วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 19.87 KiB | เปิดดู 7296 ครั้ง ]
การบูรณะเจดีย์ภูเขาทอง
พระนครศรีอยุธยา
ที่มา : http://www.thaiengineering.com


"เจดีย์ภูเขาทองเป็นโบราณสถานเก่าแก่ตั้งอยู่ กลางทุ่งภูเขาทอง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่นอก เกาะเมืองไปทาง ทิศตะวันตก
เฉียงเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร"
เจดีย์ภูเขาทอง เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่
4 ชั้น กว้าง 80 เมตร สูงจากพื้นถึงยอด 64 เมตร สร้างในสมัยอยุธยา
ตอนกลาง และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพวาดลายเส้นประกอบหนังสือ "A DESCRIPTION OF THE KINGDOM OF SIAM 1690"โดย นายแพทย์ ENGELBERT KAEMPFER ซึ่งเดินทางมากรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระเพทราชา

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2.jpg
2.jpg [ 25.95 KiB | เปิดดู 7293 ครั้ง ]
ประวัติ

ตามหลักฐานพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า สมเด็จพระราเมศวร โอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนาวัดภูเขาทองขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1930
สำหรับองค์ภูเขาทองนั้น ตามหนังสือคำให้การของกรุงเก่ากล่าวว่า พระเจ้าหงสาวดี (บุเรงนอง) เป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2112 อันเป็นปี ที่ไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่ข้าศึก

หมอแกมป์เฟอร์ แพทย์ชาวเยอรมัน เดินทางเข้ามา กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2233 เขียนจดหมายเหตุพร้อมวาดภาพเจดีย์ภูเขาทอง และอธิบายว่า เจดีย์องค์นี้ พระมหากษัตริย์ไทยทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกที่ได้ชัยชนะแก่กษัตริย์มอญอย่างใหญ่หลวง และหมอแกรมป์เฟอร์ยังได้พรรณนา ลักษณะของพระเจดีย์องค์นี้ว่า เป็นสิ่งก่อสร้างที่สง่างาม กาลต่อมาได้มีการกล่าวถึงเจดีย์ภูเขาทอง ในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พอสรุปได้ความว่า

เมื่อ พ.ศ. 2287 สมเด็จพระเจ้าบรมโกศโปรดให้ปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์และพระอารามวัดภูเขาทอง ความในพงศาวดารในฉบับนั้นเขียนไว้ว่า "ในปีนั้น (พ.ศ. 2287) ทรงพระกรุณาโปรดให้ปฏิสังขรณ์ พระมหาเจดีย์และพระอารามภูเขาทอง 6 เดือนจึงสำเร็จ" ต่อจากนั้นยังไม่พบหลักฐานว่ามีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่ครองกรุงศรีอยุธยาโปรดให้บูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดหรือพระเจดีย์นี้อีกเลย จนเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปีขาล เดือน 11 แรม 8 ค่ำ พ.ศ. 2373
สุนทรภู่ได้มานมัสการ พร้อมทั้งแต่งนิราศภูเขาทอง พรรณนา สภาพของเจดีย์

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3.jpg
3.jpg [ 21.35 KiB | เปิดดู 7281 ครั้ง ]
เจดีย์ภูเขาทองได้รับการบูรณะครั้งล่าสุดในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ปลายปี พ.ศ.2499 ทางราชการได้บูรณะองค์พระเจดีย์ โดยสกัดปูนฉาบเดิมออกแล้วฉาบปูนใหม่ทั้งองค์ ต่อเติมปล้องไฉน ปลี และลูกแก้ว โดยเฉพาะลูกแก้วทำด้วยทองคำหนัก 2,500 กรัม ซึ่งอาจจะเป็นความหมายว่า ได้บูรณะขึ้นในคราวฉลองพุทธศตวรรษที่ 25 และเสริมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเสาและคานภายในอุโมงค์ เพื่อรับน้ำหนักขององค์เจดีย์

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




4.jpg
4.jpg [ 37.4 KiB | เปิดดู 7274 ครั้ง ]
จากการสำรวจด้านวิศวกรรมโครงสร้างขององค์เจดีย์ พบว่าการเอียงของเจดีย์เกิดจากการทรุดตัวของอิฐที่ฐานเจดีย์ เป็นโพรง และช่องว่างอยู่ภายใน
การบูรณะเป็นการเสริมความมั่นคงแข็งแรงตามหลักวิศวกรรม โดยการเจาะและอัดฉีดน้ำปูนที่ฐานเจดีย์ ใส่คานเหล็กเข้า ไปอุ้มใต้องค์เจดีย์ ผสมผสานกับภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ โดยนำสูตรปูนตำโบราณมาฉาบผิวเจดีย์ ซึ่งจะช่วยระบาย ความชื้นและชะลอการเสื่อมสภาพของอิฐภายในองค์เจดีย์

การสำรวจทางวิศวกรรม

การเจาะหลุมและเก็บวัสดุอิฐองค์เจดีย์ เป็นวิธีการเช่นเดียวกันกับที่ใช้สำรวจชั้นหินโดยใช้เครื่องเจาะแบบ Skid - Mounted Rotary Drill Rig นำขึ้นไปตั้งบนฐานทักษิณ และทำการเจาะหลุม (Drilling) และเก็บตัวอย่างอิฐ (Coring) โดยใช้ Tripple Tube Wire Line Core Barrel เพื่อให้สามารถเก็บตัวอย่างได้อย่างครบถ้วนในสภาพเดิม แม้ว่าอิฐจะมีสภาพเสื่อมและแตกหักมากก็ตาม ตัวอย่างอิฐที่เก็บมีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 61 มม.

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




5.jpg
5.jpg [ 14.05 KiB | เปิดดู 7269 ครั้ง ]
สภาพชั้นดินใต้องค์เจดีย์
เพื่อตรวจสอบสภาพชั้นดินและคุณสมบัติทางวิศวกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับกำลังรับน้ำหนักทาน (Bearing Capacity) และการทรุดตัว (Settlement) ของชั้นดิน ได้ทำการเจาะหลุมสำรวจดินและเก็บตัวอย่างทดสอบคุณสมบัติ จำนวน 4 หลุม จากพื้นดินบริเวณชิดฐานล่างองค์เจดีย์ใกล้บันไดทั้ง 4 โดยหลุมเจาะทั้ง 4เจาะถึงความลึกประมาณ 30 เมตร ใต้ผิวดิน จากข้อมูลหลุมเจาะสำรวจดิน สรุปได้ว่าสภาพชั้นดินบริเวณองค์เจดีย์ฯ มีสภาพการเรียงตัวค่อนข้างสม่ำเสมอ (Uniform) กล่าวคือชั้นดินประกอบด้วย

ชั้นอิฐหนาประมาณ 1-2 เมตร จากระดับผิวดิน (ด้านทิศตะวันตก (BH1) ไม่พบชั้นอิฐ) ชั้นดินเหนียวปนทราย (Silty Clay) แข็งถึงแข็งมาก สีน้ำตาลถึงน้ำตาลปนเทา ถึงระดับความลึกประมาณ 14-16 เมตร จากผิวดิน ค่า N-Value อยู่ระหว่าง 7-30 ในชั้นดินนี้มีชั้นริ้วของทราย (Trace of Sand Seam) ปรากฏอยู่บางช่วงและยังพบสภาพดินเปลี่ยนเป็นก้อนแข็งด้วยสนิมเหล็ก (Iron Oxide Concretion) อยู่ทั่วไป ในหลุมเจาะ (BH4) ทางด้านทิศเหนือชั้นดินเหนียวปนทรายแข็งนี้มีความหนามากกว่าด้านอื่น (ลึก 16 เมตร) และที่ระดับความลึกประมาณ 4-7 เมตร มีสภาพเพียงแข็งปานกลาง (Medium Stiff) แข็งน้อยกว่า บริเวณพื้นที่ส่วนอื่น

คุณสมบัติของชั้นดินตลอดความลึกในรูปของค่า Water Content, Unit Weight, SPT N-Value ค่ากำลังรับแรงเฉือนจากการทดสอบด้วย Pocket Penetrometer และกำลังรับแรงเฉือนจากการทดสอบแบบ Unconfined Compression Test คุณสมบัติด้านการยุบตัวของชั้นดินเหนียวแข็งซึ่งตรวจสอบจากการทดสอบ Consolidation Test ผลทั้งหมดสรุปได้ว่าชั้นดินบริเวณรอบองค์เจดีย์มีสภาพค่อนข้างดีในการรับน้ำหนัก

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




pk0002.jpg
pk0002.jpg [ 11.35 KiB | เปิดดู 7266 ครั้ง ]
การสำรวจทางโบราณคดี

โดยการสกัดเปิดผิวหน้าฐานประทักษิณ แล้วขุดชั้นอิฐลึกประมาณ 0.50 เมตร ถึง 2.00 เมตร ตามสภาพที่เอื้ออำนวยในการขุด โดยพยายามให้กระทบกระเทือนกับความแข็งแรงของโครงสร้างน้อยที่สุด จากการขุดพบว่าตามมุมฐานเจดีย์ทั้ง 4 มุม มีรอยแยก กว้างประมาณ 0.80 เมตร เป็นแนวยาวตั้งแต่ริมฐานประทักษิณจนถึงองค์เจดีย์ ช่องว่างของรอยแยกมีดินและทรายทับถมอยู่และ ยังพบ หลักฐานการพอกเสริมฐานให้กว้างกว่าเดิม เพื่อเสริมความมั่นคงของเจดีย์ไม่ให้ล้มเนื่องจากการเอียงของเจดีย์ จากการขุดตรวจหาหลักฐานบริเวณฐานประทักษิณ พบแนวการพอกเสริมฐานเจดีย์จำนวน 4 แนว บ่งชี้ว่ามีการบูรณะเจดีย์ภูเขาทองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง

แนวที่ 1 หรือ การก่อสร้างสมัยที่ 1 เป็นฐานสี่เหลี่ยมไม่เพิ่มมุม กว้างประมาณ 26 เมตร
ลักษณะทั่วไปของฐานสมัยที่ 1 การก่อสร้างจะอยู่ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวร

แนวที่ 2 หรือการก่อสร้างสมัยที่ 2 จะพบแนวก่ออิฐเป็นฐานปัทม์รูปสี่เหลี่ยม เหมือนกับสมัยที่
1 แต่ขยายออกมาจากฐานเดิม ประมาณ 50 เซนติเมตร การบูรณะครั้งนี้น่าจะอยู่ในสมัยของ
สมเด็จพระนเรศวร เช่นเดียวกัน

แนวที่ 3 หรือการบูรณะสมัยที่ 3 พบการก่อพอกฐาน ออกมาอีก 2 เมตร เป็นแบบเพิ่มมุม แบบ
ฐานพม่าปิดฐานสี่เหลี่ยมของการก่อสร้างครั้งที่ 2 คาดว่าบูรณะในสมัยสมเด็จพระเจ้า ปราสาททอง

แนวที่ 4 หรือ การก่อสร้างสมัยที่ 4 ก่อพอกฐานเดิมเป็นฐานเพิ่มมุม ล้อฐานเดิม โดยขยับแนว
ฐานออกมาประมาณ 50 เซนติเมตร เหมือนกับที่เห็นในปัจจุบัน ฐานมีความกว้างของฐาน 32 เมตร คาดว่าบูรณะในสมัยพระเจ้าบรมโกศ

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




pk22.jpg
pk22.jpg [ 11.23 KiB | เปิดดู 7266 ครั้ง ]
pk001.jpg
pk001.jpg [ 10.9 KiB | เปิดดู 7262 ครั้ง ]
pk23.jpg
pk23.jpg [ 11.5 KiB | เปิดดู 7261 ครั้ง ]
การบูรณะ

1.การเสริมความแข็งแรงให้กับเจดีย์
1.1 องค์เจดีย์
- การเจาะเย็บ (Rock Bolts)

เพื่อให้ผิวภายนอกขององค์เจดีย์มีคุณสมบัติในการยึดเหนี่ยวเสมือนกับเป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากอิฐมีคุณสมบัติด้อยในส่วนของการยึดเหนี่ยว และยังเป็นการลดการแตกร้าวของปูนฉาบ เจาะด้วยระบบเจาะกระแทก (Percussion) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูเจาะเท่ากับ 1 นิ้ว ความยาวตั้งแต่ 2 - 4.5 เมตร ใส่เหล็กข้ออ้อย ขนาด 20 มม. ชุบ Galvanized เพื่อกันสนิม แล้วอัดน้ำปูนทรายให้เต็มรูเจาะบริเวณปลายยึดดวยแผ่นเหล็กขันแน่นด้วนน็อต

- กำแพงคอนกรีตรัดรอบเจดีย์และเหล็กรัดรอบเจดีย์
เพื่อป้องกันการเบ่งตัวขององค์เจดีย์เมื่อมีแรงกด โดยออกแบบให้เป็นแนวกำแพง คอนกรีตเสริมเหล็กสูงประมาณ 1.00 เมตร หนา 0.15 เมตร
ฝังในผนังเจดีย์รัดรอบบริเวณส่วนล่างขององค์เจดีย์ บริเวณกลาง องค์เจดีย์เหนือซุ้มพระพุทธรูป มีเหล็กหนา 10 มม. กว้าง 10 ซม. รัดรอบ
จำนวน 2 แนว

- โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กภายในอุโมงค์
โครงคอนกรีตเสริมเหล็กที่สร้างในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อเป็นโครงรับ น้ำหนักองค์เจดีย์ อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและมีรอยแตกร้าว
รับน้ำหนักได้ไม่มาก จึงได้สร้างโครงคอนกรีตเสริมเหล้กใหม่มีรูปทรงที่ กลมกลืน กับโครงสร้างภายในของเจดีย์ เสาและคานวาง ตามแนว
หักมุมของผนังอิฐถ่ายน้ำหนักลงฐานที่วางอยู่บนโครงสร้างที่เสริม บริเวณลานประทักษิณที่จะกล่าวต่อไป สำหรับโครงสร้างเดิมซ่อมแซม
ให้อยู่ในสภาพดีและคงไว้ดังเดิม

โครงคอนกรีตเสริมเหล็กที่สร้างในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อเป็นโครงรับน้ำหนักองค์เจดีย์ อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและมีรอยแตกร้าวรับน้ำหนักได้ไม่มาก จึงได้สร้างโครงคอนกรีตเสริมเหล้กใหม่มีรูปทรงที่กลมกลืนกับโครงสร้างภายในของเจดีย์ เสาและคานวางตามแนวหักมุมของผนังอิฐถ่ายน้ำหนักลงฐานที่วางอยู่บนโครงสร้างที่เสริมบริเวณลานประทักษิณที่จะกล่าวต่อไป สำหรับโครงสร้าง
เดิมซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีและคงไว้ดังเดิม

1.2 ลานประทักษิณ
- การเจาะเสริมเหล็กรูปพรรณและอัดฉีดน้ำปูนกำลังสูง
การเจาะผ่านเข้าไปในองค์เจดีย์ในแนวนอน ปลายอีกด้านจะโผล่ในอุโมงค์ภายในอุโมงค์เจดีย์ จำนวน 32 ตำแหน่ง ใช้การเจาะแบบหมุน (Rotary) ซึ่งส่งผลกระทบด้านความสั่นสะเทือนต่อองค์เจดีย์น้อย ตั้งเครื่องเจาะบนลานประทักษิณ รูเจาะขนาด 6 นิ้ว สอดเหล็กรูปพรรณ H - Beam ขนาด 100 x 100 x 6 x 8 หนัก 17.2 กิโลกรัมต่อเมตรเข้าไป อัดฉีดน้ำปูนกำลังสูง กำหนดกำลังอัดประลัยที่ 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เข้าไปหุ้มเหล็กรูปพรรณที่สอดเข้าไป เพื่อให้มีพฤติกรรมเป็นแบบคานคอนกรีตเสริมเหล็กแบบกลม ในการเจาะตามแนว
นอนจำเป็นต้องใส่ปลอกเพื่อกันหลุมเจาะพังเหล็กปลอกนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของคาน เมื่ออัดน้ำปูนในท่อปลอกเต็มแล้ว จำเป็นต้อง อัดน้ำปูนระหว่างอิฐกับภายนอกปลอกอีกครั้งเพื่อให้อิฐกับปลอกเหล็กเป็นเนื้อเดียวกัน

-เทคอนกรีตเสริมเหล็กลานประทักษิณ
เมื่อเจาะและอัดฉีดน้ำปูนในแนวนอนเสร็จแล้ว เรียงเหล็กข้ออ้อย ขนาด 16 มม. เป็นตะแกรง 2 ชั้น เทคอนกรีตหนา 0.20 เมตร เพื่อรับแรงจากคาน
เหล็กที่สอดเข้าไปใต้องค์เจดีย์ที่ถ่ายออกมากระจายออกไปริมฐานแล้วถ่ายน้ำหนักลง หลุมเจาะอัดฉีดน้ำปูนที่ฐานเจดีย์ต่อไป
1.3 ฐานเจดีย์
- การเจาะและอัดฉีดน้ำปูนในแนวดิ่งและแนวเอียงบริเวณฐานเจดีย์
เจาะด้วยระบบ Percussion Drilling ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลุมเจาะ เท่ากับ 2.5 นิ้ว ยาวตั้งแต่ 7.50 เมตร ถึง 13.00 เมตร จำนวน 137
ตำแหน่ง เมื่อเจาะถึงระดับความลึกที่ต้องการแล้ว ใส่เหล็กข้ออ้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง อัดน้ำปูนเข้า ในหลุมเจาะ
เพื่อให้ผิวภายนอกของฐานเจดีย์มีคุณสมบัติในการยึดเหนี่ยวเปรียบเสมือนกับเป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากอิฐมีคุณสมบัติด้อยในส่วนของการยึดเหนี่ยว
และยังเป็นการลดการแตกร้าวของปูนฉาบ และเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังของฐานเจดีย์ก่อนที่จะเริ่มอัดฉีดน้ำปูน ดำเนินการโดยใ
ช้การเจาะด้วยระบบเจาะกระแทก (Percussion) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูเจาะเท่ากับ 1 นิ้ว ความยาวตั้งแต่ 2.6 เมตร ถึง 3.0 เมตร
ตามสภาพขององค์เจดีย์ จำนวนทั้งหมด 408 ตำแหน่ง รอบฐานเจดีย์ใส่เหล็กข้ออ้อย ขนาด 20 มม. ชุบ Galvanized เพื่อกันสนิม
แล้วอัดน้ำปูนทรายให้เต็มรูเจาะบริเวณปลายยึดด้วยแผ่นเหล็กขันแน่นด้วยน็อต
เพื่อปิดทับบริเวณที่ขุดค้นเพื่อตรวจสอบทางโบราณคดี บนลานประทักษิณ โดยใช้คอนกรีตมวลเบา ซึ่งมีหน่วยน้ำหนักเท่ากับอิฐและสามารถกระจายแรงได้ดี ส่วนผสมที่ใช้มีดังนี้ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ผสมกับ โฟมโพลีสไตนลีน (Polystyrene) ในสัดส่วนปูนซีเมนต์ 1 กิโลกรัม ต่อ โฟม 0.9 ลิตร คอนกรีตมวลเบาที่ได้จากการผสมนี้ มีกำลังต้านทานการอัดประลัยทรงลูกบาศก์ที่ 28 วัน เท่ากับ 170 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีหน่วยน้ำหนักประมาณ 1,700 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่ากับอิฐ

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




pk33.jpg
pk33.jpg [ 12.98 KiB | เปิดดู 7261 ครั้ง ]
2. การตกแต่งองค์เจดีย์ เพื่อให้เจดีย์มีความสวยงาม คงคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม โบราณคดี และศิลปะ เพื่อเป็น
แหล่ง ศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ หัวข้อของงานบูรณะมีดังนี้
2.1 การฉาบปูนองค์เจดีย์ การปั้นลวดลายและการทำหัวเม็ด

เนื่องจากสภาพปูนฉาบมีความเสื่อมโทรมและแตกร้าวเป็นอย่างมาก จึงสมควรที่จะสกัดปูนฉาบเดิมออก แล้วฉาบปูนใหม่
เมื่อดำเนินการสกัดปูนฉาบออกลวดลายที่บูรณะในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม บางบริเวณไม่สอดคล้องกับลวดลายสมัย
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงให้ยึดถือลวดลายในสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นเกณฑ์ สำหรับปูนฉาบให้ใช้สูตรตามแบบ
โบราณดั้งเดิม คือ ฉาบด้วยปูนหมัก ใช้อัตราส่วนปูนขาว 1 ส่วน ผสมกับทรายละเอียด 2 ส่วน ผสมน้ำหมักไว้ 48 ชั่วโมง
นำไปผสมกับปูนซีเมนต์ขาว ในอัตราส่วนปูนหมัก 5 ส่วน ปูนซีเมนต์ขาว 1 ส่วน แต่งผิวหน้าด้วยปูนตำ มีส่วนผสมของปูนขาว
กระดาษสา และสารส้ม

ข้อมูลของโครงการ

ผู้สนับสนุนโครงการ
คุณ ชัย โสภณพนิช
ประธานกรรมการ และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

เจ้าของโครงการ
สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๓
คณะกรรมการตรวจรับมอบงานบูรณะเจดีย์ภูเขาทอง
ดร. สุวิชญ์ รัศมิภูติ ที่ปรึกษา บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
อดีตอธิบดีกรมศิลปากร
ศ.ดร. วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
รศ.ดร. นพดล เพียรเวช สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
นาย อารักษ์ สังหิตกุล รองอธิบดีกรมศิลปากร
นาย บวรเวท รุ่งรุจี ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการ
นาย สด แดงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ 3
นาย สุชาย ลิมโปดม ผู้จัดการส่วนพัฒนาตลาด
นาง เต็มใจ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้จัดการส่วนประชาสัมพันธ์และโฆษณา
นาง วัจนา บุญญฤทธิพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการเงิน
นาย ประทีป เพ็งตะโก นักโบราณคดี 7 ว.
นาย ไชยา คำสิงห์ นายช่างโยธา 6
นาง วลัย พลาบดีวัฒน ผู้จัดการมูลนิธิกรุงเทพประกันภัย

ผู้ออกแบบ
ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
รศ.ดร.นพดล เพียรเวช สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
นาย ชาญพจน์ ตั้งตรงจิตร สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
นาย พฤทธิพงศ์ สิงหติราช สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
นาย ไพรัช เล้าประเสริฐ บริษัท สโตนเฮ้นจ์ ดีไซน์ แอนด์ คอนซัลแทนท์ จำกัด
นาย สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข บริษัท สโตนเฮ้นจ์ ดีไซน์ แอนด์ คอนซัลแทนท์ จำกัด

ผู้ควบคุมงาน
นายวโรภาส วงศ์จตุรภัทร สถาปนิก 7 กรมศิลปากร
นายไชยา คำสิงห์ นายช่างโยธา 6 กรมศิลปากร
นายพิชัย บุญแจ้ง นายช่างโยธา 6 กรมศิลปากร
บริษัท สโตนเฮ้นจ์ ดีไซน์ แอนด์ คอนซัลแทนท์ จำกัด

ผู้รับเหมางานโครงสร้าง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ.เอส.เอ็ม. เอ็นจิเนียริ่ง
บริษัท เมเทค จำกัด

ผู้รับเหมางานโบราณคดี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปุราณรักษ

ระยะเวลาการบูรณะ
8 สิงหาคม 2540 ถึง 7 สิงหาคม 2541

งบประมาณในการบูรณะ
25,000,000 บาท


สร้างเจดีย์เริ่มจาก “ฐาน” สร้างสังคมเริ่มจาก “ชุมชน”

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาจร้า :b8: :b8: :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนี้ เทคนิคการซ่อมโบสถ์ วิหาร เจดีย์

ช่างไทยเรา นำเทคนิคการซ่อมแซมอาคารที่ทันสมัย

เริ่มนำมาใช้กัน มากครับ

จะพยายามนำเสนอ ต่อไป ครับ

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร