วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 18:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองอธิบายหน่อยครับ ทำไมคุณเชื่อว่าเป็นสมถะ
เผื่อจะได้อธิบายกลับไปมา ปรับความเข้าใจกัน

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ คือ ทำให้สงบ นิ่ง จุดเริ่มต้นของสมถะหรือกรรมฐาน คือ การให้จิตแนบนิ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอารมณ์เดียว ในที่สุดก็จะเกิดจิตดวงหนึ่ง มีชื่อว่าฌานจิตเกิด (ฌานจิตมี 27 ดวง) จิตดวงนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเดียว หลังจากนั้นก็จะเป็นภวังค์จิตล้วนๆ ที่เกิดตามมา จนกว่าจะออกจากสมาธิ

แปลได้ว่า สมาธิทำให้จิตดวงอื่นเกิดไม่ได้ ทั้งจิตฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล แต่พออกจากสมาธิ เราก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เหมือนไม่ได้ทำอะไรมา ความสงบความสุขสงัดจากกิเลสกามนั้นจึงเป็นได้แค่ชั่วคราว ไม่ถาวร และที่สำคัญ มันดับปัญญาไปด้วย (จริงๆ มันดับทุกอย่างนั่นแหละ) เป็นลักษณะของการหลบทุกข์ มีสอนในหลายศาสนา และมีมาก่อนพุทธศาสนาด้วย ถ้าตายในสมาธิก็ได้ไปเกิดเป็นพรมหมณ แต่ถ้าเข้าฌานไม่ทัน ก็เหมือนกับว่าเราไม่ได้ทำอะไรมาก่อนเลย ที่สำคัญ เป็นพรมหมณ ก็ยังต้องกลับมาเกิดอยู่ดี

สมถะหรือกรรมฐาน ก็จะต้องเริ่มจากไปจับ ไปแพ่ง ไปมองอะไรสักอย่าง จนจำได้ การจับลมหายใจก็เป็นสมถะ ไม่ว่าจะเริ่มจากวิธีใหนในกรรมฐาน 40 กอง สุดท้ายก็จะต้องมานั่งเพ่ง เพราะฌานจิตจะเกิดขึ้นได้ในมโนวิญญาณเท่านั้น กระบวนการก่อนหน้านี้ ไม่ถือว่าได้สมาธิ เพราะฌานจิตยังไม่เกิด แต่เป็นการพยายามจะทำให้ฌานเกิด

ถ้าเคยได้ถึงฌานมาก่อน ก็จะรู้ดีว่า หลับเหมือนไม่หลับยังไงไม่รู้

ไม่รู้ว่าปัญญาผมน้อยไปหรือเปล่า แต่ผมหารอยต่อระหว่างสมาธิกับการเกิดปัญญารู้แจ้งไม่ได้ (ปัญญาเจตสิกหรืออโมหะเจตสิก มีดวงเดียวซึ่งจะเกิดประกอบกับโสภณะจิตเท่านั้น)

ส่วนอธิปัญญาหรือปัญญายิ่งที่เกิดโดยสมาธิ กับปัญญารู้แจ้งเพื่อดับทุกข์ (โมหะหรืออวิชชา) นั้น ดูแล้วไม่ใช่อันเดียวกัน

ที่ว่ากันว่าเอาสมาธิเป็นบาทในการวิปัสสนานั้น ผมอ่านไม่เจอในพระไตรปิฎก เลยไม่รู้ว่าคำสอนแนวนี้มันเริ่มมาจากตรงใหน เจอแต่ว่าเอาสมาธิมาเป็นเครื่องอยู่สุข ซึ่งก็หมายถึงเฉพาะผู้ที่ได้มรรคผลแล้วเท่านั้น

ส่วนยุบหนอพองหนอนี่ ผมอ่านแล้วเห็นว่ามันเป็นวิธีการสำหรับฌานลาภีบุคคล คือพวกพราหมณหรือฤาษีที่อยู่กับสมาธิมานาน เพราะพวกนี้มองเห็นกาย เวทนา สังขาร วิญญาณ ได้ด้วยฌาน หรือพระอริยะ มองเห็นกาย เวทนา สังขาร วิญญาณ ได้ด้วยฌานทัสนะ พระพุทธองค์เลยให้พิจรณาการเกิดดับขององค์ฌานแต่ละขั้นเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ (องค์ฌานทั้งหมดเป็นเจตสิก) ตอนพิจรณาก็ต้องออกจากฌานก่อนด้วย (เพราะปัญญาเจตสิกเกิดประกอบกับฌานจิตไม่ได้) ผมว่าคนทั่วๆ ไปไม่มีสมาธิแบบนี้ไปทำก็เสียเวลาเปล่านะครับ สมาธิจริงๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ และไม่รู้ว่าอ่านเจอเหมือนผมเจอหรือเปล่า ว่า พวกฌานลาภีบุคคลที่ได้อริยมรรคนั้นมีเกิดเฉพาะสมัยพระพุทธกาลเท่านั้น เพราะพระพุทธองค์ต้องคอยดึงออกมาจากฌาน พระสารีบุตรนี่พระพุทธองค์ดึงออกมาตั้งสี่ครั้ง

กายธาตุนั้นยังต้องแบ่งออกเป็นอย่างหยาบอย่างละเอียดอีก คนทั่วไปยังมองไม่เห็นหรอก ส่วนเวทนาก็ไม่เห็น เพียงแต่จับอาการณ์หรืองานของมันได้เท่านั้น (เห็นเวทนาก็คือการเห็นการเกิดดับของเจตสิก) เหมือนเราไม่เห็นพลังงานแต่รู้ว่ามันมีเพราะเราจับอุณหภูมิได้ หรือ เห็นมีวัตถุเคลื่อนใหวเป็นต้น ถ้าจะเริ่มจากแนวนี้ ผมว่ามันไม่น่าจะใช่การเริ่มต้น หรือไม่ใช่การนับหนึ่ง แต่จะเป็นนับสองนับสามไป

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ถามเหมือนคนกำลังเจอของแปลก ๆ เลยค่ะ

ครับ แปลกที่สุดในชีวิตเลย ถ้าไม่ได้ทดลองด้วยตนเองแล้วเจออย่างผมก็คิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาละครับ มีเรื่องแปลกมากกว่าที่คุณคิดอีก เชื่อผมเถอะ


:b14: คุณ Supareak Mulpong ทดลองอะไรแล้วเจอะเจออะไรมาหรอขอรับ ที่ว่าไม่ธรรมดา แล้วก็แปลกมากมาย เล่าสู่กันฟังบ้างสิขอรับ เรื่องแปลกๆนี่คนสนใจเยอะ :b1:

หรือ ว่า คุณสัมผัสโลกทิพย์ได้ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สมถะ คือ ทำให้สงบ นิ่ง จุดเริ่มต้นของสมถะหรือกรรมฐาน คือ การให้จิตแนบนิ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอารมณ์เดียว ในที่สุดก็จะเกิดจิตดวงหนึ่ง มีชื่อว่าฌานจิตเกิด (ฌานจิตมี 27 ดวง) จิตดวงนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเดียว หลังจากนั้นก็จะเป็นภวังค์จิตล้วนๆ ที่เกิดตามมา จนกว่าจะออกจากสมาธิ


คนหลับก็อยู่ในขณะที่ภวังคจิตเกิดขึ้นนะครับ เดรัจฉานหรับก็มีภวังคะจิต ต้องระวังมุมนี้ มนุษย์ที่อยู่ใน
ครรภ์มารดายังไม่คลอด ก็อยู่ด้วยอำนาจภวังคจิต


Supareak Mulpong เขียน:
แปลได้ว่า สมาธิทำให้จิตดวงอื่นเกิดไม่ได้ ทั้งจิตฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล แต่พออกจากสมาธิ เราก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เหมือนไม่ได้ทำอะไรมา ความสงบความสุขสงัดจากกิเลสกามนั้นจึงเป็นได้แค่ชั่วคราว ไม่ถาวร และที่สำคัญ มันดับปัญญาไปด้วย (จริงๆ มันดับทุกอย่างนั่นแหละ) เป็นลักษณะของการหลบทุกข์ มีสอนในหลายศาสนา และมีมาก่อนพุทธศาสนาด้วย ถ้าตายในสมาธิก็ได้ไปเกิดเป็นพรมหมณ แต่ถ้าเข้าฌานไม่ทัน ก็เหมือนกับว่าเราไม่ได้ทำอะไรมาก่อนเลย ที่สำคัญ เป็นพรมหมณ ก็ยังต้องกลับมาเกิดอยู่ดี
ฯลฯ
ถ้าเคยได้ถึงฌานมาก่อน ก็จะรู้ดีว่า หลับเหมือนไม่หลับยังไงไม่รู้


ไม่ไช่ดับทุกอย่างนะครับ หลายอย่างมีในนั้น แต่ขยับไม่ได้ กายหรือจิต ไหวไม่ได้ ไหวเมื่อไร สภาวะ
ของจิตที่ทรงอยู่ในฌานถอยทันที ตัวอย่างที่ชัดมาก ปฐมฌาน แค่เสียงเด็กร้องยังถอยรูดไม่เป็นท่าเลย
อาการหลับไม่เหมือนหลับ เป็นอาการของถีนมิทธะอย่างหนึ่ง ถีนมิทธะ มีที่เกิดย่อๆดังนี้

๑.ง่วงแบบปุถุชนทั่วไป ๒.กายสังขารต้องการพักผ่อน ๓.การปฏิบัติขาดวิริยะเจตสิกในการส่องสภาวะธรรม
๔.อาการสมาธิแนบแน่นเกินไป(อาการนี้เรียกในการปฏิบัติว่าตกภวังค์) สมาธิเกินวิริยะ ๕.อาการที่
ไตรลักษณ์เริ่มจะปรากฏ (อาการนี้ต่างจากข้ออื่นตรงที่ จะมีสติอยู่ รู้ทันสภาวะอยู่ ) ๖.อำนาจของปีติในองค์ฌาน

ไม่ได้ดับหมดนะครับ มีอย่างอื่นอยู่ด้วย ลองดูดีๆ

Supareak Mulpong เขียน:
ไม่รู้ว่าปัญญาผมน้อยไปหรือเปล่า แต่ผมหารอยต่อระหว่างสมาธิกับการเกิดปัญญารู้แจ้งไม่ได้ (ปัญญาเจตสิกหรืออโมหะเจตสิก)


อย่าติดโวหารในคัมภีร์มากซิครับ ต้องแปลภาษาคัมภีร์เป็นการปฏิบัติ มีวิธีเดียว ต้องปฏิบัติ สังเกตซิ
พระพุทธเจ้าท่านส่งเสริมให้เดินจงกรม แต่หาตรงไหนเจอว่าท่านให้เดินอย่างไร กำหนดอย่างไร ที่ทำกัน
ทำตามท่านอรรถกถาจารย์สอนทั้งนั้น คัมภีร์ชั้นสูง บอกไล่ตามลำดับสภาวะ คัมภีร์ชั้นรองลงมา บอกวิธีไว้

ที่หารอยต่อไม่พบ ก็เนื่องมาจากคัมภีร์บอกว่า เมื่อสมาธิเกิด ปัญญาก็เกิด ลองดูนัยยะนี้ครับ

สมาธิทำให้นิวรณ์ทั้ง ๕ สงบลง เมื่อจิตไม่สัดส่ายแล้ว การจะมองอะไร เช่นสภาวะธรรมก็ชัดตาม อุปมา
เหมือนกระจกที่ใส ส่องอะไรก็ชัดเจน รู้หรือยังว่าสมาธิมีไว้ทำไม เมื่อสมาธิมั่นคงแล้ว นิวรณ์ระงับ
เมื่อจะพิจารณาสภาวะ ก็ง่าย จะทันปัจจุบัน เพราะเวลาเพ่งลงไปที่ปัจจุบันของสภาวะหรือลักษณะของการเดิน
การคิด ก็จะจับปัจจุบันได้ดี เมื่อจับปัจจุบันได้ดี ตอนนี้เองจะเริ่มเห็นไตรลักษณ์ จิตที่คิดหรือรับรู้อารมณ์นั้น
เกิดดับเร็วมาก ถ้าสมาธิไม่อำนวย จะจับไม่ทันเลย มองไม่เห็นการสืบๆไปของจิตที่กำลังรับรู้อารมณ์อยู่นั้น
เมื่อไม่เห็นจิตที่รับรู้อารมณ์สืบๆกันอยู่นั้น ก็ไม่เห็นขณติยะของปัจจุบัน(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ถึงตรงนี้
แล้วเห็นได้ ปัจจักข์ข้อนี้เกิด เรียกว่า ตรุณะปัญญาแล้ว คือมีปัญญาระดับหนึ่ง ยังอ่อนอยู่ แต่เริ่มดี เริ่มรู้จัก
ทุกข์อริยสัจแล้ว(การตั้งอยู่ไม่ได้ของทุกสภาวะ) ถ้าถึงขั้นนี้แล้ว อนิจจะ อนัตตะ จะอนุโลมมาทันที

แท้จริงแล้วมีองค์ธรรมเกิดขึ้นตอนนั้นมากมาย หาไช่แต่สมาธิ ลำพังสมาธิช่วยได้ ๑ หน้าที่เท่านั้น ที่มีคือ
สติ สัมปชัญญะ อาตาปี ธัมมวิจัย อินทรีย์ ๕ ฯลฯ ถ้าหาที่สมาธิอย่างเดียว หาอย่างไรก็ไม่เจอรอยต่อ


Supareak Mulpong เขียน:
ส่วนอธิปัญญาหรือปัญญายิ่งที่เกิดโดยสมาธิ กับปัญญารู้แจ้งเพื่อดับทุกนั้น ดูแล้วไม่ใช่อันเดียวกัน


อันเดียวกันครับ แต่ทำงานต่างวาระ วาระแรกจะกล่อมเกลาจิตให้รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะก่อน เมื่อทุกอย่าง
พร้อมแล้ว วาระที่สองจะทำงานผลักดันกระบวนการดับทุกข์ทันที(มรรคญาณ) เพื่อให้แน่ใจ จะเกิดซ้ำโดย
หารรอยต่อแทบไม่ได้อีกครั้ง (ผลญาณ) อุปมาเหมือน การดับกองไฟ วาระแรกสอดส่องวางแผนดับไฟตรงไหน
ก่อน มุนไหนดี อันนี้คือกล่อมเกลาจิต เมื่อถึงเวลาก็เอาน้ำราดลงไป ไฟดับลง(มรรคญาณ) เพื่อให้แน่ใจ เพราะ
ไฟที่ดับยังมีควันอยู่ ราดลงไปอีก (ผลญาณ) จากนั้นปัญญามาอีกวาระ พิจารณาว่า ดับสนิดหรือยัง

Supareak Mulpong เขียน:
ที่ว่ากันว่าเอาสมาธิเป็นบาทในการวิปัสสนานั้น ผมอ่านไม่เจอในพระไตรปิฎก เลยไม่รู้ว่าคำสอนแนวนี้มันเริ่มมาจากตรงใหน


ในพระไตรปิฎก บอกลำดับคุณธรรม เรียงไปตามลำดับเทศนา ไม่บอกวิธีทำเลย เช่น ยังสมาธิให้เกิด หรือ เข้า
จตุตถะฌานแล้ว ท่านไม่บอกวิธีลงไปมาก เพราะถ้าบอกลงไป ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ไม่พอแน่ และวิธีทำนั้น
เป็นของปรากฏในสัมยนั้นมาก เมื่อนานเข้า การปฏิบัติไม่บรรทึกไว้ก็ไม่รู้วิธีกัน อรรถกถาจารย์ก็มาเขียนไว้
วิธีปฏิบัติจึงพบมากที่คัมภีร์ชั้นอรรถกถาครับ

Supareak Mulpong เขียน:
ส่วนยุบหนอพองหนอนี่ ผมอ่านแล้วเห็นว่ามันเป็นวิธีการสำหรับฌานลาภีบุคคล คือพวกพราหมณหรือฤาษีที่อยู่กับสมาธิมานาน เพราะพวกนี้มองเห็นกาย เวทนา สังขาร วิญญาณ ได้ด้วยฌาน หรือพระอริยะ มองเห็นกาย เวทนา สังขาร วิญญาณ ได้ด้วยฌานทัสนะ พระพุทธองค์เลยให้พิจรณาการเกิดดับขององค์ฌานแต่ละขั้นเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ (องค์ฌานทั้งหมดเป็นเจตสิก) ตอนพิจรณาก็ต้องออกจากฌานก่อนด้วย ผมว่าคนทั่วๆ ไปไม่มีสมาธิแบบนี้ไปทำก็เสียเวลาเปล่านะครับ สมาธิจริงๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ และไม่รู้ว่าอ่านเจอเหมือนผมเจอหรือเปล่า ว่า พวกฌานลาภีบุคคลที่ได้อริยมรรคนั้นมีเกิดเฉพาะสมัยพระพุทธกาลเท่านั้น เพราะพระพุทธองค์ต้องคอยดึงออกมาจากฌาน พระสารีบุตรนี่พระพุทธองค์ดึงออกมาตั้งสี่ครั้ง


เมื่อท้องพอง กำหนดว่า พองหนอ
เมื่อท้องยุบ กำหนดว่า ยุบหนอ

ไม่ใช่ให้จินตนาการว่าท้องกำลังพอง ยุบ รู้อาการพองยุบเท่านั้น อาการที่ท้องตึงขึ้น หรือรู้อาการ
การรู้อาการหรือลักษณะโดยไม่จินตาการ เทียบเคียง ไม่ให้เป็นสัณฐานบัญญัติ จัดเป็นการเริ่มเข้าไป
รู้ปรมัตถ์ ถ้าถามว่าอย่างไรรู้อาการ ลองตอบซิว่าตอนนี้คุณยืนอยู่หรือนั่งอยู่ คุณสามารถตอบได้โดยไม่ต้องคิดเลย
นั่นแสดงว่าคุณรุ้อาการแล้ว แต่กระบวนการมีบางสิ่งปิดไว้ การกำหนดทีละอย่าง เช่นพองหนอ ยุบหนอ ก็เพื่อ
เพิกตัวที่บังกระบวนการให้ออกมาปรากฏ
สมาธิในระหว่างที่พองหนอ ยุบหนอ เกิดขึ้นตามสภาวะที่กำหนดรู้แต่ละครั้ง และไม่ไช่เกิดติดกันแบบลอก
กันมา สภาวะนี้ ไม่ไช่สภาวะหนาแน่นของอัปปันนา ไม่จัดเป็นฌานที่ฤาษีหรือพวกทำฌานทำกัน ตัวอย่างคือ
กำลังรู้สภาวะตึงหย่อนของหน้าท้องอยู่ เกิดมีสภาวะคันขึ้นมา สติจับคันที่ชัด กำหนด คันหนอ รู้สภาวะคันทันที
สติไปพร้อมสมาธิ สภาวะตรงนี้ชัด สมาธิที่มารู้สภาวะไม่กี่ขณะ เมื่อคันหายไป ตรงนี้เป็นสมาธิชั่วขณะ ไม่ไช่
สมาธิในฌาน เมื่อไม่พอใจในอาการคัน กำหนดความไม่พอใจ ว่า ไม่ชอบหนอๆ ตรงนี้สติสมาธิ แล่นไปรับ
รู้แล้ว สติรู้ความไม่ชอบ สมาธิทำให้ชัดและวางเป็นกลาง รับรู้กำหนดเป็นขณะ เป็นขณิกะ ไม่ใช่อัปปันาฌาน
เมื่อรู้ชัดลงไปเช่นนี้เรื่อยๆ และกำหนดได้ทันปัจจุบันของสภาวะ ตอนนี้เองจะเพิกสภาวะที่ปกปิดความจริงอยู่
การบริกรรม ยุบหนอ พองหนอ คันหนอ ร้อนหนอ ฯลฯ ไม่ไช่การบริกรรมแบบสมถะ สมถะเป็นการบริกรรม
มุ่งสมาธิ มีอารมณ์เดียว แต่ยุบหนอ พองหนอ เป็นการย้ำความชัดเจนในสภาวะเพื่อช่วยผู้ที่ใหม่อยู่ในวิธีนี้ และ
ย้ำความชัดเจนไปตามสภาวะที่ปรากฎ ต่างจากบริกรรมสมถะ มุ่งเน้นย้ำอยู่ที่บริกรรมนั้น แม้จะหลุดออกไป
ก็จะดึงกลับมาอยู่ในบริกรรมนั้นอีก เรียกว่าอะไรปรากฏก็ไม่เอา เอาแต่องค์บริกรรมนั้นอย่างเดียว กล่าวกันว่า
แบบฌานจิตไม่เห็นความจริงเพราะตรงนี้ บริกรรมจนนิ่ง เป็นนิจจะลักษณะ รักษาอารมณ์สมาธินั้นเช่นรักษา
กสินนิมิต ไม่ให้หายไป เป็นการบังทุกขะลักษณะ เพราะทุกข์แปลว่าทนไม่ได้ไม่ตั้งอยู่ แต่บังคับกสินเป็นต้น
ไม่ให้เสื่อมไป การบังคับจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว บังคับ คือฝืนหลักอนัตตา จึงบังความจริงอันนี้ไว้ ต่างจากการ
รู้ตามสภาวะโดยวิธีกำหนด เมื่อวิปัสนาญาณอย่างกล้าเริ่มปรากฏ การบริกรรมพองยุบ ก็จะหายไป เพราะเห็น
สภาวะที่เร็วมากกำหนดไม่ได้ ไม่ทัน ได้แต่เห็น และ รู้ สติตามทัน ก็เห็นขณติยะ ชัดลงไป ตอนนี้เอง บัญญัติ
ก็จะหายไป เพราะรับรู้สภาวะปรมัตถ์โดยปรมัตถ์ บัญญัติจึงเรียกไม่ได้ เพราะไม่มีอะไรบัญญัติได้ คำว่าลักษณะนี้
หมายถึงลักษณะของ รูป นาม กำหนดตามลักษณะของสองอย่างนี้

นี่ว่าโดยย่อเท่านั้น รายละเอียดมากกว่านี้ต้องปฏิบัติดีกว่า แค่ยุบหนอ พองหนอ ฯลฯ อธิบายกันหูดับเลยครับ
กว่าจะเข้าใจกันได้ ข้อสำคัญต้องใจกว้างที่จะรับฟังเหตุผล

Supareak Mulpong เขียน:
กายธาตุนั้นยังต้องแบ่งออกเป็นอย่างหยาบอย่างละเอียดอีก คนทั่วไปยังมองไม่เห็นหรอก ส่วนเวทนาก็ไม่เห็น เพียงแต่จับอาการณ์หรืองานของมันได้เท่านั้น (เห็นเวทนาก็คือการเห็นการเกิดดับของเจตสิก) เหมือนเราไม่เห็นพลังงานแต่รู้ว่ามันมีเพราะเราจับอุณหภูมิได้ หรือ เห็นมีวัตถุเคลื่อนใหวเป็นต้น ถ้าจะเริ่มจากแนวนี้ ผมว่ามันไม่น่าจะใช่การเริ่มต้น หรือไม่ใช่การนับหนึ่ง แต่จะเป็นนับสองนับสามไป


ข้อนี้อยากให้ปฏิบัติดูครับ จะรู้ว่าลักษณะที่วิปัสสนาในสติปัฏฐานดูอย่างไร ข้อนี้คล้ายแล้ว
แต่ยังไม่ตรงนัก กาย เวทนา จิต ธรรม เราดูเพื่อให้เห็นข้ออื่น เราดูเพื่อให้เห็นความจริง เมื่อเห็นความจริง
ก็เกิดปัญญา เพราะรู้ เห็น เข้าใจกระบวนการของมัน ปัญญาเกิดตรงนี้ รอยต่ออยู่ตรงนี้ อย่ามัวคลำหาที่ตำรา
มากเลยครับ จะไม่ทันการณ์ มีแผนที่ไป กทม แล้ว นั่งดูแต่แผนที่อยู่ ไม่มีวันถึง ต้องกางแผนที่แล้วไปตาม
ที่แผนที่ระบุไว้ แล้วจะรู้เองว่า ทางตรง ทางอ้อม แผนที่โกหกหรือเปล่า ในแผนที่มีป้ายสัญญลักษณ์บอก ก็จะรู้
ได้ว่าจริงหรือไม่ ต้องไปครับ ต้องปฏิบัติครับ

ไปธุระ กลับเย็นๆ ถ้ามีโพสอะไร พรุ้งนี้คงได้คุยกันครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณครับที่อธิบายมาตั้งยืดยาว ปัจจุบันผมปฏิบัติตามที่อ่านพบในพระไตรปิฎก คือ แยกการศึกษาพระธรรมออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกสำหรับฆราวาส พระพุทธองค์บอกแนวไตรสิกขาสำหรับฆราวาสว่า "ทาน ศีล ภวานา" จนกระทั่งภวานาถึงได้วิปัสสนาญานแล้ว จึงมาบวชเรียน ไตรสิกขาสำหรับพระอริยะจึงจะเป็น "ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา" ตอนนี้ผมเน้นวิปัสสนาภวานาอย่างเดียว เพราะยังไม่พร้อมจะบวชเรียน

ยังไงก็กรุณาทบทวนดูเรื่องอธิปัญญากับวิปัสสนาปัญาอีกทีนะครับ และก็ที่เอาการปฏิบัติของพระอริยะมาให้คนธรรมปฏิบัตินั้นมีเยอะมาก เหมือนเอาควอนตั้มฟิสิกส์มาสอนเด็กประถม

ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นในพุทธศาสนานั้นมีมาแต่สมัยพุทธกาล แต่ตอนนั้นมีพระพุทธองค์คอยตัดสินชี้ขาด ปัจจุบันเราขาดพระอริยะสาวกที่จะทำหน้าที่นี้ จึงเห็นเป็นการแตกกระสานซ่านเซ็นดังปัจจุบัน หาที่สรุปกันไม่ได้ ทำให้พวกผมหันหาหลักฐานชิ้นเอก คือ เอาแต่พระไตรปิฎกอย่างเดียว

อ้อ แล้วโลกทิพย์ไม่มีหรอกครับ มันก็โลกเดียวกับเราอยู่จักรวาลเดียวกับเรานี่แหละ แต่เรามองไม่เห็นเอง ถ้าเกิดมีดวงตาเห็นธรรม ก็เห็นเองละครับไอ้ที่เรียกว่าโลกทิพย์นะ ส่วนเรื่องบางเรื่องเอามาเล่ากันมันไม่ได้

ก่อนจะจบกระทู้ ขอถามทิ้งท้ายหน่อย คุณเคยสัมผัสน้ำใหมครับ น้ำที่ปรากฎอยู่ที่อยู่ในธาตุสี่นะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 19 ก.ค. 2009, 22:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ก่อนจะจบกระทู้ ขอถามทิ้งท้ายหน่อย คุณเคยสัมผัสน้ำใหมครับ น้ำที่ปรากฎอยู่ที่อยู่ในธาตุสี่นะ


ตอบว่า ไม่เคยขอรับ เป็นยังไงหรอสัมผัสน้ำในธาตุ ๔
เคยแต่สัมผัสน้ำท่า ที่เขาใช้อาบใช้ดื่มกัน เหมือนๆสัมผัสน้ำในธาตุ ๔ ไหมขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่าว จบซะแล้ว มาปิดกระทู้ซะแล้ว
เฮ่อ...สุดแท้แต่เวรกรรมของสัตว์โลก

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ขอบพระคุณครับที่อธิบายมาตั้งยืดยาว ปัจจุบันผมปฏิบัติตามที่อ่านพบในพระไตรปิฎก คือ แยกการศึกษาพระธรรมออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกสำหรับฆราวาส พระพุทธองค์บอกแนวไตรสิกขาสำหรับฆราวาสว่า "ทาน ศีล ภวานา" จนกระทั่งภวานาถึงได้วิปัสสนาฌานแล้ว จึงมาบวชเรียน ไตรสิกขาสำหรับพระอริยะจึงจะเป็น "ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา" ตอนนี้ผมเน้นวิปัสสนาภวานาอย่างเดียว เพราะยังไม่พร้อมจะบวชเรียน


ไม่มีบอกในพระไตรปิฎกไหนเลยว่าต้องศึกษาส่วนฆราวาสมาก่อนถึงได้ภาวนาแล้วจึงมาบวชเรียน
ท่านยสะเถระก็เดินบ่นในสมัยเป็นฆารวาส พบพระพุทธเจ้า ฟังเทศน์เสร็จก็บวชเลย
หลายท่านเลยที่มีแบบนี้ ปรากฎหลักฐานชัดเจน บริษัท ๔ ทุกคนสามารถทำไตรสิกขาได้ ไม่จำเป็นต้องบวช
มรรคผลได้แม้ในฆารวาส พระอริยะไม่ใช่มีแต่พระภิกษุเท่านั้น สติปัฏฐานไม่มีบอกว่าฆราวาสทำให้บริบูรณ์ไม่
ได้

Supareak Mulpong เขียน:
ยังไงก็กรุณาทบทวนดูเรื่องอธิปัญญากับวิปัสสนาปัญาอีกทีนะครับ และก็ที่เอาการปฏิบัติของพระอริยะมาให้คนธรรมปฏิบัตินั้นมีเยอะมาก เหมือนเอาควอนตั้มฟิสิกส์มาสอนเด็กประถม


ตรงนี้ก็ต้องแนะนำคุณไปทบทวนเช่นกันครับ การเจริฐสติปัฏฐาน หรือกรรมฐานทุกอย่าง ไม่จำกัดว่าของใคร
จะพระอริยะหรือคนธรรมดา ถ้าจะประสงค์ทางหลุดพ้น จะกี่วิธีก็ตาม จะสรุปลงที่สติปัฏฐาน จะเรียกอย่างไร
ก็จะไม่แปลกกันที่วิธีเลย เรื่องแปลกกัน เป็นเรื่องของภาษาเท่านั้น และไม่จำเป็นว่าจะต้องไปเริ่มที่รู้จักไตรลักษณ์
หรอกครับ จับปฏิบัติเลยก็ได้ เดี๋ยวปัญญาเกิดจะเข้าใจเอง ถึงจะเรียกไม่ถูก แต่ก็จะเข้าใจ เพราะเรียกไม่ถูก
ไม่ไช่ว่าจะไม่รู้จัก แค่ไม่รู้ภาษาที่ใช้

Supareak Mulpong เขียน:
ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นในพุทธศาสนานั้นมีมาแต่สมัยพุทธกาล แต่ตอนนั้นมีพระพุทธองค์คอยตัดสินชี้ขาด ปัจจุบันเราขาดพระอริยะสาวกที่จะทำหน้าที่นี้ จึงเห็นเป็นการแตกกระสานซ่านเซ็นดังปัจจุบัน หาที่สรุปกันไม่ได้ ทำให้พวกผมหันหาหลักฐานชิ้นเอก คือ เอาแต่พระไตรปิฎกอย่างเดียว


ถ้าคิดว่ามีเฉพาะพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานชิ้นเอก คุณคิดผิดอย่างใหญ่หลวง ถ้าคิดถูก ต้องยอมรับอรรถกถา
ต่างๆด้วย เพราะการจดจารไม่ไช่มีในสมัยพระพุทธเจ้า อรรถกถาจารย์ทั้งนั้นเป็นคนบันทึกพระไตรปิฎก จากนั้น
ท่านจะอธิบาย ท่านก็ไม่ไปมั่วในพระไตรปิฎก ท่านแยกมาเป็นคัมภีร์อื่นไป ถ้าคิดว่าชิ้นเอกคือพระไตรปิฎกอย่าง
เดียว จบเห่แน่ ปฏิเสธอรรถกถา ก็คือปฏิเสธพระไตรปิฎกดีๆนี่เอง

Supareak Mulpong เขียน:
ก่อนจะจบกระทู้ ขอถามทิ้งท้ายหน่อย คุณเคยสัมผัสน้ำใหมครับ น้ำที่ปรากฎอยู่ที่อยู่ในธาตุสี่นะ


ข้อนี้ตอบอย่างไรก็ตอบไม่ถูก ถ้าไม่ตรงกับธงคำตอบที่อยู่ในใจคุณ เหมือนกับว่า ถ้าผมจะย้อนถามบ้างว่า
ไตรลักษณ์ที่คุณไปตอบกระทู้ไว้ ให้ศึกษาเรื่องไตรลักษณ์ก่อน คุณรู้หรือยังว่า ไตรลักษณ์จะประจักษ์แจ้งด้วย
อาการอย่างไร วิปัสสนานะครับ ไม่ไช่อ่านแล้วมาวิปัสสนึก เพราะเชื่อว่า ขาดการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะไม่รู้เลยว่า
เวลาไตรลักษณ์ปรากฎ ลักษณะจะต่างกันแต่ละลักษณะ(ใน ๓ อย่าง)

เสียดายที่ปิดกระทู้ มีหลายประเด็นเลยอยากจะคุย ปิดก็ปิดครับ ถ้าไม่ปิดก็มาต่อก็ได้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b15: :b14: :b16: :b13: :b11:



ศัพท์ใหม่หรือคะ วิปัสสนาฌาน ...

เคยได้ยินแต่วิปัสสนา กับ วิปัสนาญาณ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ประทานโทษ พิมพ์ผิด แก้แล้วนะ วิปัสสนาฌาน นะ

ที่ปิดกระทู้ก็เพราะเห็นว่ามันออกนอกประเด็นไปไกลแล้ว

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร