขอท่านพึงเจริญในธรรมเถิด

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 07:20
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ :b8:
:b41: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 07:20
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


อนุโมทนาสาธุค่ะ :b51:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร