วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 05:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 03:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




02665_002.jpg
02665_002.jpg [ 14.08 KiB | เปิดดู 6342 ครั้ง ]
“การตักบาตร” ทำอย่างไรได้บุญ...เต็มร้อย

เปิดปูมวิถีการตักบาตร ทำอย่างไรได้บุญ...เต็มร้อย

การตักบาตร คือ การถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณร รูปเดียวหรือหลายรูป จะปฏิบัติเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้

วัตถุประสงค์ของการตักบาตร นอกจากจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการให้ทาน เพื่อบูชาคุณแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้

1. ธำรงส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา
2. ส่งเสริมและบำรุงพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงศีล ทรงธรรม
3. ส่งเสริมคุณความดีของผู้ปฏิบัติ ทั้งผู้ตักบาตรและพระภิกษุสามเณรผู้รับบิณฑบาตร

การตักบาตรจึงเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เพราะเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณร ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฎิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชน เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติด้วย เพราะทำให้เป็นผู้มีใจบุญกุศลและเป็นการส่งเสริมผุ้ทรงคุณธรรม

ประวัติการทำบุญตักบาตร
การทำบุญตักบาตรนี้ มีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชใหม่ๆ ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงประทับที่สวนมะม่วง พระองค์เสด็จบิณฑบาตผ่านกรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ชาวเมืองเห็นพระมาบิณฑบาต ก็ชวนกันนำอาหารมาตักบาตรเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา การตักบาตรจึงถือเป็นประเพณีมาจนบัดนี้ และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้เกด มีพ่อค้า 2 คน นำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย พระพุทธองค์ทรงรับไว้ด้วยบาตร นี่ก็เป็นที่มาของการตักบาตรทางพระพุทธศาสนาด้วยประการหนึ่ง

บาตรเป็นภาชนะจำเป็นของพระภิกษุจะขาดเสียมิได้ นับเข้าในจำนวนบริขารอย่างหนึ่งในบริขาร 8 ตามปกติพระจะไปอยู่ที่ใด ต้องมีบาตรประจำตัวไปด้วย และการออกบิณฑบาตก็ออกในเวลาเช้า ตามแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าองค์ ทรงบำเพ็ญเป็นพุทธกิจประจำวัน โดยปกติ พระภิกษุสามเณร จะเดินเรียงลำดับอาวุโสไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็นแถว แต่ในกรุงเทพฯ หรือในบางจังหวัด พระภิกษุสามเณรมักไปตามลำพัง ไม่ได้เดินเรียงแถว ทั้งนี้เพราะพระภิกษุสามเณรในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมาก จึงไม่สะดวกที่จะเดินเรียงแถวกันไป และผู้ที่จะนำอาหารมาตักบาตรได้ไม่ครบทุกรูป

เมื่อพระภิกษุสามเณร ต้องออกบิณฑบาตตอนเช้าทุกวัน ชาวบ้านก็ตักบาตรทุกวัน แต่บางคนตักบาตรเฉพาะในรอบวันเกิดประจำปี และมักจะตักบาตรพระจำนวนเท่าอายุ หรือเกินกว่าอายุ ถ้าเป็นวันสำคัญทางศาสนา ก็มักจะพากันไปทำบุญตักบาตรที่วัด แต่บางคราวเช่นในเทศกาลปีใหม่ และตรุษสงกรานต์ จะมีการชุมนุมตามที่ที่กำหนดไว้ เช่น สนามหลวง พุทธมณฑล ในโรงเรียน ในสถาบัน หรือ ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง แล้วแต่จะนัดหมายกัน นอกจากนี้ยังมีการตักบาตรที่มีชื่อเฉพาะอีก เช่น ตักบาตรเทโว ตักบาตรข้าวสาร ตักบาตรดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น

วิธีปฏิบัติในการตักบาตร
โดยปกติพระภิกษุสามเณร จะเดินเรียงลำดับอาวุโส ไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็นแถว แต่ในกรุงเทพฯ หรือในบางจังหวัด พระภิกษุสามเณรมักไปตามลำพัง ไม่ได้เดินเรียงแถว ทั้งนี้เพราะพระภิกษุสามเณรในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมาก จึงไม่สะดวกที่จะเดินเรียงแถวกันไป และผู้ที่จะนำอาหารมาตักบาตรได้ไม่ครบทุกรูป


การตักบาตรเป็นสังฆทาน คือการถวายโดยไม่เจาะจง จึงควรตั้งใจว่าจะทำบุญตักบาตร แก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนา โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อพระภิกษุสามเณรรูปใดผ่านมา ก็ตั้งใจตักบาตรแก่พระภิกษุสามเณรรูปนั้นและรูปอื่นๆ ไปตามลำดับโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. จัดเตรียมอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะใส่ภาชนะเรียบร้อย มากหรือน้อยตามความต้องการ
2. นำอาหารที่เตรียมไว้ไปคอยตักบาตร ก่อนที่จะตักบาตรควรตั้งจิตถวายด้วยศรัทธา และความเคารพ ตั้งความปรารถนา เพื่อทำกิเลสให้ลดน้อยลงจนถึงหมดสิ้นไป
3. ขณะที่ตักบาตร ควรอยู่ในอาการสำรวมและเคารพ
4. เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว ควรแสดงความเคารพด้วยการไหว้
5. หลังจากตักบาตร ควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

คำอธิษฐาน ในการตักบาตรจะใช้ภาษาบาลี หรือภาษาไทยหรือใช้ทั้งสองภาษาก็ได้ ดังนี้
“สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ” ถอดความว่า “ทานของเราให้แล้วด้วยดี ขอจิตข้านี้จงสิ้นอาสวกิเลสเทอญ”

คำกรวดน้ำ แบบย่อ “อิทัง เม ญาตินัง โหตุ “ ถอดความว่า “ขอส่วนแห่งบุญกุศล จงสัมฤทธิ์ผลแก่ญาติข้าดั่งตั้งใจ “


ขอขอบคุณข้อมูลข่าว :สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 15:32
โพสต์: 109

แนวปฏิบัติ: พุทโธ
งานอดิเรก: ฟังเพลง ดูหนัง ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ณ มรณา
ชื่อเล่น: ไอช์
อายุ: 22

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ :b8: :b8: :b8:
:b16: :b16:

.....................................................
การไม่ทำบาปทั้งปวง...
การยังกุศลให้ถึงพร้อม...
การทำจิตของตนให้สะอาดผ่องใส...


>>>สิ่งใดๆในโลกนี้ล้วนอนิจจัง<<<


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_4345.JPG
IMG_4345.JPG [ 104.48 KiB | เปิดดู 6176 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
วัตถุประสงค์ของการตักบาตร นอกจากจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการให้ทาน เพื่อบูชาคุณแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้

1. ธำรงส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา
2. ส่งเสริมและบำรุงพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงศีล ทรงธรรม
3. ส่งเสริมคุณความดีของผู้ปฏิบัติ ทั้งผู้ตักบาตรและพระภิกษุสามเณรผู้รับบิณฑบาตร




อนุโมทนาบุญด้วยครับ

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนสมัยนี้ไม่ค่อยตักบาตรกันแล้ว น่าเศร้าใจ

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหว้พระปล่อยปลา เขียน:
คนสมัยนี้ไม่ค่อยตักบาตรกันแล้ว น่าเศร้าใจ



อย่าเศร้าใจไปเลยค่ะ .. บางคนพร้อมทางปัจจัย .. บางคนไม่พร้อม ..

บางคนรอเลือกที่จะกระทำ บางคนไม่เลือก เห็นแล้วทำเลย


กุศลแต่ละคนสร้างมาไม่เท่ากัน เราเห็นใครทำดีแล้วเราร่วมอนุโมทนากับเขา

เราก็ได้บุญเต็มๆกลับมาทันทีแล้วค่ะ .. ความอิ่มเอิบใจไงคะที่ได้รับกลับมา จริงไหมคะ

จะไปเอาอกุศล ( ความเศร้าใจ ) มาไว้ในใจทำไมล่ะคะ จริงไหมคะ

เจริญในธรรมค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



หมั่นทำบุญสร้างกุศลจิตไว้นะคะ
ถ้าไม่มีเวลา บริจาคทานก็ได้ค่ะ
แล้วผลแห่งการให้ จะทำให้เราไม่เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวค่ะ

บทแผ่เมตตาและขออโหสิกรรม


หลังจากนั่งสมาธิจนครบเวลาแล้ว อย่าเพิ่งลืมตา ให้นั่งหลับตาในท่าขัดสมาธิ
ถ้านั่งบนเก้าอี้ ก็หลับตายังไม่ลืมตา มือประสานบนหน้าตัก ตั้งจิตแผ่เมตตา

แผ่เมตตาให้กับตัวเอง

อะหังสุขิโตโหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

นิททุกโขโขโหมิ ปราศจากทุกข์

อะเวโรโหมิ ปราศจากเวร

อัพพะยาปัชโชโหมิ ปราศจากอุปสรรค อันตรายทั้งหลายทั้งปวง

อะนีโฆโหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

สุขีอัตตานังปะริหะรามิ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ


แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อเวราโหตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพพะยาปัชชาโหตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อนีโฆโหตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขีอัตตานังปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ


เสร็จแล้ว ยังหลับตาอยู่ เปลี่ยนอริยาบท นั่งในท่าพับเพียบ พนมมือ ตั้งใจกล่าวขออโหสิกรรม

ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินท่านไว้
ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ไม่ว่าท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใด
ก็ตาม ขอให้ท่านทั้งหลายได้รับผลบุญนี้ และได้โปรดงดโทษอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า
ด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

และด้วยกรรมอันใดที่ท่านทั้งหลายได้ล่วงเกินแก่ข้าพเจ้าไว้ ตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ
โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ข้าพเจ้าของดโทษและอโหสิกรรมให้แก่ท่านทั้งหลาย
ขอเราอย่าได้มีเวรแก่กันและกันและกันอีกเลย อย่าได้ก่อภพก่อชาติกันอีกเลย ข้าพเจ้าขออนุโมทนา



ยังหลับตาอยู่ อยู่ในอริยาบทเดิมตั้งใจอุทิศส่วนกุศล

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาและบิดาของข้าพเจ้า
ขอให้มารดาและบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่ครูอุปปัชฌาอาจารย์ของข้าพเจ้า
ขอให้ครูอุปปัชฌาอาจารย์ของข้าพเจ้าจงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เปตรทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้สรรพสัตวืทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข

หลังจากนั้นหมูจะเอ่ยเจาะจงชื่อให้กับใครๆต่อก็ได้ค่ะ เสร็จแล้วลืมตาได้
นั่งคุกเข่าในท่านเทพธิดา พนมมือ หลับตาลงตั้งใจน้อมจิตอธิษฐาน

ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน ขออนุภาพบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้วณวันนี้
ขอผลบุญกุศลหนุนนำให้ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติ ได้เกิดปัญญาญาน ได้บรรลุมรรคผล
ล่วงพ้นบ่วงมาร เห็นแจ้งในพระนิพพาน ในปัจจุบันธรรมนี้ด้วยเทอญ

จบด้วย ตั้งจิตน้อมรำลึกถึง

กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์ กราบพ่อแม่ ( มาตาปิตุคุณัง อะหังวันทามิ )
กราบครูบาอาจารย์ ( ครูอุปปัชฌาอาจาริยะคุณัง อะหังวันทามิ )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.tongue

งมงาย ขอที่ว่างลงแทรก แหย่ขานิดนึง

ทานจะมีผลมาก อยู่ที่ ใจ ของ ผู้รับ

ใจ

ก่อนให้ จิตใจเลื่อมใส

ขณะให้ จิตใจเบิกบาน

หลังให้ จิตใจสุขสบาย

ของ

ของได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ดีกว่าที่ตัวเองใช้

ผู้รับ

ดีเลิศโดยคุณ

ผลทานดีเลิศนักแล

อธิษฐานก่อนทาน

"สาธุข้าพเจ้า ขอน้อมถวายทาน ที่ข้าพเจ้าได้มด้วยความบริสุทธิ์นี้

อุทิศถวายไว้ไนพระพุทธศาสนา

มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน"

น้อมถวายด้วยความเคารพ

นาดี ข้าวปลูกดี ปลูกเป็น รักษาดี

ได้ผลดีแล

อย่าลืมแบ่งบุญ หลังถวายทาน

พวกรอ ตาปริบ ๆ ไม่ได้มั่ง เดี๋ยวงอน


:b53:

โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ

หลวงจีนงมงาย


.:b51: :b51: :b51:.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron